วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรแก้ขนคุด

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


สมุนไพรรักษาอาการขนคุด
พลูคาว ใช้รูปเค้ารอไปพลางๆ ก่อน ยังหารูปไม่เจอ
พุดรา นี่ก้อยืมรูปเค้า ต้องไปหาเก็บรูปก่อน

ภาพแสดงการเปรียบเทียบ รูขุมขนปกติ กับ ภาวะขนคุด


ภาพแสดงชั้นของผิวหนังและต่อมต่าง ๆ





ผู้ป่วยโรคขนคุด จะมีอาการเหมือนขนลุกตลอดเวลา

ได้มีโอกาสอบรมให้กับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเรื่องเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย เมื่อวันที่ ๒๑-๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ จำนวน ๗๐ คน พี่ๆน้องๆของเราน่ารักมากตั้งอกตั้งใจกันดี เจอโจทย์จากน้องๆที่ถามมาแต่ละข้อ เก็บไปคิดหลายวันเลย โรคภัยทุกวันนี้เป็นกันแปลก ๆ นะ มีคำถามมาว่า สมุนไพรแก้ขนคุดใช้อะไร ทำงานสถานีอนามัยมา ๒๐ ปีก้อยังไม่เคยเจอคนไข้ด้วยโรคนี้ ถามน้องกลับไปว่าคิดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร น้องบอกว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อ งั้นเอางี้ เล่นbroad spectum ไปเลยแล้วกัน เอาสมุนไพรตัวที่ออกฤทธิ์กว้าง ๆ ครอบคลุมทุกเชื้อเข้าว่า เลยแนะนำพลูคาวให้เค้าไปลองกินสดหรือต้มกินดู

กลับมาค้นตำรายาตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ของอาจารย์ วุฒ วุฒิธรรมเวช ที่ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ดังนี้

ตำรับยากินแก้ผม,ขนพิการ ประกอบด้วย รากส้มป่อย รากพุดลา รากมะกรูด เสมอภาค ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละหนึ่งถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้งเช้าเย็น ก่อนอาหาร

(คำอธิบาย คำว่าลาในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดอกไม้ที่มีกลีบชั้นเดียว ไม่ซ้อน เช่น มะลิลา พุดลา รักลา )

สรรพคุณ แก้ผมพิการ ให้ผมร่วง แก้ขนพิการ เจ็บตามขุมขน ให้ขนร่วง
รากส้มป่อย รสขม แก้ไข้
รากพุด รสขมเย็น แก้ไข้ แก้ร้อนใน
รากมะกรูด รสจืดเย็น แก้ไข้แก้ไข้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน

อ่านอาการแล้ว เอ...หรือเราก้อเป็นแฮะ

ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคขนคุด

โรคขนคุด (Keratosis pilaris)
เป็นอีกอย่างที่คล้ายกับ สิว มากแต่ไม่ใช่สิว บางคนอาจจะเคยเป็นเวลาลูบไปตามขา สะโพก แขนแล้วไม่เรียบเป็นตุ่มๆแข็งๆ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าแต่ในบางคนอาจเป็น ยังไม่เจอสาเหตุที่แน่นอนว่าเกิดจากอะไร
โรคขนคุด
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป มีลักษณะรูขุมขนเป็นตุ่มแข็งนูนขึ้นมาบนผิวให้สัมผัสขรุขระเมื่อลูบดู และแลดูเหมือนหนังไก่ ส่วนใหญ่พบได้บริเวณแผ่นหลัง และต้นแขนด้านนอก (บริเวณท่อนแขนก็พบได้บ้าง) และยังพบได้บริเวณต้นขา สีข้าง สะโพก น่อง น้อยครั้งที่จะพบบริเวณผิวหน้า และอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น สิว
การจัดแบ่งประเภท
คนที่เป็นส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้ใหญ่ 40-50% และประมาณ 50-80% เป็นวัยหนุ่มสาว และจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และความรุนแรงก็จะมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงมาก โรคขนคุด นั้นมีอยู่หลายประเภท ตั้งแต่ Keratosis pilaris rubra คือ ขนคุด ที่มีอาการอักเสบ แดง, alba คือ ขนคุด ที่เป็นตุ่มแข็งขึ้นมาบนผิวหนังแต่ไม่ระคายเคือง, rubra faceii คือเป็นผื่นแดงบริเวณแก้ม - - ส่วนใหญ่คนที่เป็น โรคขนคุด มักไม่รู้ว่าตนเองเป็นอยู่ (หากว่ามีอาการเล็กน้อย) คนมักจะสับสนเข้าใจว่าเป็นสิว เนื่องจาก ขนคุด นั้นมีลักษณะคล้ายกับเวลาที่ขนลุก เมื่อสัมผัสจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ บนผิวหนัง
วิธีการรักษา
ขณะนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาอาการ ขนคุด แต่ก็มีวิธีที่ได้ผลระดับหนึ่งที่จะทำให้อาการดูน้อยลง ผิวบริเวณที่เป็น ขนคุด จะดูดีขึ้นและอาจหายไปได้ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านพ้นไป - - การขัดและผลัดเซลล์ผิว, ครีมบำรุงผิวเข้มข้น, lac-hydrin, และโลชั่นที่มีส่วนผสมของ AHA หรือ Urea อาจช่วยบำรุงผิวบริเวณที่มีปัญหาให้ดีขึ้น เนียนนุ่มขึ้นได้บ้างชั่วคราว การรับประทานยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ ก็ช่วยได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผลต่อตับ อาจทำให้เกิดพิษได้ และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจรับประทานวิตามินเอ เมื่อหยุดยาก็มัก กลับมาเป็นอีก การทายากรดวิตามินเอได้ผลบ้าง แต่ไม่ดีเท่ายากิน หลัง ๆ มีการใช้ laser ในการกำจัดขนและมีการอ้างว่า ได้ผลได้การรักษา ขนคุด ด้วย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันชัดเจน
การเกาและแกะขนคุดนั้นจะทำให้เป็นแผลแดง และบางครั้งก็ทำให้เลือดออก การแกะเกาบ่อย ๆ จะทำให้กลายเป็นแผลเป็นรอยดำ การสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่ให้รัดบริเวณที่เป็น ขนคุด ก็จะช่วยลดการเกิด ขนคุด ใหม่ ๆ ได้ เพราะหากสวมใส่เสื้อผ้าคับ ๆ ก็จะเกิดการเสียดสี เปรียบเสมือนการเกา ก็จะทำให้ยังเป็น ขนคุด เพิ่มได้อีก

ข้อมูลจาก

http://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1825&pagetype=articles

ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น