วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ได้เวลาของคนไร้ราก นกไร้ถิ่นย้ายอีกแล้ว

เช่าห้องแถวเขาวางต้นไม้เพื่อเก็บและขายมาได้ระยะหนึ่งแล้ว  ตอนนี้ได้เวลาย้ายบ้านอีกครั้ง  การทำอะไรบนพื้นฐานของการไม่มีทรัพย์สินเป็นของต้นเองไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้  ต้นไม้อย่าคิดว่ามันมีอยู่แล้วยังไงก็ได้  เราไม่มีทางรู้หรอกว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ต้นไม้ต้นนั้นๆถูกตัดโค่นทำลายไปในชั่วพริบตาเดียว เพราะฉะนั้นอย่าชะล่าใจ อย่าคิดว่าเห็นต้นนี้อยู่เยอะแยะ เพราะชั่วพริบตาเดียวอาจขาดแคลนหายากหรือหาไม่ได้ในเวลาที่เราต้องการจะใช้ประโยชน์  ปฏิบัติการหาบ้านให้ต้นไม้ของฉันจึงเกิดขึ้น  ฉันเก็บสะสมพันธุ์ไม้เก่าหายากและเอามันไปด้วย ย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ เพราะหน้าตึกแถวข้างถนน  ไม่เหมาะกับไม้จำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกๆวัน  แต่ก็ทิ้งกันไม่ได้ ไปไหนไปกัน อยู่ตรงนั้นไม่เหมาะก็อยู่ตรงนี้ ตรงนี้ไม่เหมาะก็ไปตรงโน่น หอบหิ้วกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอบ้านที่แท้จริงของพวกเขา  หรือจนกว่าจะเจอคนที่อยากใช้ประโยชน์จากพวกเขา  หรือจนกว่าจะเจอว่าพวกเขาเคยถูกใช้ประโยชน์อะไรบ้าง  ถ้าจะถามถึงกำไรขาดทุนเป็นตัวเงิน  การเช่าห้องแถวแล้วใช้แค่ข้างหน้าบ้านหลังบ้านเก็บต้นไม้ที่หายากที่ไม่รู้ว่าจะได้ขายรึเปล่า ได้ขายเมื่อไหร่ มันเป็นเรื่องของคนบ้า แต่ถ้าไม่ได้มองประโยชน์แค่ตัวเงิน  ฉันได้กำไรจากสิ่งที่ทำมากมายนับไม่ถ้วน  ได้รู้ว่าชีวิตตัวเองต้องการทำอะไรอย่างแท้จริง ( อันนี้สำคัญมาก )  ได้รู้จักต้นไม้เพิ่มมากขึ้นนับไม่ถ้วน ได้รู้วิธีที่จะทำให้เขาไม่ตาย ค่อยๆรู้ธรรมชาติ ( ในที่ที่ไม่ได้เป็นธรรมชาติ ) ของต้นไม้ ได้รู้ถึงความอดทนและการพยายามเพื่อความอยู่รอดของต้นไม้ การพึ่งพิงกันของพวกเขา การรุกรานกันเองเพื่อชิงพื้นที่ ที่สำคัญได้รู้จักกับความสุขสงบข้างในตัวเอง เพราะหลังจากที่เราเอาเขาลงกระถางใส่ปุ๋ยรดน้ำแล้ว  ที่เหลือคือรอเวลาจนเขาพร้อมจะเติบใหญ่ให้เราเห็นแตกกิ่งก้านผลิใบ หรือประท้วงยืนต้นตายเพราะนี่ไม่ใช่ที่ที่เขาควรอยู่  ไม่ง่ายที่จะหาบ้านที่แท้จริงให้เขาได้หยั่งรากสู่ผืนแผ่นดินแท้ๆเพื่อแผ่ลูกหลาน  แต่ไม่เป็นไรเพราะฉันมีเวลา ไม่ว่าเวลานั้นจะสั้นหรือจะยาว แต่เราจะไปทุกๆที่ด้วยกัน  ไปจนกว่าจะเจอบ้านของเรา

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ว่านข่าจืด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านข่าจืด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า ว่านข่าจืด ลักษณะต้นและใบคล้ายข่า แต่ว่าเล็กกว่าใบมีลายเส้นสีขาว กระจายอยู่ที่หน้าใบ หัวเล็กรากเป็นฝอย สรรพคุณเป็นว่านยาแก้เบื่อเมา "
ว่านข่าจืด รูปจากเวป kasetporpeang.com

เป็นอันครบถ้วนจำนวนว่านตามหนังสือกบิลว่านฉบับสมบูรณ์ที่รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ ขอกราบขอบพระคุณท่านไว้ ณ โอกาสนี้ ขอถือท่านเป็นหนึ่งในครูบาอาจารย์ที่ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับว่านไว้ให้เรารุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับว่านต่าง ๆ ของไทย

ว่านไพรด่าง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านไพรด่าง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า "ว่านไพรด่าง ลักษณะลำต้น ใบเหมือนไพรดำทุกอย่าง ผิดกันที่ใบมีลายเส้นขาวกระจายอยู่หน้าใบ หัวเหมือนไพร สรรพคุณเป็นว่านแก้คุณไสย ( บางคนเรียกว่าไพรปลุกเสก ) "
ต้นนี้เหมือนไพลทุกอย่างแต่ใบด่าง ปัจจุบันนิยมเรียกว่าว่านไพลปลุกเสก พอหาได้ แต่ก็ยากพอสมควร รูปนี้จากที่สวน

ว่านกระทู้เจ็ดแบก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกระทู้เจ็ดแบก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกระทู้เจ็ดแบก ลักษณะต้นและใบเหมือนบอน ต้นและก้าน ใบเป็นจุดดำตลอด หัวยาว รสเผ็ดร้อน เมื่อรับประทานแล้ว เนื้อตัวจะชาไปหมด สรรพคุณเป็นว่านคงกระพัน "

ว่านกำบังไพร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกำบังไพร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกำบังไพร ลักษณะลำต้นเหมือนต้นเปราะ หัวก็เช่นเดียวกัน แต่ไม่มีกลิ่นอย่างเปราะ ใบใหญ่กว่าเปราะมาก หน้าใบเขียวเข้มมีลายเส้นแซมสีแดงดุจลูกหว้าอ่อน และแซมขาวดุจบรอนซ์เงินใต้ใบมีละอองขน คล้ายพลายปรอท ใบสวยงามมาก สรรพคุณเป็นว่ามหานิยมและคุ้มภัยต่าง ๆ "

ว่านขอนดอก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านขอนดอก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านขอนดอก ลำต้นเหมือนว่านสี่ทิศ ใบเป็นมันกว่าและสูงใหญ่มาก ดอกขาว เหมือนดอกนางล้อม เป็นช่อ กลิ่นหอมเย็น สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "

ว่านสิบทิศ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสิบทิศ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านสิบทิศ ลักษณะลำต้นคล้ายแร่งคอดำ แต่ต้นเตี้ยติดดิน ใบเหมือนใบแร้งคอดำแต่เล็กกว่า ดอกเหมือนดอกพลับพลึง กลีบเล็กกว่าบานกระจายเป็นสิบทิศ กลิ่นหอมเย็น สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "

ว่านหงส์เหิร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหงส์เหิร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหงส์เหิร ลักษณะลำต้นเหมือนหญ้าหวาย แต่ใบสั้นกว่า หัวเป็นหญ้าชันกาศ ดอกสีเหลืองเข้มมีเกษรยาวปลายเกษรงอกลับมองดูคล้ายหงส์บิน กลีบดอกเป็นปีกนก ออกลูกเป็นช่อ เมล็ดคล้ายเมล็ดข้าวเปลือก สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม เสน่ห์ยิ่งนัก ( บางคนเรียกว่าว่านดอกทอง )

ว่านนาคกระจาย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนาคกระจาย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนาคกระจาย ลักษณะลำต้น ใบเหมือนว่านทองกระจาย และว่านเงินกระจาย แต่ว่าต้นและใบเป็นสีลูกหว้าแก่ ดอกเป็นสีชมพู สรรพคุณใช้อย่างเดียวกัน "

ว่านเงินกระจาย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเงินกระจาย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเงินกระจาย ลักษณะลำต้น ใบ เหมือนว่านทองกระจายทุกอย่าง ต่างแต่ว่าดอกขาว มีเมล็ดเหมือนเมล็ดข้าวเปลือก สรรพคุณใช้อย่างเดียวกับทองกระจาย "

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ว่านจักร์พระอินทร์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านจักร์พระอินทร์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านจักร์พระอินทร์ ลักษณะลำต้น ใบ หัว คล้ายต้นขมิ้นอ้อย กระดูกกลางใบแดง เนื้อในของหัวเหลือง ขาวเป็นเส้นวงสลับกันไป รสร้อนฉุน สรรพคุณใช้รับประทานกับสุรา แก้ปวดท้อง ลงท้อง และใช้ในทางคงกระพันอย่างดี "

ว่านกบ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกบ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกบ ลักษณะลำต้นใบ คล้ายใบอุตพิต หัวค่อนข้างกลม ใบลายเป็นจุดคล้ายหนังกบ สรรพคุณเป็นว่านอยู่คงกระพัน "

ว่านเศรษฐีมอญ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเศรษฐีมอญ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเศรษฐีมอญ ลักษณะลำต้นใบ หัวเหมือนว่านนางล้อมทุกอย่าง แต่ใบอ่อนกว่าเขียวเข้มดอกขาวนวล สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม และโชคลาภ "

ว่านเฉลิมชัย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเฉลิมชัย  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านเฉลิมชัย ลักษณะลำต้นขึ้นเป็นกอ มีลำต้นยาวใบเหมือนว่านขุนแผนสามกษัตริย์ หน้าใบสีเขียวเข้มมีลายเส้นขาวใหญ่อยู่หน้าใบ หัวคล้ายข่า สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "
เอาแล้วไง เกิดมีข้อแย้งว่าว่านเฉลิมชัยก็คือว่านที่เราเรียกว่าว่านขุนแผนทุกวันนี้ เอาเป็นว่าถ้ามีลายเส้นขาวแดงสลับกันคือว่านขุนแผนสามกษัตริย์ ถ้าลายเส้นสีขาวใหญ่คือว่านเฉลิมชัย เดี๋ยวเราต้องกลับไปพิจารณาดูใหม่ เพราะมีอีกต้นที่หน้าใบเขียวเข้ม แต่พ่อหมอเรียกว่านสามกษัตริย์

ว่านขุนแผนสามกษัตริย์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านขุนแผนสามกษัตริย์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านขุนแผนสามกษัตริย์ ลักษณะลำต้นขึ้นเป็นกอ มีก้านยาวกว่าใบ ใบคล้ายใบจำปา หน้าใบสีเขียวเข้ม มีลายเป็นเส้นขาวแดงสลับกัน ท้องใบสีแดงคล้ายลูกหว้าแก่หัวคล้ายข่า ว่านนี้เป็นว่านที่มีลักษณะสวยงาม และยังเป็นว่านเสี่ยงทายอีกด้วย ถ้าต้องการจะรู้ว่าชาตาของเราจะรุ่งเรืองหรืออับเฉาก็พึงสังเกตดูความเจริญรุ่งเรืองของว่าน หรือทรุดโทรม "
ว่านตัวนี้เป็นพวกคล้าชนิดหนึ่ง สีใบสวย ปลูกในร่มจะสวยกว่าปลูกกลางแจ้ง
รูปนี้ถ่ายต้นที่สวนตัวเอง ปลูกลืมๆหมกๆเค้าไว้ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ เค้าแย่งกันสูงอวดสวยเชียว  แต่ช่วงหนึ่งเค้าออกแดด สีสันเลยจางลง หายสวยไปเยอะเลย

ว่านฉัตร์พระพรหม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านฉัตร์พระพรหม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านฉัตร์พระพรหม ลักษณะลำต้นใบเหมือนต้นขมิ้นกระดูกกลางใบแดงแกมดำ ลำต้นสีแดงเรื่อ ๆ หัวกลม เนื้อในหัวสีขาว ดอกเป็นฉัตร์สีขาวหลายชั้น สรรพคุณปลูกไว้กับบ้านเป็นสิริมงคล "

ว่านโคนดินสอ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านโคนดินสอ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านโคนดินสอ ลักษณะต้น ใบคล้ายขมิ้นชันแต่เล็กกว่ากระดูกใบแดงแกมดำ หน้าใบเขียวเข้ม หัวเล็กกลมมีไหลเป็นตุ้ม ดอกเหมือนดอกกระเจียว กลีบของดอกสีขาวปนชมพู สรรพคุณเป็นว่านเสน่ห์มหานิยม "

ว่านขมิ้นดำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านขมิ้่นดำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านขมิ้นดำ ลักษณะลำต้น ใบคล้ายขมิ้น กระดูกกลางใบมีสีแดงเหมือนสีลูกหว้าแก่ เนื้อในหัวสีดำ รสกลิ่นคล้ายขมิ้น สรรพคุณเป็นยารักษาโรค "

ว่านเทพรำลึก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเทพรำลึก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเทพรำลึก ลักษณะลำต้นใบเหมือนขมิ้นชัน หัวเล็กยาว สีในหัวสีชมพู ดอกคล้ายดอกกระเจียว กลีบของดอกนั้นมีทั้งขาวและม่วง สรรพคุณใช้ในทางเสน่ห์มหานิยม "
กลุ่มพืชพวกดอกกระเจียวมีหลายชนิด ก็ลองพิสูจน์ดูกันเอาเอง

ว่านหางตะเข้ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหางตะเข้ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหางตะเข้ ลักษณะเป็นกอ ใบออกเป็นกาบรอบ ๆ ใบสีเขียวยาวประมาณ ๑ คืบ ลักษณะของใบเหมือนหางของตะเข้เป็นจัก ๆ สรรพคุณเป็นว่านดับพิษ ใช้พอกฝีต่าง ๆ ส่วนมากใช้ปิดขมับเมื่อเวลาปวดศีรษะ โดยเอามาตัดเฉพาะแล้วเอาปูนทาปิด "
อันนี้ก็คือว่านหางจระเข้ที่เรารู้จักกันดี แต่สงสัยว่าที่ว่าใบยาว ๑ คืบ เป็นเพราะผู้เขียนไปเจอแต่ต้นเล็ก ๆ หรือว่าเมื่อก่อนสายพันธุ์ไทยมีแต่ต้นเล็ก ๆ
วันหลังจะพูดถึงว่านหางจระเข้ในฐานะเครื่องยาไทยที่ชื่อว่ายาดำ ซึ่งไม่ได้ใช้พันธุ์เดียวกับว่านหางจระเข้ที่เราคุ้นตา แต่เป็นพันธุ์ของต่างประเทศที่ให้ยางมากกว่า  ขอค้นข้อมูลก่อน

ว่านหอกโมกขศักดิ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหอกโมกขศักดิ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหอกโมกขศักดิ์ ลักษณะลำต้นตรงแข็ง ก้านใบยาวคล้ายด้ามหอก ใบเขียวหนาคล้ายกับใบหอก สรรพคุณเป็นว่านคุ้มภัยกันอันตรายต่าง ๆ "

ว่านน้ำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านน้ำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านน้ำ ลักษณะลำต้นเป็นกอ ใบเล็กยาวแบน หัวยาวคล้ายข่าแต่เล็กกว่ารากเส้นเล็กฝอย เหมือนรากหญ้าคา สรรพคุณใช้รักษาโรค "

ที่มาเวป pg.pharm.su.ac.th

ว่านหงส์ขาว รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหงส์ขาว รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหงส์ขาว ลักษณะลำต้น ใบคล้ายข่า แต่ใบเล็กสั้นกว่า ดอกมีสีขาวเป็นช่อ ดอกมองคล้ายกับตัวหงส์ชะเง้อ หัวเหมือนว่านชันกาศ สรรพคุณเป็นว่านเมตตามหานิยม "
หน้าตาเค้าก็คงประมาณนี้
ที่มา เวป klongrua.com

ว่านพญาว่าน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพญาว่าน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านพญาว่าน ลักษณะลำต้น ใบ คล้ายต้นขมิ้นอ้อย ลำต้นสีแดง กระดูกกลางใบแดง เนื้อในหัวสีขาวหม่น รสฉุนร้อนเล็กน้อย สรรพคุณปลูกไว้คุ้มครองว่านมิให้เสื่อมคุณภาพ "

ว่านทรหด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านทรหด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านทรหด ลักษณะลำต้น ใบ คล้ายต้นขมิ้นอ้อย กระดูกกลางใบสีแดงคล้ำ หัวกลมเหมือนหัวเผือกเนื้อในหัวสีขาว รสร้อนฉุน สรรพคุณคั่วไฟดองกับสุรา แก้ปวดมดลูก แก้มูตกิตระดูขาว ผอมแห้ง "

ว่านหงส์ทอง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหงส์ทอง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหงส์ทอง ลักษณะลำต้น ใบคล้ายข่า แต่ใบเล็กสั้นกว่า ดอกมีสีเหลืองเป็นช่อ ดอกมองดูคล้ายกับตัวหงส์ชะเง้อ หัวเหมือนหญ้าชันกาศ สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "
ว่านกลุ่มนี้เป็นต้นไม้ที่เขาเรียกว่าต้นดอกเข้าพรรษา อยู่ที่ว่าดอกจะเป็นสีอะไร
ว่านหงส์ทอง จากเวป nanagarden.com

ว่านไพรป่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านไพรป่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านไพรป่า ลักษณะลำต้น ใบ เล็กกว่าไพรธรรมดา หัวเล็กกว่า เนื้อในสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัดกว่าไพรธรรมดา เมื่อหักหัวออกจะมีน้ำของหัวซึมออกมาเหมือนหัวไพรธรรมดา สรรพคุณใช้ทาแก้เคล็ดบวม "

ว่านไพรชมพู รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านไพรชมพู รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านไพรชมพู ลักษณะลำต้นใบเหมือนไพรธรรมดา หัวเนื้อในสีชมพู กลิ่นฉุนน้อยกว่าไพรธรรมดา สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ "

ว่านเศรษฐีธรรมดา รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเศรษฐีธรรมดา ลักษณะทุกอย่างเหมือนว่านเศรษฐีเรือนนอกเรือนใน ผิดกันที่ใบนั้นเขียวตลอด สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "

ว่านช้างประสานงา รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านช้างประสานงา รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านช้างประสานงา เหมือนว่านงาช้างแต่เหลืองนวล ลักษณะลำต้นขึ้นเป็นเฉกเหมือนว่านดาบนารายณ์ สรรพคุณเป็นว่านมหานิยมและคงกระพัน "

ว่านเศรษฐีเรือนนอกเรือนใน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเศรษฐีเรือนนอกเรือนใน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเศรษฐีเรือนนอกเรือนใน ลักษณะทุกอย่างเหมือนเศรษฐีเรือนนอกเรือนใน ผิดกันตรงที่ใบนั้นเรียวยาวกว่า มีเส้นลายขาวและเขียวสลับกันไป สรรพคุณว่านนี้เป็นว่ามหานิยม ( บางคนเรียกว่าว่านเศรษฐีด่าง ) "

ว่านหอมแดง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหอมแดง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหอมแดง  ลักษณะเหมือนหัวหอมธรรมดา แต่ว่าเล็กกว่า ใบเหมือนใบว่านสากเหล็ก ยาว หน้าใบเป็นลายเส้นมีขนละเอียด สรรพคุณอย่างเดียวกับว่านหอมดำ "
ลักษณะใบและดอกว่านหอมแดง ที่มา เวป biogang.net
ลักษณะหัวว่านหอมแดง ที่มา เวป phargarden.com

ว่านหอมดำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหอมดำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหอมดำ ลักษณะหัวเหมือนหอมธรรมดา แต่ว่าดำ ใบเหมือนใบกุยฉ่าย สรรพคุณดับพิษฝีต่าง ๆ "

ว่านขมิ้นขาวเสน่ห์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านขมิ้นขาวเสน่ห์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านขมิ้นขาวเสน่ห์ ลักษณะใบเหมือนใบขมิ้นชันแต่ว่าเรียวเล็กกว่า หัวเป็นรากไหลเลื้อยไปไกลต้นไหลนั้นเปราะ เวลาหักจะได้ยินเสียง ดอกคล้ายดอกกระเจียว กลีบดอกสีขาวปนม่วง สรรพคุณเป็นเสน่ห์มหานิยมดีนัก "

ว่านข่าน้ำผึ้ง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านข่าน้ำผึ้ง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านข่าน้ำผึ้ง ลักษณะลำต้น ใบ หัวเหมือนข่าทุกอย่าง ต่างแต่ว่าหัวเล็กกว่าข่าธรรมดา มีรสหวานน้อยไม่เผ็ดร้อนเหมือนข่า "

ว่านม้าฮ้อ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านม้าฮ้อ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า  " ว่านม้าฮ่อ ลักษณะลำต้น ใบเหมือนขมิ้นอ้อย แต่สูงใหญ่กว่า หัวเหมือนหัวเผือก เกลี้ยงเป็นมัน เนื้อในหัวสีขาวหม่นมีพรายปรอท เมื่อเวลามีหน่อจะงอกกลับขึ้น คล้ายศีรษะม้ามีรสฉุนร้อน สรรพคุณใช้รักษาโรคปวดเมื่อย และทำให้เกิดกำลัง "

ว่านน้ำเต้าทอง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านน้ำเต้าทอง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านน้ำเต้าทอง ลักษณะหัว ใบ เหมือนว่านสี่ทิศ หัวเหมือนลูกน้ำเต้า สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "

ว่านกวักทางลาย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกวักทางลาย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกวักทางลาย ลักษณะลำต้น ใบเหมือนกับกวักทุกอย่าง ผิดกันที่ใบมีลายขาว ใบเขียวเข้ม ว่านชนิดนี้คนจีนนิยมปลูกมาก สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "
ว่านพวกใบเขียวลายขาวนี้  บางทีเรียกรวม ๆ กันว่าเขียวหมื่นปี แล้วมีชื่อเฉพาะแตกไปอีกมาก
ว่านกวักทางลาย ที่มา magnoliathailand.com

ว่านเจ้าน้อยมหาพรหม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเจ้าน้อยมหาพรหม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเจ้าน้อยมหาพรหม ลักษณะหัวเหมือนหัวหอมใหญ่ ใบเขียวคล้ายใบข่าแต่ใหญ่กว่า ลำต้นเป็นจุดสีน้ำตาล ดอกเป็นพุ่มสีแดงละเอียด สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม ( บางคนเรียกว่าว่านพระอาทิตย์ ) "
ต้นนี้น่าจะใช่ว่านที่ปัจจุบันเรียกว่านกุมารทอง เพราะดูลักษณะเหมือน และว่านกุมารทองก็มีอีกชื่อหนึ่งว่าว่านแสงอาทิตย์

ว่านกุมารทองหัวเหมือนหอมหัวใหญ่ ต้นลาย ใบสีเขียวเข้ม ที่มา เวป nanagarden.com


ดอกว่านกุมารทอง เป็นพุ่มสีแดงละเอียด  ที่มาเวป kamoman.com

ว่านขุนแผนสกดทัพ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านขุนแผนสกดทัพ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า  " ว่านขุนแผนสกดทัพ ลักษณะหัว ใบ คล้ายกับว่านสี่ทิศ แต่ก้านใบและเปลือกหัวมีสีแดงดุจสีลูกหว้าแก่ สรรพคุณเป็นว่าเสน่ห์ มหานิยม "

ว่านจักรพรรดิ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านจักรพรรดิ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านจักรพรรดิ  ลักษณะลำต้นใบคล้ายขมิ้นชัน หัวเหมือนขมิ้น เนื้อในหัวสีเหลืองอ่อน ขอบใบขาวใหญ่กลืนไปทางหน้าใบ ดอกคล้ายดอกกระเจียว กลีบดอกมีสีเหลืองและขาวแซมอยู่ในกลีบดอกเดียวกัน สรรพคุณเป็นว่านเสน่ห์มหานิยม "

ว่านกระแจะจันทน์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกระแจะจันทน์  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านกระแจะจันทน์ ลักษณะลำต้นใบคล้ายใบเปราะหอม แต่ใบกว้างและยาวกว่า หน้าใบสีเขียวท้องใบสีแดงเรื่อ ๆ ขอบใบแดงมีหัวอย่างเดียวกับเปราะแต่มีกลิ่นหอมเย็นกว่า สรรพคุณเป็นว่านเมตตามหานิยม "
ว่านตัวนี้น่าสับสนพอสมควร พืชตระกูลเปราะมีหลายตัวมาก เช่น เปราะป่า เปราะหอม เสน่ห์จันทน์ นกคุ้ม ฯลฯ  แม้แต่กระชายดำก็เป็นเปราะชนิดหนึ่ง  เรากลัวอย่างเดียวจะไปหลงซื้อเปราะป่า ในราคาว่านกระแจะจันทน์น่ะซิ เห็นว่าเอามาหลอกขายกันเยอะ เพราะเปราะป่าหาง่ายจะตาย

ว่านเปราะหอม  ที่มา เวป panmai.com

เปราะป่า  ที่มา เวป phargarden.com

ว่านนกคุ้ม ที่มา เวป ghostwiki.blogspot.com

ว่านกลิ้งกลางดง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกลิ้งกลางดง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกลิ้งกลางดง ลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อยเหมือนว่านพระฉิม ส่วนใบก็คล้ายกันมีลูกตามข้อที่เถา ลูกเป็นตุ่มเล็กๆ แต่ลูกใหญ่กว่าว่านพระฉิม สรรพคุณเช่นเดียวกับว่านสามพันตึง "
ต้นนี้พูดถึงไว้เยอะแล้วตั้งแต่เริ่มหัดเขียนบล๊อก เอาแค่รูปไปดูแล้วกัน
รูปจากเวปบ้านสวนพอเพียง  เพราะรูปที่เราถ่ายมันไปติดใบยอ(ขึ้นกับต้นยอ ) เดี๋ยวจะเข้าใจผิดว่าใบเหมือนใบยอ  แต่อย่าไปผิดต้นกับสบู่เลือดแล้วกัน  เพราะนั่นเค้าก็เรียกกลิ้งกลางดงเหมือนกัน

ว่านอ่อนใจ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านอ่อนใจ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านอ่อนใจ ลักษณะต้นใบคล้ายว่านปราบสมุทร แต่ใบใหญ่และยาวกว่า แข็งกว่า เนื้อในหัวสีขาวนวล หัวติดกันเป็นกลุ่มก้อน หัวใหญ่กว่าปราบสมุทร ดอกสีคล้ายดอกมะเขือ สรรพคุณเป็นว่านมหาเสน่ห์ มหานิยม ดอกนี้เอาไปแช่น้ำมันจันทร์ดีนักแล "
เอาล่ะซิตอนนี้มีว่า ๓ ตัว ที่คล้ายกัน คือว่านเฒ่าหนังแห้ง ว่านปราบสมุทรและว่านอ่อนใจ  ว่านเฒ่าหนังแห้งใบสั้นที่สุด ว่านอ่อนใจใบแข็งที่สุด ( แต่ในอินเตอร์เน็ทบรรยายไว้ว่าถ้าใบอ่อนคือว่านอ่อนใจใบแข็งเป็นเฒ่าหนังแห้ง  แต่หนังสืออธิบายตรงกันข้าม )  ก็ลองสังเกตข้อแตกต่างกันดูตามอัธยาสัย

ว่านปราบสมุทร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านปราบสมุทร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านปราบสมุทร ลักษณะหัวใบคล้ายว่านเฒ่าหนังแห้งทุกอย่าง ผิดกันที่ใบ ใบนั้นแคบและยาวกว่าเฒ่าหนังแห้ง สรรพคุณเป็นว่านอยู่คงกระพัน และใช้ประสานบาดแผล ( บางแห่งเรียกว่านมหาประสานชนิดใบเปราะ ) "

ว่านเฒ่าหนังแห้ง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเฒ่าหนังแห้ง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเฒ่าหนังแห้ง ลักษณะหัวคล้ายหัวว่านคางคก เนื้อในหัวมีสีขาว ใบเหมือนใบเปราะแต่แคบกว่าใบเปราะ ต้นเตี้ยใบแบอยู่กับดิน ดอกและสีคล้ายดอกมะเขือ สรรพคุณเป็นว่านอยู่คงกระพัน "
 

ว่านคางคกน้อย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านคางคกน้อย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า  " ว่านคางคกน้อย ลักษณะใบเหมือนใบผักอมหิน เขียวเป็นมัน หัวเล็กกว่าหัวแห้วหมู ดอกคล้ายดอกอุตพิตแต่เล็กมาก ถ้าไม่สังเกตุจะไม่เห็น สรรพคุณเป็นว่านอยู่คงกระพัน "
ตั้งข้อสังเกตว่า อาจพิมพ์ผิดจากผักขมหินเป็นผักอมหิน

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

แนะนำหมอเก่งและดี

ปกติจะหาอ่านนั่นนั่โน่นไปเรื่อยๆ ขายต้นไม้ทำให้รู้จักคนป่วยเยอะแยะ บางคนก็ขอปรึกษา เราน่ะไม่มีความรู้เรื่องการตั้งตำรับยารักษาคนไข้ แต่ชอบเรื่องต้นไม้ บางครั้งลำบากใจที่จะตอบแต่ก็อยากช่วยมากๆ วันนี้โชคดีไปเจอหมอแผนโบราณ(เค้าเรียกตัวเองอย่างนั้น) ในdiaryis.com อ่านดูแล้วประทับใจ  (wม่ค่อยประทับใจง่ายๆ ) เพราะเหมือนไร้สาระ แต่เต็มไปด้วยสาระ มีหลาย ๆ อย่างที่เราสงสัยมานานว่าทำไมตำรับนั้นต้องใส่ยาตัวนี้  ตำรับนี้ต้องเข้ายาตัวโน้น หมอคนนี้แกไม่หวงวิชาดี  เล่าสบายๆ แต่ได้ความรู้เพียบ  เลยอยากแนะนำให้ลองเข้าไปอ่านกัน http://garu.diaryis.com/2006/04/26 ลองดูสำนวนของเค้าซิ ทั้งฮาทั้งโฮกเลย ชอบมากๆ
"
เรื่องของช่วงล่าง
แบบว่า ช่วงเช้ากินยาถ่ายหมดแรงตื่นขึ้นมาตี5ถ่ายปายย10กว่าทีวันนี้หมดลม.....แทบลุกไม่ไหว แต่เป็นเพราะอาการตัวเรามีไข้น้อยๆไม่ยอมหายมาหลายเดือนแล้ว
เราอยากจะบอกเพื่อนๆน้องๆไดอิสว่าเราอยากเขียนไดตัวนี้มานานแล้วแต่ต้องรอคนมาแยะๆมาดูก้อด้ายไม่ต้องเม้ม
การรักษาของแผนโบราณบางแขนงต้องถ่ายโรค..พูดง่ายๆกินยาถ่ายแต่ต้องดูขนานของยา ปริมาณ น้ำหนักตัว
คนที่ควรกินยาถ่ายโรค
1.คนที่เป้นไข้หวัดง่ายๆและมีฝ้าขาวหนาๆที่ลิ้นและถ่ายไม่สุดรุ้สึกเหมือนมีอะไรติดค้างไว้ที่ก้น
2.คนที่ท้องอืดบ่อย ไม่รู้สึกปวดท้องอึประเภทปวด3วันครั้งแต่ถ้าไม่ปวดเลยให้ไปตรวจโรคให้ละเอียด
3.คนที่เคยมีประวัติเป็นงูสวัดหรือประดงบ่อยๆแล้วถ่ายไม่คล่อง
4.คนที่เป็นภูมิแพ้แบบมีกลิ่นในรูจมูก
ยาถ่ายที่แนะนำคือยาน้ำระดมพลหาได้ทั่วๆไปตามร้านขายยาขวดละ20-25บาทอย่าไปดูฉลากยาเพราะกฎหมายว่าด้วยยาเค้าให้กินได้แค่2-3ช้อนโต๊ะอย่างมากแต่พวกหมอแผนโบราณกินตามแบบข้างล่าง
ปริมาณการกินแบบคร่าวๆนะให้ดูจากน้ำหนักตัวเป็นเกณฑ์ถ้า.....
มากกว่า50กิโลกรัมให้กินครึ่งขวดน้อยกว่า50กิโลให้กิน1ใน3ของขวด
ยาต้องผลิตไม่เกิน6เดือนเพราะยาระดมเนี่ยมีข้อเสียคือเสียง่ายไม่ทนรสชาติห่วยแต่สรรพคุณดีมากกก
กินสัปดาห์ละครั้ง4-6สัปดาห์ถ้าสมมุติกินสัปดาห์แรกอาจมีผื่นขึ้นหรือร้อนใน..อย่าตกใจบางรายมีเริมด้วยเพราะกระทุ้งเชื้อออกมา

สัปดาห์แรกอาจถ่ายถึง15-20ครั้งสัปดาห์ที่2อาจเหลือ10-15ครั้งสัปดาห์ที่3อาจเหลือ6-8ครั้งสัปดาห์ที่4น่าจะเหลือ2-4ครั้งไม่เหมือนกันในแต่ละคน
กินแล้วจะถ่ายติดต่อกันอย่างน้อย6-14ชมกินตอนท้องว่างถ้ากินกลางคืนวันเสาร์จะถ่ายไปจนถึงวันอาทิตย์
อาจจะไม่มีคนกินแต่ยังดีที่เราบอกเท่าที่เราหวังดีนะเพราะคนหน้าคอมเนี่ยภูมิต้านทานน้อยน่ะเป็นกันแยะนะ
ข้องใจอะไรโทรมานะ 0890745795 "
เป็นไง สนุกดีนะ  เรื่องยาน้ำระดมพลนี่  เคยมีพี่ที่ทำเสริมสวยแนะนำว่า  สาว ๆ ที่เป็นสิวเขอะรักษาไม่หายนี่แกจะแนะนำให้กิน ถ้าถ่ายเตลิดตะเลยแกจะให้กินนมเปรี้ยวซัก ๒ ขวด  แกรับรองว่าสิวหายชะงัดนัก  ก็แสดงว่าพวกนี้เป็นสิวจากของเสีย(ขี้) สะสมในร่างกายจนตีพิษออกมา ก็เลยมาได้ความรู้เพิ่มเติมจากคุณหมอท่านนี้ เสียดายรู้จักช้า  ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะต้องเชิญมาเป็นวิทยากรแน่ ๆ  หมอเก่งๆมีไม่น้อย แต่หมอที่ทั้งเก่งและดี หายาก ยิ่งเก่ง ดี และต๊องๆแบบนี้  ยังไม่เคยเจออ่ะ  ใครสนใจหมอคนนี้ มีเบอร์แล้ว จัดการเลย
อ่านอยู่นานกว่าจะเจอข้อมูลหมอทั้งหมด  แต่อยากบอกไว้นิดหนึ่งว่า  ถึงหมอจะใจดีแค่ไหน ก็ควรมีค่าครู ค่ารถ เลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำบ้าง เพราะจะได้ไม่สร้างภาระให้หมอจนเกินไป และคนดีๆจะได้มีกำลังใจมีเรี่ยวแรงทำดีต่อไป

คุณสุรจิตร สมิทธิ์นราเศรษฐ์   หมอเต้ย

089-0745795  surajit42@hotmail.com

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

ภัตตาคารบ้านทุ่ง - มะม่วงหาว 3Jun12


ว่านกาสักแดง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกาสักแดง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกาสักแดง ลักษณะลำต้น ใบ ดอก หัว เหมือนว่านกาสักธรรมดาทุกอย่าง ผิดกันที่ลำต้น ก้านใบนั้นมีสีแดงเรื่อ ๆ สรรพคุณอยู่คงกระพัน ( บางคนเรียกว่าเสือนั่งร่ม ) "
ต้นแดงเรายังไม่เคยเห็น

ว่านกาสัก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกาสัก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกาสัก ใบคล้ายใบสัก หนา สาก ลำต้นเป็นปล้องเหมือนไม้สัก ใบใหญ่เป็นจัก รากเป็นฝอย รากนั้นจะโตขึ้นเหมือนหัวมันสำปะหลัง มีดอกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกสีขาวคล้ายดอกเถาคัน ดอกนั้นเมื่อแก่จะเป็นเมล็ด เมล็ดหนึ่งนั้นมีรอยผ่าเป็น๔ ใน ๔ นี้เมื่อเพราะแล้วจะได้ต้น ๔ ต้น สรรพคุณหัวรับประทานแล้วอยู่คงกระพัน ( บางคนเรียกว่าเสือนั่งร่ม ) "
ว่านตัวนี้เมื่อถึงเวลาจะยุบหายไป แล้วงอกต้นขึ้นมาใหม่ เป็นไม้แปลก  หน้าตาเหมือนไม้ยืนต้นแต่ยุบต้นเหลือแต่หัวเหมือนพวกขมิ้น รูปจาก http://www.bloggang.com/data/coffeemaingam/picture/1220240551.jpg
รูปที่เราถ่ายไว้ก็มีแต่ยังไม่มีเวลาหา

ว่านหนุมานยกทัพ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหนุมานยกทัพ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหนุมานยกทัพ ลักษณะลำต้นใบคล้ายต้นขมิ้นชัน หัวมีสีเหลืองอ่อน ลักษณะของหัวนั้นคล้ายกับหัวว่านขอทอง แต่หัวใหญ่กว่าเล็กน้อย หัวงอขึ้นท่าหนุมานแผลงฤทธิ์ สรรพคุณรับประทานแก้ปวดท้อง ท้องเดิน แก้พิษสัตว์ต่อย "
อยากเห็นหัวจัง

ว่านหนุมานนั่งแท่น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหนุมานนั่งแท่น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหนุมานนั่งแท่น ( มี ๒ ชนิด ) ชนิดหนึ่งก้านและใบ คล้ายใบละหุ่งมีสีแดงเรื่อ ๆ มีดอกเป็นช่อ หลายดอกมีสีแดง หัวกลมทับลำต้น มองดูคล้ายศีรษะคนที่มีคอ สรรพคุณอยู่คงกระพัน
อีกชนิดหนึ่งลำต้น ก้าน ใบ หัวเหมือนกันทุกอย่าง ผิดที่ว่าใบและก้านนั้นสีเขียวอย่างเดียว สรรพคุณเช่นเดียวกัน ( แต่มีผู้นิยมใช้แต่อย่างแดง ) "
ว่านหนุมานนั่งแท่นรูปนี้น่าจะถ่ายเองมั้ง

ว่าน๔ทิศ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่าน๔ทิศ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่าน๔ทิศ ลักษณะลำต้นหัวใบ คล้ายกับว่านนางล้อม ดอกมีสีต่างๆ กัน ขาว ชมพู ส้ม สรรพคุณเป็นว่านมหานิยม "
เอารูปมาให้ดูแค่ดอกสีส้ม ที่เป็นว่านที่ปลูกกันมากตามบ้านนอก ถึงเวลาก็ชูดอกสวยเป็นแถวเป็นแนว  รูปจากเวปพระใหม่

ว่านนางล้อม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนางล้อม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนางล้อม ลักษณะหัวเหมือนหอมหัวใหญ่ ใบเล็กยาวหนา มีหัวเล็กแตกออกล้อมหัวใหญ่ ดอกขาว ลักษณะคล้ายดอกผักบุ้ง แต่มีเกสรเล็กยาวพ้นดอก สรรพคุณปลูกไว้ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ "

ว่านตอด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านตอด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านตอด ลักษณะลำต้นใบเหมือนใบหนาด ใบหรือยาง ถ้าถูกเข้าในขั้นแรกจะเป็นผืนแดงบวมขึ้นมา และมีอาการปวดตอดกระตุกอย่างมาก เมื่อถูกแล้วให้เอารากของมันฝนกับน้ำผนทาตรงที่ผื่นแดงจะค่อย ๆ ทุเลาลงตามลำดับ "
ถือเป็นว่านอันตราย ว่ากันว่าคนเมื่อก่อนปลูกไว้แนวรั้วบ้านเพื่อกันขโมย พ่อหมอพื้นบ้านแถวปากช่องเล่าว่าเคยมีพวกเก็บค่าไฟฟ้ามั้งทะเล่อทะล่าไปโดนล้มทั้งยืนเหมือนถูกไฟช๊อต  จำไม่ได้ว่าแกแก้ให้เขาอย่างไร  พ่อหมออีกรายที่อยู่ห้วยแถลงก็ปลูกแกเอาสุ่มไก่ครอบเอาไว้
คนโบราณปลูกไว้สำหรับทำรั้วกันมิจฉาชีพ โจรขโมย พิษของว่านเมื่อถูกแล้วจะเป็นผื่นคันทั่วตัวและผื่นคันนั้นจะเป็นแผลกินถึงกระดูก รักษาไม่ถูกอาจถึงตายได้


เมื่อถูกว่านตอด ให้กินว่านขอทองแก้ หรือพญาว่าน จะหายและใช้บดผสมยาเส้นทาตามตัวด้วย รูปและเรื่องจากnatres.skc.rmuti.ac.th
เอามาลงไว้ให้ดูเพราะทุกวันนี้ก็ยังมีคนปลูกอยู่

ว่านพืชมงคล รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพืชมงคล รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านพืชมงคล ลักษณะหัวเหมือนหัวแม่มือ คุ้มงอคล้ายตัวนางอาย ใบเหมือนใบกระพังโหม แต่ใหญ่กว่าไม่เป็นเถา ใบมีละอองขนน้อย ๆ ต่อมาลำต้นและใบชักสั้นเข้า จึงมีชื่อว่ากาเหล็กฟักไข่ หัวมองคล้ายรังนกมีไข่อยู่ตรงกลาง เมื่อสลัดใบอีกครั้งหนึ่ง ใบที่งอกนั้นจะยาวกว่าเดิม ปลายใบเป็นตุ้ม ตุ้มนั้นก็จะกลายเป็นเมล็ด จึงมีชื่อว่า " เพชรปลายใบ" ต่อมาเพชรปลายใบนั้นจะตกลงที่พื้นดินก็จะกลายเป็นลำต้นต่อไป เรียกว่า"ว่านคืบ" ต้นเดิมของเพชรปลายใบนั้น ใบนั้นจะมีสีแดงเรื่อ ๆ เรียกว่า "ว่านพืชมงคล" สรรพคุณเป็นว่านศิริมงคล ที่จะนำโชคลาภมาสู่ "
โหอลังการมากเลยว่านตัวเนี้ย

ว่านช้างผสมโขลง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านช้างผสมโขลง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านช้างผสมโขลง ลักษณะหัวเหมือนหน่อไม้ แต่ไม่มีกาบหุ้มเหมือนหน่อไม้ สีเขียว ใบเหมือนใบแขวกน้ำ ดอกสี เป็นช่อมีก้านยาวเล็ก สรรพคุณปลูกไว้เป็นเสน่ห์มหานิยม ถ้าเอามาตำแล้วโรยใส่ลงให้ผู้นั้นรับประทาน จะทำให้รักและหลงเรา"
ว่านตัวนี้เป็นพวกกล้วยไม้ดิน ยังมีให้เห็นบ้างตามป่า น่าเสียดายที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ระบุสีดอกเหมือนพิมพ์ตกไป เพราะในปัจจุบันมีว่านลักษณะนี้อยู่สองชนิดคือว่านช้างผสมโขลงและว่านเขาควายใหญ่ โดยแยกกันที่สีของดอกว่านเขาควายใหญ่ปากดอกเป็นสีชมพู ถ้าเป็นช้างประสมโขลงปากดอกจะเป็นสีเขียว
รูปว่านช้างผสมโขลง จากเวปstonehenge.in.th
ดอกว่านเขาควายใหญ่จากเวปนานาการ์เด้น

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ว่านทิพยเนตร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านทิพยเนตร รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านทิพยเนตร ลักษณะลำต้นหัวคล้ายต้นขมิ้น เนื้อในหัวสีขาว หน้าใบมีสีเขียวแก่และอ่อน ท้องใบสีแดงดุจสีลูกหว้าแก่ สรรพคุณใช้ทำยารักษาโรคตา "
ว่านทิพยเนตรมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ลักษณะใบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดูง่าย รูปจากนานาการ์เด้น

ว่านไม้ดีด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านไม้ดีด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านไม้ดีด ลักษณะลำต้นหัวคล้ายต้นขมิ้น เนื้อในหัวสีขาว กลิ่นหอมเย็น หน้าใบเขียวมีลายขาว ท้องใบสีแดงดุจสีลูกหว้าแก่ "

ว่านธรณีเย็น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านธรณีเย็น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านธรณีเย็น ลักษณะลำต้นเป็นกอ รากเป็นฝอยคล้ายรากหญ้าคา ก้านเล็กยาว ใบเท่าใบขมิ้นชันแค่ใบมีลายเส้นสากเหมือนใบหอมแดง สีของใบเขียวคล้ำ สรรพคุณเป็นว่านศิริมงคล "
ว่านตัวนี้จริงๆจะยืนยันตรงกันหมด แต่สงสัยอยู่ข้อเดียวที่ว่าใบเท่าใบขมิ้นชัน  ใบขมิ้นชันใหญ่ไม่ใช่น้อย  เรายังไม่เคยเห็นว่าว่านนี้จะใบใหญ่ขนาดนั้น
ว่านธรณีเย็นที่เจอตามธรรมชาติหรือที่หมอพื้นบ้านปลูกไว้ ใบจะเรียวเล็ก รูปนี้ จาก magnoliathailand.com
ว่านธรณีเย็นที่ขายตามร้านใบจะใหญ่กว่าเยอะ รูปจากนานาการ์เด้น

ว่านพุทธเกตุ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพุทธเกตุ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านพุทธเกตุ ลักษณะใบคล้ายกับหมากผู้หมากเมีย แต่ไม่มีสีแดงเรื่อ ๆ มีแต่สีเขียว หัวกลมเรียวมันเหมือนเกตุพระ สรรพคุณปลูกไว้เป็นศิริมงคล "
ว่านตัวนี้ไม่เคยได้ยินมาก่อน  น่าจะหลงปนอยู่กับต้นหมากผู้หมากเมีย

ว่านนางวันทองห้ามทัพ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนางวันทองห้ามทัพ  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า "ว่านนางวันทองห้ามทัพ ลักษณะลำต้นใบคล้ายขมิ้นชัน หัวเป็นแง่งเล็กๆ เนื้อในหัวสีเหลืองอ่อนเล็กและยาวคล้ายกับเดือยไก่ สรรพคุณตำกับสุรารับประทานแก้ท้องเดิน ลงท้อง อหิวาต์ "

ว่านมหาหงส์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านมหาหงส์  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านมหาหงส์ ลักษณะลำต้น ใบ หัว คล้ายกับข่า ดอกเป็นพวงกลีบสีขาวมีกลิ่นหอมกว่าว่านทั้งหลาย สรรพคุณปลูกไว้หรือนำติดตัวไป เป็นเสน่ห์มหานิยมยิ่งนัก "
ว่านมหาหงส์หรือสเลเตยังคงมีให้เห็นทั่วไปในภาคอีสาน เป็นคุณค่าที่อยู่คู่วิถีชีวิตที่เราควรรักษาไว้ตลอดไป รูปจาก botanyschool.ning.com

ว่านรางนาค รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘


ว่านรางนาค  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านรางนาค ลักษณะลำต้น ใข หัว เหมือนว่านรางเงินทุกอย่างผิดกันที่ใต้ใบนั้นมีสีแดงดุจลูกหว้าแก่ สรรพคุณเป็นว่านศิริมงคล "
รูปจากเวปนานาการ์เด้น

ว่านรางเงิน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านรางเงิน  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านรางเงิน ลักษณะลำต้นใบคล้ายใบลิ้นมังกรแต่ใบบางกว่า สั้นและแคบ กระดูกกลางใบเป็นเส้นขาวยาวถึงปลายใบ หัวคล้ายหอมหัวใหญ่ สรรพคุณปลูกไว้เป็นศิริมงคล "
ปัจจุบันมีว่านรางเงิน รางทอง รางนาค ว่านรางเงินหาง่ายสุดเพราะแตกหัวง่าน ว่านรางนากหายากสุด แต่ในตำราเก่าจะมีแค่รางเงินและรางนาค ไม่มีว่านรางทอง  ลักษณะของว่านรางเงินรางทองก็คล้ายกันมากแทบจะแยกไม่ออก ส่วนว่านรางนาคมีลักษณะใบกว้างสั้น เส้นกลางใบสีขาวแถบใหญ่แยกออกได้อย่างชัดเจน
ว่านรางเงินจากเวปนานาการ์เด้น

ว่านแม่โพสพ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านแม่โพสพ  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านแม่โพสพ ลักษณะลำต้นเป็นกอคล้ายกอข้าว รากเป็นกระจก ใบคล้ายใบว่านเศรษฐีขอด แต่ไม่ม้วนกลม ใบเหยียดยาว สรรพคุณใช้ในพิธีทำขวัญข้าว ป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่จะมาทำอันตรายแก่ต้นข้าว "
ไม่แน่ใจว่าจะใช่ว่านที่ทุกวันนี้เรียว่าว่านเศรษฐีกอบทรัพย์รึเปล่า เพราะมีลักษณะเหมือนเศรษฐีขอดแต่ใบไม่ม้วน

ว่านเศรษฐีเรือนใน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเศรษฐีเรือนใน  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเศรษฐีเรือนใน ลักษณะลำต้น ใบ หัว อย่างเดียวกับว่านเศรษฐีเรือนนอก แต่ริมขอบใบเขียว กลางใบขาว สรรพคุณเป็นเสน่ห์มหานิยม "
รูปจากเวปแมกโนเลียไทยแลนด์

ว่านเศรษฐีเรือนนอก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเศรษฐีเรือนนอก  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเศรษฐีเรือนนอก ลักษณะลำต้นเป็นกอ หัวเล็กยาว กอดกันเป็นกลุ่ม ริมขอบใบขาว กลางใบเขียว สรรพคุณเป็นเสน่ห์มหานิยม "
รูปจากเวปพลังจิต

ว่านเศรษฐีขอด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเศรษฐีขอด  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเศรษฐีขอด (ลักษณะลำต้นเป็นกอ ) ใบคล้ายใบกุ้ยฉ่าย ปลายใบม้วนกลมเข้า ถ้าเราจะเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขายคล่อง ว่านจะม้วนเข้าหากันเป็นหลายวง "
ภาพจาก kuankaset.com  เพราะต้นของเราใบไม่ม้วนเลย

ว่านเศรษฐีสอด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเศรษฐีสอด  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเศรษฐีสอด ( บางตำราเรียกว่าว่านชัยมงคล ) ลักษณะลำต้นเหมือนต้นพลับพลึง แต่ใบเล็กกว่า ใบกับใบสอดเข้าหากันทุก ๆ ใบ  หัวกลมคล้ายหอมหัวใหญ่ แต่ค่อนข้างยาว สรรพคุณเช่นเดียวกับว่านเสน่ห์จันทร์ทอง "
ภาพจาก เวปพระใหม่

ว่านทองกระจาย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านทองกระจาย  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านทองกระจาย ลักษณะลำต้น ใบ เหมือนว่านเพชรกลับ แต่ไม่แดงเหมือนเพชรกลับ ดอกเหลืองเป็นช่อมีเกสรยาวงอน เมื่อดอกแก่เป็นเมล็ดคล้ายเมล็ดมะละกอเป็นพวง บางแห่งเรียกว่าว่านพวก คือเอามาโขลกผสมกับดินสอพองไว้เขียนอักขระลงพุทธคุณต่าง ๆ รากคล้ายกระชายแตเล็กมาก สรรพคุณเป็นเสน่ห์มหานิยม "

ว่านกระชายแดง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกระชายแดง  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกระชายแดง ลักษณะลำต้น ใบ เหมือนกระชายธรรมดาทุกอย่าง ลำต้นใบแดง เนื้อในหัวสีเหลืองอ่อนเหมือนกระชายธรรมดา แต่รากเป็นไหลตุ้ม รสฉุนอ่อนกว่า สรรพคุณอย่างเดียวกับกระชายดำ "

ว่านกระชายดำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกระชายดำ  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกระชายดำ ลักษณะต้น ใบ คล้ายต้นกระชายหัวเล็ก สีในหัวสีดำ บางทีก็สีม่วง แต่รากไม่เป็นตุ้มเหมือนกระชายธรรมดา สรรพคุณแก้ลมทุกชนิด แก้ท้องเดิน บิด และยาอยุวัฒนะ "

ว่านไพลดำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านไพรดำ  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านไพรดำ ลักษณะลำต้นเหมือนต้นไพรทุกอย่าง ก้านใบและหัวสีแดงคล้ายลูกหว้าแก่ สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะและแก้ปวดบวม "

ว่านมหาปราบ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านมหาปราบ  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านมหาปราบ ลักษณะลำต้นคล้ายขมิ้นชัน ก้านใบแดง ขอบใบแดง ยอดแดง ท้องใบแดงเป็นละอองขนแดง หลังใบขาว ว่านนี้มีอานุภาพมาก ท่านว่าเมื่อจะขุดว่านนั้น ให้จัดเครื่องสักการะบูชา ดังกล่าวมาแล้ว เสกด้วยพุทธคุณ " นะโมพุทธายะ " ๓ - ๗ คาบ เป่าและรดบริเวณรอบ ๆ ต้น พร้อมจัดกระทงแบบมุมเบี้ย ๓ มุม พร้อมด้วย กุ้งพล่า ปลายำ แล้วบัดพลี แล้วจึงค่อยขุดเอาว่านนั้นขึ้นมา เมื่อจะกินให้เสกด้วย พุทธคุณ อิติปิโส ฯลฯ ภควา ๓ - ๗ คาบ สรรพคุณฟันแทงมิเข้า แม้จะขึ้นไปนอนบนหนามหรือตะปู จะหารู้สึกเจ็บไม่และยังทำให้เกิดพละกำลังยิ่งนัก "
ว่านมหาปราบมีแพร่หลายทั่วไป ก้านใบและเส้นกลางใบสีแดงจัดเห็นได้ชัด รูปจากสวนศรีชาวนา เวปนานาการ์เด้น

ว่านใจดำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านใจดำ  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านใจดำ ลักษณะลำต้น กระดูกกลางใบแดง ใบ หัว คล้ายขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีเหลืองนวล ตรงกลางเป็นจุดดำ สรรพคุณใช้ในทางคงกระพัน และแก้ปวดท้องลงท้อง "

ว่านเขียวมรกต รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเขียวมรกต  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านเขียวมรกต ลักษณะลำต้นกระดูกกลางใบแดง ใบหัวคล้ายขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีเข้มจัด เกือบจะเป็นฟ้าแก่ สรรพคุณเช่นเดียวกับว่านเมฆ "

ว่านเมฆ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเมฆ  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเมฆ ลักษณะลำต้น ใบ หัว คล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีม่วง สรรพคุณใช้ฝนกับสุรารับประทานและทาแก้พิษสัตว์กัดต่อย จนกระทั่งพิษงู "

ว่านมหาเมฆ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านมหาเมฆ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านมหาเมฆ ลักษณะลำต้นกระดูกกลางใบมีสีแดงหม่น ต้นหัวใบคล้ายต้นขมิ้นอ้อย ดอกเหมือนดอกระกำ เนื้อในหัวเป็นสีเขียวอ่อนมีปนเหลืองเล็กน้อย ว่านนี้มีอานุภาพมาก ถ้าจะกินให้เสกด้วยพุทธคุณ " นะโมพุทธายะ " และพระคาถา " อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ " ท่านว่าเมื่อจะเสกให้เสกเมื่อเมฆจับดวงอาทิตย์ แล้วเอามาทาตัว ถ้าจะให้มีกำลังดุจช้างสาร  ก็ให้เสกเมื่อมีจันทรุปราคาแรกจับ เสกไปจนกว่าจะมืดมิด แล้วเอามาทาตัว ไม่มีใครเห็นเรา ถ้าจะต้องการเห็นสิ่งใดก็ได้ดังใจปรารถนา หอก ดาบ ธนู หน้าไม้ ยิงมิถูกเรา จังงังไปหมด ตลอดจนแก้ปวดท้อง แะลลงท้อง "

ว่านครรถมาลาน้อย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านครรถมาลาน้อย รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านครรถมาลาน้อย ลักษณะลำต้น ใบ คล้ายต้นขมิ้นอ้อย ต้นเขียว กระดูกกลางใบแดง หัวเป็นแง่งเล็กเหมือนขมิ้น เนื้อในหัวมีสีม่วงอ่อน สรรพคุณเช่นเดียวกับว่านครรถมาลาขาว "

ว่านครรถมาลาม่วง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านครรถมาลาม่วง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านครรถมาลาม่วง ลักษณะลำต้น ใบ คล้ายต้นขมิ้นอ้อย ต้นแดงกระดูกกลางใบแดง เนื้อในหัวสีม่วง สรรพคุณแก้ปวดท้อง ลงท้อง ฝนด้วยน้ำปูนใสแทรกเกลือ และชักมดลูก "

ว่านครรถมาลาขาว รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านครรถมาลาขาว รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านครรถมาลาขาว ลักษณะลำต้นใบคล้ายต้นขมิ้นอ้อย ต้นและใบขาว หัวคล้ายกับว่านนางคำ เนื้อในหัวสีขาว รสร้อนฉุนจัด สรรพคุณใช้รักษษไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร ชักมดลูก "

ว่านผักเบี้ยโหรา รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านผักเบี้ยโหรา รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านผักเบี้ยโหรา ลักษณะลำต้นแดง และท้องใบเป็นขน ใบเล็กกว่าใบผักเบี้ยหนู สรรพคุณใช้เป็นยาฆ่าปรอท และทอดดีบุกเป็นรัชฏะ ว่านนี้ห้ามกิน "

ว่านงูเห่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านงูเห่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านงูเห่า ลักษณะลำต้น ใบ หัว คล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวมีสีขาว มีกลิ่นรสร้อนฉุนจัด เหมือนน้ำมันดินอ่อน ๆ สรรพคุณใช้ฝนกับสุราหรือน้ำรับประทานหรือทา แก้อสรพิษทุกชนิดที่กัดต่อย "

ว่านข่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านข่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า "ว่านข่า ลักษณะใบเขียวเหมือนใบข่า จะมีดอกก็ต่อเมื่อต้นปี ดอกนั้นเหมือนดอกเซ่ง ว่านข่านี้ไม่มีหัวมีแต่ราก สรรพคุณถ้าถูกคุณไสย ให้เอาว่านนี้มาฝนรับประทานหาย ถ้าทำเป็นลูกประคำผูกไว้กับตัว แม้แต่จะถูกยาเบื่อเมา ยารมก็ไม่ต้องกลัว พึ่งเสกด้วยพุทธคุณ " นะโม พุทธายะ " ตามกำลังวันรับประทาน "

ว่านพัดแม่ชี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพัดแม่ชี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านพัดแม่ชี ( บางแห่งเรียกว่าว่านหางช้าง ลักษณะใบและการโผล่ขึ้นจากดิน ใบเรียงรายกันเหมือนกับดาบนารายณ์ แต่ใบอ่อนกว่าไม่เหมือนดาบ มีดอกมีช่อหลายดอก มีก้านยาวออกจากต้น ดอกนั้นสวยมีสีแสดบ้างเหลืองบ้าง มีเป็นจุดดำ ๆ สรรพคุณเช่นเดียวกับดาบนารายณ์ และเป็นยารักษาโรค "
อันนี้สับสนเรื่องสีใบและลักษณะดอกเหมือนมันกลับ ๆ กันระหว่างพัดแม่ชี ดาบนารายณ์ และว่านหางช้าง  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่านแต่ละตัวตามรูปนี้
รูปแรกพัดนางชี หรือพัดยายชี ปลูกง่ายขยายพันธุ์ง่าย ช่อดอกมีสีขาว ใบอ่อนกว่าทุกชนิด รูปนี้เราถ่ายเอง
รูปนี้ว่านดาบนารายณ์ รูปจาก baanlaesuan.com ไม่ค่อยเห็นในตลาด ถ้าไม่ออกดอกก็บอกยากว่าเป็นตัวไหน
ว่านหางช้าง จากร้านสวนเกษตรอินทรีย์ เวปนานาการ์เด้น  ว่านหางช้างจะเรียกว่าน ๒ ชนิด คือว่านตัวนี้ กับว่านเพชรหึงที่เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ถ้าเป็นกลุ่มเดียวกันกับพัดแม่ชีคือตัวนี้้ งานวิจัยพบว่าใช้สกัดรักษาโรคเอดส์ได้  ถือว่าหายากและยังมีราคาแพงอยู่
ส่วนต้นนี้คือ วอร์กกิ้งไอริส ไม่ใช่ว่านเป็นไม้ประดับที่เห็นอยู่ทั่วไป  ปลูกง่ายขยายพันธุ์ง่าย  เป็นไม้กลุ่มเดียวกัน รูปนี้มาจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nulaw-08&month=20-07-2010&group=7&gblog=222
เอาเป็นว่าถ้าใครจะเล่นว่านกลุ่มนี้ก็ศึกษาดีๆ และรอดูดอกเพื่อความแน่ใจ  ส่วนใหญ่ที่มีอยู่เยอะมากที่สุดคือว่านที่มีช่อดอกสีขาวหรือที่ในตลาดเรียกว่าว่านพัดนางชี

ว่านดาบนารายณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านดาบนารายณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านดาบนารายณ์ ลักษณะใบคล้ายกับดาบมากคลี่เรียงกันเหมือนคลี่พัด โผล่ขึ้นจากพื้นดินเลย ใบค่อนข้างแข็ง ดอกนั้นขาว ออกที่บริเวณปลายใบ สรรพคุณปลูกไว้เป็นศิริมงคลและป้องกันเสนียดจัญไร "

ว่านนกคุ้ม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘


ว่านนกคุ้ม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนกคุ้ม ลักษณะลำต้นยาวประมาณ ๑ คืบ หน้าใบมีลายคล้ายกับปีกนก เหมือนมีขนแซมกัน ๓ ชั้น ใต้ใบมีสีคล้ายกับสีลูกหว้าอ่อน ดอกคล้ายดอกมะเขือ หัวมีสีเหลือง สรรพคุณมีคุณค่าเช่นเดียวกับว่านนางคุ้ม "

ที่มารูปจาก bansuanporpeang.com

ว่านนางคุ้ม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนางคุ้ม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนางคุ้ม ลักษณะต้น หัว ใบ คล้ายกับว่านตาละปัดฤาษีทุกอย่าง ดอกก็เหมือนกัน ผิดกันที่ว่า ว่านนางคุ้มนั้นใบเขียวคล้ำ ส่วนสัดของใบและก้านเล็กกว่า ใบค่อนข้างกลม สรรพคุณปลูกไว้คุ้มภัยกันอันตรายต่าง ๆ ตลอดจนฟืนไฟไหม้ "
ที่มารูปจาก panmai.com

ว่านตาละปัดฤาษี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านตาละปัดฤาษี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านตาละปัดฤาษี ลักษณะคล้ายหัวหอมใหญ่ ใบคล้ายตาละปัดฤาษี ลำก้านแข็ง ใบใหญ่แข็ง สีใบเขียวปนเหลือง ต้นหนึ่งมีหลายใบ มีดอกสีขาวกลีบเล็ก ช่อหนึ่งมีหลายดอก สรรพคุณปลูกไว้คุ้มภัยกันอันตรายต่าง ๆ "

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ว่านงาช้าง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านงาช้าง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า "ว่านงาช้าง ลักษณะว่านนี้ไม่มีใบ งอกโด่ขึ้นมาจากดินคล้ายกับงาช้าง กลมดังฝักคูณสีเขียว สรรพคุณดองกับสุรา แก้เลือดตีขึ้นเวลาอยู่ไฟ "

ว่านมหาประสาน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านมหาประสาน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า "ว่านมหาประสาน ลักษณะลำต้นเขียวใบลาย ต้นคล้ายหมากผู้หมากเมีย เนื้อในหัวสีขาว สรรพคุณเป็นว่านประสานบาดแผลให้ติดสนิท ว่านมหาประสานนี้มีหลายชนิด บางชนิดต้นคล้ายกับต้นขมิ้น บางชนิดก็คล้ายกับต้นเปราะแต่ใบเล็กยาวประมาณ ๑ คืบแนบติดอยู่กับต้น "

ว่านจ่าว่าน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านจ่าว่าน รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ลักษณะลำต้นและใบคล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีเหลืองอ่อน สรรพคุณเป็นว่านแก้ที่ถูกว่านร้ายต่าง ๆ ตลอดจนต้นไม้ที่มีพิษ ฝนทา หรือรับประทานก็ได้ "

ว่านกระบูนเลือด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกระบูนเลือด รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกระบูนเลือด ลักษณะลำต้นคล้ายต้นขมิ้นอ้อย ใบเขียว หัวกลมคล้ายหัวเผือก หัวเป็นลายปล้องห่าง เนื้อในหัวสีขาว รสร้อนฉุนจัด ว่านชนิดนี้มีธาตุการบูน เวลารับประทานห้ามเคี้ยว เพราะจะทำให้ฟันโยก ต้องฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน สรรพคุณแก้ดานเลือดดานลม และทำมดลูกให้แห้งสนิท หรือดองกัยสุราก็ได้ "

ว่านชักมดลูก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านชักมดลูก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า "ว่านชักมดลูก ( มี ๒ ชนิด ) ชนิดหนึ่งลักษณะลำต้นหัวใบคล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีเหลืองคล้ายว่านม้า กระดูกใบแดง ( ชนิดนี้เรียกว่าตัวผู้ )
อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายกับว่านขอทอง แต่เนื้อในของหัวมีสีขาว (ชนิดนี้เรียกว่าตัวเมีย )
ว่านทั้งสองชนิดนี้สรรพคุณเป็นว่านที่ดีที่สุด ใช้ต้มหรือฝนกับน้ำสุรารับประทานสำหรับชักมดลูก และแก้กระบังลมเคลื่อน "

ว่านเข้าค่ำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเข้าค่ำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเข้าค่ำ ลักษณะลำต้นใบคล้ายกับใบหมากผู้หมากเมีย ลำต้นเขียว ใบเขียวลาย เนื้อในหัวสีขาว รสหอมเย็น สรรพคุณใช้เวลาคลอดบุตร ใช้หัวว่านต้มรับประทานต่างน้ำ ขณะที่อยู่ในเรือนไฟ ทำให้มีกำลัง และช่วยมดลูกให้เข้าอู่ได้เร็ว"

ว่านหญ้าณรังสี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านหญ้าณรังสี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านหญ้าณรังสี ลักษณะลำต้นแดง ก้านแดง มีใบ ๔ ใบดุจพุทธรักษา ขอบใบสีดุจกลีบดอกบัวแดง มีกลิ่นหอม มีหัวเป็นชั้น ๆ ชั้นบนดังพุทธรูปผ่าออกสีขาว ชั้นล่างดังรัตนบัลลังก์ ผ่าออกเป็นสีบัวโรย ว่านนี้ขึ้นตามเนินยอดเขา ในเดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ มีเทพยดาบำเรอฆ้อง กลอง แตรสังข์ ครั้นเดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ เทพยดาคลาดเคลื่อน  ถ้าพบว่านนี้แล้ว ท่านให้บำเพ็ญศีล นุ่งขาว ห่มขาว แต่งเครื่องกระยาบวช พร้อมด้วยข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน แล้วบูชาเทพยดาทั้ง ๔ ทิศ แล้วสวดด้วยพุทธคุณนี้จนจบ " ทุกขปัตตา จนถึง ลภนัต เทวตา " ให้ได้ ๗ จบ ให้ทำในวันอาทิตย์แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ แล้วจึงขุดเอาว่านนี้มาใส่ห่อผ้าให้ได้ ๗ ชั้น นิมนต์พระสงฆ์มา ๕ รูป สวดมหาธรรมจักร ๓ จบ แล้วลงด้วยมงคลให้รอบ แล้วเอาว่านชั้นบนแกะเป็นพระพุทธรูปอยู่เหนือรัตนบัลลังก์ ส่วนชั้นล่างนั้นแกะเป็นรูปรัตนบัลลังก์และรูปนางพระธรณี แล้วจึงเอาอักษรนี้ลงให้รอบรัตนบัลลังก์ "ปถุสุทธิ มหาวิชัยยัง " แล้วเอาอักษรนี้ลงที่แก้มขวา  "มะ "ลงที่แก้มซ้าย  "อะ"อักษรนี้ลงที่พระที่นั่ง  "อมินาหะ หะ อทินะจะพะ"อักษรนี้ลงที่ใต้สมาธิ  "เตชะ สุเนมะ ๓ุจะนาวิเว" แล้วเอาอักษรนี้ลงที่ท้องพระ  "ตะฆะสังฆะ สุเมระหัง"  สรรพคุณพระพุทธรูปว่านหญ้าณรังสีนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ดีเลิศแล้ว ท่านจะปรารถนาสิ่งอื่นสิ่งใดย่อมสำเร็จสมความปรารถนาของท่าน"
ว่านตัวนี้มีเซียนว่านหลายท่านแย้งกันไปมาหาอ่านได้ในอินเตอร์เน็ท  ใครมีของจริงโชว์ตัวหน่อย

ว่านกำแพง๗ชั้น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกำแพง๗ชั้น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกำแพง ๗ ชั้น ลักษณะดังว่านกำแพงขาว เมื่อแรกขึ้น ๒-๓ ใบ หลังใบจะแดงจัด คล้ายลูกหว้าที่แก่ เมื่อออกหลายใบแล้ว ใบแรกที่ออกขอบหลังใบเขียว กลางใบแดงอ่อนลง ลำต้นและก้านใบแดง มองดูลำต้นและใบคล้ายกับว่านเพชรกลับ หัวมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ รากเป็นตุ้มเกาะกันเป็นกลุ่มคล้ายกับพวงลูกลางสาด สรรพคุณใช้ในทางแก้คุณไสยต่าง ๆ และภูติผีปีศาจ ประดุจกำแพง ๗ ชั้นที่กั้นไว้ มีสามารถสิ่งอื่นสิ่งใดที่จะทำอันตรายเราได้ไม่ คุณค่าเท่ากับว่านแสงอาทิตย์ เพราะท่านตีค่าของว่านนี้พันตำลึงทอง "
ใครมีว่านตัวนี้ขอให้รักษาไว้ให้ดี  เพราะตอนนี้หาซื้อไม่มีแล้ว

ว่านกำแพงขาว รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกำแพงขาว รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านกำแพงขาว ลักษณะใบคล้ายกับหมากผู้หมากเมีย ลำต้นใบสีเขียวมีลายคล้ายว่านเสือ แต่มีลายมากกว่า มีละอองเป็นพลายปรอทอยู่ตามใบ หัวเหมือนกระชาย รากเป็นตุ้มกลมทอดยาว ใบค่อนข้างยาว หัวมีกลิ่นหอม สรรพคุณใช้กันเขี้ยวงา "

ว่านนางคำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนางคำ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนางคำ ( มี ๓ ชนิด ) ชนิดหนึ่งลักษณะลำต้นแดง ขอบใบแดง เนื้อในหัวดังสีขมิ้นเน่า
ชนิดหนึ่ง ลักษณะลำต้นเขียว ใบเขียว เนื้อในหัวสีขาว ( ๒ อย่างนี้เป็นพญาว่าน ใช้แก้อิทธิฤทธิ์ของว่านทั้งปวง )
ชนิดหนึ่งลักษณะลำต้นใบเขียว กระดูกกลางใบแดง เนื้อในหัวสีเหลือง ( เป็นว่านนางคำที่ใช้กันตามธรรมดา ) ทั้งสามชนิดนี้ สรรพคุณใช้แก้เคล็ด ปวด บวม ได้เป็นอย่างดี "

ว่านโรหิณี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านโรหิณี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ลักษณะลำต้นเหมือนต้นทองหลาง ลูกเหมือนมะขาม ยางดำนั้นดำเหมือนหมึก รากเหมือนรากถั่ว สรรพคุณรับประทานเป็นกายสิทธิ์ "
ต้นนี้เคยอ่านเจอว่า อ.นพคุณ คุมา ( ถ้าจำไม่ผิด ) ท่านระบุว่าเป็นต้นกวาวเครือดำ ดูแล้วก็ค่อนข้างตรงตามตำรา เพราะทองหลางและกวาวเครือ ล้วนเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีใบประกอบสามใบเหมือนกัน

ว่านเอ็นเหลือง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเอ็นเหลือง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเอ็นเหลือง ลักษณะลำต้น ใบ หัว คล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีเหลืองอ่อน สรรพคุณใช้ต้มรับประทานแก้เส้นเอ็นแข็ง "

ว่านล้อมทั่วมฤคี รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านล้อมทั่วมฤคี  รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านล้อมทั่วมฤคี ลักษณะใบเหมือนใบพลับพลึง ดอกหอมยังดอกโยทะกา จะมีดอกในเดือน ๑๒ ในเดือนอ้ายจึงจะโรย สรรพคุณเอามาหุงกับน้ำมัน รับประทานทำให้เกิดกำลัง "
ต้นนี้มีข้อคิดเห็นและถกเถียงกันมากในอินเตอร์เน็ท  เราไม่มีความเห็นเพราะไม่รู้จัก

ว่านนางกวัก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนางกวัก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนางกวัก ลักษณะลำต้นเหมือนต้นอ้อย ( บางตำราว่าลักษณะลำต้นเหมือนต้นขมิ้นอ้อย ) ยอดแดง ขอบใบแดง ใบนั้นทาบลงเข้าหาลำต้น หรือทาบลงถึงดิน ลำต้นสีแดงคล้ายสีลูกหว้าอ่อน หัวเหมือนหัวกระเทียม มีอานุภาพมาก ถ้าพบเห็นแล้วอย่าพึ่งขุด ท่านว่าให้ทำกระทง ๓ มุม ใส่ข้าว สุรา เนื้อ ปลา หมากพลู ๓ คำ พลีกรรมเสียก่อน แล้วเสกด้วยพุทธคุณ " นะโมพุทธายะ " ๓ - ๗ คาบ แล้วเอาน้ำมนต์ราดให้รอบต้น แล้วจึงขุดเอาว่านนี้ มาแกะเป็นรูปนางกวัก แล้วมาทำการปลุกเสก ก่อนจะปลุกเสกรูปนางกวักนี้ พึงจำศีลภาวนาถือความสัตย์ และทำน้ำมนต์ด้วยพุทธคุณ " อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ " ๓-๗ คาบ ชำระตัวให้ได้ ๓ วันก่อน แล้วจึงปลุกเสกด้วย " นะโมพุทธายะ " อีก ๑๐๘ คาบ แต่ต้องทำในพระอุโบสถ สรรพคุณใช้ในทางเสน่ห์มหานิยมค้าขาย ล่องหนหายตัวได้ จะปรารารถสิ่งใดก็จะสำเร็จสัมฤทธิ์ผล ( ถ้าจะทำให้เป็นเสน่ห์ให้เอาว่านนั้นมาฝนทาที่หน้าที่ตัวแล้วเสกด้วย " นะโมพุทธายะ " ๑๐๘ คาบ ถ้าจะทำเป็นล่องหนหายตัวให้เอาว่านนี้ใส่ผ้าโพกศีรษะก็จะล่องหนหายตัวได้ "
ดูจากลักษณะแล้วน่าจะหายาก ที่ขายกันในตลาดทุกวันนี้ จะเป็นต้นที่เรียกว่าว่านนางกวักใบโพธิ์ ซึ่งเป็นคนละต้นกัน

ว่านประกายเหล็ก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านประกายเหล็ก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านประกายเหล็ก ลักษณะใบเหมือนใบปีบ หลังใบเหมือนใบขนุน ท้องใบเหมือนสีไพรแห้ง ก้านแดง ขอบใบแดง ยางเหมือนยางมะเดื่อ สรรพคุณอยู่คงกระพัน ฝนกับน้ำสุรารับประทานหรือจะใช้ทาก็ได้ ถ้าจะใช้รักษาฝีหัวเดียวให้ฝนกับน้ำซาวข้าวเป็นน้ำกระสาย พอกไว้ที่ปากแผล "
เหอๆๆๆ ยากแฮะ

ว่านนาคราช รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนาคราช รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนาคราช ( มี ๔ ชนิด ) ชนิดหนึ่ง ลักษณะลำต้นเหมือนต้นพลับพลึง หลังใบเหมือนเกล็ดนาคราช ปลายใบจดลงดินเป็นต้นขึ้นได้อีก คืบไปได้ไกลๆเหมือนกับว่านคืบ ผิดกันแต่ที่ว่าว่านคืบนั้นมีเมล็ดอยู่ที่ปลายใบ เมื่อคืบแล้วต้นเก่าก็จะตาย สรรพคุณเป็นยาฆ่าปรอท
อีกชนิดหนึ่ง ลำต้นเป็นเถาเลื้อยขึ้นไปตามต้นไม้สูงๆคล้ายกล้วยไม้ ลำต้นนั้นเป็นลายคล้ายงู สีมันละเลื่อม ลำต้นเถาโตประมาณนิ้วก้อย ใบเขียวเป็นฝอยมีก้านยาว สรรพคุณเอามาดองกับสุรารับประทานแก้โลหิตเสีย และพิษงูโดยใช้น้ำสุรา
อีกชนิดหนึ่งมีเถานิ่มเขียวคล้ำ ชอบขึ้นอยู่ตามต้นไม้สูงๆไม่มีใบ ที่เถาเป็นจุดหนามเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป สรรพคุณแก้พิษงูร้าย ใช้น้ำซาวข้าวเป็นน้ำกระสาย เอามารับประทาน ส่วนกากของว่านปิดไว้ที่ปากแผล ( ชนิดนี้เรียกว่านาคราชงูเขียว )
อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะลำต้นเป็นเถาอย่างเดียวกับนาคราชงูเขียว เหมือนกันทุกๆอย่าง ผิดกันอยู่ที่ลำต้นเถามีสีแดงเรื่อ ๆ สรรพคุณตลอดจนถึงวิธีใช้ก็อย่างเดียวกัน ( ชนิดนี้เรียกว่านาคราชปิ่นแก้ว )  "

ว่านอาหนัง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านอาหนัง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ลักษณะ ลำต้น หัว ใบ เขียวคล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีขาว รสร้อนฉุน สรรพคุณอยู่คงกระพัน "

ว่านจักจั่น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านจักจั่น รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านจักจั่น ลักษณะลำต้น หัว ใบ ดังต้นกระเทียมแต่ไม่มีดอก สรรพคุณ เป็นว่านแก้อสรพิษ ตำรับประทาน ใช้น้ำซาวข้าวเป็นน้ำกระสาย หรือใช้ใบขยี้ทาปิดไว้ที่ปากแผล ก็สามารถถอนพิษได้ "

ว่านเต่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเต่า รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเต่า ลักษณะลำต้น ใบ คล้ายต้นบุกราย แต่หัวเหมือนหัวเต่า สรรพคุณเป็นว่านมหานิยมและคงกระพัน "
จากที่บรรยาย น่าจะเป็นตัวเดียวกับที่เรียกว่าว่านเต่านำโชคในทุกวันนี้

ว่านคางคกใหญ่ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านคางคกใหญ่ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านคางคกใหญ่ ลักษณะ ลำต้น หัว ใบ คล้ายอุตพิษ รับประทานแล้วจะรู้สึกคันมาก เห่อขึ้นทั้งตัว สรรพคุณใช้อยู่คงชั่วเบา และหัวเป็นยารักษาโรคผิวหนัง เอามาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว "

ว่านอึ่ง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านอึ่ง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า "ว่านอึ่ง มีลักษณะใบเหมือนหมากผู้หมากเมีย หัวเป็นรูปคล้ายปลาปักเป้า มีสีเขียวติดกันเป็นพืด ๆ หัวมียางเหนียว ว่านนี้มีเจ้าของรักษาอยู่ ถ้าพบแล้วจงขุดเอามา ก่อนจะขุดท่านให้เขียนยันต์ใส่ฝ่ามือสำหรับจับว่านดังนี้ ( วาดเป็นตาราง 9 ช่อง และใส่เลขจากซ้ายไปขวา จากแถวบนไปแถวกลางและแถวล่างตามลำดับ ตัวเลขคือ ๑,๕,๙,๘,๖,๒,๗,๔,๓ -ผู้คัดลอก )
สรรพคุณเอาว่านนี้มากวนกับปรอท แล้วเอาผ้าดำย้อมมะเกลือห่อทอดดีบุกก็ดี ตะกั่วก็ดี เป็นรัชฏะ ( บางตำราว่าถ้าขุดแล้วให้เอาลวดตะกั่วรอยปากมา ) "
หมากผู้หมากเมียเป็นต้นไม้ที่คนโบราณเอาใบเข้าตำรับยาแก้ไข้เด็ก ปัจจุบันมีการเรียกไม้ต่างลักษณะกันว่าหมากผู้หมากเมีย เป็นการยากที่จะหาสายพันธุ์ดั้งเดิมว่าคือต้นไหน  รูปนี้เป็นต้นหมากผู้หมากเมียที่ไปถ่ายบ้านหมอพื้นบ้านที่ชำนาญเรื่องการปรุงยาแก้ไข้เด็ก
หัวปลาปักเป้า ที่มา srakaew.tht.in
ปุณณภา  งานสำเร็จ รวบรวม

ว่านนิลพัตร์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนิลพัตร์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ลักษณะลำต้นหัวเหมือนอุตพิต ถ้าผ่าหัวออกให้ถูกแสงแดด จะเห็นเป็นพลายคล้ายกับปรอท ถ้าจะรับประทานหรือทาให้เสกด้วยพุทธคุณนี้ "อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ " ๓-๗ คาบ เนื้อหนังจะชาไปหมดทั้งตัว จะฟันแทง หรือทุบตีสักเท่าใด ก็หาเป็นอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ ตลอดจนปืนผาหน้าไม้ หรือจะใช้ฝนทาตามตัวแล้วนอนบนไฟก็ได้ "
ชอบภาษาจัง

ว่านผักปลัง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านผักปลัง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านผักปลัง ลักษณะลำต้นเหมือนต้นมะเดื่อ หงอนใบเหมือนใบลำเจียก ดอกและลูกเหมือนผักบุ้งรากเหมือนรากบัว ยางขาวเหมือนน้ำนม สรรพคุณรับประทานเป็นกายสิทธิ์ "

ว่านขันหมาก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านขันหมาก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านขันหมากลักษณะต้นเหมือนจำปา รากเป็น ๓ แง่ง ดอกเหมือนดอกบอน ลูกเหมือนแตงกวา สรรพคุณ ถ้ารับประทานเป็นกายสิทธิ์ "

ว่านตัวไหม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านตัวไหม รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านตัวไหม ( หรือว่านแด๊กแต้ ) ลักษณะต้นและใบคล้ายกับว่านเพชรน้อย หัวเล็ก ๆ เนื้อในมีสีม่วงอ่อน เป็นว่านที่ไม่มีดอก สรรพคุณเป็นว่านที่ติดตัวกันเขี้ยวงา "

ว่านขอ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านขอ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า  " ว่านขอ ลักษณะทุกอย่างคล้ายว่านขอทอง สรรพคุณอย่างเดียวกับว่านตัวไหม กันเขี้ยวงา "
อ้าวแล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเป็นว่านขอ หรือว่านขอทองอ่ะ

ว่านขอทอง เสือหลวงพ่อปาน วัดมงคลสุทธาวาส (บางเหี้ย) สุดยอดเครื่องรางแห่งสยามประเทศ

ว่านขอทอง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านขอทอง (หรือว่านขอคำน้อย ) ลักษณะลำต้นใบมีสีเขียวคล้ายต้นขมิ่นหัวเล็ก ๆ สอดกันเป็นข้อ ๆ เนื้อในหัวมีสีเหลืองอ่อน เป็นว่านแก้และเป็นจ่าของว่าน มีอิทธิฤทธิ์เลิศกว่าว่านแก้ทั้งหลาย ในบรรดาว่านแก้ด้วยกัน สรรพคุณใช้แก้เบื่อเมา เช่น เห็ด หอย และพันธุ์ไม้ต่าง ๆ หรือสัตว์น้ำ สัตว์บก ที่มีฤทธิ์เบื่อเมา ทำให้อาเจียน คลื่นเหียน หรือท้องเดิน ก็สามารถแก้ได้ดีนัก และใช้แก้ทางคุณไสย ทางโบราณเรียกว่าถูกลมเพลมพัด ใช้ว่านนี้ฝนทา หรือจะใช้รับประทานก็ได้ ถ้าบังเกิดมีอาการขนลุกหรือหนาวสั่นสะท้าน บางทีอาเจียนออกมาเป็นลมเปล่า ๆ ถ้าถูกน้ำมันพราย ให้กำเอาว่านนี้กำไว้ บุคคลที่ถูกนั้นจะมีอาการชักทันที ถ้าถูกเสน่ห์ยาแฝดจะมีอาการง่วงซึม ให้ใช้ว่านนี้ฝนน้ำรับประทาน ผู้นั้นจะหลับ เมื่อตื่นขึ้นก็จะได้สติดี พวกชาวป่าใช้ว่านนี้ทดลองดูว่าของสิ่งนั้นจะมียาเบื่อเมาหรือไม่ เขาจะหยิบว่านนี้ออกมาเป็นชั้นเล็กๆ ใส่ลงไป ถ้าว่านที่ใส่ลงไปนี้หมุนจี๋ของสิ่งนั้นก็มียาเบื่อเมา ว่านชนิดนี้เป็นของหาได้ยาก ท่านผู้ใดได้ไว้เป็นลาภอันประเสริฐนัก "
สุดยอดดดดดดดดดดดดดดด  ต้องหาๆๆๆ

ว่านเสือ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเสือ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านเสือ ลักษณะหัวเหมือนนาคราช ใบลาย ดอกเหมือนเกล็ดปลากระโห้ ในวันเดียวกันเปลี่ยนเป็นได้ถึง ๓ อย่าง ถ้าได้ว่านนี้จะมีกำลังวังชา ผู้ใดจะสู้หาทานกำลังเราได้ไม่ ถ้าจะทดลองว่าว่านนี้เป็นว่านเสือที่แท้จริงหรือไม่ ให้เอาหัวว่านมาบดให้ละเอียด แล้วเอาใส่ลงในไห เอาผ้าซ้อนกัน ๗ ชั้น ผูกปิดปากไห แล้วเอาเนื้อมาห้อยหรือเหน็บไว้บนหลังคา ถ้าว่านนี้ไปติดอยู่ที่เนื้อนั้นก็เป็นว่านเสือที่แท้จริง แล้วพึงเสกด้วยคาถานี้      " พุทธิ พุทเธหิ เต เชหิธรรม ธัมเมหิ สะ เต เชหิ สังฆ สังเฆหิ เตชหิ อิติปิโสภควา อรหัง นะโม นะมะหัง สุนทรังสวาหะ " ๑๐๐๐ คาบ รับประทานแล้วฟันตีมิแตก "
อลังการมากเลยว่านนี้ ว่าแต่เกล็ดปลากระโห้มันต่างจากเกล็ดปลาอื่นยังไงเหรอ
ปลากระโห้ (Giant Barb)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Catlocarpio siamensis
ชื่อสามัญ Saimese giant carp
ชื่อไทย ปลากระโห้
ถิ่นกำเนิด ตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก นอกจากนี้ยังมีในภาคเหนือและภาคอีสาน
ขนาด มีขนาด 1-2 ม. ใหญ่สุดพบ 3 ม. น้ำหนัก 250 กก.
อาหาร แพลงตอน อาหารจำพวกพืช และ แป้ง อาหารสำเร็จรูป
การวางไข่ วางไข่ ไข่จะฟุ้งกระจายไปติดกับวัตถุใต้น้ำ
รูปร่างลักษณะ ปลากะโห้ เป็นปลามีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอยู่อันดับต้นๆ ของโลก มีพละกำลังมาก ในช่วงวัยขนาดตัวสัก 20 - 50 cm. จะเป็นช่วงที่สวยที่สุดเพราะ ผิวจะไม่คล้ำมาก ครีบในบางตัวจะเป็นสีแดงสดใสเห็นได้ชัดเจน
ปลากะโห้มีสัดส่วนของส่วนหัว 1/4 ของความยาวทั้งหมด หัวมีความกว้างพอๆกับความกว้างของลำตัว ปากกว้างอ้าได้กว้าง พังผืดปากยืดหดได้ดี เพราะมีการกินอาหารโดยการใช้ปากสูบน้ำเข้าไปมากๆแล้วกรองด้วยเหงือก มีตาขนาดเล็กใกล้มุมปาก ลำตัวกลม ค่อยข้างสั้นมีเกล็ดนับตามเส้นข้างลำตัวได้ 90-110 เกล็ด ลำตัวสีเทาเงินในขนาดเล็กสีจะคล้ำขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ครีบทุกครีบ มีขนาดใหญ่ ในปลาขนาดเล็กจะมีสีเทาอมแดง ถึงแดงสดใส และจะคล้ำขึ้นเรื่อยๆตามอายุ มีริมฝีปากหนา แก้มใหญ่ ลำตัวด้านหลังมีสีเข้มกว่าด้านท้อง ไม่มีหนวด ไม่มีฟันอยู่ในปากแต่มีฟันอยู่ที่ลำคอ ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียมีสีขาวนวลหรือชมพูอ่อน ตัวผู้มีสีเทา
นิสัย เป็นปลารักสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าปากได้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะขึ้นไปกับน้ำแล้วหากินกับแหล่งน้ำตื้น เมื่อถึงคราวจับคู่วางไข่ ตัวเมียจะว่ายน้ำนำหน้าตัวผู้แล้วจะหงายท้องขึ้น ตัวผู้จะเข้าประกบแล้วฉีดน้ำเชื้อมาผสมกับไข่
การให้อาหาร ในขนาดเล็กจะพบว่าปลากะโห้กินทุกอย่าง ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ รำข้าว อาหารสำเร็จรูป เมื่อโตขึ้นปลากะโห้จึงจะกินอาหารมังสวิรัติ ในปลาขนาดใหญ่สามารถให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลากินพืชได้ เป็นปลาที่กินอาหารได้ตลอดเวลา จากประสบการณ์ที่เลี้ยง จะนำอาหารสำเร็จรูปผสมสาหร่าย 10% มาแช่น้ำให้พองแล้วนำมาบีบปล่อยจมลงก้นตู้ ปลาจะชอบกินมากกว่า เม็ดแข็งๆ ลอยน้ำ
การเลี้ยงดูในตู้ การจัดตู้ ควรจัดให้มีพื้นที่โล่งสักหน่อย ถึงแม่ว่าประกะโห้จะไม่ค่อยว่ายพลุกพล่าน แต่ปลากะโห้เป็นปลาที่มีแรงมากเวลาตกใจอาจว่ายพุ่งชนอย่างรุนแรง ปลากะโห้เป็นปลาที่ไม่ก้าวร้าว จึงเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้ดีมาก โดยอาจเลี้ยงกับปลากินพืชด้วยกันเพื่อความสะดวกในการให้อาหาร ปลากะโห้เป็นปลาที่ชอบน้ำสะอาด มีอ๊อกซิเจนสูง และควรเป็นน้ำที่มีการไหลเวียนตลอดเวลา ในบางครั้งพบว่าปลามีความอดทนต่อสภาพเน่าเสียของน้ำได้พอใช้เลยทีเดียว แต่ปลาจะเป็นโรคเหงือกพลิก ในเวลาต่อมา ซึ่งการรักษาจะลำบากมาก เพราะฝาปิดเหงือกปลากะโห้จะอ่อนและเยื่อหุ้มเหงือกจะใหญ่มาก ถึงรักษาหายปลาก็จะไม่สวยปกติดังเดิม ดั้งนั้นควรถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปลาขนาดเล็กการถ่ายน้ำบ่อยๆทำให้ปลาโตเร็วมากและมีสีสันสดใสสวยงาม
ที่มา http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=239&action=view
ว่ากันว่าปลากระโห้ตัวใหญ่ๆ เกล็ดเกือบเท่าฝ่ามือ โอโฮ้แฮะ โลกนี้ยังมีเรื่องที่เราไม่รู้อีกเยอะแยะเลย

ข้อมูลปลากระโห้จากอีกเวป http://www.foodnetworksolution.com/vocab/word/2575/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B9%89-siamese-giant-carp

กระโห้ (Siamese Giant Carp ) เป็นสัตว์น้ำที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร อยู่ในประเภท ปลาน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamensis
ปลากระโห้ เป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง จำพวก ปลาตะเพียน
ปลากระโห้
  • ลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวสีเทาแซมชมพู สันหลังเป็นสีน้ำตาลอมดำ ด้านข้างและส่วนท้องมีสีจางกว่า
  • ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีหัวยาวและใหญ่ผิดปกติ หัวมีผิวเรียบมัน ไม่มีเกล็ดคลุม ความยาวของหัวประมาณ 1ใน3 ของลำตัว
  • ตาโตและยื่นโปน ริมฝีปากล่างหนาและยื่นออกมาพ้นริมฝีปากด้านบน ปากกว้างขากรรไกรยาวถึงบริเวณตา มีฟันที่คอหอยเป็นแถวอยู่ข้างละแถว ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ขอบเรียบ
  • ครีบหลังสูงและอยู่ตรงกับครีบท้อง ครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแถบเว้าลึก ครีบทุกอันมีสีแดงปนส้ม
  • ปลาตัวผู้มีลำตัวเล็กและเรียว ส่วนท้องแบบเรียบสีดำคล้ำกว่าตัวเมีย
  • นิสัย มีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำลึก แข็งแรงและอดทน
  • อาหาร แพลงก์ตอน พืชนํ้า
แหล่งอาศัย : ประเทศไทย เคยมีอยู่ชุกชุมในลุ่มแม่นํ้า แม่กลอง เจ้าพระยาจนถึงบอระเพ็ดในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีปรากฏให้พบเห็นอยู่บ้างในลำนํ้าโขง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า ปลากะมัน หรือ หัวมัน
ประโยชน์ : ปลากระโห้ เนื้อใช้บริโภคเป็นอาหาร

พออ่านเรื่องว่านกระโดดขึ้นมากินเนื้อ ทำให้นึกถึงวัตถุมงคลของสุดยอดเกจิองค์หนึ่งของสยามคือเสือของหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ดังจะได้คัดลอกมาจากเวปพลังจิตให้ได้อ่านกัน
" เสือหลวงพ่อปาน วัดมงคลสุทธาวาส (บางเหี้ย) สุดยอดเครื่องรางแห่งสยามประเทศ
ยุคสมัยของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้น อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2411-2453 เป็นช่วงที่ท่านออกธุดงค์ เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา รวมถึงเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ยด้วยครับ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒนนิสิรธกิจ" จวบจนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา และถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2453 (รวมสิริอายุประมาณ 75 - 80 ปี)

หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนั้นท่านเป็นคณาจารย์ ยุคเก่าสมัยโบราณ ถ้าผมจำไม่ผิดหลวงปู่สี วัดเข้าถ้ำบุญนาค เคยกล่าวถึงท่านไปเมื่อตอน มีคนถามท่านว่ารู้จักหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคไหม? ท่านตอบว่ารู้จักแต่หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย และกล่าวว่า "หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั่งเรือไม่ต้องแจวเรือ เรือแล่นได้เอง" หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้นท่านมีชื่อเสียง ในเรื่องการสร้างตะกรุด ผ้ายันต์ต่างๆ รวมทั้งเครื่องรางประเภทอื่นๆมากหลายอย่าง ซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากมาก ใครมีต่างหวงแหนกันทุกคน การหาของแท้ๆ และทันยุคนั้น หาได้ยากเต็มทีครับ เพราะเครื่องรางที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ก็ขาดการจดบันทึกไว้ ทำให้มีผู้รู้จริงยาก และเครื่องรางของท่าน บางครั้งผู้ที่ได้ไว้ในครอบครองก็ไม่ทราบว่าเป้นของคณาจารย์ท่านใด บางครั้งจะเป็นของหลวงพ่อนก วัดสังกะสี ลูกศิษย์ ซึ่งขลังเหมือนกัน คนถูกยิงตกเรือไม่เข้ามาแล้วเหมือนกันครับ

ดังนั้น เครื่องรางที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสำนักนี้ และถือเป็นสุดยอดเครื่องรางที่มีค่าบูชาสูงในอันดับต้นๆในบรรดาเครื่องรางของขลัง ของพระเกจิอาจารย์ในยุคอดีต และปัจจุบัน นั่นคือ รูปเสือลอยองค์ ที่แกะมาจากเขี้ยวเสือจริงๆ ทั้งเต็มเขี้ยวบ้าง ครึ่งเขี้ยวบ้าง มีขนาดเล็ก ใหญ่ต่างๆกัน ตามแต่ลักษณะของเขี้ยวเสือที่ได้ชาวบ้านได้มา ฝีมือการแกะเป็นลักษณะของช่างฝีมือท้องถิ่นแท้ๆ แกะให้ท่านปลุกเสกเรื่อยๆ แลดูเรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยความขลัง และดูน่าครั่นคร้าม แลดูมีตบะมหาอำนาจสูงมาก ไม่เชื่อถ้าท่านมีลองนำมามองจ้องเสือดูซิครับ แลดูน่าเลื่อมใส ศรัทธามากครับ

มีเรื่องเล่ากันว่า การปลุกเสกเสือของหลวงพ่อปานนั้น ท่านจะต้องมีการเรียกธาตุ 4 คือ “นะ มะ พะ ทะ” เรียก รูป เรียกนาม ปลุกเสกจนกระทั่ง เสือนั้นเคลื่อนไหวได้ราวกับมีชีวิตจริงๆทีเดียวเชียว กำหนดอุคหนิมิต ให้เครื่องรางรูปเสือนั้นมีชีวิต โดยปลุกด้วยคาถาเฉพาะ หนึ่งในบทพระคาถาที่เคยได้รับทราบมา คือ คาถาพยัคคัง ฯ เล่ากันว่า เมื่อท่านปลุกเสกเสร็จขณะนั่งเรือไปท่านจะนำเสือนั้นเทลงคลอง จากนั้นท่านจะนำชิ้นหมูมาล่อข้างเรือ และบริกรรมคาถา สักพักเสือจะโดดขึ้นมาติดชิ้นเนื้อหมูโดยทันที เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ แจกลูกศิษย์ลูกหาได้ "

ส่วนของแท้หน้าตาเป็นยังไงคงต้องไปถามเซียนพระดู เพราะราคาตอนนี้เป็นหลักหลายล้าน