ใบขลู่ขอบจัก ดอกสีขาว
ดอกตูมและใบขลู่อีกมุมหนึ่ง
ขลู่
ไม่น่าเชื่อว่าจะห่างหายจากการเข้ามาเขียนเป็นเดือนๆ งงเหมือนกันว่าไปทำอะไรอยู่ แต่ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเบื่อโหลดรูป กับเจอมรสุมชีวิตชุดใหญ่ที่บั่นทอนจิตวิญญาณอีกแล้ว ช่างมัน ไม่ยักตายแฮะ เครื่องรุ่นโบราณมาเจอกับอินเตอร์เน็ทบ้านใช้เวลาเป็นสิบนาทีกว่าจะได้แต่ละรูป บางทีทิ้งไว้จนลืม
ได้คุยกับน้องๆบางคนที่เค้าอยู่ในวงการสมุนไพร เค้าบอกว่าคนส่วนใหญ่จะไม่พยายามถ่ายรูปชัดๆ เพราะกลัวโดนต่างชาติขโมยไปใช้ ทำให้เราคิดหนักเหมือนกัน มิน่าเสียตังค์ซื้อหนังสือมากี่เล่มกี่เล่มก็ดูไม่ค่อยชัดเดาไม่ค่อยออกว่าต้นมันเป็นยังงัย ตอนแรกก็เข้าใจว่ามุมกล้องไม่ดี คุณภาพกล้องไม่ได้ รึอะไร ในอินเตอร์เน็ทยิ่งไปกันใหญ่ลอกรูปกันอุตลุต มีคำอธิบายลักษณะสรรพคุณเพียบแต่หารูปชัด ๆ ยากเต็มที พึ่งรู้ว่าเค้าไม่เอารูปดี ๆมาลงในนี้ สงสัยมีเราบ้าอยู่คนเดียว อย่างรูปกลิ้งกลางดงของเรามีคนเอาไปใช้แล้วล่ะไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดีแต่นึกไปนึกมาก็คิดว่าช่างมันเถอะ อย่ากลับมาฟ้องเจ้าของตัวจริงละกัน ความจริงก็ตั้งเป้าเอาไว้นะว่าอีกสิบปี(นี่ก็ผ่านมา๒ปีแล้วมั้ง) จะทำสารานุกรมสมุนไพรนครราชสีมาและสารานุกรมสมุนไพรอีสาน เป็นความฝันเลยล่ะ เพราะจากการทำงานที่ผ่านมาเราพบว่ามีคนรู้จักต้นไม้น้อยมาก แม้แต่พ่อหมอพื้นบ้านเอง ที่เก่ง ๆ ก็ล้มหายตายจากไปหมดแล้ว ที่เหลือก็รู้เฉพาะต้นที่ใช้ได้ ขายได้ ทำยาได้ แต่ก็พาเดินข้ามๆ ต้นไม้ที่ไม่รู้จักไปอีกเยอะ ได้งัยในเมื่อไม้ทุกต้นเป็นยา การสูญหายของภูมิปัญญาคงเกิดขึ้นทุก ๆวันถ้าเราไม่ช่วยกันทำอะไรซักอย่าง สุดท้ายเลยทำใจว่า ใครจะว่ายังไงก็ช่าง ใครจะขโมย(ยืมไปใช้โดยไม่ขออนุญาตก็ช่าง) แต่เราห่วงคนที่เค้าไม่มีโอกาสจะรู้จักต้นไม้ทั้งที่เค้ามีความสนใจและรักสมุนไพรเหมือน ๆ กับเรามากกว่า ถ้ารูปถูกขโมยก็ไปหาถ่ายใหม่ เอางี้แล้วกัน ขี้เกียจคิดมาก เผื่อตายไปก่อนเลยไม่ต้องทำไรกันพอดี เพราะมัวแต่กลัว 555
นึกว่าเขียนถึงต้นขลู่ไปแล้วไม่ยักมี ที่อยากเขียนถึงขลู่เพราะเป็นไม้หาง่ายจริง ๆ มองไปข้างทางตรงไหนก็เจอ ที่สำคัญตากแห้งเอามาชงเป็นชา หอมเหมือนน้ำผึ้ง ถือเป็นพืชสมุนไพรที่ดีในการนำมาทำเป็นชาชงสมุนไพร ใครสนใจก็เอาไปสร้งกระแสที(แฮะ ๆ ก็นิสัยคนไทยชอบใช้สมุนไพรตามกระแส ) เราคงเคยได้ยินสรรพคุณของต้นขลู่ในแง่ของยาขับปัสสาวะ แต่จริงๆแล้วขลู่มีสรรพคุณเยอะกว่านั้น อาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวชท่านบอกสูตรยาบำรุงสุขภาพและป้องกันมะเร็งไว้ โดยใช้ต้นขลู่แห้ง เครือตดหมูตดหมา หญ้าดอกขาว และงวงตาล(อันนี้ใช้ไม่เยอะแค่ครึ่งก็พอ) ต้มดื่มต่างน้ำ ช่วยบำรุงร่างกายป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ที่สำคัญทุกตัวหาง่าย เว้นแต่งวงตาลอาจหายากนิดหน่อยเพราะต้นตาลแทบจะหายไปหมดแล้ว แต่ดีตรงที่ว่าเจ้างวงตาลนี้ตกจากต้นลงมาที่พื้นเป็นปีๆยังสามารถนำมาทำเป็นยาได้ มหาวิทยาลัยรังสิตเอาเจ้างวงตาลไปเข้าตำรับยารักษาโรคเอดส์ เพราะงวงตาลมีสรรพคุณบำรุงกำลัง
ใครมีที่ก็ช่วยกันปลูกๆต้นตาลกันไว้บ้างนะ อย่าปล่อยให้สูญพันธุ์กลายเป็นของหายากไป ตกลงเขียนเรื่องขลู่รึงวงตาลกันแน่ เฮ้อ...
ขลู่
ชื่อวิทย์ Pluchea indica Less.ชื่อวงศ์ Fam. :ASTERACEAE
ชื่ออื่น
ขลู หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาย (อีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมี ความสูงประมาณ 0.5 - 2 เมตร แตกกิ่งก้าน มากและเกลี้ยง ใบ จะมีกลิ่นฉุน ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความ ยาวประมาณ 1 - 5.5 ซม. กว้างประมาณ 2.5 - 9 ซม. ตรงปลายใบ ของมันจะมีลักษณะแหลม หรือแหลมที่ติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นซี่ฟันและ แหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษค่อนข้าง เกลี้ยง แต่ไม่มีก้าน ดอก จะออกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือ สีม่วง จะออกตามง่ามใบ ดอกวงนอกเป็นดอก เพศเมีย ดอกวงในเป็นดอก สมบูรณ์เพศ ผล แห้งจะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7 มม. มีสัน 10 สันระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม.แผ่กว้าง การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามที่ลุ่มชื่นแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทราย ด้านหลังป่าชายเลน นิยมปลูกเป็นพืช สมุนไพร การปลูกให้ใช้วิธีการปักชำโดยตัด ต้นชำลงดิน รดน้ำให้ชุ่ม ปลูกขึ้นง่าย ไม่ต้อง การการดูแลรักษาแต่อย่างใด ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ
สรรพคุณ
ทั้งต้น ใช้ต้มกิน รักษาอาการ ขัดเบา ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร หรือ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้ยังรักษาโรค วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง โรคเบาหวาน ริดสี ดวงทวาร ขุดเอาแต่ผิวต้น ผสมกับยาสูบแล้ว นำมามวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก
ชื่ออื่น
ขลู หนาดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดวัว (อุดรธานี) เพี้ยฟาย (อีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมี ความสูงประมาณ 0.5 - 2 เมตร แตกกิ่งก้าน มากและเกลี้ยง ใบ จะมีกลิ่นฉุน ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความ ยาวประมาณ 1 - 5.5 ซม. กว้างประมาณ 2.5 - 9 ซม. ตรงปลายใบ ของมันจะมีลักษณะแหลม หรือแหลมที่ติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นซี่ฟันและ แหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษค่อนข้าง เกลี้ยง แต่ไม่มีก้าน ดอก จะออกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือ สีม่วง จะออกตามง่ามใบ ดอกวงนอกเป็นดอก เพศเมีย ดอกวงในเป็นดอก สมบูรณ์เพศ ผล แห้งจะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7 มม. มีสัน 10 สันระยางค์มีน้อย สีขาว ยาวประมาณ 4 มม.แผ่กว้าง การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามที่ลุ่มชื่นแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทราย ด้านหลังป่าชายเลน นิยมปลูกเป็นพืช สมุนไพร การปลูกให้ใช้วิธีการปักชำโดยตัด ต้นชำลงดิน รดน้ำให้ชุ่ม ปลูกขึ้นง่าย ไม่ต้อง การการดูแลรักษาแต่อย่างใด ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ
สรรพคุณ
ทั้งต้น ใช้ต้มกิน รักษาอาการ ขัดเบา ปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร หรือ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้ยังรักษาโรค วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง โรคเบาหวาน ริดสี ดวงทวาร ขุดเอาแต่ผิวต้น ผสมกับยาสูบแล้ว นำมามวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก