วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ไส้ตัน ไม้บ้านๆที่เริ่มหายาก ไม้มากสรรพคุณ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


รู้จักไส้ตันครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีมาแล้วตอนพาอสม.ชัยภูมิไปอยรมแพทย์แผนไทยที่สระบุรี หมอพื้นบ้านที่สระบุรีได้พูดถึงไส้ต้นว่าทั้งต้นใช้ต้มกินแก้มะเร็ง  ตอนนั้นพึ่งรู้จักต้นไม้ไม่กี่ชนิดทำให้ทึ่งมาก  เพราะทางอีสานมีไม้นี้ขึ้นอยู่ทั่วๆไป เป็นไม้ที่มีเอกลักษณืจำง่ายเพราะยอดมีสีแดง  และใบเรียวๆเป็นคลื่นๆเห็นปุ๊บก็รู้ว่าไส้ตันแน่  คนอีสานกินยอดอ่อนเป็นผักสดกับน้ำพริกกินเป็นผักเมี่ยง  รสมันปนฝาดนิดๆ ลำตันทำเป็นหลอดด้ายปั่นฝ้ายและหลอดเส้นไหมเวลาย้อมสี  เค้าเป็นไม้มากประโยชน์ขึ้นอยู่ทั่วไป เจียมเนื้อเจียมตัวดี
ชื่อเป็นทางการของเค้าคือโมกเครือ


โมกเครือ
ชื่ออื่น ทางภาคเหนือจะเรียกว่า โมกเครือ ไส้ไก่ เดื่อเครือ เดื่อดิน เดื่อเครือ เดื่อเถา เดื่อไม้ ส่วนที่กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอนเรียกว่า ตะซือบลาโก๊ะ หนองคายเรียก เครือไส้ตัน ที่ประจวบคีรีขันธ์จะเรียกว่า เดือยดิน ที่กระบี่เรียก เดือยดิบ ส่วนภาคกลางเรียก พิษ ที่ราชบุรีและภาคเหนือเรียก มะเดื่อดิน มะเดื่อเถา ที่สุราษฏร์ธานีจะเรียก ย่านเดือยบิด และที่นครราชสีมาเรียก ไส้ตัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อะกานอสมา มาร์จินาตา (Aganosma marginata G. Don )
ในวงศ์ อะโปไซนาซีอี้ (APOCYNACEAE)

ไส้ตันมีลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยพันต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะ ลำต้นมีความสูงต้นประมาณ 4- 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 7.4 – 11.8 มิลลิเมตร เปลือกต้น เรียบมีสีน้ำตาลแดง-น้ำตาลเข้ม มีตุ่มสีขาวตามลำต้น มีน้ำยางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้าม มี 8 – 13 คู่ รูปใบรียาว ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้าเล็กน้อย รูปร่างใบขอบขนานกว้าง 4.0 – 5.2 เซนติเมตร ยาว 8.2 – 12.1 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire)ใบเป็นมัน หน้าใบหลังใบไม่มีขน ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.4 – 0.6 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นคลื่นสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ดอก ออกดอกที่ยอดหรือปลาย ช่อดอกมี 4 – 5 ดอก ยาว 6.0 – 6.5 เซ็นติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย สีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ใน 1 ดอก มี 5 กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่เรียวยาวผิวเรียบ มีสีเขียว พอผลแก่แห้งเป็นสีน้ำตาล และแตกอ้าออกเห็นเมล็ดข้างใน เมล็ด เป็นสีน้ำตาลมีขนสีขาวติดอยู่

ขยายพันธุ์โดยใช้ราก กิ่ง ปักชำ

การใช้ประโยชน์ไส้ตันในด้านอาหาร ใบนำมาใส่ในแกงอ่อม ยอดอ่อน ใบสด ใช้ปรุงอาหาร ใช้จิ้มน้ำพริก หรือกินกับเมี่ยง

สำหรับคุณค่าทางอาหารในไส้ตัน 100 กรัม จะมีโปรตีน 9.53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 3.85 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 9.11 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 31.2 เปอร์เซ็นต์ NDF 32.8 เปอร์เซ็นต์ NFE 65.14 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 9.3 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ไส้ตันในด้านสมุนไพร
ยอดไส้ตันใช้แก้ท้องเสีย
ต้น ในตำรายาไทยเนื่องจากต้นมีรสเฝื่อน ฝาด จึงนำมาเข้ายารักษาประดง (อาการปวดผิวหนังมีผื่นคัน คล้ายผด คันมากมักมีไข้ร่วม) แก้พิษฝีภายใน
ในตำรายาพื้นบ้าน ใช้ต้นผสมกับผลมะตูมอ่อน เถาสิงโตทั้งต้น และว่านมหากาฬทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาเบาหวาน
รากบำรุงกำลังช่วงฟื้นไข้ แก้ไตพิการ (ปัสสาวะขุ่นข้น สีเหลืองหรือแดง มีอาการแน่นท้องกินอาหารไม่ได้) และตับพิการ บำรุงและขับฤดู หรือผสมแก่นลั่นทมต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย
ใบแก้เมื่อยขบ เข้ายาทารักษาฝีและ ริดสีดวงทวาร

(วงศ์สถิตย์และคณะ, 2543)
ประโยชน์ของโมกเครือ
ยอดอ่อนนำมากินเป็นผัก หรือกินกับเมี่ยงทางภาคอีสาน คนสมัยก่อนนำลำต้นหรือเครือ มาทำหลอดด้าย
หมอพื้นบ้านสระบุรีใช้ทั้งต้นต้มกินรักษามะเร็ง
ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันตามป่าธรรมชาติพบน้อยมาก จึงถูกจัดให้เป็นไม้หายากสายพันธุ์หนึ่ง


ปุณณภา   งานสำเร็จ  เรื่อง

ลักษณะของต้นไส้ตันจะแตกเป็นกอรอเลื้อย  ดูสวยด้วยยอดสีแดงและใบเป็นคลื่น รูปนี้ยืมเค้ามาสัญญาว่าจะไปถ่ายเองเร็วๆนี้

ยอดไส้ตันสีแดงชัดเห็นแต่ไกล  ใบเค้าจะเป็นลอนๆทั้งใบ  ขอบคุณภาพจากBlog สายธาร/รัณณา
อีกชื่อหนึ่งของไส้ตันคือโมกเครือ เอามาบูมในตลาดเป็นไม้ดอกหอม
 สารภาพตามตรงว่าไม่เคยเห็นดอกเค้าเลย  ทั้งที่เห็นต้นบ่อย  ดูเค้าซิ  สวยงามอลังการขนาดไหน  เห็นแล้วใจจะขาด  ขอบคุณภาพจากwww.magnoliathailand.com

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เปราะป่าแก้อาถรรพ์เถาวัลย์หลง

ตอนไปเดินป่าที่อ.เทพารักษ์ ช่วงนั้นเราอินกับเรื่องเถาวัลย์หลงมาก คือกลัวหลงป่าที่สุด  เพราะปกติขนาดในเมืองก็ยังจำทางไม่ได้  เดินป่ายิ่วแล้วใหญ่  ไม่นับกับเถาวัลย์หลงเรื่องเล่าตำนานอาถรรพ์แห่งป่าที่ทำให้เรากลัวหนักขึ้นไปอีก  ถามพี่ๆคนนำทาง ว่ามันเป็นตามนั้นจริงๆไม๊  ใครเดินข้าเถาวัลย์หลงแล้วจะหลงป่า  แกก็ว่าจริง  แต่ดูแล้วเหมือนเล่าต่อๆกันมา  เพราะแกไม่ขยายความ  ถามแกว่าแก้ยังไง  เพราะถ้าว่าต้องใช้คาถาเบิกไพรใครจะไปรู้  ยิ่งไม่ได้เรียนฝึกฝนคาถาอาคมมา  มันคงจะเหมือนท่องอาขยานดีๆนี่เอง  พี่เค้าบอกว่าให้พกต้นเปราะป่า  เราลืมแล้วว่าให้พกเฉยๆหรือกินด้วย  ลองทั้งพกทั้งเคี้ยวกินดู รสเผ็ดซ่าของเปราะป่าอาจช่วยกระตุ้นสมองที่เคลิมไปกับฤทธิ์เถาวัลยฺหลงได้   เปราะป่าก็ขึ้นทั่วๆไป  ใกล้ๆกัน  ของแก้มักหาเอาแถวนั้นแหล่ะ  ใครมีประสบการณ์ยังไงเล่าสู่กันฟังได้  จึงบันทึกไว้อีกหนึ่งเรื่องราวเล่าขานตำนานไพร
ชื่อสมุนไพร
เปราะป่า
ชื่ออื่นๆ
ตูบหมูบ (อุบลราชธานี ตะวันออกเฉียงเหนือ); เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี ชพ);เปราะเขา เปราะป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์
Kaempferia marginata Carey
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชลงหัว ขนาดเล็ก สูง 3-5 เซนติเมตร มีเหง้าสั้น รากเป็นกระจุก ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกตั้งขึ้น ใบแก่แผ่ราบบนหน้าดิน ไม่มีก้านใบ ต้นหนึ่งมักมี 2 ใบ ใบทรงกลมโต หรือรูปรี กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีสีม่วงแดง ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวบนเรียบ ด้านล่างมีขน กาบใบยาวราว 5 เซนติเมตร กาบใบที่ไม่มีใบยาวราว 3 เซนติเมตร ลิ้นใบรูปสามเหลี่ยม ยาวราว 4 มิลลิเมตร ช่อดอกแทงออกตรงกลางระหว่างกาบใบทั้งสอง กลีบดอกเป็นหลอดยาวราว 4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ รูปแถบ กลีบหลังยาว และกว้างกว่ากลีบข้าง กลีบหลังกว้างราว 0.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร กลีบข้างกว้างราว 0.3 เซนติเมตร ยาวราว 2.4 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลีบดอกบอบบาง มีดอกย่อย 6-8 ดอก ใบประดับสีขาวอมเขียว รูปใบหอก กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 3.2 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ที่เป็นหมันสีขาว รูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 2 เซนติเมตร กลีบปากสีม่วง มีแถบสีขาวระหว่างเส้นกลางกลีบกับขอบกลีบ รูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม กว้างราว 1.8 เซนติเมตร ยาวราว 2.2 เซนติเมตร ปลายหยักลึกมาก เกสรตัวผู้เกือบไม่มีก้าน หรือมีก้านยาวราว 1 มิลลิเมตร อับเรณูยาวราว 4 มิลลิเมตร รังไข่ขนาดกว้างราว 2 มิลลิเมตร ยาวราว 4 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ราว 2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลรูปไข่ สีขาว แตกเป็น 3 พู เมล็ดทรงรูปไข่ สีน้ำตาล ชอบขึ้นตามดิน หรือเกาะอยู่ตามโขดหิน เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะในป่าเบญจพรรณทั่วไป

สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ หัว มีกลิ่นหอม รสร้อน ขมจัด ทำลูกประคบ แก้ฟกช้ำ ใช้แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เหง้าใต้ดิน ตำพอก แก้อาการอักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์ กัดต่อย หรือผสมใบหนาดใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพาต เข้าตำรับยาอายุวัฒนะ(มุกดาหาร)
ตำรายาไทย ใช้ เหง้าใต้ดิน รสเผ็ดขมจัด แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ ตำผสมกับหัวหอม สุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัด แก้กำเดา

 เดินป่าจะเห็นเปราะป่าขึ้นอยู่ทั่วไป  ใบเค้าน่ารักดี  แผ่กลมไปกับดิน  จึงมีชื่อในภาษาอีสานว่า ตูบหมูบ  แปลว่าหมอบ(สนิท)ไปกับดิน  เราชอบมากสวยดี
 ใบอ่อนเปราะป่ามีเอกลักษณ์  ม้วนกลมๆสวยดีชอบบบบบบ  ชาวบ้านจะเก็บมาลวกจิ้มน้ำพริก
รากเปราะป่า  เหมือนหัวกระชายจังง  ถ้าบอกว่ามีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะจะไม่แปลกใจเลย  คนอีสานเวลาล่ากะปอมหรือกิ้งก่าได้เวลาเอามาทำเป็นอาหารจะสับรากเปราะป่าปนไปด้วยเหื่อเพิ่มปริมาณ  อันนี้เพื่อนทางขอนแก่นเล่าให้ฟัง

ขอบคุณข้อมูลและรูปจากเวปไซต์  ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปุณณภา   งานสำเร็จ   เรื่อง

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ว่านสมุนไพรแก้อาการมือตาย เท้าตาย อัมพฤกอัมพาต

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


เราสนใจกลุ่มนี้มากที่สุด  เพราะเอาไปเข้าตำรับน้ำมันนวด น้ำมันเหลือง  สรรพคุณมหัศจรรย์พันลึกมาก  น่าประทับใจ  แน่นอนตัวแรกที่ขาดไม่ได้คือไพล ไพลเป็นพืชมหัศจรรย์ใช้ตั้งแต่เกิดยันตาย  เหมาะที่จะปลูกในที่สูงจะให้สารสำคัญที่ดีมาก อย่างที่เคยพูดถึง  พืชลงหัวควรปลูกในที่สูงยิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งดี
ค้นข้อมูลในหนังสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลของไทย ของอาจารย์ณรงค์ศักดิ์  ค้านอธรรม  คนโบราณ นักรบนักเลงในสมัยโบราณต่างแสวงหาว่านเพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่าง  หนึ่งในนั้นคือคงกระพัน  เพราะสมัยนั้นมีการใช้กำลัง  มีการรบ สงคราม จนทุกวันนี้ยังคงมีพิธีเกี่ยวกับว่านยาคาถาอาคมอยู่ที่สำนักวัดเขาอ้อ ตักสิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้  วัดเขาอ้อ เป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณ พระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง) วัดบ้านสวน พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ และ ที่เป็นฆราวาสที่คนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นต้น

พิธีกรรมทางไสยศาสตร์

ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อที่สำคัญถือเป็นหลัก นิยมใช้ประกอบพิธีกรรมให้สานุศิษย์และประชาชนที่ศรัทธาโดยทั่วไปมี 4 พิธี คือ พิธีเสกว่านให้กิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงานดิบ และพิธีแช่ว่าน
นอกจากนี้ก็ยังมีพิธีอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น พิธีสอนให้ชักยันต์ด้วยดินสอ และการสร้างพระเครื่องรางของขลัง วิชาดูฤกษ์ยาม ตำรารักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพร และการรักษาด้วยคาถาอาคม เพื่อประโยชน์ของการศึกษาทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงขอนำเอาพิธีกรรมที่กล่าวแล้วข้างต้น มาอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป


1.พิธีเสกว่านให้กิน หมายถึง การนำเอาว่านที่เชื่อว่ามีสรรพคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี หรือทางด้านมหาอุด มาลงอักขระเลขยันต์ทางเวทมนต์คาถา แล้วนำไปให้พระอาจารย์ผู้ชำนาญเวท ปลุกเสกด้วยอาคมกำกับอีกครั้งหนึ่ง ว่านที่นิยมใช้ในพิธี ได้แก่ ว่านขมิ้นอ้อย ว่านสบู่เลือด ว่านสีดา ว่านเพชรตรี ว่านเพชรหน้าทั่ง ต้นว่านเหล่านี้เชื่อกันว่ามีเทพารักษ์คอยคุ้มครองรักษา พันธุ์ว่านบางชนิดต้องไปทำพิธีกินในสถานที่พบ ที่นิยมมาก ได้แก่ การกินว่านเพชรหน้าทั่ง
การทำพิธีกินต้องหาฤกษ์ยามเสียก่อน เมื่อได้ฤกษ์แล้วพระอาจารย์จะนำสายสิญจน์ไปวนไว้รอบต้นว่าน แล้วตั้งหมากพลูบูชาเทพารักษ์ ปลุกเสกอาคมทางหลักไสยศาสตร์ เมื่อเสร็จพิธีแล้วนำมาแจกจ่ายกินกัน เชื่อว่าจะทำให้ผู้นั้นเป็นคนอยู่ยงคงกระพันชาตรี
การเสกว่านให้กิน เมื่อสิ้นพระอาจารย์ทองเฒ่าแล้ว นิยมไปทำกันที่วัดดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ โดยมีพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลาเป็นผู้ประกอบพิธี เช่น การประกอบพิธีกินว่านหน้าทั่ง เมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ.2473 มีพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ (ยังเป็นฆราวาส) เป็นผู้หาฤกษ์ยาม ผู้ร่วมกินมี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช และพระเณรในวัดดอนศาลา .


2.พิธีหุงข้างเหนียวดำ นิยมทำพร้อมกับพิธีเสกน้ำมันงาดิบ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "กินเหนียวกินมัน" แต่ละปีจะประกอบพิธีกิน 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
พิธีหุงข้าวเหนียวดำ หมายถึง การนำเครื่องยาสมุนไพร หรือว่านชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 108 ชนิด มาผสมกันแล้วต้มเอาน้ำยามาใช้หุงข้าวเหนียวดำ
การประกอบพิธีนิยมทำกันภายในอุโบสถมากกว่าสถานที่อื่นๆ ในสมัยก่อนนิยมทำกันในถ้ำฉัตรทันต์ หม้อและไม้ฟืนทุกอัน จะต้องลงอักขระเลขยันต์กำกับด้วยเสมอ พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะเริ่มปลุกเสก ตั้งแต่จุดไฟ จนกระทั่งข้าวเหนียวในหม้อสุก แล้วนำข้าวเหนียวที่สุกแล้วไปประกอบพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจนเสร็จพิธี
พิธีกินข้าวเหนียวดำ จะทำพิธีกันภายในอุโบสถ ก่อนกินถ้าสานุศิษย์คนใดไม่บริสุทธิ์ต้องทำพิธีสะเดาะ หรือเรียกว่า "พิธีการเกิดใหม่" หรือ "พิธีบริสุทธิ์ตัว" เพื่อให้ตัวเองบริสุทธิ์จากสิ่งไม่ดีชั่วร้ายทั้งปวง
เมื่อถึงเวลาฤกษ์กินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์จะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นนุ่งด้วยผ้าขาวม้าโจงกระเบนไม่ใส่เสื้อ แล้วเข้าไปกราบพระอาจารย์ผู้ประกอบพิธี 3 ครั้ง เสร็จแล้วพระอาจารย์จะให้นั่งชันเข่าบนหนังเสือ เท่าทั้ง 2 เหยียบบนเหล็กกล้าหรือเหล็กเพชร ปิดศรีษะด้วยหนังหมี มือทั้ง 2 วางบนหลังเท้าของตัวเอง พระอาจารย์ใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ พร้อมกับภาวนาพระคาถา ส่วนมือขวาปั้นข้าวเหนียวดำเป็นก้อนป้อนให้ศิษย์ครั้งละ 1 ก้อน แล้วปล่อยมือศิษย์ที่กดไว้บนเหลังเท้า มือทั้ง 2 ของศิษย์จะลูบขึ้นไปตั้งแต่หลังเท้าจนทั่วตัวจดใบหน้า การลูบขึ้นนี้เรียกว่า "การปลุก" เสร็จแล้วลูบลง เอามือทั้ง 2 ไปวางไว้บนหลังเท้าทั้ง 2 เช่นเดิม โดยกะประมาณว่ากินข้าวเหนียวก้อนแรกหมดพอดี สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินอาจกลืนลำบาก เนื่องจากว่าข้าวเหนียวมีรสขมมาก บางคนป้อนก้อนแรกถึงกับอาเจียนออกมาก็มี แต่ถ้ากลืนก้อนแรกจนหมดได้ ก้อนต่อไปจะไม่มีปัญหา พระอาจารย์จะป้อนจนครบ 3 ก้อน ในแต่ละครั้งจะลูบขั้นลูบลง เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งที่ 3 นั้นเมื่อศิษย์กินข้าวเหนียวหมดแล้ว พระอาจารย์จะใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ที่เดิมหัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ ทำทักษิณาวัตร 3 รอบ พร้อมกับภาวนาพระคาถาไปด้วย เป็นการผูกอาคม
สำหรับคุณค่าของการกินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์ของสำนักเขาอ้อ เชื่อกันว่าใครกินได้ถึง 3 ครั้ง จะทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหานิยม และยังเป็นยาแก้โรคปวดหลังปวดเอวได้เป็นอย่างดี


3.พิธีเสกน้ำมันงาดิบ การเสกน้ำมันงาดิบ ต้องมีเครื่องบูชาครูเช่นเดียวกับการหุงข้าวเหนียวดำ คือ หมาก 9 คำ ดอกไม้ 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ธูป 3 ดอก สายสิญจน์ หนังเสือ หนังหมี เอาวางไว้ที่หน้าเครื่องบูชา การเสกน้ำมันส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำมันงาดิบ หรือน้ำมันยางแดงประสมว่าน พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะนั่งบริกรรมพระคาถาจนน้ำมันแห้งเป็นขี้ผึ้ง เรียกว่า "พิธีตั้งมัน"
เมื่อเสกจนน้ำมันแห้งแล้ว พระอาจารย์จะทำพิธีป้อนน้ำมันให้สานุศิษย์แบบเดียวกับพิธีป้อนข้าวเหนียวดำ คือ ผู้ที่จะกินมันต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่เคยผิดศีลข้อกาเมมาก่อน ถ้าบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ ต้องให้พระอาจารย์ทำพิธี "บริสุทธิ์ตัว" คือ "สะเดาะ" เสียก่อน เสร็จแล้วก็ทำเช่นเดียวกับกินข้าวเหนียวดำ โดยพระอาจารย์ ผู้ประกอบพิธีจะป้อนน้ำมันให้กิน 3 ช้อน แต่ละช้อนมีขมิ้นอ้อย 1 ชิ้น เมื่อกินช้อนที่ 3 หมด พระอาจารย์จะตักน้ำมันมาทาบบนฝ่ามือทั้ง 2 ของศิษย์ แล้วเขียนตัวอักขระตัว "นะโม" ข้างละ 1 ตัว จับมือศิษย์ทั้ง 2 ประกบกันละเลงให้น้ำมันทั่วฝ่ามือ แล้วนำไปทาบนหลังเท้าทั้ง 2 ข้าง ข้างละมือ พร้อมกับพระอาจารย์จะปลุกเสกคาถากำกับไปด้วย ต่อจากนั้นใช้มือลูบขึ้นและลูบลงเช่นเดียวกับการกินข้าวเหนียวดำ เสร็จแล้วมือซ้ายของอาจารย์จะกดมือทั้ง 2 ไว้หัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ไว้ เช่นเดียวกับการกินข้างเหนียวดำ เพื่อเป็นการผูกอาคม เป็นอันเสร็จพิธีการกินน้ำมันงาดิบ
คุณค่าการกินน้ำมันงาดิบของสำนักวัดเขาอ้อ เชื่อกันว่ามีคุณค่าทางด้านอยู่ยงคงกะพัน มีเมตตามหานิยม แต่มีข้อห้ามไว้ว่า ถ้าผิดลูกเมียผู้อื่นเมื่อใด น้ำมันที่กินเข้าไปจะไหลออกมาตามขุมขนจนหมดสิ้น และถ้าจะกินน้ำมันใหม่ก็ต้องทำพิธีสะเดาะใหม่อีกครั้ง


4.พิธีแช่ว่านยา เป็นพิธีกรรมชั้นสูงทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อ การแช่ว่านยา หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ลงไปนอนแช่ในน้ำว่านยาที่ได้ทำพิธีปลุกเสกตามหลักวิชาไสยศาสตร์ จากพระอาจารย์ผู้เรืองอาคม เพื่อประสงค์ให้ตัวเองอยู่ยงคงกระพันชาตรี วัดเขาอ้อจึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า "วัดพระอาจารย์หลัง" หลายคนเชื่อกันว่าวัดเขาอ้อเป็นต้นตำรับพิธีการแช่ยา ต่อมาเมื่อมีลูกศิษย์มากขึ้น พิธีการนี้ก็แพร่หลายออกไปตามวัดต่างๆ เช่น วัดดอนศาลา วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน วัดเขาแดงออก วัดยาง วัดปากสระ อ.เมือง พัทลุง เป็นต้น
พิธีการแช่ยาที่วัดเขาอ้อ นิยมประกอบพิธีบนไหล่เขาหรือภายในถ้ำฉัตรทันต์ ในราวเดือน 5 เดือน 10 ของทุกๆปี โดยก่อเป็นรูปอ่างน้ำสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือใช้เรือขุดจากไม้ก็ได้ให้มีขนาดพอที่จะให้คนลงไปนอนได้ประมาณ 3-4 คน ส่วนมากไม่มีการกำหนดขนาดที่แน่นอน อ่างน้ำนี้เรียกว่า "รางยา"
เนื่องจากพิธีกรรมแช่ว่าว่านยาเป็นพิธีใหญ่มาก และเป็นพิธีชั้นสูงของสำนักวัดเขาอ้อและทำได้ยากลำบาก เครื่องบูชาครูจึงต้องมีมากเป็นธรรมดา คือ หัวหมู บายศรีไหญ่ ยอดบายศรี สวมแหวนทองคำหนัก 1 บาท หมากพลู ธูปเทียน ดอกไม้ และมีหนังสือหนังหมี เหล็กกล้า เป็นเครื่องประกอบ
อ้างอิงจาก
- หนังสือ "วัดดอนศาลา" โดย คุณธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น และ คุณจำเริญ เขมานุวงศ์
- หนังสือ "ที่ระลึกงานฉลองสัญญาบัตร พัดยศ พระครูอดุลธรรมกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดเข้าอ้อ" โดย คุณสมคิด คงขาว และ คุณศิริพงศ์ ยูงทอง 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536
        ชอบและทึ่งเรื่องแบบนี้จริงๆ  ย้อนกลับมาที่เรื่องของว่านสมุนไพรแก้อาการมือตายเท้าตาย จากหนังสือว่านของอ.ณรงค์ศักดิ์  ค้านอธรรม  มีที่น่าสนใจมากอยู่ ๓  ตัวที่ใช้ร่วมกัน คือ
ว่านเอ็นเหลือง  ว่านม้าเหลืองและว่านม้าห้อ  อย่างละเท่ากัน  ใช้น้ำ ๓ ส่วน ต้มให้เหลือ ๑ ส่วน  ดื่มแก้อาการ อัมพฤกษ์อัมพาต เหน็บชา มือตายเท้าตาย ปวดเมื่อย เส้นเอ็นแข็งและโรคปวดบวมต่าง ๆ
ว่านเอ็นเหลือง นำหัวสดมาตากแห้ง ต้มดื่มต่างน้ำชา ดื่มแก้อาการ อัมพฤกษ์อัมพาต เหน็บชา มือตายเท้าตาย ปวดเมื่อย เส้นเอ็นแข็งและโรคปวดบวมต่าง ๆ สำหรับโรคปวดบวมใช้หัวสดฝนน้ำหรือน้ำต้มสุก เสกด้วยคาถาพระพุทธคุณ ๓จบ คาถาอาการ ๓๒ อีก ๓ จบ  ทานวดแก้กล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย  
นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณแก้โรคเบาหวาน ไตพิการ ให้ต้มว่านนี้กินต่างน้ำ และเช็คน้ำตาลในโลหิตดูเรื่อย จะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์น้ำตาลจะลดลงตามลำดับ เห็นผลกันมามากแล้ว
อีกสองตัวยิ่งน่าลอง ตัวหนึ่งคือ ว่านม้าห้อหรือว่านหนุมานยกทัพ สรรพคุณ  ช่วยบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยขยายเส้นเอ็น บำรุงกำหนัด  รักษาริดสีดวงทวารในระยะเริ่มเป็นโดยนำหัวสดมากินหรือดองกับเหล้าขาวดื่มทุกวัน  วันละ ๒ เวลา เช้า-เย็น ก่อนอาหาร  ความเชื่อโบราณกล่าวว่า หากต้องการเดินทางไกล ขึ้นเขาที่ชันมากหรือวิ่งแข่งให้พกติดตัวไว้จะช่วยให้ไม่เมื่อยขบ  หรือนำมาฝนกับน้ำ ใช้ทาตามข้อเท้า หัวเข่าและเอว จะทำให้เดินเก่ง วิ่งเก่ง ไม่เหนื่อยมาก
ตัวสุดท้าย ว่านม้าเหลือง สรรพคุณแก้อัมพฤกอัมพาต

น่าลองหามาปลูกมาใช้ดู  โลกตอนนี้เข้าสู่ยุคพึ่งตนเองแล้ว

ปุณณภา   งานสำเร็จ  เรื่อง


สมุนไพรบำรุงเส้นเอ็น

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ตัวยาที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเส้นเอ็น





เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณ บำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้ปวดเมื่อตามร่างกาย มีดังนี้
1. กำลังช้างเผือก รสขมฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงเส้นเอ็น

2. กำลังเสือโคร่ง รสฝาดมัน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย 3.กำลังหนุมาน รสเฝื่อน แก้น้ำดีพิการ บำรุงกำลังกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นให้แข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะ
4.กำลังวัวเถลิง รสมันร้อน บำรุงโลหิต บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกระดูก แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุให้บริบูรณ์
5. เถาโคคลาน รสเฝื่อนเย็นเมา แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้เส้นตึง แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้กระษัย ไตพิการ ขับปัสสาวะ 6. เถาเอ็นอ่อน รสมันขม บำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย
7. เถาเมื่อย รสขื่นเฝื่อน แก้ปวดเมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ทำให้ดวงจิตแช่มชื่น
8. ต้นต่อไส้ รสจืดเอียน ต่อเส้นเอ็นที่พิการให้ดี บำรุงเส้นเอ็น ขับปัสสาวะ 9. ฝักถั่วแระ รสมันเฝื่อนเล็กน้อย บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น
10.เถารางแดง รสร้อนขื่น ขับปัสสาวะ แก้เส้นเอ็นให้หย่อน แก้กระษัย แก้กล่อนฝัก แก้กล่อนทุกชนิด
11. เบนขอ รสเฝื่อน แก้เส้นเอ็นพิการ แก้เข้าข้อ แก้ปวดเมื่อย แก้กระษัย แก้เหน็บชา

ที่มา
เรียบเรียง : ทีมงานสมุนไพร
ข้อมูลจาก : จากหนังสือ คัมภีร์เภสัช รัตนโกสินทร์ โดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช

สมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณรักษาอัมพฤกอัมพาต


สมุนไพรแก้อัมพฤก อัมพาต

ดีปลี


สรรพคุณ :

  • ราก - แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต พิษปัตคาด แก้ตัวร้อน แก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้คุดทะราด
  • เถา - แก้พิษงู ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้เสมหะพิการ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้มุตฆาต
  • ใบ - แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น
  • ดอก - แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ แก้หืด ไอ แก้ริดสีดวง คุดทะราด แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ แก้อัมพาต และเส้นปัตคาด
  • ผลแก่จัด - รสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะ(หลังเป็นหวัด) แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู ยาธาตุ ทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ ใช้ประกอบตำรายาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ธาตุไม่ปกติ (ใช้เป็นยาขับลม แต่ไม่นิยมใช้ โดยมากนำมาเป็นเครื่องเทศ)
วิธีและปริมาณที่ใช้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
โดยใช้ผลดีปลีแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีผลใช้เถาต้มแทนได้

  • อาการไอ และขับเสมหะ
    ใช้ผลแห้งแก่ ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือเล็กน้อย กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ
  • ผลดีปลีแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ ประกอบอาหาร มีรสเผ็ดร้อน ขม

สารเคมีที่พบ
มีน้ำมันหอมระเหย และแอลคาลอยด์ ชื่อ
P-Methoxy acetophenone, Dihydrocarveol, Piperine, Pipelatine Piperlongumine, Sylvatine และ Pyridine alkaloids อื่นๆ

เถาเอ็นอ่อน

เถา - ต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ

ใบ - ใช้โขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี

ไพล

วิธีและปริมาณที่ใช้

1.            แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม

2.            รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก
ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)

3.            แก้บิด ท้องเสีย
ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน

4.            เป็นยารักษาหืด
ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น

5.            เป็นยาแก้เล็บถอด
ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง

6.            ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย

สารเคมี - Alflabene : 3,4 - dimethoxy benzaldehyde, curcumin, beta-sitosterol, Volatile Oils

เม็ก

ใบสด  ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก

ผักกาดน้ำหรือหญ้าเอ็นยืด
 
สรรพคุณรักษาอาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ อาการปวดตึงที่คอ หลัง เอว แขน ขา การหกล้มฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง จนเดินเขยกหรือเดินไม่ได้ รวมไปถึงการรักษาอาการกระดูกหัก กระดูกแตกนั้น ได้รู้เมื่อไปตามเก็บความรู้กับหมอยาไทยใหญ่ ซึ่งความรู้ในการใช้ผักกาดน้ำหรือที่ไทยใหญ่เรียกว่า หญ้าเอ็นยืด นั้น (ไทยใหญ่มักเรียกชื่อสมุนไพรตามสรรพคุณทางยาเป็นส่วนใหญ่) แม้แต่เด็กๆ ก็รู้ว่าหญ้าเอ็นยืดมีสรรพคุณในการรักษาเอ็น รักษากระดูก ดังนั้นเวลาหกล้มข้อเท้าแพลงเด็กไทยใหญ่จะไปเก็บหญ้าเอ็นยืดมาทุบๆ ให้น้ำออกแล้วพอกบริเวณที่ข้อเท้าแพลงนั้น เชื่อกันว่าหญ้าเอ็นยืดจะทำให้เส้นเอ็นคลายตัวบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ นอกจากคนไทยใหญ่แล้ววัฒนธรรมการใช้หญ้าเอ็นยืดรักษาอาการเคล็ดขัดยอกนี้ยังเป็นที่แพร่หลายในบรรดาหมอเมือง ชาวล้านนาทั้งหลายด้วย โดยลูกประคบหรือยาจู้ของหมอเมืองนอกเหนือไปจากไพลและขมิ้นเหมือนลูกประคบทั่วๆ ไปแล้ว ยังมีสมุนไพรหลักตัวหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ หญ้าเอ็นยืด
นอกจากจะใช้เป็นยาแก้อาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อแล้ว หมอยาไทยใหญ่ยังใช้หญ้าเอ็นยืดเป็นยารักษากระดูกหัก กระดูกแตก โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่น เช่น หญ้าติ๊ดสืบ (หญ้าถอดปล้อง) ตะไคร้ บอระเพ็ด เครือป๊กตอ (เถาวัลย์ปูน) เป็นต้น
ยังมีอีกเยอะจะค่อยๆทะยอยรวบรวมมาให้อ่าน
 
ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง
 

สมุนไพรรักษาอัมพฤกอัมพาตตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

 โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา
         

มีเพื่อนเราคนหนึ่งเป็นคนดีมาก  วันหนึ่งเกิดความเครียดจากปัญหาครอบครัวและปัญหาธุรกิจ ดื่มเหล้าข้ามวันข้ามคืน  ตื่นเช้าขึ้นมาพบว่าซีกซ้ายของร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ ตรวจพบเส้นเลือดในสมองแตก  ๒ เดือนเต็มที่ต้องนอนซมอยู่บนเตียงจากคนที่ร่างกายแข็งแรงมาตลอดกลายสภาพเป็นคนพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันเดินได้ ขับรถได้  มือคืนสภาพมาสามสิบเปอร์เซนต์  คุณหมอบอกว่าได้มาขนาดนี้ก็ดีแล้ว แปลว่าอะไร หมอจะออฟเคสหยุดการรักษา เขาขอร้องขอทำกายภาพบำบัดต่อ   เห็นแล้วรู้สึกเศร้าใจ  ชีวิตจะเหลืออะไรถ้าตกอยู่ในสภาพนี้  เป็นแค่ซากชีวิต แต่บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตเพื่อให้เราหยุดทบทวน  ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร และกำลังทำอะไรไปเพื่ออะไร  เพราะพอถึงวันหนึ่งทุกอย่างที่ทำไปก็กลายเป็นไม่มีประโยชน์อะไร เอาอะไรไปไม่ได้  นอกเสียจากบุญกุศลผลการปฏิบัติธรรม
         ตอนนี้เลยหมกมุ่นกับการค้นข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องผู้ป่วยอัมพฤกอัมพาต    ซึ่งมีหลายวิธี  นวด อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร  กินและทาสมุไพร  ล้วนช่วยได้หมด  วันนี้จะเอาเรื่องของสมุไพรที่ใช้ทั้งภายในและภายนอก
          การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ของหมอพื้นบ้านนั้น นอกจากอาศัยการนวดเส้นแล้ว จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาอื่นๆร่วมด้วย ทั้งการประคบเส้น และที่สำคัญคือ การจ่ายยาสมุนไพร
เนื่องจากสมุฏฐานการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามทฤษฎีการเกิดโรคของแพทย์พื้นบ้านเชื่อว่าเกิดจากสมุฏฐานวาตะ คือเกิดจากอุทธังคมาวาตาพัดระคนกันกับอโธคมาวาตา และมีลมหทัยวาตะเข้ามาแทรก ดังนั้นการตั้งตำรับยาสำหรับผู้ป่วยโรคนี้จึงควรใช้ตัวยาตรงที่มีรสร้อน และสุขุมเป็นหลักเพื่อแก้โรคให้ตรงกับสมุฏฐาน นอกจากนี้ผู้เป็นหมอเองต้องคำนึงถึงตัวยาช่วย ตัวยาประกอบ เพื่อช่วยในการแก้โรคแทรกโรคตาม ตามลักษณะอาการ และความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ดังตำรับยาที่ขอยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นเป็นกลุ่มๆนี้
1.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม พริกไทยดำ พริกไทยล่อน พริกดอกไม้ ลูกผักชี
ใบมะกา โกฐหัวบัว ขมิ้นอ้อย ขอบชะนาง

2.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต
ชราทั้ง ๕ แกแล แก่นฝาง ผลมะตูม
โกฐสอ รากช้าพลู หัวแห้วหมู เถาสะค้าน
ดอกดีปลี เจตมูลเพลิงแดง

3.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์บำรุงเส้นเอ็น
โกฐกระดูก เถาเอ็นแดง เถาเอ็นขาว น้ำนอง

4.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
โกฐน้ำเต้า ยาดำ สมอพิเภก สมอเทศ

5.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เจริญอาหาร
ลูกกระดอม บอระเพ็ด กัญชา

6.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์แก้ไข้
โกฐก้านพร้าว คนทา รากปลาไหลเผือก กระดูกไก่ดำ
( สมชาย อ้นทอง )


วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรรักษาโรคลมชักหรือลมบ้าหมู

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


มีคนถามเราเรื่องสมุนไพรรักษาลมบ้าหมู เราว่าน่าสนใจดี  เพราะคนเป็นโรคลมบ้าหมู หรือโรคลมชัก  น่าสงสาร  นึกอยากชักที่ไหน  เมื่อไหร่ก็ชัก  เวลาชักขึ้นมาก็น่าตกใจ  และอันตรายมากถ้าชักตรงที่มีน้ำ หรืออยู่บนที่สูง อาจได้รับอันตรายถึงชีวิต  ค้นดูในอินเตอร์เน็ท มีสมุนไพรหลายตัวที่ใช้รักษาโรคนี้  ลองดูนะคะว่ามีตัวไหนบ้าง
ยาแก้โรคชัก (โรคลมบ้าหมู)
ต้นครอบฟันสีหรือครอบจักรวาล  ขอบคุณที่มา ascannotdo.wordpress.com

ท่านให้เอาต้นครอบจักวาฬ(หรือต้นพันสี) ทั้งห้า(ถอนเอาทั้งต้นตลอดถึงราก) นำมาล้างน้ำให้สะอาดใส่หม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร ใส่น้ำตาลทรายแดงลงผสมพอมีรสหวานเล็กน้อยใช้น้ำยารับประทานต่างเครื่องดื่มเป็นประจำทุกวันถ้าเป็นโรคชักมาไม่นานโรคนี้จะหายขาดไปโดยเร็วถ้าเป็นโรคชักมาเกิน ๔ ปีจะต้องต้มยานี้รับประทานทุกวันติดต่อกันไปประมาณ ๑ ปีโรคชักนี้จึงจะหายขาดมีสรรพคุณชะงัดนักแลเคยใช้รักษาได้ผลดีมาแล้ว ฯ

วิธีป้องกันโรคชัก
ท่านให้หมั่นระบายท้องระวังอย่าให้ท้องผูกให้หมั่นถ่ายยาอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง รับรองจะไม่เกิดอาการชัก เคยใช้รักษาได้ผลดีมาแล้ว ฯ
วิธีแก้อาการชัก
ท่านให้ใช้มือหยิกที่ขาอ่อนของผู้ป่วยให้เกิดอาการเจ็บมากๆผู้ป่วยจะรู้สึกตัวภายใน ๕ นาทีเคยใช้อาการชักได้ผลดีมาแล้ว ฯ
ยาต้มแก้ลมอัมพาตราธยักษ์ ลมบ้าหมู บ้าต่าง ๆ
ท่านให้เอารากชะพลู๑กระวานหญ้าปากควาย๑แห้วหมู๑ตรีกระตุก๑จันทร์ทั้งสองบอระเพ็ด๑ลูกกระดอม๑ขมิ้นอ้อย๑ต้ม๓เอา๑กินแก้ลม๑๒จำพวกหายแล
getgoodherb.blogspot.com
เทียนกิ่ง     ราก - ใช้ขับประจำเดือน รักษาตาเจ็บ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคลมบ้าหมู
เทียนกิ่ง  ขอบคุณรูป agkc.lib.ku.ac.th
www.rspg.or.th/plants_data/herbs
สมอจีนหรือกาน้า  ต้มกาน้าจนเปื่อย แล้วปั่นรวมกันสารส้ม กินหลังมื้ออาหาร รักษาอาการอ่อนเพลีย มีเสมหะ ร้อนใน และโรคลมบ้าหมู
ข้อควรระวัง
การกินกาน้าในปริมาณมาก จะทำให้แน่นท้อง จึงมีผลต่อการย่อยของกระเพาะและลำไส้
ที่มา : มหัศจรรย์สมุนไพรจีน อภินันทนาการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด

ตำรายาไทย ใช้ ใบ รสขมเฝื่อน ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มกิน แก้ลมบ้าหมู



สมอจีน / กาน่า (Chinese Olive) Mister Fruit Thailand    ขอบคุณรูปจาก  misterfruitthailand.com
www.phargarden.com
ดีปลี  ขอบคุณ รูปจาก  pixysrubor.com
ดีปลี    ใบ แก้เส้นสุมนา (เส้นศูนย์กลางท้อง) ผลแก้ธาตุพิการ ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืด แก้ไอ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคนอนไม่หลับ แก้ลมบ้าหมู แก้ปวดกล้ามเนื้อ เกาต์ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ราก แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาตดีมาก ในต่างประเทศใช้ผลสดหรือแห้งดองเหล้าดื่มเป็นยาชูกำลัง
allknowledges.tripod.com
ตาตุ่มทะเล   เนื้อไม้ ควันที่เกิดจากการเผาไม้ ตาตุ่มใช้รักษาพวกที่เป็นโรคเรื้อนได้ดี ใบแก้ลมบ้าหมู
ขอบคุณรูปจาก  biogang.net
school.obec.go.th
สบู่เลือด ใช้อย่างน้อย ๓  กิโลกรัม นำมาฝานเป็นแว่น  ตากแห้ง  บดเป็นผง  ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอน  กินติดต่อกัน  ๕-๖ ปีจนหายขาด
พูดถึงสบู่เลือดวันนี้โทรไปติดต่อเจอรายหนึ่งที่มีหัวสบู่เลือดทุกขนาดตั้งแต่ไม่ถึงกิโลไปจนหัวใหญ่เป็นร้อยกิโล  ใครสนใจติดต่อสอบถามเอง  เป็นกันเอง  ราคาไม่แพงเลย  มีหัวว่านสบู่เลือดสด จำหน่ายและรับศึกษาดูงานและรับบรรยายเกี่ยวกับว่านสบู่เลือดและสมุนไพรอื่นๆ

สอบถามได้ที่
คุณสำราญ ประดิษฐ์ โทร 032-602534
คุณอุธารัตน์ บุญฤทธิ์ โทร 081-8806940 หรือ 084-6475488

ที่อยู่
เลชที่ 29/3 หมู่.10 ถนน เพชรเกษม
ตำบล เกาะหลัก อำเภอ เมือง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
(ตรงข้าม โชว์รูมโตโยต้า สาขาประจวบคีรีขันธ์)


ปุณณภา  งานสำเร็จ   เรื่อง