วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปล้าใหญ่ไม้ง่ายๆที่เริ่มจะหาไม่ได้ง่าย

ต้นเปล้าขึ้นอยู่ตามข้างทางมองเห็นทั่วๆไป

ยอดอ่อนของต้นเปล้า

ใบแก่ของเปล้าใหญ่ตกกระสีสนิมขนาดของใบประมาณ๒คืบขอบใบจัก


จุดสังเกตุที่ชัดเจนของต้นเปล้าคือคือใบแก่สีส้มสวย


เปล้าใหญ่




หลังจากที่ไม่ได้สะพายกล้องคู่ใจออกหาเก็บภาพต้นไม้มาเป็นเดือนๆภาษาสุภาพเรียกว่ารออารมณ์ศิลปินภาษาไม่สุภาพเรียกว่าขี้เกียจตัวเป็นขน พอลมหนาวแรกเริ่มมาเยือนทำให้รู้สึกคึกคักบอกกับตัวเองว่าได้เวลาออกล่าเหยื่ออีกแล้ว




โคราชเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมีพืชหลากหลายชนิดอยู่เป็นจำนวนมาก บางทีไม่จำเป็นต้องเข้าป่าเสี่ยงอันตรายร้อยแปดแค่เลาะเลียบตามข้างทางก็มีไม้แปลกๆเยอะแยะไปหมด




วันนี้จะเล่นไม้ง่ายๆพื้นๆที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ คือต้นเปล้าใหญ่เรารู้จักเปล้าใหญ่ครั้งแรกเมื่อหกเจ็ดปีที่แล้วตอนพาอสม.ทำลูกประคบเพราะในสูตรลูกประคบต้องใช้ใบเปล้า ใบหนาด โดยสรรพคุณของใบเปล้าตามที่สถาบันการแพทย์แผนไทยกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้คือ ถอนพิษผิดสำแดง(ไม่รู้จริงๆว่าแปลว่าอะไรแต่สมัยนั้นท่องตามนี้เป๊ะๆ)นั่นเป็นที่มาที่ทำให้ต้องรู้จักเปล้าใหญ่ไม้พื้นๆข้างทางที่หรอยหรอลงทุกวัน




เปล้าใหญ่




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton roxburghii N. P. Balakr . วงศ์ : EUPHORBIACEAE ชื่ออื่น : เซ่งเค่คัง คัวะวู เปวะ เปล้าหลวง สกาวา ส่ากูวะ ห้าเยิ่ง
ลักษณะทั่วไป



ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กผลัดใบ แต่แตกใบเร็ว สูง 4-8 เมตร แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอาจรวมทั้งกิ่งอ่อน มีเกล็ดสีเทาเป็นแผ่นเล็กๆ ปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอก รูปขอบใบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาว 16-19 เซนติเมตร โคนใบมน ส่วนที่ติดกับปลายก้านใบมีตุ่มปรากฏอยู่สองข้าง ปลายใบมน หรือสอบเรียวแหลม เส้นแขนงใบมี 12-16 คู่ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยถี่ ๆ ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ขนาด 0.2-0.3 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือแยกต้น ผล รูปทรงกลมมี 3 พู ผลจะแก่จากปลายช่อลงมาเปลือกของผลจะแตกจากโคนผล เมล็ด ในแต่ละพูจะมีเมล็ดลักษณะรี 1 เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย : พบในที่ดอน กระจายอยู่ทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวไทใหญ่เรียกเปล้าใหญ่ว่าไม้หางเยือง การขยายพันธุ์ๆได้แก่การปักชำราก



ด้านสมุนไพร เปลือกต้น และกระพี้ ช่วยย่อยอาหาร




ใบและลำต้น ต้มน้ำอาบแก้โรคผัวหนังผื่นคัน บำรุงธาตุ แก้ปวดเมื่อยร่างกาย กระจายเลือดลม




เปลือกต้นใบใบ แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ แก้ปวดข้อ ช่วยย่อยอาหาร ลดไข้




ดอกและแก่น ขับพยาธิ




รากขับลม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคันน้ำเหลืองเสีย แก้ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ปวดเมื่อย




ผล ดองสุราดื่มขับเลือดหลังคลอด
เมล็ด เป็นยาถ่าย
ศิริพร กลมกล่อม เรื่อง - ภาพ

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ต้นเสนีนดชื่อไม่เพราะแต่เป็นยาดีมีคุณค่า


ต้นเสนียด

วันนี้สองทุ่มครึ่งโดยประมาณถูกปลุกโดยน้องวัยรุ่นคนหนึ่งที่เข้ามาอ่านบล๊อคเรื่องสบู่เลือดแล้วสนใจเลยโทรมาถามอยากจะร้องอ่ะจ๊ากดัง ๆ เพราะหลับแล้ว ( เวลานอนตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินไปถึงตีสอง) ไม่รู้จะภูมิใจที่มีคนหลงทางมาอ่านเจอรึจะ...ดี เฮ้ออออ


ดีใจที่มีเด็กรุ่นใหม่สนใจสมุนไพรเสน่ห์ของต้นไม้มีมนต์ขลังที่ใครหลุดเข้ามาแล้วต้องชอบ


จริงๆการศึกษาต้นไม้ใหม่ๆถ้าจะให้ดีอ่านหนังสือรึค้นหาเยอะๆแล้วมีไม้ในดวงใจทีละต้นสองต้นแล้วเลือกที่จะดูไปตามความสนใจเพราะป่าแต่ละป่าจะมีไม้เฉพาะของเค้า


ไม้ตัวแรกๆที่เราชอบคือดองดึง ค้างคาวดำและหมอกบ่อวายหลงเสน่ห์ดอกสวยแล้วเราก็เลือกป่าที่น่าจะมีกับบริเวณที่น่าจะพบจากคนนำทาง มันจะง่ายกว่าเยอะถ้าระบุไม้มาว่าต้องการดูต้นอะไร เคยมีน้องจากกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่งเก่งมากเรื่องสมุนไพร(หมอกระดาษ)สอบผ่านใบประกอบโรคศิลปแล้วอยากเห็นว่านขันหมากแล้วจะไปลุยป่าซับลังกาทั้งๆที่น้ำหนักร้อยกว่าโลถ้าอย่างนี้จัดให้ดูป่าง่ายๆตามข้างๆทางแถวเขาแถววังน้ำเขียวก็ได้เพราะป่าซับลังกาเป็นป่าโหดแต่ว่านขันหมากเป็นไม้ชายป่าไม่ต้องขี่ช้างจับตั๊กแตนคือเข้าป่ายากเพื่อหาไม้ง่ายๆ


เรายินดีนะเวลาที่เจอคนสนใจเรื่องนี้ ถ้าพาไปดูได้จะพาไป แต่อยากให้มีไม้ในดวงใจอย่างที่ว่ารู้ป่ะบรรดาเซียนๆน่ะเวลาเข้าป่าเค้าจะตั้งใจเลยว่าไปดูไม้ตัวนี้เห็นแล้วกลับเลยแต่เราอ่ะไม่ใช่เซียนหรอกดูดะจนกว่าขาลากแต่เราจะมีไม้ที่อยากเห็นมากๆเหมือนกันแล้วเลือกป่าเอาถามหาไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอคนที่รู้จักไม้ตัวนี้


เอาเรื่องต้นเสนียดละกันวันนี้


เคยได้ยินผ่านหูบ่อยๆมากระแทกปังตอนไปร่วมกลุ่มหมอพื้นบ้าน๑๐จังหวัดที่อุดรพ่อหมอยาภาคอีสานแกเรียกต้นเสนียดว่าฮูฮาทำเอางงกันพักใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นตัวเดียวกันไม้นี้น่าสนใจเพราะพบในตำรับยาพื้นบ้านอีสานหลายตำรับแต่ไม่เคยเจอในป่าซักวันคงต้องไปหาถามๆดูในป่าแต่มือใหม่อย่างเราแยกเอกลักษณ์ไม่ออกเพราะไม่มีจุดเด่นเลยต้นนี้ไปเจอที่บ้านพ่อหมออำเภอสูงเนินใครจะไปรู้ว่าไม้ต้นนี้เอามาทำเป็นยาแก้ไอที่ชื่อแสนจะคุ้นในทีวี

เสนียด
ชื่ออื่น ๆ : ฮูฮา (เลย), หูรา (นครพนม), เสนียดโมรา , โมรา (ภาคกลาง), กะเหนียด(ภาคใต้),โมราขาว (เชียงใหม่), กุลาขาว, บัวฮาขาว, บัวลาขาว (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Adhatoda, Vassica, Malabar Nut tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adhatoda vasica Ness.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามากมายรอบ ๆ ต้น ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตรใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว แต่ก็ค่อนข้างจะใหญ่สักหน่อย ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบแหลมสอบ ขอบใบเรียบ พื้นใบเป็นสีเขียว และมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5-2.5 นิ้วยาว 3.5-7 นิ้วดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบส่วนยอดของต้น ช่อดอกจะรวมกันเป็นแท่ง ใบเลี้ยงที่รองรับดอกมีสีเขียวเรียงกันเป็นชั้น ๆ กลีบดอกแยกออกเป็นปาก ด้านบนมี 2 แฉกสีขาว ส่วนด้านล่างมี 3 แฉกสีขาวประม่วง เกสรมี 2 อันการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และปักชำเป็นไม้ที่พบมากในป่าเต็งรัง(ป่าไหนน๊อ)
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ และรากสรรพคุณ : ทั้งต้นและราก ปรุงเป็นยาบำรุงปอด และรักษาวัณโรคใบ ใช้ห้ามเลือด หรือเข้ายาหลายอย่างที่เกี่ยวกับเลือด เช่น บำรุงเลือด ฯลฯ แก้ฝี แก้หืด แก้ไอและขับเสมหะซึ่งจะนำเอาน้ำคั้นจากใบสดประมาณ 15 มล. ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำขิงสดก่อนอื่น ๆ

ยาแผนปัจจุบัน มีทำเป็นหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด, ยาน้ำ, ยาสูดดม, ยาน้ำเชื่อม, และยาฉีด มีชื่อทางการค้าว่า "Bisolvon" โดยใช้ อนุพันธ์ของ vasicine คือ N-cyclohexyl-N-methyl (Bromhexine) จะดีกว่าการใช้ vasicine เพราะไม่ทำให้เกิดการระคาย เคืองต่อทางเดินอาหาร Bisolvon ใช้เป็นยาขับเสมหะใน โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ได้ผลดี : ตัวยาของต้นเสนียดนี้เป็นอนุพันธ์ของ Vasicine คือ Bromhexine ซึ่งจะมีฤทธิ์ลดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร จึงใช้เป็นยาขับเสมหะ ในปัจจุบันนี้เป็นยาที่ผลิตออกมาได้หลายรูปแบบ เช่นแบบยาเม็ด แบบยาสูดดม ยาน้ำ ยาฉีด และยาจิบน้ำเชื่อมถิ่นที่อยู่ สารเคมีที่พบ : ในใบพบสาร vasakin vasicinine, และมีอัลคาลอยด์ vasicine ซึ่งจะออกซิไดซ์ให้vasicinone

ศิริพร กลมกล่อม เรื่อง - ภาพ