วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ว่านขันหมาก มากสรรพคุณ สมุนไพรขับไขมันที่พอกตับ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


เราต้องแก้ไขข้อมูลความรู้โดยลบบางส่วนจากคนที่ไม่ประสงค์ให้ขยายความแพร่หลายออกไป 
 กระแสการขายต้นว่านขันหมากมีการเกทับบลั๊บแหลกกันว่าของฉันของจริงเจ้าอื่นของปลอม  น่าอนาจใจจริงๆ ต้นไม้มันก็ขึ้นทั่วไปทำไมมันถึงจะมีของจริงอยู่ที่เดียว อีกอย่างถ้าเรานึกถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลักก็สมควรสนับสนุนเผยแพร่ให้สมุนไพรไทยมีการใช้ที่แพร่หลายออกไป  มากกว่าจะเป็นระบบผูกขาด  เงินไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

ว่านขันหมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglonema tenuipes Engl.
วงศ์ Araceae
ชื่ออื่น พรหมตีนสูง สวรรค์ชั้นแปด( อุบล) ขันหมากเขียว (ชัยภูมิ ) โหรา ( ตราด )
ลักษณะ ไม้พุ่ม ลำต้นตรง สูง ๔๐-๑๕๐ ซม. ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรีถึงรูปใบหอก กว้าง ๕-๑๓ ซม. ยาว ๑๕-๒๕ ซม. ปลายใบเรียวแหลม ดอกช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ กาบหุ้มช่อดอกสีเขียวเข้มแกมเหลือง ช่อดอกรูปทรงกระบอกสั้น ยาว ๑.๔-๒.๕ ซม. ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผลสดรูปกระสวย ออกเป็นช่อเบียดกันแน่นสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ เมล็ดมี ๑ เมล็ด ทรงรี
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม บำรุงกำหนัด ผลรับประทานสดเป็นยาอายุวัฒนะ
จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรเล่ม ๕ สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน

ข้อมูลจากหมอสุวิเวปบอร์ดพลังจิต
"ว่านต้นนี้(ว่านขันหมาก) เขาว่ากันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ  แต่หมอสุวิ ไม่ถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะ เป็นเพราะ
ยาอายุวัฒนะนี่ ต้องกินติดต่อกันได้ทุกวัน กินได้เป็นปีๆโดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ  ผลของว่านขันหมาก มีพิษอยู่(ทำให้ตับร้อน) แต่ร่างกายสามารถขับพิษนี้ได้โดยธรรมชาติทางอุจาระ ปัสสาวะและเหงื่อ (ระบบไตต้องไม่มีปัญหา)  ผลของตับร้อนนี้ ในช่วงแรกๆ ก่อประโยชน์ให้ร่างกายทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ขับไขมันที่พอกตับ ไขมันในเลือดและหลอดเลือด  แก้เล้นเลือดตีบจากไขมันได้ ฯลฯ

ภาวะตับร้อนนี้ มีสองภาวะ คือร้อนชื้น และร้อนแห้ง  ตับร้อนชื้น จะเกิดมีของเสียสะสมในตัวมาก น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันน้ำเหลืองไหล  ตับร้อน(แห้ง) จะเกิดการเผาอวัยวะภายในให้แห้ง เกิดภาวะขาดธาตุน้ำ ร้อนใน คันแห้งตามผิวหนัง

อย่างไรก็ดีผลของการกินว่านขันหมาก ในช่วงแรกๆนี่ เป็นผลดีต่อร่างกาย  แต่หากกินติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็อาจเกิดภาวะ ตับร้อนแห้งได้ง่าย  จึงแนะนำให้กินยาในช่วงหลังๆ กินบ้างหยุดบ้าง และกินน้ำมากๆ  แต่หากมีผู้รู้ผสมยาเย็นที่ทีธาตุน้ำเข้าไปเสริมสักหน่อย ยาว่านขันหมากตัวนี้นับว่าเป็นยาที่เลิศตัวหนึ่งทีเดียว  "

ส่วนตัวเราเอง  ขายว่านนี้ในอินเตอร์เน็ทมาระยะหนึ่ง ตัวเองกินเองก็พบว่าหายจากอาการปวดง่ามมือขวาจะการใช้เม้าท์เล่นคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน  ซึ่งปวดมาก แช่น้ำอุ่นไม่หาย  นวดไม่หาย  กินยาแก้ปวดไม่หาย  บทจะหายหายเพราะกินว่านขันหมากเมล็ดแรกเข้าไป หายมาจนถึงเดี๋ยวนี้ก็หลายเดือนแล้ว  ส่วนที่ลูกค้าเล่าให้ฟัง  มีทั้งเอาไปรักษามะเร็งตับเพราะเพื่อนกินแล้วหาย  รักษาอาการหอบหืดของลูก  รักษาสิวอักเสบลูกสาววัยรุ่นที่กินยาคลินิกหมดเป็นแสนแต่ดีขึ้นจากการกินว่านขันหมากสองเมล็ด  สามีแข็งแรงผิวขาวกระชุ่มกระชวยขึ้น  มีกำลังแบกของหนักไม่เหนื่อยทั้งที่อายุมากแล้ว  ฯลฯ  ก็เก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหลักฐานค้นคว้าเพิ่มเติม  เผื่อจะเกิดประโยชน์กับคนอื่น ๆ
  ปัจจุบันมีวิธีการกินว่านขันหมาก  ๓  วิธี  คือกินสด  (ตรงตามตำราโบราณน่าจะดีที่สุด ) , แช่น้ำผึ้ง  เพื่อยึดอายุความสดและช่วยเร่งสรรพคุณ  , ตากแห้งบรรจุแคปซูล  เลือกกินกันตามอัธยาศัยแล้วกัน  ปีนี้เมล็ดว่านขันหมากไม่แพงเหมือนปีก่อนๆ  เพราะออกเมล็ดเป็นจำนวนมาก

ปุณณภา  งานสำเร็จ  รวบรวม

พรมมิ กระแสที่จางหาย สมุนไพรคืนความทรงจำ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


เคยได้ยินเรื่องพรมมิเมื่อสองสามปีมาแล้ว แต่กระแสของสมุนไพรก็เป็นอย่างนี้มีขึ้นลงเป็นแฟชั่น เล่นกระแสตามงานวิจัย  วิจัยเสร็จก็ผ่านไป  อีกอย่างเราไม่คุ้นกับพืชชนิดนี้ เลยไม่รู้จะพูดถึงว่ายังไง  ไม่เคยเห็นมีใครขายรึกินเป็นผักพื้นบ้าน  พอดีพึ่งได้เค้ามากระถางหนึ่งจึงบันทึกเอาไว้่เพื่อการค้นคว้่าเพิ่มเติมว่าคนแถวไหนกินเจ้าต้นนี้เป็นอาหาร ค้นแล้วค้นอีกก็มีแค่ข้อมูลซ้ำๆกันอยู่นิดเดียวด้วยประโยคเดิมๆ
พรมมิ ผักพื้นบ้าน ไม้ประดับและสมุนไพรในต้นเดียวกัน พืชที่ในอนาคตอันใกล้คงจะบูมอย่างแน่นอน เนื่องจากสรรพคุณในการบำรุงฟื้นฟูเซลสมอง ซึ่งมีคุณบัติที่สูงและเหนือชั้นกว่า Ginkgo และมะขามป้อมอีกทั้ง สามารถพบได้กลาดเกลื่อน สามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ผลผลิตสูงจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่งที่จะได้ทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้  ดังที่จะได้อ่านจากบทความต่อไปนี้

พรมมิ หรือ Bacopa monnieri L.Wettst. เป็นผักพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปใน ประเทศไทยโดยมีถิ่นกำเนิดในเนปาลและอินเดีย เป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบก ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ เช่นขอบสระน้ำ ลักษณะลำต้นใหญ่ อวบน้ำ ไม่มีขน เลื้อยทอดไปตามพื้นและชูยอดขึ้น

ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ค่อนข้างยาว โคนใบแคบ ปลายใบกว้างมนกลม ขอบใบเรียบ แตกจากลำต้นแบบตรงกันข้าม ออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบกลีบดอกสีขาวหรือสีครามอ่อน ตอนโคนติดกันเป็นหลอดตอนปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 4 อัน ติดอยู่กับกลีบดอก

ประโยชน์ :
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในตู้ปลาหรือในสวนน้ำ รับประทานเป็นผักพื้นบ้าน

มีสรรพคุณทางการแพทย์อายุรเวท ในด้านการบำรุงความจำ
นักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์  มหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมกับนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนาสารสกัดและการควบคุมคุณภาพสมุนไพรพรมมิ เพื่อใช้ในเชิงอุตสาหกรรม

และ ศึกษาพบว่าสารสกัดพรมมิ มีผลต่อการเสริมความจำและการเรียนรู้ รวมทั้งมีผลป้องกันเซลล์ประสาท โดยไม่ทำให้เกิดพิษในสัตว์ทดลองเมื่อให้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนนับเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อไป

มีรายงานการวิจัยที่ศึกษาถึงผลของพรมมิต่อความจำ และการเรียนรู้เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยพบว่าสารสกัดจากพรมมิในขนาด10 มล./กก. ป้อนให้หนูขาวกินนาน 24 ชม. จะทำให้หนูขาวมีการเรียนรู้ดีขึ้น เมื่อทดลองในโมเดลของสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้เกิดอัลไซเมอร์

การ ป้อนสารสกัดมาตรฐานจากพรมมิ (ซึ่งมีประมาณสาร bacoside A 82.0 ? 0.5%) ให้สัตว์ทดลองในขนาด 5 และ 10 มก./กก. นาน 14 วัน จะช่วยลดการสูญเสียความจำได้ และเมื่อทดลองให้สารสกัดจากพรมมิขนาด 40 มก./กก. นาน 7 วัน ในสัตว์ทดลอง ร่วมกับยากันชัก Phenytoin สามารถลดผลข้างเคียงของยาที่ไปทำให้การรับรู้ของสัตว์ทดลองเสียไปได้

ข้อมูลจาก : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย


ในต่างประเทศโดยเฉพาะอินเดีย ญี่ปุ่น พรมมิถูกพัฒนาเป็นยาและอาหารเสริมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งสารสกัดออกฤทธิ์ ยาสระผม  น้ำมันนวด ชา แต่ในบ้านเรานั้นยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ส่วนมากรู้จักกันในนามไม้ประดับตู้ปลา และทานเป็นผักพื้นบ้านกัน โดยเฉพาะทางอีสาน ซึ่งเรียกกันว่า ผักมิ

ผักมิต้นจะไม่มีขนใบจะหนาอวบน้ำ และขอบใบมนไม่แหลมเหมือนต้นลานไพลิน แต่เป็นพืชกลุ่มเดียวกัน

ที่ ร้านขายไม้น้ำสังเกตุลักษณะไปให้ครบแต่ว่าถ้าต้นมันไม่พ้นน้ำ ใบมันจะออกบางหน่อย แต่พอพ้นน้ำแล้วใบมันจะหนามากขึ้น สังเกตุว่าต้นจะไม่มีขน ถ้ามีขนจะเป็นลานไพลิิน

ถ้าอยู่ต่างจังหวัด ก็หาตามท้องร่องเอาไปหาตามตลาดที่ขายผักพื้นบ้าน แล้วเอามาชำก็ได้

สารซาโปนิน ที่พบในพรมมิเป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในโสม หรือ แปะก๊วย (ginkgo) ซึ่งพรมมิเป็นสมุนไพรของอินเดียในศาสตร์อายุรเวช แต่เป็นพืชล้มลุกที่สามารถเพาะปลูกและขยายพันธุ์ได้ง่ายในประเทศไทย ดังนั้น หากมีการนำพรมมิมาใช้ก็จะถือเป็นการลดการนำเข้าสมุนไพรอย่างโสม หรือ แปะก๊วย ที่เป็นสมุนไพรที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ต้นพรมมิ ปลายใบมน ใบอวบน้ำไม่มีขน
ต้นลานไพลิน  ไม้น้ำไม้ประดับ  ปลายใบแหลม  ใบมีขน

แม้แต่นายเกษตร คอลัมนิสต์ที่เชี่ยวชาญเรื่องต้นไม้และสมุนไพรประจำหนังสือพิมพ์ไทยรัฐยังพูดถึงพรมมิเอาไว้ว่า "ผู้อ่านไทยรัฐ ที่ชอบเรื่องพืชกินได้ที่มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร อยากทราบว่าต้น “พรมมิ” ที่เป็นข่าวดังด้านงานวิจัยว่ามีคุณสมบัติทางการแพทย์ ช่วยในด้านความจำ บำรุงสมอง และลดอาการขี้หลงขี้ลืม หรือ อัลไซเมอร์ ได้ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างไร เป็นต้นเดียวกันกับต้นลานไพลินหรือไม่ และมีต้นขายที่ไหน ซึ่ง ความจริงแล้วต้น “พรมมิ” หาซื้อยากมาก เพิ่งพบ ว่ามีต้นวางขายที่ งานสมุนไพรแห่งชาติ จัดขึ้นที่อิมแพค เมืองทองธานี บริเวณฮอลล์ 7-8 โซนต้นไม้ ร้านคุณตุ๊ก โดยงานจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 ส.ค. ถึงวันที่ 4 ก.ย. 54 จึงแจ้งให้ทราบทันที

ส่วนที่สงสัยว่าเป็นต้นเดียวกับต้น ลานไพลิน หรือไม่นั้น ขอยืนยันว่าเป็นคนละต้นกัน แต่เป็นพืชในวงศ์เดียวกัน มีข้อแตกต่างคือ “พรมมิ” ต้นจะไม่มีขน ใบหนาอวบน้ำ ปลายใบมน ไม่แหลมเหมือนกับใบต้นลานไพลิน และ ต้นลานไพลินจะมีขน

พรมมิ หรือ BACOPA MONNIERI L.WETTST. มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นผักพื้นบ้าน พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเนปาล และ อินเดีย เป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบก ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นอวบน้ำไม่มีขน ทอดเลื้อยไปตามพื้นได้ยาวกว่า 1 ฟุต ชูยอดขึ้นใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบกว้างกลมมนโคนใบแคบ ขอบใบเรียบ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปรี ปลายตัด ดอกเป็นสีขาว หรือ สีครามอ่อนๆ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น

ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น ต้น “พรมมิ” ถูกนำไปสกัดเป็นยาและทำเป็นอาหารเสริมหลายรูปแบบ ทั้งทำเป็นสารสกัดออกฤทธิ์ ทำยาสระผม น้ำมันทาถูนวดแก้อาการชา ในประเทศไทยบ้านเรา ชาวบ้านทางภาคอีสานเรียก “พรมมิ” ว่า “ผักมิ” นิยมรับประทานเป็นผักพื้นบ้าน"  นั่นแสดงว่าพรมมิไม่ใช่ผักพื้นบ้านที่ใครๆแม้แต่คนสนใจเรื่องสมุนไพรจะรู้จักหรือใช้กันมากนัก"


ข้อมูลจากหมอสุวิ  ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนไทยในเวปพลังจิต  พูดถึง พรมมิ เปรียบเทียบกับบัวบก  และแปะก๊วย
 "ใบแป๊ะก้วย ขยายเส้นโลหิตในสมองก็จริงอยู่  แต่มีข้อเสียลึกๆ หากกินนานเกิน และกินมากเกิน จะทำให้เส้นเลือดเปราะ ปริซึมได้ง่าย  แต่ใบบัวบก และกระชายเหลืองกินคู่กัน ก็ช่วยขยายเส้นโลหิตในสมอง และยังทำให้เส้นเลือดยืดหยุ่นดี แถมปึ๋งปั๋งอีกตากหาก  หญิงกินได้ ชายกินดี อยู่กันยืด

ภาพที่นำมาให้ดู เรียกเต็มยศว่า ต้น พรมมิ (มีหลายต้น รูปร่างแตกต่างกันเล็กน้อย-ชาวบ้านทั่วไปเรียกรวมๆกันว่า ผักมิ)

สรรพคุณทางยาของพรมมิ เหมือนกับใบบัวบก+กระชายเหลือง ขยายเส้นเลือดฝอย เพิ่มความเหนียวนุ่มให้เส้นเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดฝอยในสมอง แต่ไม่ค่อยเด่นทางปึ๋งปั๋งสักเท่าใด

สรุป
ใบ/ต้น พรมมิ ดีกว่า ใบบัวบก และใบแป๊ะก้วย

เคยเดินหาเอามาทำยา หาจำนวนมากๆไม่ได้เลย เก็บได้ไม่มาก และขึ้นอยู่ในชายน้ำ ที่ค่อนข้างสกปก
มันดีกว่าก็จริง แต่จากข้อจำกัดข้างต้น ยาของหมอสุวิ จึงเลี่ยง ไม่ทำจากสมุนไพรตัวนี้

หากใครปลูกไว้ มีความสะอาดดี เก็บตากแห้งไว้ จำนวนมากพอ ใช้ทำยาได้
บอกมานะ จะได้ปรุงยา " บันทึกไว้เพื่อเป็นข้อมูลสืบค้นในโอกาสต่อไป"


ทำให้รู้ว่าแม้แต่ในวงการแพทย์พื้นบ้านหรือวงการเกษตรก็พูดถึงเจ้าตัวนี้น้อยมาก  บังเอิญตัวเองเป็นคนที่ถ้ามีอาการเจ็บคอจะต้องกินยาเขียวปกติจะกินยาเขียวตราใบห่อ  แต่บางร้านไม่มีขาย มีแต่ยาเขียวตราดอกบัว ซึ่งผลิตโดยบริษัทบุญส่งโอสถ(ตราเด็กในพานทอง) 556-558 ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 035-578040-1  ยาเขียวตราดอกบัวมีส่วนประกอบของใบพรมมิ  น่าแปลกใจว่าพอเขียนเรื่องพรมมิ บังเอิญเจ็บคอ เลยไปค้นๆมากิน ลองอ่านดูส่วนผสม  ยาเขียวตำรับนี้มีใบพรมมิเป็นส่วนประกอบ เลยเชื่อเรื่องกฏแห่งการดึงดูด  ซึ่งจริงๆก็ส่งผลหลายครั้ง  ทางพุทธศาสนาคือกฏแห่งกรรม(การกระทำ) หรือเป็นผลของปัญญาญาณ  คือการทรงไว้ซึ่งจิตที่ว่าง (ปราศจากความคิดฟุ้งซ่านรบกวน)  เราจะพบคำตอบของคำถามอย่างง่ายดาย  เรื่องปัญญานี้  โอโช่ นักปราชญ์ชาวอินเดียนักเขียนชื่อดัง
เรยกสิ่งนี้ว่า   Intuition  แปลเป็นไทยว่า  ปัญญาญาณ  หรือศัพท์เฉพาะว่า "ปิ๊งแว๊บ" คือความรู้หรือคำตอบที่ผุดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยในเวลาที่จิตผ่อนคลาย ว่างเบา  นักวิทยาศาสตร์ นักแต่งเพลง นักเขียนหนังสือชื่อดัง ระดับโลก  ล้วนสร้างผลงานจากปิ๊งแว๊บนี้ คนทุกคนมีสิ่งนี้อยู่ในตัว  แต่ถูกบดบังด้วยความคิดและอารมณ์รกๆเต็มสมอง  ต้องกลับไปฝึกสมาธิและวิปัสสนากรรมฐาน   แม้ศาสดาเอกของโลกที่ท่านมีความรู้ผุดขึ้นมามากมาย  ท่านก็เกิดจากปรากฏการณ์นี้  แต่เป็นระดับเหนือโลก  คือท่านสามารถกำจัดเครื่องบดบังได้ทั้งหมดอย่างสิ้นเชิง 
ไปไกลเลย  มาพูดถึงสูตรยาเขียวตำรับนี้  ส่วนประกอบ ใน ๖๓๐ กรัม  ประกอบด้วย ใบพิมเสน ๓๑๕ กรัม แก่นจันทร์เทศ ๑๕ กรัม ใบพรมมิ ๑๕  กรัม จันทร์แดง ๑๕  กรัม 
วิธีใช้  ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ ๒-๓ ช้อนกาแฟ เด็กรับประทานครึ่งหนึ่ง  ชงกับน้ำร้อน
สรรพคุณ แก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ถอนพิษไข้ เด็กออกหัด  อีสุกอีใส เหมาะสำหรับท่านที่มีอาการร้อนในคล้ายจะเป็นไข้ หรือพึ่งสร่างจากอาการไข้  เป็นยาสามัญประจำบ้าน ขนาดบรรจุ ซองละ ๕ กรัม ราคา ๖ บาท  บันทึกไว้เป็นข้อมูลสำหรับค้นคว้าต่อไป

ค้นข้อมูลเพิ่มเติมจาก พจนานุกรมสมุนไพรไทย  ของศดร.วิทย์  เที่ยงบุญธรรม  พูดถึงพรมมิแดงไว้ว่า

พรมมิแดงชื่ออื่น ๆ : ผักเบี้ย (ภาคกลาง-ราชบุรี), พรมมิแดง (ประจวบฯ), อือล้งไฉ่, อุยลักก๊วยโชะ
(จีน)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trianthema triquetra Willd.

วงศ์ : AIZOACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย และจะแตกกิ่งก้านสาขาตามบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกออกมานั้นจะทอดเลื้อยไปกับพื้นดิน

ใบ : จะออกตรงข้ามกัน มีลักษณะเป็นรูปใบเรียวแคบ ใบจะมีความยาวประมาณ 0.15-0.7 ซม. และกว้างประมาณ 0.05-0.2 ซม. ก้านใบสั้น ส่วนโคนก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบ

ดอก : จะออกเป็นกระจุก ตามง่ามใบ กลีบดอกมีประมาณ 5 กลีบ

เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่ ถ อัน จะอยู่สลับกันกลีบดอก

เมล็ด (ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝัก และมีขนาดเล็ก ฝักนั้นยาวประมาณ 3 มม. ภายในจะมีเมล็ดประมาณ 2 เม็ด มีลักษณะเป็นรูปไต และเป็นสีดำ

การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก และต้น ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ใบ ใช้เป็นยาขับเสมหะ

ดอก ใช้รักษาโรคเลือดประจำเดือนที่จางใส

ต้น จะมีรสเย็น และขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับเลือด ใช้ดับพิษไข้หัว เช่น รักษาไข้อาการกระหายน้ำ อาการร้อนใน เป็นฝีดาด ส่วนมากจะใช้ปรุงเป็นยาเขียวดับพิษร้อน

ทั้งปวง

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ มักพบขึ้นตามดินปนทรายทั่ว ๆ ไป

ดูจากรูปวาดแล้วคล้ายต้นพรมมิ แต่ถ้าหาข้ีอมูลจากคำว่าผักเบี้ยจะกลายเป็นพืชอีกตัวหนึ่ง
ข้อมูลล่าสุดจากลูกค้าเล่าให้ฟังว่า  เด็กนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนไม่ดี  หรือมีอาการลมชัก  เมื่อได้กินพรมมิแคปซูลต่อเนื่องกันเดือนกว่า  เด็กมีผลการเรียนดีขึ้น  อาการลมชักหายไป



ตำรับที่ 68 รักษาอัมพฤกษ์อัมพาต

หญ้าปากควาย ใบพลูแก่ ใบผักคราดหัวแหวน ใบแมงลัก ใบพรมมิ ข่าตาแดง สารส้ม เกลือทะเล


สัดส่วนเท่ากัน ทำเป็นยาผง ละลายสุราแทรกพิมเสนหยิบมือ รับประทานก่อนอาหารเช้า-เย็น หายจากลิ้นกระด้างคางแข็ง (ตำราของพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน)

ปุณณภา  งานสำเร็จ รวบรวม

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชุมเห็ดไทยสมุนไพรมากประโยชน์ สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ปัญหาของผู้เจ็บป่วยส่วนใหญ่มักมีภาวะนอนหลับยาก  ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานให้เป็นอย่างมาก  เสียสุขภาพและทำให้กระบวนการฟื้นฟูของร่างกายทำงานไม่ได้เต็มที่  เนื่องจากการซ่อมแซมร่างกายจะเกิดขึ้นเมื่อนอนหลับสนิท  พักผ่อนเพียงพอ  บางทีการกินยานอนหลับต่อเนื่องกันนานๆทำให้ดื้อยา  เกิดผลข้างเคียงต่อระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ร่วมไปถึงระบบขับของเสีย  ที่สำคัญบางครั้งยานอนหลับก็ไม่สามารถช่วยให้นอนหลับได้  ลองมาดูทางเลือกอื่นกัน  ด้วยการใช้สมุนไพรชุมเห็ดไทย  หาง่ายข้างทาง
ชุมเห็ดไทย หรือ Foetid Cassia-Cassia Tora Linn. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้ล้มลุก พบขึ้นตามที่รกร้างข้างทางทั่วไป ต้นสูงไม่ถึง 1-2 เมตร เป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบประกอบ สีเขียวสด ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด “ผล” เป็นฝัก เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สีน้ำตาลแกมเขียว เป็นไม้เจริญเติบโตในฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ ชุดเห็ดควาย ชุมเห็ดนา ชุมเห็ดเล็ก ลับมึนน้อย พรมดาน และ หญ้าลึกลืน
สรรพคุณ :
เมล็ดชุมเห็ดไทย รสขมเมา แก้นอนไม่หลับ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ตาแดงตามัวตาแฉะแก้ตับอักเสบ ตับแข็ง

เมล็ด - ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคผิวหนัง

ทั้งต้น - ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด คุดทะราด

ใบ - เป็นยาระบาย

ผล - แก้ฟกบวม

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ดี

- ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย คั่วให้ดำเกรียมเหมือนเมล็ดกาแฟ แล้วทำเป็นผง ชงน้ำร้อนอย่างปรุงกาแฟ ดื่มหอมชุ่มชื่นใจดี ไม่ทำให้หัวใจสั่น ให้คนไข้ดื่มต่างน้ำ เป็นยาระบายอ่อนๆ




วิธีทำ นำเมล็ดชุมเห็ดไทยประมาณ 1-. ช้อนโต๊ะ (5-15 กรัม) มาคั่วจนเกรียม ต้มกับน้ำ 1 ลิตร เคี่ยวจนเหลือ 800 มิลลิลิตร กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาแต่น้ำดื่ม แบ่งดื่มครั้งละ 200 มิลลิลิตร เช้า-กลางวัน-เย็น หลังอาหาร
หรือชงดื่มแทนน้ำชาได้ โดยใส่เมล็ดที่คั่วแล้ว 1 หยิบมือลงในกาน้ำชาขนาดประมาณครึ่งลิตร เติมน้ำร้อนให้เต็ม ดื่มวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร

- ใช้ใบหรือทั้งต้น ประมาณ 1 กำมือ 15- 3 กรัม เมล็ด 1 หยิบมือ 5- 10 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสเหม็นเขียวและเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้า ส่วนเมล็ดคั่วให้เหลือง ใช้ชงเป็นน้ำชาดื่ม

สารเคมี :

เมล็ด พบ anthraquinone, emodin chrysarobin, chrysophanic acid-9-anthrone, chrysophanol Rhein aloe-emodin

น้ำมันจากเมล็ด พบ linoleic acid, oleic acid, palmitic acid, stearic acid

ใบ พบ chrysophanic acid, emodin และ 1, 68, -trihydroxy-3 methl anthraquinone

“เมล็ดชุมเห็ดไทย” คั่วไฟอ่อนๆ จนเหลืองเกรียมแล้วบดเป็นผง ตัก 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มก่อนเข้านอนประจำทุกวัน จะทำให้นอนหลับได้ หากมีอาการนอนไม่หลับรุนแรงสามารถชงดื่มต่างน้ำชาได้ แต่ไม่เหมาะกับคนเป็นโรคไตเสื่อม สูตรนี้นิยมใช้ได้ผลดีมาแต่โบราณแล้ว เมล็ด ยังปรุงเป็นยาแก้โรคผิวหนังได้อีกด้วย ทุกส่วนของต้น “ชุมเห็ดไทย” มีสารกลุ่ม “แอนทารควิโนน” ทดลองในสัตว์จากน้ำสกัดของเมล็ดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ บีบมดลูก สารสกัด “เบนซีน” มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังในหลอดทดลอง

กาแฟสมุนไพร(สำหรับผู้ที่ต้องการหยุดกินกาแฟและแก้อาการปวดหัวไมเกรน)
เครื่องปรุง
เมล็ดชุมเห็ดไทย 100 กรัม/เมล็ดข้าวโพดแห้ง 50 กรัม/เม็ดมะขาม 20 เม็ด

วิธีทำ
เอากระทะตั้งไฟ คั่วเม็ดมะขามด้วยไฟอ่อน ๆ ก่อนจนหอมและสุกดี แล้วเอาออกจากกระทะมาแกะเปลือกออกแล้วโขลกให้เม็ดมันแตกออก เป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นจึงใส่เมล็ดข้าวโพดกับชุมเห็ดไทยลงไปในกระทะคั่วรวมกันโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ตลอดเวลา จนหอมและแห้งดีแล้ว จึงนำไปบดด้วยโม่ไฟฟ้าก็ได้ จะโขลกให้เมล็ดของมันพอแตกก็ได้
จากนั้นนำไปผสมกับเม็ดมะขาม เมื่อต้องการใช้ให้ตักมา 1 ช้อนโต๊ะ แล้วต้มกับน้ำ 3 ถ้วย หลังจากน้ำเดือดแล้ว ให้เคี่ยวนานสัก 10 นาที กรองเอากากออกแล้วดื่มแทนกาแฟได้เลย

หมายเหตุ
กลิ่นของกาแฟสมุนไพรถ้วยนี้จะเหมือนกับกาแฟมาก เหมาะสำหรับผู้ที่ติดกาแฟและต้องการดื่มอะไรเพราะติดเป็นนิสัย กาแฟถ้วยนี้ไม่มีคาเฟอีนจึงสามารถใช้แทนกาแฟธรรมดาได้ดี ในวันที่ต้องเลิกกาแฟ

เมล็ดชุมเห็ดไทยหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป น่าลองดูนะคะ

ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง/ภาพ

ช่วงนี้ต้นชุมเห็ดไทยขึ้นงามตามข้างทาง ดอกสีเหลืองเห็นแต่ไกลดอกออกที่ซอกก้านช่อของใบ  ใบคล้ายใบชุมเห็ดเทศแต่ต้นเล็กกว่ากันมาก
 
ต้นชุมเห็ดไทยขึ้นเองตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ชุ่มชื้น

ผักเสี้ยนผี สมุนไพรมหัศจรรย์สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกอัมพาต

ช่วงนี้ตามหาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกอัมพาต ด้วยมีโจทย์คือเพื่อนของตัวเองป่วยอยู่  จริงๆเดินไปตรงไหนเราก็มักจะพบเจอผู้ป่วยอัมพฤกอัมพาต  หรือมีปัญญาสุขภาพเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายเสียสมดุล  นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้สูญเสียศักยภาพในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก  ได้ซื้อหนังสือเล่มเดียวคุ้มโรคภัย๒  ของคุณจำรัส เซ็นนิล  ติดตามหนังสือของคุณจำรัสมาตลอดชอบที่ไปสัมภาษณ์ผู้ใช้จริงมันทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมากกว่าการยกตำรับมาลอย ๆ อยากให้ซื้อมาติดบ้านไว้รับรองคุ้ม ตอนนี้เห็นว่าจะมีเล่ม๓ หนึ่งในตำรับอัมพฤกอัมพาตที่น่าสนใจ มีอยู่ตำรับหนึ่งที่ตัวยาหาง่ายใช้แค่๔ตัว  หนึ่งในนั้นคือ ผักเสี้ยนผี ทำให้ช่วงนี้เราขี่มอเตอร์ไซต์เลาะเลียบข้างถนนอยู่๒-๓วันกว่าจะเจอ  ใครที่อยากรู้สูตรนี้ คงต้องให้โทรไปถามคุณจำรัส เซ็นนิลที่ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรไทย 0895181564 ช่วยกันอุดหนุนหนังสือให้กำลังใจกันได้นะคะ สูตรนี้มีคนกินแล้วหายมาเยอะมากจากที่สัมภาษณ์และรวบรวมไว้  ขออนุโมทนากับเจ้าของสูตรและผู้เผยแพร่ค่ะ  หรือใครหาซื้อไม่ได้อ่านในเวปไซต์ของคุณจำรัส www.jamrat.net หัวข้อเรื่องอัมพฤกอัมพาต  ที่สัมภาษณ์ คุณประนอม  มณีย้อย ที่ป่วยเป็นอัมพฤกอัมพาตมาเป็นสิบปีแล้วหายด้วยสมุนไพรตำรับนี้ดูค่ะ  จุดเด่นของไม้ต้นนี้คือ ส่วนต่างๆ มีต่อมขนเหนียวปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบมี 3-5 ใบย่อย ผลแบบแคปซูลยาว  เมื่อเช้าเราไปเก็บฝักแก่เพื่อเอาเมล็ดไว้ขยายพันธุ์ จะเป็นยางเหนียวๆติดมือ

ชื่อสามัญ :Wild Spider flower, Phak sian phee.
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cleoma viscosa Linn. วงศ์ CLEOMACEAE
ชื่ออื่นๆ ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) ผักเสี้ยนตัวเมีย ไปนิพพานไม่รู้กลับ
ลักษณะ
เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มี ขนาดเล็ก หรือจัดอยู่ในจำพวกหญ้า แตกกิ่งก้านสาขาตามลำต้นจะมีขนอ่อนสีเหลืองปกคลุมทั้งต้นและมีเมือกเหนียว ๆอยู่ภายในลำต้น ใบเป็นใบรวม ช่อหนึ่งจะมีใบอยู่ 3 - 5 ใบ ซึ่งจะออกสีเขียวอมเหลือง ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ เนื้อในบางนุ่ม ตามผิวใบจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมเช่นกัน มีกลิ่นฉุน กว้าง 0.5 - 1 นิ้ว ยาว 0.5 - 2 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาวแหลม ดอกมีสีเหลืองบาง ที่ปลายดอกมีจงอยแหลม และมีขนปกคลุมอยู่เล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว คล้ายฝักถั่วเขียว แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามาก ตรงปลายผลมีจงอยแหลม ผลกว้างประมาณ 2 - 4.5 มิลลิเมตร ยาว 1 - 4 นิ้ว เมล็ดเมล็ดในผลมี สีน้ำตาลแดง ผิวย่น ใน 1 ผล มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีรูปร่างกลม ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร
สรรพคุณและวิธีใช้
ผักเสี้ยนมีน้ำมันหอมระเหย (Volatic Oil) ประกอบด้วย Cyanide ซึ่งจะมีผลระบบทางเดินโลหิต และสารไฮโดรไซยาไนด์ (Hydrocyanide) ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และยังมีกลิ่นเหม็นเขียวอย่างแรง เด็กรุ่นใหม่พอเข้าใกล้ได้กลิ่นผักเสี้ยนก็มักจะไม่ชอบ จึงทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้คุณประโยชน์และภูมิปัญญาที่ว่าทำไมคุณย่า คุณยาย รวมถึงคุณแม่ด้วยจึงชอบผักเสี้ยนดองนัก
ต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอดแก้ขับหนองในร่างกาย หรือให้หนองแห้ง แก้ฝีในลำไส้ ในตับ ขับพยาธิในลำไส้ได้ โรคข้ออักเสบ ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง
ใบนำมาพอกแก้ปวดหัวบดกับเกลือทาแก้ปวดหลัง และแก้ปัสสาวะพิการ
ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์ แก้ปวดเป็นยาชาเฉพาะที่ เสริมฤทธิ์การนอนหลับ ยับยั้งเชื้อ HIV

ในตำรายาโบราณมักนำผักเสี้ยนผีไปเข้าตำรับยารักษาอาการปวดเมื่อยหรือหุง ทำน้ำมัน ใช้สำหรับนวด ยานวดตำรับนี้อาจารย์เนตรดาว ยวงศรี จากกองทุนชีวกโกมารภัจจ์ แนะวิธีการหุงไว้ คือ ใช้ผักเค็ดเลือกเอาแต่ใบสด (วัชพืชที่มักขึ้นคู่กับผักเสี้ยนผี หน้าตาคล้ายผักเป็ดหรือคราดหัวแหวน) ใช้เพชรสังฆาตสด ตองตึง ผักเสี้ยนผี เลือกเอาแต่ใบสด นำไปเคี่ยวในน้ำกะทิ (เลือกเอาแต่หัวกะทิ) เคี่ยวนานประมาณ 6-7 ชั่วโมง จะได้น้ำมันสีเขียวใส จึงเรียกว่าน้ำมันเขียวมรกต สรรพคุณดีมาก
หรือจะหุงผักเสี้ยนผีสูตรเดี่ยว แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยนำน้ำกะทิเคี่ยวให้ร้อน เอาผักเสี้ยนผีล้างสะอาดสับเคี่ยวด้วยกัน ใส่เมนทอลเล็กน้อยเพื่อกลิ่นหอม และเพิ่มพลังแทรกซึมของตัวยานวด แก้ปวดเมื่อย ช้ำบวม อักเสบ
นอกจากนี้ นำผักเสี้ยนผีไปต้มเอาน้ำกระสายยาแก้ซางขึ้นทรวงอก ถ้ามีอาการปวดหัวใช้ใบสดตำพอกที่
เมล็ดผักเสี้ยนนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ถ้ามีอาการปวดหลังให้ใช้ใบสดตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลังในตำรายาโบราณมักนำผักเสี้ยนผีไปเข้าตำรับยารักษาอาการปวดเมื่อยหรือหุง ทำน้ำมัน ใช้สำหรับนวด ยานวดตำรับนี้อาจารย์เนตรดาว ยวงศรี จากกองทุนชีวกโกมารภัจจ์ แนะวิธีการหุงไว้ คือ ใช้ผักเค็ดเลือกเอาแต่ใบสด (วัชพืชที่มักขึ้นคู่กับผักเสี้ยนผี หน้าตาคล้ายผักเป็ดหรือคราดหัวแหวน) ใช้เพชรสังฆาตสด ตองตึง ผักเสี้ยนผี เลือกเอาแต่ใบสด นำไปเคี่ยวในน้ำกะทิ (เลือกเอาแต่หัวกะทิ) เคี่ยวนานประมาณ 6-7 ชั่วโมง จะได้น้ำมันสีเขียวใส จึงเรียกว่าน้ำมันเขียวมรกต สรรพคุณดีมาก นอกจากนี้ นำผักเสี้ยนผีไปต้มเอาน้ำกระสายยาแก้ซางขึ้นทรวงอก ถ้ามีอาการปวดหัวใช้ใบสดตำพอกที่ เมล็ดผักเสี้ยนนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ถ้ามีอาการปวดหลังให้ใช้ใบสดตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลังสมุนไพรรักษาอาการหูเป็นน้ำหนวกหรือมีเสียงในหู วิธีใช้ นำเอาใบผักเสี้ยนผี ๒-๓ ใบ ล้างให้สะอาดและใช้มือขยี้จนใบแตกจึงเอาไปปิดรูหูไว้ ใบผักเสี้ยนผีจะทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมากแต่ให้อดทนไว้   น้ำหนวกไหลออกมามากต้องเอาใบผักเสี้ยนออกและทำอีกหนจนน้ำหนวกไหลออกมาจนหมด ในที่สุดอาการเจ็บป่วยก็หายสิ้น
คำแนะนำ ใบผักเสี้ยนผีนี้ยังมีคนใช้กับอาการปวดหูอื่นๆ ได้ดีอีกด้วย
ประโยชน์ เมล็ดมีน้ำมันและกรด linoleicสูง รับประทานได้ในอินเดีย ใช้เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณเป็นยาพอกแก้ปวดหัวและปวดตามข้อในอินเดียและจีน
ตำรับยาเข้ายาแก้เหน็บชาตามแข้งขา  ต้มผักเสี้ยนผีกับ ใบบัวบก มะขวิด กินเป็นประจำ
สูตรรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังได้คือ เอาแก่นต้นขี้เหล็กบ้าน 15 กรัมต้นผักเสี้ยนผี ไม่รวมราก15 กรัม และต้นแมงลัก ไม่รวมราก 15 กรัม ต้มรวมกันกับน้ำจนเดือด ดื่มขณะยังอุ่น ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 4 ครั้ง
เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ต้มกิน 2-3 วัน ติดต่อกันแล้วเว้น 2-3 วัน จึงต้มกินอีก 2-3 ครั้ง อาการจะดีขึ้น
ให้ต้มกินอีก 2-3 ครั้ง หรือต้มกินได้เรื่อยๆจนหายแล้วหยุดกิน มีอาการเมื่อไรต้มกินใหม่ได้
รักษาอาการพิษงูกัด  ท่านให้เอา ต้นผักเสี้ยนผีทั้งห้า (เอาทั้งต้นตลอดถึงราก) นำมาล้างให้สะอาดตำให้ละเอียด ผสมกับ เหล้า คั้นเอาเฉพาะน้ำยา ใช้รับประทาน ใช้กากพอกที่ปากแผล มีสรรพคุณแก้พิษงูกัด ฯ  อีกขนานท่านให้เอา ต้นผักกะเฉด ต้นผักคราด ต้นผักเสี้ยนผี ต้นผักชีใหญ่ ทั้ง ๔ อย่างนี้ เอาอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาล้างน้ำ ให้สะอาด ตำให้แหลก ผสมกับ สุรา หรือ น้ำซาวข้าว เป็นกระสาย คั้นเอาน้ำยาประมาณ ๑ ถ้วยชา ใช้รับประทาน ใช้กากยาพอกที่ปากแผล มีสรรพคุณแก้พิษงูกัด แก้เลือดทำ ฯ  ทั้งสองขนานนี้มีสรรพคุณแก้พิษงูกัดทุกชนิด แก้ได้ทุกกรณี แม้ผู้ถูกงูกัดนั้นจะสลบ หมดสติ แน่นิ่ง ไม่รู้สึกตัวแล้วก็ตาม ก็พึงช่วยกันงัดปากให้อ้าออก แล้วกรอกน้ำยาให้เข้าสู่ท้องให้ได้ ผู้ป่วยจะฟื้น ขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ฯ
รักษาริดสีดวงบานทะโรค
ผักเสี้ยนผีทั้งห้า กระเพราทั้งห้า แมงลักทั้งห้า ขอบชะนางแดงทั้งห้า แก่นขี้เหล็ก
ต้มดื่มก่อนอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยชา  ผักกระชับ เปลือกยาง ปูนขาว น้ำปัสสาวะ ต้มรมปากทวารวันละ ๑ ครั้ง
รักษาเบาหวาน
แก่นขี้เหล็ก ผักเสี้ยนผี ขมิ้นอ้อย หัวแห้วหมู  รากเจตมูลเพลิง อย่างละ ๕ บาท ฟ้าทะลายโจรเท่ายาทั้งหมดรวมกัน  ตากแห้ง บดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย กินเช้า-เย็น ครั้งละ ๓ เม็ด หายแล
รักษาโรคเบาหวาน อีกขนาน
เถาบอระเพ็ด หัวแห้วหมู ขมิ้นชัน ผักเสี้ยนผี    หนักเท่ากัน ตากแห้งบดผง ผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอน หรือจะอัดแคปซูลก็ได้ รับประทานประจำเป็นยาอายุวัฒนะ ผมเคยปรุงยานี้อยู่ราว ๒ ปี มีสรรพคุณดีมากอยู่ รักษาได้ทั้งเบาหวาน และลดความอ้วน แต่ผมผสมเกสรผึ้งลงไปด้วย สูตรเดิมเป็นตำราลายแทงจากเมืองพิษณุโลก ให้ปริศนาไว้ว่า หึ่งอากาศ พาดยอดไม้ ไซร้ธรณี หนีสงสาร ไปนิพพานไม่กลับ หมอโบราณแต่ละท่าน แต่ละภาคมักตีความหมายไม่เหมือนกัน ที่แตกต่างกันจะเป็นหนีสงสาร บางท่านว่าหัวไพล บางท่านว่า ขมิ้นอ้อย บางท่านว่าขมิ้นชัน ตัวผมตีเป็นขมิ้นชัน เพราะพระใช้ขมิ้นชันย้อมจีวร บวชเพื่อหนีสงสาร
ลูกประตบแก้อัมพฤกอัมพาตตำรับของจันทบุรี
ยานี้ประกอบด้วย

1. หัวไพล

2. หัวหอมเปราะ
3. หัวว่านเหลือง
4. ผักเสี้ยนผี
5. ผิวมะกรูด
6. ใบหนาด
7. พิมเสน
8. การบูน
9. แมนทอล
10. เหล้าขาว
วิธีปรุง
1. หายาที่ต้องการเมื่อหาครบทุกอย่างแล้วควรหั่นแต่ละ สิ่งนั้น เอาอย่างละหนึ่งกำมือถ้าต้องการ ตัวยามากก็เพิ่มตามส่วนที่ต้องการ
2. เมื่อนำมาหั่นเรียบร้อยแล้ว เอายารวมกัน แล้วนำมาโขลก หรือบดกับเครื่องบดยาก็ได้
3. ยาที่บดเสร็จแล้ว นำมาผสมกับ (เหล้า-พิมเสน แมนท่อน) “เหล้าขาว 2 แก้ว” และการบูร
4. เคล้ากันให้ทั่ว พอควรจึงบีบเอาน้ำยาไว้ เพื่อทาส่วนนอกของร่างกาย
5. นำกากยาที่เหลือจากการบดคั้นเอาน้ำไว้ นำกากยามาใส่ที่ผ้าขาวบาง นำมานึ่งเพื่อต้องการความร้อน พออุ่นๆ ที่จะแตะผิวหนังได้ เวลาที่ทำควรนำลูกประคบ 2 ลูก เพื่อผลัดเปลี่ยนเวลารักษาจะได้ไม่เสียเวลา


 


อาการของผู้ป่วย
เมื่อเริ่มเป็นวันแรกจะรู้ตัวทันทีเมื่อเกิดขึ้นเวลา ใดก็แล้วแต่จะทำให้มึน ชา ตามัว ปากเบี้ยว สมองมึน งง และจะชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แขน ขา ถ้า ผู้ใดเป็นโรคนี้แล้วไม่ได้รับการรักษาแบบโบราณจะมี โอกาสหายยากหากร่างกายเป็นโรคนี้ในระยะ 1-3 วัน สามารถแก้ไขได้ทัน รักษาเพียง 7 วันก็หายแต่ถ้าเป็น โรคนี้นานจะต้องมีการจับเส้น จุดที่เกิดโรค อัมพฤกษ์ - อัมพาต พร้อมทั้งรับประทานยาต้มควบคู่กันไปด้วย





เมื่อทำเช่นนี้แล้วยังมียาต้ม อบให้ผู้ป่วยได้ถ่าย เหงื่อร้ายในร่างกายที่ไม่ได้ออกกำลังกายในระยะที่ป่วย อยู่นั้น ให้หายป่วยเร็วขึ้น ถ้าใครได้รับการรักษาแผน โบราณนี้ จะมีโอกาสที่จะหายได้นักแล ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นางเพียร ศุภพร สมาชิกสมาคมแพทย์แผนโบราณ วัดสุทธิวารี อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
ส่วนที่มาของชื่อผักเสี้ยนผีที่บางคนเรียกว่าไปนิพพานไม่กลับนั้นเป็นเพราะคนโบราณมักซ่อนปัศนัย์ให้ตีความคือไม่เรียกชื่อตรงๆ ตำรับนี้เป็นตำรับยาอายุวัฒนะสูตรโบราณที่คนเรียนแพทย์แผนไทยทุกคนจะต้องรู้จักและแปลความหมายของปรัศนีย์นี้ได้ ตำรับนี้มีว่า 
อันนี้ของดั้งเดิมแท้ เป็นตำรับยาที่กล่าวไว้เป็นปริศนา สำหรับคนในแวดวงสมุนไพร หรือในหมู่ศิษย์อาจารย์จึงสามารถถอดรหัสตำรับยาอายุวัฒนะนี้ได้ ท่านกล่าวไว้ว่า “ผึ้งอากาศ พาดยอดไม้ หงายธรณี ลูกทาส ลูกไทย พญาช้างดำ พระยาช้างเผือก บวชหนีสงสารไปนิพพานไม่กลับ”
เฉลย ผึ้งอากาศ คือน้ำผึ้ง พาดยอดไม้ คือเถาบอระเพ็ด หงายธรณี คือหญ้าแห้วหมู
ลูกทาส คือเม็ดข่อย ลูกไทย คือพริกไทย พญาช้างดำ คือเปลือกตะโกนา พระยาช้างเผือก คือเปลือกถ่อน (ต้นทิ้งถ่อน) บวชหนีสงสาร คือขมิ้นหัวขึ้น (ขมิ้นอ้อย) ไปนิพพานไม่กลับ คือผักเสี้ยนผี
วิธี ทำ นำตัวยาทั้งหมดมาอย่างละเท่าๆ กัน ตากแห้งแล้วบดเป็นผง ปั้นผสมน้ำผึ้งเป็นเม็ดลูกกลอน
ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วตากให้แห้งจึงเก็บได้นาน กินครั้งละ 1 2 เม็ด วันละ 1-2


ที่มาของคำว่าผักเสี้ยนผีตลกดีแต่ลองทำดูเถอะไม่เสียหลาย  555



ถ้าจะถามว่าจะได้ผักเสี้ยนที่ไหนมาทำ ผมก็ตอบว่า ปลูกเองสิครับ แล้วเอาอะไรปลูก ไม่ต้องมีเมล็ดหรือกิ่งชำก็ได้
โบราณท่านว่าจะปลูกผักเสี้ยน เลือกเอาคืนเดือนมืด ลงไปบริเวณที่จะปลูก จะเตรียมดินก่อนหรือไม่ไ ม่สำคัญ เอาภาชนะอะไรก็ได้มา 1 ใบ จากนั้น แก้ผ้านุ่ง(ท่านว่าอย่างนี้จริงๆนะ)แล้วกระเดียดภาชนะออกไป ที่ ที่จะปลูก มือทำเป็นหยิบเมล็ดผักเสี้ยนออกจากภาชนะ แล้วหว่านออกไป ให้รอบๆ ปากก็ร้องว่าปลูกผักเสี้ยนจ้าๆ ไม่นานพอฝนตก จะมีผักเสี้ยนงอกขึ้นมาเอง เป็นเรื่องแปลก ท่านเลยว่า ผักเสี้ยนผี (สงสัยผีจะมาดู และช่วยปลูก)


รูปนี้ไปเก็บมาเองเมื่อเช้า  ผักเสี้ยนผี ฝัก ดอก ใบ ขึ้นเป็นดงแต่ก็น่าเป็นห่วงเพราะเจ้าของที่กั้นเชือกไว้เหมือนจะถมดิน  ใครอยากได้ก็โทรมา  0857682897  จะเก็บให้ ก่อนที่จะโดนถมไปหมด  ปลูกไว้ช่วยๆกัน  อย่าบอกเลยว่าหาง่าย  หาจะใช้จริงๆไม่ง่ายเท่าไหร่หรอก

ต้นผักเสี้ยนผี แมวไม่ได้กินเหมือนตำแยแมว แต่แมวมันจะกลัว ถ้าหากเอากิ่งเพียงเล็กน้อยของผักเสี้ยนผี
มาวางไว้ที่หลังของแมว จะทำให้แมวตัวหนักท้องติดพื้น เวลาเดินก็จะหลังแอ่นๆเหมือนมีอะไรหนักมาทับตัวมันไว้


ผักเสี้ยนผีอีกซักรูป เหอๆๆนานๆขยันไปถ่ายเองซักที  ใครอยากก้อปตามสบาย

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชบาไม้มงคลจริงหรือไม่ ฟังหูไว้หู

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


เราเป็นคนที่ชอบเรื่องเล่าเรื่องโบราณ  บางทีอึดอัดขัดใจกับการเอาไม้ต่างๆมาเปลี่ยนชื่อแต่งเรื่องเพียงเพื่อให้ขายได้ขายดีขึ้น  แล้วไม่รู้ว่าเรื่องที่ว่าเป็นจริงหรือไม่จริง  ตอนนี้กระแสฮิตไม้มงคล ไม้ประจำวันเกิด เดือนเกิด ปีเกิด มีมากหลากหลาย  บางอย่างมาจากตำราโบราณตำราโหราศาสตร์  บางอย่างหาที่มาที่ไปไม้เจอเหมือนพึ่งอุปโลกขึ้นมา  คงต้องค่อยๆพิจารณากันไป วันนี้เราอยากพูดถึงดอกชบา  ว่าตอนนี้เอามาทำเป็นไม้มงคลกันน่ะ  มันมงคลจริงหรือไม่  ถ้าจริงคนไทยโบราณทำไมเอามาทำในกิจกรรมที่จะได้อ่านดังต่อไปนี้

ในอินเดียสมัยโบราณ เล่าขานกันว่าทั้งผู้หญิงและผู้ชายนิยมสวมสร้อยคอลูกปัดกันอย่างแพร่หลาย วันหนึ่งมีหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานเสียชีวิตลง
ในขณะที่เตรียมพิธีเผาศพอยู่นั้น พ่อแม่ก็ได้นำเสื้อผ้า เครื่องประดับและสร้อยคอลูกปัดของลูกสาวใส่ลงไปในกองไฟด้วย
หลังจากเปลวไฟดับลง ได้ปรากฏสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมา คือ มีดอกไม้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเครื่องประดับของหญิงสาวผู้นั้น
ปิ่นปักผม กลายเป็น ดอกกุหลาบ และ สร้อยลูกปัด กลายเป็น ดอกชบา
คืนนั้นหญิงสาวได้มาเข้าฝันน้องสาวว่า ดอกไม้ที่เกิดจากสร้อยลูกปัดที่ฉันสวมนั้น ให้ทำเป็นพวงมาลัยถวายเทพเจ้า
นิทาน เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา แม้จะเชื่อถือไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็มีเงื่อนงำให้คิดไปได้ว่ามีการใช้ดอกชบาร้อยเป็นพวงมาลัยถวายเทพเจ้าในชุมชนของอินเดียมาช้านาน
ตามความเชื่อในลัทธิฮินดู "ชบา" เป็นดอกไม้ประจำพระองค์ของเจ้าแม่กาลี ซึ่งเป็นภาคดุร้ายของพระอุมา ชายาของพระศิวะ ในการทรงสนานเทวรูปของเจ้าแม่กาลีทุกครั้ง จะมีดอกชบา หญ้าแพรก และใบมะตูม ไม้มงคลลอยอยู่ในน้ำนั้น
ด้วยความที่เจ้าแม่กาลี เป็นเทพสตรีในภาคดุร้ายนี่เอง ดอกชบาจึงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของพิธีที่น่ากลัวและน่าหวาดเสียวพิธีหนึ่ง นั่นก็คือ เขาจะใช้พวงมาลัยดอกชบาคล้องคอนักโทษที่กำลังจะถูกประหารชีวิต !
คนไทยเราได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียมามากมาย รวมทั้งธรรมเนียมการทัดดอกชบาให้กับนักโทษประหารด้วย โดยเฉพาะในกรณีชู้สาว การลงโทษจะเป็นเรื่องเอิกเกริกมาก เช่น
ถ้าปรากฏว่าหญิงคนใดนอกใจสามี เมื่อพิจารณาเป็นสัตย์จริงแล้วท่านให้ประจานหญิงและชายชู้นั้น ด้วยการเอาเฉลวปะหน้าผู้หญิง และให้ทัดดอกชบาทั้งสองหู นอกจากนี้ยังต้องสวมพวงมาลัยดอกชบาสีแดง จากนั้นนำผู้หญิงกับชายชู้มาเทียมแอกแทนควายคนละข้าง แล้วให้ไถนาเป็นการประจาน 3 วัน
แต่ถ้าชายผู้เป็นสามีมีความสงสารภรรยาอยู่ ก็จะต้องเข้าไปเทียมแอกแทนชายชู้ แล้วไถนาไปลำพังกับภรรยา ส่วนชายชู้ให้ปล่อยไป อย่าให้ปรับไหมแต่อย่างใดเลย
แต่ละท้องถิ่นต่างมีประเพณีและความเชื่อที่ต่างกัน สาวๆ บาหลีนิยมทัดดอกชบา เช่นเดียวกับสาวๆ ฮาวายที่ไม่เคยห่างจากดอกชบา
และ ดอกชบา นี่เองเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ปัตตานี
เป็น ดอกไม้ประจำชาติของ มาเลเซีย มีชื่อเรียกเป็นภาษามลายูที่ไพเราะว่า บุหงารายา
หากต้นกำเนิดของ ดอกชบา หรือ Shoe flower มีชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus spp.ซึ่งเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีงาช้าง มีทั้งดอกโตและดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก ปลายใบแหลม นี้
มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน นักพฤกษศาสตร์สันนิษฐานว่า ชบาน่าจะมาจากจีนเมื่อครั้งสุโขทัย เพราะมีข้อสังเกตว่า ในสมัยสุโขทัยมีทั้งชบาและชบาเทศ แต่ชื่อ "ชบา" นี้ ไม่น่าจะเป็นจีนตรงไหน จีนแต้จิ๋วเรียก ชบา ว่า "ชัดเท่าฮวย" ชื่อชบาจึงน่าจะมาจากอินเดียมากกว่า เพราะชบา มาจากคำว่า ชป (ชะปะ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่ากุหลาบจีน
ฤดูร้อนนี้..เป็นฤดูกาลที่ "แฟชั่นดอกชบา" กำลังเบ่งบานอีกครั้ง ดอกชบาสีสวย ที่มีโครงสร้างงามราวกับงานศิลปะ เมื่อมาอยู่กับท้องทะเลสีฟ้าใส ใต้ท้องฟ้ากว้างไกล ช่างเป็นสีสรรพ์ที่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก
ขอจบนิทานด้วยบทกลอนที่พรรณนาถึงนานาพันธุ์ดอกไม้ไทย จากรามเกียรติ์ตอน พระรามลาสระภังคฤาษ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1

      พุทธชาดรักซ้อนซ่อนกลิ่น อินทนิลช้องนางนางคลี่
นางแย้มกล้วยไม้มะลุลี ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน
กรรณิการ์เกดแก้วกาหลง ประยงค์พะยอมหอมหวาน
ชมพลางเด็ดดวงผากาญจน์ พระอวตารส่งให้วนิดา

เรื่อง : นิลร้อย

เอกสารอ้างอิง

"พฤกษานิยาย" ส.พลายน้อย /www.panmai.com/www.samunpai.com

ตูมกา ผลไม้แห่งภูมิปัญญา น่าอนุรักษ์

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


เมื่อวานกลับไปหาแม่ที่ชัยภูมิแม่เล่าให้ฟังถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่คนโบราณ นำมาใส่น้ำมันยางจากต้นยางนาที่ขุดเป็นโพรงเอาไว้และจุดไฟเพื่อลนเอาน้ำมันยางออกมา  และนำน้ำมันยางใส่ไว้ในผลของตูมกาขาวที่ควักใส้ออก  เอาด้ายมาฝั้นและปั้นให้แข็งตรงแยกฐานเป็นสามขาเพื่อใช้เป็นขาตั้งไส้ จุ่มแช่ในกะลาตูมกาที่ใส่น้ำมันยางนาไว้  จุดให้แสงสว่างได้ทั้งคืน  เราชอบฟังแม่เล่าเรื่องโบราณๆสมัยปู่ย่าตายายให้ฟังมาตั้งแต่เด็กๆ ตาเราชื่อ ตาผอง  งานสำเร็จ  เป็นนายฮ้อยต้อนวัวข้ามดงพญาไฟไปขายภาคกลาง ต้องมีคาถาอาคมขนาดไหนถึงจะฝ่าป่าดงดิบแบบดงพญาไฟไปได้  ยายเราชื่อ  ยายเปรื่อง  งานสำเร็จ  เป็นหมอพื้นบ้านและหมอตำแยที่รักษาได้เกือบทุกโรคยกเว้นโรคคอตีบกับโรคอะไรลืมแล้ว  ต้องไปถามแม่ใหม่  เราไม่ได้ความรู้อะไรมาเลย  คงได้แต่สายเลือดและความผูกพันที่จะสานต่อสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้สืบต่อไป
ตูมกาเป็นไม้ยืนต้นที่เห็นทั่วๆไปตามป่าเต็งรัง  ป่าเบญจพรรณ  หรือแม้แต่ข้างทางข้างถนนของโคราช  แต่ก็ถูกโค่นทำลายไปมากมายเหมือนไม้ตัวอื่นที่คนไม่รู้คุณค่า  แม่บอกว่าคนเมื่อก่อนจะมีต้นยางนาเอาไว้นาใครนามันเพื่อจุดน้ำมันยางไว้ให้แสงสว่าง  จุดใต้จุดคบทำขี้ใต้  ตูมกาเป็นภาชนะใส่น้ำมันยางเพื่อให้แสงสว่าง  ที่ชาวบ้านรู้จักกันดี  เป็นไม้น่าอนุรักษ์ น่าสนใจต้นหนึ่งที่ควรช่วยกันรักษาไว้

การจุดไฟตูมกาเป็นพุทธบูชา ในวันออกพรรษา  ณ บ้านทุ่งแต้ ต.ทุ่งแต้ อ.เมือง จ.ยโสธร 
จุดไฟตูมกา นายนพรัตน์ กอกหวาน ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี (ททท.สอบ.) เปิดเผยว่า ที่บ้านทุ่งแต้ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ใน ต.ทุ่งแต้ อ.เมือง จ.ยโสธร ได้ร่วมกันฟื้นฟูภูมิปัญญประเพณีในอดีตซึ่งเลือนหายไปพร้อมกับการมีไฟฟ้าใช้ของชุมชน นั่นคือ การจุด “ ไฟตูมกา ” ถวายเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษา

จุดไฟตูมกา การทำไฟตูมกาวันออกพรรษา เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนบ้านทุ่งแต้ ที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยการนำผลตูมกา ผลไม้ป่าทีมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้มขนาดเท่ากำปั้นหรือโตกว่า มีก้านยาวและมีลักษณะพิเศษคือ เปลือกบางโปร่งแสง เมื่อขูดเอาผิวสีเขียวออกและคว้านเอาเนื้อและเมล็ดข้างในออกให้หมด ใช้มีดแกะเป็นลายต่างๆ ตามความต้องการ หลังจากจุดเทียนที่สอดขึ้นไปจากรูที่เจาะไว้ส่วนล่างของผลตูมกา แสงสว่างจากเปลวเทียนก็จะลอดออกมา เป็นลวดลายตามรูที่เจาะไว้

ในคืนออกพรรษาชาวบ้านจะจุดเทียนจากที่บ้านหิ้วก้านไปรวมกันที่วัดแม้จะมีลมพัดเทียนก็จะไม่ดับ เมื่อเทียนจะหมดก็เปลี่ยนเล่มใหม่ได้ เมื่อไปถึงที่วัดก็จะนำไฟตูมกาไปแขวนไว้ตามสถานที่ที่ทางวัดจัดไว้ เช่น ซุ้มไม้ไผ่ หรือ ราวไม้สำหรับแขวนก้านตูมกา ชาวบ้านจะร่วมกันกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย และสวดมนต์ไหว้พระบนศาลาพร้อมกัน จุดไฟตูมกา

ในวันออกพรรษาปีนี้ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนอีสานตอนใต้ เพื่ออิ่มบุญ ออกพรรษา อีสานใต้ และร่วมชื่นชม “ไฟตูมกา” ไฟแห่งภูมิปัญญา และความศรัทธาของชาวบ้านทุ่งแต้ จ.ยโสธร
ขอบคุณ  ภาพและเรื่องจาก  guideubon.com
  ตูมกาเป็นไม้มีเอกลักษณ์ที่สั่งเกตุได้ง่าย  ใบมีขนาดใหญ่กลมกว้างเส้นใบชัดเจน 

ชื่อสมุนไพร แสลงใจ

ชื่ออื่นๆ ตูมกาขาว ขี้กา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (เหนือ) แสงเบื่อ ตูมกาต้น ตึ่ง ตึ่งต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-blanda A.W. Hill

ชื่อวงศ์ Strychnaceae


สรรพคุณ
ทุกส่วนของต้นมีพิษ เป็นยาอันตราย การนำมาทำเป็นยาต้องฆ่าฤทธิ์ ตามกรรมวิธีในหลักเภสัชกรรมไทยเสียก่อน ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ แก่น เข้ายากับเครือกอฮอ ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้พิษภายใน

ประโยชน์ก็เยอะนะ แต่จะใช้ก็ระวังหน่อย

ยาพื้นบ้าน ใช้ ราก ผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น รากชะมวง และรากปอด่อน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบจากงูกัด เปลือกต้น รสเมาเบื่อ แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษงูกัด ฝนกับสุราปิดแผล และรับประทานแก้พิษงู ในกรณีแก้อักเสบจากงูพิษกัด อาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ผสมกับรำให้ม้ากิน ขับพยาธิตัวตืด เปลือกต้นผสมกับผลปอพราน และเหง้าดองดึงคลุกให้สุนัขกินเป็นยาเบื่อ

ตำรายาไทย เรียกเมล็ดแก่แห้งว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย ราก รสเมาเบื่อ แก้ไข้มาลาเรีย ฝนน้ำกิน และทาแก้อักเสบจากงูกัด แก่น รสเมาเบื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกแก้ฟกบวม ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงประสาท แก้ไข้เซื่องซึม

องค์ประกอบทางเคมี
ทุกส่วนของต้น และเมล็ด มีอัลคาลอยด์ เมล็ดมีอัลคอลอย์สตริกนีน (strychnine) และ brucine อัลคาลอยด์ strychnine เป็นสารมีพิษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกไวกว่าปกติ กลืนลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชักกระตุก เนื้อในผลสุก พบไกลโคไซด์ laganin ทำให้มีรสขม อาการพิษ
ส่วนของเมล็ด ดอก ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กลืนลำบาก ขาสั่น ชักอย่างแรง หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็งและตายได้ ในกรณีไม่ตายพบว่ามีไข้ ตัวชา กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกมากติดต่อกันหลายวัน ขนาดรับประทาน 60-90 มิลลิกรัม ทำให้ตายได้


ข้อมูลจาก  baanmaha.com





ลักษณะวิสัย
ใบ
ผล
เมล็ด
ภาพแสดงตัวอย่างพรรณไม้

Herbarium specimen number : UBUPH00045 at Herbarium of Ubonratchathanee University, Ubonratchathanee, Thailand

สรรพคุณ
ทุกส่วนของต้นมีพิษ เป็นยาอันตราย การนำมาทำเป็นยาต้องฆ่าฤทธิ์ ตามกรรมวิธีในหลักเภสัชกรรมไทยเสียก่อน
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ แก่น เข้ายากับเครือกอฮอ ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้พิษภายใน
ยาพื้นบ้าน ใช้ ราก ผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น รากชะมวง และรากปอด่อน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบจากงูกัด เปลือกต้น รสเมาเบื่อ แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษงูกัด ฝนกับสุราปิดแผล และรับประทานแก้พิษงู ในกรณีแก้อักเสบจากงูพิษกัด อาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ผสมกับรำให้ม้ากิน ขับพยาธิตัวตืด เปลือกต้นผสมกับผลปอพราน และเหง้าดองดึงคลุกให้สุนัขกินเป็นยาเบื่อ
ตำรายาไทย เรียกเมล็ดแก่แห้งว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย ราก รสเมาเบื่อ แก้ไข้มาลาเรีย ฝนน้ำกิน และทาแก้อักเสบจากงูกัด แก่น รสเมาเบื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกแก้ฟกบวม ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงประสาท แก้ไข้เซื่องซึม

องค์ประกอบทางเคมี
ทุกส่วนของต้น และเมล็ด มีอัลคาลอยด์ เมล็ดมีอัลคอลอย์สตริกนีน (strychnine) และ brucine อัลคาลอยด์ strychnine เป็นสารมีพิษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกไวกว่าปกติ กลืนลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชักกระตุก เนื้อในผลสุก พบไกลโคไซด์ laganin ทำให้มีรสขม

อาการพิษ
ส่วนของเมล็ด ดอก ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กลืนลำบาก ขาสั่น ชักอย่างแรง หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็งและตายได้ ในกรณีไม่ตายพบว่ามีไข้ ตัวชา กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกมากติดต่อกันหลายวัน ขนาดรับประทาน 60-90 มิลลิกรัม ทำให้ตายได้

ข้อมูลจาก  www.phargarden.com