วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ว่านมหากาฬ สมุนไพรแก้ฝี พิษแมลงสัตว์กัดต่อย สะเก็ดเงิน

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ว่านมหากาฬ
คนโบราณมีคำพูดคำหนึ่งเวลาได้สูตรยาสมุนไพรมา คือคำว่า "ลองยา" หมายถึง พอรู้สูตรนั้น จะมีเหตุการณ์การเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนในครอบครัวให้ได้ลองสูตรตำรับยานั้นๆ โดยเฉพาะวิชาประสานกระดูกนี่ เล่ากันว่าใครเรียนมาจะต้องมีเหตุให้ตัวเองหรือคนในครอบครัวกระดูกหักเพื่อลองยาแน่นอน เพราะฉะนั้น การเรียนรู้สูตรตำรับยาตามโบราณ ถามผู้ถ่ายทอดสักนิดว่า สูตรนี้ลองยาไหม กันเหนียว
เข้าเรื่องกันเลย เมื่อวาน(27กพ.58)


ประกาศทำสูตรสบู่สมุนไพรว่านมหากาฬ-แปะตำปึง ตอนบ่ายใส่รองเท้าจะไปสวนอีกรอบ ปวดแป๊บออกร้อนอย่างรุนแรงที่หลังเท้า แตนเจ้ากรรมเกาะอยู่ในรองเท้าเล่นงานเราซะแล้ว แม่เจ้าาาามันปวดแสบปวดร้อนมาก ว่าจะทำไม่รู้ไม่ชี้แต่มันไม่ไหวจริงๆ หันรีหันขวางนึกไม่ออกจะใช้อะไรดี เข้าทำนองผงเข้าตาเขี่ยไม่ออก มองหาผู้ก่อการ เจอแตนตัวดีเกาะอยู่บนใบว่านมหากาฬ ไม่รอช้า เด็ดใบว่านมหากาฬมาหนึ่งใบขยี้จนเป็นน้ำทาทั้งน้ำทั้งเนื้อบริเวณที่เป็นใบแรกยังไม่รู้สึก รึทาไม่ถูกตรงที่ต่อย ขยี้ใบที่สองทาใหม่ เพราะมันออกร้อนมว๊ากกกกไปไหนไม่เป็นแล้ว ไม่ถึง 5 วิ มันหายปวดแสบปวดร้อนเฉยเลย เหลือแต่อาการตุบๆ บันทึกไว้เป็นวิทยาทาน

ส้มป่อย ไม้มงคลล้างพิษล้างอาถรรพ์

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา

ส้มป่อย ไม้มงคลล้างพิษล้างอาถรรพ์
สมุนไพรมงคล ขับพ้นสิ่งชั่วร้าย
ที่ชัยภูมิเกษตรกรนิยมฉีดยาฆ่ายาใช้สารเคมีกันมาก มีคนไข้ที่แพ้พิษสารเคมียาฆ่าหญ้า แขนขาหมดกำลัง ต้มกิ่่งส้มป่อยกินล้างพิษหายจากอาการแพ้พิษ
คนไทยใหญ่ใช้ฝักส้มป่อยในพิธีกรรมหลายอย่างโดยเฉพาะงานสะเดาะเคราะห์ เพราะเชื่อว่าส้มป่อยเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ช่วยขจัดปลดปล่อยความโชคร้ายเคราะห์กรรมความอัปมงคลให้หลุดพ้นจากชีวิต ถ้าคนไหนไม่สบายใจไม่สบายตัวเจ็บไข้ เขาจะเอาส้มป่อยมาต้มอาบหรือล้างหัวล้างหน้า ถ้าไปดูดวงแล้วดวงตกหรือโชคไม่ค่อยดีเขาก็จะอาบน้ำส้มป่อย ถ้าเจอผีก็อาบส้มป่อย พิธีรดน้ำมนต์ส่วนมากก็ใช้น้ำฝักส้มป่อย รวมทั้งในงานมงคลเช่นงานบวชลูกแก้ว (บวชพระหรือเณร) น้ำส้มป่อยก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการชำระล้างเนื้อตัวให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ส่วนใหญ่แล้วไทยใหญ่เรียกส้มป่อยว่า หมากขอน หรือ หม่าหัน

หม่าหัน…ตำนานแม่นากภาคไทยใหญ่
มีนิทานพื้นบ้านที่เกี่ยวกับหม่าหันว่า กาลครั้งหนึ่งมีผัวเมียข้าวใหม่ปลามันคู่หนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ท้ายหมู่บ้าน ผัวต้องออกตระเวนไปค้าขายต่างถิ่นในขณะที่เมียกำลังตั้งท้อง ต่อมาเมียก็คลอดลูกตาย ในขณะที่เพื่อนบ้านจะเคลื่อนย้ายศพของเมียไปฝังที่ป่าช้านั้น ร่างคนตายก็ร่วงลงมาตรงบันไดบ้าน ตามธรรมเนียมชาวไทยใหญ่เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้หมายถึงผู้ตายไม่อยากไปป่าช้า ชาวบ้านจึงนำศพฝังไว้ที่บ้าน เมื่อผัวกลับมาเป็นช่วงเวลากลางคืนก็พบเมียหุงหาสำรับกับข้าวไว้รอท่า ก็อยู่กินกันตามปกติ
รุ่งขึ้นผัวออกไปพบชาวบ้านคนอื่นๆ ในหมู่บ้าน เพื่อนบ้านก็บอกว่าเมียแกคลอดลูกตาย แต่ชายหนุ่มหาเชื่อไม่ ปฏิเสธว่าไม่จริงก็ยังอยู่กินกันตามปกติ แต่เมื่อไปพบใครๆ ก็บอกเช่นนั้น จึงเริ่มสงสัยขึ้นมาบ้าง วันหนึ่งหลังกินข้าวเย็นเสร็จเรียบร้อย ผัวทำตะบันหมากตกลงไปใต้ถุนบ้านตั้งใจจะลงไปเก็บ เมียก็บอกว่าเดี๋ยวน้องไปเก็บให้ พอผัวคล้อยหลังได้เหลียวไปเห็นเมียเอาลิ้นไปม้วนเก็บตะบันตำหมากนั้นขึ้นมาบนเรือน พอแน่ใจแล้วว่าเมียของตนคงตายไปแล้วจริงๆ จึงออกอุบายบอกเมียว่าจะไปทำถ่ายเบาตรงนอกชาน แล้วรีบไปเจาะกระบอกไม้ไผ่ที่เก็บน้ำไว้ตรงนอกชานเพื่อให้เกิดเป็นเหมือนเสียงปัสสาวะ จากนั้นก็รีบวิ่งไปในหมู่บ้านแบบไม่คิดชีวิต
เมียเมื่อเห็นผัวปัสสาวะไม่เสร็จเสียทีจึงออกมาดูก็พบว่าผัวไม่อยู่แล้ว จึงวิ่งออกไปตะโกนเรียกหา ส่วนผัวเมื่อรู้ว่าเมียตามมาจึงรีบหลบในพุ่มของหมากขอน (ส้มป่อย) เมียมองไม่เห็นผัวที่หลบอยู่ใต้พุ่มหมากขอน วิ่งมาจนถึงหมู่บ้านไปพบบ้านช่างตีเหล็กกำลังตีเหล็กไฟลุกโชนอยู่ จึงถามว่าเห็นผัวของฉันไหม ช่างตีเหล็กรู้ว่าผู้หญิงคนนี้ตายแล้ว จึงบอกว่าก้มลงซิ เมื่อหล่อนก้มลง ช่างตีเหล็กก็ใช้ฆ้อนที่เผาไฟลุกแดงตีลงไป สาวเจ้าก็ได้กลายเป็นหิ่งห้อยลอยตามหาผัวต่อไป นับแต่นั้นมาคนไทยใหญ่ก็จะเรียกหมากขอนว่าหม่าหัน ซึ่งแปลว่าไม่เห็น หมายถึงผีมองไม่เห็นนั่นเอง และเชื่อว่าหิ่งห้อยคือวิญญาณของเมียที่ตามหาผัวของตนเอง
นอกจากคนไทยใหญ่แล้วคนเฒ่าคนแก่ในภาคเหนือและภาคอีสานรวมถึงประเทศลาว ต่างใช้ฝักของส้มป่อยเพื่อปัดเป่าภัยร้ายเช่นกัน ดังเช่นในวันสงกรานต์ที่คนโบราณเชื่อกันว่าเป็นวันที่มีอาถรรพ์แรง เพราะเศียรของท้าวผกาพรหมอาจหล่นมาสู่โลกเกิดไฟประลัยกัลป์ได้ จึงต้องมีการรดน้ำดำหัวกันด้วยน้ำฝักส้มป่อย เพื่อล้างอาถรรพ์สร้างสวัสดิมงคล ใช้ในพิธีเสริมสิริมงคล พิธีไหว้ครู สะเดาะเคราะห์ แก้อาถรรพ์ไล่ภูตผีปีศาจ ใช้ล้างมือล้างหน้าหลังจากกลับจากงานศพ หรือใช้อาบน้ำศพเพื่อให้ผู้จากไปได้พบสิ่งดีสู่สุคติ หรือการฝักส้มป่อยติดตัวไปด้วยในงานเผาศพผีตายโหง เป็นต้น
การเก็บฝักส้มป่อยที่จะนำมาใช้ในการทำพิธีกรรมต่างๆ นั้นต้องเก็บในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ จึงจะศักดิ์สิทธิ์ หรืออย่างน้อยก็ต้องไปเอาก่อนฟ้าร้องฝนตกลงมา เพราะหากฟ้าร้องฝนตกแล้วถือว่าไม่เป็นยา ไม่ขลัง ถือว่าข้ามปีไปแล้ว เมื่อได้เวลาเก็บชาวบ้านจะเลือกเก็บฝักส้มป่อยที่แก่จัด นำไปตากในกระด้งให้แห้งสนิท เก็บใส่ตะกร้าไว้ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ก่อนนำไปใช้นิยมนำฝักส้มป่อยไปผิงไฟพอให้สุก ส้มป่อยจะมี กลิ่นหอมเปรี้ยว ผู้ที่เคยล้างหน้าหรืออาบด้วยน้ำส้มป่อยแล้วย่อมรู้สึกได้ถึงความมีสิริมงคล เพราะกลิ่นหอมแทรกรสเปรี้ยวของส้มป่อยช่วยให้สดชื่นฟื้นชีวิตชีวาขึ้นมาในทันทีทันใด

ส้มป่อย สมุนไพรแห่งการขอลดโทษ…ทางธรรม
คนล้านนายังเชื่อว่าส้มป่อยเป็นสมุนไพรในการขอลดโทษทางธรรม กล่าวคือเมื่อทำผิดพลั้งไปอาทิเช่น ถ้าใครไปทำสิ่งไม่ดีที่เรียกว่า ขึด ทำให้ตนเจอะเจอความชั่วร้าย สิ่งที่ช่วยให้บรรเทาเบาบางลงคือน้ำส้มป่อย หรือครูอาจารย์ผู้มีเวทมนตร์คาถาที่นั่งผีปู่ย่า (คนทรง) เมื่อทำผิดข้อห้ามของครูอาจารย์หรือบรรพบุรุษที่เรียกกันว่า ผิดครู น้ำส้มป่อยก็จะช่วยให้ของขลังของดีมีในตัวได้ดังเดิม

ส้มป่อย สมุนไพรไล่เมฆมรสุม พายุร้าย
นอกจากจะใช้ส้มป่อยในการปลดปล่อยสิ่งชั่วร้ายและสร้างศิริมงคลให้กับตัวเองแล้ว คนกะเหรี่ยงและคนพื้นเมืองหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ในคราที่พายุลมแรง ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้องเปรี้ยงปร้างน่าหวาดกลัว เขาจะเผาฝักส้มป่อยให้เกิดเป็นควันโขมง สักพักทุกอย่างก็จะสงบลง ผู้ที่เคยเห็นเหตุการณ์ต่างยืนยันเช่นนั้น

ส้มป่อย ยาสระผมธรรมชาติ
แชมพูสระผมปัจจุบันทำจากสารเคมี ไม่ว่าสูตรไหนๆ ก็จะมีสรรพคุณในการชำระล้างน้ำมันธรรมชาติของเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้ผมแห้ง เป็นรังแค ผมหงอกก่อนวัย สมัยก่อนคนในแถบเอเชีย ต่างใช้น้ำจากฝักส้มป่อยสระผมอันงามสลวย ปัจจุบันในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังมีการใช้อยู่

ในทางชีวเคมี ฝักส้มป่อยมีสารกลุ่มซาโปนิน (Zaponin) หลายชนิด เช่น สารอะคาซินินเอ (Acacinin A) และสารอะคาซินินบี (Acacinin B) รวมกันแล้วสูงถึงร้อยละ ๒๐ สารเหล่านี้เป็นแชมพูธรรมชาติที่เป็นกรดอ่อนๆ เหมาะที่จะใช้ในการสระผมอย่างยิ่ง ช่วยรักษารังแค ผมหงอกก่อนวัย เพียงเอาฝักส้มป่อยมาหักกวนตีกับน้ำแรงๆ สารซาโปนินจะแตกฟองที่คงทนมาก มีฤทธิ์ในการชำระล้างได้ดีโดยไม่ทำลายธรรมชาติของผมและผิวบนหนังศีรษะ
การอาบหรือแช่น้ำส้มป่อยทั้งตัวจะช่วยให้ร่างกายสะอาดปราศจากคราบไคล ช่วยให้สดชื่น แก้ผดผื่นคันในหน้าร้อน และโรคผิวหนังได้หลายชนิด ไม่เพียงแต่ผิวกายและหนังศีรษะเท่านั้น น้ำส้มป่อยยังใช้แช่และขัดเครื่องทองให้เหลืองอร่ามสุกปลั่งเหมือนทองใหม่ได้อีกด้วย
ส้มป่อย สุดยอดผักกำจัดพิษ ช่วยแก้ไอ
ใบส้มป่อยและฝักใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของยาอบ ผลจากการที่มีรสเปรี้ยวช่วยขับเหงื่อ ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ใบส้มป่อยยังใช้เป็นยาประคบ แทบทุกตำรับจะใช้ใบส้มป่อยเดี่ยวๆ หรือผสมสมุนไพรตัวอื่นใส่ในลูกประคบเพื่อแก้ปวดเมื่อย และยังนำใบส้มป่อยมาต้มดื่มได้ น้ำต้มใบส้มป่อยมีรสเปรี้ยวเป็นยาสตรีช่วยถ่ายระดูขาว ฟอกโลหิตประจำเดือนให้งาม ช่วยล้างเมือกมันในทางเดินอาหารและใช้เป็นยาระบาย ช่วยกำจัดพิษออกจากระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดน้ำหนักได้เช่นกัน นอกจากนี้ความเปรี้ยวของส้มป่อยยังช่วยละลายเสมหะแก้ไอได้อีกด้วย
ดังนั้นส้มป่อยจึงเป็นสมุนไพรกำจัดพิษแบบไทยๆ อย่างดีทีเดียว ที่น่าสนใจคือใบของส้มป่อยถือเป็นผักที่มีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนสูงมากเป็นอันดับต้นๆ ผลจากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยอดส้มป่อยพบว่ามีสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าสารซาโปนินในฝักส้มป่อยทำให้ T cells ทำงานได้ดีขึ้นช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น

ว่านช้างผสมโขลง(พญาเทครัว) "ดีเมตตามหาเสน่ห์-แก้ฝีทุกชนิด/แก้ผมร่วง

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา

ว่านช้างผสมโขลง(พญาเทครัว) "ดีเมตตามหาเสน่ห์-แก้ฝีทุกชนิด/แก้ผมร่วง
ว่านช้างผสมโขลง ปากใบต้องมีสีเขียว ถ้าปากใบสีชมพูคือว่านเขาความใหญ่

»ในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน แม้แต่ขุนแผนยังพกว่านพญาเทครัวหรือช้างผสมโขลงซึ่งมีความเชื่อว่ามีคุณวิเศษทางเมตตา มหาเสน่ห์ อย่างอุกฤษฏ์ มีกำลังทางเสน่ห์ดุจช้างสาร มีพลานุภาพมากเมื่อใครอยู่ใกล้จะต้องหลงใหลอย่างน่าอัศจรรย์
จากหนังสือว่านช้างผสมโขลง รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.2508 กล่าวไว้ว่า ว่านช้างผสมโขลงหรือพญาเทครัว ลักษณะหัวเหมือนหน่อไม้ แต่ไม่มีกาบหุ้มเหมือนหน่อไม้ สีเขียว ใบมีสีเขียวอ่อน ยาวเรียวดั่งใบแขวก น้ำหรือใบว่านน้ำ มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ดอกสี เป็นช่อมีก้านยาวเล็กมองดูก็คล้ายกับใบข้าว กาบใบแต่ละใบจะหลุดหล่นไปเมื่อว่านขยายตัวเต็มที่และได้ฤดูออกดอก ดอกจะมีสีเขียวแก่ ปากดอกมีหยักตั้งขึ้นเล็กน้อย เป็นสีขาวสลับด้วยลายสีม่วงเป็นขีดๆ ก้านช่อดอกตั้งตรง ช่อหนึ่งมีหลายดอกและแต่ละดอกจะบานจากล่างไปหาบนตามลำดับ
มีสรรพคุณดีปลูกไว้เป็นเสน่ห์มหานิยม ถ้านำชิ้นว่านหรือหัวว่าน ใช้ติดตัวเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม มีชัยชนะ ทำมาค้าขายได้ลาภผลสมดังปรารถนา
หากจะทำให้เกิดเสน่ห์ทางนักเลงชู้สาว ท่านให้เขียนชื่อของผู้ที่เราจะไปติดต่อลงในชิ้นว่าน แล้วเอามาตำให้ละเอียด โรยใส่ให้ผู้นั้นกินจะทำให้หลงรัก ชิ้นว่านนี้หากตำให้ละเอียดแล้วละลายผงว่านลงไปในตุ่มน้ำบ้านใดบ้านหนึ่ง ท่านว่าคนทั้งบ้านจะชอบใจและรักเราทั้งบ้าน มวลสาร ผงช้างผสมโขลงหรือพระยาเทครัว ในทางไสยเวช จะใช้ผสมวิชาพยนต์ผูกหุ่นเป็น1 ใน 3 วิชาอาถรรพณ์ ใช้หวังผลในด้านมหาเสน่ห์ ถือเป็นสุดยอดของผงมหาเสน่ห์ชั้นสูงสายวิชาสำนักเขาอ้อใช้สั่งรักสั่งหลงดียิ่งนัก
»ในวงการว่านพระเครื่องจะรู้ฤทธิ์เดชของช้างผสมโขลงหรือพญาเทครัวดี หากผงช้างผสมโขลงหล่นตกพื้นแม้แต่น้อยนิดห้ามข้ามเด็ดขาด ใครข้ามเป็นอันต้องหลงใหลแก้ยาก
ถ้าปลูกว่านนี้ไว้ในบ้าน จะเป็นมหานิยมต่อครอบครัวผู้นั้นถ้าว่านออกดอกเมื่อใดจะเกิดลาภผล ถือเป็นยอดว่านที่รู้กันดีด้านเจ้าชู้ มีเรื่องเล่าว่ามีหนุ่มพนักงานโรงงาน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ได้ทดสอบเด็ดดอกว่านช้างผสมโขลงที่ท่านพระครูบาเสกน้ำมนต์รดทุกวันแล้วใส่กระเป๋าเสื้อไปทำงาน ลูกสาวเจ้าของโรงงานแอบปิ๊งเลยตกถังข้าวสารปัจจุบันแต่ง งานมีบุตร 1 คนอย่างไม่น่าเชื่อ
» ส่วนสรรพคุณทางยาท่านบอกว่าให้เอาหัวว่าน หรือชิ้นว่านมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำปูนใส หรือน้ำซาวข้าวทาแก้เชื้อราบนหนังศีรษะแก้ผมร่วง หรือใช้พอกฝีหัวเดียวชะงัดยิ่งนัก และหญิงใดเป็นฝีที่นมทั้งสองข้าง หากใช้ว่านนี้พอกไว้ฝีจะแห้งเหือดในไม่ช้า นอกจากนั้นยังใช้แก้ฝีได้ทุกชนิดอีกด้วย
การขยายพันธุ์ช้างผสมโขลงหรือพญาเทครัวใช้หน่อแยกปลูก โดยดึงหน่อให้แยกจากต้นเดิม แล้วหากระถางดินขนาดใหญ่กว่าหัวว่านสามเท่า เอาดินร่วนปนทรายหรือปนหินเล็กๆ อิฐหักๆ ก็ได้ใส่ลงไปเล็กน้อย เอามือรวบรากว่านใส่ลงไปในกระถางให้ลงลึกๆ แล้วเอาดินที่เตรียมไว้กลบรากให้มิด แต่อย่าให้หน่อว่านฝังลงไปในดินมากนัก ว่านจะเจริญงอกงามดี รดน้ำอย่าให้แฉะให้อยู่ในที่ร่มรำไร เลี้ยงง่ายมากและเจริญรวดเร็วยิ่งนัก

กำแพงเจ็ดชั้น ตาไก้ สมุนไพรรักษาเบาหวาน และภาวะโรคไตที่เกิดขากเบาหวานและการใช้ยาต่อเนื่องนานๆ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา

กำแพงเจ็ดชั้นของอีสานจะมีลักษณะเนื้อไม้ที่แตกต่างจากกำแพงเจ็ดชั้นของภาคกลางในเวชกรรมไทย ที่มาของชื่อกำแพงเจ็ดชั้นเกิดจากลายวงปีของเนื้อไม้ ในภาคอีสานเรียกต้นตาไก้ว่ากำแพงเจ็ดชั้น และตากวงว่ากำแพงเก้าชั้น 
สมุนไพรตัวนี้ญี่ปุ่นเอาไปวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและยารักษาโรคเบาหวาน สั่งผลิตกล้าไม้และจ้างปลูกในเมืองไทย แบบเดียวกับที่ทำกับเปล้าน้อย

สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นรักษาอาการเบาหวาน ความดัน ไขมัน (โรคยอดฮิต) และอาการที่เกิดจากภาวะผิดปกติที่เกิดจากโรคนั้นดีขึ้นมาก รวมไปถึงอาการท้องผูกก็ดีขึ้น

กำแพงเจ็ดชั้น
ชื่ออื่น ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Salacia chinensis L.
ชื่อวงศ์ Celastraceae (Hippocrateaceae)
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้น แก้ปวดเมื่อย (เข้ายากับ ตาไก่ ตากวง อ้อยดำ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเต่า ใช้ลำต้นของทุกต้นรวมกัน มาต้มน้ำดื่ม) ยาระบาย (เข้ายากับ ยาปะดง ตากวง ดูกไส คอแลน พาสาน) ขับปัสสาวะ (เข้ายากับ แก่นตาไก้ แก่นตากวง แก่นดูกไส แก่นตานกกด) แก้ริดสีดวงทวาร (เข้ายากับ ว่านงวงช้าง แก่นกระถิน ปูนขาว แล้วต้ม)
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดนครราชสีมา ใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น
ยาพื้นบ้าน ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ทำให้อยากอาหาร ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับโลหิตระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก) แก้หืด (ผสมกับแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง ต้นสบู่ขาว ต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และต้นคำรอก) แก้เบาหวาน (ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก และหญ้าชันกาดทั้งต้น) ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายแก้เส้นเอ็นอักเสบ
ประเทศกัมพูชา ใช้ เถาต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน
ประเทศอินเดีย ใบ ใช้รักษาเบาหวาน โดยนำใบกำแพงเจ็ดชั้น ผสมกับใบแพงพวยฝรั่ง อย่างละเท่าๆกัน บดพอหยาบรวมกัน จำนวน 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ดื่มตอนเช้า เป็นเวลา 1 เดือน ราก แก้พิษงู นำรากกำแพงเจ็ดชั้นตำผสมกับน้ำมะนาว ใช้กินและพอกทาแผลที่ถูกงูกัด รากใช้รักษาโกโนเรีย โรคข้อรูมาติก และโรคผิวหนัง
องค์ประกอบทางเคมี
ลำต้น
สารกลุ่ม Friedelane-Type Triterpenes ได้แก่ maytenoic acid, friedelane-3-on-29-ol, 15R-hydroxyfriedelan-3-one, wilfolic acid C, salaspermic acid, orthosphenic acid, salasones A, salasones B, salasones C
สารกลุ่ม Oleanane-Type Triterpenes ได้แก่ 3β, 22β-dihydroxyolean-12-en-29-oic acid,
maytenfolic acid, β-amyrin, 22α-hydroxy-3-oxoolean-12-en-29-oic acid, β-amyrenone
สารกลุ่ม Ursane-Type Triterpenes ได้แก่ tripterygic acid A, demethylregelin
สารกลุ่ม Norfriedelane-Type Triterpenes ได้แก่ tingenone, tingenin B, regeol A, triptocalline A, salaquinone A, B
สารกลุ่ม Eudesmane-Type Sesquiterpene ได้แก่ celahin C, salasol A
ใบ
สารไตรเทอร์ปีน foliasalacins, 3b-hydroxy-20-oxo-30-norlupane, betulin, betulinic acid, friedelin, octandronol, oleanoic acid, erythrodiol, ursolic acid, uvaol, isoursenol
สารกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol
สารไกลโคไซด์ foliachinenosides E, F, G, H, I, foliasalaciosides J, K, L
ราก พบสารกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol(7) สารกลุ่มโปรแอนโทไซยานิดิน ได้แก่ leucopelargonidin (3)
ผล พบสารกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol(7)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส
สารสกัดด้วยน้ำจากลำต้น และรากกำแพงเจ็ดชั้น ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูซิเดสในลำไส้เล็กทั้งสองชนิดในหนูทดลอง โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ซูเครส โดยมีค่าIC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ 36.5, 57.9 µg/ml ตามลำดับ และยับยั้งเอนไซม์มอลเตส โดยมีค่า IC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ 87.3, 157.7 µg/ml แสดงว่าลำต้นออกฤทธิ์ได้ดีกว่าในราก โดยพบว่าสารออกฤทธิ์ดีคือ salacinol และ kotalanol
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด
สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มและเอทานอล จากรากกำแพงเจ็ดชั้น เมื่อป้อนให้หนูทดลอง ในขนาด 500 mg/kg body wt.ต่อวัน เป็นเวลา 14 วัน พบว่ามีนัยสำคัญในการลดปริมาณคลอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ LDL VLDL สามารถเพิ่มไขมันชนิดดี HDL ในหนูที่มีไขมันในเลือดสูงได้ เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับยา
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษ
สารกลุ่มลิกแนนที่แยกได้จากใบ 2 ชนิด คือ eleutheroside E₂และ 7R,8S –dihydrodehydrodi coniferyl alcohol 4-O-β-D-glucopyranosideมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับหนูในหลอดทดลอง จากการถูกทำลายด้วยสารเคมี D-galactosamineเมื่อให้สารในขนาด 100 µMโดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 41.4 และ 45.5 ตามลำดับ
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
สารสกัดใบด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcusepidermidis และเชื้อรา Cryptococcus neoformans โดยมีค่า MIC เท่ากับ 256 µg/mL และยับยั้งเชื้อรา Candida albicansโดยมีค่า MIC เท่ากับ 512 µg/mL สารสกัดใบด้วยน้ำมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. epidermidisและ C. neoformans โดยมีค่า MIC เท่ากับ 512 และ 1024 µg/mL ตามลำดับ


พิรังกาสาสมุนไพรสำหรับตับ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา

ถ้าพูดถงสมุนไพรสักตัวที่ดีต่อตับ แถมยังมีใบและต้นที่สวยงามเป็นไม้ประดับได้ กินได้ทุกส่วน ให้นึกถึงพิรังกาสา

พิลังกาสา สมุนไพรดีน่าปลูก ล้อมพิษตับ แก้ตับพิการ กินใบสดเป็นผักพื้นบ้าน ป้องกันตับ 
ต้นพิรังกาสา เป็นไม้พุ่มสูง 2-5 เมตร แตกต้นคล้ายกอ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ผลสด ทรงกลมแป้น เปลือกในแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงเข้ม ขนาดราวครึ่งเซนติเมตร ออกผลช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 
ผลพิลังกาสาใช้เป็นเครื่องยาปลูกไฟธาตุในคัมภีร์มหาโชติรัตน์ เป็นยาอายุวัฒนะ ปลูกโลหิตให้งาม ขับระดููููููู เพิ่มน้ำนม 
ตำรายาไทยใช้ใบแก้โรคตับพิการ ดอกรสร้อน ฆ่าเชื้อโรค ผล รสสุขุม แก้ไข้ท้องเสีย รักษาโรคเกี่ยวกับพยาธิ แก้ลมพิษ แก้ธาตุพิการ แก้ซาง ลำต้นใช้รักษาโรคเรื้อน รากใช้รักษากามโรคและหนองใน สารสกัดของผลสุกสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค ท้องเสีย (Salmonella spp. และ Shigella spp.) และสารสกัดจากเปลือกต้นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองในในหลอดทดลอง 
นอกจากนี้พบเม็ดสี สีส้มทองชื่อ rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อนโดยให้ยาติดต่อกัน 6 เดือน - 1 ปี สามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้ 
ปัจจุบันมีการนำผลสุกมาหมักเป็นไวน์  ใช้ผลสุกตากแห้งแล้วบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนขนาดปลายนิ้วก้อยของผู้ใช้รับประทานครั้งละ 3 เม็ด หรือใช้ผงยา 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำครึ่งแก้ว ช่วยบำรุงโลหิต และแก้โรคระดูสตรี 
ประโยชน์ของดอกพิลังกาสา : ดอกพิลังกาสาจะมีรสชาติเฝื่อนๆ มีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรในเรื่องของการ ขับพยาธิ ฆ่าเชื้อโรค แก้ลม โดยจะใช้ดอกแห้ง นำมาต้มน้ำดื่น ก็จะช่วยในเรื่องของการขับถ่ายพยาธิและฆ่าเชื้อโรคในลำไส้ได้เป็นอย่างดี 


เป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก จึงสามารถที่จะนำมาปลูกในพื้นที่ภายในบ้านได้
ถ่ายรูปได้สวยอยากโชว์ ไม้ลักษณะใบและลูกชัดเจน ใบอ่อนสวยมากๆ

ย่านดาโอ๊ะ ใบไม้สีทอง ใบไม้เปลี่ยนสีไทยแท้

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ไม้ตระกูููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููลเสี้ยวที่สวยที่สุดในโลก  สีทองจะชัดในหน้าหนาว
ใบไม้สีทอง เป็นพันธุ์ไม้ชนิดเดียวที่มีอยู่ในโลกและเกิดขึ้นในประเทศไทย ณบริเวณเทือกเขาบูโด และเทือกเขาสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเขตกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติบนเทือกเขาบูโดแต่ไม่มีใครให้ความสนใจและเห็นคุณค่า จนกระทั่งคุณสมน้อย ภัทรเมธา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ได้นำใบไม้สีทองชนิดนี้ ถวายแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และมีพระมหากรุณาธิคุณดำริให้ฝ่ายพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ทำการวิเคราะห์ใบไม้ชนิดนี้แต่ในช่วงนั้นไม่สามารถที่จะวิเคราะห์หาข้อสรุปได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ชนิดใด กรมป่าไม้จึงได้จัดส่งพันธุ์ไม้ขนิดนี้ไปทำการพิสูจน์ณ ประเทศเดนมาร์ก ในที่สุดใบไม้สีทองก็ได้ถูกประกาศว่าพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกโดย ศาสตราจารย์ไค ลาร์เสน Pros.KaiLasenm) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauthiniaaureifpliaเมื่อปี พ.ศ. 25332 และต่อมาในปี 2535 จึงจดลิขสิทธิ์เป็นของประเทศไทยและเป็นที่รู้จักกันมาแต่นั้นมา...ใบไม้สีทองหรือชื่อพื้นเมืองเรียกกันว่า “ย่านดาโอ๊ะ” เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะม้วนงอเลื้อยขึ้นไปคลุมตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก2 แฉก โคนใบเว้าหยักคล้ายรูปหัวใจ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่าใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงหรือขนสีทองแดงเป็นมันคล้ายกำมะหยี่ ใบที่สมบูรณ์เต็มที่มีขนาด10*18 ซม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดกว่า 25 ซม.ใบมีสองชนิดคือกลุ่มใบสีเขียวทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและกลุ่มใบสีทองซึ่งบริเวณปลายกิ่งขณะยังเป็นใบอ่อนมีสีม่วงแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเมื่อใบแก่ขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งใบแก่เต็มที่จะเป็นสีคล้ายสีทองแดงระยะสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นสีเงินแล้วจะทิ้งใบระยะที่จะเห็นใบเป็นสีทองชัดเจนในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม ของทุกปี ต้นที่ปรากฏใบสีทองต้องมีอายุมากกว่า5 ปี มีดอกสีขาวเกิดเป็นช่ออยู่บริเวณปลายกิ่งลักษณะคล้ายดอกเสี้ยวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ 10 ดอกขึ้นไป มีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม -กุมภาพันธ์มีผลเป็นฝักคล้ายฝักดาบ มีขนสีน้ำตาลแดงคล้ายกำมะหยี่เช่นเดียวกับใบ ฝักหนึ่งๆ มีประมาณ 4-6 เมล็ด ลักษณะทั่วไป ใบไม้สีทอง ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะม้วนงอ เลื้อยขึ้นไปคลุมตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 2 แฉก โคนใบเว้าหยักคล้ายรูปหัวใจ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่ามากใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมหนาแน่น ลักษณะเหมือนกำมะหยี่ เริ่มแรกใบจะเป็นสีนาค คล้ายสีชมพู เมื่อผ่านไปสัก 2 สัปดาห์ จะกลายเป็นสีน้ำตาล และเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนประมาณ 3 เดือน จะกลายเป็นสีทอง และอีก 6 - 7 เดือนต่อจากนั้น จากสีทองจะกลายเป็นสีเงิน ใบที่สมบูรณ์เต็มที่มีขนาด 10x18 ซม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดกว่า 25 ซม. นอกจากนี้ ใบไม้สีทอง ถือเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เส้นรอบวงของเถาวัลย์ประมาณ 100 ซ.ม. เลื้อยพันธุ์ต้นไม้ใหญ่ขึ้นสูงถึง 30 เมตร ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้างถึงเกือบกลม กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายและโคนใบเว้าลึกแบ่งเป็น 2 แฉก แผ่นใบหนาและกิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันผิวใบด้านล่างมีขนคล้ายกำมะหยี่สีทองแดงเป็นมันเงาสะท้อนแสงเป็นประกายสวยงาม ก้านใบสีแดง ดอก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีครีม มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อละ 2-3 ดอก มีกลีบประดับขนาดเล็ก รูปไข่ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก มี 3-5 กลีบ ด้านนอก มีขนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดเท่าๆกันทุกกลีบ ขอบกลีบหยิกย่น ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักแบนยาวคล้ายฝักดาบ กว้าง 5-6 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร มี 4-6 เมล็ด ประโยชน์ของใบไม้สีทอง ประโยชน์ของใบไม้สีทอง คือ สามารถนำใบมาประดิษฐ์เป็นของที่ระลึก ทำเป็นต้นไม้ช่อที่สวยงาม กรอบรูปใบไม้สีทอง ของตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลและอื่นๆ อีกมากมาย 
เอกลักษณ์/จุดเด่น ผิวใบคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมทั้งใบเมื่อแห้งสนิทแล้ว จะมีความเหนียว ไม่แห้ง และสีทองจะยิ่งชัดขึ้น ความแปลกของใบไม้สีทอง ใน 1 ต้นจะมีการเปลี่ยนของสีใบถึง 3 สี คือ สีนาค สีเงิน และสีทอง (ฤดูร้อน ,ฤดูฝนจะมีสีทองและฤดูหนาวจะมีสีเงิน) ใน 1 ต้น จะมีใบสีนาคเพียง 1 ใบเท่านั่น ทำให้ต้นใบไม้สีทองกลายเป็นต้นมงคลตามความเชื่อที่หลายคนอยากที่มีไว้ในบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล


ว่านหางช้างแก้คุณไสย

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา

วันนี้หัวใจปริ่มเปรม มันสุขเบาๆอยู่ข้างใน รู้สึกอยากทำสิ่งดีๆให้กับโลกนี้ทุกวัน มีเรื่องมากมายที่ต้องทำ และแต่ละวันคือก้าวย่างที่มั่นคง
เหมือนย้อนวันเวลาที่มีไฟมีพลังลุกโพลงอยู่ข้างในกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่จำไม่ได้ถึงความรู้สึกแบบนั้นมานาน
ในแต่ละวันมีเป้าหมายคือให้อะไรสักอย่างแก่ผู้คน เพราะยิ่งทำอย่างนั้นเราจะยิ่งรู้สึกของคุณค่าของการมีชีวิต
การกลับมามองตนเอง สำรวจใจตนเอง และรักษาฐานใจให้แน่นหนามั่นคงหยั่งลึก เพื่อทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่เราเกิดมาเพื่อทำมัน เมื่อรู้ว่าความกลัวไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างผ่านเข้ามาเพื่อฝึกฝนให้เราเป็นเราที่ดีที่สุด วันที่ไม่ต้องพยายามทำอะไรให้ใครเข้าใจหรือยอมรับ แต่เป็นวันที่ชัดเจนว่าเราจะทำอะไร
ฉันเกิดมาเพื่อจะบอกเล่าเรื่องราวสมุนไพรให้ผู้คนได้อ่านได้ฟังทุกๆวัน

ว่านหางช้าง


ว่านหางช้างเป็นชื่อเรียกว่านสองชนิด คือชนิดที่คล้ายต้นพัดแม่ชี ดาบนารายณ์ วอร์กกิ้งไอริส แต่ต่างกันที่ดอก กับอีกชนิดหนึ่งเป็นชื่อเรียกที่คนใต้เรียกว่านเพชรหึง กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ว่านหางช้าง ชนิดนี้ ใช้แก้คุณไสยทุกชนิด งานวิจัยมีสารต้านโรคHIV

ร้านวรากรสมุนไพร ID Line varakhonherbs โทร 0821515014 ต้องการมาดูสินค้า พิมพ์ในกูเกิล หาคำว่า วรากรสมุนไพร คลิ๊กเลือกแผนที่ รบกวนโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ

ลักษณะ
เป็นไม้มีขนาดเล็ก โคนลำต้นอยู่ใต้ดิน พอพ้นจากใต้ดิน จะมีใบแตกออกข้างเป็นแผงใบยาวรี ยาวประมาณ ๔๐ ถึง ๕๐ เซนติเมตร ต้นสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตรถึง ๑ เมตร ใบสีเขียว มีคราบขาวนวล ใบเรียบปลายใบแหลม ดอกมีสีเข้ม สลับเหลือง ขยายพันธ์ด้วยหน่อ
สรรพคุณ
ในทางการแพทย์ในชนบท ท่านใช้ใบว่านนี้ จำนวน ๓ ใบ ปรุงเป็นยาต้ม ยาระบาย และแก้ระดูพิการในผู้หญิงอีกด้วย ในตำราแพทย์แผนโบราณ สามารถใช้แก้โรคที่เกิดจากคุณทางไสยศาสตร์ ลมเพลมพัด
ต้น แก้คุณอันบุคคลกระทำทาง หนัง
ใบแก้คุณอันบุคคลกระทำทาง เนื้อ
ดอก แก้คุณอันบุคคลกระทำทาง ผม
ราก แก้คุณอันบุคคลกระทำทาง กระดูก
ว่านชนิดนี้นอกจากทางยาแล้ว ยังมีประโยชน์ในการแก้คุณไสย และปลูกเพื่อความเป็นศิริมงคล ในบ้านก็ดีนักแล

วิธีปลูก
ปลูกกับดินร่วน หรือปนทราย เป็นว่านที่ชอบแดดอย่างมาก รดน้ำวันละครั้งพอ ควรปลูกในสถานที่ไม่มีคนเดินข้าม นิยมปลูกวันอังคาร วันครูวันพฤหัส และวันเสาร์ลักษณะ
เป็นไม้มีขนาดเล็ก โคนลำต้นอยู่ใต้ดิน พอพ้นจากใต้ดิน จะมีใบแตกออกข้างเป็นแผงใบยาวรี ยาวประมาณ ๔๐ ถึง ๕๐ เซนติเมตร ต้นสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตรถึง ๑ เมตร ใบสีเขียว มีคราบขาวนวล ใบเรียบปลายใบแหลม ดอกมีสีเข้ม สลับเหลือง ขยายพันธ์ด้วยหน่อ
วิธีปลูก
ปลูกกับดินร่วน หรือปนทราย เป็นว่านที่ชอบแดดอย่างมาก รดน้ำวันละครั้งพอ ควรปลูกในสถานที่ไม่มีคนเดินข้าม นิยมปลูกวันอังคาร วันครูวันพฤหัส และวันเสาร์