วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ว่าด้วยการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์แลจรรยาบรรณของหมอ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่าด้วยการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์แลจรรยาบรรณของหมอ
ความรู้ทุกความรู้ล้วนมีที่มา ความกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งของการดำรงชีวิต
"ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ อนึ่งข้าอัญชลีพระฤาษีผู้ทรงญาณ แปดองค์ผู้มีฌาน โดยรอบรู้ในโรคา ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรหมเมศทุกชั้นฟ้าสาปสรรค์ซึ่งหว่านยา ประทานทั่วโลกธาตรี ไหว้ครูกุมารภัจ ผู้เจนจัดในคัมภีร์ เวชศาสตร์บรรดามีให้ทานทั่วแก่นรชน ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิพรฯ "
ว่าด้วยธรรมะและจรรยาบรรณของหมอนวดและหมอยา
"จะกล่าวคัมภีร์ฉัน ทศาสตร์บรรพ์ที่ครูสอน เสมอดวงทินกร แลดวงจันทร์กระจ่างตา ส่องสัตว์ให้สว่าง กระจ่างแจ้งในมรรคา หมอนวดแลหมอยา ผู้เรียนรู้คัมภีร์ไสย เรียนรู้ให้ครบหมดจนจบบทคัมภีร์ใน ฉันทศาสตร์ท่านกล่าวไข สิบสี่ข้อคงควรจำ เป็นแพทย์นี้ยากนัก จะรู้จักซึ่งกองกรรม ตัดเสียซึ่งบาปกรรม สิบสี่ตัวจึงเที่ยงตรง เป็นแพทย์ไม่รู้ใน คัมภีร์ไสยท่านบรรจง รู้แต่ยามาอ่าองค์ รักษาไข้ไม่เข็ดขาม บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการยา บางหมอก็เกียจกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา บางกล่าวเป็นมารยา เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน บางกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพรรณ์ หวังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา บางทีไปเยือนไข้ บ่มีใครจะเชิญหา กล่าวยกถึงคุณยา อันตนรู้ให้เชื่อฟัง บางแพทย์ก็หลงเล่ห์ด้วยกาเมเข้าปิดบัง รักษาโรคด้วยกำลัง กิเลศโลภะเจตนา บางพวกก็ถือตน ว่าใช้คนอนาถา ให้ยาจะเสียยา บ่ห่อนลาภจะพึ่งมี บางถือว่าคนเฒ่า เป็นหมอเก่าชำนาญดี รู้ยาไม่รู้ที รักษาได้ก็ชื่อบาน กายไม่แก่รู้ ประมาทผู้อุดมญาณ แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ เรียนรู้ให้เจนจัดจบจังหวัดคัมภีร์ไสย ตั้งต้นปฐมใน ฉันทศาสตร์ดังพรรณา ปฐมจินดาร์โชตรัต ครรภรักษา อไภยสันตา สิทธิสารนนทปักษี อติสารอวสาน มรณะญาณตามคัมภีร์ สรรพคุณรสอันมี ธาตุบรรจบโรคนิทาน ฤดูแลเดือนวัน ยังนอกนั้นหลายสถาน ลักษณะธาตุพิการ เกิดกำเริบแลหย่อนไป ทั้งนี้เป็นต้นแรก ยกยักแยกขยายไข กล่าวย่อแต่ชื่อไว้ ให้พึ่งเรียนตำหรับจำ ไม่รู้คัมภีร์เวช ห่อนเห็นเหตุซึ่งโรคทำ แพทย์เอ่ยอย่างมคลำ จักขุมืดบ่เห็นหน แพทย์ใดจะหนีทุกข์ ไปสู่สุขนิพพานดล พิริยสติตน ประพฤติได้จึงเป็นการ ศีลแปดแลศีลห้า เร่งรักษาสมาทาน ทรงไว้เป็นนิจกาล ทั้งไตรรัตน์สรณา เห็นลาภอย่างโลภนัก อย่างหาญหักด้วยมารยา ใช้น้อยว่าไข้หนา อุบายกล่าวให้พึงกลัว โทโสจงอดใจ สุขุมไว้อยู่ในตัว คนไข้ยิ่งคร้ามกลัว มิควรขู่ให้อดใจ โมโหอย่าหลงเล่ห์ ด้วยกาเมมิจฉาใน พยาบาทแก่คนไข้ ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล วิจิกิจฉาเล่า จงถือเอาซึ่งครูตน อย่าเคลือบแคลงอาการกล เห็นแม่นแล้วเร่งวางยา อุทธัจจังอย่าอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา ให้ตั้งตนดังพระยา ไกรสรราชเข้าราวี อนึ่งโสดอย่างซบเซา อย่าง่วงเหงานั้นมิดี เห็นโรคนั้นถอยหนี กระหน่ำยาอย่าละเมิน ทิฎฐิมาโนเล่า อย่าถือเอาซึ่งโรคเกิน รู้น้อยอย่างด่วนเดิน ทางใครอย่าครรไล อย่าถือว่าตนดี ยังจะมียิ่งขึ้นไป อย่าถือว่าตนใหญ่ กว่าเด็กน้อยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ใดรู้ในทางธรรม ให้ควรยำอย่าโวหาร เรียนเอาเป็นนิจกาล เร่งนบนอบให้ชอบที ครูพักแลครูเรียน อักษรเขียนไว้ตามมี จงถือว่าครูดีเพราะได้เรียนจึงรู้มา วิตักโกนั้นบทหนึ่ง ให้ตัดซึ่งวิตักกา พยาบาทวิหิงษากาม ราคในสันดาน วิจาโรให้พินิจ จะทำผิดหรือชอบกาล ดูโรคกับยาญาณ ให้ต้องกันจะพลันหาย หิริกังละอายบาป อันยุ่งหยาบสิ่งทั้งหลาย ประหารให้เสื่อมคลาย คือตัดเสียซึ่งกองกรรม อโนตัปปังบทบังคับ บาปที่ลับอย่าพึงทำ กลัวบาปแล้วจงจำ ทั้งที่แจ้งจงเว้นวาง อย่าเกียจแก่คนไข้ คนเข็ญใจขาดในทาง ลาภผลอันเบาบาง อย่าเกียจคนพยาบาล ท่านกล่าวไว้ใน ฉันทศาสตร์เป็นประธาน กลอนกล่าวให้วิถาน ใครรู้แท้นับว่าชาย ฯ"
เป็นหมออาจได้ทั้งบุญและบาป อย่าเกินคำครู ทำไมครูหมอยาไทยถึงเก็บงำความรู้ไว้ ท่านมีเหตุผลของท่าน
" เป็นแพทย์พึ่งสำคัญ โอกาสนั้นมีอยู่สาม เคราะห์ร้ายขัดโชคนาม บางทีรู้เกินรู้ไป บางทีรู้มิทัน ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย คนบ่รู้ทิฎฐิใจ ถือว่ารู้ขืนกระทำ จบเรื่องที่ตนรู้ โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม ไม่สิ้นสงสัยทำ สุดมือม้วยน่าเสียดาย บางทีก็มีชัย แต่ยาให้โรคนั้นหาย ท่านกล่าวอภิปราย ว่าชอบโรคนั้นเป็นดี เห็นโรคชัดอย่าสงสัย เร่งยากระหน่ำไป อย่าถือใจว่าลองยา จะหนี ๆ แต่ไกล ต่อจวนใกล้จะมรณา จึงหนีแพทย์นั้นหนา ว่ามิรู้ในท่าทาง อำไว้จนแก่กล้า แพทย์อื่นมาก็ขัดขวาง ต่อโรคเข้าระวาง ตรีโทษแล้วจึงออกตัว หินชาติแพทย์เหล่านี้ เวรามีมิได้กลัว ทำกรรมนำใส่ตัว จะตกไปในอบาย เรียนรู้คัมภีร์ไสย สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย ควรกล่าวจึงขยาย อย่ายื่นแก้วแก่วานร ไม่รักจะทำยับ พาตำหรับเที่ยวขจร เสียแรงเป็นครูสอน ทั้งบุญคุณก็เสื่อมสูญ รู้แล้วเที่ยวโจทย์ทาย แกล้งอภิปรายถามเค้ามูล ความรู้นั้นจะสูญ เพราะสามหาวเป็นใจพาล ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์ เที่ยงว่าพิศดาร ทั้งพุทธไสยจึงควรเรียน แต่สักเป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จำเนียร ครูนั้นไม่ควรเรียน จะนำตนให้หลงทางเราแจ้งคัมภีร์ฉัน ทศาสตร์อันบุราณปาง ก่อนกล่าวไว้เป็นทาง นิพพานสุสิวาลัย อย่าหมิ่นว่ารู้ง่ายตำหรับรายอยู่ถมไป รีบด่วนประมาทใจ ดังนั้นแท้มิเป็นการ ลอกได้แต่ตำรา เที่ยวรักษาโดยโวหาร อวดรู้ว่าชำนาญ จะแก้ไขให้พลันหาย โรคคือครุกรรม บรรจบจำอย่างพึงทาย กล่าวเล่ห์อุบายหมาย ด้วยโลภหลงในลาภา บ้างจำแต่เพศไข้ สิ่งเดียวได้สังเกตมา กองเลือดว่าเสมหา กองวาตาว่ากำเดา คัมภีร์กล่าวไว้หมด ใยมิจดมิจำเอา ทายโรคแต่โดยเดา ให้เชื่อถือในอาตมา รู้น้อยอย่าบังอาจ หมิ่นประมาทในโรคา แรงโรคว่าแรงยา มิควรถือคือแรงกรรม อนึ่งท่านได้กล่าวถาม อย่ากล่าวความบังอาจอำ เภอใจว่าตนจำ เพศไข้นี้อันเคยยา ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน บางทีก็ยาชอบ แต่เคราะห์ครอบจึงหันหวน หายคลายแล้วทบทวน จะโทษยาก็ผิดที อวดยาครั้นให้ยา เห็นโรคาไม่ถอยหนี กลับกล่าวว่าแรงผี ที่แท้ทำไม่รู้ทำเห็นลาภจะใคร่ได้ นิยมใจไม่เกรงกรรม รู้น้อยบังอาจทำ โรคระยำเพราะแรงยา โรคนั้นคือโทโส จะภิญโญเร่งวัฒนา แพทย์เร่งกระหน่ำยา ก็ยิ่งยับระยำเยิน รู้แล้วอย่าอวดรู้ พินิจดูอย่าหมิ่นเมิน ควรยาหรือยาเกิน กว่าโรคนั้นจึงกลับกลาย ถนอมทำแต่พอควร อย่าโดยด่วนเอาพลันหาย ผิโรคนั้นกลับกลาย จะเสียท่าด้วยผิดที่ (ที ) บ้างได้แต่ยาผาย บรรจุถ่ายจงถึงดี เห็นโทษเข้าเป็นตรี จึงออกตัวด้วยตกใจ บ้างรู้แต่ยากวาด เที่ยวอวดอาจไม่เกรงภัย โรคน้อยให้หนักไป ดังก่อกรรมให้ติดกายฯ "
คนหนึ่งคนเปรียบได้กับประเทศประเทศหนึ่ง ( กายานคร ) พึ่งรู้ให้เจนจบ
" อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา ดวงจิตรคือกษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์ ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมทุกทิศา ให้ดำรงกษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย ปิตตัง คือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย อาหารอยู่ในกาย คือสะเบียงเลี้ยงโยธา หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที อนึ่งเล่ามีคำโจทย์ กล่าวยกโทษแพทย์อันมี ปรีชารู้คัมภีร์ เหตุฉันใดแก้มิฟัง คำเฉลยแก้ปุจฉา รู้รักษาก็จริงจัง ด้วยโรคเหลือกำลัง จึงมิฟังในการยา เมื่ออ่อนรักษาได้ แล้วไซร้ยากนักหนา ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม "

คัมภีร์โบราณเรื่องราวแห่งกาลเวลา วัฏฏะวน

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ความหลากหลายของพืชในเมืองไทยทำให้ลำบากในการจดจำ พืชบางชนิดทั้ง๕(ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ) มีสรรพคุณเดียวกันก็ค่อยยังชั่วหน่อย แต่ถ้าสรรพคุณใครสรรพคุณมันอันนั้นหนักหน่อย จำกันไม่หวาดไม่ไหว ถึงเตือนกันอยู่เสมอว่าถ้าไม่รู้ให้ศึกษาอย่างละเอียดถ่องแท้ ต้องให้ถูกต้น ให้ถูกส่วน ยกตัวอย่างเช่น ฝักมะขามเป็นยาระบาย แต่เปลือกมะขามเป็นยาหยุดถ่าย นี่เรียกว่าธรรมชาติมีตัวกันตัวแก้กันอยู่ ต้นไม้บางอย่างมีพิษตัวแก้ก็อยู่ในส่วนอื่นของต้นนั้นก็มีเช่นใบมีพิษเอารากแก้ อันนี้เรียกชงเองกินเอง ทุกวันนี้คนเห็นเงินเป็นใหญ่รู้สรรพคุณของสมุนไพรนิดหน่อยก็เอามาทำขายโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใช้ส่วนไหนของพืช ใช้สดหรือแห้ง ใช้ต้มหรือเผา ฯลฯ มันทำให้นอกจากโรคภัยไม่หายยังเกิดอันตรายได้ นี่เป็นมอดไม้แก่วงการสมุนไพร
แล้วถ้าถามว่าจะทำอย่างไรถึงจะรู้ คำโบราณว่าไว้ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด เราต้องอ้างถึงคัมภีร์ตำรับตำราต่าง ๆ ที่มีมา เพราะนั่นคือการพิสูจน์ทดลองผ่านยุคสมัยมานาน ผ่านการเป็นตายมามาก จนตกผลึกทางความคิด ค่อยๆศึกษาเรียรู้ซึมซับเรื่องราวต่างๆไป แล้วจะรู้ว่าภูมิปัญญาของบรรพบุรษเรายิ่งใหญ่อลังการ ไม่ล้าสมัย โรคภัยไม่ต่างจากแฟชั่น มันล้าสมัยไปแล้วก็กลับมาใหม่ เทียบกับคัมภีร์โบราณดูจะรู้ว่าโรคที่เกิดขึ้นสมัยนี้เคยเกิดมาแล้วทั้งนั้น มันอาจหายไปและระบาดขึ้นมาใหม่ โลกใบนี้เกิดขึ้นมานาน การเวียนว่ายตายเกิดย่อมยังคงอยู่ ไปอีกนานแสนนาน
อย่างที่บอกในเมื่อเราจำสรรพคุณของพืชแต่ละต้นไม่หวาดไม่ไหว ครูยาโบราณมีวิธีคร่าวๆที่จะบอกสรรพคุณของส่วนของพืชนั้นๆดังนี้
จากคัมภีร์ฉันทศาสตร์ว่าด้วยเรื่องรสของพืช
" จะกล่าวกำเนิด ทั้งที่เกิดที่อยู่ ทั้งฤดูเดือนวัน อายุปันเวลา อาหารฝ่าสำแลง โรคร้ายแรงต่าง ๆ ยาหลายอย่างหลายพรรณ สิ้นด้วยกันเก้ารส จงกำหนดอย่าคลาศ ยารสฝาดชอบสมาน รสยาหวานซาบเนื้อ รสเมาเบื่อแก้พิษ ดีโลหิตชอบชม เผ็ดร้อนลมถอยถด เอ็นชอบรสมันมัน หอมเย็นนั้นชื่นใจ เจ็บ( เค็ม )ซาบในผิวหนัง เสมหะยังชอบส้ม "
ว่าด้วยภูมิประเทศ
" กำเริมลมที่อยู่เปือก ตอมฟูเยือกเย็น เนื้อหนังเอ็นปูปลา ย่อมภักษาครามครัน เสมหะนั้นโทษให้ ที่อยู่ในชลธาร มันเสพหว่านเนื่องนิจ ดีโลหิตจำเริญ ที่อยู่เถินเนินผา อาหารฝ่าเผ็ดร้อน อนึ่งสัญจรนอนป่า เพื่อภักษางูเห่า กำเริมเร้าร้อนรุม สันนิบาตกุมตรีโทษ นัยหนึ่งโสดกล่าวมา"
ว่าด้วยวันเดือนปีฤดูกาล
" ฤดูว่าเป็นหก ท่านแยกยกกล่าวไว้ เดือนหกในคิมหันต์ ควรเร่งปันเอากิ่ง แรมค่ำหนึ่งถึงเพ็ญ เดือนสิบเป็นคิมหันต์ กับวสันต์ฤดู เป็นสองอยู่ด้วยกัน อย่าหมายมั่นว่าฝน บังบดบนยิ่งร้อน พระทินกร เสด็จใกล้ มาตรแม้นไข้สำคัญ เลือดดีนั้นเป็นต้น แรมลงพ้นล่วงไป ถึงเพ็ญในเดือนยี่อาทิตย์ลีลาศห่าง ฤดูกลางเหมันต์ กับวสันต์เป็นสอง น้ำค้างต้องเยือกเย็น เสมหะเป็นต้นไข้ แรมลงไปเพียงกิ่ง เดือนหกถึงเพ็ญนั้น เข้าคิมหันต์ระคน เหมันต์ปนสีปักษ์ ลมพัดหนักแม้ไข้ กำเริมในวาตา ซึ่งกล่าวมาทั้งนี้ ต้นปลายปีบรรจบ ฤดูครบเป็นหก สี่เดือนยก ควบไว้ ฤดูใดไข้เกิด เอากำเนิดวันนั้น เป็นสำคัญเจ้าเรือน กำเริบเดือนนั้นว่า ในเดือนห้า เดือนเก้า เดือนอ้ายเข้าเป็นสาม เดือนนี้นามปถวี เดือนหกมีกำหนด เดือนสิบหมดเดือนยี่ สามเดือนนี้ธาตุไฟ อนึ่งนั้นในเดือนเจ็ด เดือนสิบเอ็ดเดือนสาม สามเดือนนามธาตุลม เดือนแปดสมเคราะห์เดือนสิบสองเลื่อนเดือนสี่ สามเดือนนี้อาโปกำเริบโรคามี เหตุทั้งสี่กล่าวมา รายเดือนว่าเหมือนกัน"
ว่าด้วยวัย
" อนึ่งสำคัญลมดี กำลังมีไฟ ธาตุภายในแรงยิ่ง อาโปสิ่งทั้งหลาย กำเริบร้ายด้วยเพศ เสมหะเหตุเป็นตน สันนิบาตท้นแรงไข้ กำเนิดในปถวี กำเริบมีกำลัง กำเริบมีกำลัง หนึ่งเด็กยังไม่รุ่น ยามเช้าครุ่นครางไข้ ปฐมวัยพาละ โทษเสมหะพัวพัน หนุ่มสาวนั้นเป็นไป กำลังในโลหิต ไข้แรงพิษเมื่อเที่ยง คนแก่ เพียงพินาศ ไข้บ่ายชาติวาตา ไข้เวลากลางคืน เสมหะฟื้นลมอัคคี สันนิบาตตรีโทษา หนึ่งคลอดมาจากครรภ์ ระวีวันเสารี เตโชมีเป็นอาทิ ศะศิครูปถวี อังคารมีวาโย พุธอาโปศุกร์ด้วย ธาตุนี้ม้วยกับตน โรคระคนทั่วไป ปรึกษาไข้จงมั่น ฤดูนั้นเข้าจับ อายุกับเพลา เดือนวันมาประมวณคงใคร่ครวญด้วยโทษ นัยหนึ่งโสดไข้นั้น แทรกซ้ำกันบางที วาโยดีเจือกัน เสมหะนั้นกับดี เสมหะมีกับลม ใคร่ให้สมอย่าเบา อย่าฟังเขาผู้อื่น คัมภีร์ยื่นเป็นแน่ กำหนดแก้เจ้าเรือน อายุเดือนวันเพลา กำเริบมาเป็นแทรก ไข้มาแซกอย่ากลัว ถึงมุ่นมัวซบเซา ถ้าไข้เจ้าเรือนไป ไข้แขกไม่อาจอยู่ อนึ่งเล็งดูในไข้ พอยาได้จึงยา ไม่รู้อย่าควรทำ จะเกิดกรรมเกิดโทษ ฯ"
เรื่องของนาฬิกาชีวิตคนโบราณกล่าวถึงมานานแล้ว ว่าด้วยกาล ( เวลา )
" จะกล่าวเพศชีพจรจำ เดือนขึ้นค่ำฝ่าบาทา เร่งรีบให้กินยา ตามตำราสะดวกดี สองค่ำอยู่หลังบาท อาจสามารถแก้โรคี กินยาสะดวกดี ตามคัมภีร์ที่มีมา สามค่ำอยู่ศีรษะ ชัยชนะแก่โรคา เร่งถ่ายเร่งผายยา ดีนักหนาอย่างสงสัย สี่ค่ำประจำแขน ตามแบบแผนอันพึ่งใจ ผายยามิเป็นไร โรคใดๆ อันตรธาน ห้าค่ำประจำลิ้น ยาที่กินแล่นเฉียวฉาน วาโยย่อมกล้าหาญ ขึ้นตามตนราก อาเจียน หาค่ำย่อมเรียงราย ทั่วทั้งกายให้คลื่นเหียน ป่วนปั่นให้วิงเวียน ย่อมติเตียนตำรายา เจ็ดค่ำประจำแข้ง ตามตำแหน่งให้ผายยา ระงับดับวาตา ในอุราไม่แดกดัน แปดค่ำอยู่ท้องน้อย ระยำย่อยห้ามกวดขัน กำเริบทุกข์สาระพัน ตำรานั้นว่ามิติ( ดี ) เก้าค่ำประจำมื้อ เร่งนับถือเป็นศุขี ระงับดับโรคี จำเริญศรีอายุนา สิบค่ำประจำก้น ดีล้นพ้นต้องตำรา ชะนะแก่โรคา ดับวาตาถอยลงไป สิบเอ็ดค่ำประจำฟัน ซึ่งห้ามนั้นอย่าสงสัย มักรากลำบากใจ โรคภายในกำเริบมา สิบสองค่ำประจำคาง อย่างละวางในตำรา กำเริบร้ายโรคา อย่าวางยาจะถอยแรง สิบสามค่ำอยู่ขาดี อันโรคีไม่ระแวง ทั้งโรคร้ายก็หน่ายแหนง อย่าควรแคลงเร่งวางยา สิบสี่ค่ำประจำหลัง อย่าพลาดพลั้งเร่งศึกษา ห้ามไว้ในตำรา ทุเลายาลำบากกาย สิห้าค่ำประจำใจ ท่านกล่าวไว้สำหรับชาย อย่าประจุยารุถ่าย อย่ามักง่ายว่าตามมี แรมค่ำหนึ่งจำใจใส่ ประจำใต้ฝ่าตนดี สองค่ำประจำที่ หลังตื่นมีอายุนา สามค่ำอยู่สะดือ อย่านับถือมักรากรา สี่ค่ำอยู่ทันตา จะมรณาม้วยบรรลัย ห้าค่ำประจำสิ้น ห้ามอย่ากินรากพ้นไป หกค่ำอยู่เศียรไซร้ ดับโรคภัยสิ้นทั้งปวง เจ็ดค่ำประจำตัว ย่อมเกรงกลังปะทะทรวง แปดค่ำว่าหนักหน่วง อยู่ในทรวงย่อมจะตาย เก้าค่ำประจำคางเป็นปานกลางคลื่นลงสาย สิบค่ำแขนสบาย ลงง่ายดายเร็วหนักหนา สิบเอ็ดค่ำประจำมือ เร่งนับถือตามตำรา สิบสองค่ำอยู่นาสา หายโรคาอย่าสงสัย สิงสามค่ำอยู่กรรณ์ พยาธินั้นสิ้นสูญไป สิบสี่ค่ำอยู่ปากไซร้ ห้ามมากไว้สิ้นชีวี สิบห้าค่ำอยู่คอ จงรั้งรอตามวิธี กินยาว่ามิดี ห้ามทั้งนี้ตามตำรา ชีพจรนี้สำคัญข้างขึ้นนั้นแลแรมหนา เหมือนกันดังกล่าวมา จะผายยาดูให้ดี บุราณท่านตั้งไว้ คัมภีร์ไซร้สำหรับมี ดับพยาธิโรคี อายุยืนเจริญเอย ฯ "
ว่าด้วยกาลและรสยา น้ำกระสาย
" จะสำแดงสมุฏฐาน กำหนดกาลที่เกิดไข้ ท่านตั้งไว้ประการสี่ ตามคัมภีร์คิริมานนท์ ให้นรชนพึงรู้ สังเกตดูเพลากาล วันหนึ่งท่านแบ่งสี่ยาม คืนหนึ่งตามยามมีสี่ กลางวันมีโมงสิบสอง กลางคืนร้องเรียกว่าทุ่ม แม้นประชุมทุ่มเข้าสาม เรียกว่ายามเหมือนกัน ถ้ากลางวันสามโมงเล่า ท่านนับเข้าว่ายามหนึ่ง ขอท่านพึงกำหนดเถิด ยามเช้าเกิดแต่เสมหัง ยามสองตั้งด้วยโลหิต ยามสามติดเพื่อดี ตกยามสี่เพื่อวาตา ครั้นเพลาพลบค่ำ ยามหนึ่งทำด้วยกองลม ยามสองระดมดีซึมทราบ ยามสามอาบด้วยโลหิต ยามสี่ติดด้วยเสมหะ สมุฏฐานะดังกล่าวมา จงวางยาแซก กระสาย เสมหะร้ายแซกด้วยเกลือ น้ำนมเสือใส่ประกอบ โลหิตชอบกระสายเปรี้ยว ดีสิ่งเดียวชอบรสขม ฝ่ายข้างลมชอบเผ็ดร้อน แพทย์จงผ่อนตามเวลา กระสายยาแซกพลันหาย จะภิปรายในเรื่องรส เปรี้ยวปรากฎเคยสำเหนียก ส้มมะขามเปียกฝักส้มป่อย เปรี้ยวอร่อยน้ำส้มซ่า ขมธรรมดาบรเพ็ดกระดอม ขมเปนจอมดีงูเหลือม เผ็ดพอเอื้อมขิงดีปลี ภิมเสนมีให้ใส่แซก อนึ่งเค็มแปลกนอกจากเกลือ รู้ไว้เผื่อแก้ไม่หยุด มูตร์มนุษย์เปลือกลำภู สองสิ่งรู้เถิดเค็มกร่อย อ่านบ่อยๆให้จำได้ จะได้ใช้แซกจูงยา ในตำราป่วงแปดประการ ตามคัมภีร์โบราณ ซึ่งท่านแต่ก่อนกล่าวเอย "

ดูความละเอียดละออของคนโบราณเถิด ด้วยความห่วงลูกหลานท่านจึงบันทึกความรู้เหล่านี้ไว้ เหมือนท่านมีทิพยญาณว่าในอนาคตลูกหลานจะถึงทางตันในการรักษา
ขอกราบระลึกน้อมถึงคุณครูบาอาจารย์และบรรพบุรุษของเรา








วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ว่าด้วยเรื่องสวาด

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ตอนนี้กำลังบ้าข้อมูลเก่าๆ เพลิดเพลินลืมวันลืมคืน ของพวกนี้มีเสน่ห์ ยิ่งพูดถึงต้นไม้ที่เราสนใจยิ่งอยากรู้ว่าต้นไม้แต่ละต้นทำอะไรได้อีก
ตอนนี้ได้เมล็ดสวาดมาจำนวนหนึ่ง กำลังหาวิธีทำให้พกง่าย ใช้เป็นเครื่องประดับ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เมื่อก่อนจะพร่ำพรรณนาถึงรสสวาท แต่ลำนำได้มหัศจรรย์

ลำนำสวาด
สวาดสายลายสร้อยร้อยสวาด
สวาดเส้นเร้นสวาดสวาดหวัง
สวาดเรียงสวาดร้อยสวาดยัง
สวาดฝังรูปรอยร้อยดวงใจ
อีกสักบท

เห็นสวาดขาดทิ้งกิ่งสบัด
เป็นรอยตัดต้นสวาทให้ขาดสาย
สวาทพี่นี้ก็ขาดสวาทวาย
แสนเสียดายสายสวาทที่ขาดลอย

ในวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึงต้นสวาดในเชิงเปรียบเทียบกับความรัก ความพิศวาสระหว่างชายหญิง เพราะมีความพ้องเสียงกันนั่นเอง นอกจากนั้น ตามธรรมเนียมไทย ในการจัดขันหมากงานแต่งงานบางแห่ง มีการใช้ใบรักและใบสวาดรองก้นขันหมากโท ซึ่งใส่หมากพลู ส่วนขันหมากเงินทุนและสินสอด ใส่ใบรักและใบสวาดลงไปรวมกับดอกไม้ และสิ่งมงคลอื่นๆเช่น ใบเงิน ใบทอง ดอกบานไม่รู้โรย และถั่วงา เป็นต้น
สวาด หรือที่คนทางภาคใต้เรียกว่า หวาดนั้น เป็นไม้เลื่อยที่พบทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบมากตามป่าละเมาะใกล้ทะเล ลำต้นและกิ่นก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาว ๓๐-๕๐ ซม. ดอกสีเหลือง เป็นช่อยาว ๑๕-๒๕ ซม.ออกดอกตรงกิ่งเหนือซอกใบขึ้นไปเล็กน้อย ช่อเดี่ยวหรืออาจแตกแขนงบ้าง ก้านช่อยาวและมีหนาม ผลเป็นฝักรูปรี หรือขอบขนานแกมรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก แต่ละฝักมี ๒ เมล็ดเมล็ดกลมเปลือกแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ ซม. สีเทาแกมเขียว เป็นสีที่เรียกกันว่า สีสวาดนั่นเอง ในสมัยก่อน เด็กๆ นำมาใช้เล่นหมากเก็บ เพราะมีขนาดและรูปร่างเหมาะสม ใบสวาดมีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้จุกเสียด ผลใช้แก้กระษัย
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านบอกว่า ใช้ใบสวาท ขยี้เอาน้ำให้ลูกดื่ม เพื่อเป็นยาถ่ายพยาธิ
ไม้มงคลทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ปลูกต้นทุเรียน ต้นสวาท หรือไม้ดอกนานาชนิด ที่ใช้บูชาพระจะเสริมดวงให้มีแต่ความสุขสบาย ร่มเย็นตลอดไปและไม่มีเรื่องทุกข์ร้อน
ลูกสวาดเป็นลูกไม้ที่เกิดจากต้นสวาดถือเป็นวัตถุอาถรรพณ์ที่มีฤทธิ์มีพลังอำนาจในตัว คนโบราณนิยมนำลูกสวาดมาพกติดตัวไว้เพื่อให้มีผลทางด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม กับตัวเอง ลูกสวาดนี้หากนำไปให้อาจารย์ผู้ทีมีวิชาอาคมขลังปลุกเสกด้วยพลังจิตเวทอาคมแล้วจะทำให้มีฤทธิ์มีพลังอำนาจทางมหาเสน่ห์สูง
ต้นสวาดโตไว เป็นไม้เถาโตไว อย่าปลูกใกล้ทางเดินหนามร้ายกาจมาก/ ลูกสวาท พิศสวาทหลงใหล พิศมัยแนบเนื้อ ใจจิตคิดถึง เคล้าคลึงวิญญา วิชาจะระณะสัมปันโน
าถาพระยาเทครัว ( เสกลูกสวาท หรือของกินอะไรก็ได้ให้เขากิน จะรักเราแล) บทเต็มว่าดังนี้ นะโมพุทธายะ ภะคะวะโต อิติปิโสภะคะวา อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา อิติโพธิมะนุปปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม คนทั้งหลายรักกู พิสวาทหลงใหล พิสมัยแนบเนื้อ ใจจิตคิดถึง คนึงวิญญาวิชชาจะระณะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา นะเเมตตา โมกรุณา พุทเป็นที่รัก ธาให้เห็นประจักษ์ ยะให้ยินดี ยะละลวยหันตะวา ธาเมามัว พุทพาหัวมาหากู โมมาสมสู่ นะรักอยู่ด้วยจนวันตาย โอมละลวยมหาละลวย หญิงชายเห็นหน้ากูงวยงงจงใจรัก ทักปราศรัย อ่อนละมัยมาหากู สูรู้ว่ากูมาเน้อ เออรักสวาหะ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ( อ่านว่า รึ รือ หรือ รือ) เอหิ พรหมจิตตัง มาด้วยพระวินัยยัง เถตังติตัง กะระณียัง เมตตังจิตตัง ขันติมะอิตถิโก อะปุริสา อุมัตจา สะมะณะพราหมณา เมตตา จะ มหาราชา สัพพะเสน่หา จะปูชิโต สัพพะสุขขัง มหาลาภังราชา โกรธัง วินาสสันติ สัพพะโกรธัง วินาสสันติ ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปันนานัง ปินินทรียัง นะมามิหัง

ตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
- ส่วนประกอบสำคัญยาสมุนไพรแผนโบราณ "มะแว้ง" ขององค์การเภสัชกรรม คือ ผลมะแว้ง 16 ส่วน ใบกะเพรา 4 ส่วน (ใบกะเพรา-ขับลม แก้ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน) ใบตานหม่อน 4 ส่วน(ใบตานหม่อน - แก้ตานซางในเด็ก รักษาลำไส้ ฆ่าพยาธิ) ใบสวาด 4 ส่วน(ใบสวาด-ขับลม แก้จุกเสียด แก้ปัสสาวะพิการ) หัว(เหง้า) ขมิ้นอ้อย 3 ส่วน (เหง้าขมิ้นอ้อย - แก้ท้องร่วง อาเจียน แก้ไข้ ผสมในยาระบายเพื่อให้ระบายน้อยลง สมานแผล) และสารส้ม 1 ส่วน
(สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ, 2539 และ จากซองบรรจุยาสมุนไพรมะแว้งขององค์การเภสัชกรรม ผลิตเมื่อ 20 เมษายน 2542
ความหมายตามพจนานุกรมฯ "สวาด [สะหฺวาด] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ฝักมีหนามละเอียด เมล็ดกลม เปลือกแข็งสีเทาอมเขียว. ว. สีเทาอมเขียวอย่างสีเมล็ดสวาด เรียกว่า สีสวาด, เรียกแมวที่มีสีเช่นนั้นว่า แมวสีสวาด ว่าเป็นแมวไทยที่ชาว ต่างประเทศนิยมเลี้ยงและมีราคาแพง"
แมวสีสวาด หรือ แมวโคราช
  พบครั้งแรกในโลกที่เมืองพิมาย คำว่า “สีสวาด” เป็นชื่อที่คนท้องถิ่นเรียกกันมาตั้งแต่โบราณ บ้างก็เรียก “แมวมาเลศ” หรือ “แมวดอกเลา” คนโบราณ คงเรียกชื่อนี้ตามสีขนที่เป็นสีเทาเงินเหมือนลูกสวาด ซึ่ง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Silver blue
  ในช่วง พ.ศ. 2426 ถึง 2462 ได้มีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสและชาวอังกฤษหลายคณะ มีทั้งนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และนักธรรมชาติวิทยา เข้ามาสำรวจแหล่งโบราณสถานที่ อำเภอพิมาย คงมีคณะใด คณะหนึ่งมาพบ ชาวพิมายเลี้ยงแมวสีสวาดกันอย่าง แพร่หลาย โดยเฉพาะบ้านผู้มีฐานะดี จะนิยมเลี้ยงกัน เป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าจะให้โชคลาภและความเป็น สิริมงคล อีกทั้งเป็นแมวชนิดที่ยังไม่เคยพบเห็นในที่ ใดๆ มาก่อนในโลก
  จึงนำไปเผยแพร่ให้ชาวโลกรู้จัก โดยเรียกว่า “แมวโคราช” (Korat Cat)

ตอนนี้แมวไทยโบราณที่ปัจจุบันเหลือแค่ 4 สายพันธุ์ คือ วิเชียรมาศ ศุภลักษณ์ โกนจา และแมวสีสวาดหรือแมวโคราช ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี 2554 และรางวัลสายพันธุ์ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-ละตินอเมริกา ราคาค่าตัวสูงถึง 250,000 บาท
 อีกที่มา



แมวสีสวาด(โคราช)
ในตำราแมวไทย เรียกแมวสีสวาดว่าแมวมาเลศ หรือ ดอกเลา มีถิ่นกำเนิดที่โคราช จ.นครราชสีมา ซึ่งชาวโคราชให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะในงานพิธีสำคัญๆ เช่น พิธีแห่นางแมว เลือกเอาแมวสีสวาดเพราะว่าสีของ แมวสีสวาด เหมือนกับท้องฟ้าจมผ่าน เมฆฝนตอนฟ้าครึ้ม ชาวโคราชจะถือว่าแมวสีสวาดเป็นแมวแห่งโชคลาภเป็นแมวทำโชค เนื่องจากปลายขนจะมีสีบรอน หมายถึงทรัพย์สินเงินทอง และนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ มงคลแก่ผู้เลี้ยง สีมีลักษณะเหมือนกับพืชและผลไม้ มีชื่อว่า สวาดจะมีสีเทาอมเขียว ตาเปลี่ยนไปตามอายุตอนเป็นลูกแมวตาจะมีสีฟ้าแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม เมื่อโตขึ้น และจะเปลี่ยนเป็นสีสดใสเมื่อโตเต็มที่ตาจะมีอยู่ 2 สี สีเขียวมรกต หมายถึง ความอุดมของพืชพันธุ์ธัญญาหาญ และสีทองหรือทองคำ หมายถึง รวงข้าวตอนแก่ ส่วนหน้าตาของแมวสีสวาดคล้ายกับรูปหัวใจ คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า แมวสีสวาดเป็นแมวนำโชคลาภของคนโคราช และคนเลี้ยงทั่วๆไป จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิมงคลแก่ผู้เลี้ยง แมวสีสวาดเคยประกวด ชนะเลิศในระดับโลกมาแล้วในปี 2503 อเมริกา เป็นแมวตัวเมียชื่อว่าสุนัน และเป็นที่นิยม ของชาวต่างประเทศมาก จึงนับว่าแมวไทยได้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศเป็นอันมาก











ต้นสวาด ดอกสวาดและลูกสวาด






แมวสีสวาด 

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สะบ้าไม้เถาคลาสสิคในป่าใหญ่

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ถ้าจะถามว่าไม้เถาสวยคลาสสิคในป่านึกถึงอะไร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเถากระไดลิงที่ชอบตัดเอามาตกแต่งนั่นนี่นู่น ( แต่เราไม่ชอบเลยไปตัดเขามา แต่งแล้วก็ไม่เห็นจะสวยซักเท่าไหร่ ) ไม้เถาสวยๆรูปร่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีหลายชนิด แต่วันนี้เราขอพูดถึง สบ้า ไม้เถาสุดคลาสสิกในป่าใหญ่
ในอินเตอร์เน็ทมีการพูดถึงสะบ้าเพียงเล็กน้อยซึ่งน่าแปลกเพราะเวลาไปเที่ยวตามอุทยานแห่งชาติ ที่ไหนๆ น่าจะผ่านตาไม้ต้นนี้ แต่ไม่ค่อยพูดถึงกัน เราลองมาดูความสวยของเขา ตั้งแต่ ยอดอ่อน เถา ยันฝัก กัน แถมประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย เผื่อใครมีที่เยอะๆ น่าเอาไปปลูกดูบ้าง ทำเป็นสวนป่า ค่ายลูกเสือล่ะเหมาะเชียว
ยอดต้นสะบ้า สวย น่ารัก ทั้งสีและฟอร์ม จากเขาแผงม้า วังน้ำเขียว
เถาสะบ้าเลื้อยขึ้นต้นไม้ ดูลีลาเขาซิ บิดเกลียวมีสันมีเหลี่ยม คลาสสิกสุด ๆ
ดูเขาสิ ไปเห็นที่ไหนก็จำได้ บิดเกลียว ตั้งเป็นสัน สวยมาก
อันนี้เป็นฝักสะบ้าลายจากเขาสลัดได วังน้ำเขียว  ส่วนฝักสะบ้ามอญหาตามเน็ทเอาพอมีให้เห็น

ฝักสะบ้าและเมล็ดสะบ้ามีประโยชน์หลายอย่าง และความสวยงามแปลกตาทำให้นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นของตบแต่งบ้าน ดูดีทีเดียวแหล่ะ  มาอ่านข้อมูลเรื่องราวของสะบ้ากัน
สรรพคุณเภสัช
สะบ้ามอน สะบ้าดำ สะบ้าลาย สะบ้าเลือด รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง หิด กลากเกลื้อน (สุม) แก้ไข้พิษ แก้พิษร้อน แก้ไข้เชื่อมซึม
ที่มา  http://thrai.sci.ku.ac.th/node/1349
สะบ้า
ชื่อเครื่องยา
สะบ้า
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
สะบ้ามอญ
ได้จาก
เมล็ด
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
สะบ้า
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)
สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์
Entada phaseoloides (Linn.) Merr.
ชื่อพ้อง
E.scandens Benth., E gigarlobium DC., E.schefferi Rodl. Mimosa scandens Linn.
ชื่อวงศ์
Mimosaceae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เป็นพืชจำพวกเถา มีฝักขนาดใหญ่มาก ฝักแบนยาวมีรอยคอดตามแนวเมล็ดกลมๆ กว้าง 3-5 นิ้ว ยาว 2-4 ฟุต เมล็ดในกลมแบนหนา กว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว เปลือกเมล็ดแก่หนาแข็ง มีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเมล็ดกลม แบน ขนาดใหญ่ เนื้อในเมล็ดสีขาวนวลแข็งมาก เมล็ดมีรสเมาเบื่อ


ฝักสะบ้า
เครื่องยา เมล็ดสะบ้า
เครื่องยา ลูกสะบ้า
เครื่องยา ลูกสะบ้า
เครื่องยา ลูกสะบ้า

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: เมล็ดมีรสเมาเบื่อ เนื้อในเมล็ด ใช้ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พยาธิ แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง แก้หืด แก้เกลื้อน แก้กลาก ใช้เมล็ดในสุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทาน แก้พิษไข้ตัวร้อน แก้ไข้ที่มีพิษจัดและเซื่องซึม เนื้อในเมล็ดคั่วให้สตรีท้องคลอดกินจะทำให้คลอดง่าย ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้รักษาแผลฝีหนอง
ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้น้ำมันจากลูกสะบ้า โดยนำเนื้อในมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว บอนท่า และกำมะถัน ใช้ทารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
เมล็ดพบสาร triterpenoid entagenic acid, เมล็ดในพบสาร physostigmine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล

ที่มา  www.thaicrudedrug.com/

สรรพคุณและประโยชน์
 -ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่นแกง(ปะหล่อง,ไทใหญ่)
-ยอดอ่อน นำไปลวกกินจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
-ยอดอ่อน รับประทานสดหรือนำลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
-ลำต้น ใช้ดูดกินน้ำเวลากระหาย(เมี่ยน)
- ยอดอ่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย(คนเมือง)
-ผล นำมาผ่าเอาส่วนที่เป็นใบเลี้ยงมาบด คั่ว นำมาทำยาลุ้งดำโดยปั้นเป็นลูกกลอน กิน 3 เม็ด แก้อาการปวดมวนท้อง(ไทใหญ่)
- เมล็ด เป็นของเล่นเด็ก โยนลูกสะบ้า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ที่มา เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สะบ้าดำ, สะบ้าแดง

เบ้งเก่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หมักบ้าลืมดำ (สุโขทัย), มะบ้าแมง (เชียงใหม่), แฮนเฮาห้อม (เลย), ยางดำ (โคราช), สะบ้าแดง, สะบ้าเลือด
Mucuna collettii Lace. LEGUMINOSAE

เป็นไม้เถาขนาดกลาง เถามักบิดไปมา ใบรูปไข่ ฝักเล็กยาวกว้างราว 2-3 นิ้ว มีเมล็ด 7-8 เมล็ด เมล็ดกลมแบน ผิวมันแข็งขนาดราว 1 นิ้ว สะบ้าดำสีดำมัน สะบ้าแดงสีแดงสด เนื้อในขาวนวลแข็ง เกิดตามป่าดงดิบเขา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ สะบ้าดำและสะบ้าแดง มีสรรพคุณเหมือนกัน

เมล็ด รสเมา ปรุงยาฆ่าเชื้อโรค พยาธิผิวหนัง เช่น หิด เหา กลาก เกลื้อน แก้ผื่นคัน แก้มะเร็งคุดทะราด เผาเป็นถ่านรับประทานแก้พิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษร้อน

ที่มา http://www.songkhlaportal.com/forums/index.php?topic=566.30
ยาแก้หิด
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เมล็ดในน้อยหน่า กำมะถัน ลูกกระเบา ลูกกระเบียน ลูกสะบ้ามอญ

ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/217048


Pic_192943
เมล็ดสะบ้า
" สมัย เป็นเด็กบ้านนอกจำได้ว่า คุณยาย มีวิธี รักษาเส้นผมให้แข็งแรงและดกดำเป็นเงางามอยู่เสมอ ด้วยวิธีธรรมชาติแบบง่ายๆ คือ นำเอาต้นหรือกิ่งก้านของ “สะบ้ามอญ” ที่ยังไม่แก่นัก กะจำนวนตามที่จะ ใช้ในแต่ละครั้ง ทุบด้วยด้ามขวานหรือท่อนไม้จนบุบแตกแล้วผึ่งลมพอหมาด นำไปตีขยี้กับน้ำในกะละมังจะเกิดฟองลื่นเหมือนกับฟองสบู่
จากนั้น นำเอาน้ำดังกล่าวชโลมบนเส้นผมให้ทั่วๆ ขยี้เกาหนังศีรษะเหมือนกับการสระผมทั่วไปจนพอใจแล้วล้างออก จะทำกี่ครั้งก็ได้ตามความพอใจ เมื่อใช้ผ้าเช็ด เส้นผมให้แห้งจะพบว่ามีกลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง ดกดำเป็นเงางาม ไม่แตกปลาย และไม่เป็นรังแคคันหนังศีรษะ ซึ่งในยุคสมัยนั้นเราจะสังเกตพบว่า คนเฒ่าคนแก่ เส้นผมจะหงอกช้าและผมดกไม่ร่วงง่ายเหมือนกับคนในยุคปัจจุบัน ก็ เพราะคนโบราณรู้จักนำเอาธรรมชาติมารักษานั่นเอง
สะบ้ามอญ หรือ ENTADA SCANDENS, CENTH อยู่ในวงศ์ MIMOSEAE เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ ลำต้นแบนและมักบิดเป็นเกลียว ดอก ออกเป็นช่อกระจุก สีขาวอมเหลือง “ผล” เป็นฝักยาว มีเมล็ด 5-7 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม รูปทรงคล้ายสะบ้าหัวเข่า ในเทศกาลสงกรานต์ชาวมอญนิยมเอาเมล็ดทอยเล่นกันสนุก เรียกว่า “เล่นสะบ้า” จึงถูกเรียกชื่อว่า “สะบ้ามอญ” ดังกล่าว พบขึ้นตามป่าราบทุกภาคของประเทศไทย
นอกจาก ต้นและกิ่งก้านใช้สระผมช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางาม เส้นผมแข็งแรง ไม่เป็นรังแคคันหนัง ศีรษะแล้ว ลำต้นกิ่งก้านยังใช้เป็นยาขับพยาธิผิวหนัง ได้ เมล็ด แก้โรคผิวหนัง โดย ใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น หากนำเมล็ดไปสุมไฟจนเป็นถ่าน กินแก้พิษไข้ได้
สะบ้ายังมีอีก 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่ขนาดเมล็ดกับขนาดของฝักเท่านั้น คือ “สะบ้าลาย” ชนิดนี้จะมีเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก ไม่นิยมนำไปใช้เป็นสมุนไพร ชนิดที่ 2 คือ “สะบ้าดำ” ชนิดนี้มีเมล็ด 7-8 เมล็ดต่อฝัก แต่ขนาดของเมล็ดและขนาดของฝักจะเล็กกว่า “สะบ้ามอญ” นิยมเอาเมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หิด เหา ผื่นคัน และโรคผิวหนัง ชนิดสุดท้าย ได้แก่ “สะบ้าเลือด” ชนิดนี้เปลือกเมล็ดจะแข็งมาก พบขึ้นทางภาคเหนือ นิยมนำไปหุงเป็นน้ำมันทาแก้กลากเกลื้อน"
ที่มา http://soclaimon.wordpress.com/2011/08/30/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8D-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3/
มีการพัฒนาเถาสะบ้าเป็นแชมพูสระผม ขายในท้องตลาดราคาไม่ธรรมดา
HPA ได้วางตลาดแชมพูที่สกัดจากเถาวัลย์สะบ้านี้ โดยคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่ตกทอดจากบรรพบุรุษมานมนานในการใช้สารที่ได้จากสะบ้านี้ในการชำระล้างร่างกาย ผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้ชำระร่างกาย และสระผม ภายในหนึ่งเดียว คุ้มค่าและประหยัด  ราคาทั่วไป 190 บาท
ที่มา http://hpamedia.blogspot.com/2011/03/syampoo-sintok.html
สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า
(เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ
ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ ? ของผลให้ละเอียด
แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน
ที่มา  http://www.kingopop1.com/Data_Aloe_vera_s.html
นอกจากสรรพคุณและการใช้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นประเพณีของชาวมอญที่เรียกว่าการเล่นสะบ้า 
การเล่นสะบ้า และทะแยมอญ เป็นการละเล่นของชาวมอญที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ ทว่า ปัจจุบันหาดูได้ยาก เนื่องจากเสื่อมความนิยมลงเช่นกัน จึงคงเหลืออยู่เฉพาะหมู่บ้านมอญบางแห่ง เท่านั้น เช่น ที่หมู่บ้านมอญ ตำบลบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ กับที่ปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และปัจจุบัน ณ วัดคลองครุ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น 
การเล่นสะบ้า เดิมนิยมเล่นกันในหมู่หนุ่มสาวมอญ ที่ยังเป็นโสด โดยจะใช้เวลาเล่นตอนเย็น หลังจากว่างงานหรือเสร็จสิ้นการทำบุญสงกรานต์แล้ว จะนัดหมายกัน ณ บริเวณลานบ้านใดบ้านหนึ่ง ภายในหมู่บ้านของตน พร้อมกับแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายหญิงกับชายในจำนวนที่เท่ากัน และใช้ลูกสะบ้า ซึ่งทำด้วยไม้ลักษณะกลม ๆ แบน ๆ สำหรับทอย หรือเขย่งเตะ หรือโยนด้วยเท้าแล้วแต่โอกาส เป็นเครื่องมือประกอบการเล่นกะให้ถูกคู่เล่นของตน เพื่อจะได้ออกมาเล่นกันเป็นคู่ต่อไป
นอกจากนี้ยังเป็นคำใช้เรียกอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่อยู่ตรงเข่ามีลักษณะกลมแบนว่าลูกสะบ้า อีกด้วย ซึ่งมีความสำคัญมาก ใครไม่มีตัวนี้คือยืนเดินไม่ได้
กระดูกสะบ้า หรือ สะบ้าหัวเข่า (อังกฤษ: patella or kneecap) เป็นกระดูกหนารูปสามเหลี่ยม ซึ่งเกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกต้นขาและอยู่คลุมและปกป้องทางด้านหน้าของข้อเข่า กระดูกสะบ้านับเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกนี้ยึดเกาะกับเอ็นกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส (quadriceps femoris) ซึ่งทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า กล้ามเนื้อวาสตัส อินเตอร์มีเดียส (vastus intermedius) เกาะกับฐานของกระดูกสะบ้า และกล้ามเนื้อวาสตัส แลทเทอราลิส (vastus lateralis) กับกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียส (vastus medialis) เกาะกับขอบกระดูกด้านข้างกับด้านใกล้กลางของกระดูกสะบ้าตามลำดับ
กระดูกสะบ้าสามารถวางตัวอยู่อย่างเสถียรได้เนื่องจากมีกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียสมาเกาะปลายและมีส่วนยื่นของคอนไดล์ด้านหน้าของกระดูกต้นขา (anterior femoral condyles) ซึ่งป้องกันไม่ให้ข้อเคลื่อนไปทางด้านข้างลำตัวระหว่างการงอขา นอกจากนี้เส้นใยเรตินาคิวลัม (retinacular fibre) ของกระดูกสะบ้าก็ช่วยให้กระดูกสะบ้าอยูมั่นคงระหว่างการออกกำลังกาย
หน้าที่หลักของกระดูกสะบ้า คือเมื่อเกิดการเหยียดข้อเข่า (knee extension) กระดูกสะบ้าจะเพิ่มกำลังงัดของคานซึ่งเอ็นกล้ามเนื้อสามารถออกแรงบนกระดูกต้นขาโดยการเพิ่มมุมที่แรงของเอ็นกระทำ
การสร้างกระดูกของกระดูกสะบ้าเกิดขึ้นเมื่ออายุ 2-6 ปี แต่ในบางคนอาจไม่พบกระบวนการนี้เนื่องจากความพิการแต่กำเนิด ในจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรมีกระดูกสะบ้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซึ่งไม่เกิดอาการแสดงใดๆ
สำหรับในสัตว์ชนิดอื่นๆ กระดูกสะบ้าจะเจริญเต็มที่เฉพาะในยูเธอเรีย (eutheria; หรือสัตว์ที่มีรก) แต่ในสัตว์พวกมาร์ซูเปียเลีย (marsupial; หรือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง) จะไม่มีการสร้างเป็นกระดูก
ที่มา http://www.bloggang.com/data/c/cmu2807/picture/1248438778.jpg
ยังคงต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้  เพราะแม้แต่สารานุกรมพืชของหอพรรณไม้ ยังพูดถึงแต่สะบ้าลิง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสะบ้ามอญนับว่าแปลกมาก

มีตำรับยาตามคัมภีร์โบราณที่เข้าตัวยาสะบ้าอยู่หลายตำรับ  วันหลังจะรวบรวมอีกที วันนี้หมดสภาพแล้วเอาเท่านี้ก่อน
ปุณณภา  งานสำเร็จ รวบรวม