วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ช่อกัลปพฤกษ์ กับคำอธิฐาน

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา



หน้าตาของกาฝากกาฝาก ( กาฝากที่ขึ้นต้นกาฝากอีกที จะเรียกว่ากาฝากซ้อนกาฝากได้ป่ะ )

ต้นกาฝากโชคร้ายที่โดนกาฝากเกาะ เห็นแล้วอยากหัวเราะ เหนือฟ้ายังมีฟ้า



ดูหน้าตากาฝากกาฝากชัดๆกันอีกซักหน่อย ตำราพ่อผู้ใหญ่วิบูลย์ บอกว่ารูปร่างเค้าคล้ายริบบิ้น ก็จริงนะ



กาฝากต้นกัลปพฤกษ์ ตอนแรกนึกว่าใบเค้า เชอะ หลอกเรา




ใบอ่อนกัลปพฤกษ์ น่ารักดี เขียวหวานเชียว





ถ่ายรูปดอกไม้สวย ๆ ไม่เคยสวยเลย ขี้เกียจถ่ายแล้วอ่ะ




ยังตูมเต่ง


นี่รูปของเค้ารูปนี้สวยดีเราชอบ ยืมมาแบบไม่บอกเจ้าของอ่ะ

กัลปพฤกษ์ที่สำนักงานออกดอกแล้วสวยจัง ธรรมชาติยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์ การให้ที่ไม่เรียกร้องการตอบแทนใด ๆ ถ้าวันหนึ่งเรามีที่เราจะปลูกต้นไม้ทุกต้นไว้ให้ผู้คนได้มาเรียนรู้ศึกษากัน แต่ตอนนี้ต้องไปหาดูตามป่าข้างทางไปก่อนละกัน ถ่ายรูปอยู่ดี ๆ แหมนึกว่าเป็นใบของกัลปพฤกษ์ แต่กลายเป็นใบกาฝากซะนี่ ที่สำนักงานมีต้นกาฝากเยอะมาก ในตำราของพ่อผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิมได้พูดถึง ประโยชน์ของกาฝากทุกชนิดว่าต้มกินหรือตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูลก็ได้ สำหรับโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะกาฝากของกาฝากยิ่งดีสุดยอด เย้ๆๆๆ ไม่อยากจะบอกเรยยยยว่าพึ่งไปเจอกาฝากของกาฝากมาหยก ๆ ที่ป่าละเมาะข้างทางไม่ไกลจากที่ทำงานเท่าไหร่ ยังหัวเราะสมน้ำหน้ากาฝากที่โดนกาฝากขึ้นเลยว่าเป็นไงล่ะ ฮาๆๆ ไม่ยักรูว่าเค้าคือสุดยอดยาตัวหนึ่ง นับถือ ๆ

กลับมาเรื่องกัลปพฤกษ์อีกรอบ ใคร ๆ ที่ชอบไม้มงคลอย่าพลาดต้นนี้ ตำนานมหัศจรรย์จริง ๆ เราขี่มอเตอร์ไซด์ดูไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่จะออกดอกดกงามทุกต้นนะ บางต้นออกดอกหรอมแหรมน่าสงสาร ( เจ้าของ ) ต้นที่เราเห็นออกดอกเต็มต้น คนสวนปลูกไว้ข้างต้นคูณซึ่งเป็นไม้วงศ์เดียวกัน เพราะงี้รึเปล่าเค้าถึงออกดอกงาม แค่ตั้งข้อสังเกตนะ อย่ามาถือสาเราเลย

กัลปพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana Craibวงศ์ : LEGUMINOSAE - CAESALPINIACEAEชื่อสามัญ : Wishing Tree, Pink Showerชื่ออื่น : กานล์ (เขมร-สุรินทร์) ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกนอกสีเทา แตกกิ่งต่ำทอดกิ่งก้านยาวขึ้นสู่ข้างบน เวลาออกดอกสวยงามมาก เพราะในระยะนี้ต้นไม้จะทิ้งใบจนหมด มีแต่ช่อดอกออกแน่นเป็นกลุ่มตลอดกิ่งและติดทนอยู่ได้หลายวัน ชอบขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้งภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางครั้งพบขึ้นอยู่บนเทือกเขาหินปูน ใบ เป็นช่อ ยาวถึง 35 ซม. ใบย่อยมี 5-6 คู่ เป็นรูปบรรทัดสั้นๆ ยาว 4.5-8.5 ซม. กว้าง 1.7-3.0 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่ง มีขนละเอียดอ่อนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ด้านท้องใบจะมีขนหนาแน่นกว่าด้านหน้าใบ ก้านใบย่อยสั้นมากยาวเพียง 2 มม. ดอก เกิดบนช่อแบบไม่แตกกิ่งก้าน ยาว 4.0-7.5 ซม. ออกมาตามกิ่งก้าน ตลอดกิ่งมีใบประดับแทรกชัดเจน ก้านดอกยาวประมาร 6 ซม. ดอกสีชมพูเมื่อเริ่มบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อๆ จนถึงสีขาว ระยะนี้บริเวณโคนต้นจะเต็มไปด้วยกลีบดอกสีขาวที่ทะยอกันร่วงหล่นจากต้น กลีบรองดอกยาว 9-12 มม. กลีบดอกแยกจากกันเป็นอิสระ แต่ละกลีบมีขนาดเกือบเท่าๆ กัน เป็นรูปไข่ยาว 3.5-4.5 ซม. กว้าง 1.2-2.5 ซม. ปกคลุมด้วยขนละเอียดบางๆ ทั้ง 2 ด้าน ที่ฐานกลีบดอกจะคอดเข้าหากันเป็นส่วนของก้านกลีบดอกสั้นๆ ยาวเพียง 5 มม. เกสรผู้มีขนาดยาวไม่เท่ากัน มีอยู่ 3 อัน คล้ายคลึงกับกัลปพฤกษ์ ได้แก่ C. agnes (de Witt) Brenan และ กาลปพฤกษ์ C.javanica L. จึงทำให้มีผู้เข้าใจไขว้เขว เรียกชื่อสามัญสับสน ปะปนกันไป C. agnes มีเขตกระจายพันธุ์ อยู่ในแถบอินโดจีน แตกต่างกับกัลปพฤกษ์ตรงที่ช่อดอกแยกแขนง ดอกใหญ่กว่า และสีเข้มกว่า ส่วน C.javanica นั้น มีเขตกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทยลงไปถึงมลายู และอินโดเนเซีย แตกต่างกับกัลปพฤกษ์ตรงที่ฝักแก่ไม่มีขนปกคลุม ใบย่อยมีจำนวนคู่มากกว่า (6-15) คู่ และกลีบรองกลีบดอกมีขนาดสั้นประมาณ 5 มม. เท่านั้น ทั้งสองชนิดนี้เวลาออกดอกไม่ทิ้งใบ และลำต้นเมื่อยังมีอายุน้อยจะมีหนามแข็งๆ ตามลำต้น เกิดจากกิ่งที่ชะงักงัน
ประโยชน์ : เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาดใช้ฟอกหนัง ฝัก ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน ถือเป็นไม้มงคลที่น่าหามาปลูกตามความเชื่อที่ว่า "บ้านเรือนใดปลูกกัลปพฤกษ์ไว้จะมีโชค มีชัย"
ที่มาข้อมูลบางส่วน : ข้อมูลพรรณไม้ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

อ่านตำนานเค้าซะก่อน อลังการมากกกกกกก
กัลปพฤกษ์ ต้นไม้สารพัดนึก จากข้อมูลในพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้พูดถึงเรื่องกัลปพฤกษ์ไว้ว่า “ตามคติโบราณเชื่อกันว่า ต้นกัลปพฤกษ์มีอยู่ในแดนสวรรค์ หากผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ก็อาจจะไปนึกเอาจากต้นไม้นี้ได้ ดังนั้น สมัยโบราณจึงได้มีการทำรูปแบบจำลองต้นกัลปพฤกษ์ต้นไม้สารพัดนึกขึ้น โดยเกี่ยวเนื่องกับงานที่เป็นพิธีหลวง บางโอกาสเพื่อใช้เป็นที่ติดเงินปลีกสำหรับทิ้งทานให้แก่คนยากจน ตัวอย่างเช่น งานพระราชทานเพลิงพระศพหรือศพ เช่น การพระราชทานเพลิงศพท้าวสมศักดิ์ ที่วัดสุวรรณาราม ในรัชกาลที่ 1 มีหมายรับสั่งว่า “อนึ่ง ให้สมุห์บัญชีจัตุสดมภ์เบิกไม้ไปทำโรงโขนโรงหุ่น แล้วให้จัดแจงต้นกัลปพฤกษ์ไม้เสียบลูกกัลปพฤกษ์ แลกระไดขึ้นต้นกัลปพฤกษ์ให้พร้อม” กับ “ให้เกณฑ์ผลมะกรูด ผลมะนาว ขุนหมื่นเข้าส้มทิ้งทาน ตำรวจรักษาต้นกัลปพฤกษ์วันละ 2 ต้น” ทั้งนี้ โครงพุ่มของต้นกัลปพฤกษ์ โดยทั่วไปมักทำเป็นโครงไม้ผูกเป็นพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ แต่ละชั้นจะติดลูกมะนาว มะกรูด ซึ่งเจาะให้เป็นรูใส่เงินปลีกไว้ข้างใน ใต้พุ่มทำยกพื้นขึ้นเสมอระดับตา ใช้เป็นที่ยืนทิ้งทาน เมื่อถึงเวลาทิ้งทาน พนักงานซึ่ง “นุ่งสมปักลายเสื้อครุย สวมลอมพอก” จะพาดกระไดขึ้นไปยืนอยู่บนยกพื้นใต้พุ่มต้นกัลปพฤกษ์ แล้วดึงลูกส้ม มะนาว มะกรูด ที่เสียบปลายไม้ที่เหลาเรียวยาวคล้ายคันเบ็ด วัดเหวี่ยงให้ลูกส้มปลิวไปตกห่างๆ ต้นกัลปพฤกษ์ คนที่รออยู่ข้างล่างก็จะกลุ้มรุมเข้าชิงลูกส้มกันอย่างสนุกสนาน กัลปพฤกษ์หรือต้นไม้สารพัดนึกจำลองนี้ จัดเป็นสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วยศิลปลักษณะประเภทหนึ่ง เป็นประเพณีนิยมที่มีแต่โบราณ แล้วค่อยเสื่อมความนิยมลงในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ต่อมาในระยะหลังๆ ก็ยังจัดทำต้นกัลปพฤกษ์จำลองขึ้นอีก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานศพแล้ว แต่จะเป็นงานเทศกาลรื่นเริง เช่น ปีใหม่ ก็จะนำสลากของขวัญไปติดไว้ที่ต้นกัลปพฤกษ์ ให้ผู้ร่วมงานได้สอยกัลปพฤกษ์รับของขวัญกันเป็นที่สนุกสนาน สำหรับปัจจุบัน ต้นไม้ที่เรียกกันว่า กัลปพฤกษ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia bakeriana Craib อยู่ในวงศ์ Leguminosae มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันต่างไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย คือ กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ) เป็นต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงราว 12-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่เรียงสลับมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน และจะทิ้งใบหมดยาม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน เป็นไม้ขนาดเล็กที่มีดอกดกมาก ออกเป็นพวงห้อยลง หรือเป็นช่อตั้งขึ้นตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกมี 5 กลีบมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่ตรงกลาง ออกดอกสะพรั่งทั่วทุกกิ่งก้าน แลดูสวยงามไปทั้งต้น มีกลิ่นหอม ยามแรกบานเป็นสีชมพูอ่อนสดใสและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ไปเรื่อยๆ จนใกล้ร่วงโรย ส่วนผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 20-30 ซม. ภายในมีเมล็ดแบนๆ กลมรีสีน้ำตาลเป็นมันเรียงตัวอยู่ราว 30-40 เมล็ด เนื่องจากกัลปพฤกษ์มีดอกดกสวยงาม จึงมักปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและถนนหนทางต่างๆ แต่ประโยชน์ทางด้านพืชสมุนไพรก็มีเช่นกัน โดยเฉพาะเนื้อในฝัก ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ, เมล็ด ใช้บำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น หืด ริดสีดวง แน่นหน้าอก ขับลม โลหิตพิการ ถ่ายพยาธิ และแก้ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง และร่างกาย เป็นต้น ปัจจุบัน ต้นกัลปพฤกษ์เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดขอนแก่น
ปุณณภา งานสำเร็จ  เรื่อง/ภาพ