วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กระแจะ,ตานกกรด,ช้างน้าว ทนาคาเมืองไทย ตอนที่ ๑

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา




แม่ค้าพม่ากำลังสาธิตวิธีฝนแท่งไม้ทนาคากับแป้นหินที่หน้าตาคล้าย ๆ ที่รองโม่แป้งของเรา จากเวปไซต์http://www.oceansmile.com/forum2/data/1/1132-5.html






สาวเล็กสาวใหญ่ในพม่าปะแป้งทนาคาวิถีชีวิตที่พบเห็นทั่วไปและสินค้าทนาคาที่แปรรูปหลากหลายในพม่าภาพจากเวปไซต์ http://niciuzza.exteen.com/20090409/entry

ใครไปเที่ยวประเทศพม่าหรือมีโอกาสเห็นสาวพม่าคงคุ้นตากับข้างแก้มที่มีรอยประแป้งเป็นลวดลายต่าง ๆ ( ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่ทาเกลี่ยดี ๆ ให้เนียนเรียบร้อย ) สำนวนผิวพม่านัยน์ตาแขก คงทำให้เราสนใจวิธีดูแลผิวพรรณแบบสาวพม่ากันบ้างและคงอดที่จะซื้อทนาคา ที่มีทั้งแบบเป็นท่อน ๆ ขนาดเล็กใหญ่ขายพร้อมหินฝน รึ แบบเป็นผงที่ไม่รู้ว่าจะผสมอะไรเข้าไปบ้าง เดินป่าเมืองไทยถึงรู้ว่าไม้ชนิดนี้เมืองไทยก้อมีแต่เราเรียกเค้าว่า กระแจะ ( คนโบราณ ) พญายา หรือภาคอีสานเรียกตุมตัง ไม่นับไม้อีก ๒ ชนิดที่มีสรรพคุณนำเนื้อไม้มาฝนทำเป็นแป้งทาผิวได้เหมือนกัน คือ ตานกกรด และช้างน้าว วันนี้เอาเรื่อง กระแจะ หรือ พญายา ก่อนละกัน กระแจะเป็นไม้มีเอกลักษณ์ที่ใบ ส่วนใหญ่เห็นปลูกตามบ้าน จนได้ไปเจอในป่าเป็นกอขนาดใหญ่อยู่ที่อำเภอห้วยแถลง ( อ่านว่า ห้วย-ถะ-แหลง )

กระแจะ

กระแจะ สมุนไพร กระแจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 1 - 2 คู่ แกนช่อใบและก้านช่อใบมีกลีบแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง ใบย่อยรูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวตรงข้ามกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กระแจะ กระแจะจัน ขะแจะ (ภาคเหนือ), ตุมตัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), พญายา (ภาคกลาง, ราชบุรี), พินิยา (เขมร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ต้น สมุนไพรกระแจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง แต่แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทา ขาวอมเหลือง ผิวเรียบ มักมีหนามแข็งยาวๆ ทั่วไป เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน ตามกิ่งมีหนามแหลมแข็ง รูปทรง (เรือนยอด) รูปทรงพุ่มรีหรือกรวยต่ำ ทึบ
ใบ ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 1 – 2 คู่ แกนช่อใบและก้านช่อใบมีกลีบแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง ใบย่อยรูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวตรงข้ามกัน ขนาดใบ ย่อย 0.5-2.5×1-8 ซม. เนื้อใบบางเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ส่องดูจะมีจุดใหญ่ๆ กระจายทั่วไป เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอมส้มอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้นๆ
ดอก ดอกสมุนไพรกระแจะออกเดี่ยวแต่จะรวมเป็นกระจุก ตามกิ่งเล็กๆ มีขนาดเล็ก ขนาดยาวประมาณ 5 มม. สีขาวหรือขาวอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกช่องเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ผล แบบผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร มีเนื้อเยื้อบางๆ หุ้มผลอ่อนสีเขียว พอแก่จัดออกสีม่วงคล้ำ ผลแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม

กระแจะ สมุนไพร ใบสมุนไพรกระแจะส่องดูจะมีจุดใหญ่ๆ กระจายทั่วไป เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอมส้มอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้นๆ
สรรพคุณของสมุนไพร :
แก่น แก่นของกระแจะใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง)
ลำต้น ใช้กระแจะต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน
เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส
ประโยชน์ด้านอื่นๆ :
ไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องหอมประทินผิวแบบโบราณ ในพม่ายังนิยมใช้เปลือกและไม้ฝนผสมกับไม้จันทน์ (sandalwood) จนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณภาพ  ใบกระแจะ  จาก  magnoliathailand.com
ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง

ข้อมูลเพิ่มเติมจากนายเกษตร คอลัมนิสต์ ชื่อดังประจำหนังสือพิมพ์  ไทยรัฐ
กระแจะ” แก้ลมบ้าหมูได้ [13 ต.ค. 49 - 17:01]


ผู้อ่าน จำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าต้น “กระแจะ” เป็นต้นเดียวกับที่คนโบราณนำไปทำเป็นแป้งประทินโฉม ซึ่งขอยืนยันว่า ไม่ใช่และเป็นคนละต้นกัน ดังนั้น จึงนำเอาเรื่องราวของต้น “กระแจะ” เสนอในคอลัมน์ให้ผู้สงสัยได้กระจ่างไม่คิดผิดอีก

สรรพคุณทางยา ใบ ต้มน้ำดื่มแก้คนเป็นโรคบ้าหมู (โรคลมชัก สมัยก่อนเป็นกันมาก) ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายและ แก่น ใช้ดองกับสุราขาว 40 ดีกรี กิน วันละ 3 เวลา ครั้งละ 1 เป๊ก ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นยาแก้กระษัย โลหิต พิการ และ ดับพิษร้อน ได้เด็ดขาดนัก


จะเห็นได้ว่ามีประเด็นขัดแย้ง เรื่องต้นกระแจะต้นนี้ใช้เครื่องสำอางประทินผิวในสมัยโบราณหรือไม่ คงต้องรวบรวมข้อมูลกันต่อไป

สมุนไพรแก้ขนคุด

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


สมุนไพรรักษาอาการขนคุด
พลูคาว ใช้รูปเค้ารอไปพลางๆ ก่อน ยังหารูปไม่เจอ
พุดรา นี่ก้อยืมรูปเค้า ต้องไปหาเก็บรูปก่อน

ภาพแสดงการเปรียบเทียบ รูขุมขนปกติ กับ ภาวะขนคุด


ภาพแสดงชั้นของผิวหนังและต่อมต่าง ๆ





ผู้ป่วยโรคขนคุด จะมีอาการเหมือนขนลุกตลอดเวลา

ได้มีโอกาสอบรมให้กับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเรื่องเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย เมื่อวันที่ ๒๑-๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ จำนวน ๗๐ คน พี่ๆน้องๆของเราน่ารักมากตั้งอกตั้งใจกันดี เจอโจทย์จากน้องๆที่ถามมาแต่ละข้อ เก็บไปคิดหลายวันเลย โรคภัยทุกวันนี้เป็นกันแปลก ๆ นะ มีคำถามมาว่า สมุนไพรแก้ขนคุดใช้อะไร ทำงานสถานีอนามัยมา ๒๐ ปีก้อยังไม่เคยเจอคนไข้ด้วยโรคนี้ ถามน้องกลับไปว่าคิดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร น้องบอกว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อ งั้นเอางี้ เล่นbroad spectum ไปเลยแล้วกัน เอาสมุนไพรตัวที่ออกฤทธิ์กว้าง ๆ ครอบคลุมทุกเชื้อเข้าว่า เลยแนะนำพลูคาวให้เค้าไปลองกินสดหรือต้มกินดู

กลับมาค้นตำรายาตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ของอาจารย์ วุฒ วุฒิธรรมเวช ที่ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ดังนี้

ตำรับยากินแก้ผม,ขนพิการ ประกอบด้วย รากส้มป่อย รากพุดลา รากมะกรูด เสมอภาค ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละหนึ่งถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้งเช้าเย็น ก่อนอาหาร

(คำอธิบาย คำว่าลาในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดอกไม้ที่มีกลีบชั้นเดียว ไม่ซ้อน เช่น มะลิลา พุดลา รักลา )

สรรพคุณ แก้ผมพิการ ให้ผมร่วง แก้ขนพิการ เจ็บตามขุมขน ให้ขนร่วง
รากส้มป่อย รสขม แก้ไข้
รากพุด รสขมเย็น แก้ไข้ แก้ร้อนใน
รากมะกรูด รสจืดเย็น แก้ไข้แก้ไข้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน

อ่านอาการแล้ว เอ...หรือเราก้อเป็นแฮะ

ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคขนคุด

โรคขนคุด (Keratosis pilaris)
เป็นอีกอย่างที่คล้ายกับ สิว มากแต่ไม่ใช่สิว บางคนอาจจะเคยเป็นเวลาลูบไปตามขา สะโพก แขนแล้วไม่เรียบเป็นตุ่มๆแข็งๆ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าแต่ในบางคนอาจเป็น ยังไม่เจอสาเหตุที่แน่นอนว่าเกิดจากอะไร
โรคขนคุด
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป มีลักษณะรูขุมขนเป็นตุ่มแข็งนูนขึ้นมาบนผิวให้สัมผัสขรุขระเมื่อลูบดู และแลดูเหมือนหนังไก่ ส่วนใหญ่พบได้บริเวณแผ่นหลัง และต้นแขนด้านนอก (บริเวณท่อนแขนก็พบได้บ้าง) และยังพบได้บริเวณต้นขา สีข้าง สะโพก น่อง น้อยครั้งที่จะพบบริเวณผิวหน้า และอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น สิว
การจัดแบ่งประเภท
คนที่เป็นส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้ใหญ่ 40-50% และประมาณ 50-80% เป็นวัยหนุ่มสาว และจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และความรุนแรงก็จะมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงมาก โรคขนคุด นั้นมีอยู่หลายประเภท ตั้งแต่ Keratosis pilaris rubra คือ ขนคุด ที่มีอาการอักเสบ แดง, alba คือ ขนคุด ที่เป็นตุ่มแข็งขึ้นมาบนผิวหนังแต่ไม่ระคายเคือง, rubra faceii คือเป็นผื่นแดงบริเวณแก้ม - - ส่วนใหญ่คนที่เป็น โรคขนคุด มักไม่รู้ว่าตนเองเป็นอยู่ (หากว่ามีอาการเล็กน้อย) คนมักจะสับสนเข้าใจว่าเป็นสิว เนื่องจาก ขนคุด นั้นมีลักษณะคล้ายกับเวลาที่ขนลุก เมื่อสัมผัสจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ บนผิวหนัง
วิธีการรักษา
ขณะนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาอาการ ขนคุด แต่ก็มีวิธีที่ได้ผลระดับหนึ่งที่จะทำให้อาการดูน้อยลง ผิวบริเวณที่เป็น ขนคุด จะดูดีขึ้นและอาจหายไปได้ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านพ้นไป - - การขัดและผลัดเซลล์ผิว, ครีมบำรุงผิวเข้มข้น, lac-hydrin, และโลชั่นที่มีส่วนผสมของ AHA หรือ Urea อาจช่วยบำรุงผิวบริเวณที่มีปัญหาให้ดีขึ้น เนียนนุ่มขึ้นได้บ้างชั่วคราว การรับประทานยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ ก็ช่วยได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผลต่อตับ อาจทำให้เกิดพิษได้ และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจรับประทานวิตามินเอ เมื่อหยุดยาก็มัก กลับมาเป็นอีก การทายากรดวิตามินเอได้ผลบ้าง แต่ไม่ดีเท่ายากิน หลัง ๆ มีการใช้ laser ในการกำจัดขนและมีการอ้างว่า ได้ผลได้การรักษา ขนคุด ด้วย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันชัดเจน
การเกาและแกะขนคุดนั้นจะทำให้เป็นแผลแดง และบางครั้งก็ทำให้เลือดออก การแกะเกาบ่อย ๆ จะทำให้กลายเป็นแผลเป็นรอยดำ การสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่ให้รัดบริเวณที่เป็น ขนคุด ก็จะช่วยลดการเกิด ขนคุด ใหม่ ๆ ได้ เพราะหากสวมใส่เสื้อผ้าคับ ๆ ก็จะเกิดการเสียดสี เปรียบเสมือนการเกา ก็จะทำให้ยังเป็น ขนคุด เพิ่มได้อีก

ข้อมูลจาก

http://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1825&pagetype=articles

ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระเจ้าห้าพระองค์

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา




เรารู้จักเมล็ดของต้นนี้ตามงานออกร้านต่าง ๆ ตอนแรกนึกว่าเค้าทำเอา ตอนหลังถึงรู้ว่าธรรมชาติเป็นมาอย่างนี้เอง เจอต้นจริงสูงใหญ่มาก อยู่ที่เขาซับลังกาลพบุรี เห็นว่าที่เขาพังเหยชัยภูมิต้นใหญ่กว่านี้ แต่ตามป่าก้อหายากจริง ๆ ยิ่งเมล็ดมันยิ่งหายากไปใหญ่ไม่ทันคนเก็บไปขาย กับกระรอกกระแตที่แทะเอาส่วนที่เหมือนพระพุทธรูปออกไปหมด บางอันมี ถึงหกพระองค์ เราว่าธรรมชาติเค้าสุดยอดเน๊าะ




คนไทยแต่โบราณมักจะมีของขลังชนิดหนึ่งติดตัว คือ “พระเจ้าห้าพระองค์”คำว่าพระเจ้าห้าพระองค์ เป็นคำโบราณ มาจาก คาถาพระเจ้าห้าพระองค์เป็นคาถาเรียกกำลัง เมื่อบริกรรมแล้ว จะเสมือนว่า มีพระเจ้าห้าพระองค์สถิตยที่สองแขนสองขา และกระหม่อม เมื่อต่อสู้จะเกิดกำลังวังชาไม่เหนื่อยง่าย บางที่พบว่ามีทางคงกระพันหนังเหนียวด้วยอันว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์ มีอยู่สั้นๆ ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" นั่นเองคาถานะโมพุทธายะนี้ ได้มีการแตกหน่อไปหลายสาขา เช่นกรณีของคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ของหลวงพ่อโสธรบางครั้งมีการใช้เมล็ดพระเจ้าห้าพระองค์เป็นเครื่องรางของขลังคู่กับคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ผลพระเจ้าห้าพระองค์มีลักษณะเป็นวงกลมใหญ่กว่าเหรียญสิบบาทเล็กน้อยเป็นเมล็ดแห้งตัน มีร่องขรุขระ ผิวเปลือกนูนลักษณะคล้ายองค์พระพุทธรูปหรือพระเครื่องห้าร่อง หันพระเศียรชนกันที่ตรงศูนย์กลาง จึงเรียกว่า "พระเจ้าห้าองค์" ถือเป็นของขลังที่มีพุทธคุณโดเด่นทางเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีโชคลาภและโภคทรัพย์อุดมสมบูรณ์ เสริมสิริมงคล และขจัดความชั่วร้ายต่าง ๆ ทำให้แคล้วคลาดจากอันตราย บางคนก็นำเมล็ด “พระเจ้าห้าพระองค์” ไปเข้าพิธีปลุกเสกเพิ่มอิทธิฤทธิ์ในทางอยู่ยงคงกระพันผลพระเจ้าห้าพระองค์เกิดจากผลบุญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในกัปป์นี้ ดังนี้จึงเป็นผลไม้ที่มีดีทางธรรมชาติ ปกติจะมีเทวดาคุ้มครองเสมอ การนำมาปลูกในบ้านเรือน ต้องนิมนต์พระมาชยันโตด้วย ตาดีๆลองหาลูกที่มี 6 หรือ 4 ตา หายากดีคนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า “ผล” ของต้น “พระเจ้าห้าพระองค์” มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรและนิยมใช้กันมาช้านานแล้ว โดยในยุคสมัยก่อนคนไทยเป็นโรค “หิด” กันมาก เมื่อเป็นแล้วจะทรมานมาก เข้าสังคมไม่ได้ คนรังเกียจ ยารักษาหายาก บางคนอยู่ไกลตัวเมือง ไกลสุขศาลาหรือโรงหมอ จึงนิยมใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษา ซึ่ง “ผล” ของ “พระเจ้าห้าพระองค์” ก็มีสรรพคุณรักษาโรค “หิด” ด้วย โดยมีวิธีใช้แบบง่ายๆ คือ เอาผลแห้ง ของ “พระเจ้าห้าพระองค์” ฝนกับหินลับมีด หรือหินฝนยาสมุนไพรผสมกับน้ำให้ข้นแล้วเอาน้ำที่ฝนได้ทาบริเวณที่เป็น “หิด” หรือบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคันชนิดเรื้อรัง โดยทาบ่อยๆ จะทำให้อาการที่เป็นอยู่ค่อยๆทุเลาลงและแห้งหายได้ในที่สุดพระเจ้าห้าพระองค์ หรือ DRA-CONTOMELON DAO อยู่ในวงศ์ ANA-CARDICEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปรีกว้าง มีใบ 6-9 คู่ เมื่อต้นโตเต็มที่จะให้ร่มเงาดีมาก ดอก เป็นสีเหลืองปนเขียว เวลามีดอกจะสวยงามน่าชมมาก “ผล” รูปกลมรีเล็กน้อย แบ่งเป็นพู 5 พู แต่ละพูจะมีรูปคล้ายพระเรียงรอบผลห้าองค์ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า ต้น “พระเจ้าห้าพระองค์”แต่นานวันเข้าต้นพระเจ้าห้าพระองค์กำลังใกล้สูญพันธุ์เต็มที และหาไม่ได้ในป่าโดยทั่วไป ในเทือกเขาพังเหยมีต้นพระเจ้าห้าพระองค์อยู่แค่ 2 ต้น มีอายุกว่าร้อยปี ต้นพระเจ้าห้าพระองค์ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ขยายพันธุ์ไม่ค่อยได้ เพราะเมื่อเมล็ดร่วงลงมาถึงพื้นดิน กระรอกหรือกระแตจะไปเจาะเพื่อกินเนื้อในเป็นอาหาร ทำให้ไม่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ แต่ถ้าอยากจะปลูก ฝน (จรัสสายฝน อุดมทรัพย์ คนรุ่นใหม่ความหวังของหมอพื้นบ้านไทย จากสกล ) บอกเราว่า ต้องแกะตาที่เหมือนพระพุทธรูปออกถึงจะขึ้น