โดย ปุณณภา งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย จังหวัดนครราชสีมา
แม่ค้าพม่ากำลังสาธิตวิธีฝนแท่งไม้ทนาคากับแป้นหินที่หน้าตาคล้าย ๆ ที่รองโม่แป้งของเรา จากเวปไซต์http://www.oceansmile.com/forum2/data/1/1132-5.html
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย จังหวัดนครราชสีมา
แม่ค้าพม่ากำลังสาธิตวิธีฝนแท่งไม้ทนาคากับแป้นหินที่หน้าตาคล้าย ๆ ที่รองโม่แป้งของเรา จากเวปไซต์http://www.oceansmile.com/forum2/data/1/1132-5.html
สาวเล็กสาวใหญ่ในพม่าปะแป้งทนาคาวิถีชีวิตที่พบเห็นทั่วไปและสินค้าทนาคาที่แปรรูปหลากหลายในพม่าภาพจากเวปไซต์ http://niciuzza.exteen.com/20090409/entry
ใครไปเที่ยวประเทศพม่าหรือมีโอกาสเห็นสาวพม่าคงคุ้นตากับข้างแก้มที่มีรอยประแป้งเป็นลวดลายต่าง ๆ ( ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่ทาเกลี่ยดี ๆ ให้เนียนเรียบร้อย ) สำนวนผิวพม่านัยน์ตาแขก คงทำให้เราสนใจวิธีดูแลผิวพรรณแบบสาวพม่ากันบ้างและคงอดที่จะซื้อทนาคา ที่มีทั้งแบบเป็นท่อน ๆ ขนาดเล็กใหญ่ขายพร้อมหินฝน รึ แบบเป็นผงที่ไม่รู้ว่าจะผสมอะไรเข้าไปบ้าง เดินป่าเมืองไทยถึงรู้ว่าไม้ชนิดนี้เมืองไทยก้อมีแต่เราเรียกเค้าว่า กระแจะ ( คนโบราณ ) พญายา หรือภาคอีสานเรียกตุมตัง ไม่นับไม้อีก ๒ ชนิดที่มีสรรพคุณนำเนื้อไม้มาฝนทำเป็นแป้งทาผิวได้เหมือนกัน คือ ตานกกรด และช้างน้าว วันนี้เอาเรื่อง กระแจะ หรือ พญายา ก่อนละกัน กระแจะเป็นไม้มีเอกลักษณ์ที่ใบ ส่วนใหญ่เห็นปลูกตามบ้าน จนได้ไปเจอในป่าเป็นกอขนาดใหญ่อยู่ที่อำเภอห้วยแถลง ( อ่านว่า ห้วย-ถะ-แหลง )
กระแจะ
กระแจะ สมุนไพร กระแจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 1 - 2 คู่ แกนช่อใบและก้านช่อใบมีกลีบแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง ใบย่อยรูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวตรงข้ามกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กระแจะ กระแจะจัน ขะแจะ (ภาคเหนือ), ตุมตัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), พญายา (ภาคกลาง, ราชบุรี), พินิยา (เขมร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ต้น สมุนไพรกระแจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง แต่แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทา ขาวอมเหลือง ผิวเรียบ มักมีหนามแข็งยาวๆ ทั่วไป เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน ตามกิ่งมีหนามแหลมแข็ง รูปทรง (เรือนยอด) รูปทรงพุ่มรีหรือกรวยต่ำ ทึบ
ใบ ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 1 – 2 คู่ แกนช่อใบและก้านช่อใบมีกลีบแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง ใบย่อยรูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวตรงข้ามกัน ขนาดใบ ย่อย 0.5-2.5×1-8 ซม. เนื้อใบบางเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ส่องดูจะมีจุดใหญ่ๆ กระจายทั่วไป เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอมส้มอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้นๆ
ดอก ดอกสมุนไพรกระแจะออกเดี่ยวแต่จะรวมเป็นกระจุก ตามกิ่งเล็กๆ มีขนาดเล็ก ขนาดยาวประมาณ 5 มม. สีขาวหรือขาวอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกช่องเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ผล แบบผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร มีเนื้อเยื้อบางๆ หุ้มผลอ่อนสีเขียว พอแก่จัดออกสีม่วงคล้ำ ผลแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม
กระแจะ สมุนไพร ใบสมุนไพรกระแจะส่องดูจะมีจุดใหญ่ๆ กระจายทั่วไป เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอมส้มอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้นๆ
สรรพคุณของสมุนไพร :
แก่น แก่นของกระแจะใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง)
ลำต้น ใช้กระแจะต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน
เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส
ประโยชน์ด้านอื่นๆ :
ไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องหอมประทินผิวแบบโบราณ ในพม่ายังนิยมใช้เปลือกและไม้ฝนผสมกับไม้จันทน์ (sandalwood) จนถึงปัจจุบัน
ขอขอบคุณภาพ ใบกระแจะ จาก magnoliathailand.com
ปุณณภา งานสำเร็จ เรื่อง
ข้อมูลเพิ่มเติมจากนายเกษตร คอลัมนิสต์ ชื่อดังประจำหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ
กระแจะ” แก้ลมบ้าหมูได้ [13 ต.ค. 49 - 17:01]
ผู้อ่าน จำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าต้น “กระแจะ” เป็นต้นเดียวกับที่คนโบราณนำไปทำเป็นแป้งประทินโฉม ซึ่งขอยืนยันว่า ไม่ใช่และเป็นคนละต้นกัน ดังนั้น จึงนำเอาเรื่องราวของต้น “กระแจะ” เสนอในคอลัมน์ให้ผู้สงสัยได้กระจ่างไม่คิดผิดอีก
สรรพคุณทางยา ใบ ต้มน้ำดื่มแก้คนเป็นโรคบ้าหมู (โรคลมชัก สมัยก่อนเป็นกันมาก) ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายและ แก่น ใช้ดองกับสุราขาว 40 ดีกรี กิน วันละ 3 เวลา ครั้งละ 1 เป๊ก ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นยาแก้กระษัย โลหิต พิการ และ ดับพิษร้อน ได้เด็ดขาดนัก
จะเห็นได้ว่ามีประเด็นขัดแย้ง เรื่องต้นกระแจะต้นนี้ใช้เครื่องสำอางประทินผิวในสมัยโบราณหรือไม่ คงต้องรวบรวมข้อมูลกันต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมจากนายเกษตร คอลัมนิสต์ ชื่อดังประจำหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ
กระแจะ” แก้ลมบ้าหมูได้ [13 ต.ค. 49 - 17:01]
ผู้อ่าน จำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าต้น “กระแจะ” เป็นต้นเดียวกับที่คนโบราณนำไปทำเป็นแป้งประทินโฉม ซึ่งขอยืนยันว่า ไม่ใช่และเป็นคนละต้นกัน ดังนั้น จึงนำเอาเรื่องราวของต้น “กระแจะ” เสนอในคอลัมน์ให้ผู้สงสัยได้กระจ่างไม่คิดผิดอีก
สรรพคุณทางยา ใบ ต้มน้ำดื่มแก้คนเป็นโรคบ้าหมู (โรคลมชัก สมัยก่อนเป็นกันมาก) ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายและ แก่น ใช้ดองกับสุราขาว 40 ดีกรี กิน วันละ 3 เวลา ครั้งละ 1 เป๊ก ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นยาแก้กระษัย โลหิต พิการ และ ดับพิษร้อน ได้เด็ดขาดนัก
จะเห็นได้ว่ามีประเด็นขัดแย้ง เรื่องต้นกระแจะต้นนี้ใช้เครื่องสำอางประทินผิวในสมัยโบราณหรือไม่ คงต้องรวบรวมข้อมูลกันต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น