วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ต้นเสนีนดชื่อไม่เพราะแต่เป็นยาดีมีคุณค่า


ต้นเสนียด

วันนี้สองทุ่มครึ่งโดยประมาณถูกปลุกโดยน้องวัยรุ่นคนหนึ่งที่เข้ามาอ่านบล๊อคเรื่องสบู่เลือดแล้วสนใจเลยโทรมาถามอยากจะร้องอ่ะจ๊ากดัง ๆ เพราะหลับแล้ว ( เวลานอนตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินไปถึงตีสอง) ไม่รู้จะภูมิใจที่มีคนหลงทางมาอ่านเจอรึจะ...ดี เฮ้ออออ


ดีใจที่มีเด็กรุ่นใหม่สนใจสมุนไพรเสน่ห์ของต้นไม้มีมนต์ขลังที่ใครหลุดเข้ามาแล้วต้องชอบ


จริงๆการศึกษาต้นไม้ใหม่ๆถ้าจะให้ดีอ่านหนังสือรึค้นหาเยอะๆแล้วมีไม้ในดวงใจทีละต้นสองต้นแล้วเลือกที่จะดูไปตามความสนใจเพราะป่าแต่ละป่าจะมีไม้เฉพาะของเค้า


ไม้ตัวแรกๆที่เราชอบคือดองดึง ค้างคาวดำและหมอกบ่อวายหลงเสน่ห์ดอกสวยแล้วเราก็เลือกป่าที่น่าจะมีกับบริเวณที่น่าจะพบจากคนนำทาง มันจะง่ายกว่าเยอะถ้าระบุไม้มาว่าต้องการดูต้นอะไร เคยมีน้องจากกระทรวงสาธารณสุขคนหนึ่งเก่งมากเรื่องสมุนไพร(หมอกระดาษ)สอบผ่านใบประกอบโรคศิลปแล้วอยากเห็นว่านขันหมากแล้วจะไปลุยป่าซับลังกาทั้งๆที่น้ำหนักร้อยกว่าโลถ้าอย่างนี้จัดให้ดูป่าง่ายๆตามข้างๆทางแถวเขาแถววังน้ำเขียวก็ได้เพราะป่าซับลังกาเป็นป่าโหดแต่ว่านขันหมากเป็นไม้ชายป่าไม่ต้องขี่ช้างจับตั๊กแตนคือเข้าป่ายากเพื่อหาไม้ง่ายๆ


เรายินดีนะเวลาที่เจอคนสนใจเรื่องนี้ ถ้าพาไปดูได้จะพาไป แต่อยากให้มีไม้ในดวงใจอย่างที่ว่ารู้ป่ะบรรดาเซียนๆน่ะเวลาเข้าป่าเค้าจะตั้งใจเลยว่าไปดูไม้ตัวนี้เห็นแล้วกลับเลยแต่เราอ่ะไม่ใช่เซียนหรอกดูดะจนกว่าขาลากแต่เราจะมีไม้ที่อยากเห็นมากๆเหมือนกันแล้วเลือกป่าเอาถามหาไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอคนที่รู้จักไม้ตัวนี้


เอาเรื่องต้นเสนียดละกันวันนี้


เคยได้ยินผ่านหูบ่อยๆมากระแทกปังตอนไปร่วมกลุ่มหมอพื้นบ้าน๑๐จังหวัดที่อุดรพ่อหมอยาภาคอีสานแกเรียกต้นเสนียดว่าฮูฮาทำเอางงกันพักใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นตัวเดียวกันไม้นี้น่าสนใจเพราะพบในตำรับยาพื้นบ้านอีสานหลายตำรับแต่ไม่เคยเจอในป่าซักวันคงต้องไปหาถามๆดูในป่าแต่มือใหม่อย่างเราแยกเอกลักษณ์ไม่ออกเพราะไม่มีจุดเด่นเลยต้นนี้ไปเจอที่บ้านพ่อหมออำเภอสูงเนินใครจะไปรู้ว่าไม้ต้นนี้เอามาทำเป็นยาแก้ไอที่ชื่อแสนจะคุ้นในทีวี

เสนียด
ชื่ออื่น ๆ : ฮูฮา (เลย), หูรา (นครพนม), เสนียดโมรา , โมรา (ภาคกลาง), กะเหนียด(ภาคใต้),โมราขาว (เชียงใหม่), กุลาขาว, บัวฮาขาว, บัวลาขาว (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Adhatoda, Vassica, Malabar Nut tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adhatoda vasica Ness.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามากมายรอบ ๆ ต้น ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตรใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว แต่ก็ค่อนข้างจะใหญ่สักหน่อย ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบแหลมสอบ ขอบใบเรียบ พื้นใบเป็นสีเขียว และมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5-2.5 นิ้วยาว 3.5-7 นิ้วดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบส่วนยอดของต้น ช่อดอกจะรวมกันเป็นแท่ง ใบเลี้ยงที่รองรับดอกมีสีเขียวเรียงกันเป็นชั้น ๆ กลีบดอกแยกออกเป็นปาก ด้านบนมี 2 แฉกสีขาว ส่วนด้านล่างมี 3 แฉกสีขาวประม่วง เกสรมี 2 อันการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และปักชำเป็นไม้ที่พบมากในป่าเต็งรัง(ป่าไหนน๊อ)
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ และรากสรรพคุณ : ทั้งต้นและราก ปรุงเป็นยาบำรุงปอด และรักษาวัณโรคใบ ใช้ห้ามเลือด หรือเข้ายาหลายอย่างที่เกี่ยวกับเลือด เช่น บำรุงเลือด ฯลฯ แก้ฝี แก้หืด แก้ไอและขับเสมหะซึ่งจะนำเอาน้ำคั้นจากใบสดประมาณ 15 มล. ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำขิงสดก่อนอื่น ๆ

ยาแผนปัจจุบัน มีทำเป็นหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด, ยาน้ำ, ยาสูดดม, ยาน้ำเชื่อม, และยาฉีด มีชื่อทางการค้าว่า "Bisolvon" โดยใช้ อนุพันธ์ของ vasicine คือ N-cyclohexyl-N-methyl (Bromhexine) จะดีกว่าการใช้ vasicine เพราะไม่ทำให้เกิดการระคาย เคืองต่อทางเดินอาหาร Bisolvon ใช้เป็นยาขับเสมหะใน โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ได้ผลดี : ตัวยาของต้นเสนียดนี้เป็นอนุพันธ์ของ Vasicine คือ Bromhexine ซึ่งจะมีฤทธิ์ลดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร จึงใช้เป็นยาขับเสมหะ ในปัจจุบันนี้เป็นยาที่ผลิตออกมาได้หลายรูปแบบ เช่นแบบยาเม็ด แบบยาสูดดม ยาน้ำ ยาฉีด และยาจิบน้ำเชื่อมถิ่นที่อยู่ สารเคมีที่พบ : ในใบพบสาร vasakin vasicinine, และมีอัลคาลอยด์ vasicine ซึ่งจะออกซิไดซ์ให้vasicinone

ศิริพร กลมกล่อม เรื่อง - ภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น