ยอดอ่อนของต้นเปล้า
ใบแก่ของเปล้าใหญ่ตกกระสีสนิมขนาดของใบประมาณ๒คืบขอบใบจัก
จุดสังเกตุที่ชัดเจนของต้นเปล้าคือคือใบแก่สีส้มสวย
เปล้าใหญ่
หลังจากที่ไม่ได้สะพายกล้องคู่ใจออกหาเก็บภาพต้นไม้มาเป็นเดือนๆภาษาสุภาพเรียกว่ารออารมณ์ศิลปินภาษาไม่สุภาพเรียกว่าขี้เกียจตัวเป็นขน พอลมหนาวแรกเริ่มมาเยือนทำให้รู้สึกคึกคักบอกกับตัวเองว่าได้เวลาออกล่าเหยื่ออีกแล้ว
โคราชเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมีพืชหลากหลายชนิดอยู่เป็นจำนวนมาก บางทีไม่จำเป็นต้องเข้าป่าเสี่ยงอันตรายร้อยแปดแค่เลาะเลียบตามข้างทางก็มีไม้แปลกๆเยอะแยะไปหมด
วันนี้จะเล่นไม้ง่ายๆพื้นๆที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ คือต้นเปล้าใหญ่เรารู้จักเปล้าใหญ่ครั้งแรกเมื่อหกเจ็ดปีที่แล้วตอนพาอสม.ทำลูกประคบเพราะในสูตรลูกประคบต้องใช้ใบเปล้า ใบหนาด โดยสรรพคุณของใบเปล้าตามที่สถาบันการแพทย์แผนไทยกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้คือ ถอนพิษผิดสำแดง(ไม่รู้จริงๆว่าแปลว่าอะไรแต่สมัยนั้นท่องตามนี้เป๊ะๆ)นั่นเป็นที่มาที่ทำให้ต้องรู้จักเปล้าใหญ่ไม้พื้นๆข้างทางที่หรอยหรอลงทุกวัน
เปล้าใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton roxburghii N. P. Balakr . วงศ์ : EUPHORBIACEAE ชื่ออื่น : เซ่งเค่คัง คัวะวู เปวะ เปล้าหลวง สกาวา ส่ากูวะ ห้าเยิ่ง
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กผลัดใบ แต่แตกใบเร็ว สูง 4-8 เมตร แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอาจรวมทั้งกิ่งอ่อน มีเกล็ดสีเทาเป็นแผ่นเล็กๆ ปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอก รูปขอบใบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาว 16-19 เซนติเมตร โคนใบมน ส่วนที่ติดกับปลายก้านใบมีตุ่มปรากฏอยู่สองข้าง ปลายใบมน หรือสอบเรียวแหลม เส้นแขนงใบมี 12-16 คู่ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยถี่ ๆ ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ขนาด 0.2-0.3 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือแยกต้น ผล รูปทรงกลมมี 3 พู ผลจะแก่จากปลายช่อลงมาเปลือกของผลจะแตกจากโคนผล เมล็ด ในแต่ละพูจะมีเมล็ดลักษณะรี 1 เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย : พบในที่ดอน กระจายอยู่ทั่วไปในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวไทใหญ่เรียกเปล้าใหญ่ว่าไม้หางเยือง การขยายพันธุ์ๆได้แก่การปักชำราก
ด้านสมุนไพร เปลือกต้น และกระพี้ ช่วยย่อยอาหาร
ใบและลำต้น ต้มน้ำอาบแก้โรคผัวหนังผื่นคัน บำรุงธาตุ แก้ปวดเมื่อยร่างกาย กระจายเลือดลม
เปลือกต้นใบใบ แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ แก้ปวดข้อ ช่วยย่อยอาหาร ลดไข้
ดอกและแก่น ขับพยาธิ
รากขับลม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคันน้ำเหลืองเสีย แก้ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ปวดเมื่อย
ผล ดองสุราดื่มขับเลือดหลังคลอด
เมล็ด เป็นยาถ่าย
เมล็ด เป็นยาถ่าย
ศิริพร กลมกล่อม เรื่อง - ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น