วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กะตังใบเตี้ยไม้เลียดดินแสนสวย

กะตังใบเตี้ยหรือต้างไก่แดง


กะตังใบเตี้ยต้นเลียดพื้นต้องก้มๆหาเวลาเดินป่า


ต้างไก่เตี้ยพบมากในป่าอำเภอบัวลายต้นนี้มีเมล็ด


เราชอบต้างไก่เตี้ยมาก มันต้นเล็กๆแต่มีรายละเอียดในตัวเองน่ารักดี ใบสวย ดอกสวย ฟอร์มต้นสวย

หัวใต้ดินของต้างไก่เตี้ย รูปนี้ยืมมาจากสารานุกรมออนไลน์ ก็ตอนไปเจอไม่รู้ว่าสรรพคุณอยู่ที่หัวไม่ได้ขุดขึ้นมาถ่ายรูปไว้

กะตังใบเตี้ย
วันที่ 3 ตุลาคม 2550
Leea thorelii Gagnep.
Leeaceae
ไม้ลัมลุกอายุหลายปีทอดนอนตามพื้นดินหรืออาจสูงได้ถึง 1 ม. มีหัวใต้ดิน หูใบติดบนก้านใบเป็นปีกแคบๆ กว้าง 0.3-0.5 ซม. ยาว 1-3 ซม. ใบมี 3 ใบย่อยหรือใบประกอบย่อย 1-3 ใบ แกนกลางยาวได้ประมาณ 10 ซม. มีขนละเอียด บางครั้งเป็นปีกแคบๆ ก้านใบยาว 3-10 ซม. ใบย่อยมีหลายรูปแบบ ส่วนมากรูปไข่ รูปขอบขนานหรือเกือบกลม ยาว 3-12 ซม. มีขนกระจาย ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมนเป็นคลื่น ปลายกลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมหรือรูปลิ่ม ไม่เท่ากัน ก้านใบย่อยยาวได้ถึง 0.8 ซม. มีปีกแคบๆ ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 8 ซม. มีขนกระจาย ดอกแน่น ใบประดับรูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ 0.3 ซม. ติดทน ก้านช่อดอกยาว 1-5 ซม. กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงติดเป็นหลอดยาวประมาณ 0.2 ซม. กลีบยาวประมาณ 0.1 ซม. หลอดกลีบดอกยาวเท่าๆ หลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอกยาวประมาณ 0.2 ซม. หลอดเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาวประมาณ 0.1 ซม. ปลายแยกกัน ยาวประมาณ 0.1 ซม. รังไข่มี 4-6 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 0.1-0.2 ซม. ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 0.5-0.8 ซม. สีม่วงดำ เมล็ดมี 4-6 เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.3 ซม.กะตังใบเตี้ยมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ ขึ้นหนาแน่นตามทุ่งหญ้าในป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงจนถึงประมาณ 250 เมตร




สรรพคุณ




ยาพื้นบ้านอีสานใช้หัวใต้ดินผสมรากชงโคขาว ต้มน้ำดื่ม ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกำลัง
ศิริพร กลมกล่อม เรื่อง - ภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น