วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สะเดาดินสมุนไพรแก้ไข้หวัดใหญ่


สมุนไพรแก้ไข้หวัดใหญ่




สะเดาดินสมุนไพรรสขมขึ้นตามสนามหญ้า

ลูกใต้ใบรสขม


ฟ้าทะลายโจรฤทธิ์ทางสมุนไพรจะดีที่สุดช่วงออกดอก


หญ้าดอกขาวหรือหมอน้อย


ลุงล้วนนักอนุกรมวิธานและปราชญ์ชาวบ้านแห่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

วันนี้มีโอกาสได้พบกับผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เรียกท่านว่าลุงล้วน ลุงล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และได้รับการยกย่องให้เป็นนักอนุกรมวิธานประจำอุทยานฯ เป็นคนที่มีบุคลิกกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา ยิ่งถ้าใครชวนคุยเรื่องสมุนไพรถูกคอจะเห็นตาท่านเป็นประกายขึ้นมาทันที



เราคุยกันอย่างถูกคอหลายเรื่องแต่ด้วยความเกรงใจว่าตัวเองขอเข้ามาสัมภาษณ์ก่อนทีมหมอพื้นบ้านและโรงพยาบาลห้วยแถลงซึ่งจองตัวพ่อล้วนกำลังจะเดินป่ากัน


จึงจำเป็นต้องรวบรัดเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจและอยู่ในกระแสคือสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการไข้หวัดใหญ่ ลุงล้วนน่ารักมาก บอกว่าไม่ยากใช้สมุนไพรสามตัวคือ ลูกใต้ใบ ฟ้าทะลายโจรและสะเดาดิน แต่ถ้าอาการหนักมากหน่อยให้เพิ่มหมอน้อยหรือหญ้าดอกขาวอีกตัวต้มกิน ลุงล้วนเคยใช้รักษาตัวเอง จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับป่าเขาใหญ่มานาน ได้มีโอกาสตามนักพฤกษศาสตร์ระดับประเทศ นานาชาติและอาจารย์ที่สอนนักศีกษาแพทย์แผนไทยมาไม่รู้กี่คณะต่อกี่คณะ ไม่นับพวกลักลอบหาของป่าที่ต้องหลบๆซ่อนๆเอาชีวิตให้รอดในป่าดงดิบ ก้อโดนลุงล้วนถามเคล็ดลับวิชาการใช้สมุนไพรเพื่อการดำรงชีวิตในป่าที่มีทั้งโรคร้ายและสัตว์มีพิษ
เรื่องราวของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเขาใหญ่อย่างลุงล้วนอาจมีเรื่องราวพิศดารน้องๆระพินทร์ ไพรวัลย์ก้อได้ใครจะรู้ อยู่ที่ลุงล้วนจะเล่าให้ใครฟังรึใครจะมีโอกาสได้ฟังลุงล้วนเล่าบ้าง


คราวหน้าจะมาเล่าเรื่องว่านตอดที่เรานึกว่ามีแต่ในตำนานแต่ลุงล้วนมีว่านตอดของจริงที่พิษร้ายแรงที่สุดตัวหนึ่งและฝอยลมไม้มหัศจรรย์ตัวหนึ่งที่เราอยากเห็นเอาไว้ตอนหน้าจะมาเล่าให้ฟัง

คราวนี้ความเร่งด่วนของโรคภัยคงหนีไม่พ้นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์แปลกๆที่เกิดขึ้น ในวงการหมอพื้นบ้านมีสมุนไพรเด่นๆและเด็ดๆหลายตัว ที่สำคัญเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ไม่ได้หายากอะไรเลย



สะเดาดิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glinus oppositifolius (L.) A.DC.

วงศ์ : Molluginaceae
ชื่อสามัญ : ชื่ออื่น : ผักขวง สะเดาดิน (ภาคกลาง) ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ออกครอบคลุมดินคล้ายพรม ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ออกจากบริเวณข้อของลำต้นข้อละ 4-5 ใบ ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น ดอก ออกรอบๆ ข้อ ข้อละ 4-6 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเขียว ติดผลรูปยาวรี เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็นสามแฉก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลแดงจำนวนมาก พบขึ้นบริเวณชื้นแฉะ ในไร่นา และตามสนามหญ้าโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ประโยชน์ : เป็นสมุนไพรบำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้หวัด แก้ไอ ทาแก้ฟกช้ำบวมอักเสบ นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคผิวหนัง แก้คัน ใช้หยอดหูแก้ปวดหู
































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น