วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตูมกา ผลไม้แห่งภูมิปัญญา น่าอนุรักษ์

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


เมื่อวานกลับไปหาแม่ที่ชัยภูมิแม่เล่าให้ฟังถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่คนโบราณ นำมาใส่น้ำมันยางจากต้นยางนาที่ขุดเป็นโพรงเอาไว้และจุดไฟเพื่อลนเอาน้ำมันยางออกมา  และนำน้ำมันยางใส่ไว้ในผลของตูมกาขาวที่ควักใส้ออก  เอาด้ายมาฝั้นและปั้นให้แข็งตรงแยกฐานเป็นสามขาเพื่อใช้เป็นขาตั้งไส้ จุ่มแช่ในกะลาตูมกาที่ใส่น้ำมันยางนาไว้  จุดให้แสงสว่างได้ทั้งคืน  เราชอบฟังแม่เล่าเรื่องโบราณๆสมัยปู่ย่าตายายให้ฟังมาตั้งแต่เด็กๆ ตาเราชื่อ ตาผอง  งานสำเร็จ  เป็นนายฮ้อยต้อนวัวข้ามดงพญาไฟไปขายภาคกลาง ต้องมีคาถาอาคมขนาดไหนถึงจะฝ่าป่าดงดิบแบบดงพญาไฟไปได้  ยายเราชื่อ  ยายเปรื่อง  งานสำเร็จ  เป็นหมอพื้นบ้านและหมอตำแยที่รักษาได้เกือบทุกโรคยกเว้นโรคคอตีบกับโรคอะไรลืมแล้ว  ต้องไปถามแม่ใหม่  เราไม่ได้ความรู้อะไรมาเลย  คงได้แต่สายเลือดและความผูกพันที่จะสานต่อสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้สืบต่อไป
ตูมกาเป็นไม้ยืนต้นที่เห็นทั่วๆไปตามป่าเต็งรัง  ป่าเบญจพรรณ  หรือแม้แต่ข้างทางข้างถนนของโคราช  แต่ก็ถูกโค่นทำลายไปมากมายเหมือนไม้ตัวอื่นที่คนไม่รู้คุณค่า  แม่บอกว่าคนเมื่อก่อนจะมีต้นยางนาเอาไว้นาใครนามันเพื่อจุดน้ำมันยางไว้ให้แสงสว่าง  จุดใต้จุดคบทำขี้ใต้  ตูมกาเป็นภาชนะใส่น้ำมันยางเพื่อให้แสงสว่าง  ที่ชาวบ้านรู้จักกันดี  เป็นไม้น่าอนุรักษ์ น่าสนใจต้นหนึ่งที่ควรช่วยกันรักษาไว้

การจุดไฟตูมกาเป็นพุทธบูชา ในวันออกพรรษา  ณ บ้านทุ่งแต้ ต.ทุ่งแต้ อ.เมือง จ.ยโสธร 
จุดไฟตูมกา นายนพรัตน์ กอกหวาน ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี (ททท.สอบ.) เปิดเผยว่า ที่บ้านทุ่งแต้ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ใน ต.ทุ่งแต้ อ.เมือง จ.ยโสธร ได้ร่วมกันฟื้นฟูภูมิปัญญประเพณีในอดีตซึ่งเลือนหายไปพร้อมกับการมีไฟฟ้าใช้ของชุมชน นั่นคือ การจุด “ ไฟตูมกา ” ถวายเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษา

จุดไฟตูมกา การทำไฟตูมกาวันออกพรรษา เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนบ้านทุ่งแต้ ที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยการนำผลตูมกา ผลไม้ป่าทีมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้มขนาดเท่ากำปั้นหรือโตกว่า มีก้านยาวและมีลักษณะพิเศษคือ เปลือกบางโปร่งแสง เมื่อขูดเอาผิวสีเขียวออกและคว้านเอาเนื้อและเมล็ดข้างในออกให้หมด ใช้มีดแกะเป็นลายต่างๆ ตามความต้องการ หลังจากจุดเทียนที่สอดขึ้นไปจากรูที่เจาะไว้ส่วนล่างของผลตูมกา แสงสว่างจากเปลวเทียนก็จะลอดออกมา เป็นลวดลายตามรูที่เจาะไว้

ในคืนออกพรรษาชาวบ้านจะจุดเทียนจากที่บ้านหิ้วก้านไปรวมกันที่วัดแม้จะมีลมพัดเทียนก็จะไม่ดับ เมื่อเทียนจะหมดก็เปลี่ยนเล่มใหม่ได้ เมื่อไปถึงที่วัดก็จะนำไฟตูมกาไปแขวนไว้ตามสถานที่ที่ทางวัดจัดไว้ เช่น ซุ้มไม้ไผ่ หรือ ราวไม้สำหรับแขวนก้านตูมกา ชาวบ้านจะร่วมกันกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย และสวดมนต์ไหว้พระบนศาลาพร้อมกัน จุดไฟตูมกา

ในวันออกพรรษาปีนี้ จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนอีสานตอนใต้ เพื่ออิ่มบุญ ออกพรรษา อีสานใต้ และร่วมชื่นชม “ไฟตูมกา” ไฟแห่งภูมิปัญญา และความศรัทธาของชาวบ้านทุ่งแต้ จ.ยโสธร
ขอบคุณ  ภาพและเรื่องจาก  guideubon.com
  ตูมกาเป็นไม้มีเอกลักษณ์ที่สั่งเกตุได้ง่าย  ใบมีขนาดใหญ่กลมกว้างเส้นใบชัดเจน 

ชื่อสมุนไพร แสลงใจ

ชื่ออื่นๆ ตูมกาขาว ขี้กา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (เหนือ) แสงเบื่อ ตูมกาต้น ตึ่ง ตึ่งต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-blanda A.W. Hill

ชื่อวงศ์ Strychnaceae


สรรพคุณ
ทุกส่วนของต้นมีพิษ เป็นยาอันตราย การนำมาทำเป็นยาต้องฆ่าฤทธิ์ ตามกรรมวิธีในหลักเภสัชกรรมไทยเสียก่อน ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ แก่น เข้ายากับเครือกอฮอ ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้พิษภายใน

ประโยชน์ก็เยอะนะ แต่จะใช้ก็ระวังหน่อย

ยาพื้นบ้าน ใช้ ราก ผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น รากชะมวง และรากปอด่อน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบจากงูกัด เปลือกต้น รสเมาเบื่อ แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษงูกัด ฝนกับสุราปิดแผล และรับประทานแก้พิษงู ในกรณีแก้อักเสบจากงูพิษกัด อาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ผสมกับรำให้ม้ากิน ขับพยาธิตัวตืด เปลือกต้นผสมกับผลปอพราน และเหง้าดองดึงคลุกให้สุนัขกินเป็นยาเบื่อ

ตำรายาไทย เรียกเมล็ดแก่แห้งว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย ราก รสเมาเบื่อ แก้ไข้มาลาเรีย ฝนน้ำกิน และทาแก้อักเสบจากงูกัด แก่น รสเมาเบื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกแก้ฟกบวม ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงประสาท แก้ไข้เซื่องซึม

องค์ประกอบทางเคมี
ทุกส่วนของต้น และเมล็ด มีอัลคาลอยด์ เมล็ดมีอัลคอลอย์สตริกนีน (strychnine) และ brucine อัลคาลอยด์ strychnine เป็นสารมีพิษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกไวกว่าปกติ กลืนลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชักกระตุก เนื้อในผลสุก พบไกลโคไซด์ laganin ทำให้มีรสขม อาการพิษ
ส่วนของเมล็ด ดอก ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กลืนลำบาก ขาสั่น ชักอย่างแรง หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็งและตายได้ ในกรณีไม่ตายพบว่ามีไข้ ตัวชา กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกมากติดต่อกันหลายวัน ขนาดรับประทาน 60-90 มิลลิกรัม ทำให้ตายได้


ข้อมูลจาก  baanmaha.com





ลักษณะวิสัย
ใบ
ผล
เมล็ด
ภาพแสดงตัวอย่างพรรณไม้

Herbarium specimen number : UBUPH00045 at Herbarium of Ubonratchathanee University, Ubonratchathanee, Thailand

สรรพคุณ
ทุกส่วนของต้นมีพิษ เป็นยาอันตราย การนำมาทำเป็นยาต้องฆ่าฤทธิ์ ตามกรรมวิธีในหลักเภสัชกรรมไทยเสียก่อน
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ แก่น เข้ายากับเครือกอฮอ ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้พิษภายใน
ยาพื้นบ้าน ใช้ ราก ผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น รากชะมวง และรากปอด่อน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบจากงูกัด เปลือกต้น รสเมาเบื่อ แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษงูกัด ฝนกับสุราปิดแผล และรับประทานแก้พิษงู ในกรณีแก้อักเสบจากงูพิษกัด อาจใช้สมุนไพรก่อนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล ผสมกับรำให้ม้ากิน ขับพยาธิตัวตืด เปลือกต้นผสมกับผลปอพราน และเหง้าดองดึงคลุกให้สุนัขกินเป็นยาเบื่อ
ตำรายาไทย เรียกเมล็ดแก่แห้งว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย ราก รสเมาเบื่อ แก้ไข้มาลาเรีย ฝนน้ำกิน และทาแก้อักเสบจากงูกัด แก่น รสเมาเบื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกแก้ฟกบวม ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงประสาท แก้ไข้เซื่องซึม

องค์ประกอบทางเคมี
ทุกส่วนของต้น และเมล็ด มีอัลคาลอยด์ เมล็ดมีอัลคอลอย์สตริกนีน (strychnine) และ brucine อัลคาลอยด์ strychnine เป็นสารมีพิษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกไวกว่าปกติ กลืนลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชักกระตุก เนื้อในผลสุก พบไกลโคไซด์ laganin ทำให้มีรสขม

อาการพิษ
ส่วนของเมล็ด ดอก ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กลืนลำบาก ขาสั่น ชักอย่างแรง หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็งและตายได้ ในกรณีไม่ตายพบว่ามีไข้ ตัวชา กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกมากติดต่อกันหลายวัน ขนาดรับประทาน 60-90 มิลลิกรัม ทำให้ตายได้

ข้อมูลจาก  www.phargarden.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น