วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มะเดื่อหอม

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


เราเคยเห็นต้นมะเดื่อหอมครั้งแรก จากการสำรวจป่าเขาสลัดได จำได้ว่าตามรอยช้างเข้าไป เห็นต้นมะเดื่อหอมหักอยู่ระหว่างทาง  พ่อหมอคาดเดาว่าเป็นรอยช้างหักอาจกินเป็นยาหรือช้างอาจชอบกิน ทำให้ภาพนั้นฝังใจเราจึงจำต้นมะเดื่อหอมได้  อีกครั้งตอนไปบ้านพ่อสำเนา  จันทวาส  ในสวนป่าหลังบ้านที่พ่อสำเนาสะสมพันธุ์ไม้หายาก  พ่อสำเนาหยิบต้นมะเดื่อหอมให้ดูบอกว่าที่ได้ชื่อว่ามะเดื่อหอมเพราะเค้าหอมที่ราก  ทั้งๆที่บางต้นขึ้นอยู่ข้างน้ำครำที่เหม็นเน่าแต่รากเขาก็ยังหอม  พ่อสำเนาบอกว่าน่าเอาไปสกัดทำน้ำหอม ทางโคราชเรียกว่ามะเดื่อขน เพราะลำต้นและใบมีขน และผลของเขาเมื่อยังอ่อนจะมีขนคล้ายผลต้นโคลงเคลง พอแก่จะเหมือนผลมะเดื่อทั่วไป  แต่เราเคยเห็นแค่ตอนเป็นผลอ่อน
เราได้ต้นพันธุ์มาต้นหนึ่งเลยบริจาคให้พี่ที่เค้าปลูกป่าอยู่ที่บัวใหญ่ไป  คิดถึงเค้าเหมือนกันเพราะยังหาอีกไม่ได้
อ่านข้อมูลในอินเตอร์เน็ท เห็นมีการพูดถึงมะเดื่อหอมแต่หมายถึงไม้อีกต้นหนึ่งที่ดอกมีกลิ่นหอม เป็นไม้หายากในตลาด  เลยข้อบันทึกข้อมูลเอาไว้ถึงต้นมะเดื่ีอหอมที่เป็นต้นไม้ตัวจริงในป่าของอีสาน  เพื่อป้องการการเข้าใจผิดและใช้ผิดต้น  เพราะช่วงหลังๆร้านค้าที่ไม่รู้เอาสรรพคุณของต้นมะเดื่อหอมไปลอกลงต้นขมันที่ขายในตลาดในชื่อมะเดื่อหอม  จริงๆสรรพคุณสมุนไพรควรถามจากคนที่เคยใช้จริง หรือสัมภาษณืข้อมูลพ่อหมอทุกๆครั้ง  ทางที่ดีควรให้ชี้ต้นเลย  เพราะไม้ชื่อซ้ำกันมีมากและแต่ละที่เรียกชื่อไม่เหมือนกัน  ที่สำคัญคนสัภาษณ์ควรมีต้นทุนความรู้เรื่องนี้พอสมควร  ไม่งั้นจะแยกไม่ออกเลยว่าข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่พ่อหมอจำต่อๆกันมาแบบมั่วๆหรือรู้จริง 
ต้นนี้จากป่าเขาสลัดได อำเภอวังน้ำเขียว
รูปนี้ยืมจาก
ที่มา สวนลุงตี๋ http://suan_naratip.tripod.com/herb7.htm
หารูปที่ตัวเองถ่ายไว้ไม่เจอแต่จำได่ว่าไม่ค่อยชัด

ชื่อสมุนไพร
มะเดื่อหอม
ชื่ออื่นๆ
เดื่อขน (เหนือ);หาด (เชียงใหม่); นอดน้ำ (ลำปาง); มะเดื่อขน (นครราชสีมา); นมหมา (นครพนม);นอดหอม มะเดื่อเตี้ย (จันทบุรี); เดื่อหอมเล็ก เดื่อหอมใหญ่ (ตราด); พุงหมู (อุบลราชธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ficus hirta Vahl.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Moraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก มีน้ำยางขาว ไม่ค่อยแตกกิ่ง มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวใต้ดิน มีกลิ่นหอม สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้น และกิ่งก้านมีขนแข็ง สากคาย สีน้ำตาลแกมเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ตาดอกและใบอ่อนมีขนหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปไข่แกมขอบขนาน รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร ใบมีพูลึก 3-5 พู หรือขอบเรียบ ฐานใบเบี้ยว ปลายใบแหลมติ่ง ขอบใบจักฟันเลื่อย มีขนทั้งสองด้านของใบ ใบด้านบนมีขนหยาบ สีน้ำตาลอมเหลือง ประปราย ขนยาวและหยาบบนเส้นใบ ด้านล่างขนอ่อนนุ่มกว่า ใบมักแบ่งเป็น 3-5 พู ที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในต้นอ่อน ใบแก่บาง เส้นใบที่ฐานยาวน้อยกว่า ½ ของใบ เส้นใบข้าง 7-9 เส้น ก้านใบยาว 2-11 เซนติเมตร มีหูใบแหลม 0.8-2 เซนติเมตร กิ่งก้านมักจะกลวง และที่ข้อพองออกในต้นอ่อน ดอกช่อเกิดภายในโครงสร้างกลวงออกที่ซอกใบ ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก เบียดกันแน่นบนฐานรองดอก ซึ่งเจริญหุ้มดอก มีช่องเปิดด้านบน ซึ่งมีใบประดับซ้อนทับหลายชั้นปิดอยู่ทำให้ดูภายนอกคล้ายผล รูปไข่ค่อนข้างกลม อยู่บริเวณกิ่งที่มีใบติดอยู่ ดอกแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อย อยู่บริเวณรูเปิดของช่อดอก กลีบดอกมี 3-4 กลีบ เกสรเพศผู้มี 1-2 อัน ดอกเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ ผลรวม ผลย่อยเป็นผลสด กลม ขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ สีเหลือง เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม มีขนหยาบสีทองหนาแน่น ไม่มีก้านผล ที่ฐานมีกาบแหลม 3 กาบ ขนาด 1.5-5 มิลลิเมตร หน่วยผล ที่มีดอกแบบกอล รูปลูกข่าง ปลายบุ๋ม หน่วยผลที่มีดอกตัวเมียมักจะกลม ขนาดเล็กกว่า พบตามป่าดิบแล้ง ที่โล่งแจ้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่งมีดอกตลอดปี

รูปลักษณะ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือไม้พุ่มขนาดใหญ่ ใบสีเขียวโตมีแฉก มีขนตลอดทั้งใบ ต้น และกิ่งก้าน รากมีกลิ่นหอม
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ฝนกับน้ำดื่ม ช่วยบำรุงน้ำนม
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก ฝนน้ำกิน แก้ผิดสำแดง
ตำรายาไทย ใช้ ราก รสฝาดเย็นหอม แก้พิษงู พิษฝี แก้ตับพิการ หัวใจพิการ ขับลมในลำไส้ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ทำให้ชื่นบาน แก้พิษอักเสบ ลำต้นและราก ต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจ ราก ฝนน้ำกิน แก้ผิดสำแดง เป็นยาระบาย ขับลมในลำไส้ บำรุงหัวใจ ผล รสฝาดเย็น แก้พิษฝี
ยาพื้นบ้านภาคใต้ ใช้ ลำต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม บำรุงหัวใจ

การทดสอบความเป็นพิษ
สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยแอลกอฮอล์ 50% ,มีพิษเฉียบพลันปานกลาง เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร (LD50=681 มก./กก.)

ที่มา ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=92




เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 2-3 ฟุต รากเก็บอาหารคล้ายหัวมันสำปะหลัง ใบสาก ริมแฉกข้างเดียวหรือสองข้าง มีขนปกคลุม ผลกลมคล้ายลูกมะเดื่อชุมพร แต่เล็กเท่าปลายนิ้ว รสหวาน รากกลิ่นหอมมัน เกิดตามป่าดงดิบแล้งทั่วไป
ราก : รสฝาดเย็นหอม แก้พิษงู พิษฝี แก้ตับพิการ หัวใจพิการ ขับลมในลำไส้ บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้พิษอักเสบ
ลูก : รสฝาดเย็น แก้พิษฝี
ที่มา  สวนลุงตี๋  http://suan_naratip.tripod.com/herb7.htm
ส่วนต้นขมันที่ตอนนี้ร้านทุกร้านขายในนามมะเดื่อหอมนั้น  มีข้อมูลปรากฏดังนี้
ไม้วงศ์ตำแย (Urticaceae) ข้อมูลจากหนังสือของ อ.สุรัตน์ วัณโณ และเอกสารอ้างอิงของกรมป่าไม้ พอค้นข้อมูลต่อจากจุดนี้ พบว่าไม้วงศ์ตำแยส่วนมากจะเป็นไม้ล้มรุกซึ่งถึงลักษณะดอกจะไกล้เคียงกันมากกว่าวงศ์มะเดื่อแต่ก็ยังไม่พบกับเจ้ามะเดื่อหอมในเว็บของต่างประเทศเลย แต่พบว่าไม้วงศ์ Urticaceae อยู่ใน Order : Urticales พอค้นข้อมูลใน Order นี้ก็เจอจนได้ครับ ว่าเจ้ามะเดื่อหอมอยู่ในวงศ์ญาติๆกับตำแย ชื่อวงศ์ว่า Cecropiaceae ใน Genus : Poikilospermum ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ชนิดพันธุ์ในโลก และแทบทั้งหมดอยู่ในป่าฝนเขตร้อนในเอเซีย ซึ่งในเมืองไทยมีจีนัสนี้อยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ต้นสลับสี (Poikilospermum amoenum) ซึ่งมีดอกสีชมพู และ ต้นขมัน (Poikilospermum sauveolens Merr.) ซึ่งมะเดื่อหอมมีลักษณะเหมือนต้นขมันมากๆ จึงน่าจะเป็นไม้ป่าไทยที่ชื่อว่า ขมัน หรือบางทีเรียกว่า เถาะกะมัน แต่เพราะว่ารูปถ่ายของขมันที่พอหาได้มีน้อยมากๆ ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างไปบ้างเล็กน้อย ผมเลยว่าน่าจะให้ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเดื่อหอมชนิดที่ขายในท้องตลาดเป็นกลางๆไว้ว่า Poikilospermum sp. เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเหนิดแถวๆมาเลเซีย และพบได้ในป่าธรรมชาติภาคใต้ของไทย มักขึ้นอยู่ชายน้ำ เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=endless9&month=09-2009&date=21&group=13&gblog=12
ต้นขมันไม้พุ่มรอเลื้อยดอกหอมที่ถูกขายเป็นต้นมะเดื่อหอม
ยืมรูปจากเวป  http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=3343.0  และ http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2009/05/J7873693/J7873693.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น