วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ว่าด้วยเรื่องสวาด

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ตอนนี้กำลังบ้าข้อมูลเก่าๆ เพลิดเพลินลืมวันลืมคืน ของพวกนี้มีเสน่ห์ ยิ่งพูดถึงต้นไม้ที่เราสนใจยิ่งอยากรู้ว่าต้นไม้แต่ละต้นทำอะไรได้อีก
ตอนนี้ได้เมล็ดสวาดมาจำนวนหนึ่ง กำลังหาวิธีทำให้พกง่าย ใช้เป็นเครื่องประดับ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เมื่อก่อนจะพร่ำพรรณนาถึงรสสวาท แต่ลำนำได้มหัศจรรย์

ลำนำสวาด
สวาดสายลายสร้อยร้อยสวาด
สวาดเส้นเร้นสวาดสวาดหวัง
สวาดเรียงสวาดร้อยสวาดยัง
สวาดฝังรูปรอยร้อยดวงใจ
อีกสักบท

เห็นสวาดขาดทิ้งกิ่งสบัด
เป็นรอยตัดต้นสวาทให้ขาดสาย
สวาทพี่นี้ก็ขาดสวาทวาย
แสนเสียดายสายสวาทที่ขาดลอย

ในวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึงต้นสวาดในเชิงเปรียบเทียบกับความรัก ความพิศวาสระหว่างชายหญิง เพราะมีความพ้องเสียงกันนั่นเอง นอกจากนั้น ตามธรรมเนียมไทย ในการจัดขันหมากงานแต่งงานบางแห่ง มีการใช้ใบรักและใบสวาดรองก้นขันหมากโท ซึ่งใส่หมากพลู ส่วนขันหมากเงินทุนและสินสอด ใส่ใบรักและใบสวาดลงไปรวมกับดอกไม้ และสิ่งมงคลอื่นๆเช่น ใบเงิน ใบทอง ดอกบานไม่รู้โรย และถั่วงา เป็นต้น
สวาด หรือที่คนทางภาคใต้เรียกว่า หวาดนั้น เป็นไม้เลื่อยที่พบทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบมากตามป่าละเมาะใกล้ทะเล ลำต้นและกิ่นก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาว ๓๐-๕๐ ซม. ดอกสีเหลือง เป็นช่อยาว ๑๕-๒๕ ซม.ออกดอกตรงกิ่งเหนือซอกใบขึ้นไปเล็กน้อย ช่อเดี่ยวหรืออาจแตกแขนงบ้าง ก้านช่อยาวและมีหนาม ผลเป็นฝักรูปรี หรือขอบขนานแกมรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก แต่ละฝักมี ๒ เมล็ดเมล็ดกลมเปลือกแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ ซม. สีเทาแกมเขียว เป็นสีที่เรียกกันว่า สีสวาดนั่นเอง ในสมัยก่อน เด็กๆ นำมาใช้เล่นหมากเก็บ เพราะมีขนาดและรูปร่างเหมาะสม ใบสวาดมีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้จุกเสียด ผลใช้แก้กระษัย
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านบอกว่า ใช้ใบสวาท ขยี้เอาน้ำให้ลูกดื่ม เพื่อเป็นยาถ่ายพยาธิ
ไม้มงคลทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ปลูกต้นทุเรียน ต้นสวาท หรือไม้ดอกนานาชนิด ที่ใช้บูชาพระจะเสริมดวงให้มีแต่ความสุขสบาย ร่มเย็นตลอดไปและไม่มีเรื่องทุกข์ร้อน
ลูกสวาดเป็นลูกไม้ที่เกิดจากต้นสวาดถือเป็นวัตถุอาถรรพณ์ที่มีฤทธิ์มีพลังอำนาจในตัว คนโบราณนิยมนำลูกสวาดมาพกติดตัวไว้เพื่อให้มีผลทางด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม กับตัวเอง ลูกสวาดนี้หากนำไปให้อาจารย์ผู้ทีมีวิชาอาคมขลังปลุกเสกด้วยพลังจิตเวทอาคมแล้วจะทำให้มีฤทธิ์มีพลังอำนาจทางมหาเสน่ห์สูง
ต้นสวาดโตไว เป็นไม้เถาโตไว อย่าปลูกใกล้ทางเดินหนามร้ายกาจมาก/ ลูกสวาท พิศสวาทหลงใหล พิศมัยแนบเนื้อ ใจจิตคิดถึง เคล้าคลึงวิญญา วิชาจะระณะสัมปันโน
าถาพระยาเทครัว ( เสกลูกสวาท หรือของกินอะไรก็ได้ให้เขากิน จะรักเราแล) บทเต็มว่าดังนี้ นะโมพุทธายะ ภะคะวะโต อิติปิโสภะคะวา อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา อิติโพธิมะนุปปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม คนทั้งหลายรักกู พิสวาทหลงใหล พิสมัยแนบเนื้อ ใจจิตคิดถึง คนึงวิญญาวิชชาจะระณะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา นะเเมตตา โมกรุณา พุทเป็นที่รัก ธาให้เห็นประจักษ์ ยะให้ยินดี ยะละลวยหันตะวา ธาเมามัว พุทพาหัวมาหากู โมมาสมสู่ นะรักอยู่ด้วยจนวันตาย โอมละลวยมหาละลวย หญิงชายเห็นหน้ากูงวยงงจงใจรัก ทักปราศรัย อ่อนละมัยมาหากู สูรู้ว่ากูมาเน้อ เออรักสวาหะ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ( อ่านว่า รึ รือ หรือ รือ) เอหิ พรหมจิตตัง มาด้วยพระวินัยยัง เถตังติตัง กะระณียัง เมตตังจิตตัง ขันติมะอิตถิโก อะปุริสา อุมัตจา สะมะณะพราหมณา เมตตา จะ มหาราชา สัพพะเสน่หา จะปูชิโต สัพพะสุขขัง มหาลาภังราชา โกรธัง วินาสสันติ สัพพะโกรธัง วินาสสันติ ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปันนานัง ปินินทรียัง นะมามิหัง

ตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
- ส่วนประกอบสำคัญยาสมุนไพรแผนโบราณ "มะแว้ง" ขององค์การเภสัชกรรม คือ ผลมะแว้ง 16 ส่วน ใบกะเพรา 4 ส่วน (ใบกะเพรา-ขับลม แก้ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน) ใบตานหม่อน 4 ส่วน(ใบตานหม่อน - แก้ตานซางในเด็ก รักษาลำไส้ ฆ่าพยาธิ) ใบสวาด 4 ส่วน(ใบสวาด-ขับลม แก้จุกเสียด แก้ปัสสาวะพิการ) หัว(เหง้า) ขมิ้นอ้อย 3 ส่วน (เหง้าขมิ้นอ้อย - แก้ท้องร่วง อาเจียน แก้ไข้ ผสมในยาระบายเพื่อให้ระบายน้อยลง สมานแผล) และสารส้ม 1 ส่วน
(สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ, 2539 และ จากซองบรรจุยาสมุนไพรมะแว้งขององค์การเภสัชกรรม ผลิตเมื่อ 20 เมษายน 2542
ความหมายตามพจนานุกรมฯ "สวาด [สะหฺวาด] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Caesalpinia bonduc (L.) Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ฝักมีหนามละเอียด เมล็ดกลม เปลือกแข็งสีเทาอมเขียว. ว. สีเทาอมเขียวอย่างสีเมล็ดสวาด เรียกว่า สีสวาด, เรียกแมวที่มีสีเช่นนั้นว่า แมวสีสวาด ว่าเป็นแมวไทยที่ชาว ต่างประเทศนิยมเลี้ยงและมีราคาแพง"
แมวสีสวาด หรือ แมวโคราช
  พบครั้งแรกในโลกที่เมืองพิมาย คำว่า “สีสวาด” เป็นชื่อที่คนท้องถิ่นเรียกกันมาตั้งแต่โบราณ บ้างก็เรียก “แมวมาเลศ” หรือ “แมวดอกเลา” คนโบราณ คงเรียกชื่อนี้ตามสีขนที่เป็นสีเทาเงินเหมือนลูกสวาด ซึ่ง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Silver blue
  ในช่วง พ.ศ. 2426 ถึง 2462 ได้มีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสและชาวอังกฤษหลายคณะ มีทั้งนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และนักธรรมชาติวิทยา เข้ามาสำรวจแหล่งโบราณสถานที่ อำเภอพิมาย คงมีคณะใด คณะหนึ่งมาพบ ชาวพิมายเลี้ยงแมวสีสวาดกันอย่าง แพร่หลาย โดยเฉพาะบ้านผู้มีฐานะดี จะนิยมเลี้ยงกัน เป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าจะให้โชคลาภและความเป็น สิริมงคล อีกทั้งเป็นแมวชนิดที่ยังไม่เคยพบเห็นในที่ ใดๆ มาก่อนในโลก
  จึงนำไปเผยแพร่ให้ชาวโลกรู้จัก โดยเรียกว่า “แมวโคราช” (Korat Cat)

ตอนนี้แมวไทยโบราณที่ปัจจุบันเหลือแค่ 4 สายพันธุ์ คือ วิเชียรมาศ ศุภลักษณ์ โกนจา และแมวสีสวาดหรือแมวโคราช ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี 2554 และรางวัลสายพันธุ์ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-ละตินอเมริกา ราคาค่าตัวสูงถึง 250,000 บาท
 อีกที่มา



แมวสีสวาด(โคราช)
ในตำราแมวไทย เรียกแมวสีสวาดว่าแมวมาเลศ หรือ ดอกเลา มีถิ่นกำเนิดที่โคราช จ.นครราชสีมา ซึ่งชาวโคราชให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะในงานพิธีสำคัญๆ เช่น พิธีแห่นางแมว เลือกเอาแมวสีสวาดเพราะว่าสีของ แมวสีสวาด เหมือนกับท้องฟ้าจมผ่าน เมฆฝนตอนฟ้าครึ้ม ชาวโคราชจะถือว่าแมวสีสวาดเป็นแมวแห่งโชคลาภเป็นแมวทำโชค เนื่องจากปลายขนจะมีสีบรอน หมายถึงทรัพย์สินเงินทอง และนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ มงคลแก่ผู้เลี้ยง สีมีลักษณะเหมือนกับพืชและผลไม้ มีชื่อว่า สวาดจะมีสีเทาอมเขียว ตาเปลี่ยนไปตามอายุตอนเป็นลูกแมวตาจะมีสีฟ้าแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม เมื่อโตขึ้น และจะเปลี่ยนเป็นสีสดใสเมื่อโตเต็มที่ตาจะมีอยู่ 2 สี สีเขียวมรกต หมายถึง ความอุดมของพืชพันธุ์ธัญญาหาญ และสีทองหรือทองคำ หมายถึง รวงข้าวตอนแก่ ส่วนหน้าตาของแมวสีสวาดคล้ายกับรูปหัวใจ คนในสมัยโบราณมีความเชื่อว่า แมวสีสวาดเป็นแมวนำโชคลาภของคนโคราช และคนเลี้ยงทั่วๆไป จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิมงคลแก่ผู้เลี้ยง แมวสีสวาดเคยประกวด ชนะเลิศในระดับโลกมาแล้วในปี 2503 อเมริกา เป็นแมวตัวเมียชื่อว่าสุนัน และเป็นที่นิยม ของชาวต่างประเทศมาก จึงนับว่าแมวไทยได้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศเป็นอันมาก











ต้นสวาด ดอกสวาดและลูกสวาด






แมวสีสวาด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น