วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สะบ้าไม้เถาคลาสสิคในป่าใหญ่

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ถ้าจะถามว่าไม้เถาสวยคลาสสิคในป่านึกถึงอะไร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเถากระไดลิงที่ชอบตัดเอามาตกแต่งนั่นนี่นู่น ( แต่เราไม่ชอบเลยไปตัดเขามา แต่งแล้วก็ไม่เห็นจะสวยซักเท่าไหร่ ) ไม้เถาสวยๆรูปร่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีหลายชนิด แต่วันนี้เราขอพูดถึง สบ้า ไม้เถาสุดคลาสสิกในป่าใหญ่
ในอินเตอร์เน็ทมีการพูดถึงสะบ้าเพียงเล็กน้อยซึ่งน่าแปลกเพราะเวลาไปเที่ยวตามอุทยานแห่งชาติ ที่ไหนๆ น่าจะผ่านตาไม้ต้นนี้ แต่ไม่ค่อยพูดถึงกัน เราลองมาดูความสวยของเขา ตั้งแต่ ยอดอ่อน เถา ยันฝัก กัน แถมประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย เผื่อใครมีที่เยอะๆ น่าเอาไปปลูกดูบ้าง ทำเป็นสวนป่า ค่ายลูกเสือล่ะเหมาะเชียว
ยอดต้นสะบ้า สวย น่ารัก ทั้งสีและฟอร์ม จากเขาแผงม้า วังน้ำเขียว
เถาสะบ้าเลื้อยขึ้นต้นไม้ ดูลีลาเขาซิ บิดเกลียวมีสันมีเหลี่ยม คลาสสิกสุด ๆ
ดูเขาสิ ไปเห็นที่ไหนก็จำได้ บิดเกลียว ตั้งเป็นสัน สวยมาก
อันนี้เป็นฝักสะบ้าลายจากเขาสลัดได วังน้ำเขียว  ส่วนฝักสะบ้ามอญหาตามเน็ทเอาพอมีให้เห็น

ฝักสะบ้าและเมล็ดสะบ้ามีประโยชน์หลายอย่าง และความสวยงามแปลกตาทำให้นิยมนำมาประดิษฐ์เป็นของตบแต่งบ้าน ดูดีทีเดียวแหล่ะ  มาอ่านข้อมูลเรื่องราวของสะบ้ากัน
สรรพคุณเภสัช
สะบ้ามอน สะบ้าดำ สะบ้าลาย สะบ้าเลือด รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง หิด กลากเกลื้อน (สุม) แก้ไข้พิษ แก้พิษร้อน แก้ไข้เชื่อมซึม
ที่มา  http://thrai.sci.ku.ac.th/node/1349
สะบ้า
ชื่อเครื่องยา
สะบ้า
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
สะบ้ามอญ
ได้จาก
เมล็ด
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
สะบ้า
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)
สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์
Entada phaseoloides (Linn.) Merr.
ชื่อพ้อง
E.scandens Benth., E gigarlobium DC., E.schefferi Rodl. Mimosa scandens Linn.
ชื่อวงศ์
Mimosaceae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เป็นพืชจำพวกเถา มีฝักขนาดใหญ่มาก ฝักแบนยาวมีรอยคอดตามแนวเมล็ดกลมๆ กว้าง 3-5 นิ้ว ยาว 2-4 ฟุต เมล็ดในกลมแบนหนา กว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว เปลือกเมล็ดแก่หนาแข็ง มีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเมล็ดกลม แบน ขนาดใหญ่ เนื้อในเมล็ดสีขาวนวลแข็งมาก เมล็ดมีรสเมาเบื่อ


ฝักสะบ้า
เครื่องยา เมล็ดสะบ้า
เครื่องยา ลูกสะบ้า
เครื่องยา ลูกสะบ้า
เครื่องยา ลูกสะบ้า

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: เมล็ดมีรสเมาเบื่อ เนื้อในเมล็ด ใช้ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พยาธิ แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง แก้หืด แก้เกลื้อน แก้กลาก ใช้เมล็ดในสุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทาน แก้พิษไข้ตัวร้อน แก้ไข้ที่มีพิษจัดและเซื่องซึม เนื้อในเมล็ดคั่วให้สตรีท้องคลอดกินจะทำให้คลอดง่าย ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้รักษาแผลฝีหนอง
ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้น้ำมันจากลูกสะบ้า โดยนำเนื้อในมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว บอนท่า และกำมะถัน ใช้ทารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
เมล็ดพบสาร triterpenoid entagenic acid, เมล็ดในพบสาร physostigmine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล

ที่มา  www.thaicrudedrug.com/

สรรพคุณและประโยชน์
 -ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่นแกง(ปะหล่อง,ไทใหญ่)
-ยอดอ่อน นำไปลวกกินจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
-ยอดอ่อน รับประทานสดหรือนำลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
-ลำต้น ใช้ดูดกินน้ำเวลากระหาย(เมี่ยน)
- ยอดอ่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย(คนเมือง)
-ผล นำมาผ่าเอาส่วนที่เป็นใบเลี้ยงมาบด คั่ว นำมาทำยาลุ้งดำโดยปั้นเป็นลูกกลอน กิน 3 เม็ด แก้อาการปวดมวนท้อง(ไทใหญ่)
- เมล็ด เป็นของเล่นเด็ก โยนลูกสะบ้า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ที่มา เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สะบ้าดำ, สะบ้าแดง

เบ้งเก่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หมักบ้าลืมดำ (สุโขทัย), มะบ้าแมง (เชียงใหม่), แฮนเฮาห้อม (เลย), ยางดำ (โคราช), สะบ้าแดง, สะบ้าเลือด
Mucuna collettii Lace. LEGUMINOSAE

เป็นไม้เถาขนาดกลาง เถามักบิดไปมา ใบรูปไข่ ฝักเล็กยาวกว้างราว 2-3 นิ้ว มีเมล็ด 7-8 เมล็ด เมล็ดกลมแบน ผิวมันแข็งขนาดราว 1 นิ้ว สะบ้าดำสีดำมัน สะบ้าแดงสีแดงสด เนื้อในขาวนวลแข็ง เกิดตามป่าดงดิบเขา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ สะบ้าดำและสะบ้าแดง มีสรรพคุณเหมือนกัน

เมล็ด รสเมา ปรุงยาฆ่าเชื้อโรค พยาธิผิวหนัง เช่น หิด เหา กลาก เกลื้อน แก้ผื่นคัน แก้มะเร็งคุดทะราด เผาเป็นถ่านรับประทานแก้พิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษร้อน

ที่มา http://www.songkhlaportal.com/forums/index.php?topic=566.30
ยาแก้หิด
ตำรับยาที่มีตัวยาดังต่อไปนี้ตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายตัวเป็นตัวยาสำคัญ คือ เมล็ดในน้อยหน่า กำมะถัน ลูกกระเบา ลูกกระเบียน ลูกสะบ้ามอญ

ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/217048


Pic_192943
เมล็ดสะบ้า
" สมัย เป็นเด็กบ้านนอกจำได้ว่า คุณยาย มีวิธี รักษาเส้นผมให้แข็งแรงและดกดำเป็นเงางามอยู่เสมอ ด้วยวิธีธรรมชาติแบบง่ายๆ คือ นำเอาต้นหรือกิ่งก้านของ “สะบ้ามอญ” ที่ยังไม่แก่นัก กะจำนวนตามที่จะ ใช้ในแต่ละครั้ง ทุบด้วยด้ามขวานหรือท่อนไม้จนบุบแตกแล้วผึ่งลมพอหมาด นำไปตีขยี้กับน้ำในกะละมังจะเกิดฟองลื่นเหมือนกับฟองสบู่
จากนั้น นำเอาน้ำดังกล่าวชโลมบนเส้นผมให้ทั่วๆ ขยี้เกาหนังศีรษะเหมือนกับการสระผมทั่วไปจนพอใจแล้วล้างออก จะทำกี่ครั้งก็ได้ตามความพอใจ เมื่อใช้ผ้าเช็ด เส้นผมให้แห้งจะพบว่ามีกลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง ดกดำเป็นเงางาม ไม่แตกปลาย และไม่เป็นรังแคคันหนังศีรษะ ซึ่งในยุคสมัยนั้นเราจะสังเกตพบว่า คนเฒ่าคนแก่ เส้นผมจะหงอกช้าและผมดกไม่ร่วงง่ายเหมือนกับคนในยุคปัจจุบัน ก็ เพราะคนโบราณรู้จักนำเอาธรรมชาติมารักษานั่นเอง
สะบ้ามอญ หรือ ENTADA SCANDENS, CENTH อยู่ในวงศ์ MIMOSEAE เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ ลำต้นแบนและมักบิดเป็นเกลียว ดอก ออกเป็นช่อกระจุก สีขาวอมเหลือง “ผล” เป็นฝักยาว มีเมล็ด 5-7 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม รูปทรงคล้ายสะบ้าหัวเข่า ในเทศกาลสงกรานต์ชาวมอญนิยมเอาเมล็ดทอยเล่นกันสนุก เรียกว่า “เล่นสะบ้า” จึงถูกเรียกชื่อว่า “สะบ้ามอญ” ดังกล่าว พบขึ้นตามป่าราบทุกภาคของประเทศไทย
นอกจาก ต้นและกิ่งก้านใช้สระผมช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางาม เส้นผมแข็งแรง ไม่เป็นรังแคคันหนัง ศีรษะแล้ว ลำต้นกิ่งก้านยังใช้เป็นยาขับพยาธิผิวหนัง ได้ เมล็ด แก้โรคผิวหนัง โดย ใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น หากนำเมล็ดไปสุมไฟจนเป็นถ่าน กินแก้พิษไข้ได้
สะบ้ายังมีอีก 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่ขนาดเมล็ดกับขนาดของฝักเท่านั้น คือ “สะบ้าลาย” ชนิดนี้จะมีเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก ไม่นิยมนำไปใช้เป็นสมุนไพร ชนิดที่ 2 คือ “สะบ้าดำ” ชนิดนี้มีเมล็ด 7-8 เมล็ดต่อฝัก แต่ขนาดของเมล็ดและขนาดของฝักจะเล็กกว่า “สะบ้ามอญ” นิยมเอาเมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หิด เหา ผื่นคัน และโรคผิวหนัง ชนิดสุดท้าย ได้แก่ “สะบ้าเลือด” ชนิดนี้เปลือกเมล็ดจะแข็งมาก พบขึ้นทางภาคเหนือ นิยมนำไปหุงเป็นน้ำมันทาแก้กลากเกลื้อน"
ที่มา http://soclaimon.wordpress.com/2011/08/30/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8D-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3/
มีการพัฒนาเถาสะบ้าเป็นแชมพูสระผม ขายในท้องตลาดราคาไม่ธรรมดา
HPA ได้วางตลาดแชมพูที่สกัดจากเถาวัลย์สะบ้านี้ โดยคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่ตกทอดจากบรรพบุรุษมานมนานในการใช้สารที่ได้จากสะบ้านี้ในการชำระล้างร่างกาย ผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้ชำระร่างกาย และสระผม ภายในหนึ่งเดียว คุ้มค่าและประหยัด  ราคาทั่วไป 190 บาท
ที่มา http://hpamedia.blogspot.com/2011/03/syampoo-sintok.html
สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า
(เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ
ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ ? ของผลให้ละเอียด
แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน
ที่มา  http://www.kingopop1.com/Data_Aloe_vera_s.html
นอกจากสรรพคุณและการใช้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นประเพณีของชาวมอญที่เรียกว่าการเล่นสะบ้า 
การเล่นสะบ้า และทะแยมอญ เป็นการละเล่นของชาวมอญที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ ทว่า ปัจจุบันหาดูได้ยาก เนื่องจากเสื่อมความนิยมลงเช่นกัน จึงคงเหลืออยู่เฉพาะหมู่บ้านมอญบางแห่ง เท่านั้น เช่น ที่หมู่บ้านมอญ ตำบลบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ กับที่ปากลัด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และปัจจุบัน ณ วัดคลองครุ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น 
การเล่นสะบ้า เดิมนิยมเล่นกันในหมู่หนุ่มสาวมอญ ที่ยังเป็นโสด โดยจะใช้เวลาเล่นตอนเย็น หลังจากว่างงานหรือเสร็จสิ้นการทำบุญสงกรานต์แล้ว จะนัดหมายกัน ณ บริเวณลานบ้านใดบ้านหนึ่ง ภายในหมู่บ้านของตน พร้อมกับแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายหญิงกับชายในจำนวนที่เท่ากัน และใช้ลูกสะบ้า ซึ่งทำด้วยไม้ลักษณะกลม ๆ แบน ๆ สำหรับทอย หรือเขย่งเตะ หรือโยนด้วยเท้าแล้วแต่โอกาส เป็นเครื่องมือประกอบการเล่นกะให้ถูกคู่เล่นของตน เพื่อจะได้ออกมาเล่นกันเป็นคู่ต่อไป
นอกจากนี้ยังเป็นคำใช้เรียกอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่อยู่ตรงเข่ามีลักษณะกลมแบนว่าลูกสะบ้า อีกด้วย ซึ่งมีความสำคัญมาก ใครไม่มีตัวนี้คือยืนเดินไม่ได้
กระดูกสะบ้า หรือ สะบ้าหัวเข่า (อังกฤษ: patella or kneecap) เป็นกระดูกหนารูปสามเหลี่ยม ซึ่งเกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกต้นขาและอยู่คลุมและปกป้องทางด้านหน้าของข้อเข่า กระดูกสะบ้านับเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกนี้ยึดเกาะกับเอ็นกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส (quadriceps femoris) ซึ่งทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า กล้ามเนื้อวาสตัส อินเตอร์มีเดียส (vastus intermedius) เกาะกับฐานของกระดูกสะบ้า และกล้ามเนื้อวาสตัส แลทเทอราลิส (vastus lateralis) กับกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียส (vastus medialis) เกาะกับขอบกระดูกด้านข้างกับด้านใกล้กลางของกระดูกสะบ้าตามลำดับ
กระดูกสะบ้าสามารถวางตัวอยู่อย่างเสถียรได้เนื่องจากมีกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียสมาเกาะปลายและมีส่วนยื่นของคอนไดล์ด้านหน้าของกระดูกต้นขา (anterior femoral condyles) ซึ่งป้องกันไม่ให้ข้อเคลื่อนไปทางด้านข้างลำตัวระหว่างการงอขา นอกจากนี้เส้นใยเรตินาคิวลัม (retinacular fibre) ของกระดูกสะบ้าก็ช่วยให้กระดูกสะบ้าอยูมั่นคงระหว่างการออกกำลังกาย
หน้าที่หลักของกระดูกสะบ้า คือเมื่อเกิดการเหยียดข้อเข่า (knee extension) กระดูกสะบ้าจะเพิ่มกำลังงัดของคานซึ่งเอ็นกล้ามเนื้อสามารถออกแรงบนกระดูกต้นขาโดยการเพิ่มมุมที่แรงของเอ็นกระทำ
การสร้างกระดูกของกระดูกสะบ้าเกิดขึ้นเมื่ออายุ 2-6 ปี แต่ในบางคนอาจไม่พบกระบวนการนี้เนื่องจากความพิการแต่กำเนิด ในจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรมีกระดูกสะบ้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซึ่งไม่เกิดอาการแสดงใดๆ
สำหรับในสัตว์ชนิดอื่นๆ กระดูกสะบ้าจะเจริญเต็มที่เฉพาะในยูเธอเรีย (eutheria; หรือสัตว์ที่มีรก) แต่ในสัตว์พวกมาร์ซูเปียเลีย (marsupial; หรือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง) จะไม่มีการสร้างเป็นกระดูก
ที่มา http://www.bloggang.com/data/c/cmu2807/picture/1248438778.jpg
ยังคงต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้  เพราะแม้แต่สารานุกรมพืชของหอพรรณไม้ ยังพูดถึงแต่สะบ้าลิง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสะบ้ามอญนับว่าแปลกมาก

มีตำรับยาตามคัมภีร์โบราณที่เข้าตัวยาสะบ้าอยู่หลายตำรับ  วันหลังจะรวบรวมอีกที วันนี้หมดสภาพแล้วเอาเท่านี้ก่อน
ปุณณภา  งานสำเร็จ รวบรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น