วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แจงต้นไม้ประจำถิ่นของโคราช

แจง






ต้นนี้อยู่แถวๆที่เค้าทิ้งขยะมีต้นแจงเป็นกลุ่มๆเยอะไปหมด


ใต้ต้นแจงมองลอดเข้าไปเป็นกอมีหลายต้น




ใบแจงแปลกๆจำง่ายสีเขียวเข้ม

ต้นแจงต้นนี้ขึ้นอยู่ที่ผาเดียวดายสวยมากเรยยยยยขอบอกไปผาเดียวดายอย่าลืมแวะไปทักทายเค้าด้วยนะ ซูมจากระยะไกลแต่สวยมาก
แจงเป็นไม้ฟอร์มสวย ใบมีเอกลักษณ์ พบเห็นได้ทั่วๆไปตามที่รกร้างข้างทางของโคราช จนทำให้คนในพื้นที่รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นไม้พื้นๆธรรมดาที่ไม่น่าสนใจอะไร แต่แท้ที่จริงแล้วต้นแจงเป็นไม้ที่น่าสนใจมาก เพราะไม่ค่อยพบหรือเป็นไม้หายากในจังหวัดอื่น อีกทั้งการขุดล้อมปลูกถือเป็นไม้ปราบเซียนตัวหนึ่งเลย

สีของใบแจงแปลกๆมันออกเขียวคล้ำๆชอบกล ตอนแรกเราก้อคิดว่าต้นแจงเป็นไม้พื้นราบหัวไร่ปลายนา ที่ไหนได้ตอนขึ้นไปผาเดียวดายเขาเขียวที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า๑,๓๐๐เมตร เราพบแจงต้นสวยยืนหยัดท้าทายอยู่ชง่อนผา โอ้แม่เจ้าเสน่ห์ลีลาสวยเหมือนเป็นไม้เมืองนอกจริงๆ เล่นเอาหลงรักแจงขึ้นอีกโขเลยอ่ะ

แจง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Maerua siamensis (Kurz.) Pax
วงศ์ Capparidaceae

ลักษณะ
ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 เมตร ใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย ก้านใบยาว 1.5-6.5 ซม. ใบย่อยเกือบไร้ก้าน รูปไข่กลับ รูปขอบขนานหรือรูปแถบ ยาว 2-12 ซม. โคนใบรูปลิ่มหรือมน ปลายใบกลม เว้าตื้น หรือมีติ่งเล็กๆ ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อสั้นๆ บางครั้งคล้ายออกดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 1.5-5.5 ซม. มีกลีบประดับรูปแถบเล็กๆ กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ยาว 0.7-1 ซม. ขอบกลีบเป็นขนนิ่ม เกสรเพศผู้ 9-12 อัน ก้านเกสรยาว 1-1.5 ซม. อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 มม. ปลายอับเรณูเป็นติ่ง ก้านชูเกสรเพศเมีย ยาว 1.5-2 ซม. รังไข่รูปทรงกระบอก ยาว 1.5-2 มม. ผลรูปรีหรือกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 2-2.5 ซม. ก้านผลยาว 4.5-7.5 ซม. เมล็ดรูปไต แจงมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนรวมทั้งประเทศไทย พบแถบทุกภาค แต่ในภาคใต้พบเฉพาะทางตอนบน ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามป่าโปร่ง ที่โล่ง ชอบเขาหินปูน ระดับความสูงไม่เกิน 400 เมตร ต้นแจงมักจะขึ้นใกล้ๆต้นตะโก
สรรพคุณ
ยอดอ่อนผสมเกลือ รักษาโรครำมะนาด แก้ปวดฟัน
ยอดอ่อนนำมาต้ม ล้างหน้าแก้ตาฝ้าฟาง
เปลือกไม้ ราก ต้มอาบอบ กิน แก้อัมพฤกอัมพาต
ใบ ใช้ทำลูกประคบแก้อัมพฤกอัมพาตเข้าลูกประคบ แก้ฟกช้ำ แก้ขัดเบา
เอาต้นแจงทั้ง ๕ หนัก ๓ ตำลึง ชะพลู หนัก ๓ ตำลึง แก่น ไม้สัก ๓ ตำลึง ตัวยาทั้ง๓ นี้ ใส่หม้อดิน กับน้ำ ๓ ส่วน ต้มเคี่ยว ให้เหลือ ๑ ส่วน ใช้น้ำยารับประทาน เช้า-เย็น แก้ขัดเบาได้ผลชะงัก
ราก เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ แก้ดีซ่าน แก่หน้ามืดตาฟาง รักษาฝีในคอ แก้ไข้จับสั่น แก้กระษัย
ต้น มีคุณสมบัติเหมือนราก แต่มีคุณสมบัติมากกว่ารากตรงที่แก้แมงกินฟัน ทำให้ฟันทน เปลือก แก้หน้ามืดตาฟาง บำรุงกำลัง แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัยปวดเมื่อยตามร่างกาย แก่น แก้ไข้ตัวร้อน รากและใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ดีซ่าน หน้ามืด ตาฟาง
ใบและยอด ตำโขลกใช้สีฟันทำให้ฟันทน
ใช้ทั้งห้า แก้ไข้จับสั่น แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ประโยชน์
ยอดอ่อนของต้นแจงสามารถนำมาดองรับประทานเป็นผัก เชื่อว่ากินแล้วทำให้ตาสว่างแจ้งจางปาง ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อต้นไม้ชนิดนี้ เนื่องจากมีคนอีสานอยู่ 2 กลุ่มที่มักออกเสียง “ จ ” และ “ ก ” สลับกัน ไม้ชนิดนี้จึงมีชื่อว่า แก้งหรือแจ้ง นั่นเอง การบริโภคจะต้องทำตามภูมิปัญญาดั่งเดิมที่มีความชาญฉลาด คือใช้วิธีการนำไปดองหรือที่ภาษาอีสานเรียกว่าคั้นส้มก่อนจึงจะรับประทานได้ เช่นเดียวกับการกินยอดผักกุ่ม ผักก่าม ที่ต้องนำไปดอกหรือคั้นส้มก่อนรับประทาน เนื่องจากขณะที่ยังสดๆ มีสารกลุ่มไซยาไนด์ แต่เมื่อนำไปดองหรือคั้นส้ม สารเหล่านี้จะถูกทำให้สลายตัวไป
คนอีสาน เชื่อว่าถ้าได้กินคั้นส้มของยอดอ่อนของต้นแจงปีละครั้งจะช่วยให้ไม่เข้าสู่ สภาวะสายตายาว หรือแก่เฒ่าแล้วยังมองเห็นอะไรๆ ได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องพึ่งแว่นสายตายาว
ภูมิปัญญาในการผลิตลูกแป้งหรือแป้งข้าวหมากของบางหมู่บ้าน มีการใช้ลำต้นของต้นแจงเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตลูกแป้งด้วย
ใช้ทำคอนให้นกเขา จะทำให้นกเขาขยันขัน
ถ้าตัดขวางลำต้นจะเห็นลักษณะของวงปีชัดเจน จึงนิยมนำไปเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนทางชีววิทยา
ใช้ทำถ่านที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ยังนิยมนำมาทำถ่านอัดในบั้งไฟ
ต้นแจงในประวัติศาสตร์
“สุดท้ายเมื่อสมเด็จฯท่านทรงเห็นว่า พม่าอ่อนแอลงมาก ท่านก็ทรงบัญชาการให้ยิงปืนใหญ่ โดยท่านคิดค้นให้นำไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ต้นแจง” มาตัดเป็นท่อนซุงปลายแหลม พันผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟ ยัดใส่กระบอกปืนใหญ่ยิงไปยังค่ายของพม่า ทำให้เกิดเปลวไฟโหมกระหน่ำ พม่าล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ค่ายพม่าแตกทลาย และสุดท้ายก็พ่ายแพ้ให้แก่ความกล้าหาญและชาญฉลาด ของเหล่าวีรชนไทยแห่งสมรภูมิทุ่งลาดหญ้า”

เราชอบอ่านประวัติของต้นแจงจังเราว่ามันคลาสสิคดีเค้าเล่าว่า


ต้นแจง หรือเรียก ต้นแกง เป็นต้นไม้ที่คนภาคกลางไม่ค่อยคุ้นหูนัก แต่สำหรับลูกอีสานบ้านเฮา ดินแดนแหล่งอารยธรรมโบราณรู้จักและคุ้นเคยต้นไม้นี้ดี เรียกกันว่า ต้นแก้ง และยังได้นำชื่อต้นไม้ไปใช้ในการตั้งชื่อบ้าน ตำบล หรืออำเภอ ซึ่งพบเห็นได้เกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน เช่น บ้านแก้ง ตำบลเหล่าหมี จังหวัดมุกดาหาร บ้านแก้งใหญ่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ตำบลแก้ง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีหรือ อำเภอแก้งค้อ จังหวัดชัยภูมิเป็นต้น
ชื่อเหล่านี้ใช้เป็นหลักฐานได้ดีอย่างหนึ่งว่า ต้นแก้งเติบโตและมีการกระจายอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน ต้นแจง แกงหรือแก้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Maerua siamensis (Kurz) Pax. ถ้าดูตามชื่อมีคำว่า “ สยาม ” อยู่ด้วย หมายถึงว่า ต้นแจงนี้เป็นไม้ในสกุลที่มีเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่สูงไม่เกิน 10 เมตร มีใบประกอบแบบ 3 ใบย่อย เรียงตัวแบบแผ่ๆ หรือแบๆ ออกมา ลักษณะคล้ายตีนนก ใบค่อนข้างแข็ง
ต้นแจงนี้ยังทำหน้าที่สมกับชื่อ คือเป็นต้นไม้ที่อธิบายแจกแจงอายุไขของต้นไม้ได้อย่างดี เพราะถ้าตัดขวางลำต้นจะเห็นลักษณะของวงปีชัดเจน จึงนิยมนำไปเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนทางชีววิทยา
อันที่จริงต้นแจงไม่ได้ขึ้นเฉพาะถิ่นอีสาน เราสามารถพบเห็นต้นแจงขึ้นและกระจายพันธุ์ในหลายที่ แต่ขอบอกว่าต้นไม้นี้มีเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย จึงสามารถพบได้ในทุกภาค แต่ในภาคใต้พบเฉพาะทางตอนบนเท่านั้น ต้นแจงขึ้นได้ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามป่าโปร่ง ที่โล่ง ชอบขึ้นตามเขาหินปูน ระดับความสูงไม่เกิน 400 เมตร แต่จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหาสารคามพบว่า ไม้ชนิดนี้มีจำนวนเหลือน้อยมาก ยังพอพบเห็นได้ตามป่าดอนปู่ตา หรือบริเวณโบราณสถานที่ไม่ค่อยมีคนรบกวน
ในอดีตคนอีสานมีการใช้ประโยชน์จากต้นแจงมากมาย แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การใช้ประโยชน์จากต้นแจงลดลง เป็นผลให้จำนวนต้นแจงลดลงด้วย เนื่องจากคนในปัจจุบันไม่รู้จักและไม่เห็นคุณค่าจึงตัดฟันเป็นว่าเล่น ไม้จากต้นแจงสามารถใช้ทำถ่านที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ยังนิยมนำมาทำถ่านอัดในบั้งไฟ ยอดอ่อนของต้นแจงสามารถนำมาดองรับประทานเป็นผัก เชื่อว่ากินแล้วทำให้ตาสว่างแจ้งจางปาง ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อต้นไม้ชนิดนี้ เนื่องจากมีคนอีสานอยู่ 2 กลุ่มที่มักออกเสียง “ จ ” และ “ ก ” สลับกัน ไม้ชนิดนี้จึงมีชื่อว่า แก้งหรือแจ้ง นั่นเอง

เค้าบอกว่าราคาไม้ล้อมของต้นแจงตั้๑๒,๐๐๐-๑๔,๐๐๐บาทแน่ะ โอ้พระเจ้าจ๊อดทำไมแพงขนาดนั้น แถวบ้านเราพวกล้อมต้นไม้ขายมันมาตื้อสามต้นสองพันเรายังไม่เอาเรยย เพราะจ้างขุดต้นละสองร้อยเองอ่ะ
อยากให้เรามองสิ่งใกล้ๆตัวอย่างมีคุณค่าเพราะว่าคนอื่นเค้าอาจไม่ได้โชคดีเหมือนเรา ต้นไม้ทุกต้นมีคุณค่ามากมายทั้งกับตัวเราเองและลูกหลานของเรารักต้นไม้กันมากๆนะคะ
ตำรับยาแก้ปวดฟัน เหงือกบวม พ่อสมนึก อ.ปักธงชัย
ใช้ใบแจง เปลือกต้นพิกุล เกลือ ต้มอม


11 ความคิดเห็น:

  1. คนโคราชที่ไม่เคยเห็นต้นแจงคะ ไปเจอที่ร้านต้นไม้ตลาดโคกกรวด
    จึงต้องหาข้อมูล คนขายแนะนำ บ้านพี่สะสมไม้ไทย คิดว่าจะนำมาปลูกที่บ้านคะ หนังสือเล่มโปรด พี่ก็ชอบเหมือนกันคะ อ่านแล้วทุกเล่ม บางเล่มอ่านจนลืมไปแล้วแต่มีสะสมไว้ที่บ้านคะ

    ตอบลบ
  2. ที่แพงเพราะว่าโอกาสรอดน้อยครับ แจงโตช้ามากแต่ทรงต้นสวยผมชอบมากเลยที่กาญจนบุรีก็มีเยอะนะครับ ถ้าอยากปลูกลองใช้เมล็ดก็ได้นะครับ ผมขอแก้ข้อมูลอีกอย่างครับ Maerua siamensis (Kurz) Pax. siamensis ตัวนี้ตั้งให้เกียรติประเทศไทยครับ หมายถึงพบครั้งแรกในประเทศไทยครับ มิได้หมายความว่ามีชนิดเดียวในประเทศไทยนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกัน

    ตอบลบ
  3. ต้นแจง มีจำน่ายเป็นต้นใหญ่ๆ (ไม้ล้อม) ด้วยนะครับ
    อยู่ที่โคราช

    ติดต่อบิ๊กทรีการ์เด้นดอทคอมเลยนะครับ
    http://www.bigtree-garden.com

    ตอบลบ
  4. แฮะๆเค้าโพสต์คุยกันตั้งนานเราพึ่งเข้ามาอ่าน ขอบคุณคุณBorriruk นะคะ ที่ช่วยชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง โอ่งไม่รู้อะไรอีกเยอะมากๆค่ะ อยากให้ช่วยสอยด้วย ขอบคุณจริงๆค่ะ

    ตอบลบ
  5. ปลูกติดยากจริงๆค่ะ เซียนไม้ออกปากกันเลย ไม่แพงหรอกค่ะถ้าปลูกติด แฮะๆ ช่วยกันๆ

    ตอบลบ
  6. 3 รูปบน เป็นต้นแจง
    แต่ 2 รูปล่างคิดว่าน่าจะเป็น พญาไม้ หรือขุนไม้ พืชที่หายากและพบในป่าดิบชื้นแถวโคราช อีกชนิดนึงนะครับ

    ตอบลบ
  7. จริงเหรอคะ
    ต้นนี้อยู่ตามหน้าผาที่ผาเดียวดาย ถ่ายรูปอยู่ไกลๆ ขอบคุณมากมายค่ะ

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. ผมเพาะจากเมล็ดขึ้นครับ 10-15 วันก็แตกตัวออกจากเมล็ดแล้วงอกเป็นกล้าไม้แล้วครับ ตอนนี้เลยจะเพาะให้ได้สัก 1,000ต้น กะเอาไว้เก็บให้ลูกหลานในอนาคตได้ศึกษาและพึ่งพาร่มเงาคระบ

    ตอบลบ
  10. ผมเพาะจำหน่ายเข้าปีที่ 3 แล้วครับ ต้นอายุ 2 ปี ตอนนี้จำหน่ายหมดแล้ว แต่ตอนนี้ผมมีต้นแจงที่เพาะจากเมล็ดอายุ 1.4 ปี ประมาณ 10 ต้น สนใจสอบถามได้ครับ Facebook #ต้นกล้าแจงเพาะเม็ด ครับ

    ตอบลบ