วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อีโก่ยองุ่นป่าที่ฉันตามหามานาน

ขนุนดินพืชกาฝากที่ขึ้นกับรากอีโก่ย


อีโก่ยหรือองุ่นป่ากำลังออกช่อ ต้นนี้อยู่ที่ส่วนลุงโชค จอมปราชญ์แห่งอำเภอวังน้ำเขียว




ลักษณะโค่นต้นขององุ่นป่ากว่าจะตามรอบเค้าเจอ



ใบและช่ออ่อนขององุ่นป่า
องุ่นป่าช่อนี้ยังไม่ทันสุก
เรารู้จักองุ่นป่าเป็นครั้งแรกเพราะเดินป่าไปเจอขนุนดินซึ่งเป็นพืชเบียนรากหรือพืชกาฝากที่อาศัยดูดน้ำเลี้ยงของพืชอื่น ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำไมขนุนดินถึงไปเกิดได้มีข้อสันนิฐานแต่เพียงว่าอาจเป็นเพราะสัตว์ป่าที่คุ้ยเขี่ยอาหารแล้วนำสปอร์(เรียกถูกป่ะไม่รู้)ของขนุนดินติดไปด้วย พอบังเอิญไปขุดขุยดินจนรากของต้นไม้เกิดเป็นแผลสปอร์ของขนุนดินจึงฝังตัวและเกิดที่ต้นไม้นั้น แต่ไม่ใช่ว่าขนุนดินจะขึ้นได้กับไม้ทุกต้น มีเพียงบางต้นเท่านั้นที่เหมาะแก่การอิงอาศัยของขนุนดินและหนึ่งในนั้นคือองุ่นป่ารึอีโก่ยนั่นเองที่ขนุนดินจะชอบไปขึ้นที่ราก จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราสนใจอยากรู้ว่าองุ่นป่าหน้าตาเป็นยังงัย แต่การดูต้นไม้ในป่าที่สมบูรณ์นั้น บางทีไม่ง่าย อย่างขนุนดินเค้าเป็นไม้เถาพอเวลาที่ขึ้นในป่ารกทึบไม่เรือนยอดสูงๆ เค้าก็ต้องพยายามเลื้อยขึ้นไปเหนือเรือนยอดของไม้นั้นเป็นอันว่าเราจะไม่เห็นหน้าตาเค้าหรอก
องุ่นป่า
ชื่อสามัญ Common name : องุ่นป่า , เถาเปรี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name : Ampelocissus martinii Planch. ชื่อวงศ์ Family name: VITACEAE (VITIDACEAE) ชื่ออื่น Other name: เครืออีโกย (อีสาน) กุ่ย (อุบล) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) ส้มกุ้ง (ประจวบฯ)ตะเปียงจู องุ่นป่า (สุรินทร์)

ลักษณะทั่วไป : ไม้เลื้อยล้มลุก หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิว ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม (glandularhair )ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก 4 กลีบ การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน ประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานดอกมากจะทำให้ระคายคอ ชาวบ้านจะจิ้มเกลือก่อน รับประทานจะลดอาการระคายคอหรือนำผลสุกมาตำใส่ส้มตำ ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
นอกจากนี้จากคุณสมบัติที่ทนทานและหากินเก่งขององุ่นป่าจึงมีการนำมาเป็นต้นตอขององุ่นพันธุ์ต่างๆ ซึ่งก็จะช่วยให้องุ่นป่าของเราไม่สูญพันธุ์ไป
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากฝนดื่มแก้ไข้ ผสมลำต้นหรือรากรสสุคนธ์ เหง้าสัปปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกระตังบาย เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรม รากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้าหัวยาข้าวเย็นโคก และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม รักษาฝีแก้อาการบวม
ศิริพร กลมกล่อม เรื่อง - ภาพ


2 ความคิดเห็น:

  1. สามารถใช้ล้างสารพิษในร้างกายได้ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แหะๆนานมากกว่าจะตอบ ถ้าจะล้างพิษแนะนำ ๓ ตัวค่ะ รางจืด ย่านางและย่านางแดงค่ะ

      ลบ