โดย ปุณณภา งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย จังหวัดนครราชสีมา
ไม้ตระกูููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููููลเสี้ยวที่สวยที่สุดในโลก สีทองจะชัดในหน้าหนาว
ใบไม้สีทอง เป็นพันธุ์ไม้ชนิดเดียวที่มีอยู่ในโลกและเกิดขึ้นในประเทศไทย ณบริเวณเทือกเขาบูโด และเทือกเขาสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเขตกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติบนเทือกเขาบูโดแต่ไม่มีใครให้ความสนใจและเห็นคุณค่า จนกระทั่งคุณสมน้อย ภัทรเมธา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ได้นำใบไม้สีทองชนิดนี้ ถวายแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และมีพระมหากรุณาธิคุณดำริให้ฝ่ายพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ทำการวิเคราะห์ใบไม้ชนิดนี้แต่ในช่วงนั้นไม่สามารถที่จะวิเคราะห์หาข้อสรุปได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ชนิดใด กรมป่าไม้จึงได้จัดส่งพันธุ์ไม้ขนิดนี้ไปทำการพิสูจน์ณ ประเทศเดนมาร์ก ในที่สุดใบไม้สีทองก็ได้ถูกประกาศว่าพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกโดย ศาสตราจารย์ไค ลาร์เสน Pros.KaiLasenm) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauthiniaaureifpliaเมื่อปี พ.ศ. 25332 และต่อมาในปี 2535 จึงจดลิขสิทธิ์เป็นของประเทศไทยและเป็นที่รู้จักกันมาแต่นั้นมา...ใบไม้สีทองหรือชื่อพื้นเมืองเรียกกันว่า “ย่านดาโอ๊ะ” เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะม้วนงอเลื้อยขึ้นไปคลุมตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก2 แฉก โคนใบเว้าหยักคล้ายรูปหัวใจ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่าใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงหรือขนสีทองแดงเป็นมันคล้ายกำมะหยี่ ใบที่สมบูรณ์เต็มที่มีขนาด10*18 ซม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดกว่า 25 ซม.ใบมีสองชนิดคือกลุ่มใบสีเขียวทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและกลุ่มใบสีทองซึ่งบริเวณปลายกิ่งขณะยังเป็นใบอ่อนมีสีม่วงแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเมื่อใบแก่ขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งใบแก่เต็มที่จะเป็นสีคล้ายสีทองแดงระยะสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นสีเงินแล้วจะทิ้งใบระยะที่จะเห็นใบเป็นสีทองชัดเจนในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม ของทุกปี ต้นที่ปรากฏใบสีทองต้องมีอายุมากกว่า5 ปี มีดอกสีขาวเกิดเป็นช่ออยู่บริเวณปลายกิ่งลักษณะคล้ายดอกเสี้ยวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ 10 ดอกขึ้นไป มีกลิ่นหอม ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม -กุมภาพันธ์มีผลเป็นฝักคล้ายฝักดาบ มีขนสีน้ำตาลแดงคล้ายกำมะหยี่เช่นเดียวกับใบ ฝักหนึ่งๆ มีประมาณ 4-6 เมล็ด ลักษณะทั่วไป ใบไม้สีทอง ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะม้วนงอ เลื้อยขึ้นไปคลุมตามเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 2 แฉก โคนใบเว้าหยักคล้ายรูปหัวใจ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่ามากใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมหนาแน่น ลักษณะเหมือนกำมะหยี่ เริ่มแรกใบจะเป็นสีนาค คล้ายสีชมพู เมื่อผ่านไปสัก 2 สัปดาห์ จะกลายเป็นสีน้ำตาล และเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนประมาณ 3 เดือน จะกลายเป็นสีทอง และอีก 6 - 7 เดือนต่อจากนั้น จากสีทองจะกลายเป็นสีเงิน ใบที่สมบูรณ์เต็มที่มีขนาด 10x18 ซม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดกว่า 25 ซม. นอกจากนี้ ใบไม้สีทอง ถือเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เส้นรอบวงของเถาวัลย์ประมาณ 100 ซ.ม. เลื้อยพันธุ์ต้นไม้ใหญ่ขึ้นสูงถึง 30 เมตร ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้างถึงเกือบกลม กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายและโคนใบเว้าลึกแบ่งเป็น 2 แฉก แผ่นใบหนาและกิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันผิวใบด้านล่างมีขนคล้ายกำมะหยี่สีทองแดงเป็นมันเงาสะท้อนแสงเป็นประกายสวยงาม ก้านใบสีแดง ดอก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีครีม มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อละ 2-3 ดอก มีกลีบประดับขนาดเล็ก รูปไข่ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก มี 3-5 กลีบ ด้านนอก มีขนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดเท่าๆกันทุกกลีบ ขอบกลีบหยิกย่น ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักแบนยาวคล้ายฝักดาบ กว้าง 5-6 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร มี 4-6 เมล็ด ประโยชน์ของใบไม้สีทอง ประโยชน์ของใบไม้สีทอง คือ สามารถนำใบมาประดิษฐ์เป็นของที่ระลึก ทำเป็นต้นไม้ช่อที่สวยงาม กรอบรูปใบไม้สีทอง ของตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลและอื่นๆ อีกมากมาย
เอกลักษณ์/จุดเด่น ผิวใบคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมทั้งใบเมื่อแห้งสนิทแล้ว จะมีความเหนียว ไม่แห้ง และสีทองจะยิ่งชัดขึ้น ความแปลกของใบไม้สีทอง ใน 1 ต้นจะมีการเปลี่ยนของสีใบถึง 3 สี คือ สีนาค สีเงิน และสีทอง (ฤดูร้อน ,ฤดูฝนจะมีสีทองและฤดูหนาวจะมีสีเงิน) ใน 1 ต้น จะมีใบสีนาคเพียง 1 ใบเท่านั่น ทำให้ต้นใบไม้สีทองกลายเป็นต้นมงคลตามความเชื่อที่หลายคนอยากที่มีไว้ในบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น