วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

กำแพงเจ็ดชั้น ตาไก้ สมุนไพรรักษาเบาหวาน และภาวะโรคไตที่เกิดขากเบาหวานและการใช้ยาต่อเนื่องนานๆ

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา

กำแพงเจ็ดชั้นของอีสานจะมีลักษณะเนื้อไม้ที่แตกต่างจากกำแพงเจ็ดชั้นของภาคกลางในเวชกรรมไทย ที่มาของชื่อกำแพงเจ็ดชั้นเกิดจากลายวงปีของเนื้อไม้ ในภาคอีสานเรียกต้นตาไก้ว่ากำแพงเจ็ดชั้น และตากวงว่ากำแพงเก้าชั้น 
สมุนไพรตัวนี้ญี่ปุ่นเอาไปวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและยารักษาโรคเบาหวาน สั่งผลิตกล้าไม้และจ้างปลูกในเมืองไทย แบบเดียวกับที่ทำกับเปล้าน้อย

สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นรักษาอาการเบาหวาน ความดัน ไขมัน (โรคยอดฮิต) และอาการที่เกิดจากภาวะผิดปกติที่เกิดจากโรคนั้นดีขึ้นมาก รวมไปถึงอาการท้องผูกก็ดีขึ้น

กำแพงเจ็ดชั้น
ชื่ออื่น ตะลุ่มนก (ราชบุรี) ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) หลุมนก (ใต้) ขอบกระด้ง พรองนก (อ่างทอง); ขาวไก่, เครือตากวาง, ตากวาง, ตาไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระดุมนก (ประจวบคีรีขันธ์); กลุมนก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Salacia chinensis L.
ชื่อวงศ์ Celastraceae (Hippocrateaceae)
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้น แก้ปวดเมื่อย (เข้ายากับ ตาไก่ ตากวง อ้อยดำ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเต่า ใช้ลำต้นของทุกต้นรวมกัน มาต้มน้ำดื่ม) ยาระบาย (เข้ายากับ ยาปะดง ตากวง ดูกไส คอแลน พาสาน) ขับปัสสาวะ (เข้ายากับ แก่นตาไก้ แก่นตากวง แก่นดูกไส แก่นตานกกด) แก้ริดสีดวงทวาร (เข้ายากับ ว่านงวงช้าง แก่นกระถิน ปูนขาว แล้วต้ม)
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดนครราชสีมา ใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น
ยาพื้นบ้าน ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ทำให้อยากอาหาร ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับโลหิตระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก) แก้หืด (ผสมกับแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง ต้นสบู่ขาว ต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และต้นคำรอก) แก้เบาหวาน (ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก และหญ้าชันกาดทั้งต้น) ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายแก้เส้นเอ็นอักเสบ
ประเทศกัมพูชา ใช้ เถาต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน
ประเทศอินเดีย ใบ ใช้รักษาเบาหวาน โดยนำใบกำแพงเจ็ดชั้น ผสมกับใบแพงพวยฝรั่ง อย่างละเท่าๆกัน บดพอหยาบรวมกัน จำนวน 1 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ดื่มตอนเช้า เป็นเวลา 1 เดือน ราก แก้พิษงู นำรากกำแพงเจ็ดชั้นตำผสมกับน้ำมะนาว ใช้กินและพอกทาแผลที่ถูกงูกัด รากใช้รักษาโกโนเรีย โรคข้อรูมาติก และโรคผิวหนัง
องค์ประกอบทางเคมี
ลำต้น
สารกลุ่ม Friedelane-Type Triterpenes ได้แก่ maytenoic acid, friedelane-3-on-29-ol, 15R-hydroxyfriedelan-3-one, wilfolic acid C, salaspermic acid, orthosphenic acid, salasones A, salasones B, salasones C
สารกลุ่ม Oleanane-Type Triterpenes ได้แก่ 3β, 22β-dihydroxyolean-12-en-29-oic acid,
maytenfolic acid, β-amyrin, 22α-hydroxy-3-oxoolean-12-en-29-oic acid, β-amyrenone
สารกลุ่ม Ursane-Type Triterpenes ได้แก่ tripterygic acid A, demethylregelin
สารกลุ่ม Norfriedelane-Type Triterpenes ได้แก่ tingenone, tingenin B, regeol A, triptocalline A, salaquinone A, B
สารกลุ่ม Eudesmane-Type Sesquiterpene ได้แก่ celahin C, salasol A
ใบ
สารไตรเทอร์ปีน foliasalacins, 3b-hydroxy-20-oxo-30-norlupane, betulin, betulinic acid, friedelin, octandronol, oleanoic acid, erythrodiol, ursolic acid, uvaol, isoursenol
สารกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol
สารไกลโคไซด์ foliachinenosides E, F, G, H, I, foliasalaciosides J, K, L
ราก พบสารกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol(7) สารกลุ่มโปรแอนโทไซยานิดิน ได้แก่ leucopelargonidin (3)
ผล พบสารกลุ่มซัลโฟเนียม ได้แก่ salacinol, kotalanol(7)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส
สารสกัดด้วยน้ำจากลำต้น และรากกำแพงเจ็ดชั้น ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูซิเดสในลำไส้เล็กทั้งสองชนิดในหนูทดลอง โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ซูเครส โดยมีค่าIC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ 36.5, 57.9 µg/ml ตามลำดับ และยับยั้งเอนไซม์มอลเตส โดยมีค่า IC50 ของลำต้น และราก เท่ากับ 87.3, 157.7 µg/ml แสดงว่าลำต้นออกฤทธิ์ได้ดีกว่าในราก โดยพบว่าสารออกฤทธิ์ดีคือ salacinol และ kotalanol
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด
สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มและเอทานอล จากรากกำแพงเจ็ดชั้น เมื่อป้อนให้หนูทดลอง ในขนาด 500 mg/kg body wt.ต่อวัน เป็นเวลา 14 วัน พบว่ามีนัยสำคัญในการลดปริมาณคลอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ LDL VLDL สามารถเพิ่มไขมันชนิดดี HDL ในหนูที่มีไขมันในเลือดสูงได้ เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับยา
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษ
สารกลุ่มลิกแนนที่แยกได้จากใบ 2 ชนิด คือ eleutheroside E₂และ 7R,8S –dihydrodehydrodi coniferyl alcohol 4-O-β-D-glucopyranosideมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับหนูในหลอดทดลอง จากการถูกทำลายด้วยสารเคมี D-galactosamineเมื่อให้สารในขนาด 100 µMโดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 41.4 และ 45.5 ตามลำดับ
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
สารสกัดใบด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcusepidermidis และเชื้อรา Cryptococcus neoformans โดยมีค่า MIC เท่ากับ 256 µg/mL และยับยั้งเชื้อรา Candida albicansโดยมีค่า MIC เท่ากับ 512 µg/mL สารสกัดใบด้วยน้ำมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. epidermidisและ C. neoformans โดยมีค่า MIC เท่ากับ 512 และ 1024 µg/mL ตามลำดับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น