วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ลั่นทมระทมท่วมทุกข์ท้น

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา




ลั่นทมเป็นไม้ดอกสวยมีเสน่ห์จัด แม้แต่ตอนร่วงยังดูดีมากๆ สปาถึงนิยมใช้ดอกลั่นทมเป็นสัญญลักษณ์ ดอกลั่นทมเป็นไม้มียางที่กินได้แต่ต้องเก็บเฉพาะดอกขาวและดอกที่ร่วงจากต้นเท่านั้น นำมาชุบแป้งทอด

ลั่นทมระทมท่วมทุกข์ท้น

หยาดน้ำตาเกลื่อนกล่นหม่นหมอง

ครวญคร่ำร่ำไห้ไร้ทำนอง

จำจองวิญญาณรานรอน

ลั่นทมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม ไม่เข้าใจว่าทำไมคนถึงได้กลัวชื่อลั่นทมกันนัก หาว่านามไม่เป็นมงคล ไม่เหมาะนำมาปลูกในบ้านจะทำให้ระทมไม่มีความสุข จริงๆแล้วเหตุผลที่ซ่อนอยู่ของคนโบราณคือลั่นทมเป็นไม้กิ่งเปราะต้นสูงปานกลาง แผ่กิ่งน่าปีนป่ายเป็นที่สุด ถ้าบ้านไหนมีเด็กคงอดใจปีนต้นลั่นทมไม่ได้แน่ คนเฒ่าคนแก่กลัวเด็กได้รับอุบัติเหตุตกลงมาจากกิ่งที่ปีนง่ายแต่เปราะของลั่นทม จึงห้ามเอาไว้ แต่คนโบราณมักไม่บอกเหตุผลตรงๆ เลยทำให้ลั่นทมต้องมีวิบากกรรม ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นลีลาวดีเพื่อนำมาใช้เชิงการค้า ใครเคยไปลาวจะเห็นลั่นทมเต็มไปหมด ต้นใหญ่เด่นเห็นเรียงรายข้างทางเป็นไม้ประจำประเทศของเค้าเลย น่าภูมิใจแทน ตอนเราทำงานอยู่บนเขาที่ชัยภูมิ คนที่นั่นก้อเรียลั่นทมว่า จำปาลาว ปลูกง่ายสุดๆ แค่หักกิ่งแล้วปักลงไปไม่ยักตาย ตามวัดหลวงพ่อเล่าให้ฟังว่าสมัยกระแสไม้ต้นนี้บูมกันใหม่ๆ ขายมีราคามาก  เป็นที่ต้องการอย่างมาก  มันเข้าไปหักไปขุดในวัดไปขาย พระท่านได้แต่ปักป้ายขอร้องไว้ เงินตัวเดียวแท้ๆ อยากบอกว่าช่วยเรียกเค้าด้วยชื่อเดิมเถอะ ก่อนที่จะไม่มีใครรู้ว่าลั่นทมคือต้นอะไร ตำรับยาโบราณที่เข้าตัวยาลั่นทมจะพลอยสูญไปด้วย

เพลงลาวม่านแก้ว
ล่องลอยเอย จากพิมาน ข้ามสีทันดร ตระการ สู่แคว้นแดนไทย กลิ่นจอมขวัญ ปักใจพี่มั่น ตรึงหมาย กี่ชาติกี่ภพ ไม่มีคลอนคลาย รักเจ้าไม่หน่าย ไม่คลายจากกัน
แจ่มจันทร์ขวัญฟ้า ขอเทพเทวาเป็นพยาน วันดีศรีสุข สองเราสมัครสมาน พี่ขอรัก นงคราญ จวบจนรักนั้น นิรันดร์กาลเอย ดอกเอย เจ้าดอกจำปาลาว ตัวพี่รักเจ้า เท่าท้องนภาเอย

ลั่นทม เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Templetree)
ลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม" ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น "ลั่นทมขาว" เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"
ลั่นทมเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี
ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่

คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี

ดอกลีลาวดี
ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก [ต้องการอ้างอิง]
มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลั่นทมในลักษณะต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้นี้ตามหลักสากลมีชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)ถ้าจะสืบประวัติที่แน่ชัด ที่จริงแล้วถิ่นกำเนิดของต้นลั่นทมนั้นอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน ไม่ใช่เป็นต้นไม้ในแถบบ้านเรา
เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณราวพุทธ ศตวรรษที่ 17 โดยเข้ามาทางอาณาจักรขอม (ประเทศกัมพูชา) ในยุคสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่2 (พ.ศ. 1650 – 1700) เป็นกษัตริย์ผู้ทรงสร้างพระนครวัด ในครั้งนั้นเจ้าฟ้างุ้ม พระโอรสแห่งเมืองลาวมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้พลัดพรากจากชาติภูมิ ไปพำนักที่เขมรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และต่อมาได้เป็นมหาดเล็กในราชสำนัก เมื่อโตขึ้นจึงคิดจะกลับเมืองลาว ครั้งที่เจ้าฟ้างุ้มเดินทางจากเขมร มีบันทึกว่าได้เข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนที่จะเดินทางเข้าเมืองลาว สันนิษฐานว่าเจ้าฟ้างุ้มน่าจะนำต้นไม้ชนิดกลับไปยังประเทศลาวด้วย เพราะจากบันทึกของประเทศลาวได้กล่าวถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งมีชื่อว่า จำปา (ชื่อเรียกต้นลั่นทมในภาษาลาว) นอกจากนี้ประเทศลาวเอง ยังมีเมืองสำคัญแห่งหนึ่งชื่อ จำปาสัก ซึ่งหมายถึงต้นลั่นทม นั่นเอง แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดว่ามีการเดินทางมายังประเทศไทยในช่วงนี้ แต่เป็นที่น่าคิดว่า สมัยสุโขทัยที่มีการยึดอำนาจอาณาจักรขอมน่าจะนำเอาต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาบ้าง
พลูมมีเรีย หรือ พลัมมีเรีย (plumieria) เป็นชื่อที่เรียก ลั่นทม หรือลีลาวดี ตามชื่อของนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชาร์ล พลัมเมอร์ (ค.ศ. ๑๖๔๖-๑๗๐๖) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ให้แสวงหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ในเขตร้อน เขาได้เดินทางไปยังหมู่เกาะ แคริเบียนถึง ๓ ครั้ง ซึ่งเป็นแหล่งที่ได้พบต้นไม้ที่มีดอกสวยงามและรูปทรงแปลกๆ จึงได้นำกลับมาที่ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 และเขาได้ริเริ่มจัดระบบของต้นใม้และดอกไม้ในเขตร้อนให้เป็นหมวดหมู่ ภายหลังนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนาม ทัวนีฟอร์ท ได้ตั้งชื่อต้นลั่นทมว่า พลัมเมอร์เรีย (plumieria) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย ชาร์ล พลัมเมอร์ แต่ภายหลังได้เรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น พลูมมีเรีย (plumeria) ต้นไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า ฟรังกีปานี (frangipani) ซึ่งมีสมมุติฐานว่ามาจากคำในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ฟรังกีปาเนีย (frangipanier) ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า กลิ่นหอม (fragrance) อีกสมมุติฐานของชื่อนี้คำว่า ฟรังกีปานี มีความหมายถึง ยางสีขาวข้นเหนียวของต้นลั่นทม เมื่อชาวฝรั่งเศสผู้ไปตั้งรกรากในหมู่เกาะแคริเบียนได้สังเกตเห็นยางของลั่นทมจึงเรียกว่า ฟรังกีปานีเออร์ (frangipanier) ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส แปลว่านมข้น จึงเป็นไปได้ว่าชื่อสากลของพันธุ์ไม้นี้มาจากภาษาฝรั่งเศส
ต้นลั่นทมได้แพร่หลายในอเมริกาสมัยบุกเบิก ซึ่งต่อมามีการผสมข้ามพันธุ์ทำให้มีสีสันมากมายและหลากลักษณะ นักพฤกษ์ศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ วูดสัน (woodson) ได้แบ่งชนิดของลั่นทมออกเป็น 7 ลักษณะ ตามแหล่งดั้งเดิมของที่มา ดังต่อไปนี้
1. พลูมมีเรีย อินโนโดรา แหล่งเดิมมาจากประเทศ โคลัมเบีย และ บิตริสกีนา
2. พลูมมีเรีย พูดิกา ประเทศโคลัมเบีย เวเนซูเอลา และ มาตินิค
3. พลูมมีเรีย รูบรา ประเทศในอเมริกากลาง
4. พลูมมีเรีย ซับเซสซิลิส ประเทศฮิสปานิโอลา
5. พลูมมีเรีย ออบทูซ่า หมู่เกาะบาฮามัส ประเทศ คิวบา จาไมกา ฮิสปานิโอลา ปอร์โตริโก บริติสฮอนดูรัส
6. พลูมมีเรีย ฟิลิโฟเลีย ประเทศ คิวบา
7. พลูมมีเรีย อัลบา ประเทคปอร์โตริโก เวอร์จินไอแลนด์ส และ เลสเซอร์ เอนทิเลส
นอกจากการแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังมีการแบ่งชนิดของลั่นทมตามลักษณะใบ ช่อดอก และสี อีกด้วย การตั้งชื่อชนิดของลั่นทมได้มีอย่างกว้างขวางไปทั่วทุกแหล่งที่นิยมปลูก ประเทศที่ให้ความสำคัญถึงกับมีการตั้งสมาคม ก็คือ สหรัฐอเมริกา โดยมีการจดทะเบียนชื่อตามลักษณะต่างๆ ดังที่กล่าวถึงกว่า 300 ชื่อ จากจำนวนของลั่นทมที่มีอยู่เดิม (generic) และที่มีการผสมพันธุ์ (hybrid) กว่า 1,000 ชนิดทั่วโลก
ราชอาณาจักรไทยกับบันทึกของลั่นทม
ในช่วงปี พ.ศ. 2232 – 2238 ชาร์ลส์ พลูมิเยร์ (Charles Plumier) ผู้เขียนเรื่อง The Flora of Tropical America ) ชาวฝรั่งเศสเดินทางไปแถบหมู่เกาะเวสต์อินดีสเพื่อคันหาพืชพันธุ์ใหม่ๆ ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพบพันธุ์ไม้พื้นเมืองชนิดหนึ่งซึ่งนิยมปลูกตามสุสาน ดอกมีกลิ่นหอม ต้นไม้ที่ว่านั้นคือดอกลั่นทม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชแห่งราชอาณาจักรสยาม มีการเจริญสันพันธ์ไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส แต่คาดว่าต้นลั่นทมอาจจะยังไม่เข้ามาสู่ประเทศไทยในช่วงนี้ พิจารณาได้จากจดหมายเหตุและพงศาวดารพระราชอาณาจักรสยามครั้งสมัยกรุง ศรีอยุธยา ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2230 โดยมองซเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ( Monsieur de LaLoubere) เอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่14 ผู้เข้ามาทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชสาสน์ ณ กรุงสยาม ในคณะทูตานุทูตฝรั่งเศสชุดที่2 ได้เขียนเล่าเรื่องราวของกรุงสยามเป็นภาษาฝรั่งเศสและบันทึกถึงชื่อต้นไม้ ที่ชื่อลั่นทม เหตุอย่างหนึ่งอาจเกิดจากพื้นที่ของอยุธยาเป็นที่ราบลุ่ม ในฤดูน้ำหลากมักเกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งไม่เหมาะกับการปลูกพืชชนิดนี้ จีงยังไม่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่9 (พระเจ้าท้ายสระ) ราวปี พ.ศ.2260 กรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อทำการค้ากับประเทศสเปน ในช่วงนี้มีการนำเอาต้นลั่นทมเข้ามามากที่สุดจากฟิลิปปินส์ โดยทหารสเปนที่เข้ามายึดฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมนำลั่นทมจากประเทศแถบละตินอ เมริกาเข้ามายังภูมิภาคนี้ สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาพบหลักฐานทางวรรณคดีที่เอ่ยถึงลั่นทม เรื่องบุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทราย เข้าใจว่าแต่งในราวปี พ.ศ.2293 – 2301 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏตอนพรรณนาถึงลานพระพุทธบาท สระบุรี ดังนี้ “ลั่นทม ระดมดาษ ดุจราชประพัตรา แก้วกรรณิกากา- รเกษกลิ่นกำจรลม” ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเริ่มปรากฏหลัก ฐานเด่นชัดเกี่ยวกับลั่นทมมากขึ้น โดยพบจากงานเขียนในวรรณคดีหลายเรื่องดังความ ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ที่ว่า “ศาลา มีทั้งระฆังห้อย เขาตีบ่อยไปยังค่ำไม่ขาดเสียง ดงลั่นทมร่มรอบคิรีเรียง มีกุฎิ์เคียงอยู่บนเขาเป็นหลั่นกัน” และสมัยรัชกาลที่4 มีการสร้างพระราชวังที่จังหวัดเพชรบุรี ชื่อพระนครคีรี หรือเขาวัง โดยนำเอาลั่นทมสีขาว (Plumeria obtuse L.) มาปลูกเรียงรายขึ้นไป แลเห็นเป็นเสมือนภูเขาลั่นทมเช่นเดียวกันกับพระราชฐานฤดูร้อนที่เกาะสีชัง ซึ่งรัชกาลที่5 ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และพระราชทานนามว่า “จุฑาธุชราชฐาน” ปี พ.ศ. 2435 ครั้งนั้นมีการปลูกต้นลั่นทมเป็นจำนวนมากที่เกาะสีชังจนกลายเป็นสัญลักษณ์ ของเกาะนี้ในเวลาต่อมา ส่วนลั่นทมชนิดดอกแดง (Plumeria ruba L.) นั้น พระยาอัชราชทรงสิริเป็นผู้นำมาจากปีนัง และนำมาปลูกที่จังหวัดภูเก็ตคราวพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ประพาสปีนัง (พ.ศ. 2467)ตั้งแต่นั้นมาจึงเริ่มเห็นดอกลั่นทมสีต่างๆ มากขึ้น เล่าเรื่องชื่อ ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียมีการเรียกชื่อพื้นเมืองของลั่นทมแตกต่างกันไป อย่างประเทศเพื่อนบ้านเรายังเรียกชื่อที่แตกต่างกัน เขมร เรียกว่า จำไป และ จำปาซอ ถ้ามาเลเซียจะเรียกว่า กำโพชา จำปากะ อินโดนีเซียเรียกว่า กำโพชา อินเดียเรียกว่า พหูล แคร์จำปา ซอนจำปา จินจำปา พม่าเรียกว่า ต่ายกสะกา แม้แต่ไทยเองยังเรียกแตกต่างกัน ทางพายัพ เรียก จำปาลาว อีสานเรียก จำปาขาว ปักษ์ใต้เรียก จำปาขอม ภาคกลางเรียก ลั่นทม ส่วนความหมายของชื่อมีแตกต่างกันไปดังนี้ ลั่นทม แปลว่า ดอกไม้ใหญ่ ลั่น แปลว่าใหญ่ หรือดัง ทม แปลว่าดอกไม้ ลั่นทม แปลว่า ละทิ้งจากความโศกเศร้า ลั่นแปลว่าทิ้ง ทม แปลว่าระทม ลั่นทม แปลว่า รักอันยิ่งใหญ่ เพี้ยนมาจากคำว่า สรัลทม (ภาษาเขมร) ลั่นทม เพี้ยนมาจากคำว่าลานธม ในอดีตของชาวเขมรบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นครธม เขาจะไปยังลานหินแล้วนำเอาดอกไม้ชนิดนี้ไปวางที่ “ลานธม” จีงเพี้ยนกลายเป็นดอกลั่นทม
Tips ของการปลูกลั่นทม
1. ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถ้าโตเต็มที่จะสูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นสีเทาปนเขียว มียางสีขาว รูปทรงแผ่เห็นกิ่งก้านสวยงาม ดอกมีหลายสี เช่นสีขาว แดง ชมพู เหลือง และมีสีผสม บางชนิดมีกลิ่นหอม ผลจะออกเป็นฝักคู่สีน้ำตาล 2. เติบโตดีในดินร่วนปนทราย การให้น้ำปานกลาง และต้องการแสงแดดเต็มวัน 3. โรคที่มักพบบ่อยคือ ราสนิม หากพบไม่มากควรเด็ดใบทิ้งแล้วนำไปทำลายให้ห่างจากต้น แต่ถ้าต้องการกำจัดอาจจะต้องใช้สารเคมี คือ แมนโคเซ็บ คลอโรทาโลนิล หรือคาร์เบนดาซิม ตามฉลากแนะนำ 4. การขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธี ได้แก่ เพาะเมล็ด ปักชำ เสียบยอด หรือติดตาพันธุ์ดีบนต้นตอเพาะเมล็ด ส่วนต้นใหญ่ที่นำมาปลูกใช้วิธีขุดล้อม สามารถขุดให้รากเปลือยแล้วนำไปปลูกใหม่ได้ แต่ต้องปลิดใบออกบางส่วนเพื่อลดการคายน้ำ รอไม่นานก็แตกใบใหม่สวยงามเหมือนเดิม ชอบแสงแดดจัด ปลูกง่าย และไม่ต้องดูแลมากนัก ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด เป็นพันธุ์ไม้ทนแล้งตามสภาพความเป็นอยู่ ถ้าได้รับการบำรุงดูแลให้ปุ๋ยให้น้ำ หรือบำรุงปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 14-14-21 ประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง สลับกับแคลเซียมไนเตรท 15-0-0 ลั่นทมก็จะให้ความสวยงามสดชื่นตลอดปี แต่ไม่ชอบดินแฉะที่มีน้ำท่วมขัง
ในปัจจุบันนี้ต้นลั่นทม หรือเรียกชื่อใหม่ว่า ลีลาวดี กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ราคาในท้องตลาดขยับราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก และ ในความเชื่อที่เปลี่ยนไปจากเดิมทำให้นิยมนำไปใช้ตกแต่งในสถานที่ต่างๆ มากขึ้น ยิ่งต้นใหญ่ยิ่งราคาแพง ต้นลั่นทมขนาดใหญ่มักจะมาจากแถบอีสาน หรือมีการลักลอบมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ค่านิยมในการปลูกลั่นทมนี้อาจจะเป็นแฟชั่นเหมือนกับโป๊ยเซียน ชวนชม ที่เมื่อนิยมก็ปั่นราคาจนสูงเกินความเป็นจริง แทนที่จะปลูกชื่นชมเพื่อความสวยงามเหมือนต้นไม้อื่นๆ

สรรพคุณ ทั้งต้น ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้าใบ เอาใบแห้งมาชงน้ำร้อนใช้รักษาโรคหอบหืด หรือนำใบสดมาลนไฟให้ร้อนแก้ปวดบวมเปลือกราก ใช้เป็นยารักษาโรคหนองใน เป็นยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลมเปลือกต้น นำมาต้มเป็นยาถ่าย ขับฤดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือให้ผสมกับน้ำมันมะพร้าว ข้าวและมันเนย ซึ่งจะเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ขับปัสสาวะดอก ใช้ทำธูป แต่ถ้าใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรียเนื้อไม้ เป็นยาแก้ไอ ในประเทศเขมร ใช้เป็นยาถ่าย ขับพยาธิยางจากต้น เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ทำให้เกิดผื่นแดง ถ้าใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน

ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง/ภาพ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กระแจะ,ตานกกรด,ช้างน้าว ทนาคาเมืองไทย ตอนที่ ๑

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา




แม่ค้าพม่ากำลังสาธิตวิธีฝนแท่งไม้ทนาคากับแป้นหินที่หน้าตาคล้าย ๆ ที่รองโม่แป้งของเรา จากเวปไซต์http://www.oceansmile.com/forum2/data/1/1132-5.html






สาวเล็กสาวใหญ่ในพม่าปะแป้งทนาคาวิถีชีวิตที่พบเห็นทั่วไปและสินค้าทนาคาที่แปรรูปหลากหลายในพม่าภาพจากเวปไซต์ http://niciuzza.exteen.com/20090409/entry

ใครไปเที่ยวประเทศพม่าหรือมีโอกาสเห็นสาวพม่าคงคุ้นตากับข้างแก้มที่มีรอยประแป้งเป็นลวดลายต่าง ๆ ( ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่ทาเกลี่ยดี ๆ ให้เนียนเรียบร้อย ) สำนวนผิวพม่านัยน์ตาแขก คงทำให้เราสนใจวิธีดูแลผิวพรรณแบบสาวพม่ากันบ้างและคงอดที่จะซื้อทนาคา ที่มีทั้งแบบเป็นท่อน ๆ ขนาดเล็กใหญ่ขายพร้อมหินฝน รึ แบบเป็นผงที่ไม่รู้ว่าจะผสมอะไรเข้าไปบ้าง เดินป่าเมืองไทยถึงรู้ว่าไม้ชนิดนี้เมืองไทยก้อมีแต่เราเรียกเค้าว่า กระแจะ ( คนโบราณ ) พญายา หรือภาคอีสานเรียกตุมตัง ไม่นับไม้อีก ๒ ชนิดที่มีสรรพคุณนำเนื้อไม้มาฝนทำเป็นแป้งทาผิวได้เหมือนกัน คือ ตานกกรด และช้างน้าว วันนี้เอาเรื่อง กระแจะ หรือ พญายา ก่อนละกัน กระแจะเป็นไม้มีเอกลักษณ์ที่ใบ ส่วนใหญ่เห็นปลูกตามบ้าน จนได้ไปเจอในป่าเป็นกอขนาดใหญ่อยู่ที่อำเภอห้วยแถลง ( อ่านว่า ห้วย-ถะ-แหลง )

กระแจะ

กระแจะ สมุนไพร กระแจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 1 - 2 คู่ แกนช่อใบและก้านช่อใบมีกลีบแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง ใบย่อยรูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวตรงข้ามกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กระแจะ กระแจะจัน ขะแจะ (ภาคเหนือ), ตุมตัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), พญายา (ภาคกลาง, ราชบุรี), พินิยา (เขมร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ต้น สมุนไพรกระแจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง แต่แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทา ขาวอมเหลือง ผิวเรียบ มักมีหนามแข็งยาวๆ ทั่วไป เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน ตามกิ่งมีหนามแหลมแข็ง รูปทรง (เรือนยอด) รูปทรงพุ่มรีหรือกรวยต่ำ ทึบ
ใบ ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 1 – 2 คู่ แกนช่อใบและก้านช่อใบมีกลีบแผ่ออกทั้ง 2 ข้าง ใบย่อยรูปรีแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียวตรงข้ามกัน ขนาดใบ ย่อย 0.5-2.5×1-8 ซม. เนื้อใบบางเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ส่องดูจะมีจุดใหญ่ๆ กระจายทั่วไป เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอมส้มอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้นๆ
ดอก ดอกสมุนไพรกระแจะออกเดี่ยวแต่จะรวมเป็นกระจุก ตามกิ่งเล็กๆ มีขนาดเล็ก ขนาดยาวประมาณ 5 มม. สีขาวหรือขาวอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกช่องเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ผล แบบผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร มีเนื้อเยื้อบางๆ หุ้มผลอ่อนสีเขียว พอแก่จัดออกสีม่วงคล้ำ ผลแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม

กระแจะ สมุนไพร ใบสมุนไพรกระแจะส่องดูจะมีจุดใหญ่ๆ กระจายทั่วไป เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอมส้มอ่อนๆ ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันตื้นๆ
สรรพคุณของสมุนไพร :
แก่น แก่นของกระแจะใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง)
ลำต้น ใช้กระแจะต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน
เปลือกต้น แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส
ประโยชน์ด้านอื่นๆ :
ไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องหอมประทินผิวแบบโบราณ ในพม่ายังนิยมใช้เปลือกและไม้ฝนผสมกับไม้จันทน์ (sandalwood) จนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณภาพ  ใบกระแจะ  จาก  magnoliathailand.com
ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง

ข้อมูลเพิ่มเติมจากนายเกษตร คอลัมนิสต์ ชื่อดังประจำหนังสือพิมพ์  ไทยรัฐ
กระแจะ” แก้ลมบ้าหมูได้ [13 ต.ค. 49 - 17:01]


ผู้อ่าน จำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าต้น “กระแจะ” เป็นต้นเดียวกับที่คนโบราณนำไปทำเป็นแป้งประทินโฉม ซึ่งขอยืนยันว่า ไม่ใช่และเป็นคนละต้นกัน ดังนั้น จึงนำเอาเรื่องราวของต้น “กระแจะ” เสนอในคอลัมน์ให้ผู้สงสัยได้กระจ่างไม่คิดผิดอีก

สรรพคุณทางยา ใบ ต้มน้ำดื่มแก้คนเป็นโรคบ้าหมู (โรคลมชัก สมัยก่อนเป็นกันมาก) ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายและ แก่น ใช้ดองกับสุราขาว 40 ดีกรี กิน วันละ 3 เวลา ครั้งละ 1 เป๊ก ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นยาแก้กระษัย โลหิต พิการ และ ดับพิษร้อน ได้เด็ดขาดนัก


จะเห็นได้ว่ามีประเด็นขัดแย้ง เรื่องต้นกระแจะต้นนี้ใช้เครื่องสำอางประทินผิวในสมัยโบราณหรือไม่ คงต้องรวบรวมข้อมูลกันต่อไป

สมุนไพรแก้ขนคุด

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


สมุนไพรรักษาอาการขนคุด
พลูคาว ใช้รูปเค้ารอไปพลางๆ ก่อน ยังหารูปไม่เจอ
พุดรา นี่ก้อยืมรูปเค้า ต้องไปหาเก็บรูปก่อน

ภาพแสดงการเปรียบเทียบ รูขุมขนปกติ กับ ภาวะขนคุด


ภาพแสดงชั้นของผิวหนังและต่อมต่าง ๆ





ผู้ป่วยโรคขนคุด จะมีอาการเหมือนขนลุกตลอดเวลา

ได้มีโอกาสอบรมให้กับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเรื่องเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย เมื่อวันที่ ๒๑-๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ จำนวน ๗๐ คน พี่ๆน้องๆของเราน่ารักมากตั้งอกตั้งใจกันดี เจอโจทย์จากน้องๆที่ถามมาแต่ละข้อ เก็บไปคิดหลายวันเลย โรคภัยทุกวันนี้เป็นกันแปลก ๆ นะ มีคำถามมาว่า สมุนไพรแก้ขนคุดใช้อะไร ทำงานสถานีอนามัยมา ๒๐ ปีก้อยังไม่เคยเจอคนไข้ด้วยโรคนี้ ถามน้องกลับไปว่าคิดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร น้องบอกว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อ งั้นเอางี้ เล่นbroad spectum ไปเลยแล้วกัน เอาสมุนไพรตัวที่ออกฤทธิ์กว้าง ๆ ครอบคลุมทุกเชื้อเข้าว่า เลยแนะนำพลูคาวให้เค้าไปลองกินสดหรือต้มกินดู

กลับมาค้นตำรายาตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ของอาจารย์ วุฒ วุฒิธรรมเวช ที่ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ดังนี้

ตำรับยากินแก้ผม,ขนพิการ ประกอบด้วย รากส้มป่อย รากพุดลา รากมะกรูด เสมอภาค ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละหนึ่งถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้งเช้าเย็น ก่อนอาหาร

(คำอธิบาย คำว่าลาในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดอกไม้ที่มีกลีบชั้นเดียว ไม่ซ้อน เช่น มะลิลา พุดลา รักลา )

สรรพคุณ แก้ผมพิการ ให้ผมร่วง แก้ขนพิการ เจ็บตามขุมขน ให้ขนร่วง
รากส้มป่อย รสขม แก้ไข้
รากพุด รสขมเย็น แก้ไข้ แก้ร้อนใน
รากมะกรูด รสจืดเย็น แก้ไข้แก้ไข้กำเดา ถอนพิษผิดสำแดง กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน

อ่านอาการแล้ว เอ...หรือเราก้อเป็นแฮะ

ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคขนคุด

โรคขนคุด (Keratosis pilaris)
เป็นอีกอย่างที่คล้ายกับ สิว มากแต่ไม่ใช่สิว บางคนอาจจะเคยเป็นเวลาลูบไปตามขา สะโพก แขนแล้วไม่เรียบเป็นตุ่มๆแข็งๆ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าแต่ในบางคนอาจเป็น ยังไม่เจอสาเหตุที่แน่นอนว่าเกิดจากอะไร
โรคขนคุด
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป มีลักษณะรูขุมขนเป็นตุ่มแข็งนูนขึ้นมาบนผิวให้สัมผัสขรุขระเมื่อลูบดู และแลดูเหมือนหนังไก่ ส่วนใหญ่พบได้บริเวณแผ่นหลัง และต้นแขนด้านนอก (บริเวณท่อนแขนก็พบได้บ้าง) และยังพบได้บริเวณต้นขา สีข้าง สะโพก น่อง น้อยครั้งที่จะพบบริเวณผิวหน้า และอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น สิว
การจัดแบ่งประเภท
คนที่เป็นส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้ใหญ่ 40-50% และประมาณ 50-80% เป็นวัยหนุ่มสาว และจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และความรุนแรงก็จะมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงมาก โรคขนคุด นั้นมีอยู่หลายประเภท ตั้งแต่ Keratosis pilaris rubra คือ ขนคุด ที่มีอาการอักเสบ แดง, alba คือ ขนคุด ที่เป็นตุ่มแข็งขึ้นมาบนผิวหนังแต่ไม่ระคายเคือง, rubra faceii คือเป็นผื่นแดงบริเวณแก้ม - - ส่วนใหญ่คนที่เป็น โรคขนคุด มักไม่รู้ว่าตนเองเป็นอยู่ (หากว่ามีอาการเล็กน้อย) คนมักจะสับสนเข้าใจว่าเป็นสิว เนื่องจาก ขนคุด นั้นมีลักษณะคล้ายกับเวลาที่ขนลุก เมื่อสัมผัสจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ บนผิวหนัง
วิธีการรักษา
ขณะนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาอาการ ขนคุด แต่ก็มีวิธีที่ได้ผลระดับหนึ่งที่จะทำให้อาการดูน้อยลง ผิวบริเวณที่เป็น ขนคุด จะดูดีขึ้นและอาจหายไปได้ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านพ้นไป - - การขัดและผลัดเซลล์ผิว, ครีมบำรุงผิวเข้มข้น, lac-hydrin, และโลชั่นที่มีส่วนผสมของ AHA หรือ Urea อาจช่วยบำรุงผิวบริเวณที่มีปัญหาให้ดีขึ้น เนียนนุ่มขึ้นได้บ้างชั่วคราว การรับประทานยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ ก็ช่วยได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผลต่อตับ อาจทำให้เกิดพิษได้ และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจรับประทานวิตามินเอ เมื่อหยุดยาก็มัก กลับมาเป็นอีก การทายากรดวิตามินเอได้ผลบ้าง แต่ไม่ดีเท่ายากิน หลัง ๆ มีการใช้ laser ในการกำจัดขนและมีการอ้างว่า ได้ผลได้การรักษา ขนคุด ด้วย แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันชัดเจน
การเกาและแกะขนคุดนั้นจะทำให้เป็นแผลแดง และบางครั้งก็ทำให้เลือดออก การแกะเกาบ่อย ๆ จะทำให้กลายเป็นแผลเป็นรอยดำ การสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่ให้รัดบริเวณที่เป็น ขนคุด ก็จะช่วยลดการเกิด ขนคุด ใหม่ ๆ ได้ เพราะหากสวมใส่เสื้อผ้าคับ ๆ ก็จะเกิดการเสียดสี เปรียบเสมือนการเกา ก็จะทำให้ยังเป็น ขนคุด เพิ่มได้อีก

ข้อมูลจาก

http://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1825&pagetype=articles

ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระเจ้าห้าพระองค์

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา




เรารู้จักเมล็ดของต้นนี้ตามงานออกร้านต่าง ๆ ตอนแรกนึกว่าเค้าทำเอา ตอนหลังถึงรู้ว่าธรรมชาติเป็นมาอย่างนี้เอง เจอต้นจริงสูงใหญ่มาก อยู่ที่เขาซับลังกาลพบุรี เห็นว่าที่เขาพังเหยชัยภูมิต้นใหญ่กว่านี้ แต่ตามป่าก้อหายากจริง ๆ ยิ่งเมล็ดมันยิ่งหายากไปใหญ่ไม่ทันคนเก็บไปขาย กับกระรอกกระแตที่แทะเอาส่วนที่เหมือนพระพุทธรูปออกไปหมด บางอันมี ถึงหกพระองค์ เราว่าธรรมชาติเค้าสุดยอดเน๊าะ




คนไทยแต่โบราณมักจะมีของขลังชนิดหนึ่งติดตัว คือ “พระเจ้าห้าพระองค์”คำว่าพระเจ้าห้าพระองค์ เป็นคำโบราณ มาจาก คาถาพระเจ้าห้าพระองค์เป็นคาถาเรียกกำลัง เมื่อบริกรรมแล้ว จะเสมือนว่า มีพระเจ้าห้าพระองค์สถิตยที่สองแขนสองขา และกระหม่อม เมื่อต่อสู้จะเกิดกำลังวังชาไม่เหนื่อยง่าย บางที่พบว่ามีทางคงกระพันหนังเหนียวด้วยอันว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์ มีอยู่สั้นๆ ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" นั่นเองคาถานะโมพุทธายะนี้ ได้มีการแตกหน่อไปหลายสาขา เช่นกรณีของคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ของหลวงพ่อโสธรบางครั้งมีการใช้เมล็ดพระเจ้าห้าพระองค์เป็นเครื่องรางของขลังคู่กับคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ผลพระเจ้าห้าพระองค์มีลักษณะเป็นวงกลมใหญ่กว่าเหรียญสิบบาทเล็กน้อยเป็นเมล็ดแห้งตัน มีร่องขรุขระ ผิวเปลือกนูนลักษณะคล้ายองค์พระพุทธรูปหรือพระเครื่องห้าร่อง หันพระเศียรชนกันที่ตรงศูนย์กลาง จึงเรียกว่า "พระเจ้าห้าองค์" ถือเป็นของขลังที่มีพุทธคุณโดเด่นทางเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีโชคลาภและโภคทรัพย์อุดมสมบูรณ์ เสริมสิริมงคล และขจัดความชั่วร้ายต่าง ๆ ทำให้แคล้วคลาดจากอันตราย บางคนก็นำเมล็ด “พระเจ้าห้าพระองค์” ไปเข้าพิธีปลุกเสกเพิ่มอิทธิฤทธิ์ในทางอยู่ยงคงกระพันผลพระเจ้าห้าพระองค์เกิดจากผลบุญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในกัปป์นี้ ดังนี้จึงเป็นผลไม้ที่มีดีทางธรรมชาติ ปกติจะมีเทวดาคุ้มครองเสมอ การนำมาปลูกในบ้านเรือน ต้องนิมนต์พระมาชยันโตด้วย ตาดีๆลองหาลูกที่มี 6 หรือ 4 ตา หายากดีคนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่า “ผล” ของต้น “พระเจ้าห้าพระองค์” มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรและนิยมใช้กันมาช้านานแล้ว โดยในยุคสมัยก่อนคนไทยเป็นโรค “หิด” กันมาก เมื่อเป็นแล้วจะทรมานมาก เข้าสังคมไม่ได้ คนรังเกียจ ยารักษาหายาก บางคนอยู่ไกลตัวเมือง ไกลสุขศาลาหรือโรงหมอ จึงนิยมใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษา ซึ่ง “ผล” ของ “พระเจ้าห้าพระองค์” ก็มีสรรพคุณรักษาโรค “หิด” ด้วย โดยมีวิธีใช้แบบง่ายๆ คือ เอาผลแห้ง ของ “พระเจ้าห้าพระองค์” ฝนกับหินลับมีด หรือหินฝนยาสมุนไพรผสมกับน้ำให้ข้นแล้วเอาน้ำที่ฝนได้ทาบริเวณที่เป็น “หิด” หรือบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคันชนิดเรื้อรัง โดยทาบ่อยๆ จะทำให้อาการที่เป็นอยู่ค่อยๆทุเลาลงและแห้งหายได้ในที่สุดพระเจ้าห้าพระองค์ หรือ DRA-CONTOMELON DAO อยู่ในวงศ์ ANA-CARDICEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปรีกว้าง มีใบ 6-9 คู่ เมื่อต้นโตเต็มที่จะให้ร่มเงาดีมาก ดอก เป็นสีเหลืองปนเขียว เวลามีดอกจะสวยงามน่าชมมาก “ผล” รูปกลมรีเล็กน้อย แบ่งเป็นพู 5 พู แต่ละพูจะมีรูปคล้ายพระเรียงรอบผลห้าองค์ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า ต้น “พระเจ้าห้าพระองค์”แต่นานวันเข้าต้นพระเจ้าห้าพระองค์กำลังใกล้สูญพันธุ์เต็มที และหาไม่ได้ในป่าโดยทั่วไป ในเทือกเขาพังเหยมีต้นพระเจ้าห้าพระองค์อยู่แค่ 2 ต้น มีอายุกว่าร้อยปี ต้นพระเจ้าห้าพระองค์ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แต่ขยายพันธุ์ไม่ค่อยได้ เพราะเมื่อเมล็ดร่วงลงมาถึงพื้นดิน กระรอกหรือกระแตจะไปเจาะเพื่อกินเนื้อในเป็นอาหาร ทำให้ไม่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ แต่ถ้าอยากจะปลูก ฝน (จรัสสายฝน อุดมทรัพย์ คนรุ่นใหม่ความหวังของหมอพื้นบ้านไทย จากสกล ) บอกเราว่า ต้องแกะตาที่เหมือนพระพุทธรูปออกถึงจะขึ้น

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แล้วข้าวเย็นโคกก็กู้หน้าโคราช

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


ข้าวเย็นโคก







พึ่งได้มีโอกาสไปร่วมจัดบูธในงานรวมพลังสร้างสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบเนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสครบรอบการบรมราชาภิเษก ปีที่ ๖๐ เมื่อวันที่ ๑๗-๑๘มิถุนายน ๒๕๕๓ที่ผ่านมาที่ศูนย์โอท็อป เซ็นเตอร์ อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยเหตุการณ์เฉียดฉิวจวนเจียนเกือบจะไม่ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จากเหตุผลของคนบางคนที่มีอำนาจแต่ไม่อยากจะให้ความสำคัญ ต้องยอมรับว่าหลายครั้งที่ถอดใจอยากหนีอยากลาออก แต่ผ่านไปซักพักเหมือนมีแรงฮึดให้สู้ใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า โจทย์ของโคราชในครั้งนี้นอกจากการบอกเล่าถึงภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในผู้สูงอายุ การแสดงวัฒนธรรมเด่นของจังหวัด โจทย์ที่ยากที่สุดอีกข้อก็คือ เราถูกเบียดงบประมาณให้จัดงานด้วยเงินสองพันห้าร้อยบาทสำหรับซื้ออุปกรณ์ที่จัดแต่งบูธทั้งหมดรวมไปถึงค่ากินอยู่ของคน ๕ ชีวิตเป็นเวลาสามวัน ทั้งๆที่ทางกระทรวงให้เงินเรามามากพอที่จะจัดงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เราต้องคิดการบ้านอย่างหนักไม่นับการที่โคราชเป็นจังหวัดใหญ่ที่ต้องถูกจับตามอง เรากับทีมงานช่วยกันค้นหาอุปกรณ์ วัสดุตกแต่งเท่าที่พอค้นพอขัดถูเก็บมาใช้ เอาต้นไม้ส่วนตัวที่เราสะสมไว้มารวบรวมได้ห้าชนิดพยายามให้ไม่ซ้ำกับจังหวัดอื่น คิดหาไฮไลต์ว่าปีนี้จะเอาต้นอะไรดี ต้นกุหลาบเหลืองโคราชซึ่งเป็นกล้วยไม้ประจำถิ่นก้อน่าสนใจเพราะมีกลิ่นเหมือนตะไคร้ช่วยไล่แมลงได้ แต่ดอกเค้าพึ่งโรยไปเมื่อเดือนที่แล้ว ต้นกล้วยไม้ที่ไม่มีดอกก้อเหมือนผู้หญิงไม่แต่งหน้ามันดึงความสนใจไม่ได้ จะเอาว่านกลีบแรดรึก้อต้นละ ๕๐๐ บาท สู้ราคาไม่ไหว สุดท้ายเลยมาลงตัวที่ข้าวเย็นโคกที่ตัวเองซื้อไว้ราคา ๓๐ บาท กะเร่กะร่อน ๒๐ บาท ว่านน้ำมีอยู่แล้วไม่ได้ซื้อ บุกรอ ๑๐๐ บาทแต่เอาไปได้แต่ต้นเล็ก และว่านหัวน่วมที่รอดมาจากหอยทากปีที่แล้วเหลืออยู่ต้นเดียว ได้แต่ภาวนาให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี
เมื่อเดินทางมาถึงศูนย์โอทอปของจังหวัดอุบลราชธานี ทีมงานทั้งหมดก้อเริ่มหน้าตาซีดเซียว เพราะทุกบูธจัดได้อลังการสวยงามมาก แต่ละจังหวัดขนคนมาไม่ต่ำกว่า๓๐คน ส่วนโคราชมีมาทั้งหมด๕ชีวิต ( ร่วมทั้งพี่พขร. ) ให้กำลังใจกันว่า เอาน่าสู้ๆ ตามอัตภาพก้อแล้วกัน ช่วงเปิดงานท่านอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ ท่านเยี่ยมชมบูธของ ๑๙ จังหวัด ใกล้เข้ามาๆ นึกอยู่ในใจว่าเอาไงดีว้าๆๆๆ มองความว่างโล่งของบูธแล้วก้อใจไม่ดี เป็นไงเป็นกัน พอท่านอธิบดีฯมาถึงบูธของโคราชเลยพาท่านดูต้นข้าวเย็นโคกเล่าให้ท่านฟังว่าเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่วิถีชีวิตของคนภาคอีสาน เข้าตำรับยาได้ทุกตำรับ รักษาได้ทุกโรค ใช้ทดแทนข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นใต้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีงานวิจัยที่รวบรวมเอาไว้ว่าในเมืองไทยมีหัวยาข้าวเย็นทั้งสิ้น ๕ สายพันธุ์ ต้นนี้เป็นหนึ่งใน ๕ สายพันธุ์ และมีการนำมาใช้ในตำรับยาทั่วประเทศถึง ๒,๔๐๐๐ ตำรับ ซึ่งท่านแปลกใจเมื่อทราบว่าหาได้ง่ายมีขึ้นทั่วไปตามป่าตามโคกหัวไร่ปลายนา และท่านก้อให้ความสนใจเป็นอย่างมากได้ขอต้นที่นำมาแสดงไปด้วย ทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาและจะพยายามศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ยิ่งๆขึ้น ภารกิจก่อนตายต้องรวบรวมข้อมูลสมุนไพรเหล่านี้ให้มากที่สุด ตามหาหัวยาข้าวเย็นอีก ๔ สายพันธุ์ ยังมีบุกโคราชหรือบุกหัวช้างสายพันธุ์แท้ของโคราช แก้งขี้พระร่วง ดู่ทุ่ง ไม้แหย่แย้ หัวร้อยรู และอีกมากมายที่ต้องทำ ชีวิตเริ่มมีความสุขขึ้นอีกครั้ง

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ส้มป่อยกับน้ำตาของการสูญเสีย

ขอยืมรูปจากเวปไซด์คนอื่นละกัน เพราะต้นของเราโดนจนกุดเลย
ส้มป่อย



เรากับส้มป่อยมีอดีตร่วมกัน ตอนอยู่สถานีอนามัยที่อยู่บนเขาชัยภูมิ มีต้นส้มป่อยเกิดขึ้นเองข้างรั้วอนามัยเป็นพุ่มเรื่อยยาวไปถึงวัด ผู้เฒ่า ผู้แก่ จะแวะเด็ดฝักใส่ขันไปทำน้ำมนต์รดเป็นศิริมงคลของชีวิต เราเห็นเค้ายืนพุ่มอยู่อย่างนั้นเป็นเหมือนเพื่อนรักที่คุ้นเคย

เป็นธรรมดาของการทำงานร่วมกันที่ผู้ร่วมงานอาจไม่พอใจกันบ้าง ผู้ร่วมงานของฉันทุกครั้งที่ไม่พอใจฉัน เค้าจะไปตัดต้นส้มป่อนจนเหี้ยนเตียน แต่ธรรมชาติไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ ต้นส้มป่อยแตกยอดแผ่กิ่งใบครั้งแล้วครั้งเล่า จนครั้งสุดท้ายลูกน้องที่เป็นอสมใมบอกว่าพี่โอ่งเที่ยวนี้เค้าตัดและจุดไฟสุมตอเลย มันคงขึ้นอีกไม่ได้แล้ว ฉันทรุดลงร้องไห้โฮอยู่ตรงบันไดอนามัย เป็นความสะเทือนใจที่เกินบรรยาย มันบอกไม่ถูก มันสูญเสีย นึกเห็นภาพผู้เฒ่าผู้แก่ที่คุ้นชินกับการเก็บส้มป่อยแล้วสะเทือนใจมาก เดินดูร่องรอยของการทำลายด้วยหัวใจที่แตกสลาย

พอมาอยู่ที่ใหม่ส้มป่อยต้นใหญ่งามขึ้นพันต้นสะเดาอยู่หน้าตึกทำงาน แต่มีคนเลวโกรธใครก้อไม่รู้ฟันมันทิ้งอีก และทุกครั้งที่เค้าพยายามขึ้นใหม่ก้อมีร่องรอยการตัดจนกุดแล้วกุดอีก ฉันต้องสะเทือนใจกับภาพแบบนี้อีกนานเท่าไหร่ และทำไม....
จุดสังเกตุ คือ ต้นส้มป่อนจะคล้ายต้นชะอมแต่ยอดอ่อนมีสีแดงชิมดูมีรสเปรี้ยว

ส้มป่อย หรือ ส้มขอน (ภาคกลาง) ส้มป่อย (ภาคเหนือ) ส้มใบ ส้มป่อย (ภาคใต้) หม่าหัน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia concinna (Willd.) DC.
วงศ์: Leguminosae-Mimosoideae
ลักษณะวิสัย: ส้มป่อยเป็นไม้พุมรอเลื้อยขนาดใหญ่ ตามลำต้นกิ่งก้าน มีหนาม ใบเป็นใบประกอบ แบบขนนกสองชั้นใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อ กลมเป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ออกตามปลาย กิ่ง ฝักแบนยาว คล้ายถั่วลันเตา สีน้ำตาลดำ
ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น มีสารกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20 % ตีกับน้ำจะเกิดฟองคงทนมาก ขยาย พันธุ์ด้วยเมล็ด
ตำนาน
นิทานจากพรหมจักรชาดก ชาดกล้านนาซึ่งแปลงมาจาก รามเกียรติ์ที่ได้กล่าว ถึงความสำคัญของส้มป่อยว่า ครั้งหนึ่ง มีควายชื่อทรพี คิดอยากเอาชนะพ่อ จึงท้าชนทรพาผู้พ่อ ทั้งสอง ต่อสู้กันจนเวลาล่วงเลย ฝ่ายทรพีเพลี่ยงพล้ำถูกทรพาไล่ขวิดจนถอยร่นไปไกล ขณะนั้นเองทรพี ได้ถอย ไปชนต้นส้มป่อยที่กำลังออกฝักอยู่ ด้วยกำลังที่ชนอย่างแรงทำให้ฝักส้มป่อยหล่นลงมาถูกหัวทรพี ทันใดนั้น กำลังที่เคยอ่อนล้าหมดแรง เกิดฮึกเหิมเพิ่มขึ้น ได้ทีทรพีจึงถาโถมเข้าชนทรพาอย่างเมามัน ผู้เป็นพ่อ เสียที หมดแรงถอยไปชนต้นมะขามป้อม ลูกมะขามป้อมหล่นถูกหัว เรี่ยวแรงที่อ่อนล้ายิ่งหมดไป จึงถูกทรพี ผู้เป็นลูกฆ่าตายในที่สุด
ชาวบ้านเชื่อว่า ส้มป่อยเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ขจัดสิ่งเลวร้าย อัปมงคล เป็นการปลดปล่อยสิ่งไม่ดีให้หลุดพ้นจากชีวิต
คำว่า ส้ม หมายถึง เปรี้ยว
ป่อย หมายถึง ปลดปล่อย
ชาวบ้านจะเก็บฝักส้มป่อยในช่วงเดือน 5 เหนือ ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ยิ่งถ้าเก็บในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ จะทำให้ได้ ส้มป่อยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น
เมื่อได้เวลาเก็บ ชาวบ้านจะเลือกเก็บฝักส้มป่อยที่แก่จัด นำไปตากในกระด้งให้แห้งสนิท เก็บใส่ตะกร้า ไว้ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ทั้งพิธีมงคลและอัปมงคล ก่อนนำไปใช้จะนำฝักส้มป่อยไปผิงไฟพอให้สุก ส้มป่อยจะมี กลิ่นหอมเปรี้ยว จากนั้นหักฝักส้มป่อยเป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำ จะได้น้ำส้มป่อยที่มีสีเหลืองอ่อนๆ สำหรับใช้ ในพิธีกรรมสำคัญ
น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ชำระสิ่งชั่วร้าย จากพระสงฆ์หรือปู่อาจารย์ที่นับถือ นอกจากคาถาที่ร่ายเป่าลงไปแล้ว ในน้ำยังมีสิ่งสำคัญ ที่ก่อเกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ศรัทธา คือส้มป่อย เป็นส่วนผสมหนึ่งด้วย
พิธีการสำนึกบุญคุณและขอขมาผู้ใหญ่ที่นับถือ หรือการดำหัวในเทศกาลปี๋ใหม่เมือง ผู้น้อยถือขันข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ น้ำส้มป่อย ที่ผู้ใหญ่ใช้ลูบหัวหลังเสร็จการให้พร แล้วสะบัดพรมให้ลูกหลาน เพื่อเป็นสิริมงคลทั้งตนเองและผู้ที่รัก
ประเพณีงานบุญที่พ่อแม่ทุกคนต่างรอคอยโอกาสสร้างกุศลใหญ่ เพื่อปรารถนาให้ลูกชายพาไปพบชีวิตที่ดี ในโลกหน้าคือการบวชลูกแก้ว (บวชพระหรือเณร) น้ำส้มป่อยก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการชำระล้างเนื้อตัว ให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ์ปฏิบัติธรรม
เหตุการณ์ที่ทุกคนไม่อาจหลีกพ้นได้ คือ ความตาย น้ำส้มป่อยก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในงาน ใช้อาบน้ำศพ เพื่อให้ผู้จากไปได้พบสิ่งดีสู่สุคติ นำร่างไปเผาที่ป่าช้า กลับมาผู้ที่ยังอยู่จะใช้น้ำส้มป่อยล้างมือ ลูบผมเพื่อป้องกัน สิ่งชั่วร้ายและไล่เสนียดจัญไรออกจากตัว ถ้าเป็นการเผาผีตายโหง ฝักส้มป่อยที่นำติดตัวสามารถล้างอาถรรพ์ จากผีไม่ให้ติดตามมาได้
การสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ ประกอบพิธีไหว้ครู เช่น ครูซอ ครูหมอเมือง (หมอสมุนไพรพื้นบ้าน) หรืออื่นๆ ล้วนมีน้ำส้มป่อย เข้ามาช่วยให้ขลัง
ชาวบ้านยังมีความเชื่อว่า ถ้าใครไปทำสิ่งไม่ดีที่เรียกว่า ขึด ทำให้ตนเจอะเจอความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล สิ่งที่ช่วยให้บรรเทาเบาบางลงคือ น้ำส้มป่อย
ครูอาจารย์ ผู้มีเวทมนตร์คาถา ที่นั่งผีปู่ย่า (คนทรง) เมื่อทำผิดข้อห้ามของครูอาจารย์หรือบรรพบุรุษ ที่เรียกกันว่า ผิดครู น้ำส้มป่อยก็ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น และมีของดีในตัวได้ดังเดิม
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ เช่น พระพุทธรูป พระเครื่อง ชาวบ้านจะนำน้ำส้มป่อยใส่น้ำอบน้ำหอม เพื่อสรงน้ำพระ ในวันปีใหม่เมือง เช่นกัน
ส้มป่อย เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ ชื้นแฉะ ลักษณะใบคล้ายใบชะอม มีรสเปรี้ยว ชาวบ้านจะใช้ยอดอ่อนใส่แกงให้ได้รสเปรี้ยวแทนมะนาว ชาวบ้านนิยมใส่ในต้มส้มไก่เมือง ปลา หรือต้ม ส้มขาหมู จะได้รสชาติเปรี้ยวอร่อยและหอมกลิ่นส้มป่อย มีผลเป็นฝักแบนๆ เป็นข้อ คล้ายฝักฉำฉา หรือฝักกระถินเทศ แต่จะสั้นและบางกว่า จะมีหนามตลอดที่ต้นและกิ่งก้าน
สรรพคุณทางยา ต้น แก้น้ำตาพิการ ใบ แก้โรคตา เป็นยาถ่าย ขับเสมหะ ชำระเมือกมันใน ลำไส้ แก้บิดฟอกล้างประจำเดือน ดอก รักษาโรคเส้นพิการ ผล ใช้แก้น้ำลายเหนียว ราก ใช้แก้ไข้ ฝักแห้ง นำไปปิ้งให้เหลืองชงน้ำจิบแก้ไอและขับเสมหะ เป็นยาทำให้อาเจียน ใช้ฟอกผมแก้รังแค ช่วยให้ผมดกดำ เป็นเงางาม ไม่แตกปลาย แก้ไข้จับสั่น แก้โรคผิวหนัง เมล็ด นำไปคั่วแล้วบด ให้ละเอียดใช้นัตถุ์ให้คันจมูก ทำให้จามดี ส่วนใบ ตำให้ละเอียดใช้ประคบช่วยคลายเส้นได้
ข้อมูลจากนิตยสารหมอชาวบ้านได้กล่าวถึงส้มป่อยไว้อย่างละเอียด ทำให้เรารับรู้ถึงความผูกพันที่ชาวบ้านมีกับส้มป่อยตั้งแต่เกิดจนตาย คงไม่เกินเลยไปถ้าเราจะร้องไห้เพราะส้มป่อยกอนั้นด้วยความรู้สึกผูกพันทางจิตวิญญาณจริงๆ ลองอ่านกันดู
สมุนไพรมงคล ขับพ้นสิ่งชั่วร้าย คนไทยใหญ่ใช้ฝักส้มป่อยในพิธีกรรมหลายอย่างโดยเฉพาะงานสะเดาะเคราะห์ เพราะเชื่อว่า ส้มป่อยเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ช่วยขจัด ปลดปล่อยความโชคร้าย เคราะห์กรรม ความอัปมงคล ให้หลุดพ้นจากชีวิต ถ้าคนไหนไม่สบายใจ ไม่สบายตัว เจ็บไข้ เขาจะเอาส้มป่อยมาต้มอาบ หรือล้างหัว ล้างหน้า ถ้าไปดูดวงแล้วดวงตกหรือโชคไม่ค่อยดี เขาก็จะอาบน้ำส้มป่อย ถ้าเจอผีก็อาบส้มป่อย พิธีรดน้ำมนต์ส่วนมากก็ใช้น้ำฝักส้มป่อย นอกจากนี้ งานมงคลสำคัญของชาวไทยใหญ่ เช่น งานบวชลูกแก้ว (บวชพระหรือเณร) น้ำส้มป่อยก็เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการชำระล้างเนื้อตัวให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไทยใหญ่เรียกส้มป่อยว่า หมากขอน หม่าหันหม่าหัน...ตำนานแม่นากภาคไทยใหญ่มีนิทานพื้นบ้านที่เกี่ยวกับหม่าหันว่า กาลครั้งหนึ่ง มีผัวเมียข้าวใหม่ปลามันคู่หนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ท้ายหมู่บ้าน ผัวต้องออกตระเวนไปค้าขายต่างถิ่น ในขณะที่เมียกำลังตั้งท้อง ต่อมาเมียก็คลอดลูกตาย ขณะที่เพื่อนบ้านจะเคลื่อนย้ายศพของเมียไปฝังที่ป่าช้านั้น ร่างคนตายก็ร่วงลงมาตรงบันไดบ้าน ตามธรรมเนียมชาวไทยใหญ่เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หมายถึง ผู้ตายไม่อยากไปป่าช้า ชาวบ้านจึงนำศพฝังไว้ที่บ้าน เมื่อผัวกลับมาเป็นช่วงเวลากลางคืนก็พบเมียหุงหาสำรับกับข้าวไว้รอท่า ก็อยู่กินกันตามปกติ รุ่งขึ้นผัวออกไปพบชาวบ้านคนอื่นๆ ในหมู่บ้าน เพื่อนบ้านก็บอกว่าเมียแกคลอดลูกตาย แต่ชายหนุ่มหาเชื่อไม่ ปฏิเสธว่าไม่จริงก็ยังอยู่กินกันตามปกติ แต่เมื่อไปพบใครๆ ก็บอกเช่นนั้น จึงเริ่มสงสัยขึ้นมาบ้าง วันหนึ่งหลังกินข้าวเย็นเสร็จเรียบร้อย ผัวทำตะบันหมากตกลงไปใต้ถุนบ้านตั้งใจจะลงไปเก็บ เมียก็บอกว่าเดี๋ยวน้องไปเก็บให้ พอผัวคล้อยหลังได้เหลียวไปเห็นเมียเอาลิ้นไปม้วนเก็บตะบันตำหมากนั้นขึ้นมาบนเรือน พอแน่ใจแล้วว่าเมียของตนคงตายไปแล้วจริงๆ จึงออกอุบายบอกเมียว่าจะไปทำถ่ายเบาตรงนอกชาน แล้วรีบไปเจาะกระบอกไม้ไผ่ที่เก็บน้ำไว้ตรงนอกชานเพื่อให้เกิดเป็นเหมือนเสียงปัสสาวะ จากนั้นก็รีบวิ่งไปในหมู่บ้านแบบไม่คิดชีวิต เมียเมื่อเห็นผัวปัสสาวะไม่เสร็จเสียทีจึงออกมาดูก็พบว่าผัวไม่อยู่แล้ว จึงวิ่งออกไปตะโกนเรียกหา ส่วนผัวเมื่อรู้ว่าเมียตามมาจึงรีบหลบในพุ่มของหมากขอน (ส้มป่อย) เมียมองไม่เห็นผัวที่หลบอยู่ใต้พุ่มหมากขอน วิ่งมาจนถึงหมู่บ้านไปพบบ้านช่างตีเหล็กกำลังตีเหล็กไฟลุกโชนอยู่ จึงถามว่าเห็นผัวของฉันไหม ช่างตีเหล็กรู้ว่าผู้หญิงคนนี้ตายแล้ว จึงบอกว่า ก้มลงซิ เมื่อหล่อนก้มลง ช่างตีเหล็กก็ใช้ค้อนที่เผาไฟลุกแดงตีลงไป สาวเจ้าก็ได้กลายเป็นหิ่งห้อยลอยตามหาผัวต่อไป นับแต่นั้นมาคนไทยใหญ่ก็จะเรียกหมากขอนว่าหม่าหันซึ่งแปลว่าไม่เห็น หมายถึงผีมองไม่เห็นนั่นเอง และเชื่อว่าหิ่งห้อยคือวิญญาณของเมียที่ตามหาผัวของตนเอง นอกจากคนไทยใหญ่แล้วคนเฒ่าคนแก่ในภาคเหนือและภาคอีสานรวมถึงประเทศลาว ต่างใช้ฝักของส้มป่อยเพื่อปัดเป่าภัยร้ายเช่นกัน ดังเช่น ในวันสงกรานต์ที่คนโบราณเชื่อกันว่าเป็นวันที่มีอาถรรพ์แรง เพราะเศียรของท้าวผกาพรหมอาจหล่นมาสู่โลกเกิดไฟประลัยกัลป์ได้ จึงต้องมีการรดน้ำดำหัวกันด้วยน้ำฝักส้มป่อย เพื่อล้างอาถรรพ์สร้างสวัสดิมงคล ใช้ในพิธีเสริมสิริมงคล พิธีไหว้ครู สะเดาะเคราะห์ แก้อาถรรพ์ไล่ภูติผีปีศาจ ใช้ล้างมือ ล้างหน้า หลังจากกลับจากงานศพ หรือใช้อาบน้ำศพ เพื่อให้ผู้จากไปได้พบสิ่งดีสู่สุคติ หรือการนำฝักส้มป่อยติดตัวไปด้วยในงานเผาศพผีตายโหง เป็นต้นการเก็บฝักส้มป่อยที่จะนำมาใช้ในการทำพิธีกรรมต่างๆ นั้นต้องเก็บในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ จึงจะศักดิ์สิทธิ์ หรืออย่างน้อยก็ต้องไปเก็บก่อนฟ้าร้อง หรือก่อนฝนตกลงมา เพราะหากฟ้าร้องฝนตกแล้วถือว่าไม่เป็นยา ไม่ขลัง ถือว่าข้ามปีไปแล้ว เมื่อได้เวลาเก็บ ชาวบ้านจะเลือกเก็บฝักส้มป่อยที่แก่จัด นำไปตากในกระด้งให้แห้งสนิท เก็บใส่ตะกร้า ไว้ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ก่อนนำไปใช้นิยมนำฝักส้มป่อยไปผิงไฟพอให้สุก ส้มป่อยจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ผู้ที่เคยล้างหน้าหรืออาบด้วยน้ำส้มป่อยแล้ว ย่อมรู้สึกได้ถึงความมีสิริมงคล เพราะกลิ่นหอมแทรกรสเปรี้ยวของส้มป่อยช่วยให้สดชื่นฟื้นชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีทันใด ส้มป่อย สมุนไพรแห่งการขอลดโทษ...ทางธรรมคนล้านนายังเชื่อว่าส้มป่อยเป็นสมุนไพรในการขอลดโทษทางธรรม กล่าวคือเมื่อทำผิดพลั้งไป เช่น ถ้าใครไปทำสิ่งไม่ดีที่เรียกว่า ขึด ทำให้ตนเจอะเจอความชั่วร้าย สิ่งที่ช่วยให้บรรเทาเบาบางลงคือ น้ำส้มป่อยหรือครูอาจารย์ ผู้มีเวทมนตร์คาถา ที่นั่งผีปู่ย่า (คนทรง) เมื่อทำผิดข้อห้ามของครูอาจารย์หรือบรรพบุรุษ ที่เรียกกันว่า ผิดครู น้ำส้มป่อยก็จะช่วยให้ของขลังของดีมีในตัวได้ดังเดิม ส้มป่อย สมุนไพรไล่เมฆมรสุม พายุร้ายนอกจากจะใช้ส้มป่อยในการปลดปล่อยสิ่งชั่วร้ายและสร้างสิริมงคลให้กับตัวเองแล้ว คนกะเหรี่ยงและคนพื้นเมืองหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ในคราที่พายุลมแรง ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้องเปรี้ยงปร้าง น่าหวาดกลัว เขาจะเผาฝักส้มป่อยให้เกิดเป็นควันโขมง สักพักทุกอย่างก็จะสงบลง ผู้ที่เคยเห็นเหตุการณ์ต่างยืนยันเช่นนั้น ส้มป่อย ยาสระผมธรรมชาติแชมพูสระผมปัจจุบันทำจากสารเคมี ไม่ว่าสูตรไหนๆ ก็จะมีสรรพคุณในการชำระล้างน้ำมันธรรมชาติของเส้นผมและหนังศรีษะ ทำให้ผมแห้ง เป็นรังแค ผมหงอกก่อนวัย สมัยก่อนคนในแถบเอเชียต่างใช้น้ำจากฝักส้มป่อยสระผมอันงามสลวย ปัจจุบันในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังมีการใช้อยู่ในทางชีวเคมี ฝักส้มป่อยมีสารกลุ่มซาโพนิน (Zaponin) หลายชนิด เช่น สารอะคาซินินเอ (Acacinin A) และสารอะคาซินินบี (Acacinin B ) รวมกันแล้วสูงถึงร้อยละ ๒๐ สารเหล่านี้เป็นแชมพูธรรมชาติที่เป็นกรดอ่อนๆ เหมาะที่จะใช้ในการสระผมอย่างยิ่ง ช่วยรักษารังแค ผมหงอกก่อนวัย เพียงนำฝักส้มป่อยมาหักกวนตีกับน้ำแรงๆ สารซาโพนินจะแตกฟองที่คงทนมากมีฤทธิ์ในการชำระล้างได้ดีโดยไม่ทำลายธรรมชาติของผมและผิวบนหนังศีรษะ การอาบหรือแช่น้ำส้มป่อยทั้งตัวจะช่วยให้ร่างกายสะอาดปราศจากคราบไคล ช่วยให้สดชื่น แก้ผดผื่นคันในหน้าร้อนและโรคผิวหนังได้หลายชนิด ไม่เพียงแต่ผิวกายและหนังศีรษะเท่านั้น น้ำส้มป่อยยังใช้แช่และขัดเครื่องทองให้เหลืองอร่ามสุกปลั่งเหมือนทองใหม่ได้อีกด้วยส้มป่อย สุดยอดผักกำจัดพิษ ช่วยแก้ไอ...สมุนไพรในยุคหวัด 2009ใบส้มป่อยและฝักใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของยาอบ ผลจากการที่มีรสเปรี้ยวช่วยขับเหงื่อ ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกายใบส้มป่อยยังใช้เป็นยาประคบ แทบทุกตำรับจะใช้ใบส้มป่อยเดี่ยวๆ หรือผสมสมุนไพรตัวอื่นใส่ในลูกประคบเพื่อแก้ปวดเมื่อย และยังนำใบส้มป่อยมาต้มดื่มได้น้ำต้มใบส้มป่อยมีรสเปรี้ยวเป็นยาสตรีช่วยถ่ายระดูขาว ฟอกโลหิตประจำเดือนให้งาม ช่วยล้างเมือกมันในทางเดินอาหารและใช้เป็นยาระบาย ช่วยกำจัดพิษออกจากระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดน้ำหนักได้เช่นกัน นอกจากนี้ ความเปรี้ยวของส้มป่อยยังช่วยละลายเสมหะ แก้ไอได้อีกด้วยดังนั้นส้มป่อยจึงเป็นสมุนไพรกำจัดพิษแบบไทยๆ อย่างดีทีเดียว ที่น่าสนใจคือใบของส้มป่อยถือเป็นผักที่มีวิตามินเอและบีตาแคโรทีนสูงมากเป็นอันดับต้นๆ ผลจากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยอดส้มป่อยพบว่ามีสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าสารซาโพนินในฝักส้มป่อยทำให้ทีเซลล์ (T cells) ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้นส้มป่อยเป็นยาตำรับยาแก้รังแค คันศรีษะ รักษาผมหงอกก่อนวัย นำฝักส้มป่อยที่ปิ้งไฟประมาณ ๑๐ ฝักต้มรวมกับลูกมะกรูดที่หมกไฟดีแล้ว ๒ ลูก ในน้ำ ๕ ลิตร ต้มเดือดจนแตกฟองดี แล้วนำมาใช้หมักและสระผมได้โดยไม่ต้องผสมกับแชมพูเคมีใดๆ เลย หากสระผมด้วยแชมพูธรรมชาติส้มป่อยสัปดาห์ละ ๒-๓ ครั้ง รับรองว่าอาการคันบนหนังศีรษะและรังแคจะหายไปเป็นปลิดทิ้งตำรับยาแก้ไอตำรับ 1 เอาเปลือกแช่น้ำกินทำให้ชุ่มคอแก้ไอได้ตำรับ 2 นำฝักปิ้งไฟให้เหลืองชงน้ำกินแก้ไอตำรับยาแก้ไข้ ท้องอืดใช้ยอดส้มป่อยต้มกินกับข้าวต้ม ตำรับยาแก้ฝีตำรับ ๑ นำยอดอ่อนของส้มป่อยมาตำรวมกับขมิ้นอ้อยใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย หมกไฟพออุ่นและนำไปพอกจะช่วยแก้พิษฝี ทำให้ฝีแตกเร็วหรือยุบไปตำรับ ๒ ใช้รากฝนใส่น้ำปูนใสทาฝีตำรับยาแก้โรคตับใช้เปลือกต้มกิน ตำรับยาแก้ท้องร่วง ใช้รากส้มป่อยต้มน้ำดื่มอาหารจากส้มป่อย1. ต้มส้มป่อย (อุ้ยกำ จาอินต๊ะ สัมภาษณ์ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2552) ส่วนผสม ปลาช่อน 1 ตัวหั่นเป็นชิ้นใหญ่ ยอดส้มป่อย 1 กำ พริกสด 5 เม็ด กระเทียม 1 หัว ข่า 3 แว่น ตะไคร้ 1 ต้น เกลือ น้ำปลา วิธีทำ บุบพริกสด กระเทียม ตะไคร้ ลงในหม้อ ใส่น้ำครึ่งหม้อตั้งไฟให้เดือด ใส่ปลาลงไป ปรุงด้วยเกลือ น้ำปลา ใส่ยอดส้มป่อย สักพักยกลง กินได้2. แกงส้มปลาดุกใส่ยอดส้มป่อย (อุ้ยกำ จาอินต๊ะ สัมภาษณ์ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2552) ส่วนผสม ปลาดุก 1 ตัวหั่นเป็นชิ้นใหญ่ ยอดส้มป่อย 1 กำ เครื่องแกง (พริกสด 5 เม็ด ขมิ้น 3 แง่ง ตะไคร้ 1 ต้น หอมแดง 4 หัว กระเทียม 2 หัว รากผักชี 3 ต้น กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ) ผักชี ผักชีฝรั่ง ต้นหอม มะเขือเทศ น้ำมะนาว ผักสำหรับแกงส้ม (ผักบุ้ง หรือมะละกอ หรือผักกระดาด-ทางเหนือเรียกส้มตูน) วิธีทำ ตำเครื่องแกงให้ละเอียดผสมน้ำครึ่งหม้อ ตั้งไฟให้เดือด ใส่ปลาดุก ใส่น้ำมะนาวเพื่อดับกลิ่นคาวปลา ต้มให้ปลาสุก ใส่ผักสำหรับแกงส้ม ผักชีซอย ต้นหอมซอย มะเขือเทศ ยอดส้มป่อย ปรุงรสให้อร่อยยกลง กินได้3. แกงเขียดน้อยใส่ยอดส้มป่อย ยอดส้มป่อยแกงหรือต้มใส่อึ่ง ใส่เขียดเป็นอาหารเฉพาะถิ่นของคนอีสาน ดังคำที่คนอีสานพูดว่า "ข่อนสิแจ้ง ไปได้เขียดน้อยมาแกง มาต้ม ใส่ยอดส้มป่อยคักแท่ๆ" ส่วนผสม เขียดน้อย 1 ถ้วย ยอดส้มป่อย 1 กำ ปลาร้า เครื่องแกง (พริก 10 เม็ด กระเทียม 2 หัว ตะไคร้ 2 ต้น ใบมะกรูด 3 ใบ) วิธีทำ นำเขียดน้อยควักไส้แล้วล้างน้ำให้สะอาด เก็บยอดส้มป่อยมาล้างน้ำให้สะอาด ตำเครื่องแกงให้ละเอียด ต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่เครื่องแกงลงไป ใส่เขียด เมื่อสุกนำยอดส้มป่อยใส่ลงไป แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา ปลาร้า ตามแต่ชอบ ซดน้ำร้อนๆ อร่อยมาก4. ข้าวผัดดอกส้มป่อยหรือข้าวผัดปลาส้มแม่ม่าย ส่วนผสม ดอกส้มป่อย กระเทียม เกลือ น้ำตาลทรายแดง ข้าวสวย น้ำมันพืช วิธีทำ นำดอกส้มป่อยมาล้างให้สะอาด จากนั้นแกะกระเทียมลงผัดในหม้อน้ำมันตามด้วยข้าวสวยและดอกส้มป่อย ปรุงด้วยเกลือ น้ำตาลทรายแดง จะมีสีชมพู มีรสเปรี้ยวนิดหน่อย เหมือนปลาส้ม จึงได้ชื่อว่าปลาส้มแม่ม่าย 5. ยอดส้มป่อยอ่อง ส่วนผสม ยอดส้มป่อย หอมแดง กระเทียม มะเขือเทศ พริกขี้หนู เกลือ น้ำตาลทรายแดง ปลา น้ำมันพืช วิธีทำ นำเอาหอมแดง กระเทียม มะเขือเทศ พริกขี้หนูกับนำมันพืช ใส่เกลือ น้ำตาลทรายแดง อุ๊บไว้ให้เครื่องสุก พอเครื่องสุกแล้วใส่น้ำต้ม จากนั้นเอาปลามาปิ้งให้สุกแล้วแกะเอาเนื้อปลาใส่ลงไปในหม้อต้ม (ปลานั้นจะเป็นปลาดุกย่างหรือปลาอย่างอื่นย่าง ปิ้ง ก็ได้ไม่บังคับปลา) จากนั้นพอรสชาติเข้าที่แล้วเอายอดส้มป่อยมาปิดใส่ลงไปในหม้อต้มเป็นอันเสร็จ

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตัวต่อแมลงอันตรายกับสรรพคุณทางสมุนไพร

ต่อรังต่ออยู่กับอาคารชั้นสอง
รังนี้มีต่อเป็นร้อย ๆ ตัวเช้าเย็นบินว่อนเต็มบริเวณน่ากลัวมาก รังต่อมีทางเข้าออกหนึ่งถึงสองทาง นักล่าต่อจะรรอให้มืดสนิทแล้วจุดไฟรมเผายัดเข้าไปในรังจนตายทั้งหมดก่อนเก็บเอารังไปขายและเอาตัวอ่อนไปกิน

จริง ๆ ต้องถือว่าตัวต่อมีส่วนในการที่เราเบนเข็มมาศึกษาสมุนไพรเป็นอย่างมาก ตอนอยู่สถานีอนามัยช่วงปีหลัง ๆ ของการทำงานเจอคนไข้และเด็ก ๆ โดนต่อต่อยหลายราย แต่ละรายน่าสงสาร ปวดทรมาน ไข้ขึ้น หนาวสั่น แค่ผึ้งตัวเล็ก ๆ ต่อยเรายังปวดแปล๊บเข้าหัวใจ ใคร ๆ ก็รูว่าพิษต่อโหดกว่านั้นหลายเท่านัก แต่ที่เรากังวลที่สุดคือ อาการ anaphylactic shock เขียนถูกป่ะไม่รู้ชักขี้เกียจค้น คืออาการช๊อคอย่างเฉียบพลันของผู้ป่วยที่ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันและถึงแก่ชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ต้องแก้ด้วย adrenaline ฉีดทันที ซึ่งตัวยาเองก็มีอันตรายพอ ๆ กันต้องกะขนาดให้พอดี ถ้าฉีดเกินขนาด คนไข้ก็มีสิทธิเสียชีวิตเพราะยาอีกเช่นกัน นั่นเป็นจุดเปลี่ยนให้เราตัดสินใจย้ายจากสถานีอนามัยเปลี่ยนตัวเองจากงานรักษาพยาบาลมาเป็นงานสำรวจรวบรวม้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลด้านสมุนไพร ต้องมีทางเลือกอื่นซิน่า
มาทำเรื่องของสมุนไพรเราก็สนใจสมุนไพรแก้พิษเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นพิษสัตว์ พิษพืช พืชสารเคมี จริง ๆก็มาจบง่ายที่หลาย ๆ พิษแก้ได้ด้วยรางจืดดอกสีม่วง และน้ำกระสายที่ดีที่สุดคือน้ำซาวข้าว (จากงานวิจัยมีการเปรียบเทียบน้ำกระสายสำหรับแก้สัตว์พิษสรุปไว้ว่าเป็นน้ำมะนาว ) แต่เราคงไม่ได้เตรียมน้ำซาวข้าวไว้แน่ ก็ตำข้าวสาร ( อันนี้ยังไงคงมีติดบ้านไว้ ) ผสมกับใบรางจืด ละลายกับน้ำพอกินซักหนึ่งแก้ว แล้วพอกทาทั่วตัว อสม.ที่นี่เคยรักษาได้ถึงพิษงูเขียวหางไหม้ ซึ่งคนที่แพ้พิษงูนี้กำลังเริ่มมีอาการแน่นเข้าหัวใจแล้ว ให้รอดตายมาได้
พูดถึงประสบการณ์เรื่องแมลงมีพิษ นึกถึงตอนที่ลูกชายตัวเองเจ้าหยกอายุซักสามขวบ เดินเล่นอยู่ในบ้านแล้วกรีดร้องขึ้นมาด้วยความเจ็บปวด ( ความทรมานของลูกบาดหัวใจไม่เคยลืม ) เค้าบอกตามประสาเด็กว่าโดนตัวไรไม่รู้กัดข้างหู คงไม่มีเวลาสืบเสาะว่าเป็นตัวอะไร เพราะเรื่องพิษเป็นการทำงานแข่งกับเวลา ยิ่งพิษซ่านไปทั่วร่างกายยิ่งปวดมากและรักษายากขึ้น เราตำกระเทียมหนึ่งหัว บีบมะนาวพอกตรงบริเวณที่คาดว่าโดน หยกเงียบเสียงและหยุดเจ็บปวดในเวลาไม่นาน คงพอเป็นทางเลือกของคนที่ไม่ได้มียาอะไรอยู่ใกล้ตัว พอหยิบฉวยอะไรได้ก็ต้องลองดู จริง ๆ เราว่าคงเป็นเพราะน้ำมะนาว พิษของแมลงพวกนี้อาจมีฤทธิ์เป็นด่าง พอเจอกรดจากมะนาวเลยแก้กัน ที่พูดอย่างนี้เพราะเท่าที่สัมภาษณ์ชาวบ้านในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเวลาโดนแมลงกัดต่อย หลายสูตรใช้ต้นไม้ใกล้ตัวร่วมกับน้ำมะนาว
มาว่ากันถึงตัวต่ออีกครั้ง เด็ก ๆ ที่มักโดนตัวต่อต่อย เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปขว้างปารังต่อตามต้นไม้ โดยรู้จักหรือไม่รู้จักก็แล้วแต่ แล้วเลยโดนตัวต่อรุมเข้า ที่สำคัญต่อต่างจากผึ้งตรงที่ผึ้งต่อยแล้วทิ้งเหล็กไน ( ต่อยได้ทีเดียวตัวเองต้องตาย ) แต่ต่อตัวเดียวสามารถต่อยได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกเพราะไม่ทิ้งเหล็กไน
เราอยากบอกสูตรยาหม่องสมุนไพรอีกซักครั้งที่เราพบโดยบังเอิญว่าสามารถรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้ชะงัดนัก
จริง ๆ เราพาอสม.ทำยาหม่องสูตรนี้เพื่อใช้รักษาอาการปวดเมื่อยธรรมดา แต่โชคดีที่สามารถใช้รักษาพิษแมลงได้ด้วย เราอยากให้ทุกคนทำติดตัว ติดบ้านไว้ โรคบางโรคเราหวังพึ่งแต่หมอไม่ได้ โดยเฉพาะการแพ้พิษถ้าไปไม่ถึง ไปไม่ทัน หมอเทวดาก็ช่วยไม่ทัน
วิธีทำ ใช้ไพลสดแก่ ๆ อายุสองปีขึ้นไปฝานเป็นแผ่นบางๆ ๑ กิโลกรัม ( อยากได้ไพลคุณภาพดีที่ปลูกบนที่สูง เพราะพืชลงหัวเช่น ข่า ขิง ขมิ้น ไพล กระชาย พืชพวกนี้ปลูกได้ดีในที่สูงและสรรพคุณทางยาจะดีที่สุดในหน้าแล้ง ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงก่อนฝนตก พืชจะลงหัวยุบต้น สารสำคัญทั้งหมดจะรวมกันอยู่ที่หัวของพืช ลองโทรสั่งไอ้บ๊ะมันเป็นลูกหมอสมุนไพรบ้านวังน้ำเขียว บ้านมันปลูกไพลไว้เยอะ เป็นเด็กนิสัยดี โตมากับป่า ติดเบอร์มันไว้ก่อน) ทอดในน้ำมันพืชยี่ห้อไรก็ได้ ๑ ลิตร กะ ๆ เอาก็ได้ว่าเวลาทอดน้ำมันพอท่วมไพลมิดน่ะ ทอดด้วยไฟอ่อน ๆ ๒ ถึง ๓ ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องคนบ่อย จนไพลแห้งกรอบเหมือนมันฝรั่งทอด และน้ำสมุนไพรที่ได้เป็นสีเหลือง จะใส่ขมิ้นฝานเป็นแว่น ๆเพิ่มลงไปพร้อมไพล หรือใส่ฟ้าทะลายโจรทั้งต้น บัวบก รึอะไรที่พอนึก ได้ ใส่ ๆ ลงไป ก่อนจะยกน้ำมันออกจากเตา ก็ไส่กานพลู(เป็นเครื่องเทศที่ใช้ใส่เครื่องพะโล้และอาหารแขก ๆ มีขายตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป ) ตัวนี้ป้องกันน้ำมันเสียมีกลิ่นหื่น ซักหยิบมือกะ ๆ เอา แล้วใส่การบูรมากน้อยตามสะดวก เอาซักครึ่งของอันละสิบบาทยี่สิบบาทที่ขายไว้แขวนหน้ารถก็ได้ ใส่ช่วงที่น้ำมันเริ่มอุ่นแล้ว ( ใส่ตอนร้อนระเหิดหมด ) กรองเอาแต่น้ำมันเก็บใส่ขวดสีชาเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี น้ำมันนี้เรียกว่าน้ำมันไพลเอาไว้นวด ขวดสีชาช่วยให้ไม่โดนแสงโดยตรงเพราะสีเหลืองของน้ำมันไพลจางไวมาก ถ้าไม่มีอะไรก็ทอดแค่ไพลเพียว ๆ เก็บใส่ขวดไว้ก็ไม่ผิดกติกานะ
จากนั้นไปหาส่วนผสมของยาหม่องตามร้านขายยาสมุนไพรรึร้านเคมีภัณฑ์ รึไม่งั้นก็ซื้อยาหม่องยี่ห่ออะไรก็ได้มาซักขวดสองขวด เอาน้ำร้อนเทใส่ชามเอายาหม่องแช่น้ำร้อนจนละลายกลายเป็นน้ำเทออกจากขวดซักครึ่งหนึ่งรึหนึ่งในสาม เทใส่ตลับรึขวดเหลือ ๆ ใช้เก็บไว้ เอาน้ำมันสมุนไพรที่ทอดเก็บไว้ลงไปผสม เอาไม้จิ้มฟันลงไปคน ๆ ให้เข้ากันดี ถ้ามีพิมเสนน้ำที่ซื้อ ๆ เก็บไว้ซักขวด สองขวดก็ผสม ๆ ลงไปซักกะหน่อย จะได้มีกลิ่นหอม ๆ รีบปิดฝาตั้งทิ้งไว้ ให้มันแข็งตัวคืน เนื้อยาหม่องที่ได้จะค่อนข้างเหลวจากน้ำมันสมุนไพรที่ใส่เพิ่มลงไป กลิ่นตามกลิ่นเดิมของยาหม่องรึกลิ่นพิมเสนน้ำที่เพิ่มไป เก็บติดบ้นไว้เป็นยาสามัญประจำบ้านสำหรับพิษต่อ แตน แมลงป่อง แมงมุม ผึ้ง หมาร่า บุ้ง รึแม้แต่แมงกระพรุนไฟ ฯลฯ ตามประสบการณ์ใช้รักษาพิษแมงป่องไม่ถึงครึ่งนาทีคนไข้หายปวด ต่อนานหน่อยและใช้ร่วมกับยาฉีด ผึ้งกับบุ้งนี่แม่เราใช้ประจำ งูเขียวหางไหม้เคยทาให้คนไข้สังเกตอาการดูคนไข้ดีขึ้น แต่ยังต้องใช้ร่วมกับยาอย่างอื่น เคยส่งให้พี่ชายที่ทำงานอยู่กับทะเล ลูกน้องโดนแมลงกระพรุนไฟ ก็ว่าช่วยระงับพิษได้ดี ( อะไรจะขนาดนั้น ) ทำ ๆ ไว้เถอะแล้วก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องสูตรมากนัก เราไม่เคยช่างตวงวัดเลย แต่ละล๊อตที่ออกมาหน้าตาเลยเป็นเอกลักษณ์มาก 555 อยากให้เนื้อยาหม่องเหลวรึแข็งก็ทดสอบดูตอนร้อน ๆ เราหยอดดูเล่นเหมือนหยอดกาละแม ถ้าแข็งไปก็เติมน้ำมันสมุนไพรเพิ่ม ถ้าเหลวไปก็อเติมเนื้อยาหม่องเพิ่ม เติมไปเติมมาอยู่นี่แหล่ะจนกว่าจะพอใจรึจนกว่าม่มีรัยให้เติม ทำเก็บ ๆ ไว้เถอะ ได้ใช้แม้เพียงครั้งเดียวก็เกินคุ้ม เอาไว้ช่วยเหลือเพื่อนบ้านคนรอบตัวก็ได้บุญ ทำแจก ๆ พี่น้องด้วยหัวใจรักและห่วงใยก็ไม่เสียชาติเกิด ว่าไปนั่น แต่ถ้าทำขายต้องมีใบประกอบโรคศิลปสาขาเภสัชกรรมไทย ไม่อยากบอกว่าในอีเบย์ ยาหม่องไทยยี่ห้อหนึ่งเป็นที่นิยมของฝรั่งมาก ๆ มันออร์เดอร์ทีละเยอะ ๆ เลย ดีใจกับสมุนไพรไทยด้วย
กลับมาที่ประโยชน์ของตัวต่อและรังต่อกันบ้าง
ต่อ Polistes mandarinus Saussure
ลักษณะ
แมลงมีปีกลำตัวขอดกลาง ลายปล้องสีเหลืองสลับดำ ตัวอ้วน ก้นแหลม มีเหล็กไนและน้ำพิษ มีพิษรุนแรง ทำอันตรายแก่คนและสัตว์ถึงชีวิตได้ รังมีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น เป็นแผ่น รูปเจดีย์ รูปฝักบัว ทรงกลมคล้ายหัวเสือ เนื้อเหมือนกระดาษฟางสีน้ำตาลเทาขาว กลิ่นเฉพาะตัว นำมานึ่งให้สุก เอาตัวอ่อนออกให้หมด ตากแห้งตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยเกลือเล็กน้อย เก็บไว้ทำยา
รังต่อ รสหวานสุขุม มีพิษ ขับลม ถอนพิษ ขับพยาธิ แก้อาการชา แก้ฝีหนอง แก้วัณโรคต่อมน้ำเหลืองระยะเริ่มแรก แก้ฝีชอนทะลุก้น แก้บิด แก้โรคจู๋ แก้ปัสสาวะไหลไม่รู้ตัว
ตัวอ่อน รสหวานเย็น มีพิษ แก้แน่นหน้าอก แน่นท้อง อาเจียนแต่ลมเปล่า
ห้ามใช้ในรายที่ร่างกายอ่อนแอ เลือดน้อย โลหิตจาง และห้ามใช้ร่วมกับขิง ตันเซิน จี่เย้า และเปลือกหอยนางรม
( หนังสือ เครื่องยาไทย ๑ ของ อาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช มีจำหน่ายตามร้านหนังสือซีเอด หรือปรึกษาอาจารย์ได้ที่ คลินิกธรรมเวชแพทย์แผนไทย ๐๒-๔๒๐๖๙๘๑,๐๘๑-๘๔๕๙๙๖๗ )
วันหน้าจะได้พูดคุยกันถึงอาจารย์วุฒิที่ท่านน่ารักมาก และเก่งมากด้วย เป็นมายไอดอลคนหนึ่งของเราเลย
อ๊ะจ๊ากกกก หารูปรังต่อไม่เจอ ถ่ายไว้ตั้งเยอะ โอ๊ยหงุดหงิด หายไปได้ไง แง้ๆๆๆๆๆ ติดไว้ก่อนนะ ขอเราไปคุ้ยในกรุสมบัติบ้าเปงพัน ๆ รูปของเราก่อน โอ๊ยรมณ์เสีย เจอแว้วววว

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไส้เดือนและดินขุยไส้เดือนก็เป็นสมุนไพร

ไส้เดือนรูปนี้ยืมเค้ามารูปเล็กเน๊อะ แต่ทุกคนคงรู้จักไส้เดือนอยู่แล้วล่ะ
ดินขุยไส้เดือนอันนี้สวยมาก สูงเป็นคอนโดเลยแฮะ ถ่ายที่จังหวัดสกลนคร

ไหนๆก็เล่นเรื่องสัตว์วัตถุมายาวแล้วต่อให้สุดไปเลยดีกว่า ตอนเด็ก ๆ ชอบแกล้งเพื่อนเป็นที่สุดถ้ารู้ว่าใครกลัวหนอนรึไส้เดือนจะไปหามาแกล้งวิ่งไล่ไม่ร้องไม่เลิก ก็หยะแหยงอยู่บ้างนะ แต่ความอยากแกล้งคนมีมากกว่า


จริง ๆแล้วไส้เดือนถือว่าเป็นสัตว์ที่สะอาดและมีสรรพคุณทางยาที่หลายๆ ประเทศใช้กัน


ในตำราแพทย์แผนโบราณ ใช้ไส้เดือนดินเป็นเครื่องยาอย่างหนึ่ง บางตำราเรียกไส้เดือนดินว่า รากดินหรือไส้ดินก็มี ตำราสรรพคุณยาโบราณได้กล่าวไว้ว่าไส้เดือนดินทั้งตัว (แห้ง ) มีรสเย็น คาว ต้มน้ำดื่ม หรือทำเป็นเม็ด มีสรรพคุณแก้ไข้พิษ ระงับความร้อน แก้อาการเกร็ง แก้ตาแดง แก้อัมพาตครึ่งซีก แก้คอพอก แก้เจ็บปวดตามข้อ และใช้ส่วนขี้เถ้าที่ได้จากการเผาไส้เดือนดิน ซึ่งมีรสเย็น เค็ม มีสรรพคุณแก้ไข แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ปากคอเปื่อย แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในคอ แก้ปวดกระดูก ( ข้อมูลจาก ชยันต์ และ วิเชียร , 2546 )


ดินขุยไส้เดือนเป็นดินที่ไส้เดือนขึ้นมาขับถ่ายออก กองไว้รอบ ๆ รู ตั้งเป็นแท่งทรงกลม รสเย็น แก้ไข้ที่มีพิษร้อนไข้พิ ไข้กาฬ ไข้ท้องป่อง(หนังสือเครื่องยาไทย ๑ อาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช )


นอกจากนี้ เคยมีรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับการกินไส้เดือนดิน เพื่อเป็นยารักษาโรค เช่น นิ่ว ดีซ่าน ริดสีดวงทวาร ไข้ ฝีดาษหรือไข้ทรพิษ และในสมัยก่อนเคยมีการใช้เถ้าของไส้เดือนดินทำเป็นผงยาสีฟัน หรือใช้บำรุงผม ด้วย ( ที่มาจาก Strphenson , 1930 ) นอกจากนี้ยังเคยมีการกินไส้เดือนดินเพื่อรักษาการเสริมสมรรถภาพทางเพศของเพศชายที่มีอายุมาก หรือใช้บำรุงหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร และใช้ไส้เดือนดินพอกแผลที่ถอนหนามออก นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ได้เคยใช้ไส้เดือนดินในการรักษาด้านการขยายหลอดเลือดด้วย ( ข้อมูลจาก Reynolds and Reynols , 1972 ) และไส้เดือนดินอาจมีส่วนประกอบของสารที่ใช้บำบัดรักษาโรคไขข้อได้ในประเทศจีนได้มีการใช้ไส้เดือนทำยา รักษาโรคหลายชนิด โดยการนำไส้เดือนดินมาตากแห้ง มาบดเป็นยาผง เข้าสูตรยาต่างๆ สำหรับผลิตเป็นยาบำรุงหรือยารักษาโรค ชาวจีนยังมีความเชื่อว่าการกินไส้เดือนดินทำให้สมรรถภาพทางเพศของเพศชายดีขึ้นด้วย ทำให้มีการผลิตยาหรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของไส้เดือนดินออกจำหน่าย เช่น เอิร์ดรากอน ชึ่งเป็นชื่อทางการค้าของยาแผนโบราณที่มีส่วนผสมของไส้เดือนดิน โดยมีอ้างถึงการใช้ไส้เดือนดินสกุล Lumbricus และใช้สมุนไพรพื้นบ้านของประเทศเวียดนาม ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง จีน เกาหลี และเวียดนาม โดยมีสรรพคุณในการเป็นอาหารเสริม ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และบำรุงตับ ในราคาขายประมาณ 27 เหรียญสหรัฐ ต่อ 50 แคปซูลไส้เดือนดินที่นำมาผลิตเป็นยาขนานต่างๆ เหล่านี้ บางส่วนเป็นไส้เดือนดินตากแห้งที่ส่งออกโดยชาวบ้านในอำเภอนาหว้า ซึ่งได้จับไส้เดือนดินที่หนีน้ำท่วมในฤดูฝนเป็นจำนวนมากโดยสามารถจับได้วันละ 20 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อตากแห้งจะเหลือ 3 4- กิโลกรัม และส่งออกไปยังประเทศจีน ปีละกว่า 200 ตัน ซึ่งทำเช่นนี้มานานกว่า 20 ปี นำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท
ตำรับแก้อหิวาต์และอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง พ่อสมนึก อ.ปักธงชัย
ใบข่อย ๑ กำมือ ขยี้ใส่ในน้ำ ๑ ขันที่แช่ไส้เดือนเป็นๆไว้ ดื่มแก้อาการ

ทากเจ้าของป่าตัวจริงกับประโยชน์ทางการแพทย์

ทาก ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาใหญ่

ชุดฟูลออฟชั่นสำหรับลุยป่าทากและเห็บป่า เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ เพื่อให้เห็นเวลาเห็บเกาะ และถุงเท้ากันทาก ในกระเป๋ามีไฟแช็คสำหรับลนเห็บและแฮะ ๆ พิมเสนน้ำป้ายทาก ป้ายปุ๊บตายปั๊บ ร่วงเป๊าะ เราพร้อมลุยแร้วววววว



ทริปนี้คัลเลอร์ฟูล ถุงกันทากสีแดง เขียว ชมพู ขาว มีให้เลือกที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จะโม้ไปไม๊ถ้าบอกว่าทริปนี้เจอเป็นล้านตัวอ่ะ





ทากตัวน้อยมันกำลังไต่ขึ้นรองเท้าก่อนผ่านถุงเท้าเข้าไปอย่างง่ายดาย



นางส้มกับนางเยาว์ปัดเป็นลิงเลยอ่ะทากลามกไต่ขึ้นไปถึงคอ



น้องผู้ชายมันกล้า แต่ทากก็ยังไม่ทันดูดเลือดหรอก

นี่แหล่ะท่าเตรียมพร้อมจู่โจมของเค้าล่ะ ชูสลอนเป็นร้อย ๆ พัน ๆ ตัวก่อนกระดืบ ๆ มาจากทุกทิศทุกทางก็ขนลุกเหมือนกันนะ



ใครกลัวทากคนนั้นโดน เท้าและเลือดของนางส้มสมหวัง ต้องstop bleeding นานพอสมควรกว่าเลือดจะหยุดไหล

เดินป่าเขาใหญ่ช่วงหน้าฝนสิ่งที่หนีไม่พ้นคือ ทาก เมื่อก่อนนึกว่าทากจะตัวใหญ่ขนาดไส้เดือน ที่ไหนได้ตัวเล็กนิดเดียว แล้วก็กระโดดไม่ได้ด้วย แต่กระดืบคืบคลานไวชะมัด ไปเขาใหญ่เที่ยวนั้น ไอ้น้องที่มันทำงานอยู่ที่นั่นมันไม่เตือนอะไรเลยว่าจะเจอทีเด็ด กะลังถ่ายรูปกันเพลิน ๆ อยู่ริมหนองน้ำ ได้ยินไอ้ส้มน้องในทีมงานร้องกรี๊ดๆๆๆๆๆ วิ่งชนจนกล้องเกือบหลุดมือนึกว่ามันเจอช้างตกอกตกใจ มันร้องทาก ๆๆๆๆ โถเอ๊ย ตัวนิ๊ดเดียวเอง เท่าก้านไม้ขีดได้มั้ง แต่โอโฮ้มันกระดืบไวโคตะระเลย ถ้ายืนอยู่กับที่ไม่กี่วินาทีมันไต่ขึ้นมาบนตัวแล้ว มันละซิทีนี้ จ้ำอ้าวแบบไม่ห่วงสมุนพง สมุนไพรกันเลย เอาชีวิตออกจากป่าให้ได้ก่อน เสียงไอ้ส้มกรีดร้องโหยหวลอยู่ข้างหลังปัดตามตัวขึ้นมาถึงหัวมั้ง รำคาญไอ้ส้มมากกว่าทากอีก ทากมันไม่รำคาญรึไง กว่าจะหลุดจากป่าเที่ยวนั้นเล่นเอาล้วงหน้าล้วงหลังกันอุตลุต หนองน้ำก็มีทาก ตามขอนไม้ผุก็มีเห็บป่า อันนี้น่ากลัวของจริงใครโดนกัดก็คันไปสามเดือน รึดีไม่ดีเป็นscrub typhus อันนี้น่ากลัวของจริง ตับวายไตวายถึงตายได้ แล้วในป่าเห็บเกาะที่เป็นร้อย ๆ ตัว ตัวเล็กเท่าหัวเข็มหมุดดำเป็นเทือกอยู่ตามตะเข็บกางเกง ต้องเอาไฟเช็คลนเพราะเก็บออกไม่ได้ มันเล็กมากและเยอะมาก ส่วนทากง่ายมาก แค่เอาพิมเสนน้ำป้าย ๆ ลงไปตัวลีบตายทันตาเห็น ห้ามบอกนักอนุรักษ์สัตว์นา โดนด่าตายเลย ทากพันธุ์เขาใหญ่เป็นพันธุ์ที่พบใหม่ในโลกด้วยและที่สำคัญทากเป็นสิ่งที่บ่งบอกความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ของป่า
เราพูดถึงทากไม่ได้เอาสนุกเอามัน แค่จะบอกว่าทากรึปลิงเนี้ยมีการใช้ในวงการแพทย์แผนโบราณมานานมากแล้ว ใช้ดูดเลือดร้ายออกจากร่างกาย ในจารึกวัดโพธิ์มีจารึกที่พูดถึงจุดต่างๆในร่างกายที่ให้ปลิงดูดเลือดร้ายออก วงการแพทย์แผนปัจจุบันมีการนำสารฮีรูดินที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นสารที่ช่วยผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันในอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่นสมอง หัวใจ ฯลฯ ทุกคนคงรู้จักฮีรูดอยกันนะที่ใช้ลดการแข็งตัวและรอยแผลเป็นงัย ที่นี้พอเดาได้รึยังว่ามันทำมาจากอะไร
ปลิง (Aquatic Leech) และ ทากดูดเลือด (Land Leech) จัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องและยืดหยุ่น ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง(สำหรับปลิง) และอยู่ตามพื้นที่ชื้นแฉะเช่นบริเวณป่าดงดิบเขตร้อน(สำหรับทากดูดเลือด) ดำรงชีพโดยการดูดเลือดสัตว์อื่น รวมทั้งเลือดมนุษย์เป็นอาหาร
ปลิงดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และ ปลาบางชนิดเป็นอาหาร และเนื่องจากไม่มีดวงตาจึงอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของเหยื่อด้วยแรงสั่นสะเทือนในน้ำ(สำหรับปลิง) และสำหรบทากดูดเลือด(Land Leech)มันจะคอยชูตัวอยู่ตามพื้นดินหรือไต่ขึ้นไปบนกิ่งไม้ มีสัมผัสที่ไวต่อกลิ่นและอุณหภูมิ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้มันจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด(Sucker)เกาะเข้ากับตัวเหยื่อ ซึ่งอวัยวะนี้มีทั้งด้านหน้าและด้านท้าย โดยมันจะใช้แว่นท้ายในการยึดเกาะ
เมื่อมันสามารถเกาะผิวเนื้อของเหยื่อแล้วมันจะค่อยๆ ไต่อย่างแผ่วเบาเพื่อหาที่ซ่อนตัว (ในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาที ที่เราจะปัดหรือดึงปลิงออกโดยไม่ต้องเสียเลือด) หลังจากนั้นมันจะใช้แว่นหน้าลงบนผิวเนื้อของเหยื่อเพื่อดูดเลือด โดยปลิงจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ปลิงดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน(Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน(Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด)
เมื่อปลิงหรือทากดูดเลือดอิ่มจนมีลักษณะตัวอ้วนบวมแล้ว มันจะปล่อยตัวร่วงลงสู่พื้นดินเอง
การห้ามเลือดหลังจากโดนปลิง
ใช้ใบสาบเสือ ยาเส้นหรือยาฉุนมาขยี้ปิดบาดแผล
ประโยชน์ทางด้านการแพทย์
วงการแพทย์สมัยโบราณมีการนำปลิงมาดูดพิษหรือเลือดเสียออกจากร่างกาย ในปัจจุบันแพทย์นำคุณสมบัติของปลิงมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจหรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น
การแก้ไขหลังจากโดนทากดูดเลือดกัด ให้ใช้มวนบุหรี่ ปิดที่แผลที่โดนทากดูด เพราะมวนบุหรี่มีสารนิโคตินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวสังเกตได้จากผู้ที่สูบบุหรี่จะรู้สึกปวดหัว เพราะสารนิโคตินทำให้ให้เลือดใหลไปเลี้ยงสมองช้า
ทาก นั้นก็มีประโยชน์ในวงการแพทย์โบราณของจีนค้นพบมานานแล้วว่า ทาก และปลิง สามารถดูดเลือดเสียได้สารพัด ทาก ถูกใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ครั้งแรกประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ในปัจจุบัน ทาก ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ อีกครั้งทั้งตัว ทาก เองและสารที่ได้ประโยชน์มาจาก ทาก ด้วยคุณสมบัติต่อต้านการแข็งตัวของเลือด สาร Hirudin ถูกนำมาใช้ในการทำให้เส้นเลือดในร่างกาย ไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดที่หัวใจ ส่วนตัว ทาก ที่มีชีวิตก็จะใช้ดูดเลือดในบางกรณี เพื่อให้เลือดในร่างกายมนุษย์หมุนเวียนได้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่า ทาก นั้นก็สามารถ ช่วยชีวิตคนได้อย่างมหาศาลเช่นกัน ในทางนิเวศวิทยา ทาก ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ป่าคงอยู่อย่างยั่งยืน มีผลิตผลต่อเนื่องให้สัตว์กินพืชได้ใช้ประโยชน์ กล่าวคือ เวลาที่มีเก้ง กวาง มากินยอดไม้บริเวณ ที่มี ทาก เก้ง กวาง ก็จะไม่ยืนกินอยู่นานหรือกินแค่พออิ่มก็รีบไป มิฉะนั้นแล้วฝูง ทาก ก็จะเข้ามารุมสกรัม มีผลทำให้ต้นไม้ต้นนั้นไม่โทรมจนตาย สามารถแตกยอด แตกใบ ผลิตอาหารให้กับ เก้ง กวางตัวอื่นที่มาทีหลัง
เคล็ดลับสำหรับคนที่ปลิงเข้ารูทวารและช่องคลอด
ธรรมชาติมีของที่เอาไว้แก้กันคือ ให้กินตั๊กแตนสด ๆ ถ้าตั๊กแตนตัวใหญ่ก็ซัก ๒-๓ ตัว ตั๊กแตนตัวเล็กก็ ๕-๑๐ ตัว ประมาณครึ่งถึงหนึ่งวันปลิงจะค่อย ๆ กระดืบ ๆ ออกมา ถ้าลงน้ำที่มีปลิงอยู่เยอะก็เอาตั๊กแตนผูกเอวกันปลิง

สุรามะริดใช้ดองเหล้าเพิ่มฤทธิ์พืชสมุนไพรจากเขาใหญ่

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


สุรามะริด
ใบสุรามะริดจะมีลักษณะเฉพาะแบบเดียวกับพืชตระกูลอบเชยคือมีเส้นใบสามใบลากยาวจากโคนใบถึงปลายใบ มีกลิ่นหอมลักษณะรากอากาศของสุรามะริด

เดินป่าเขาใหญ่จะเจอไม้เด่นตัวหนึ่งที่ยืนต้นมีรากอากาศอยู่ตามกิ่งก้านและมีเส้นใบยาวถึงโคนใบสามเส้น(ลักษณะเฉพาะของไม้พวกอบเชย) คนนำทางรู้จักไม้นี้เป็นอย่างดีใช้ส่วนรากมาดองเหล้าบอกว่าให้รสชาติที่ดียิ่งนัก คอสุราคงชอบใจ เราไม่ต่อต้านเรื่องเหล้าดองยา เพราะสมุนไพรประเภทเนื้อไม้และเปลือกไม้หนา ๆ ใช้วิธีต้มหรือชงไม่สามารถนำสารสำคัญที่ออกฤทธิ์มาใช้ได้หมดเป็นการสิ้นเปลือง การดองเหล้าจะดีกว่าด้วยประการทั้งปวง แต่ต้องกินให้เป็นยาคือเช้าเป๊กเย็นเป๊ก ไม่ใช่กินเหล้าเป็นเหล้าคือกินจนเมาไม่รู้เรื่อง ไม้ตัวนี้เรียกว่าสุรามะริด เดินป่าเขาใหญ่ทักทายเค้าได้นะ ภาพที่ได้ไม่ชัดนักแต่ก็พอดูได้นะ
ยังมีข้อสงสัยกับพืชตัวนี้พอสมควรมีข้อมูลที่พูดถึงน้อยมากเอาเท่าที่พอรวบรวมได้ละกันถ้าตามการจัดประเภทของอาจารย์ เต็ม สมิตินันท์ ระบุว่าสุรามะริดเป็นตัวเดียวกับอบเชยไทยดังข้อมูลนี้
อบเชยไทย (C.burmanii) เป็นอบเชยที่มีชื่อเสียงและมีการบริโภคเปลือกกันมากที่สุดในประเทศไทยชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น สุรามะริด (C. subavenium)( เติม สมิตินันท์,2523) แต่ในที่นี้ขอเรียกว่า อบเชยไทย เปลือกอบเชยชนิดนี้ที่มีการค้าขายกันอยู่ ได้มาจากป่าธรรมชาติเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น การเก็บหาเปลือกอบเชยชนิดนี้ทำโดยการตัดโค่นต้นลง และลอกเก็บเปลือกตามต้นและกิ่งทั้งหมด ถ้าต้นนั้นปรากฎไม่ห่างไกลจากสำนักงานของทางราชการมากนัก ชาวบ้านจะทำการลอกเปลือกรอบลำต้นแทนการตัดโค่น (ภาพที่ 1 ) ซึ่งในที่สุดต้นอบเชยนั้นอาจตายได้ เนื่องจากมีการเก็บหาเปลือกอบเชยชนิดนี้กันมากจนกระทั่งปัจจุบันพบอบเชยชนิดนี้น้อยมากพบเพียงในป่าลึก และเฉพาะในพื้นที่ที่อนุรักษ์ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จึงทำให้น่าเป็นห่วงว่าอบเชยชนิดนี้จะถูกจัดให้เป็นพันธุ์ไม้หายากของประเทศไทยและอาจจะต้องเสียเงินตราจำนวนมากเพื่อสั่งเข้าเปลือกอบเชยจากต่างประเทศ
อบเชยเป็นสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอม มีการใช้สารสกัดจากเปลือกอบเชยเพื่อให้กลิ่นหอมในราชสำนักของราชินีแฮทเชพซุท(Hatshepsut) แห่งอียิปต์เมื่อ ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้อบเชยยังเป็นสมุนไพรหลักในยาธาตุ ยาหอม ยานัตถุ์ ทั้งหลาย และยังเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารที่ขาดมิได้ในพะโล้ ซึ่งใช้ช่วยย่อยอาหารมันๆ เช่น หมูสามชั้นที่เรานิยมนำมาทำพะโล้หมูสามชันกับไข่นั้นเอง
อบเชยเป็นเครื่องเทศที่มีมากในที่ที่มีอากาศชื้น อบเชยเป็นพืชพื้นเมืองของลังกาและภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งเราจะเรียกว่าอบเชยลังกา หรือเรียกติดปากได้อีกอย่างหนึ่งว่า "อบเชยเทศ" ต้นอบเชยเทศนั้นจะมีลักษณะเปลือกบางกว่าอบเชยชนิดอื่นๆ มีชื่อเรียกทางการว่า Cinnamomum verum J.S.Presl ซึ่งครั้งหนึ่งในประว้ติศาสตร์ประเทศอังกฤษกับฮอลแลนด์เคยทำสงครามกัน เพื่อแย่งกันทำการผูกขาดการค้าอบเชยในลังกามาแล้วในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙
ผลสุดท้ายอังกฤษสามารถแย่งการผูกขาดการค้ามาจากฮอลแลนด์ได้สำเร็จแล้วก็เอามาผูกขาดเสียเอง พอเสร็จสงคราม ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. ๑๘๕๐ เป็นต้นมาอังกฤษทำการปลูกอบเชยในลังกาถึง ๔๐๐๐๐ เอเคอร์ ทำให้ปัจจุบันศรีลังกาเป็นผู้ส่งออกอบเชยรายใหญ่ของโลก
นอกจากอบเชยลังกาที่กล่าวมาแล้ว ยังมี "อบเชยจีน" ซึ่งลักษณะเปลือกจะหนากว่าอบเชยลังกาเล็กน้อย มีชื่อเรียกต้นนี้ว่า Cinnamonum aromaticum Nees และยัง "อบเชยญวน" ซึ่งมีลักษณะเปลือกหนากว่าของลังกาและของจีน และยังมีกลิ่นหอมจัดกว่าชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งมีชื่อเรียกทางการว่า Cinnamomum loureiriiNees สำหรับชาวไทยของเราก็มีเหมือนกัน เรียกว่า "อบเชยไทย"ซึ่งมีลักษณะเปลือกหนาที่สุดเรียกชื่อเป็นทางการว่า Cinnamomum subavenium Miq.
มาดูลักษณะต้นอบเชยสักหน่อย เพราะคนโดยมากรู้จักหรือเห็นกันเฉพาะเปลือกต้นอบเชย ไม่ว่าจะนำมาปรุงยาหรือที่กำลังอินเทรน์สำหรับผู้นิยมดื่มกาแฟสดทั้งหลาย ก็จะมีสูตรกาแฟกับอบเชยให้ดื่มกัน อบเชยเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำทึบ เปลือกเรียบสีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ปกติเป็นพืชในป่าดิบทั่วไป แต่ถ้าคนต้องการนำมาปลูก ก็สามารถขึ้นในดินทั่วไป แต่ชอบดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การใช้ประโยชน์ของอบเชยนั้น นิยมใช้ส่วนของเปลือกต้นที่มีกลิ่นหอมเนื่องจากมีส่วนประกอบสำคัญคือน้ำมันหอมระเหย หากใครชิมอบเชยจะพบกับรสเผ็ด หวาน สุขุม ซึ่งมีสรรพคุณขับลม ช่วยย่อย บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ดังนั้นอบเชยจึงเป็นสมุนไพรหลักร่วมกับตัวยาอื่นในยาธาตุ หรือเพียงแต่นำเปลือกอบเชยไปต้มน้ำ ก็ได้ยาธาตุน้ำสูตรอบเชยล้วนๆ กินแก้ท้องอืดท้อง เฟ้ออาหารไม่ย่อย ช่วยขับลมได้เป็นอย่างดี
เปลือกอบเชยยังเป็นส่วนประกอบของยาหอม ใช้ชงน้ำหรือทำเป็นเม็ดรับประทานบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน และในกระแสที่ใครๆก็สนใจอโรมาเธอร์ราปีส์ อบเชยยังถือว่าเป็นอโรมาเธอร์ราปีส์ของไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยเป็นส่วนประกอบของส้มโอมือที่ใช้เป็นยาดม ทำให้สดชื่น และเป็นส่วนประกอบหลักของยานัตถุ์ แก้ปวดศรีษะ เปลือกอบเชยยังมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง จึงพบการใช้เปลือกอบเชยร่วมไปกับสมุนไพรชนิดอื่นในตำรับยาแก้กษัย รวมทั้งตำรับยาบำรุงร่างกายอื่นๆ ด้วย
ปัจจุบันมีการนำเปลือกอบเชยมาบดใส่แคปซูลรับประทานด้วยเพื่อช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งอาจมีที่มาจากการที่มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนหนึ่ง นิยมใช้ยาตำรับแก้กษัยตำรับหนึ่ง กินแล้วทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ โดยตำรับแก้กษัยดังกล่าวมีเปลือกอบเชยเป็นส่วนประกอบตัวยาหลัก และเมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานการศึกษาพบว่าการรับประทานเปลือกอบเชยวันละครั้งประมาณ หนึ่งในสี่ช้อนชา สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ในกลุ่มที่เป็นอาสาสมัครซึ่งทำการทดลอง
อย่างไรก็ตามการใช้อบเชยในผู้ป่วยเบาหวานคงต้องมีการศึกษากันต่อไป แต่ถ้าผู้ป่วยเบาหวานท่านใดต้องการใช้ เพื่อเป็นทางเลือกหรือทางเสริมจากการดูแลรักษาตามปกติ ก็ขอถือว่าแคปซูลอบเชย เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยขับลม บำรุงธาตุ ซึ่งมีปลอดภัยมีการใช้มายาวนาน แล้วก็ปฏิบัติตัวด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่เหมาะ และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงที่เคยพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเบาหวานก็ขอให้ทำตามปกติ นอกจากใช้เปลือกอบเชยแล้ว ยังนิยมใช้รากและใบของอบเชยมาต้มน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ รับประทาน เพื่อช่วยขับน้ำคาวปลา และแก้ไข้เนื่องจากการอักเสบของมดลูกของสตรีหลังคลอดบุตร ทั้งใบและรากของอบเชยมีรสหอมสุขุม ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายบำรุงธาตุ
อบเชย เป็นสุมไพรใช้ประโยชน์ทางยาแล้ว น้ำมันหอมระเหยจากอบเชยยังใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและขนม เช่น คุกกี้ โดนัท ลูกอมดับกลิ่นปาก ยาสีฟัน เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้อบเชยร่วมกับสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมชนิดอื่นๆ วางไว้ในตู้เสื้อผ้า เพื่อป้องกันกลิ่นอับและช่วยไล่มดไล่แมลงด้วย
อบเชยจึงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในบ้านเรายังมีสมุนไพรในตระกูลอบเชยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างใกล้เคียงกัน เช่น ข่าต้น เทพธาโร จวงหอม ฯลฯ ซึ่งพบในป่าดิบชื้นทั่วไป หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้ต้นสมุนไพรในกลุ่มนี้ เพื่อใช้เป็นยาธาตุ ยาหอม ยาขับลม เช่นกัน และยังใช้เนื้อไม้ไปทำไม้ตีพริก(สาก)ทำให้น้ำพริกมีกลิ่นหอม ช่วยขับลมในลำไส้
ตำรับยา
ใบสุรามะริดกลั่นเอาน้ำมันเรียกว่าน้ำมันเขียว ใช้ทาภายนอก แก้ลมเข้าข้อ ฟกช้ำใช้ทาบริเวณที่เส้นเอ็นกระตุก ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น และขับโลหิตใหขึ้นสู่ผิวหนัง
ปุณณภา งานสำเร็จ เรื่อง

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทองกวาวร่วงกราวตามราวป่า

ทองกวาว
ใบทองกวาวเป็นใบประกอบสามใบแบบพืชตระกูลถั่ว


ลักษณะดอกของพืชตระกูลถั่ว


ดอกทองกวาวสวยสะดุดตา

ช่วงนี้มองไปตามข้างทางไม่ต้องถึงตามป่าจะเห็นทองกวาว รึวงการสมุนไพรเรียกว่ากวาวต้น อวดดอกสวยเต็มไปหมดตามสองข้างทาง ถึงจะเป็นไม้ใหญ่แต่ใบประกอบสามใบก็บอกความเป็นพืชตระกูลถั่วที่ช่วยตรึงก๊าซไนโตรเจนให้ผืนดิน และชาวบ้านบอกว่า เมื่อต้นเล็กๆจะมีหัว หัวเค้าเอามากินเป้นอาหารได้ พ่อหมอบอกว่ากาฝากที่ขึ้นกับต้นทองกวาวเอามาบดทาใบหน้าช่วยให้หน้าตึงกระชับ ขาวใสดี นับว่าเป็นไม้สวยมีประโยชน์มากอีกตัวหนึ่งทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชวงศ์เดียวกับกวาวเครือขาว กวาวเครือแดงที่นิยมนำมาใช้ในวงการความสวยความงามในปัจจุบัน น่าแปลกที่คนไม่ใช้กวาวต้นที่หาง่ายกว่าเยอะและเป็นการใช้แค่ส่วนเปลือกลำต้นที่ไม่ทำให้ดับแนวเหมือนการใช้หัวกวาวเครือขาวและแดง เราอยากให้คนทุกวันนี้เหลืออะไรไว้ให้รุ่นลูกหลานเราเค้าได้มีใช้บ้าง วันข้างหน้าเด็ก ๆ คงลำบากกว่ารุ่นพวกเรามาก




ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.)Taubert
วงศ์: LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ: Bastard Teak, Bengal Kino, Flame of the Forest[1]
ชื่ออื่นๆ: กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะ




เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 12-18 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา การแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยด้านข้างเป็นรูปไม่เบี้ยว กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 9-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ
ดอก: ออกเป็นช่อคล้ายดอกทองหลาง สีแดงส้ม มีความยาว 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะเป็นกลุ่ม เวลาบานมี 5 กลีบ จะออกดอกดกที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ผล: ผลมีลักษณะเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน แบน โค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร




สรรพคุณ





ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ
ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ
ยาง แก้ท้องร่วง
เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ
เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน
ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร
ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ




ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยพบสารสำคัญหลายชนิดและพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญดังนี้ ต้านการอักเสบ (แก้ฝี แก้สิว แก้ปวด ลดไข้ ),ฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน (ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง ),ต้านเชื้อแบคทีเรีย (แก้ฝี ),ขับพยาธิ ,ต้านการปฎิสนธิยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนที่มดลูก ,ทำให้แท้ ง(หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน )และ เป็นพิษต่อตับ
ไม้มงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
ควรปลูกต้นทองกวาวไว้ทางทิศใต้จะเป็นมงคลยิ่ง ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อ ว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

คำมอกหลวงหมากฝรั่งในป่าดง

คำมอกหลวง
ลักษณะลำต้นของคำมอกหลวงต้นนี้ถ่ายในสำนักงาน

ดอกอ่อนสีขาวพอแก่สีเหลืองสวยดีนะ
ผลคำมอกหลวงเหมือนฝรั่งเลยอ่ะ


นั่นไงๆมองเห็นแต่ไกลเลยอย่างนี้ใครดีใครได้


ส่วนของเรซิ่นสีส้มนี่แหล่ะที่แย่งกันเอามาเคี้ยวเป็นหมากฝรั่งเวลาเดินป่า 555 รู้สึกดีจังแฮะ คิดถึงป่าจัง




เวลาเดินป่าเราชอบเวลาที่พ่อหมอหยิบไอ้นั่นเด็ดไอ้นี่ให้ชิม ใบบ้าง ดอกบ้าง ผลบ้าง บางอย่างก็รสชาติใช้ได้ แต่บางอย่างก็โดนแกล้ง ขมบ้าง ฝาดบ้าง ตามเรื่องไป แต่ก็ทำให้การเดินป่ามีสีสรรดี ของกินในป่าถึงรสชาติไม่ค่อยได้เรื่องนักแต่ก็น่าตื่นเต้นเสมอ เหมือนเรากลับไปเป็นเด็ก เรียนรู้โลกมหัศจรรย์ใหม่อีกครั้ง มีต้นหนึ่งที่เราชอบเพราะยอดอ่อนเค้าเคี้ยวเล่นเพลิน ๆ เหมือนกินหมากฝรั่งแก้เหงาปาก ถึงไม่มีรสชาติอะไร แต่ก็เพลินดีนะ





ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia sootepensis Hutch.

ชื่อวงศ์ RUBIACEAE








ชื่ออื่น คำมอกข้าง แสลงหอมไก๋ ไข่เน่า คำมอก ยางมอกใหญ่ หอมไก๋
ลักษณะ

เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-8 ม. มีขนนุ่มที่กิ่งก้าน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกว้าง 4-13 ซม. ยาว 8-25 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.5 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบร่วงง่าย แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปไข่กลับแกมรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลมขอบเรียบผิวด้านล่างปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มหนาแน่นกว่าที่ด้านบน ดอกเดี่ยวมีหลายดอกเกิดที่ซอกใบ ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่ม ยกเว้นกลีบดอกด้านใน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 4-9 ซม. ก้านดอกยาว 0.2-0.7 ซม. หรือไม่มีก้าน ประกอบด้วยวงกลีบเลี้ยงปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกปลายแหลม วงกลีบดอกปลายแยก 5 แฉก สีเหลืองรูปไข่หรือรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน โผล่เกือบพ้นหลอดวงกลีบดอก เกสรเพศเมีย จำนวน 1 อันอยู่ใต้วงกลีบ ผลแห้ง เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ผลไม่แตก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3.2-4.5 ซม. รูปรี ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มมียอดเกสรตัวเมียติดที่ปลายผล
สรรพคุณ
เมล็ดต้มเคี่ยวกับน้ำ เป็นยาสระผมฆ่าเหา

คอนสวรรค์ไม้ปราบเซียน

คอนสวรรค์

ใบและดอกคอนสวรรค์มีลักษณะเฉพาะ

ต้นคอนสวรรค์ไม้เลื้อยลีลาสวยมีการพัฒนาเป็นไม้ประดับแล้ว
เราเคยเจอพ่อหมอสมุนไพรที่เก่งมากๆรู้จักไม้ทุกต้นอย่างไม่น่าเชื่อ ชี้ต้นไหนบอกได้หมดไม่มีติดขัดจะเป็นป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ท่านรู้เยอะจริง ๆ หาได้น้อยที่จะเจอคนชำนาญไม้ในป่าต่างประเภทกันแบบนี้ เราก็ชอบลองของก็พยายามถามๆเป็นอาทิตย์เผื่อจะเจอซักต้นที่พ่อหมอท่านนี้จะไม่รู้จัก จนหมดภูมิ เดินดูต้นไม้เล่น ๆ ข้างบ้านท่านเห็นต้นนี้เราชี้หมับว่าต้นคอนสวรรค์ พ่อหมอหันมาถามเราว่าต้นอะไรนะ เราก็บอกแกงงๆว่าต้นคอนสวรรค์ แกบอกว่าต้นนี้แกไม่รู้จัก โอ้ก๊อด เป็นไปได้อย่างไร ฉันดันไปรู้จักไม้ที่เซียนระดับนี้ไม่รู้จัก ภูมิใจได้ป่ะนะ เห็นวงการไม้ประดับชอบเอาไม้มาเปลี่ยนชื่อจนนึกกลัวว่าสักวันคนจะไม่รู้จักแล้วจะไม่รู้ว่าสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในตำรับตำราโบราณหมายถึงตัวไหน เหมือนอย่างลั่นทมที่ตอนนี้ใครๆพากันเรียกว่าลีลาวดี แต่ฉันอยากจะขอร้องว่าช่วยเรียกชื่อเดิมทีเถอะ


คอนสวรรค์


ชื่อวิทยาศาสร์ Ipomoea quamoclit. Linn.


ตระกูล CONVOLVULACEAEชื่อสามัญ Indian Pink.


ชื่ออื่นๆ (Other Name) : เข็มแดง พันสวรรค์ สนก้างปลา แข้งสิงห์สะตอเทศ ผักหนองบก ผักก้านถิน


ลักษณะ


ต้น คอนสวรรค์เป็นไม้เถาล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี เมื่อให้ดอกแล้วก็จะแห้งตายไป ลำต้นหรือเถาจะ เลื้อยพันกันแน่น และจะต้องมีหลักหรือซุ้ม เพื่อให้เถาคอนสวรรค์เลื้อยพันขึ้นได้ ลำต้นหรือเถาจะ มีขนาดเล็กและเรียว ผิวของลำต้นจะเกลี้ยง ใบ คอนสวรรค์มีใบเป็นรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ขอบใบเป็นจักแฉกลึกแบบขนตก จะมีแฉกข้างละ ประมาณ 10-19 แฉก แฉกจะอยู่ตรงข้ามกันหรือสลับกัน ส่วนก้านใบจะสั้น โดยมีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตรดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 4-6 ดอก มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 10-14 เซน ติเมตร และมีก้านดอกสั้น ซึ่งยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร มีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปขอบขนานกัน หรือเป็นรูปช้อนแกมขอบขนาน ตรงปลายมน ส่วนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นทรงแจกัน และมี ความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกจะแยกออกเป็นแฉกแหลมมี 5 แฉก ดอกจะมีสีแดง


สรรพคุณ


ทั้งต้น ใช้เป็นยารุ แก้งูกัด บดเป็นผงทำยานัตถุ์
ใบ ตำละเอียดพอกริดสีดวงทวารที่แตก สิวหัวช้าง ฝีฝักบัว
เมล็ด ใช้เป็นยาระบาย บรรเทาอาการปวดท้อง


ข้าวสารค่างไม้แปลกหายาก

ข้าวสารค่าง
ข้าวสารค่างเลื้อยพันหลักไม้ผลของมันมีเอกลักษณ์มากแปลกตาดี

เราชอบไม้ต้นนี้เพราะผลของเค้าแปลกดีไปเจออยู่ที่ลพบุรีเลยเอามาลงไว้เป็นกลุ่มสมุนไพรที่หาข้อมูลยากไม่ค่อยมีใครพูดถึง พ่อหมอน้อยเรียกต้นนี้ว่าองคต


ข้าวสารค่าง.
ชื่อพฤกษศาสตร์, : Cardiopteris quinqueloba (Hassk.) Hassk.
วงศ์, : Cardiopteridaceae.
ชื่ออื่นๆ, : ขะล๊านข่าง ตุ๊กตู่
ลักษณะ
ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ทุกส่วนมียาง สีขาว ใบเรียงเวียน ฐานใบรูปหัวใจ ขอบใบเว้า ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ กลีบดอกสีขาว ผลสีเขียวรูปไข่กลับแกมรูปรี แบนมี ๒ ปีก ส่วนปลายผลเว้าเป็นรูปหัวใจมีติ่งของยอดเกสรเพศเมียติดอยู่
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ใบตำผสมเหง้าไพลและมันหมูห่อใบตองหมกไฟประคบรักษาผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา