ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย จังหวัดนครราชสีมา
สุรามะริด
ใบสุรามะริดจะมีลักษณะเฉพาะแบบเดียวกับพืชตระกูลอบเชยคือมีเส้นใบสามใบลากยาวจากโคนใบถึงปลายใบ มีกลิ่นหอมลักษณะรากอากาศของสุรามะริด
เดินป่าเขาใหญ่จะเจอไม้เด่นตัวหนึ่งที่ยืนต้นมีรากอากาศอยู่ตามกิ่งก้านและมีเส้นใบยาวถึงโคนใบสามเส้น(ลักษณะเฉพาะของไม้พวกอบเชย) คนนำทางรู้จักไม้นี้เป็นอย่างดีใช้ส่วนรากมาดองเหล้าบอกว่าให้รสชาติที่ดียิ่งนัก คอสุราคงชอบใจ เราไม่ต่อต้านเรื่องเหล้าดองยา เพราะสมุนไพรประเภทเนื้อไม้และเปลือกไม้หนา ๆ ใช้วิธีต้มหรือชงไม่สามารถนำสารสำคัญที่ออกฤทธิ์มาใช้ได้หมดเป็นการสิ้นเปลือง การดองเหล้าจะดีกว่าด้วยประการทั้งปวง แต่ต้องกินให้เป็นยาคือเช้าเป๊กเย็นเป๊ก ไม่ใช่กินเหล้าเป็นเหล้าคือกินจนเมาไม่รู้เรื่อง ไม้ตัวนี้เรียกว่าสุรามะริด เดินป่าเขาใหญ่ทักทายเค้าได้นะ ภาพที่ได้ไม่ชัดนักแต่ก็พอดูได้นะ
ยังมีข้อสงสัยกับพืชตัวนี้พอสมควรมีข้อมูลที่พูดถึงน้อยมากเอาเท่าที่พอรวบรวมได้ละกันถ้าตามการจัดประเภทของอาจารย์ เต็ม สมิตินันท์ ระบุว่าสุรามะริดเป็นตัวเดียวกับอบเชยไทยดังข้อมูลนี้
อบเชยไทย (C.burmanii) เป็นอบเชยที่มีชื่อเสียงและมีการบริโภคเปลือกกันมากที่สุดในประเทศไทยชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น สุรามะริด (C. subavenium)( เติม สมิตินันท์,2523) แต่ในที่นี้ขอเรียกว่า อบเชยไทย เปลือกอบเชยชนิดนี้ที่มีการค้าขายกันอยู่ ได้มาจากป่าธรรมชาติเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น การเก็บหาเปลือกอบเชยชนิดนี้ทำโดยการตัดโค่นต้นลง และลอกเก็บเปลือกตามต้นและกิ่งทั้งหมด ถ้าต้นนั้นปรากฎไม่ห่างไกลจากสำนักงานของทางราชการมากนัก ชาวบ้านจะทำการลอกเปลือกรอบลำต้นแทนการตัดโค่น (ภาพที่ 1 ) ซึ่งในที่สุดต้นอบเชยนั้นอาจตายได้ เนื่องจากมีการเก็บหาเปลือกอบเชยชนิดนี้กันมากจนกระทั่งปัจจุบันพบอบเชยชนิดนี้น้อยมากพบเพียงในป่าลึก และเฉพาะในพื้นที่ที่อนุรักษ์ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จึงทำให้น่าเป็นห่วงว่าอบเชยชนิดนี้จะถูกจัดให้เป็นพันธุ์ไม้หายากของประเทศไทยและอาจจะต้องเสียเงินตราจำนวนมากเพื่อสั่งเข้าเปลือกอบเชยจากต่างประเทศ
อบเชยเป็นสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอม มีการใช้สารสกัดจากเปลือกอบเชยเพื่อให้กลิ่นหอมในราชสำนักของราชินีแฮทเชพซุท(Hatshepsut) แห่งอียิปต์เมื่อ ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้อบเชยยังเป็นสมุนไพรหลักในยาธาตุ ยาหอม ยานัตถุ์ ทั้งหลาย และยังเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารที่ขาดมิได้ในพะโล้ ซึ่งใช้ช่วยย่อยอาหารมันๆ เช่น หมูสามชั้นที่เรานิยมนำมาทำพะโล้หมูสามชันกับไข่นั้นเอง
อบเชยเป็นเครื่องเทศที่มีมากในที่ที่มีอากาศชื้น อบเชยเป็นพืชพื้นเมืองของลังกาและภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งเราจะเรียกว่าอบเชยลังกา หรือเรียกติดปากได้อีกอย่างหนึ่งว่า "อบเชยเทศ" ต้นอบเชยเทศนั้นจะมีลักษณะเปลือกบางกว่าอบเชยชนิดอื่นๆ มีชื่อเรียกทางการว่า Cinnamomum verum J.S.Presl ซึ่งครั้งหนึ่งในประว้ติศาสตร์ประเทศอังกฤษกับฮอลแลนด์เคยทำสงครามกัน เพื่อแย่งกันทำการผูกขาดการค้าอบเชยในลังกามาแล้วในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙
ผลสุดท้ายอังกฤษสามารถแย่งการผูกขาดการค้ามาจากฮอลแลนด์ได้สำเร็จแล้วก็เอามาผูกขาดเสียเอง พอเสร็จสงคราม ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. ๑๘๕๐ เป็นต้นมาอังกฤษทำการปลูกอบเชยในลังกาถึง ๔๐๐๐๐ เอเคอร์ ทำให้ปัจจุบันศรีลังกาเป็นผู้ส่งออกอบเชยรายใหญ่ของโลก
นอกจากอบเชยลังกาที่กล่าวมาแล้ว ยังมี "อบเชยจีน" ซึ่งลักษณะเปลือกจะหนากว่าอบเชยลังกาเล็กน้อย มีชื่อเรียกต้นนี้ว่า Cinnamonum aromaticum Nees และยัง "อบเชยญวน" ซึ่งมีลักษณะเปลือกหนากว่าของลังกาและของจีน และยังมีกลิ่นหอมจัดกว่าชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งมีชื่อเรียกทางการว่า Cinnamomum loureiriiNees สำหรับชาวไทยของเราก็มีเหมือนกัน เรียกว่า "อบเชยไทย"ซึ่งมีลักษณะเปลือกหนาที่สุดเรียกชื่อเป็นทางการว่า Cinnamomum subavenium Miq.
มาดูลักษณะต้นอบเชยสักหน่อย เพราะคนโดยมากรู้จักหรือเห็นกันเฉพาะเปลือกต้นอบเชย ไม่ว่าจะนำมาปรุงยาหรือที่กำลังอินเทรน์สำหรับผู้นิยมดื่มกาแฟสดทั้งหลาย ก็จะมีสูตรกาแฟกับอบเชยให้ดื่มกัน อบเชยเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำทึบ เปลือกเรียบสีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ปกติเป็นพืชในป่าดิบทั่วไป แต่ถ้าคนต้องการนำมาปลูก ก็สามารถขึ้นในดินทั่วไป แต่ชอบดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การใช้ประโยชน์ของอบเชยนั้น นิยมใช้ส่วนของเปลือกต้นที่มีกลิ่นหอมเนื่องจากมีส่วนประกอบสำคัญคือน้ำมันหอมระเหย หากใครชิมอบเชยจะพบกับรสเผ็ด หวาน สุขุม ซึ่งมีสรรพคุณขับลม ช่วยย่อย บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ดังนั้นอบเชยจึงเป็นสมุนไพรหลักร่วมกับตัวยาอื่นในยาธาตุ หรือเพียงแต่นำเปลือกอบเชยไปต้มน้ำ ก็ได้ยาธาตุน้ำสูตรอบเชยล้วนๆ กินแก้ท้องอืดท้อง เฟ้ออาหารไม่ย่อย ช่วยขับลมได้เป็นอย่างดี
เปลือกอบเชยยังเป็นส่วนประกอบของยาหอม ใช้ชงน้ำหรือทำเป็นเม็ดรับประทานบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน และในกระแสที่ใครๆก็สนใจอโรมาเธอร์ราปีส์ อบเชยยังถือว่าเป็นอโรมาเธอร์ราปีส์ของไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยเป็นส่วนประกอบของส้มโอมือที่ใช้เป็นยาดม ทำให้สดชื่น และเป็นส่วนประกอบหลักของยานัตถุ์ แก้ปวดศรีษะ เปลือกอบเชยยังมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง จึงพบการใช้เปลือกอบเชยร่วมไปกับสมุนไพรชนิดอื่นในตำรับยาแก้กษัย รวมทั้งตำรับยาบำรุงร่างกายอื่นๆ ด้วย
ปัจจุบันมีการนำเปลือกอบเชยมาบดใส่แคปซูลรับประทานด้วยเพื่อช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งอาจมีที่มาจากการที่มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนหนึ่ง นิยมใช้ยาตำรับแก้กษัยตำรับหนึ่ง กินแล้วทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ โดยตำรับแก้กษัยดังกล่าวมีเปลือกอบเชยเป็นส่วนประกอบตัวยาหลัก และเมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานการศึกษาพบว่าการรับประทานเปลือกอบเชยวันละครั้งประมาณ หนึ่งในสี่ช้อนชา สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ในกลุ่มที่เป็นอาสาสมัครซึ่งทำการทดลอง
อย่างไรก็ตามการใช้อบเชยในผู้ป่วยเบาหวานคงต้องมีการศึกษากันต่อไป แต่ถ้าผู้ป่วยเบาหวานท่านใดต้องการใช้ เพื่อเป็นทางเลือกหรือทางเสริมจากการดูแลรักษาตามปกติ ก็ขอถือว่าแคปซูลอบเชย เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยขับลม บำรุงธาตุ ซึ่งมีปลอดภัยมีการใช้มายาวนาน แล้วก็ปฏิบัติตัวด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่เหมาะ และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงที่เคยพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเบาหวานก็ขอให้ทำตามปกติ นอกจากใช้เปลือกอบเชยแล้ว ยังนิยมใช้รากและใบของอบเชยมาต้มน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ รับประทาน เพื่อช่วยขับน้ำคาวปลา และแก้ไข้เนื่องจากการอักเสบของมดลูกของสตรีหลังคลอดบุตร ทั้งใบและรากของอบเชยมีรสหอมสุขุม ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายบำรุงธาตุ
อบเชย เป็นสุมไพรใช้ประโยชน์ทางยาแล้ว น้ำมันหอมระเหยจากอบเชยยังใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและขนม เช่น คุกกี้ โดนัท ลูกอมดับกลิ่นปาก ยาสีฟัน เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้อบเชยร่วมกับสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมชนิดอื่นๆ วางไว้ในตู้เสื้อผ้า เพื่อป้องกันกลิ่นอับและช่วยไล่มดไล่แมลงด้วย
อบเชยจึงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในบ้านเรายังมีสมุนไพรในตระกูลอบเชยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างใกล้เคียงกัน เช่น ข่าต้น เทพธาโร จวงหอม ฯลฯ ซึ่งพบในป่าดิบชื้นทั่วไป หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้ต้นสมุนไพรในกลุ่มนี้ เพื่อใช้เป็นยาธาตุ ยาหอม ยาขับลม เช่นกัน และยังใช้เนื้อไม้ไปทำไม้ตีพริก(สาก)ทำให้น้ำพริกมีกลิ่นหอม ช่วยขับลมในลำไส้
อบเชยเป็นเครื่องเทศที่มีมากในที่ที่มีอากาศชื้น อบเชยเป็นพืชพื้นเมืองของลังกาและภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งเราจะเรียกว่าอบเชยลังกา หรือเรียกติดปากได้อีกอย่างหนึ่งว่า "อบเชยเทศ" ต้นอบเชยเทศนั้นจะมีลักษณะเปลือกบางกว่าอบเชยชนิดอื่นๆ มีชื่อเรียกทางการว่า Cinnamomum verum J.S.Presl ซึ่งครั้งหนึ่งในประว้ติศาสตร์ประเทศอังกฤษกับฮอลแลนด์เคยทำสงครามกัน เพื่อแย่งกันทำการผูกขาดการค้าอบเชยในลังกามาแล้วในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙
ผลสุดท้ายอังกฤษสามารถแย่งการผูกขาดการค้ามาจากฮอลแลนด์ได้สำเร็จแล้วก็เอามาผูกขาดเสียเอง พอเสร็จสงคราม ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. ๑๘๕๐ เป็นต้นมาอังกฤษทำการปลูกอบเชยในลังกาถึง ๔๐๐๐๐ เอเคอร์ ทำให้ปัจจุบันศรีลังกาเป็นผู้ส่งออกอบเชยรายใหญ่ของโลก
นอกจากอบเชยลังกาที่กล่าวมาแล้ว ยังมี "อบเชยจีน" ซึ่งลักษณะเปลือกจะหนากว่าอบเชยลังกาเล็กน้อย มีชื่อเรียกต้นนี้ว่า Cinnamonum aromaticum Nees และยัง "อบเชยญวน" ซึ่งมีลักษณะเปลือกหนากว่าของลังกาและของจีน และยังมีกลิ่นหอมจัดกว่าชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งมีชื่อเรียกทางการว่า Cinnamomum loureiriiNees สำหรับชาวไทยของเราก็มีเหมือนกัน เรียกว่า "อบเชยไทย"ซึ่งมีลักษณะเปลือกหนาที่สุดเรียกชื่อเป็นทางการว่า Cinnamomum subavenium Miq.
มาดูลักษณะต้นอบเชยสักหน่อย เพราะคนโดยมากรู้จักหรือเห็นกันเฉพาะเปลือกต้นอบเชย ไม่ว่าจะนำมาปรุงยาหรือที่กำลังอินเทรน์สำหรับผู้นิยมดื่มกาแฟสดทั้งหลาย ก็จะมีสูตรกาแฟกับอบเชยให้ดื่มกัน อบเชยเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำทึบ เปลือกเรียบสีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ปกติเป็นพืชในป่าดิบทั่วไป แต่ถ้าคนต้องการนำมาปลูก ก็สามารถขึ้นในดินทั่วไป แต่ชอบดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การใช้ประโยชน์ของอบเชยนั้น นิยมใช้ส่วนของเปลือกต้นที่มีกลิ่นหอมเนื่องจากมีส่วนประกอบสำคัญคือน้ำมันหอมระเหย หากใครชิมอบเชยจะพบกับรสเผ็ด หวาน สุขุม ซึ่งมีสรรพคุณขับลม ช่วยย่อย บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ดังนั้นอบเชยจึงเป็นสมุนไพรหลักร่วมกับตัวยาอื่นในยาธาตุ หรือเพียงแต่นำเปลือกอบเชยไปต้มน้ำ ก็ได้ยาธาตุน้ำสูตรอบเชยล้วนๆ กินแก้ท้องอืดท้อง เฟ้ออาหารไม่ย่อย ช่วยขับลมได้เป็นอย่างดี
เปลือกอบเชยยังเป็นส่วนประกอบของยาหอม ใช้ชงน้ำหรือทำเป็นเม็ดรับประทานบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน และในกระแสที่ใครๆก็สนใจอโรมาเธอร์ราปีส์ อบเชยยังถือว่าเป็นอโรมาเธอร์ราปีส์ของไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยเป็นส่วนประกอบของส้มโอมือที่ใช้เป็นยาดม ทำให้สดชื่น และเป็นส่วนประกอบหลักของยานัตถุ์ แก้ปวดศรีษะ เปลือกอบเชยยังมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง จึงพบการใช้เปลือกอบเชยร่วมไปกับสมุนไพรชนิดอื่นในตำรับยาแก้กษัย รวมทั้งตำรับยาบำรุงร่างกายอื่นๆ ด้วย
ปัจจุบันมีการนำเปลือกอบเชยมาบดใส่แคปซูลรับประทานด้วยเพื่อช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งอาจมีที่มาจากการที่มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนหนึ่ง นิยมใช้ยาตำรับแก้กษัยตำรับหนึ่ง กินแล้วทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ โดยตำรับแก้กษัยดังกล่าวมีเปลือกอบเชยเป็นส่วนประกอบตัวยาหลัก และเมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานการศึกษาพบว่าการรับประทานเปลือกอบเชยวันละครั้งประมาณ หนึ่งในสี่ช้อนชา สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ในกลุ่มที่เป็นอาสาสมัครซึ่งทำการทดลอง
อย่างไรก็ตามการใช้อบเชยในผู้ป่วยเบาหวานคงต้องมีการศึกษากันต่อไป แต่ถ้าผู้ป่วยเบาหวานท่านใดต้องการใช้ เพื่อเป็นทางเลือกหรือทางเสริมจากการดูแลรักษาตามปกติ ก็ขอถือว่าแคปซูลอบเชย เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยขับลม บำรุงธาตุ ซึ่งมีปลอดภัยมีการใช้มายาวนาน แล้วก็ปฏิบัติตัวด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่เหมาะ และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงที่เคยพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเบาหวานก็ขอให้ทำตามปกติ นอกจากใช้เปลือกอบเชยแล้ว ยังนิยมใช้รากและใบของอบเชยมาต้มน้ำให้สตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ รับประทาน เพื่อช่วยขับน้ำคาวปลา และแก้ไข้เนื่องจากการอักเสบของมดลูกของสตรีหลังคลอดบุตร ทั้งใบและรากของอบเชยมีรสหอมสุขุม ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายบำรุงธาตุ
อบเชย เป็นสุมไพรใช้ประโยชน์ทางยาแล้ว น้ำมันหอมระเหยจากอบเชยยังใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและขนม เช่น คุกกี้ โดนัท ลูกอมดับกลิ่นปาก ยาสีฟัน เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้อบเชยร่วมกับสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอมชนิดอื่นๆ วางไว้ในตู้เสื้อผ้า เพื่อป้องกันกลิ่นอับและช่วยไล่มดไล่แมลงด้วย
อบเชยจึงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในบ้านเรายังมีสมุนไพรในตระกูลอบเชยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างใกล้เคียงกัน เช่น ข่าต้น เทพธาโร จวงหอม ฯลฯ ซึ่งพบในป่าดิบชื้นทั่วไป หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้ต้นสมุนไพรในกลุ่มนี้ เพื่อใช้เป็นยาธาตุ ยาหอม ยาขับลม เช่นกัน และยังใช้เนื้อไม้ไปทำไม้ตีพริก(สาก)ทำให้น้ำพริกมีกลิ่นหอม ช่วยขับลมในลำไส้
ตำรับยา
ใบสุรามะริดกลั่นเอาน้ำมันเรียกว่าน้ำมันเขียว ใช้ทาภายนอก แก้ลมเข้าข้อ ฟกช้ำใช้ทาบริเวณที่เส้นเอ็นกระตุก ช่วยดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น และขับโลหิตใหขึ้นสู่ผิวหนัง
ปุณณภา งานสำเร็จ เรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น