วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทองกวาวร่วงกราวตามราวป่า

ทองกวาว
ใบทองกวาวเป็นใบประกอบสามใบแบบพืชตระกูลถั่ว


ลักษณะดอกของพืชตระกูลถั่ว


ดอกทองกวาวสวยสะดุดตา

ช่วงนี้มองไปตามข้างทางไม่ต้องถึงตามป่าจะเห็นทองกวาว รึวงการสมุนไพรเรียกว่ากวาวต้น อวดดอกสวยเต็มไปหมดตามสองข้างทาง ถึงจะเป็นไม้ใหญ่แต่ใบประกอบสามใบก็บอกความเป็นพืชตระกูลถั่วที่ช่วยตรึงก๊าซไนโตรเจนให้ผืนดิน และชาวบ้านบอกว่า เมื่อต้นเล็กๆจะมีหัว หัวเค้าเอามากินเป้นอาหารได้ พ่อหมอบอกว่ากาฝากที่ขึ้นกับต้นทองกวาวเอามาบดทาใบหน้าช่วยให้หน้าตึงกระชับ ขาวใสดี นับว่าเป็นไม้สวยมีประโยชน์มากอีกตัวหนึ่งทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชวงศ์เดียวกับกวาวเครือขาว กวาวเครือแดงที่นิยมนำมาใช้ในวงการความสวยความงามในปัจจุบัน น่าแปลกที่คนไม่ใช้กวาวต้นที่หาง่ายกว่าเยอะและเป็นการใช้แค่ส่วนเปลือกลำต้นที่ไม่ทำให้ดับแนวเหมือนการใช้หัวกวาวเครือขาวและแดง เราอยากให้คนทุกวันนี้เหลืออะไรไว้ให้รุ่นลูกหลานเราเค้าได้มีใช้บ้าง วันข้างหน้าเด็ก ๆ คงลำบากกว่ารุ่นพวกเรามาก




ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.)Taubert
วงศ์: LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ: Bastard Teak, Bengal Kino, Flame of the Forest[1]
ชื่ออื่นๆ: กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะ




เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 12-18 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลหนา การแตกกิ่งก้านไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับใบย่อยที่ปลายรูปไข่ กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยด้านข้างเป็นรูปไม่เบี้ยว กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 9-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ
ดอก: ออกเป็นช่อคล้ายดอกทองหลาง สีแดงส้ม มีความยาว 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะเป็นกลุ่ม เวลาบานมี 5 กลีบ จะออกดอกดกที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ผล: ผลมีลักษณะเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน แบน โค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ด้านบนหนาแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร




สรรพคุณ





ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ
ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ
ยาง แก้ท้องร่วง
เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ
เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน
ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร
ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ




ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยพบสารสำคัญหลายชนิดและพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญดังนี้ ต้านการอักเสบ (แก้ฝี แก้สิว แก้ปวด ลดไข้ ),ฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน (ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง ),ต้านเชื้อแบคทีเรีย (แก้ฝี ),ขับพยาธิ ,ต้านการปฎิสนธิยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนที่มดลูก ,ทำให้แท้ ง(หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน )และ เป็นพิษต่อตับ
ไม้มงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
ควรปลูกต้นทองกวาวไว้ทางทิศใต้จะเป็นมงคลยิ่ง ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อ ว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น