วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

คำมอกหลวงหมากฝรั่งในป่าดง

คำมอกหลวง
ลักษณะลำต้นของคำมอกหลวงต้นนี้ถ่ายในสำนักงาน

ดอกอ่อนสีขาวพอแก่สีเหลืองสวยดีนะ
ผลคำมอกหลวงเหมือนฝรั่งเลยอ่ะ


นั่นไงๆมองเห็นแต่ไกลเลยอย่างนี้ใครดีใครได้


ส่วนของเรซิ่นสีส้มนี่แหล่ะที่แย่งกันเอามาเคี้ยวเป็นหมากฝรั่งเวลาเดินป่า 555 รู้สึกดีจังแฮะ คิดถึงป่าจัง




เวลาเดินป่าเราชอบเวลาที่พ่อหมอหยิบไอ้นั่นเด็ดไอ้นี่ให้ชิม ใบบ้าง ดอกบ้าง ผลบ้าง บางอย่างก็รสชาติใช้ได้ แต่บางอย่างก็โดนแกล้ง ขมบ้าง ฝาดบ้าง ตามเรื่องไป แต่ก็ทำให้การเดินป่ามีสีสรรดี ของกินในป่าถึงรสชาติไม่ค่อยได้เรื่องนักแต่ก็น่าตื่นเต้นเสมอ เหมือนเรากลับไปเป็นเด็ก เรียนรู้โลกมหัศจรรย์ใหม่อีกครั้ง มีต้นหนึ่งที่เราชอบเพราะยอดอ่อนเค้าเคี้ยวเล่นเพลิน ๆ เหมือนกินหมากฝรั่งแก้เหงาปาก ถึงไม่มีรสชาติอะไร แต่ก็เพลินดีนะ





ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia sootepensis Hutch.

ชื่อวงศ์ RUBIACEAE








ชื่ออื่น คำมอกข้าง แสลงหอมไก๋ ไข่เน่า คำมอก ยางมอกใหญ่ หอมไก๋
ลักษณะ

เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-8 ม. มีขนนุ่มที่กิ่งก้าน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกว้าง 4-13 ซม. ยาว 8-25 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.5 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบร่วงง่าย แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปไข่กลับแกมรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลมขอบเรียบผิวด้านล่างปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มหนาแน่นกว่าที่ด้านบน ดอกเดี่ยวมีหลายดอกเกิดที่ซอกใบ ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่ม ยกเว้นกลีบดอกด้านใน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 4-9 ซม. ก้านดอกยาว 0.2-0.7 ซม. หรือไม่มีก้าน ประกอบด้วยวงกลีบเลี้ยงปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกปลายแหลม วงกลีบดอกปลายแยก 5 แฉก สีเหลืองรูปไข่หรือรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน โผล่เกือบพ้นหลอดวงกลีบดอก เกสรเพศเมีย จำนวน 1 อันอยู่ใต้วงกลีบ ผลแห้ง เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ผลไม่แตก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3.2-4.5 ซม. รูปรี ปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มมียอดเกสรตัวเมียติดที่ปลายผล
สรรพคุณ
เมล็ดต้มเคี่ยวกับน้ำ เป็นยาสระผมฆ่าเหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น