พยาธิตัวจี๊ด
รูปเล็กจังแฮะ แต่ทุกคนก็รู้จักอยู่แล้วล่ะเน๊อะ
กระเจี๊ยบเขียวจะมีเหลี่ยมที่ต่างกันเริ่มจาก๕เหลี่ยมไปจนถึงเจ็ดเหลี่ยม
อีกหนึ่งสูตรที่ใช้รักษาพยาธิตัวจี๊ด ใช้ใบทองหลางใบมน กินเป็นผักเมี่ยง กับเมี่ยงปลาทูก็ได้ ติดต่อกัน สามวัน แก้พยาธิตัวจี๊ด
กระเจี๊ยบเขียวจะมีเหลี่ยมที่ต่างกันเริ่มจาก๕เหลี่ยมไปจนถึงเจ็ดเหลี่ยม
หลังจากเรียนจบพยาบาลชั้นต้น(พยาบาลเทคนิค)เราลงปฏิบัติงานที่สถานีอนามัยอยู่เกือบยี่สิบปี ใกล้ชิดกับโลกภัยไข้เจ็บของชาวบ้านตามชนบท อยู่กับโรคภัย ความไม่รู้และความไม่มี ทุก ๆ วัน บางครั้งเราถามตัวเองถึงโรคบางโรคที่ยาแผนปัจจุบันไม่มีตัวยาที่ใช้รักษา เช่น พยาธิตัวจี๊ด ซึ่งไม่มียาแผนปัจจุบันที่จะฆ่ามันได้ ผู้ป่วยต้องอยู่กับพยาธิตัวนี้ไปห้าสิบปีไม่รู้คนหรือพยาธิจะตายก่อน วันดีคืนดีถ้าเผลอไปกินของคาวก็เป้นเรื่อง พยาธิมันจะไต่ยุบยิบขึ้นมาใต้ผิวหนังเจ็บๆคันๆ ทรมานพอสมควร แต่ที่กลัวกันก็คือถ้าพยาธินี่มันขึ้นไปถึงอวัยวะที่สำคัญเช่น สมอง ลูกตา ก็เรื่องใหญ่ละ โชคดีที่พยาธิตัวนี้ไม่สามารถขยายพันธุ์ในตัวคนได้ เข้าไปหนึ่งตัวก็อยู่หนึ่งตัวไม่มากขึ้นไปกว่านั้น
พอเราได้มาศึกษาเรื่องสมุนไพรเราถึงได้รู้จักสมุนไพรที่ใช้จัดการกับพยาธิตัวนี้เป็นสมุนไพรบ้าน ๆ หาง่ายมีทั่วไป นั่นคือ กระเจี๊ยบเขียวหรือกระเจี๊ยบมอญ นั่นเอง วันนี้ขอสลับเขียนถึงสมุนไพรง่าย ๆ นะคะ แล้วก็อย่างเคยไม่ได้ถ่ายรูปไว้เอง ยืมรูปจากเวปไซด์คนอื่นล้วน ๆ แฮะๆ ประเทศญี่ปุ่นสั่งกระเจี๊ยบเขียวจากไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า ๒๐๐ ล้านบาท ต่อปี ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่รับประทานปลาดิบเป็นอันดับหนึ่งของโลก
พยาธิตัวจี๊ด โดย : คณะกรรมการแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
สาเหตุของโรคโรคพยาธิตัวจี๊ดมีสาเหตุมาจากพยาธิตัวกลมที่มีชื่อเรียกว่า พยาธิตัวจี๊ด และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แนธโธสโตมา สไปนิจิรุม (Gnathostoma spinigerum) พยาธิมีรูปร่างลักษณะอย่างไรตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 1.5-3.0 ซม. มีลักษณะลำตัวกลมยาว หัวคล้ายลูกฟักทองทั้งหัวและตัวของพยาธิพวกนี้จะมีหนาม ตัวอ่อนของพยาธิในระยะติดต่อมีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัยแต่มีหนามน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้มซึ่งฝังตัวอยู่ในเนื้อของสัตว์พาหะ ส่วนพยาธิที่พบในคนจะเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ และมีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.9 ซม.
แหล่งระบาดของพยาธิและโรคในประเทศไทยมีสัตว์ประมาณ 44 ชนิดที่ตรวจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต ส่วนสัตว์ที่เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดมีหลายชนิด รวมทั้งสุนัขและแมวการสำรวจปลาไหลในเขตจังหวัดภาคกลาง พบว่ามีการกระจายของพยาธิตัวจี๊ดอยู่หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี สระบุรี เป็นต้น อาหารที่ปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารหมักที่ทำจากปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ อาจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่เช่นกันวงจรชีวิตตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้และตัวเมียจะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของสุนัขและแมว หลังจากพยาธิผสมพันธุ์แล้ว พยาธิตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ เมื่อไข่ลงน้ำจะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวกุ้งไร (cyclops) จะกินตัวอ่อนระยะนี้และไปเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เมื่อปลากินกุ้งไรที่มีพยาธิ พยาธิจะเจริญในปลาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ ถ้าสุนัขหรือแมวกินปลานี้เข้าไป พยาธิก็จะไปเจริญเป็นตัวแก่ในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าคนกินปลาซึ่งมีพยาธิระยะติดต่อเข้าไป พยาธิก็จะคืบคลานหรือไชไปตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ยังไม่มีรายงานว่าพยาธินี้เจริญเป็นตัวแก่จนสามารถออกไข่ได้ในคนการติดต่อโรคที่เกิดจากพยาธิตัวจี๊ดนี้ สามารถติดต่อไปในคนทุกเพศทุกวัย โดยการกินตัวอ่อนระยะติดต่อที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกโดยเฉพาะปลาน้ำจืด หรืออาจติดต่อ จากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยไชผ่านทางรก นอกจากนี้พยาธิยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล โดยเฉพาะในคนบางกลุ่มที่ใช้เนื้อสัตว์สด ๆ เช่น กบ ปลา พอกแผล เพื่อทำให้หายเร็วขึ้น
อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการที่เกิดจากพยาธิไชอยู่ใต้ผิวหนัง ตามลำตัว แขน ขา และบริเวณใบหาน้า ทำให้บวมแดงบริเวณนั้น หรือเห็นเป็นรอยทางแดง ๆ ตามแนวที่พยาธิไชผ่านไป อาการบวมแดงนี้ จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วจะหายไปเองแม้ไม่ได้รับการรักษาหลังจากนั้นอาจจะบวมขึ้นมาใหม่ในบริเวณอื่นใกล้ ๆ กัน แถบเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดเป็นก้อนคล้ายเนื้องอกตามอวัยวะต่าง ๆ นอกจากที่ผิวหนังแล้ว พยาธิอาจไชไปอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ เช่น ตา ปอด กระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะถ้าไปที่สมองจะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ปวดตามเส้นประสาทได้
การวินิจฉัยการจะบอกว่าเป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดแน่นอน ต้องตรวจพบตัวพยาธิ ซึ่งอาจจะไชออกมาทางผิวหนังเอง แต่โดยทั่วไปมักไม่พบพยาธิแม้จะผ่าเข้าไปในบริเวณที่บวม ดังนั้นการที่จะบอกว่าเป็นโรคนี้ จึงมักดูจากอาการของโรคว่ามีอาการเจ็บ ปวด บวมเคลื่อนที่ได้ และมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือไม่ และเจาะเลือดหรือน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจด้วยวิธีทางอิมมิวโนวินิจฉัย
การรักษาโดยทั่วไปจะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดบวม ยาแก้แพ้แก้คัน เป็นต้น ยารักษาโรคพยาธิชนิดที่ให้ผลเป็นที่พอใจ คือ อัลเบนดาโซน ขนาด 400-800 มิลลิกรัม วันละ ครั้งหรือ 2 ครั้งเป็นเวลา 21 วันติดต่อกันการป้องกันไม่รับประทานเนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ เช่น อาหารประเท ยำ ลาบ หมก พล่า รวมทั้งปลาร้า ปลาเจ่า ส้มฟัก ไม่ใช้เนื้อสด โดยเฉพาะเนื้อกบ ปลา พอกบริเวณบาดแผล
กระเจี๊ยบเขียว (Abelmochus esculentus L Moench)
รู้จักกันดีในหลายชื่อ เช่น Okra Gumbo, Lady's Finger, Quimbamto(แอฟริกา) ในประเทศไทยเรียกชื่อกระเจี๊ยบเขียวแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น กระต้าด มะเขือมอญ มะเขือมื่น ถั่วแระ เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการ
ฝักกระเจี๊ยบเขียวให้คุณค่าทางอาหารสูง มีรายงานว่าในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม มี แคลเซียม 72.7 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 79.8 ยูนิต วิตามินบี 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 39.7 มิลลิกรัม น้ำมัน 14% โปรตีน 20%
ฝักกระเจี๊ยบเขียวให้คุณค่าทางอาหารสูง มีรายงานว่าในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม มี แคลเซียม 72.7 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 79.8 ยูนิต วิตามินบี 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 39.7 มิลลิกรัม น้ำมัน 14% โปรตีน 20%
ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ มะเขือควาย มะเขือมอญ(กลาง) มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือมอญมะเขือละโว้ (เหนือ) กระเจี๊ยบเขียว
ลักษณะทั่วไป ของ กระเจี๊ยบมอญ (Okra) กระเจี๊ยบเขียว ไม้ล้มลุกสูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขนหยาบลำต้นมีสีเขียวกลม เส้นผ่าศูนย์กล่างเฉลี่ย 1-3 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปมือ เป็นแฉกลึกกว้าง 7 - 26 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ดอก ออกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบด้านในสีม่วงแดง ก้านชู อับเติดกันเป็นหลอด เป็นพืชผสมตัวเอง มีทั้งเกษรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผล เป็นผลแคปซูล ผลของ กระเจี๊ยบมอญ (Okra)มีรูปร่างเรียวยาวเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ผลตั้งชูขึ้นมีสีเขียวอ่อน หรือเขียวแก่ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เมล็ด สีดำ จำนวน 200 เมล็ด หนักประมาณ 10 กรัม
สรรพคุณ
ผล รสหวานเย็น แก้แผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าพยาธิไส้เดือน ลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล มีสารเพคตินและเมือกเมือกช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร แก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร ใช้ผลแก่บดเป็นผงผสมน้ำดื่ม ในอินเดียใช้เป็นยาแก้บิด ไอ หวัด ขัดเบา หนองใน ในมาเลเซียใช้รากแช่น้ำรักษาโรคซิฟิลิส ดอก ใช้ตำพอกฝี
โดยฝักกระเจี๊ยบเขียวมีสารประกอบจำพวกกัม และเพคตินในปริมาณสูง ทำให้มีลักษณะเป็นเมือกเมื่อต้มสุก มีรายงานว่า เมือกกระเจี๊ยบเขียวมีคุณสมบัติช่วยป้องกันอาการหลอดเลือดตีบตัน สามารถรักษาโรคความดันโลหิตสูง บำรุงสมอง ลดอาการโรคกระเพาะอาหาร และยังมีสารขับพยาธิตัวจี๊ด มีสรรพคุณในการกัดเสมหะ แก้ไอ โดยทั่วไป เมือก คือ สารที่พืชสร้างขึ้นตามธรรมชาติ จัดเป็นกัมชนิดหนึ่ง ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถพองตัวได้ในน้ำ ให้สารละลายที่มีลักษณะเหนียวข้น แต่ไม่มีคุณสมบัติเป็นกาว เมือกเป็นกากใยอาหารประเภท soluble dietary fiber ( เส้นใยอาหารชนิดที่ละลายในน้ำได้ (Soluble Fiber) คือ เส้นใยอาหารส่วนที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้และสามารถดูดซับสารที่ละลายในน้ำไว้กับตัว เช่น น้ำตาลกลูโคส ฯลฯ)ที่ให้คุณประโยชน์ในการช่วยขับถ่าย.
วิธีใช้ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ใช้ครั้งละ ๗ ฝักนึ่งกินกับอาหารตามปกติ ติดต่อกันอย่างน้อย ๗ วัน
อีกหนึ่งสูตรที่ใช้รักษาพยาธิตัวจี๊ด ใช้ใบทองหลางใบมน กินเป็นผักเมี่ยง กับเมี่ยงปลาทูก็ได้ ติดต่อกัน สามวัน แก้พยาธิตัวจี๊ด
น่าสนใจดีค่ะ ดอกก็สวย ใช่ที่เค้าเอามาเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือเปล่า เคยซื้อมาทานค่ะ
ตอบลบใช่ค่ะ เค้าล่ะ
ลบไม่ได้เข้ามาเช็ค ความคิดเห็น (เช็คไม่เป็น) ตามรูปค่ะ น่าจะใช่ เราเห็นกันบ่อยมาก แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบสรรพคุณนี้ ใครมีอะไรแลกเปลี่ยนกันนะคะ ยินดีค่ะ
ตอบลบไปตรวจเลือดแล้วที่ร.พนี้ล่ะค่ะผลบอว่าเคยเป็นแต่หายแล้วกินยาเอาแต่รุ้สึกคันตาเท้าหัวใบหน้าเปลื่ยนที่คันเหมือนมีตัวไชค่ะจะกินลูกกระเจี้ยบ
ลบดีมากเลยค่ะ ต้องหาซื้อมากินบ้างแล้วละค่ะ
ตอบลบกินไว้เรื่อยๆไม่เสียหลายค่ะ
ลบเพิ่งรู้ครับเป็นประโยชน์ขอบคุณครับ
ตอบลบลองดูข้อมูลของอ.สุทธิวัส คำพา น่าสนใจค่ะ ท่านพูดถึงว่าคนทุกวันนี้มีพยาธิแบบไม่รู้ตัวเยอะมาก และผักเมือกๆทุกชนิดช่วยฆ่าพยาธิได้ มันคงแพ้ทางกัน ถ้าเราไม่ทำลายธรรมชาติจนเสียสมดุล ทุกอย่างในโลกนี้มีตัวแก้กันทั้งหมดค่ะ
ลบขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบหมอบอกเพื่อนสงสัยจะเป็นพยาธิตัวจี๊ด ทั้งที่ไม่ทานของดิบ หรือสุกๆดิบ แต่ชอบสั่งส้มตำมาทาน สงสัยจะติดมากับผักล้างไม่สะอาด อ่านเจอบทความนี้บอกเพื่อนเขาดีใจมากค่ะ อย่างน้อยก็ใช้สมุนไพรผักพื้นบ้านหาง่ายราคาถูกมาบำบัด ตอนนี้เพาะกระเจี๊ยบมอญ(เขียว) ไว้ทานเองแล้วค่ะ
ตอบลบพึ่งเห็นเมนท์ค่ะ ขอให้ทุกคนมีสุขภาพดีนะคะ
ลบพยาธิตัวจื้อทำไมรักษายากจังมันออกไม่หมดหรื่อไม่ยอมออกเลยมันไชไปทั่วตัวคันๆใบหน้าขอบตาหูที่เท้าทุกข์ใจจังค่ะกินยาไม่ออกไม่หายชอบสมุนไฟรมากกค่ะอยากให้มีหมอทางนี้มากๆ
ลบผพึ่งมีอาการแบบนี้ประมาน 1 เดือน หน้าบวม ปากบวม คลั่นเนื้อตัว จนไม่กล้าไปทำงาน จะลองทานดู ขอบคุณความู้ดีๆๆ ครับผม
ตอบลบน่าจะไม่ใช่อาการของตัวจี๊ดค่ะ คงแพ้อะไรสักอย่าง พยายามอย่าทานอาหารที่ไม่เคยทานค่ะ คนทุกคนจะแพ้อาหารสักอย่างจนได้ ไม่เคยแพ้แปลว่ายังไม่ได้ไปทานจนเจอตัวที่แพ้ค่ะ
ลบอยากทราบว่ากระเจี๊ยบเรากินดิบๆจะมีผลฆ่าตัวจี๊ดไหมคะหรือว่าต้องกินสุกเท่านั้นคัยรู้ช่วยบอกทีค่ะอยากหายคะ
ตอบลบแนะนำให้กินสุกดีกว่าค่ะ ผักพื้นบ้าน การปรุงควรเป็นตามแบบโบราณ ลวก ต้ม กินดิบ เขาสังเคราะห์ภูมิปัญญาจนได้ประโยชน์สูง ปลอดภัยสุดค่ะ
ลบมีอาการเหมือนตัวอะไรยาวประมาณครึ่งเซนอยู่ใต้ผิวหนังแล้วบางทีก็มีตุ่มคันคล้ายยุ่งกัดขึ้น แล้วสักพักตุ่มก็ยุบไปเอง เร็วมาก และเวลาที่มันดิ้นก็จะรู้สึกเจ็บแบบคันๆข้างในผิวหนังค่ะ แล้วก็บวมออกไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นที่มือค่ะ มีหลายตัวด้วยค่ะ ไม่ทราบว่าเป็นอาการของตัวจี๊ดรึเปล่า ปกติไม่กินอาหารดิบ หรือ กึ่งกึ่งดิบอยู่แล้ว ไม่รู้ว่ามันมาได้ยังไง
ตอบลบคงมากับผักสดแน่ๆเลยค่ะหรื่อนำ้ดื่มที่ไม่สะอาดหรื่ออากาศที่เราหายใจเอาฝุ่นลละะอองไข่พยาธิเข้าไปเดาๆๆๆนะค่ะรอฟังคุณหมอตอบเช่นกัน
ลบเป็นประโยชน์มาก ขอบคุณครับ
ตอบลบขอสอบถามหน่อยค่ะ คือแม่มีอาการปวดหัวจี๊ด แบบใจจะขาดเลย กินยาแก้ปวดไม่หาย ไปหาหมอบอกเป็นพยาธิตัวจี๊ด หมอฉีดยาและให้ยามากินค่ะ แต่แม่ปวดที่หัวจี๊ดๆ อยุ่เลยจะเป็นไปได้ไหมว่าตัวจี๊ดขึ้นสมองแล้วหล่ะคะ และมีวิธีรักษายังไงแนะนำด้วยค่ะ
ตอบลบขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีดีครับ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ตอบลบผมทานประจำครับแต่แค่มื้อเดียวมันก็ยุบแล้ว ความรู้ใหม่คือต้องติดต่อกันเจ็ดวัน
ตอบลบเป็นประโยชน์มากครับ
ตอบลบอาการคันแบบนี้เป็นมาหลายปีแล้วเป็นๆหายๆ
ตอบลบเคยทานของดิบๆสุกและที่สำคัญคือปราร้าดิบ
ต้องลองหามาทานติดต่อกัน7วันบ้างแล้ว ขอบคุณสำหรับความรู้นี้ครับ