ชันโรง ชันโรงที่ขึ้นกับต้นไม้ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อ.ปักธงชัย
ชันโรงที่ขึ้นกับต้นไม้ เขาสลัดได อ.วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ชันดรงที่ขึ้นกับแผ่นหินขนาดใหญ่ป่าดอยเจดีย์ อ.เทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ไปครั้งหลังหายไปแล้ว
ชันดรงที่ขึ้นกับแผ่นหินขนาดใหญ่ป่าดอยเจดีย์ อ.เทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา ไปครั้งหลังหายไปแล้ว
ชันโรงที่ขึ้นจากดินเจอที่ป่าตะกุดรังอ.ปักธงชัยจ.นครราชสีมา น้องมือบอนเดินตามหลังหักเก็บทันที ชันโรงชนิดนี้ใช้ทำเบี้ยแก้ดีนัก
เรามักเข้าใจกันว่าสมุนไพรหมายถึงพืชเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วสมุนไพรหมายถึง พืช สัตว์ และแร่ธาตุ วันนี้เราอยากพูดถึงสมุนไพรที่หมายถึงสัตว์บ้าง เวลาไปเดินป่าหลายครั้งที่เจอสิ่งนี้ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เกิดจากสัตว์ คือเจ้าชันโรงนั่นเอง เจอค่อยข้างบ่อย ประมาณป่าเบญจพรรณที่มีแผ่นหินเยอะ ๆ เราจะเจอกับแมลงตัวเล็ก ๆ ผึ้งก็ไม่ใช่ แมลงวันก็ไม่เชิงตอมเนื้อตอมตัวเราจนน่ารำคาญ มารู้จักคุณประโยชน์อันน่ามหัศจรรย์ของเค้ากัน
ชันโรง
ชื่อพื้นเมือง (Local name) แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่ละชนเผ่าของมนุษย์ ที่เรียกแมลงกลุ่มนี้ อาทิ ชื่อพื้นบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ตัวขี้ตังนี หรือ แมลงขี้ตึงสำหรับชันโรงที่มีตัวขนาดเล็ก (ขนาดเท่าแมลงวี่) โดยคำว่าขี้ตึงนั่นก็คือชันยางพลวงนั่นเอง เพราะ คำว่า "ตึง" หรือ ตองตึง เป็นชื่อพื้นบ้านที่เรียกไม้พลวง (หรือยางพลวง) โดยที่พลวง เป็นไม้สกุลยางชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านเจาะน้ำยางหรือชัน มาใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับยางนา คือใช้จุดไฟขี้ไฟเป็นขี้ไต้ สำหรับในกรณีชันโรงที่ตัวขนาดใหญ่ (ขนาดเท่าแมลงวัน) เรียกว่า แมลงขี้ย้า
ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคใต้ เรียกกันว่า "อุง" ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ถ้าเป็นชันโรงตัวขนาดเล็กเรียกว่า อุงแมงโลม คำว่า " แมงโลม" คำนี้เพี้ยนมาจาก " แมลงโลม" หมายถึง แมลงวี่ อันหมายถึงชันโรงที่ขนาดตัวเท่าแมลงวี่นั่นเอง แต่ถ้าหากเป็นชันโรงที่มีขนาดตัวใหญ่เรียกว่า อุงหมี (อุงแดง) หรือ( อุงดำ) แตกต่างกันไปตามสีตัวชันโรงในแต่ละชนิด
ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคอีสาน เรียกว่า " แมลงขี้สูด " ซึ่งขี้ชันของแมลงขี้สูดนี้เองที่นำไปอุดรูแคน แผ่นไม้ระนาดเอก โปงลางจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะอย่างยิ่งและกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยอีสานและพี่น้องลาวมาจนถึงปัจจะบัน ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคตะวันตก เรียกว่า " ตัวตุ้งติ้ง" หรือ ตัวติ้ง
ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคตะวันออกเรียกว่า'ตัวชำมะโรง"หรือ"แมลงอีโลม"โดยคำว่าอีโลมในทีนี้ไม่ได้หมายถึงแมลงโลมหรือแมลงวี่แต่หมายถึงแมลงที่บินมาตอมไต่ตามร่างกายของคนเรายังกะเป็นการเล้าโลมประมาณนั้น เพราะช่วงที่เราเดินป่าตามตัวตามร่างกายเราจะขับเหงื่อออกมาเยอะมากพร้อมๆเกลือแร่ที่เหงื่อขับออกมา เป็นสิ่งล่อให้ชันโรงเข้ามาไต่ตอมเพื่อกินเกลือแร่ดังกล่าว จนสร้างความรำคาญเป็นอย่างมากในป่าผลัดใบและป่าดงดิบของบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าร้อนและชันโรงที่บินมาไต่ตอมส่วนใหญ่เป็นชันโรงขนาดตัวเล็ก
ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคใต้ เรียกกันว่า "อุง" ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ถ้าเป็นชันโรงตัวขนาดเล็กเรียกว่า อุงแมงโลม คำว่า " แมงโลม" คำนี้เพี้ยนมาจาก " แมลงโลม" หมายถึง แมลงวี่ อันหมายถึงชันโรงที่ขนาดตัวเท่าแมลงวี่นั่นเอง แต่ถ้าหากเป็นชันโรงที่มีขนาดตัวใหญ่เรียกว่า อุงหมี (อุงแดง) หรือ( อุงดำ) แตกต่างกันไปตามสีตัวชันโรงในแต่ละชนิด
ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคอีสาน เรียกว่า " แมลงขี้สูด " ซึ่งขี้ชันของแมลงขี้สูดนี้เองที่นำไปอุดรูแคน แผ่นไม้ระนาดเอก โปงลางจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะอย่างยิ่งและกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยอีสานและพี่น้องลาวมาจนถึงปัจจะบัน ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคตะวันตก เรียกว่า " ตัวตุ้งติ้ง" หรือ ตัวติ้ง
ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคตะวันออกเรียกว่า'ตัวชำมะโรง"หรือ"แมลงอีโลม"โดยคำว่าอีโลมในทีนี้ไม่ได้หมายถึงแมลงโลมหรือแมลงวี่แต่หมายถึงแมลงที่บินมาตอมไต่ตามร่างกายของคนเรายังกะเป็นการเล้าโลมประมาณนั้น เพราะช่วงที่เราเดินป่าตามตัวตามร่างกายเราจะขับเหงื่อออกมาเยอะมากพร้อมๆเกลือแร่ที่เหงื่อขับออกมา เป็นสิ่งล่อให้ชันโรงเข้ามาไต่ตอมเพื่อกินเกลือแร่ดังกล่าว จนสร้างความรำคาญเป็นอย่างมากในป่าผลัดใบและป่าดงดิบของบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าร้อนและชันโรงที่บินมาไต่ตอมส่วนใหญ่เป็นชันโรงขนาดตัวเล็ก
ลักษณะสัณฐานวิทยาของชันโรง
สำหรับขนาดตัวของชันโรงโดยเฉลี่ยมีขนาดเล็กกว่า ผึ้งพันธุ์ประมาณ 2-3 เท่า เป็นแมลงที่รวมกันอยู่เป็นสังคมเช่นเดียวกับ ผึ้งรวง (ผึ้งมิ้ม ผึ้งหลวง และผึ้งเลี้ยง) ภายในสังคมแบ่งออกเป็น 3 วรรณะ คือ นางพญา(Queen) ตัวงาน (Worker) และตัวผู้ (Male) โดยที่ขนาดลำตัวระหว่างนางพญา กับชันโรงตัวงานมีขนาดแตกต่างกันมาก ตัวผู้มีขนาดใกล้เคียง หรือเล็กกว่านางพญาเล็กน้อย
ลักษณะทั่วไปของนางพญา ส่วนหัวมีตารวม มีหนวด 1 คู่ ตาเดี่ยว 3 ตา ช่วงท้อง(Metasoma) ไม่เป็นรูปปิระมิดมีลิ้นเป็นงวงยาว ขา3 คู่ ขาคู่หน้าและ คู่กลาง ค่อนข้างเล็กขาหลังเรียวไม่แผ่แบน ไม่มีเหล็กใน
ลักษณะทั่วไปของชันโรงตัวงาน ตัวของชันโรงตัวงานมีจำนวน 12 ปล้อง มีคล้ายนางพญาแต่ขนาดลำตัวเล็กกว่า กรามพัฒนาดีต่อการใช้งาน ขาคู่หลังแผ่กว้างเป็นใบพายมีขนจำนวนมาก รูปร่างคล้ายหวีสำหรับใช้เก็บละอองเรณูของดอกไม้มีปีกปกคลุมยาวเกินส่วนท้อง และไม่มีเหล็กใน
ลักษณะทั่วไปของชันโรงตัวผู้ ตัวของชันโรงตัวผู้มีจำนวน 13 ปล้อง คล้ายนางพญา มีขนาดเล็กกว่า หรือใกล้เคียงกัน ตารวมเจริญพัฒนาดี กรามพัฒนาไม่ดีพอต่อการใช้งาน หนวดยากกว่าวรรณะทั้งสองโค้งเว้าเป็นรูปดัวยู ปลายส่วนท้องปล้องสุดท้ายมีครีบสำหรับผสมพันธุ์ (genitalia) ส่วนของขาคล้ายกับชันโรงตัวงาน แต่ขาคู่หลังของชันโรงตัวผู้เล็กกว่า
รังและพฤติกรรมการสร้างรัง
ลักษณะรัง การสร้างรังของชันโรงในป่าธรรมชาติเกิดจากการที่ชันโรงตัวงานบางตัวเสาะหาแหล่งที่จะสร้างรังใหม่เนื่องจากประชากรในรังเก่ามาก แออัดมาก และมีนางพญารุ่นลูก (daughter queen) เกิดขึ้นมา ทำให้ต้องแยกรังออกไปสร้างใหม่ ซึ่งพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นในช้วงที่ฤดูผสมพันธุ์ของชันโรง
การสร้างรังของชันโรงขึ้นอยุ่กับชนิดของชันโรง แต่ละชนิดเลือกสถานที่สร้างรังต่างกันสามารถแยกลักษณะของการสร้างออกได้ 4 กลุ่มมีดังนี้
1. กลุ่มที่สร้างอยู่รูอยู่ตามชอกหลืบต้นไม้ที่มีโพรงของต้นไม้ขนาดใหญ่ ทั้ง ที่ยืนต้นมีชีวิตที่อยู่ และยืนต้นตาย (Trunk nesting) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดที่พบในบ้านเรา เช่น แมลงขี้สูด (Trigona apicalis) ขี้ย้าแดง (T. fimbriata Smith) ฯลฯ
2. กลุ่มที่สร้างรังอยู่ในโพรงใต้ดิน (Ground nesting) โดยรังจะถูกสร้างอยู่ใต้ดิน บริเวณจอมปลวก ชนิดที่พบในบ้านเรา คือ อุงดิน (Trigona Collina)
3. กลุ่มที่สร้างรังอยู่ในโพรงตามกิ่งไม้ (Branch nesting)ของไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
4.กลุ่มที่สร้างอยู่ตามสิ่งก่อสร้างในเมืองหรือยู่ใกล้กับ(Anthropophilous)ที่ปรับตัวในนิเวศเขตเมืองพบว่าอุงแมงโลม (Trigona laeviceps) สามาถสร้างรังได้ในท่อ เหล็ก ท่อประปา รูเสาบ้านไปจนถึงรูเสาไฟฟ้าเป็นต้น
ตัวชันโรงนี้จะสร้างปากรังออกมาเป็นหลอดกลมหรือแบนที่สร้างด้วยยาง หรือชันไม้โดยที่ชันโรงแต่ละชนิดมีรูปร่างปากรูใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันไปตามชนิดของชันโรงภายในรังมีการสร้างเป็นเซลล์ หรือ หน่วยๆ เพื่อให้นางพญาวางไข่ และตัวงานเก็บ ละอองเรณู น้ำหวานเพื่อใช้เลี้ยงตัวอ่อน เซลล์เรียงตัวเป็นชั้นๆ ไปตามแนวนอน ตามพื้นที่ภายในรังจะอำนวย วกวนไปมาหลายๆชั้นโดยที่ผนังเซลล์แต่ละหน่วยถูกสร้างเป็นผนังบางๆ จากชันยางไม้ผสมไขที่ชันโรงสร้างเคลือบเอาไว้ ภายในรังสามารถแยกเซลล์ออกเป็น หลอดนางพญา หลอดตัวงาน หลอดเก็บเกสร และหลอดเก็บน้ำผึ้ง
สำหรับขนาดตัวของชันโรงโดยเฉลี่ยมีขนาดเล็กกว่า ผึ้งพันธุ์ประมาณ 2-3 เท่า เป็นแมลงที่รวมกันอยู่เป็นสังคมเช่นเดียวกับ ผึ้งรวง (ผึ้งมิ้ม ผึ้งหลวง และผึ้งเลี้ยง) ภายในสังคมแบ่งออกเป็น 3 วรรณะ คือ นางพญา(Queen) ตัวงาน (Worker) และตัวผู้ (Male) โดยที่ขนาดลำตัวระหว่างนางพญา กับชันโรงตัวงานมีขนาดแตกต่างกันมาก ตัวผู้มีขนาดใกล้เคียง หรือเล็กกว่านางพญาเล็กน้อย
ลักษณะทั่วไปของนางพญา ส่วนหัวมีตารวม มีหนวด 1 คู่ ตาเดี่ยว 3 ตา ช่วงท้อง(Metasoma) ไม่เป็นรูปปิระมิดมีลิ้นเป็นงวงยาว ขา3 คู่ ขาคู่หน้าและ คู่กลาง ค่อนข้างเล็กขาหลังเรียวไม่แผ่แบน ไม่มีเหล็กใน
ลักษณะทั่วไปของชันโรงตัวงาน ตัวของชันโรงตัวงานมีจำนวน 12 ปล้อง มีคล้ายนางพญาแต่ขนาดลำตัวเล็กกว่า กรามพัฒนาดีต่อการใช้งาน ขาคู่หลังแผ่กว้างเป็นใบพายมีขนจำนวนมาก รูปร่างคล้ายหวีสำหรับใช้เก็บละอองเรณูของดอกไม้มีปีกปกคลุมยาวเกินส่วนท้อง และไม่มีเหล็กใน
ลักษณะทั่วไปของชันโรงตัวผู้ ตัวของชันโรงตัวผู้มีจำนวน 13 ปล้อง คล้ายนางพญา มีขนาดเล็กกว่า หรือใกล้เคียงกัน ตารวมเจริญพัฒนาดี กรามพัฒนาไม่ดีพอต่อการใช้งาน หนวดยากกว่าวรรณะทั้งสองโค้งเว้าเป็นรูปดัวยู ปลายส่วนท้องปล้องสุดท้ายมีครีบสำหรับผสมพันธุ์ (genitalia) ส่วนของขาคล้ายกับชันโรงตัวงาน แต่ขาคู่หลังของชันโรงตัวผู้เล็กกว่า
รังและพฤติกรรมการสร้างรัง
ลักษณะรัง การสร้างรังของชันโรงในป่าธรรมชาติเกิดจากการที่ชันโรงตัวงานบางตัวเสาะหาแหล่งที่จะสร้างรังใหม่เนื่องจากประชากรในรังเก่ามาก แออัดมาก และมีนางพญารุ่นลูก (daughter queen) เกิดขึ้นมา ทำให้ต้องแยกรังออกไปสร้างใหม่ ซึ่งพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นในช้วงที่ฤดูผสมพันธุ์ของชันโรง
การสร้างรังของชันโรงขึ้นอยุ่กับชนิดของชันโรง แต่ละชนิดเลือกสถานที่สร้างรังต่างกันสามารถแยกลักษณะของการสร้างออกได้ 4 กลุ่มมีดังนี้
1. กลุ่มที่สร้างอยู่รูอยู่ตามชอกหลืบต้นไม้ที่มีโพรงของต้นไม้ขนาดใหญ่ ทั้ง ที่ยืนต้นมีชีวิตที่อยู่ และยืนต้นตาย (Trunk nesting) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดที่พบในบ้านเรา เช่น แมลงขี้สูด (Trigona apicalis) ขี้ย้าแดง (T. fimbriata Smith) ฯลฯ
2. กลุ่มที่สร้างรังอยู่ในโพรงใต้ดิน (Ground nesting) โดยรังจะถูกสร้างอยู่ใต้ดิน บริเวณจอมปลวก ชนิดที่พบในบ้านเรา คือ อุงดิน (Trigona Collina)
3. กลุ่มที่สร้างรังอยู่ในโพรงตามกิ่งไม้ (Branch nesting)ของไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
4.กลุ่มที่สร้างอยู่ตามสิ่งก่อสร้างในเมืองหรือยู่ใกล้กับ(Anthropophilous)ที่ปรับตัวในนิเวศเขตเมืองพบว่าอุงแมงโลม (Trigona laeviceps) สามาถสร้างรังได้ในท่อ เหล็ก ท่อประปา รูเสาบ้านไปจนถึงรูเสาไฟฟ้าเป็นต้น
ตัวชันโรงนี้จะสร้างปากรังออกมาเป็นหลอดกลมหรือแบนที่สร้างด้วยยาง หรือชันไม้โดยที่ชันโรงแต่ละชนิดมีรูปร่างปากรูใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันไปตามชนิดของชันโรงภายในรังมีการสร้างเป็นเซลล์ หรือ หน่วยๆ เพื่อให้นางพญาวางไข่ และตัวงานเก็บ ละอองเรณู น้ำหวานเพื่อใช้เลี้ยงตัวอ่อน เซลล์เรียงตัวเป็นชั้นๆ ไปตามแนวนอน ตามพื้นที่ภายในรังจะอำนวย วกวนไปมาหลายๆชั้นโดยที่ผนังเซลล์แต่ละหน่วยถูกสร้างเป็นผนังบางๆ จากชันยางไม้ผสมไขที่ชันโรงสร้างเคลือบเอาไว้ ภายในรังสามารถแยกเซลล์ออกเป็น หลอดนางพญา หลอดตัวงาน หลอดเก็บเกสร และหลอดเก็บน้ำผึ้ง
ประโยชน์
ครุหาบน้ำ ที่สานจากไม้ไผ่เอาขี้สูดทาเครือบไว้ กันน้ำรั่ว เห็นตาแถวบ้านเล่นว่าวจุฬา เอาขี้สูดติดตรงรอยต่อของสะนูว่าวปล่อยว่าวลอยลมขึ้นฟ้าเสียงสะนูดังกล้องท้องทุ่งทั้งคืน แคนที่เป็นเครื่องดนตรีดึกดำบรรพ์ของโลก ก็เอาขี้สูดติดที่เต้าแคนกับลำแคนที่ทำมาจากต้นอ้อ โหวตเครื่องเป่าก็ใช้ขี้สูดติด ระนาดเอย หน้ากลองเอย ชาวบ้านก็เอาขี้สูดติด กลิ่นของขี้สูดมักมีกลิ่นหอมแปลก ๆ ของยางไม้หรือเกสรดอกไม้
(ขอบคุณข้อมูลจากบล๊อคของอาจารย์เกียรติศักดิ์ สิทธิราช)
สรรพคุณ
รสเปรี้ยวฝาดหวาน แก้ปวดบวม บำรุงร่างกาย สมานแผล
โบราณมีความเชื่อว่าชันรงทำรังอยู่ใต้ดิน จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมักชอบทำรังในบริเวณพื้นที่ค่อนข้างเงียบสงบ ห่างไกลจากผู้คนและสัตว์อื่นๆ เมื่อเวลามันถ่ายออกมาจะมีสีดำเหนียวมีกลิ่นหอมประหลาด ซึ่งมันก็จะนำไปสร้างรังให้กับพวกมันนั่นเอง โบราณถือกันว่าชันโรงเป็นของทนสิทธิ์ ทีอาถรรพ์ลี้ลับ อานุภาพของชันโรงใต้ดินนั้นดีทางป้องกันไฟ กันคุณไสยมนต์ดำ มหาอุดแคล้วคลาด นักไสยเวทย์นิยมนำมาอุดที่หลังเบี้ยแก้ และทำเครื่องรางต่างๆ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น