วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรรักษาอัมพฤกอัมพาตตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

 โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา
         

มีเพื่อนเราคนหนึ่งเป็นคนดีมาก  วันหนึ่งเกิดความเครียดจากปัญหาครอบครัวและปัญหาธุรกิจ ดื่มเหล้าข้ามวันข้ามคืน  ตื่นเช้าขึ้นมาพบว่าซีกซ้ายของร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ ตรวจพบเส้นเลือดในสมองแตก  ๒ เดือนเต็มที่ต้องนอนซมอยู่บนเตียงจากคนที่ร่างกายแข็งแรงมาตลอดกลายสภาพเป็นคนพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบันเดินได้ ขับรถได้  มือคืนสภาพมาสามสิบเปอร์เซนต์  คุณหมอบอกว่าได้มาขนาดนี้ก็ดีแล้ว แปลว่าอะไร หมอจะออฟเคสหยุดการรักษา เขาขอร้องขอทำกายภาพบำบัดต่อ   เห็นแล้วรู้สึกเศร้าใจ  ชีวิตจะเหลืออะไรถ้าตกอยู่ในสภาพนี้  เป็นแค่ซากชีวิต แต่บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตเพื่อให้เราหยุดทบทวน  ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร และกำลังทำอะไรไปเพื่ออะไร  เพราะพอถึงวันหนึ่งทุกอย่างที่ทำไปก็กลายเป็นไม่มีประโยชน์อะไร เอาอะไรไปไม่ได้  นอกเสียจากบุญกุศลผลการปฏิบัติธรรม
         ตอนนี้เลยหมกมุ่นกับการค้นข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องผู้ป่วยอัมพฤกอัมพาต    ซึ่งมีหลายวิธี  นวด อบสมุนไพร ประคบสมุนไพร  กินและทาสมุไพร  ล้วนช่วยได้หมด  วันนี้จะเอาเรื่องของสมุไพรที่ใช้ทั้งภายในและภายนอก
          การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ของหมอพื้นบ้านนั้น นอกจากอาศัยการนวดเส้นแล้ว จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาอื่นๆร่วมด้วย ทั้งการประคบเส้น และที่สำคัญคือ การจ่ายยาสมุนไพร
เนื่องจากสมุฏฐานการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามทฤษฎีการเกิดโรคของแพทย์พื้นบ้านเชื่อว่าเกิดจากสมุฏฐานวาตะ คือเกิดจากอุทธังคมาวาตาพัดระคนกันกับอโธคมาวาตา และมีลมหทัยวาตะเข้ามาแทรก ดังนั้นการตั้งตำรับยาสำหรับผู้ป่วยโรคนี้จึงควรใช้ตัวยาตรงที่มีรสร้อน และสุขุมเป็นหลักเพื่อแก้โรคให้ตรงกับสมุฏฐาน นอกจากนี้ผู้เป็นหมอเองต้องคำนึงถึงตัวยาช่วย ตัวยาประกอบ เพื่อช่วยในการแก้โรคแทรกโรคตาม ตามลักษณะอาการ และความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ดังตำรับยาที่ขอยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นเป็นกลุ่มๆนี้
1.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับลม พริกไทยดำ พริกไทยล่อน พริกดอกไม้ ลูกผักชี
ใบมะกา โกฐหัวบัว ขมิ้นอ้อย ขอบชะนาง

2.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต
ชราทั้ง ๕ แกแล แก่นฝาง ผลมะตูม
โกฐสอ รากช้าพลู หัวแห้วหมู เถาสะค้าน
ดอกดีปลี เจตมูลเพลิงแดง

3.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์บำรุงเส้นเอ็น
โกฐกระดูก เถาเอ็นแดง เถาเอ็นขาว น้ำนอง

4.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
โกฐน้ำเต้า ยาดำ สมอพิเภก สมอเทศ

5.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เจริญอาหาร
ลูกกระดอม บอระเพ็ด กัญชา

6.กลุ่มตัวยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์แก้ไข้
โกฐก้านพร้าว คนทา รากปลาไหลเผือก กระดูกไก่ดำ
( สมชาย อ้นทอง )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น