ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย จังหวัดนครราชสีมา
ตรีชวา
เคยพูดถึงต้นสังกรณีเมื่อนานมาแล้ว คงขาดความสมบูรณ์แน่ถ้าไม่พูดถึงไม้อีกตัวที่คู่กัน คือต้นตรีชวา จริงๆเราไม่ค่อยสนใจต้นนี้เพราะเท่าที่เห็นเค้าเป็นไม้ประดับสวนดอกสวยธรรมดา เข้าใจว่าเข้าเป็นไม้นอกด้วยซ้ำไปแแต่พอดูข้อมูลแล้วเป็นไปได้ว่า ไม้ต้นนี้อยู่ในไทยมานาน ขณะเดียวกันมีการเรียกต้นไม้ ๒ ชนิดว่าเป็นต้นตรีชวา ต้นหนึ่งคื อัคคีทวาร อีกต้นคือ ต้นหางแมว มีอยู่ครั้งหนึ่งได้รู้จักกับเพื่อนคนหนึ่งที่มีปัญหาปอดเสื่อม ทั้งสองข้าง เขาบอกว่าไปบูชายาหม้อจากพระมากินรักษาตัว ซึ่งมีตัวยาอยู่ในนั้นหลายตัวมาก หนึ่งในนั้นเราเห็นดอกของเจ้าตรีชวาปนอยู่ด้วย เลยเกิดความสนใจขึ้นมา เพื่อนคนนี้เขากินยาหม้อนี้เป็นประจำ เพราะหมดหนทางรักษาทางอื่นแล้ว อาการเหนื่อยหอบมาก ทำงานหนักไม่ได้เลย พอกินยาหม้อนี้เขาแข็งแรงมาก ทำไร่ ทำสวน อดนอน แถมยังสูบบุหรี่ได้หน้าตาเฉย ( อันนี้ไม่ดี ) เขาเล่าว่าเคยเอาไปให้คนอื่นที่มีปัญหากระดูกเสื่อมกิน อาการดีขึ้น เลยรู้ว่ามีการนำตรีชวามาใช้รักษาโรคผู้ป่วยเกี่ยวกับ ปอดและกระดูก แต่อาจไม่ใช่ตัวยาหลัก คงต้องค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป สิ่งที่พึงระวังอีกอย่างหนึ่งคือ การอ้างอิงข้อมูลสรรพคุณสมุนไพรโดยไม่มีรูปของสมุนไพรด้วย ยึดแค่ชื่อเป็นหลัก อาจจะผิดต้นไปเลยก็ได้ อย่างในกรณีนี้ ต้นตรีชวาถูกระบุสรรพคุณว่าแก้ริดสีดวงทวาร ซึ่งสมุนไพรที่ใช้รักษาริดสีดวงทวารอีกต้นคือ อัคคีทวารซึ่งมีชื่ออื่นว่า ตรีชวาเหมือนกัน ทำให้เกิดความสงสัยว่าการรวบรวมข้อมูลสรรพคุณต่าง ๆ อาจเอาต่างต้นแต่ชื่อเหมือนกันมาปนเปกันได้
ตรีชวา
ชื่อสามัญ : White Shrimp Plant.
ชื่อพื้นเมือง : ตรีชวา (ทั่วไป) ; หางกระรอก, หางแมว (กลาง),เขียวพระสุจริต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B.Clarke
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะ
ต้น : ไม้พุ่มสูง ประมาณ 0.5 - 1 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปรี กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 8 ซม. ปลายและโคนแหลม
ดอก : สีขาวหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ สีขาวลายเขียว 3 ใบ กลีบดอกเป็นหลอดเล็กปลายแยกเป็น 2 ส่วน
ผล : กลมเล็กเมื่อแก่แตกได้
เมล็ด : -
การกระจายพันธุ์ พบได้ทั่วไปตามภูมิภาคของไทย
การรขยายพันธุ์ ปักชำ ตอนกิ่ง
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : นำไปบูชาพระ
สรรพคุณ
ดับพิษโลหิต สมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้
ดับพิษโลหิต ขับปัสสาวะโดยใช้ทั้งต้น 1 กำมือ หรือประมาณ 10-15 กรัม ล้างน้ำให้สะอาดในน้ำเดือด 1 ลิตร นานประมาณ 15 นาที กรองเอาน้ำดื่มเช้า-เย็น
ส่วนเหนือดินของตรีชวา มีสารประกอบพวก Triterpenoid glycosides ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า สารนี้มีคุณสมบัติในการลดรอยแผลเป็น มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และลดการอักเสบที่ผิวหนัง
เอกสารอ้างอิง สมภพประธานธุรารักษ์. 2539. อนุกรมวิธานพืชสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์.
ที่มา www.magnoliathailand.com
www.pharmacy.mahidol.ac.th
www.สมุนไพรไทยไทย.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น