วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เปราะป่าแก้อาถรรพ์เถาวัลย์หลง

ตอนไปเดินป่าที่อ.เทพารักษ์ ช่วงนั้นเราอินกับเรื่องเถาวัลย์หลงมาก คือกลัวหลงป่าที่สุด  เพราะปกติขนาดในเมืองก็ยังจำทางไม่ได้  เดินป่ายิ่วแล้วใหญ่  ไม่นับกับเถาวัลย์หลงเรื่องเล่าตำนานอาถรรพ์แห่งป่าที่ทำให้เรากลัวหนักขึ้นไปอีก  ถามพี่ๆคนนำทาง ว่ามันเป็นตามนั้นจริงๆไม๊  ใครเดินข้าเถาวัลย์หลงแล้วจะหลงป่า  แกก็ว่าจริง  แต่ดูแล้วเหมือนเล่าต่อๆกันมา  เพราะแกไม่ขยายความ  ถามแกว่าแก้ยังไง  เพราะถ้าว่าต้องใช้คาถาเบิกไพรใครจะไปรู้  ยิ่งไม่ได้เรียนฝึกฝนคาถาอาคมมา  มันคงจะเหมือนท่องอาขยานดีๆนี่เอง  พี่เค้าบอกว่าให้พกต้นเปราะป่า  เราลืมแล้วว่าให้พกเฉยๆหรือกินด้วย  ลองทั้งพกทั้งเคี้ยวกินดู รสเผ็ดซ่าของเปราะป่าอาจช่วยกระตุ้นสมองที่เคลิมไปกับฤทธิ์เถาวัลยฺหลงได้   เปราะป่าก็ขึ้นทั่วๆไป  ใกล้ๆกัน  ของแก้มักหาเอาแถวนั้นแหล่ะ  ใครมีประสบการณ์ยังไงเล่าสู่กันฟังได้  จึงบันทึกไว้อีกหนึ่งเรื่องราวเล่าขานตำนานไพร
ชื่อสมุนไพร
เปราะป่า
ชื่ออื่นๆ
ตูบหมูบ (อุบลราชธานี ตะวันออกเฉียงเหนือ); เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี ชพ);เปราะเขา เปราะป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์
Kaempferia marginata Carey
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชลงหัว ขนาดเล็ก สูง 3-5 เซนติเมตร มีเหง้าสั้น รากเป็นกระจุก ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกตั้งขึ้น ใบแก่แผ่ราบบนหน้าดิน ไม่มีก้านใบ ต้นหนึ่งมักมี 2 ใบ ใบทรงกลมโต หรือรูปรี กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีสีม่วงแดง ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวบนเรียบ ด้านล่างมีขน กาบใบยาวราว 5 เซนติเมตร กาบใบที่ไม่มีใบยาวราว 3 เซนติเมตร ลิ้นใบรูปสามเหลี่ยม ยาวราว 4 มิลลิเมตร ช่อดอกแทงออกตรงกลางระหว่างกาบใบทั้งสอง กลีบดอกเป็นหลอดยาวราว 4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ รูปแถบ กลีบหลังยาว และกว้างกว่ากลีบข้าง กลีบหลังกว้างราว 0.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร กลีบข้างกว้างราว 0.3 เซนติเมตร ยาวราว 2.4 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลีบดอกบอบบาง มีดอกย่อย 6-8 ดอก ใบประดับสีขาวอมเขียว รูปใบหอก กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 3.2 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ที่เป็นหมันสีขาว รูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 2 เซนติเมตร กลีบปากสีม่วง มีแถบสีขาวระหว่างเส้นกลางกลีบกับขอบกลีบ รูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม กว้างราว 1.8 เซนติเมตร ยาวราว 2.2 เซนติเมตร ปลายหยักลึกมาก เกสรตัวผู้เกือบไม่มีก้าน หรือมีก้านยาวราว 1 มิลลิเมตร อับเรณูยาวราว 4 มิลลิเมตร รังไข่ขนาดกว้างราว 2 มิลลิเมตร ยาวราว 4 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ราว 2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลรูปไข่ สีขาว แตกเป็น 3 พู เมล็ดทรงรูปไข่ สีน้ำตาล ชอบขึ้นตามดิน หรือเกาะอยู่ตามโขดหิน เกิดตามที่ลุ่มชื้นแฉะในป่าเบญจพรรณทั่วไป

สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ หัว มีกลิ่นหอม รสร้อน ขมจัด ทำลูกประคบ แก้ฟกช้ำ ใช้แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เหง้าใต้ดิน ตำพอก แก้อาการอักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์ กัดต่อย หรือผสมใบหนาดใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพาต เข้าตำรับยาอายุวัฒนะ(มุกดาหาร)
ตำรายาไทย ใช้ เหง้าใต้ดิน รสเผ็ดขมจัด แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ ตำผสมกับหัวหอม สุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัด แก้กำเดา

 เดินป่าจะเห็นเปราะป่าขึ้นอยู่ทั่วไป  ใบเค้าน่ารักดี  แผ่กลมไปกับดิน  จึงมีชื่อในภาษาอีสานว่า ตูบหมูบ  แปลว่าหมอบ(สนิท)ไปกับดิน  เราชอบมากสวยดี
 ใบอ่อนเปราะป่ามีเอกลักษณ์  ม้วนกลมๆสวยดีชอบบบบบบ  ชาวบ้านจะเก็บมาลวกจิ้มน้ำพริก
รากเปราะป่า  เหมือนหัวกระชายจังง  ถ้าบอกว่ามีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะจะไม่แปลกใจเลย  คนอีสานเวลาล่ากะปอมหรือกิ้งก่าได้เวลาเอามาทำเป็นอาหารจะสับรากเปราะป่าปนไปด้วยเหื่อเพิ่มปริมาณ  อันนี้เพื่อนทางขอนแก่นเล่าให้ฟัง

ขอบคุณข้อมูลและรูปจากเวปไซต์  ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปุณณภา   งานสำเร็จ   เรื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น