วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สมุนไพร/ต้นสังกรณี


สมุนไพร/มะไฟเดือนห้า


ว่านกระสือรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกระสือรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า  " ว่านกระสือ ลักษณะลำต้นหัวใบคล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีขาว รสร้อนฉุน ต้น,ใบเขียว บางท่านก็ว่าใบนั้น ลายผ่านขาว เมื่อหัวแก่จะมีธาตุปรอทลงกิน (เป็นแสงฟอสฟอรัส) เป็นพลายสีแมงคาเรืองในเวลากลางคืน สรรพคุณว่านนี้เป็นว่านอยู่คงกระพัน แต่เป็นว่านแปลกประหลาดกว่าว่านทั้งหลาย ชอบไปเที่ยวหาของโสโครกกิน และเข้าสิงกินในตัวคนดังเช่นกระสือและผีปอบ แะลสามารถบอกชื่อเจ้าของว่านเป็นตัวกระสือหรือผีปอบก็ได้ จึงไม่มีใครที่จะกล้าปลูกไว้"

ว่านแสนนางล้อมรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านแสนนางล้อมรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า  "ว่านแสนนางล้อม ลักษณะหัวและใบคล้ายหัวกระเทียม แต่ใบสั้นกว่า หัวล้อมกันเป็นกลุ่มๆมีดอกเป็นช่อทอดก้านยาว ดอกเล็กคล้ายดอกหญ้าหนวดแมว สรรพคุณปลูกไว้กันไฟ และกันอันตรายต่างๆ"

ว่านสมอรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสมอรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า  "ว่านสมอ ลักษณะลำต้นคล้ายกับต้นเตย ใบเหมือนใบละหุ่ง หอมเหมือนต้นเจตมูลเพลิง สรรพคุณ เอารากของว่านนี้กับปรอท ใส่ลงในขวดให้ได้๗ชั้น เอามาสุ่มไฟปรอทจะตาย"

ว่านครรถมาลารวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านครรถมาลารวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า " ว่านครรถมาลา ลักษณะลำต้น,ใบและหัวคล้ายต้นขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวขาว รสร้อนฉุนจัด มีเป็นใยคล้ายใยบัว สรรพคุณอยู่คงกระพันชั่วเบา และใช้ตำพอกฝรครรถมาลา และฝีร้ายต่างๆ"

ว่านลิงดำรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านลิงดำรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านลิงดำ ลักษณะต้นคล้ายต้นกระดาษแดง หัวเหมือนเผือก มีหน่อเหมือนบอน ก้านเหมือนบอน ชนิดนี้คัน สรรพคุณอยู่คงกระพันชั่วเบา"

ว่านสามพันตึงรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสามพันตึงรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า "ว่านสามพันตึง (มี ๓ ชนิด) ชนิดหนึ่งต้นเป็นเถา ใบคล้ายเถากลิ้งกลางดง มีหัวตามข้อๆเหมือนกลิ้งกลางดง สรรพคุณแก้โรคฝีกาฬ และฝีร้ายต่าง ๆ และระงับพิษร้อนของโรค โดยเอาว่านนี้ฝนกับว่านเพชรหึงที่ขึ้นอยู่กับต้นไม้ ลักษณะคล้ายกล้วยไม้"
หนังสือระบุว่ามีสามชนิดแต่อธิบายไว้เพียงชนิดเดียว

ว่านสะดุ้งรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสะดุ้งรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
"ว่านสะดุ้ง ลักษณะลำต้นก้านแดง คล้ายสีลูกหว้าอ่อน ใบเขียว ดอกสีแดง เมื่อเวลางอกขึ้นนั้น จะขวางพระอาทิตย์ เงานั้นจะเลื่อนติดต่อกันไป ถ้าจะขุดว่านนี้ท่านว่าให้จัดเครื่องสักการะบูชาเสียก่อน ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วเอาว่านนี้มาแกะ เป็นพระพุทธรูป มือซ้ายห้ามสมุทร มือขวากดท้อง  ลง "ติ"ไว้มือขวาลง "ละ" ไว้มือซ้าย  ลง"นะ" ไว้ปากขวา ลง"ตะ"ไว้ปากซ้าย ลง"ริ"ไว้หน้าผาก ลง"สิ"ไว้ท้อง ลง "เชื้อง" ไว้เท้าขวา ลง"ยะ"  (ข้อความหมดแค่นี้ น่าจะแปลว่าลง"ยะ"ไว้เท้าซ้าย-ผู้คัดลอก)
เมื่อจะเสกให้บ่ายหน้าไปทางพระยืน แล้วเสกด้วยมนต์นี้ "อะ ฆะ ชิ วะ มะ มะ จง นิง ทิง พิโน ปลา ยันติ " ให้ได้ ๑๐๘ คาบ  แล้วเอาว่านนี้ห่อผ้าโพกศีรษะให้แคล้วคลาดภยันตรายต่างๆ"

ว่านสากเหล็กรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสากเหล็กรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านสากเหล็ก ลักษณะลำต้นคล้ายกับสากตำข้าว ใบคล้ายหอมแดง สรรพคุณเอาว่านนี้มาฝนทามือ เราจะชกต่อยเขาสู้เราหาได้ไม่ ถ้ารับประทานมีกำลังมากดุจช้างสาร ด้วยอานุภาพของว่านนี้ ก่อนจะใช้ให้เสกด้วยพุทธคุณ "นะโม พุทธายะ"

ว่านแสงทองรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านแสงทองรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านแสงทอง ลักษณะลำต้น ก้านใบคล้ายขมิ้นอ้อย ก้านแดงใบเขียว หัวผ่าออกมีสีขาว ท่านว่าว่านนี้เป็นเสน่ห์มหานิยมยิ่งนัก แต่จะต้องเอาว่านนี้มาแกะเป็นรูปพระพินายลง "นะ" ไว้เบื้องบน   "กะ"ไว้ที่หน้าผาก  "ผะ"ไว้ที่จมูก  "มะ" ไว้ที่ปาก "ภะ"ไว้ที่คอ "ละ"ไว้ที่ท้อง ลงเลข"๖"ไว้ข้างบน  แล้วเอาเลข๗ลงรายล้อมให้รอบตัวพระพินาย แล้วพึงเสกด้วยมนต์นี้ "อม มหา กะ ถา ยะ นะ อะ สะ อะ คะ ภะ วะ ตะ เว ตะ กุส สะ มหา เตชา มหายโส มหายโส น ภา โว สหวา หะ " เสกให้ได้ ๑๐๐๐ คาบ "

ว่านแสงจันทร์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านแสงจันทร์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านแสงจันทร์ ลักษณะลำต้น,ใบ,หัวคล้ายต้นขมิ้นอ้อย กระดูกกลางใบแดง เนื้อในของหัวสีโศก สรรพคุณแก้พิษสุนัขบ้า พิษสัตว์ต่างๆ ที่ขบ,กัด,ต่อย โดยใช้ฝนกับสุราหรือน้ำให้รับประทาน แล้วเอาทาตามบริเวณปากแผล แต่อย่าให้ถูกปากแผล ถ้าถูกกัดใหม่ๆ ให้ใช้กากพอกปากแผล"

ว่านแสงอาทิตย์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านแสงอาทิตย์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
"ว่านแสงอาทิตย์ ลักษณะลำต้นเหมือนหมากผู้หมากเมีย ลำต้นแดง ยอดแดง เมื่อจะขุดเอาว่านนี้อย่าให้เงาของว่านนั้นทับเงาของตัวเรา ต้องชำระร่างกายให้สะอาด จำศีลภาวนาแล้วเสกด้วยพุทธคุณว่า "อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ" จะทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมสำเร็จสมประสงค์ ถ้าได้รับประทานก็สามารถจะเดินบนอากาศได้ ถ้าทาตาแล้วก็จะเห็นตลอดนรกสวรรค์ชั้นฟ้า จนถึงนาคพิภพ ว่านนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก ท่านตีค่าไว้ถึงแสนตำลึงทอง"

ว่านสบู่เลือดเถารวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่เลือดเถารวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านสบู่เลือดเถา (ตามตำราเก่าเรียกว่าว่านกระท่อมเลือด) ว่านนี้มี๒ชนิด  ชนิดหนึ่งอย่างแดงต้นเป็นเถา ใบคล้ายกับใบตำลึง แต่ลักษณะใบเป็นจักน้อยและจักของใบตื้นกว่า กระดูกเส้นของใบแดง หน้าใบหลังใบก็แดง แต่ก็ไม่แน่นัก เพราะเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ทำให้ใบนั้นสีแดงจางไป แต่ถ้าเมื่อเด็ดก้านใบหรือเถา จะมียางสีแดงเหมือนเลือดไหลออกมา หัวคล้ายมันแกว สรรพคุณใช้อยู่คงชั่วเบา อีกชนิดหนึ่งขาว ยางสีขาว หัวใหญ่โตมาก บางทีขนาดเท่ากระด้ง ว่านทั้งสองชนิดนี้ มีสรรพคุณเป็นยาต้มแก้กษัย แก้ระดูขัดข้องของหญิงซึ่งชาวป่านิยมใช้"

ว่านสบู่เลือดบอนรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่เลือดบอนรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่เลือดบอน ลักษณะลำต้น,ก้าน,ใบ มีสีแดง ถ้าหยิกหัวว่านจะมีสีแดงเหมือนเลือด ในเวลากลางคืนจะมีหยาดน้ำค้างอยู่ที่ปลายใบ อย่างชนิดนี้จึงจะเป็นสบู่เลือดบอนที่แท้ เมื่อรับประทานไปแล้วจะรู้สึกคันคอและเนื้อตัวชาไปหมด สรรพคุณ คงกระพันยิ่งนัก"

ว่านสบู่ทบรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่ทบรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่ทบ ลักษณะลำต้น,ใบ คล้ายต้นขมิ้นอ้อย หัวเหมือนหัวขิง เนื้อในหัวมีสีแดง ถ้าเอาเล็บหยิกดึงเอาเนื้อของหัวว่านออกมา จะเห็นว่ามียางออกเป็นสายใยออกมา ถ้าปล่อยออกยางของใยนี้จะดึงกลับเข้าที่เหมือนเดิม"

ว่านสบู่นางใยรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่นางใยรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่นางใย ลักษณะลำต้น,หัว,ใบ คล้ายใบกระเทียม แต่เปลือกที่หุ้มมีใยมากดังใยบัว สรรพคุณใช้อยู่คงชั่วเบา"

ว่านสบู่หนังแห้งรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่หนังแห้งรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่หนังแห้ง ลักษณะลำต้น,ใบ หัวคล้ายขมิ้นอ้อย กระดูกกลางใบแดง แต่ไม่ตลอดทั้งใบ เนื้อในของหัวเมื่อหักออกมา จะมีสีขาวอยู่รอบนอก รอบในกลางสีค่อนข้างเหลือง รสร้อนฉุน ขุดขึ้นมาไม่กี่วันเปลือกเหี่ยวคล้ายจะแห้ง สรรพคุณรับประทานกับสุรา คงกระพันยิ่งนัก"

ว่านสบู่นั่งแท่นรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่นั่งแท่นรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่นั่งแท่น ลักษณะลำต้นคล้ายขมิ้นอ้อย แต่หัวกลมใหญ่คล้ายกับหัวเผือก เนื้อในของหัวมีสีขาว รสร้อนฉุนจัด สรรคุณอยู่คงชั่วเบา"

ว่านสบู่เหล็กรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่เหล็กรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่เหล็ก ลักษณะลำต้นคล้ายขมิ้นอ้อย แต่หัวกลม เนื้อในของหัวมีสีขาว รสร้อนฉุนจัด สรรพคุณอยู่คงชั่วเบา (ท่านว่าเวลาปลูกให้ใช้เหล็กรองก้น จะทำให้คุณค่าของว่านมีคุณสมบัติมิเสื่อมลง)"

ว่านสบู่หมึกรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่หมึกรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่หมึก ลักษณะลำต้นเหมือนหัวหอมหัวใหญ่ (ขนาดหอมฝรั่ง) เปลือกหุ้มหัวมีสีแดงแกมดำ ทั้งโคนใบก็มีสีแดงแกมดำเช่นเดียวกัน  สรรพคุณเป็นว่านกันอันตรายและคุณไสยต่างๆ"

ว่านสบู่ทองรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่ทองรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านสบู่ทอง ลักษณะลำต้น,หัว,ใบ ดังต้นหอมแดง สรรพคุณอยู่คงชั่วเบา และใช้สมานแผล"

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ว่านสบู่หยวกรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่หยวกรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
"ว่านสบู่หยวก ลักษณะเหมือนหอมหัวใหญ่(ขนาดหอมฝรั่ง) ใบคล้ายใบพลับพลึง แต่เล็กกว่า เปลือกหุ้มสีขาว สรรพคุณอยู่คงชั่วเบา"

ว่านสบู่หลวงรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านสบู่หลวงรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
"ว่านสบู่หลวง ลักษณะลำต้น ใบ หัวเหมือนกลอย เมื่อรับประทานแล้วจะเป็นผื่นตามผิวหนังทันที คันจัดมาก สรรพคุณ มีอิทธิฤทธิ์อยู่คงชั่วเวลาเบา"
อยู่คงชั่วเวลาเบาคือคงกระพันแค่ปัสสาวะออกก็หมดฤทธิ์

ว่านพระตะบะรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระตะบะรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระตะบะ ลักษณะลำต้น หัว ใบ เหมือนต้นขมิ้นอ้อย แต่หลังใบมีกาบคล้ายใบลิ้นเสือ เนื้อของหัวมีสีขาว รสร้อนฉุนจัด มีธาตุปรอท ว่านนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก ใช้ขับภูติผีปีศาจ ปีศาจเกรงกลัวยิ่งนัก แม้แต่ ใบ ราก หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของว่าน ผู้นำเอาว่านนี้ถึงจะซ่อนใส่ให้มิดชิดมิให้เห็นภูติผีปีศาจก็สะทกสะท้านสะดุ้งหวาดเกรงกลัว ผู้ที่มีว่านนี้ใช้ติดตัวไปได้ในทุกแห่งทุกหน บรรดาภูติผีปีศาจทั้งหายจะหาได้มากล้ำกรายหลอกหลอนเราได้เลย ตลอดจนผีป่า,ผีปอบ,ผีดง ทั้งผีพรายน้ำพรายบก,พรายอากาศ ถ้าถูกผีเข้าเจ้าสิง ให้ใช้ว่านนี้ถือเข้าไปที่ตัว ปีศาจก็จะล้มลง หญิงที่คลอดบุตรยาก ให้เอาว่านนี้ตำผสมกับสุรารับประทานสามารถทำให้มีลมเบ่ง และบุตรก็จะคลอดง่าย การคลอดบุตรมีต้องใช้ยันต์ตามโบราณที่กระทำมาก็ได้ ให้ใช้ว่านนี้ผูกหรือเอาวางไว้ที่ตามประตูหน้าต่างบ้าน ที่ห้องนอนของมารดา และที่กระโจมหรือเปลเด็ก กันได้ทุกอย่าง แม้แต่เด็กจะนอนสะดุ้งผวาให้ผูกข้อมือจะหลับสบาย ถ้านอนไม่หลับหวาดกลัวเห็นแต่ภูติผีปีศาจ ให้เอาว่านนี้ใส่ไว้ใต้หมอนผีปีศาจก็จะหายไป หรือมารดาของเด็กตายด้วยการคลอดบุตร วิญญาณของมารดาเด็กก็มิสามารถจะมารบกวนบุตรได้ หรือบุตรจะตายไป วิญญาณของบุตรก็มิสามารถจะมารบกวนมารดาได้เช่นกัน ผีปู่ ย่า ตา ยาย กลัวว่านนี้เหมือนกัน  แต่ว่าไม่ออกทันที เมื่อเห็นว่านนี้ก็บอกว่ามาทำไม ธุระอะไรแล้วก็ไป ถ้าท้องเดินอย่างแรงคล้ายอหิวาต์ ให้ใช้ว่านนี้มาตำผสมกับน้ำสุก รับประทานก็จะหาย ว่านชนิดนี้เป็นว่านที่หาได้ยาก ท่านผู้ใดได้ไว้นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐนัก ว่านพระตะบะนี้เป็นว่านที่คู่กับว่านขอทอง  เพราะเป็นว่านอันประเสริฐด้วยกัน และขึ้นอยู่ในแถบเดียวกันกับว่านขอทอง ว่านทั้งสองนี้มีแถวกระเหรี่ยง ละว้า ทางไทรโยค"

ว่านพระยามือลายรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระยามือลายรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล้าวไว้ว่า
"ว่านพระยามือลาย ลักษณะลำต้น ก้าน ใบ ใบเหมือนว่านพระยาช้างเผือกทุกอย่าง ผิดแต่ว่าลำต้น ก้านใบ ใบ เขียวเท่านั้น และมีลายจุดขาวเล็กๆเต็มหน้าท้องใบ (บางคนเรียกว่าช้างกระ เอามาปลูกไว้เป็นต้นไม้ดูเล่นเพื่อความสวยงาม) สรรพคุณของว่านรับประทานแล้วอยู่คงกระพันแต่ว่าคันมาก"
เป็นไปได้ไม๊ว่า ว่านพระยาช้างเผือกที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันแท้จริงแล้วเป็นว่านพระยามือลาย

ว่านพระฉิมรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระฉิมรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวว่า
"ว่านพระฉิม ลักษณะลำต้นเป็นเถา ใบเหมือนมันมือเสือ มีหัวตามข้อของเถา หัวเป็นปุ่มขรุขระเหมือนหัวกลิ้งกลางดง สรรพคุณ ปลูกไว้เป็นศิริมงคลแก่บ้าน และรับประทานอยู่คงกระพัน"
ว่านพระฉิม

ว่านพระเจ้า๕พระองค์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระเจ้า๕พระองค์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระเจ้า๕พระองค์ ลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อย เถาสีเลือดหมู ใบเขียว ใบเป็น ๕ แฉก สรรพคุณ ปลูกไว้เป็นศิริมงคลแก่บ้านและรับประทานอยู่คงกระพัน"

ว่านพระมเหศวรรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระมเหศวรรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระมเหศวร ลักษณะลำต้นและใบเขียวคล้ายพุทธรักษา ตอนกลางใบดุจมีน้ำค้าง  สรรพคุณใช้ในทางแก้ภูติผีปีศาจที่เข้ามาสิงสู่ในตัว"

ว่านพระยาช้างเผือกรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระยาช้างเผือกรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาช้างเผือก ลักษณะลำต้นขาว ใบขาวตามใบมีลายเส้นขาวๆ เมื่อใบยังเล็กอยู่จะมีจุดขาวใหญ่อยู่ตามหน้าใบ ส่วนใบก็คล้ายกับใบกล้วย แต่ว่าเล็กกว่า มีดอกสีขาวคล้ายดอกเสน่ห์จันทร์ขาว สรรพคุณปลูกไว้เป็นศิริมงคล"
ต้นนี้เป็นตระกูลสาวน้อยประแป้ง  นักเล่นว่านเก่าๆบอกว่าต้นจริงหายากมาก  เพราะลำต้นต้องเป็นสีขาว แต่ที่ปลูกเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปลำต้นจะเป็นสีเขียว  จนเดี๋ยวนี้คำบรรยายสีลำต้นก็เปลี่ยนเป็นลำต้นสีเขียวแทน  ใครมีลำต้นสีขาวเอามาทานให้คนเขียนบล๊อกบ้างจะเป็นพระคุณอย่างสูง

ว่านพระจันทร์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระจันทร์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระจันทร์  ลักษณะลำต้นใบดุจขมิ้นเมื่อแรกขึ้น ครั้นนานไปเข้าใบนั้นจะมีสีแดง แล้วจะกลับเป็นสีเขียวภายหลัง หัวเมื่อผ่าออกจะมีสีชมพู ในเดือนอ้ายจึงจะมีดอกๆนั้นคล้ายบอนขม ท่านว่าถ้าจะขุดว่านนี้ให้นุ่งห่มเหลือง ถือศีล ๕-๘ แล้วบูชาเทพยดาอารักษ์ด้วยเครื่องกระยาบวช แล้วบูชาด้วยพระเวทมนต์ดังนี้ "อุมะนะ จันทระโตระ ตะธาตุ รุคะกะตะตัสสะ พะวะไกยะ ประสิทธิเม" แล้วจึงขุดเอาว่านนี้มาแกะเป็นรูปพระฉิมพาลีนั่งขัดสมาธิ มือขวารับประเคน ส่วนมือซ้ายกอดท้อง แล้วลงอักขระ "กะ สะ กะ สะ" เมื่อลงแล้วว่าพระคาถา ๑๐๘ คาบ ดังนี้ "โอมยะโยโมสิมพะวา สันติเก สัพเพ เทวา ปุริโสวา อิจ ถีวา กะรุยะ สัพเพ นัยยะ หา พุทธะ ทัยยะ ปลันติ สหะ วาหา ยะ ปะ อิส วา หา ยะ " เสกให้ได้ ๑๐๐๐ คาบสรรพคุณเอาว่านที่แกะนี้ใส่ในผ้าแล้วโพกศีรษะ จะไปทุกสารทิศ ศัตรูหาทำอันตรายเราได้ไม่ และยังเป็นเสน่ห์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง"

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หนังสือน่าอ่าน ปรอทธาตุมหัศจรรย์

วันนี้ไปส่งต้นไม้ที่ไปรษณีย์  อดแวะร้านหนังสือไม่ได้  ว่าจะดูเฉยๆ แต่ไม่เคยสำเร็จ  ได้มาสามเล่ม
เล่มแรกกำลังอ่าน  ชอบมาก  "ปรอท ธาตุมหัศจรรย์"  เนื้อหาพูดถึงมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย พยายามที่จะ
เอาชนะเจ้าธาตุอัศจรรย์นี้ ผู้ใดที่สามารถ ควบคุมธาตุปรอทได้สำเร็จชีวิตของผู้นั้น จะ เป็นอมตะ รวบรวมแง่มุมต่างๆ ของธาตุปรอทที่อยู่นอกกรอบของกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มาเปิดเผย และยังได้อธิบายถึงวิชาปรอทโบราณ การสำเร็จปรอทในยุคต่างๆ รวมไปถึงการรักษาโรคด้วยการลงปรอทอันเป็นที่สุดของวิชา  ไม่ยักรู้มาก่อนว่าเรื่องปรอทอย่างเดียวจะข้อมูลเยอะขนาดนี้

ถ้าใครอ่านหนังสือว่าน สรรพคุณที่ได้พบอยู่เสมอคือ  ว่านตัวนั้นตัวนี้ฆ่าปรอทได้ เรายังนึกสงสัยว่าฆ่าเพื่ออะไร  ทำไมต้องฆ่า ดูจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้วย  ว่านหลายตัวพูดถึงคุณวิเศษเรื่องฆ่าปรอทอย่างเดียว เก็บความสงสัยมานานว่า ปรอทนี่สำคัญยังไงนะ  ว่านหลายๆตัวที่มีการพูดถึงว่าเป็นว่านสาย อ. หล่อ ขันแก้ว  ที่แท้หนังสือเล่มนี้เฉลยให้รู้ว่า ที่แท้แล้วอ.หล่อ  ขันแก้ว  เป็นผู้สำเร็จวิชาปรอทที่สำคัญผู้หนึ่ง  การหุงปรอทของอ.หล่อ  ขันแก้ว  แต่ละครั้งใช้เวลา ๓-๗ ปี  นั่นหมายถึงห้ามไฟดับเลยนะ  ต้องดูอยู่ตลอดเวลา เพราะอย่างนี้ว่านสายอ.หล่อ  ขันแก้ว  จึงเป็นอีกหนึ่งชื่อที่การันตีว่านนั้นๆได้เป็นอย่างดี

เล่มที่๒ เดอะเมจิก เป็นหนังสือของ Rhonda Byrne (รอนดา เบิร์น) ผู้เขียนเดอะซีเคร็ทอันลือลั่น  ชื่อชั้นระดับนี้  อ่านแค่คำนิยมก็ซื้อเลย  ประสบการณ์ที่มากขึ้นในการใช้กฏแรงดึงดูด ของรอนด้า  เบิร์น  เป็นเรื่องที่น่าติดตาม  ที่สำคัญราคา ๑๙๕ บาท ถือว่าถูกมากสำหรับหนังสือคุณภาพ
เล่มที่๓ จริงๆออกมาได้ซักพักแล้ว

เล่มที่๓  เล่มเดียวคุ้มโรคภัย  เล่มนี้ออกมาได้พักใหญ่แล้ว  แต่ใจเย็นอยู่  เพราะคุณจำรัส  เซ็นนิล เขียนเล่มไหนไม่ต้องห่วงขายดีแน่  ยังไงก็จะเด่นอยู่ในแผงนาน  แต่ใจเย็นมากก็ไม่ได้ เดี๋ยวหมด  ชอบหนังสือของคุณจำรัส  ตรงที่เป็นข้อมูลการใช้สมุนไพรจากคนจริง ๆ สูตรส่วนใหญ่ไม่ยากจับต้องได้  สะสมเป็นฐานความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ดี