วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ว่านพระตะบะรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านพระตะบะรวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระตะบะ ลักษณะลำต้น หัว ใบ เหมือนต้นขมิ้นอ้อย แต่หลังใบมีกาบคล้ายใบลิ้นเสือ เนื้อของหัวมีสีขาว รสร้อนฉุนจัด มีธาตุปรอท ว่านนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก ใช้ขับภูติผีปีศาจ ปีศาจเกรงกลัวยิ่งนัก แม้แต่ ใบ ราก หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของว่าน ผู้นำเอาว่านนี้ถึงจะซ่อนใส่ให้มิดชิดมิให้เห็นภูติผีปีศาจก็สะทกสะท้านสะดุ้งหวาดเกรงกลัว ผู้ที่มีว่านนี้ใช้ติดตัวไปได้ในทุกแห่งทุกหน บรรดาภูติผีปีศาจทั้งหายจะหาได้มากล้ำกรายหลอกหลอนเราได้เลย ตลอดจนผีป่า,ผีปอบ,ผีดง ทั้งผีพรายน้ำพรายบก,พรายอากาศ ถ้าถูกผีเข้าเจ้าสิง ให้ใช้ว่านนี้ถือเข้าไปที่ตัว ปีศาจก็จะล้มลง หญิงที่คลอดบุตรยาก ให้เอาว่านนี้ตำผสมกับสุรารับประทานสามารถทำให้มีลมเบ่ง และบุตรก็จะคลอดง่าย การคลอดบุตรมีต้องใช้ยันต์ตามโบราณที่กระทำมาก็ได้ ให้ใช้ว่านนี้ผูกหรือเอาวางไว้ที่ตามประตูหน้าต่างบ้าน ที่ห้องนอนของมารดา และที่กระโจมหรือเปลเด็ก กันได้ทุกอย่าง แม้แต่เด็กจะนอนสะดุ้งผวาให้ผูกข้อมือจะหลับสบาย ถ้านอนไม่หลับหวาดกลัวเห็นแต่ภูติผีปีศาจ ให้เอาว่านนี้ใส่ไว้ใต้หมอนผีปีศาจก็จะหายไป หรือมารดาของเด็กตายด้วยการคลอดบุตร วิญญาณของมารดาเด็กก็มิสามารถจะมารบกวนบุตรได้ หรือบุตรจะตายไป วิญญาณของบุตรก็มิสามารถจะมารบกวนมารดาได้เช่นกัน ผีปู่ ย่า ตา ยาย กลัวว่านนี้เหมือนกัน  แต่ว่าไม่ออกทันที เมื่อเห็นว่านนี้ก็บอกว่ามาทำไม ธุระอะไรแล้วก็ไป ถ้าท้องเดินอย่างแรงคล้ายอหิวาต์ ให้ใช้ว่านนี้มาตำผสมกับน้ำสุก รับประทานก็จะหาย ว่านชนิดนี้เป็นว่านที่หาได้ยาก ท่านผู้ใดได้ไว้นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐนัก ว่านพระตะบะนี้เป็นว่านที่คู่กับว่านขอทอง  เพราะเป็นว่านอันประเสริฐด้วยกัน และขึ้นอยู่ในแถบเดียวกันกับว่านขอทอง ว่านทั้งสองนี้มีแถวกระเหรี่ยง ละว้า ทางไทรโยค"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น