พ่อสง่า จุฬารมณ์ พ่อหมอรักษาพิษงู
กอมก้อยลอดขอน
ตีนตั่งเตี้ย
ทรายเด่น
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว คณะอนุกรรมการพิจารณาตำรับยาสมุนไพรไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศที่เป็นบุญของฉันจริงๆที่ได้พบตัวจริงของท่านเหล่านั้น ซึ่งนอกจาคณะกรรมการชุดนี้ได้มาจัดประชุมที่โคราชแล้วยังมีโปรแกรมพิเศษคือแวะเยี่ยมหมอพื้นบ้านที่ผลงานชัดเจนที่สุดหนึ่งท่าน จึงเป็นหน้าที่ของฉันที่ต้องคิดและคัดจากหมอพื้นบ้านเก่งๆหลายท่านที่มีอยู่
สุดท้ายมาสรุปที่พ่อสง่า จุฬารมภ์ พ่อหมอแก้พิษงูเลื่องชื่อของโคราช
1.กอมก้อลอดขอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Elatostema repens (Lour.) Hallier f., วงศ์URTICACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นอวบน้ำทอดไปตามพื้นดิน หิน หรือขอนไม้ มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แต่ขนาดของใบไม่เท่ากัน ใบหนึ่งเล็กมาก ยาว 1-2 มม. ร่วงง่าย อีกใบเป็นใบปรกติ จะเห็นใบปรกติเรียงสลับกัน ใบค่อนข้างอวบน้ำ รูปใบหอก รูปรี หรือรูปรียาว กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 3-11 ซม. ปลายแหลม โคนเฉียงและเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อยหรือหยักซี่ฟัน เส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น แผ่นใบด้านล่างมีขน ด้านบนมีผลึกแคลเซียมคาร์บอเนตภายในเซลล์ของผิวใบ (cystolith) เมื่อแห้งเป็นเส้นนูนคล้ายขนกระจายอยู่ทั่วไป ก้านใบยาวประมาณ 5 มม. หูใบเป็นแผ่นบางๆ รูปไข่ปลายเรียวแหลม สีน้ำตาลแดง ยาว 0.5-1 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 5-10 ซม. มีขน ดอกเล็กมาก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย กลีบดอกมีชั้นเดียว จำนวน 4 กลีบ สีขาวอมเขียว เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่มี 1 ช่อง มีออวุล 1 เม็ด ผลแห้งเมล็ดล่อน การกระจายพันธุ์ : อินเดียและภูมิภาคอินโดจีน การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค สภาพนิเวศน์ : พบในป่าดิบตามที่ร่มชื้นหรือใกล้น้ำลำธาร 2.ตีนตั่งเตี้ย (นมแมวป่า)
ลักษณะ
ไม้พุ่มลำต้นตั้งตรงสูงได้ถึง 1. 5 เมตร ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมรูปไข่ มีขนสองด้าน ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลกลุ่ม รูปกลมรีดิบเป็นสีเขียวเวลาสุกเป็นสีแดง
สรรพคุณ
แก้ผิดสำแดง
รากเคี้ยวพ่นตากรณีโดนงูเห่าพ่นพิษ
รากผสมกับรากหญ้าคา เหง้าต้นเอื้อง หมายนา และลำต้นอ้อยแดง ทุกอย่างกะด้วยสายตาจำนวน 1 ต่อ 1 นำไปต้มน้ำให้เดือดกินตอนกำลังอุ่นๆ เป็นยาบำรุงเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะขุ่นเหลืองแดง มักมีอาการแน่นท้องกินอาหารไม่ได้ที่เรียกว่าโรคไตพิการใช้รากนมแมวป่ามาต้มในน้ำจนเดือดดื่มตอนอุ่นๆ
3.ทรายเด่น (กระเจียน)
วงศ์ ANNONACEAE
ชื่ออื่น ระไหว ( โคราช ) , ค่าสามซีก (เชียงใหม่), แคหาง (ราชบุรี), จันทน์ดง ทรายเด่น (ขอนแก่น), กะเจียน พญารากดำ (ชลบุรี), โมดดง (ระยอง), สะบันงาป่า (ภาคเหนือ), เสโพลส่า (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), เหลือง (ลำปาง) , ฝีหมอบ
ลักษณะ
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 ม. ลำต้นเปลา เปลือกเรียบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน และมักเบี้ยว ใบอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ดอก ตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลป้อม ปลายเป็นติ่ง ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดเป็นสีแสด ก้านผลเรียวเล็ก โคนก้านติดรวมอยู่บนปลายก้านช่อที่โตเป็นตุ้ม
สรรพคุณ
ราก เข้ายาสักกันงูกัด เปลือก-เข้ายาพื้นบ้านบางชนิด
ใบสด รสเฝื่อนเย็น ตำพอกฝี แก้ปวด แก้อักเสบ เนื้อไม้ รสขม ต้มน้ำดื่ม แก้วัณโรคในลำไส้ วัณโรคในปอด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดเอว แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัย ไตพิการ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ฝนกับน้ำปูนใส ทาเกลื่อนหัวฝี
มีการใช้ทรายเดนในตำรับยามะเร็งอันโด่งดังของวัดคำประมง
สมุนไพรรักษามะเร็ง ของวัดคำประมง จังหวัดสกลนคร
สูตรที่ 1 ยอดยากินแก้มะเร็งทุกชนิด
1.หัวร้อยรู
2.ไม้สักหิน
3. ข้าวเย็นเหนือ
4. โกศจุฬา
5. ข้าวเย็นใต้
6. โกฐเชียง
7. กำแพงเจ็ดชั้น
8.เหงือกปลาหมอ
9. กะเจียน ( นามผีหมอบ )
10. หญ้าหนวดแมว
11. ทองพันชั่ง
ประโยชน์
เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง ใช้ทำด้ามเครื่องมือเกษตรกรรมทั่วไป
ปุณณภา งานสำเร็จ เรียบเรียง