วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

มะยมหินFat plant แห่งเขาหินปูน

มะยมหิน

























































มะยมเงินมะยมทอง

เป็นไม้ที่เกิดตามหน้าผาบนเขาหินปูนครับ ทนแล้ง ทนแดดได้ดีมากการปลูกเลี้ยงก็ง่าย ๆ ตามธรรมชาติของเขา ดินร่วนปนหิน ไม่ต้องรดน้ำบ่อย ถ้ารดบ่อย ๆ เดี๋ยวรากเน่าตาย
ไม่ชอบน้ำขัง การบำรุงก็ไม่มีอะไรมาก ปลูกลืม ๆ ไป แต่ช่วงหน้าแล้งจะสลัดใบที้งหมด
แต่ถ้าเลี้ยงดี ๆ ก็ไม่ทิ้งใบการขยายพันธุ์ จะมีต้นใหม่งอกจากรากของต้นเดิมครับ ไม่มีเมล็ด

มะยมหินFat plant แห่งเขาหินปูน

หนอนตายหยากฤทธิ์ที่หนอนอยากตาย

หนอนตายหยาก










หนอนตายหยากต้นนี้เลื้อยอย่ในสวนพ่อสำเนา จันทวาส อำเภอวังน้ำเขียว








หนอนตายหยากเขตเขาหินปูนอำเภอปากช่อง









หนอนตายหยากต้นนี้ใบมีขนาดใหญ่มาก พบที่น้ำตกร้อน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เทียบกับฝ่ามือเด็กแปดขวบ









หนอนตายหยากตากบนสังกะสีไว้เข้าเครื่องยาของพ่อหมอที่อำเภอสูงเนิน










หนอนตายหยาก พืชในวงศ์ Stemonaceae เป็นพืชหัวที่นำส่วนของรากมาใช้ประโยชน์ พบได้ในป่าทั่วๆ ไปของประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดจีน มาเลเซีย ลาว ไทย ฯลฯ สำหรับประเทศไทยพบหนอนตายหยากได้ทั่วทุกภาค และมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น พญาร้อยหัว กระเพียดหนู ต้นสามสิบกลีบ โป่งมดง่าม สลอดเชียงคำ ฯลฯ นอกจากนั้นหนอนตายหยากในประเทศไทยยังมีความหลากหลายในชนิด (species) เช่น Stemona tuberosa Lour, Stemona collinsae Craib, Stemona kerri, Stemona berkilii, Stemona stercochin ฯลฯ
สรรพคุณ
ใช้เป็นตัวยาสมุนไพรรักษาโรคในคนได้หลากหลาย เช่น โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน มะเร็งตับ ลดระดับน้ำตาลสำหรับโรคเบาหวาน รวมทั้งริดสีดวง ปวดฟัน ปวดเมื่อย นอกจากนี้ในประเทศจีนมีการนำรากหนอนตายหยาก Stemona tuberosa Lour., Stemona sessilifolia (Miq), Stemona japonica (BJ) Miq มาใช้ในการรักษาอาการไอ โรควัณโรค ฯลฯ โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ แต่ก่อนที่จะทำเป็นยาก็มีขั้นตอนการทำลายพิษ เช่น นำรากมาล้างให้สะอาดแล้วลวกหรือนึ่งจนกระทั่งไม่เห็นแกนสีขาวในราก ต้องตากแห้งก่อนนำไปปรุงเป็นตำรับยา โดยหั่นให้มีขนาดเล็ก หรือในบางตำราจะนำไปเชื่อมกับน้ำผึ้งก่อนนำไปใช้
ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนกัดกินใบ และเพลี้ยอ่อน กำจัดเชื้อสาเหตุโรคพืช เช่น Rhizoctonia solani และ Erwinia carotovora รวมทั้งการกำจัดลูกน้ำยุง (นันทวัน และอรนุช, 2543) สารออกฤทธิ์ที่ตรวจพบอยู่ในกลุ่ม alkaloids ได้แก่ stemofoline และ 16,17-didehydro-16(E)-stemofoline สารนี้ตรวจพบในหนอนตายหยากชนิด Stemona collinsae Craib (Jiwajinda และคณะ, 2001) ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์และปลูกเลี้ยงหนอนตายหยาก นำมาขายเป็นการค้า โดยนำรากมาสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์เพื่อใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงเกษตรกร
การขยายพันธุ์ หนอนตายหยากเป็นพืชที่นำส่วนของรากมาใช้ประโยชน์ แต่เวลาที่ชาวบ้านขุดขึ้นมาขายมักติดส่วนของเหง้าที่ใช้ขยายพันธุ์มาด้วย รากที่เห็นเป็นกอใหญ่ๆ นั้น ต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะเจริญเติบโตได้ขนาดนั้น ประกอบกับหนอนตายหยากแต่ละสายพันธุ์มีการติดฝักและติดเมล็ดได้มากน้อยแตกต่างกัน ถ้าเรายังขุดหนอนตายหยากจากป่ามาใช้โดยไม่มีการขยายพันธุ์หรือปลูกเพิ่มเติม ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ง่าย วิธีการขยายพันธุ์สามารถทำได้ทั้งการเพาะเมล็ด การแบ่งเหง้า หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ประโยชน์หัวทุบผสมน้ำฆ่าเหาได้ชะงัดยิ่งนัก ใช้ปราบศัตรูพืชไม่เป็นอันตรายกับคนเหมือนกับเคมีทางวิทยาศาสตร์ โบราณใช้หัวฆ่าหนอนในกะปิ ปลาร้า

กระแตไต่ไม้กระแตไต่หิน

กระแตไต่ไม้







กระแตไต่ไม้ไต่ไล่ระดับไปกับต้นไม้ใหญ่มองเพลินตา




































กระแตไต่ไม้เสน่ห์ของเขาใหญ่












































กระแตไต่ไม้ต้นนี้พบที่ทางเข้าป่าเขาใหญ่














































กาบใบของกระแตไต่ไม้อวบสวยมีเสน่ห์จัง






















Drynaria. bonii H. Christ
ชื่อพ้อง : Drynaria meeboldii Rosenst.
ชื่ออื่น : กระปรอกเล็ก, กระแตไต่หิน, กระจ้อน , Krajont (Thai
กระแตไต่หินต้นนี้พบที่เขาตะกุดรัง อำเภอปักธงชัย









Drynaria sparsisora (Desv.) T. Mooreชื่ออื่น : กูดว่าว กูดฮอก กูดพังงา ว่านงูกวัก
กระแตกชนิดนี้เป็นเฟินเกาะอาศัยอยู่บนคาคบไม้สูง หรือพบอยู่ตามซอกหิน บนโขดหิน ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ตั้งแต่ระดับต่ำถึงระดับสูง 800 ม. MSL. มักพบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
ลักษณะทั่วไป ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ปกคลุมแน่นด้วยเกล็ดสีน้ำตาล ตอนกลางเกล็ดเป็นสีดำ ใบมี 2 แบบ
ใบปกติ sterile frond ใบนี้ไม่สร้างสปอร์ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 15-25 ซ.ม. ยาวได้ถึง 25 ซ.ม. ขอบใบเป็นแฉก หยักเว้า ลึกเข้าไปเกือบครึ่งของความกว้างจากขอบใบถึงเส้นกลางใบ แฉกเป็นรูปกึ่งสามเหลี่ยม ปลายแฉกมน ขอบเรียบ ใบนี้ทำหน้าที่เก็บสะสมความชื้นและเศษซากอินทรีย์วัตถุ
ใบสปอร์ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายแหลม หยักเว้าเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกรูปขอบขนาน ปลายเรียว ขอบเรียบ เส้นกลางใบเป็นสันนูนเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน แผ่นใบเรียบ แข็งหนา ขนาดของใบ ยาวได้ถึง 50-60 ซ.ม.กว้าง 25-35 ซ.ม. อับสปอร์มีขนาดเล็ก เป็น 2 แถว อยู่ระหว่างเส้นกลางใบ จัดเรียงตัวไม่เป็นระเบียบอับสปอร์ กระจายไม่เป็นระเบียบบนเส้นใยใบร่างแห
กระแตชนิดนี้ พบที่ภาคตะวันออก ที่เขาใหญ่ และที่ยะลา กระจายพันธุ์ใน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตเลียเขตร้อน และโพลินีเซีย


ในตำราสมุนไพรจีน เฟินสกุลนี้เป็นสมันไพรที่มีความสำคัญมากตัวหนึ่ง ใช้สำหรับบำบัดอาการป่วยเนื่องจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด โดยนำเฟินสกุลนี้ไปเข้ากับสมุนไพรตัวอื่น หรือใช้เดี่ยว นอกจากนี้นังครอบคลุมไปถึงอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว ซึ่งสรรพคุณนี้ชาวจีนโบราณค้นพบมานานร่วมพันปีแล้ว และเรียกมันว่า "Mender of Shattered Bones." เฟินสกุลนี้นำไปผสมกับ Dipsacus และอื่นๆ เพื่อใช้บำบัดอาการป่วยได้ดีนอกจากนี้ เฟินในสกุลนี้ ใช้สำหรับบำบัดอาการปวดหลังและหัวเข่า แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ในตำราสมุนไพรไทยโบราณ ใช้เหง้าต้มดื่ม แก้โรคหืดหอบ ได้อีกด้วย
เหง้าของ Drynaria มีรสขม มีสรรพคุณช่วยให้โลหิตหมุนเวียน แก้อาการมือเท้าเย็น ขยายหลอดเลือด ลดอาการเจ๊บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด แก้ไขข้ออักเสบ ปวดหลัง ปวดข้อ กระดูกแตก


อ.วุฒิ วุฒิธรรมเวชบอกว่าสรรพคุณทางสมุนไพรของกระแตไต่ไม้มีมากกว่ากระแตไต่หิน


ใช้รากฝนน้ำมะนาวกิน ทา แก้เนื้อตายจากพิษของงูเขียวหางไหม้


วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

ว่านกลีบแรดสมุนไพรที่สูญหายไปจากป่าเขาใหญ่

ว่านกลีบแรด
















































ว่านกลีบแรด Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm
ชื่อสามัญ : Giant Fern, King Fern
ชื่ออื่น : ว่านกีบแรด ว่านกีบม้า กีบม้าลม ดูกู
เวลาเดินป่าเรามักจะเจอกลุ่มเฟรินหลาย ๆ ชนิดที่แสดงความอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นของป่า อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีพืชตระกูลเฟรินขึ้นอยู่หลายชนิดหลากหลายมาก ทั้งเฟรินที่ขึ้นกับดิน เฟรินอากาศ เฟรินอิงอาศัย ว่านกลีบแรดเป็นเฟรินที่ขึ้นกับดิน ไปเดินป่าที่เขาใหญ่ครั้งหลังสุดปรากฏว่าดงเฟรินกลีบแรดหายไปหมดทั้งกอ น่าเป็นห่วงอนาคตของเฟรินในป่าจริง ๆ

เฟรินกลีบแรด เป็นเฟินดิน ชอบร่มเงา ดินร่วนโปร่งและต้องการความชุ่มชื้นในอากาศสูง
ลักษณะต้น เป็นเฟินที่มีขนาดใหญ่ มีลำต้นเป็นหัวอยู่ฝังที่ระดับผิวดิน เป็นเนื้ออวบอ้วน ที่หัวมีร่องรอยบุ๋มรอบหัว ซึ่งเกิดจากขั้วของก้านใบที่หลุดออก เหลือไว้เป็นร่อง มองดูคล้ายกีบเท้าแรด สมชื่อที่เรียกว่า กีบแรด เคยมีคนบอกว่า เห็นที่เชียงใหม่ ขนาดของหัวใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.5 ม.
หัวเหง้า หรือลำต้นของเฟินกีบแรด ลักษณะใบ มีขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง 10 ฟุต ขึ้นกับอายุและความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ก้านใบใหญ่ อวบอ้วน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน มีก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบหนา และสีเขียวดสดเป็นมันเงา เมื่อต้นยังเล็ก ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันลึก เห็นได้ชัดเจนกว่าเมื่อต้นโตมากขึ้น
สรรพคุณทางยา ราก ใช้ห้ามเลือด, หัวหรือลำต้นใต้ดิน เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน ปวดศีรษะ ขับปัสสวะ
Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm
The leaves, stem bark, stem heart wood, root and tubers of Angiopteris evecta were successively extracted with petrol, dichloromethane, ethyl acetate, butanol and methanol. All the fractions exhibited a wider spectrum of antibacterial activity. The dichloromethane and ethyl acetate fractions of the leaves and stem bark were particularly good and were the only fractions exhibiting antifungal activity. All fractions of the tuber with the exception of petrol, exhibited very good antibacterial activity.
Keywords: Angiopteris evecta; Antibacterial; Antifungal activity

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552

สาวร้อยผัวสมุนไพรมหัศจรรย์

สาวร้อยผัว




สาวร้อยผัวมีขึ้นทั่วไปตามป่าเต็งรัง ป่าช้าเก่า
จัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
รากสาวร้อยผัวหัวใหญ่มากจนนึกว่าเป็นมัสำปะหลัง
สาวร้อยผัว Asparagus racemosus Willd.
ชื่ออื่น รากสามสิบ สามร้อยราก ผักชีช้าง
วงศ์ หน่อไม้ฝรั่งASPARAGACEAE
สาวร้อยผัวเป็นสมุนไพรที่ดังมากเมื่อสองปีที่แล้ว โดยเภสัชกรหญิงดร.สุภาพร ปิติพรแห่งโรงพยาบาลเจ้าพะยาอภัยภูเบศรท่านได้ปลุกกระแสขึ้นมาต่อจากน้ำลูกยอ สรรพคุณของสาวร้อยผัวนับว่ามหัศจรรย์ที่เดียวดังจะได้คัดลอกมาจากเอกสารของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรดังนี้ ""สาวร้อยผัว คนภาคกลางเรียก "รากสามสิบ" หรือ "สามร้อยราก" คนภาคอีสานเรียก "ผักชีช้าง" ใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยยอดอ่อน ผลอ่อนรับประทานสดๆ และยังนำมาต้มหรือแกงอ่อมก็ได้เช่นกันทำให้มีกลิ่นหอมคล้ายผักชีลาว สำหรับคนภาคเหนือเรียกสมุนไพรชนิดนี้ ว่า "ม้าสามต๋อน" ใช้เป็นยาดอง ยาบำรุง สำหรับเพศชาย เพราะกินแล้วทำให้คึกคักเหมือนม้า 3 ตัวรวมกัน ส่วนที่ภาคใต้เรียก "ผักหนาม" เพราะลำต้นมีตุ่มๆคล้ายหนาม ใช้รับประทานเป็นผักกับน้ำพริกเช่นเดียวกับทางภาคอีสานนอกจากเรื่องของการนำมารับประทานแล้ว รากของสมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถนำมาทุบหรือขูดกับน้ำ ทำเป็นน้ำสบู่ซักเสื้อผ้าได้อีกด้วย หมอยาโบราณส่วนใหญ่จะรู้ว่าสาวร้อยผัวเป็นยาบำรุงสำหรับสตรี จึงมีชื่อว่า "สาวร้อยผัว" กล่าวคือไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ยังสามารถมีลูกมีผัวได้
วิธีการโดยใช้รากมาต้มกิน หรือนำรากไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง หรือทำเป็นของหวานคือ "รากสามสิบแช่อิ่ม"เป็นยาบำรุงในผู้หญิง ในการทำให้ผู้หญิงกลับมาเป็นสาว (female rejuvenation) ภาวะประจำเดือนไม่ปกติ ปวดประจำเดือน ภาวะมีบุตรยาก ตกขาว ภาวะหมดอารมณ์ทางเพศ ภาวะหมดประจำเดือน (menopause) บำรุงน้ำนม บำรุงครรภ์ ป้องกันการแท้ง (habitual abortion)ใช้ยับยั้งเบาหวาน เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ำ ลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการหัวใจโตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ขับน้ำนม ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งพิษต่อตับ เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน จึงห้ามใช้ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เช่น ผู้ป่วยโรค uterine fribrosis หรือ fibrocystic breast"
เคยถาม ๆ ชาวบ้านว่าใครทราบบ้างว่ารากสามสิบขยายพันธุ์ได้อย่างไร หลาย ๆ คนไม่ทราบเพราะเป็นพืชที่ขึ้นเองเก็บ ๆ มาใช้แต่ไม่เคยเอามาปลูก เราก็ค่อนข้างกังวลกลัวมันจะหายไปจากธรรมชาติ แล้วปลูกทดแทนไม่ได้ จนเจอพ่อสำเนาจันทวาส นักปลูกสมุนไพรแห่งอำเภอวังน้ำเขียว ไม่มีต้นไม้ชนิดไหนที่ท่านปลูกไม่ขึ้น เราไปเห็นต้นอ่อนรากสามสิบวางเรียงรายอยู่ถึงได้รู้ว่าอนาคตของรากสามสิบปลอดภัยแล้วในระดับหนึ่ง พ่อสำเนาบอกว่าปลูกไม่ยากเนื่องจากรากสามสิบเป็นพืชในวงศ์หน่อไม้ฝรั่งจึงใช้ส่วนของเมล็ดปลูก ใครสนใจก็โทรสอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์ 086-2435015
Asparagus racemosus Willd
ASPARGACEAE
Shrub,with subterranean rhizones or tuberous roots and climbing; stem with recurved, very sharp spins; reduced to narrowly linear scale, 0.5 - 1 mm. wide, 10 - 36 mm. long . Inflorescence in terminal or axillary recame; perianth white. Fruit subglobose berry , red or reaadish violet.
Root:tonic for pregnant woman ; liver and lung tonic. Whole plant or root: decoction; treatment of goiter . Preserve in heavy syrub as dessart.
โดย ศิริพร กลมกล่อม
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
เอกสารอ้างอิง

ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม. ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย.Medicinal and lucky plant of Thailand. กรุงเทพ ฯ บ้านและสวน.2551.
อุไร จิรมงคลการ. ผักพื้นบ้าน 2 Indiagenous vegetable.กรุงเทพ ฯ บ้านและสวน.2551.
Wongsatit Chuakul.Medicinal Plants in Thailand volume 2. Amarin Printing Public Co., Ltd. 1997.

ผักลืมผัวถึงชื่อน่าหวาดเสียวแต่ไม่ใช่อย่างที่คิด

ผักลืมผัว








ผักลืมผัวแม่ค้าเอามามัดขายเป็นกำตามตลาดนัดชานเมืองกำละ ๗ บาท










สัญญาว่าจะเก็บตังซื้อกล้องและศึกษาเทคนิคการถ่ายรูปให้ดีกว่านี้และจะดั้นด้นไปถ่ายจนถึงแหล่งที่มาของผักลืมผัวให้ได้ไม่เกินปีหน้ารับรอง
ผักลืมผัว Lobielia begonifolia Wall
วงศ์ Campanulaceae
ผักลืมผัวเป็นไม้น้ำพืชล้มลุกอายุสั้น พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามท้องนาในเขตภาพอีสานและภาคกลาง ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด มีขายเฉพาะช่วงฤดูฝน ใช้กินสด ๆ กับน้ำพริก ลาบ หรืออาหารรสจัดต่าง ๆ รสชาดจืดมัน ทำให้กินเพลินจนลืมเหลือไว้ให้สามี จึงเป็นที่มาของชื่อนี้ มิใช่กินแล้วสมองเสื่อมจำสามีไม่ได้
ประทับใจผักชนิดนี้เพราะเคยอ่านในหนังสือผักพื้นบ้านเล่ม ๒ ของอ. อุไร จิรมงคลการ ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องผักพื้นบ้านเป็นอย่างมาก ท่านยังพูดถึงผักลืมผัวไว้ในหนังสือของท่านว่า " ผักชนิดนี้เป็นที่นิยมในภาคอีสาน เคยได้ยินชื่อมานาน แต่ไม่เคยเห็นต้นจริงเลยเพราะหายากมาก ๆ จนพบครั้งแรกที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา " รู้สึกภูมิใจจริง ๆ น่าจะพอกล่าวได้ว่าผักลืมผัวเป็นผักประจำถิ่นของจังหวัดนครราชสีมา น่าเสียดายที่คนโคราชเองเป็นจำนวนมากก็ยังไม่รู้จักผักชนิดนี้ ใครที่มีโอกาสได้มาเที่ยวโคราชหรืออยู่ที่โคราชช่วงหน้าฝนลองแวะไปที่ตลาดย่าโม จะพบผักพื้นบ้านหลายชนิดและผักลืมผัวด้วย หรือจะแวะมาที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา วันจันทร์กับวันศุกร์ตลาดนัดชาวบ้านจะมีเอามาวางขาย แต่ย้ำว่าต้องเป็นช่วงหน้าฝนเท่านั้นนะคะ

นมสวรรค์สมุนไพรที่ใช้บำรุงน้ำนม







ต้นนมสวรรค์ชนิดดอกสีแดงที่บ้านพ่อหมออำเภอห้วยแถลง


ดอกนมสวรรค์สีสดสวยงามมากออกดอกตลอดปี







รากนมสวรรค์ใช้ร่วมกับรากโปร่งฟ้าและรากหัสคุณสูตรบำรุงน้ำนมหญิงหลังคลอดของพ่อสด ค่าบูชาครูมัดละ ๑๐ บาท




























โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา


พ่อสดหมอพื้นบ้านอดีตนักหาเหล็กไหลผู้ได้สูตรยาดีจากฝั่งลาว (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
นมสวรรค์ หรือ พนมสวรรค์ (Pagoda flower)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum paniculatum L.
ชื่อวงศ์ VERBERNACEAE
ชื่ออื่น ฉัตรฟ้า สาวสวรรค์ (นครราชสีมา) พวงพีเหลือง (เลย) หัวลิง (สระบุรี)เป็นไม้ล้มลุก มีพุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 1 เมตร พบขึ้นในที่มีน้ำท่วมขังหรือริมน้ำ ลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นเหง้าเลื้อยในแนวขนานกับพื้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 80-110 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบโตกลมคล้ายนางแย้มดอกช่อ เป็นช่อสีแดง หรือ สีเหลือง เป็นชั้นคล้ายฉัตร แทงออกจากเหง้า สีเขียวรูปทรงกระบอก ยาว 3-5 ซม. ประกอบด้วยดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น ออกดอกตลอดปี
ยอดอ่อน ใบเพสลาด จะมีกลิ่นเหม็นเขียวเล็้อย พอปรุงเป็นอาหารกลิ่นเหม็นเขียวจะหายไป โดยหั่นฝอยใส่แกงกะทิ รสหวานร้อน ใช้ใบอ่อนรองในห่อหมก
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบนมหวันสดขยี้ด้วยมือผสมกับปูน พอกนม แก้นมกลัด น้ำนมไม่ออก (ล้างออกก่อนให้เด็กกิน) ราก ตำผสมกับสุราขาวคั้นเอาน้ำทาแก้พิษ แมลงกัดต่อย ใบ แก้ลมในทรวงอก แก้พิษฝีดาษ ดอก แก้โลหิต ในท้อง แก้พิษฝีกาฬ ต้น แก้พิษตะขาบ พิษแมงป่อง ราก แก้ไข้ โลหิต แก้ไขเหนือ ขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว
Clerodendrum paniculatum Linn.
VERBENACEAE
Thai name : Norn Sawan
Erect shrub, up to 3 m high. Leaves simple, opposite, ovate, 7-38 cm wide, 4-40 cm long, 3-7-lobed. Inflorescence in terminal panicle; calyx campanulate, orange-red; corolla hypocrateriform, orange-red to scarlet. Fruit drupe, globose, green­ish blue to black.
Leaf: relieves chest pain. Flower, relieves bloody vaginal discharge, inflammation from animal and insect bites, severe infection. Root: antimalarial, carminative; relieves tuberculosis, fever. Stem: anti-inflammatory for centipede or scorpion bites or carbuncles.

เอกสารอ้างอิง
Wongsatit Chuakul.Medicinal Plants in Thailand volume 2. Amarin Printing Public Co., Ltd. 1997.

กวาวเครือขาวคุณอนันต์โทษมหันต์

กวาวเครือขาว











ลักษณะการขึ้นตามธรรมชาติของกวาวเครือขาวจะแผ่ปกคลุมดินขึ้นรวมกันเป็นแปลงใหญ่ขึ้นอยู่ตามเชิงเขา




















ใบของกวาวเครือขาวเป็นใบประกอบสามใบแบบพืชตระกูลถั่วเหมือนกวาวเครือแดงแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก























ทีมงานลองขุดดูหัวกวาวเครือขาวพบว่ากวาวเครือขาวชอบดินร่วนปนทราย





















หัวของกวาวเครือขาวในธรรมชาตอยู่ลึกลงไปประมาณครึ่งฟุตในเขตภาคอีสานหัวกวาวเครือขาวมีขนาดเล็กกว่าทางภาคเหนือมาก
กวาวเครือขาวPueraria mirifica Airy Shaw et Suvatab.
เป็นพืชตระกูลถั่ววงศ์ Leguminosae
กวาวเครือขาว เป็นไม้เถา ขึ้นกับต้นไม้หรือเลื้อยไปบนดิน ก้านใบหนึ่งมี 3 ใบใบเล็กกว่าชนิดแดง หัวคล้ายมันแกวหรือเหมือนเต้านมของผู้หญิง ขนาดของหัวจะขึ้นอยู่กับลักษณะดินการใช้ทำยาให้เลือกหัวแก่ เอามีดปาดดูจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อเปราะมีเส้นมาก
สรรพคุณ

เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุใช้ได้ทั้งหญิงและชาย (คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน)ทำให้กระชุ่มกระชวย
ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นกลับเต่งตึงมีน้ำมีนวล
ช่วยเสริมอก กระตุ้นเต้านมขยายตัว โดยเฉพาะกวาวเครือขาว
ข้อห้ามใช้แพทย์พื้นบ้านแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานกวาวเครือมากหรือต่อเนื่องกันนานเกินไป จะทำให้มีอาการเต้านมโตเกินไป เต้านมดานแข็งเป็นก้อน และทำให้เกิดเป็นลมสาน (เนื้องอกหรืออาจเป็นมะเร็ง) ที่เต้านมได้ และสำหรับผู้ชายหากรับประทานมาก จะมีเยื่อหุ้มที่อัณฑะหนาตัวขึ้นและอาจนำไปสู่การเป็นลมสาน (มะเร็ง) ที่อัณฑะได้
ในตำรายาแผนโบราณกล่าวไว้ว่า ห้ามคนวัยหนุ่มสาวรับประทาน ห้ามรับประทานของดองเปรี้ยว ดองเค็ม และควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง และห้ามตากอากาศเย็นเกินไปวกวาวเครือขาวให้ปั้นรับประทานวันละ 1 เม็ด เท่าเม็ดพริกไทย
วิกฤตของกวาวเครือขาวเช่นเดียวกับกวาวเครือแดงมีการลักลอบขุดในธรรมชาติไปเป็นจำนวนมาก เราไม่เปิดเผยแหล่งที่พบเพื่อให้มันยังคงมีเหลืออยู่ในธรรมชาติต่อไป

กวาวเครือแดงกับความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติ

กวาวเครือแดง







กวาวเครือแดงมักขึ้นเดียว ๆ เป็นเถามองเห็นชัดเจนแต่ไกลเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่อยู่บริเวณนี้อยู่ในเขตอำเภอปากช่อง







ลักษณะใบเป็นใบประกอบสามใบแบบพืชตระกูลถั่ว ใบมีขนาดใหญ่มาก

หัวกวาวเครือแดงจะชอนไชลึกเข้าไปในซอกหินเป็นการป้องกันตัวตามธรรมชาติ









เมื่อปาดดูที่ผิวเปลือกต้นและเปลือกรากจะมีน้ำยางสีแดงซึมออกมาคล้ายเลือด







ต้นนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเจอ พบโดยบังเอิญเพราะพ่อหมอพาหลงทางบริเวณเขาหินปูนเขตอำเภอวังน้ำเขียว
กวาวเครือแดง Butea superba Roxb.
วงศ์ Leguminosae
กวาวเครือแดงเป็นพืชตระกูลถั่วชอบขึ้นเป็นต้นโดดตามเขาหินปูนต้นใหญ่ในธรรมชาติจะเลื้อยขึ้นไปพาดพันไม้อื่นมองเห็นแต่ไกล เป็นพืชที่ถูกรุกรานจนต้องประกาศเป็นสมุนไพรควบคุมในปี ๒๕๔๙ เพราะต่างชาติให้ความสนใจสั่งซื้อไปเป็นจำนวนมาก มีการลักลอบขุดจนลดน้อยลงอย่างรวดเร็วในธรรมชาติแต่มีการนำไปใช้กันอย่างผิด ๆ และเกินความจำเป็นจนอาจเกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ มีโอกาสเห็นต้นกวาวเครือแดงครั้งแรกในเขาหินปูนเขตอำเภอปากช่องทำให้ทราบว่าโชคดีที่ภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนอีสานไม่ใช้พืชชนิดนี้และข่าวคราวการซื้อขายด้วยราคาแพง ๆ ยังเข้ามาไม่ถึง จึงยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้างและโดยธรรมชาติกวาวเครือแดงจะฝังรากลึกชอนไชลงไปในแผ่นหินขนาดใหญ่ที่อยู่ในธรรมชาติ กระนั้นก็ยังไม่พ้นเงื้อมมือมนุษย์ในเขตอำเภอวังน้ำเขียวมีการลักลอบขุดขายนายทุนจนปริมาณที่มีอยู่ในป่าลดลงไปอย่างรวดเร็ว
สรรพคุณ
เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุใช้ได้ทั้งหญิงและชาย (คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน)ทำให้กระชุ่มกระชวย
ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นกลับเต่งตึงมีน้ำมีนวล
จะเห็นได้ว่ามีข้อห้ามไม่ให้ใช้ในคนวัยหนุ่มสาวและขนาดที่ใช้ก็เป็นปริมาณที่น้อยมากคือกวาวเครือแดงให้รับประทานวันละ ๒ ใน ๓ ส่วนของเม็ดพริกไทย
น่าเป็นห่วงว่าวงการธุรกิจทุกวันนี้หยิบจับเอามาใช้โดยไม่สนใจจะทำตามภูมิปัญญาโบราณทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายตามที่เห็นเป้นข่าวกันอยู่เสมอ

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552



ชาฤาษี







ด้านบนสุดของเขาหินปูนที่ที่ชาฤาษีชอบขึ้น หลวงพี่ขึ้นเขาเก่งมากก้าวตามเกือบไม่ทัน กว่าจะขึ้นถึงเล่นเอาหอบแต่คุ้มค่าสวยมาก







หลวงพี่ใส่รองเท้าแตะปีนเขาต้องนับถือเลยว่าท่านเก่งมาก ในรูปท่านยืนชี้จุดที่มีชาฤาษี











บริเวณยอดเขาหินปูนมีความแหลมคมมากจนได้มา ๑ แผล ไม่รู้ว่าทำไมต้นไม้ถึงขึ้นได้













ก้มหน้าก้มตาเก็บชาฤาษีมีอยู่มากมายบนเขาหินปูน











ช่วงชาฤาษีพักตัวเหมือนแห้งตายแต่พอเจอฝนก็จะเขียวสดขึ้นมาอีก















พ่อสำเนา จันทวาสแห่งอำเภอวังน้ำเขียวเอาต้นชาฤาษีมาปลูกในกระถาง






ชาฤาษ๊ Trisepalum sp.nov.
วงศ์ GESNERIACBAB
เป็นไม้พุ่มที่ขึ้นอยู่ตามเขาหินปูน หมอพื้นบ้านนำมาทำเป็นชาชงกินบำรุงกำลังแก้อ่อนเพลีย
จังหวัดนครราชสีมามีเขาหินปูนอยู่เยอะในเขตอำเภอปากช่องและอีหลาย ๆ ผืนที่ ซึ่งพืชที่ขึ้นตาเขาหินปูนก็จะมีลักษณะเฉพาะ เขาหินปูนลูกนี้เป็นการปีนเขาครั้งแรกในชีวิตของตัวเอง ซึ่งไม่เคยชอบการปีนเขามาก่อน ตอนไต่ระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ ยอมรับว่าเหนื่อยจนหายใจไม่ทัน ผู้นำทางเป็นพระภิกษุที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่เชิงเขา ตัวเล็กๆ แต่คลองแคล่วมาก ถ้าไม่พยายามก้าวตามท่านไปติด ๆ ชั่วพริบตาเดียวท่านจะลับหายไปโดยไม่รู้ว่าไปทางซ้ายหรือขวา มีน้องคนหนึ่งในทีมงานขอพักแค่ครึ่งทางเพราะปีนต่อไม่ไหว ความยากของการปีนเขาหินปูนคือ ความคมของก้อนหินที่คมมากใช้มือเหนี่ยวตัวขึ้นไปอาจบาดจนเป็นแผลได้ง่าย ต้องโหย่ง ๆ มือแล้วใช้นิ้วดึงตัว ใช้ทั้งฝ่ามือไม่ได้จะโดนหินบาด ขึ้นไปถึงแล้วได้แต่พิง ๆ นั่งไม่ได้เพราะมีแต่หินคมๆ เหมือนขวานหินสมัยโบราณ แต่อากาศดีมาก




















เถาวัลย์หลงหลงทางกลางพนา



เจอเครือเขาหลงหรือเถาวัลย์หลงครั้งแรกที่งานมหกรรมการแพทย์ชนเผ่าวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายจัดขึ้น ตื่นเต้นมากอยากเห็นมานาน
ต้นนี้เจอที่บ้านอาจารย์หมอน้อยจังหวัดลพบุรีท่านปลูกเถาวัลย์หลงเอาไว้หน้าบ้านตามความเชื่อลูกศิษย์ลูกหาของท่านมากมายไปมาหาสู่ไม่ได้ขาด พอทักท่านว่าเป็นต้นเถาวัลย์หลงท่านมองหน้าเลย
ดอกเค้าจะมีสีขาวและอาจจะมีได้หลายสี เช่น ชมพู ม่วง
ว่ายเถาวัลย์หลง Argyreia splenden ( Hornem ) Sweet
วงศ์ CONVOLVULACEAE
ว่านเถาวัลย์หลงหรือเครือเขาหลง เป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี จุดสังเกตุคือใต้ใบมีขนสีขาวปกคลุมและดอกคล้ายผักบุ้ง เป็นไม้อาถรรพ์ของป่า ถามพรานคนไหนก้อจะรู้พิษสงของมันเป็นอย่างดี ว่าถ้าใครเดินป่าแล้วเผลอเดินข้ามต้นไม้นี้เข้าจะหลงป่าเดินวนอยู่ที่เดิมหาทางออกไม่เจอ พ่อพรานบางท่านว่าสรรพคุณนี้จะออกฤทธิ์เป็นเวลาไม่ใช่มีฤทธิ์ตลอด ท่านแนะนำให้พกหัวว่านชนิดหนึ่งไว้กันฤทธิ์ของเถาวัลย์หลง เราจำชื่อไม่ได้รู้แต่ว่าที่เขาดอยเจดีย์อำเภอเทพารักษ์มีเยอะมาก ถ้าไม่งั้นพรานบางคนใช้คาถาเบิกไพรรึบางคนก็บอกว่ารอจนครบ ๔ ชั่วโมงหมดฤทธิ์ของมันก็จะออกมาได้ แต่ถ้าข้ามกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้นก็อาจจะหลงอยู่ในนั้นตลอดไป
นี่แหล่ะคือป่าคืบก็ป่าศอกก็ป่าไม่ได้ขู่ให้ใครกลัว แต่ก่อนเข้าป่าควรศึกษาสภาพป่าและเตรียมการให้พร้อมน่าจะดีกว่า ที่สำคัญข้อห้ามในการเข้าป่ามีอะไรบ้างควรถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สนใจต้นไม้ต้นนี้เพราะตัวเองเป็นคนขี้กลัวการหลงป่า แค่อยู่ในเมืองเข้าซอยเลี้ยวสองครั้งยังเคยหลงมาแล้ว การหลงอยู่ในป่าไม่ใช่เรื่องสนุกแน่
สรรพคุณทางสมุนไพร นำต้นมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผลช่วยให้หายเร็ว
ความเชื่อและโชคราง คนโบราณเชื่อถือมาก มักจะปลุกต้นเถาวัลย์หลงไว้หน้าบ้านทำให้ค้าขายดี หากนำเถาแห้งพกติดตัวจะเป็นนะจังงังและเมตตาอีกด้วย ใครอยู่แถวสระบุรีลองไปถามซื้อดูแถวตลาดนัดการเคหะวันอังคารและวันเสาร์ที่เค้าเอาต้นไม้มาขายเราได้มาต้นหนึ่งแต่อากาศแบบนี้เค้าไม่สดชื่นเลย ว่าจะไปเอามาเพิ่มอีกซักต้น เผื่อจะมีใครหลงทางเข้ามาบ้าง 555

บัวสันโดษโดดเดี่ยวในพงไพร

ว่านบัวสันโดษ







บัวสันโดษใบน้อยแอบซุกซ่อนอยู่ข้างไม้ใหญ่
บัวสันโดษหนึ่งหัวหนึ่งก้านหนึ่งใบไม่มากไปกว่านั้นจึงเป็นที่มาของชื่อบัวสันโดษ
ลักษณะก้านใบและหัวใต้ดินของบัวสันโดษ
ว่านบัวสันโดษ Nervilia aragoana Gaudich
วงศ์ ORCHIDACEAE
ว่านบัวสันโดษเป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง ใบเดี่ยวรูปหัวใจหนึ่งหัวจะมีเพียงหนึ่งใบจึงเป็นที่มาของชื่อบัวสันโดษ แตกใบหน้าฝน พอถึงหน้าร้อนยุบใบออกดอก เห็นว่าเป็นกล้วยไม้ดินที่ทนได้ในพื้นที่ที่มีไฟป่า ในเมืองไทยมี ๙ ชนิด ชนิดที่พบก้านใบสั้นมาก อาจจะเนื่องจากเป็นป่าโปร่งไม่จำเป็นต้องยืดตัวรับแสงมากนัก
ได้ยินชื่อครั้งแรกจากพี่ชัยสิทธิ์ เฮงมีชัย หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลวังน้ำเขียว ซึ่งอำเภอวังน้ำเขียวจะอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โรงพยาบาลอยู่เชิงเขาสลัดได ช่วงหน้าฝนพี่ชัยสิทธิ์ว่าในป่าเขาสลัดไดมีเยอะแต่ไม่เห็นมาเป็นสิบปีแล้วเลยชวนกันไปสำรวจดู ลงไปตามร่องน้ำได้ไม่นานเจอรอยช้างป่ามานอนไม่เกินสองวันหักต้นไม้ไว้เป็นวงกว้างทีมงานมองหน้ากันเลิ่กลั่ก ตัดสินใจไม่เข้าไปลึกเกินร่องน้ำลัดเลาะตามแนวเพื่อย้อนออกมา จนจะพ้นป่าก้อยังไม่เจอพ่อหมอก็ไม่เคยเห็น พี่ชัยสิทธิ์ก็จำไม่ได้ว่าอยู่แถวไหน นึกภาวนาบอกกับเจ้าป่าเจ้าเขาในใจว่าลูกขอเจอเป็นบุญตาซักครั้งอย่าให้มาเสียเที่ยวเลย เดินออกมาอีกไม่เกิน ๕ เมตรจะหลุดจากแนวป่าชวนกันนั่งกินข้าวใต้ต้นไม้ ในใจรู้สึกผิดหวังเป็นกำลัง ได้ยินเสียงน้องคนหนึ่งร้องขึ้นมาว่า "นี่งัยบัวสันโดษ" โอ้แม่เจ้าไม่อยากเชื่อเลยว่าเจ้าไม้จิ๋วที่เราอุตส่าห์มุดเข้าไปหาในป่ามันจะมาแอบซ่อนตัวอยู่ตรงชายป่านี่เอง ยกมือไหว้ขอบคุณเจ้าป่าเจ้าเขาที่เมตตาก่อนมอบตัวติดพื้นเพื่อชื่นชมในความงามของมัน สัญญาว่าจะหาโอกาสมาดูตอนออกดอกอีกรอบให้ได้
สรรพคุณ เป็นสมุนไพรบำรุงกำลัง แก้โรคหัวใจ แก้จุกเสียดแน่นและแก้พิษไข้ได้ กล่าวกันว่าถ้าใครได้กินหัวว่านสันโดษนี้แล้วร่างกายจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี แต่ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าไปเอาในป่า ตลาดนัดจตุจักรก็มีมาขายลองไปเดินๆดูเพราะเห็นว่าขยายพันธุ์ได้ง่ายแตกหัวดก ช่วยๆกันขยายพันธุ์ไว้เยอะ ๆ เพราะเป็นไม้ดีมีคุณค่า ต้นจิ๋วน่ารัก ดอกสวย แถมยังซ่อนปรัชญาการอยู่อย่างพอเพียงและสันโดษในชื่ออีกด้วย
สรรพคุณ
หัว รสเฝื่อนขมเล็กน้อย แก้ช้ำใน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เคล็ดขัดยอก แก้ลม เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ฝนทาแก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ

 

กลิ้งกลางดงกลิ้งลงเขาเกลื่อนพื้นกลางดง

กลิ้งกลางดงหรือว่านพระฉิม





ต้นนี้เอาหัวมาจากเขาหินปูนเขตอำเภอปากช่องปลูกไว้ที่หน้าอาคารใบเล็กดกแต่ไม่มีลูกตอนนี้พักตัวทิ้งใบหายไปหมดแล้ว



















ตอนแรกทีมงานเข้าใจว่าเป็นต้นมันเทศ แต่จริงๆเป็นต้นกลิ้งกลางดงที่กลิ้งลงมาจากบนเขาหินปูนแล้วพระท่านเก็บๆมากองไว้










ต้นกลิ้งกลางดงเกาะขึ้นกับต้นยอพ่อหมอพื้นบ้านเอามาปลูกไว้ที่บ้านอำเภอปากช่องประมาณเดือนธค.-มค.ก้อหล่นมาเต็มพื้น





หัวของกลิ้งกลางดงที่ใช้ขยายพันธ์แค่เก็บลูกที่กลิ้งตกอยู่ตามพื้นดินวางๆไว้ตามโคนต้นไม้ถึงเวลาหน้าฝนเค้าจะงอกเป็นต้นเลื้อยขึ้นมาให้เห็น ปลุกง่ายจนเหมือนไม่ได้ปลูกแค่วางทิ้งๆไว้ตามโคนต้นไม้เลือกต้นไม้สูงๆน่าจะดีกว่าเค้าจะได้มีที่เลื้อยพันไปยาวๆ ขึ้นต้นไม้ใหญ่ใบไม่ดกไม่รบกวนไม้หลักนัก











ว่านพระฉิมออกลูกไล่ขนาดเลื้อยพาดต้นไม้ใหญ่ต้นนี้พ่อหมออำเภอวังน้ำเขียวปลูกไว้ที่บ้าน















ว่านพระฉิมหัวขรุขระสีจางกว่ากลิ้งกลางดงแต่เป็นพืชชนิดเดียวกัน




















ว่านพระฉิมหัวนี้โตเต็มที่ขนาดเล็กกว่ากลิ้งกลางดง









ว่านกลิ้งกลางดง Dioscorea bulbifera L.
วงศ์ Dioscoreaceae
เป็นไม้เลื้อยหัวใต้ดินสามารถแตกหัวย่อยตามข้อลำต้นได้ พบเห็นได้ทั่วไป ครั้งแรกเห็นที่เขาหินปูนเขตอำเภอปากช่องมันกลิ้งลงมาจากเขาแล้วพระท่านเก็บๆมากิองไว้เลยขอท่านมาเพาะพันธุ์ไว้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาไปเจออีกครั้งที่อุทยานแห่งชาติทับลานเขตอำเภอเสิงสางเก็บรูปได้ไม่ชัดอยู่บนต้นไม้สูง หลังจากนั้นเดินป่าเที่ยวไหนก้อจะเจอแทบทุกป่า เก็บเอาไปวางไว้ใต้ต้นมะม่วงโชคอนันต์บ้านแม่ที่เขาภูแลนคาจังหวัดชัยภูมิมันเลื้อยขึ้นต้นมะม่วงใบใหญ่เป็นฟุต ช่วงปีใหม่กลับไปเยี่ยมแม่ แม่บ่นว่าไม่รู้เด็กขวางก้อนอะไรเข้ามาในรั้วเต็มไปหมด เดินไปดูเป็นหัวกลิ้งกลางดงกลิ้งตามลานปูนเกลื่อนบ้าน บางหัวกลิ้งไปไกลมาก เก็บทั้งหัวเล็กหัวใหญ่ได้มาเกือบยี่สิบหัวจากต้นแม่ต้นเดียว แม่เริ่มกังวลอย่าปลูกเพิ่มนะแค่นี้ก้อเยอะแล้ว ก่อนหน้าฝนคงต้องอพยพหัวกลิ้งกลางดงมาย้ายที่ปลูกใหม่ ใครสนใจก้อส่งที่อยู่มาแบ่ง ๆกันไปขยายพันธุ์ไว้ให้ลุกหลานเราดู

สรรพคุณ นำหัวมาฝนกับว่านเพชรหึงใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬและระงับพิษร้อนเย็นได้ พกติดตัวมีโชคลาภ ถ้ากินจะช่วยให้คงกระพันชาตรี

มักมีการเรียกสับกันกับว่านสบู่เลือดจนทำให้เข้าใจผิดจริงๆแล้วถ้าดูจากชื่อก็ต้องเป็นต้นนี้
8 ธันวาคม 2553
ไม่ได้เข้ามาอัพเดทนานแล้ว อ่านข้อมูลไปเรื่อยๆจนไปเจอคนที่พาดพิงถึงเรา เค้าใช้อารมณ์แรงเหมือนกันนะ รู้สึกสะเทือนใจ เจตนาเราแค่อยากเล่าเรื่องราวไม่ให้คนลืมต้นไม้หรือคนที่ไม่รู้จักได้รู้จัก แล้วเราไม่ได้หวงรูปด้วย จะเห็นคนเอารูปเราไปใช้หลายรูปเหมือนกัน เค้าใส่อารมณ์บอกคนในเวปของเค้าว่า ว่านกลิ้งกลางดงเป็นคนละตัวกับว่านพระฉิม เหตุผลและข้อมูลอ้างอิงแน่นปั๊ก เราสนใจและตื่นเต้นมาก เพราะไม่คิดว่าโคราชจะมีมันหลายสายพันธุ์ขนาดนั้น แต่มาสะเทือนใจตรงประโยคทิ้งท้ายว่ากลิ้งกลางดงไม่ใช่ว่านพระฉิมเหมือนเวปข้างบนนั่น ไอ้เวปข้างบนนั่นมันน่าจะเป็นเวปเรามั้ง (กินปูนร้อนท้อง ) ดูเค้าโกรธมาก ยังไงเราก็ขอโทษเค้าละกันที่เจตนาดีของเราทำให้เค้าโกรธขนาดนั้น อยากจะบอกว่าเราไม่ได้มีความรู้อะไรเลย สิ่งที่เขียนไปทั้งหมด เอามาจากหนังสือบ้าง จากคำบอกเล่าของพ่อหมอบ้าง อาจมีผิดถูกแต่เราก็อยากให้เป็นข้อมูลทิ้งเอาไว้ให้พิสูจน์กันดีกว่าหายสาบสูญไปทั้งผิดและถูก อย่าโกรธเราเลยนะ เราขอโทษจริงๆที่ทำให้คุณมีอารมณ์ขนาดนั้น ตอนแรกเราว่าจะลบทิ้งแล้ว แต่เราก็มีข้อมูลยืนยันจากหนังสือ "ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย "ของอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม ที่เขียนถึงว่านกลิ้งกลางดงไว้ว่า " ว่านชนิดนี้ (กลิ้งกลางดง ) มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านพระฉิม ซึ่งแตกต่างกันที่ผิวของหัวย่อยนูนขึ้น ขณะที่ว่านกลิ้งกลางดงผิวเป็นรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม " ( หน้า 165 )
ความรู้เราน้อยมาก เราคงไม่กล้าบอกว่าใครถูกใครผิด หรือถ้าเป็นไปได้อย่าถามหาความถูกผิดกันเลย ความรู้บางอย่างมาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาชั่วชีวิตของคนคนหนึ่ง ความรู้บางอย่างมาจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เอาแค่ว่าแล้วมันจะเกิดประโยชน์เชิงสุขภาพหรือเชิงอนุรักษ์อย่างไรดีกว่า ชื่อทุกชื่อเป็นแค่สมมติทางโลก แต่สรรพคุณหรือภูมิปัญญาเป็นสิ่งทรงคุณค่าที่เกิดประโยชน์กับผู้คน ทุกคนที่รักต้นไม้ล้วนมีจิตใจอ่อนโยนและอยากเห็นโลกนี้มีสีเขียวกันทั้งนั้น สิ่งที่เราเขียนไปแย้งได้ สอนได้ แต่อย่าถึงขั้นโกรธกันเลยนะ โลกนี้ต้องการความรักและการให้อภัย เราจะเก็บความสะเทือนใจนี้ไว้เป็นบทเรียนและสัญญาว่าจะระมัดระวังมากขึ้นและแสวงหาความรู้มากขึ้น ขอบคุณค่ะ
ได้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่าไม้ที่มีหัวลอยๆอยู่ในอากาศนี้ ฝรั่งเรียกรวมๆกันว่า Air potato มีมากที่รัฐฟอลิดา อย่ากระนั้นเลยลอกมาทั้งกระบิเลยดีกว่า


Introduction

A native to tropical Asia, air potato, Dioscorea bulbifera, was first introduced to the Americas from Africa. In 1905 it was introduced to Florida. Due to its ability to displace native species and disrupt natural processes such as fire and water flow, air potato has been listed as one of Florida’s most invasive plant species since 1993, and was placed on the Florida Noxious Weed List by the Florida Department of Agriculture and Consumer Services in 1999.


Description

Air potato is in the family Dioscoreaceae, or simply the Yam Family. It is an herbaceous twining vine, growing 70 feet or more in length. Leaves are broadly cordate (heart shaped) and alternately arranged on stems. A distinguishing characteristic of air potato is that all leaf veins arise from the leaf base, unlike other herbaceous vines such as smilax and morningglories. Flowers are inconspicuous, arising from leaf axils in panicles 4 inches long, and are fairly uncommon in Florida. Vegetative reproduction is the primary mechanism of spread. This is through the formation of aerial tubers, or bulbils, which are formed in leaf axils. These vary in roundish shapes and sizes. In addition, large tubers are formed underground, some reaching over 6 inches in diameter.

Dioscorea alata or winged yam can easily be mistaken for air potato, D. bulbifera. Winged yam gets it name from its winged internodes, a characteristic feature of the species. Another difference between D. alata and D. bulbifera is the arrangement of the leaves. D. alata has opposite leaves as opposed to the alternate leaves of air potato. Winged yam grows to 30 feet, roughly half the length of the invasive species. This species of Dioscorea does not produce nearly as many bulbils as D. bulbifera. However, this species can also be considered invasive and problematic, but to a lesser extent than D. bulbifera. Although considered to be a species of yam, these plants are very toxic and should not be consumed.


Impacts

Air potato can grow extremely quickly, roughly 8 inches per day. It typically climbs to the tops of trees and has a tendency to take over native plants. New plants develop from bulbils that form on the plant, and these bulbils serve as a means of dispersal. The aerial stems of air potato die back in winter, but resprouting occurs from bulbils and underground tubers. The primary means of spread and reproduction are via bulbils. The smallest bulbils make control of air potato difficult due to their ability to sprout at a very small stage.


Management

Preventative

Prevention is a key step in the management of air potato. Bulbils are the primary mechanism of spread, and research has shown even minutely small propagules can sprout and form new plants. How these bulbils are spread is speculative, but it appears movement of contaminated brush, debris or soil is the primary mechanism. Mowers and other brush-cutting equipment may also disperse long distances, either through contaminated equipment or throwing of the bulbils during the mowing operation. Spread via birds and other animals may occur, but this has not been confirmed. Water is also a major means of dispersal, so care must be taken to first eliminate populations along water bodies where bulbils may be easily spread. In addition, extra time must be utilized after flood events, as spread may be extensive.

Cultural

Weeds such as air potato generally invade open or disturbed areas – following a burn, clearing mowing, etc., so these areas are particularly vulnerable to invasion. Therefore, a healthy ecosystem with good species diversity will help to deter infestation.

Another very important combined cultural and mechanical method is the air potato roundup. Each year many counties in Florida, including Hernando, Alachua, and Duval counties, recruit volunteers to help protect and conserve Florida’s natural areas through the removal of air potato. During the air potato round up, citizens, organizations, and local businesses get together to collect vines and bulbils. In 2003, the City of Gainesville collected 13 tons of air potato and other invasive plants (Gainesville Parks and Recreation). Removing bulbils and vines from natural areas helps prevent air potato to new areas, as well as reduces the possibility of reinfestation. In addition to collecting and removing aboveground bulbils, digging up and removing below ground tubers will help. This may be particularly useful to eliminate isolated plants/small populations – especially in areas that cannot be easily accessed or chemically treated. One of the most important control measures for air potato is the removal of bulbils and tubers.

Mechanical

Mechanical methods are limited for air potato, as control of the vines generally results in damage to the vegetation being climbed/smothered by the air potato. Burning also results in excessive damage to the native vegetation, as the fire follows the vines into the tree canopy. Mowing will help to suppress air potato, but as mentioned previously, this may increase the overall problem sue to spreading of the bulbils.

Biological

There is limited research and data on biological control of air potato.

Chemical

Chemical control is one of the most effective means of control for air potato, but single applications will generally not provide complete control. This is due to resprouting of bulbils or underground tubers. A dilution of triclopyr (Garlon 3A at 1 to 2% solution or Garlon 4 at 0.5 to 2% solution) in water can be an effective control for air potato when applied as a foliar application. Be sure to include a non-ionic surfactant at 0.25% (10 mls or 2 teaspoons per gallon of spray solution). A 2 to 3% solution of glyphosate (Roundup, etc.) can also be effective. These herbicides are systemic (move throughout plant tissue) so care must be exercised to minimize off-target damage. If air potato vines are growing up into trees or other desirable species, vines should be cut or pulled down to minimize damage to the desirable vegetation. Pulling the vines down without severing them from the underground tuber will allow the herbicide to move into the tuber and provide better control. The best time to apply an herbicide is in the spring and summer when air potato is actively growing. Be sure to allow adequate time for the plant to regrow from the winter to ensure movement of the herbicide back into the underground tuber. (As plants grow and mature, they begin to move sugars back into the roots and below-ground tubers). However, treat before the plants begin to form new bulbils. Persistence and integration of control methods will be the key to complete air potato management.


References and Useful Links

Langeland, K.A. 2003. Natural Area Weeds: Air Potato (Dioscorea bulbifera). IFAS Publication SS AGR 164. Florida Cooperative Extension Service, Agronomy Department, University of Florida.

Langeland, K.A. and K. Craddock Burks. 1998. Identification and Biology of Non-Native Plants in Florida's Natural Areas. IFAS Publication SP 257. University of Florida, Gainesville. 165 pp.