วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

กลิ้งกลางดงกลิ้งลงเขาเกลื่อนพื้นกลางดง

กลิ้งกลางดงหรือว่านพระฉิม





ต้นนี้เอาหัวมาจากเขาหินปูนเขตอำเภอปากช่องปลูกไว้ที่หน้าอาคารใบเล็กดกแต่ไม่มีลูกตอนนี้พักตัวทิ้งใบหายไปหมดแล้ว



















ตอนแรกทีมงานเข้าใจว่าเป็นต้นมันเทศ แต่จริงๆเป็นต้นกลิ้งกลางดงที่กลิ้งลงมาจากบนเขาหินปูนแล้วพระท่านเก็บๆมากองไว้










ต้นกลิ้งกลางดงเกาะขึ้นกับต้นยอพ่อหมอพื้นบ้านเอามาปลูกไว้ที่บ้านอำเภอปากช่องประมาณเดือนธค.-มค.ก้อหล่นมาเต็มพื้น





หัวของกลิ้งกลางดงที่ใช้ขยายพันธ์แค่เก็บลูกที่กลิ้งตกอยู่ตามพื้นดินวางๆไว้ตามโคนต้นไม้ถึงเวลาหน้าฝนเค้าจะงอกเป็นต้นเลื้อยขึ้นมาให้เห็น ปลุกง่ายจนเหมือนไม่ได้ปลูกแค่วางทิ้งๆไว้ตามโคนต้นไม้เลือกต้นไม้สูงๆน่าจะดีกว่าเค้าจะได้มีที่เลื้อยพันไปยาวๆ ขึ้นต้นไม้ใหญ่ใบไม่ดกไม่รบกวนไม้หลักนัก











ว่านพระฉิมออกลูกไล่ขนาดเลื้อยพาดต้นไม้ใหญ่ต้นนี้พ่อหมออำเภอวังน้ำเขียวปลูกไว้ที่บ้าน















ว่านพระฉิมหัวขรุขระสีจางกว่ากลิ้งกลางดงแต่เป็นพืชชนิดเดียวกัน




















ว่านพระฉิมหัวนี้โตเต็มที่ขนาดเล็กกว่ากลิ้งกลางดง









ว่านกลิ้งกลางดง Dioscorea bulbifera L.
วงศ์ Dioscoreaceae
เป็นไม้เลื้อยหัวใต้ดินสามารถแตกหัวย่อยตามข้อลำต้นได้ พบเห็นได้ทั่วไป ครั้งแรกเห็นที่เขาหินปูนเขตอำเภอปากช่องมันกลิ้งลงมาจากเขาแล้วพระท่านเก็บๆมากิองไว้เลยขอท่านมาเพาะพันธุ์ไว้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ต่อมาไปเจออีกครั้งที่อุทยานแห่งชาติทับลานเขตอำเภอเสิงสางเก็บรูปได้ไม่ชัดอยู่บนต้นไม้สูง หลังจากนั้นเดินป่าเที่ยวไหนก้อจะเจอแทบทุกป่า เก็บเอาไปวางไว้ใต้ต้นมะม่วงโชคอนันต์บ้านแม่ที่เขาภูแลนคาจังหวัดชัยภูมิมันเลื้อยขึ้นต้นมะม่วงใบใหญ่เป็นฟุต ช่วงปีใหม่กลับไปเยี่ยมแม่ แม่บ่นว่าไม่รู้เด็กขวางก้อนอะไรเข้ามาในรั้วเต็มไปหมด เดินไปดูเป็นหัวกลิ้งกลางดงกลิ้งตามลานปูนเกลื่อนบ้าน บางหัวกลิ้งไปไกลมาก เก็บทั้งหัวเล็กหัวใหญ่ได้มาเกือบยี่สิบหัวจากต้นแม่ต้นเดียว แม่เริ่มกังวลอย่าปลูกเพิ่มนะแค่นี้ก้อเยอะแล้ว ก่อนหน้าฝนคงต้องอพยพหัวกลิ้งกลางดงมาย้ายที่ปลูกใหม่ ใครสนใจก้อส่งที่อยู่มาแบ่ง ๆกันไปขยายพันธุ์ไว้ให้ลุกหลานเราดู

สรรพคุณ นำหัวมาฝนกับว่านเพชรหึงใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬและระงับพิษร้อนเย็นได้ พกติดตัวมีโชคลาภ ถ้ากินจะช่วยให้คงกระพันชาตรี

มักมีการเรียกสับกันกับว่านสบู่เลือดจนทำให้เข้าใจผิดจริงๆแล้วถ้าดูจากชื่อก็ต้องเป็นต้นนี้
8 ธันวาคม 2553
ไม่ได้เข้ามาอัพเดทนานแล้ว อ่านข้อมูลไปเรื่อยๆจนไปเจอคนที่พาดพิงถึงเรา เค้าใช้อารมณ์แรงเหมือนกันนะ รู้สึกสะเทือนใจ เจตนาเราแค่อยากเล่าเรื่องราวไม่ให้คนลืมต้นไม้หรือคนที่ไม่รู้จักได้รู้จัก แล้วเราไม่ได้หวงรูปด้วย จะเห็นคนเอารูปเราไปใช้หลายรูปเหมือนกัน เค้าใส่อารมณ์บอกคนในเวปของเค้าว่า ว่านกลิ้งกลางดงเป็นคนละตัวกับว่านพระฉิม เหตุผลและข้อมูลอ้างอิงแน่นปั๊ก เราสนใจและตื่นเต้นมาก เพราะไม่คิดว่าโคราชจะมีมันหลายสายพันธุ์ขนาดนั้น แต่มาสะเทือนใจตรงประโยคทิ้งท้ายว่ากลิ้งกลางดงไม่ใช่ว่านพระฉิมเหมือนเวปข้างบนนั่น ไอ้เวปข้างบนนั่นมันน่าจะเป็นเวปเรามั้ง (กินปูนร้อนท้อง ) ดูเค้าโกรธมาก ยังไงเราก็ขอโทษเค้าละกันที่เจตนาดีของเราทำให้เค้าโกรธขนาดนั้น อยากจะบอกว่าเราไม่ได้มีความรู้อะไรเลย สิ่งที่เขียนไปทั้งหมด เอามาจากหนังสือบ้าง จากคำบอกเล่าของพ่อหมอบ้าง อาจมีผิดถูกแต่เราก็อยากให้เป็นข้อมูลทิ้งเอาไว้ให้พิสูจน์กันดีกว่าหายสาบสูญไปทั้งผิดและถูก อย่าโกรธเราเลยนะ เราขอโทษจริงๆที่ทำให้คุณมีอารมณ์ขนาดนั้น ตอนแรกเราว่าจะลบทิ้งแล้ว แต่เราก็มีข้อมูลยืนยันจากหนังสือ "ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย "ของอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม ที่เขียนถึงว่านกลิ้งกลางดงไว้ว่า " ว่านชนิดนี้ (กลิ้งกลางดง ) มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านพระฉิม ซึ่งแตกต่างกันที่ผิวของหัวย่อยนูนขึ้น ขณะที่ว่านกลิ้งกลางดงผิวเป็นรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม " ( หน้า 165 )
ความรู้เราน้อยมาก เราคงไม่กล้าบอกว่าใครถูกใครผิด หรือถ้าเป็นไปได้อย่าถามหาความถูกผิดกันเลย ความรู้บางอย่างมาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาชั่วชีวิตของคนคนหนึ่ง ความรู้บางอย่างมาจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เอาแค่ว่าแล้วมันจะเกิดประโยชน์เชิงสุขภาพหรือเชิงอนุรักษ์อย่างไรดีกว่า ชื่อทุกชื่อเป็นแค่สมมติทางโลก แต่สรรพคุณหรือภูมิปัญญาเป็นสิ่งทรงคุณค่าที่เกิดประโยชน์กับผู้คน ทุกคนที่รักต้นไม้ล้วนมีจิตใจอ่อนโยนและอยากเห็นโลกนี้มีสีเขียวกันทั้งนั้น สิ่งที่เราเขียนไปแย้งได้ สอนได้ แต่อย่าถึงขั้นโกรธกันเลยนะ โลกนี้ต้องการความรักและการให้อภัย เราจะเก็บความสะเทือนใจนี้ไว้เป็นบทเรียนและสัญญาว่าจะระมัดระวังมากขึ้นและแสวงหาความรู้มากขึ้น ขอบคุณค่ะ
ได้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่าไม้ที่มีหัวลอยๆอยู่ในอากาศนี้ ฝรั่งเรียกรวมๆกันว่า Air potato มีมากที่รัฐฟอลิดา อย่ากระนั้นเลยลอกมาทั้งกระบิเลยดีกว่า


Introduction

A native to tropical Asia, air potato, Dioscorea bulbifera, was first introduced to the Americas from Africa. In 1905 it was introduced to Florida. Due to its ability to displace native species and disrupt natural processes such as fire and water flow, air potato has been listed as one of Florida’s most invasive plant species since 1993, and was placed on the Florida Noxious Weed List by the Florida Department of Agriculture and Consumer Services in 1999.


Description

Air potato is in the family Dioscoreaceae, or simply the Yam Family. It is an herbaceous twining vine, growing 70 feet or more in length. Leaves are broadly cordate (heart shaped) and alternately arranged on stems. A distinguishing characteristic of air potato is that all leaf veins arise from the leaf base, unlike other herbaceous vines such as smilax and morningglories. Flowers are inconspicuous, arising from leaf axils in panicles 4 inches long, and are fairly uncommon in Florida. Vegetative reproduction is the primary mechanism of spread. This is through the formation of aerial tubers, or bulbils, which are formed in leaf axils. These vary in roundish shapes and sizes. In addition, large tubers are formed underground, some reaching over 6 inches in diameter.

Dioscorea alata or winged yam can easily be mistaken for air potato, D. bulbifera. Winged yam gets it name from its winged internodes, a characteristic feature of the species. Another difference between D. alata and D. bulbifera is the arrangement of the leaves. D. alata has opposite leaves as opposed to the alternate leaves of air potato. Winged yam grows to 30 feet, roughly half the length of the invasive species. This species of Dioscorea does not produce nearly as many bulbils as D. bulbifera. However, this species can also be considered invasive and problematic, but to a lesser extent than D. bulbifera. Although considered to be a species of yam, these plants are very toxic and should not be consumed.


Impacts

Air potato can grow extremely quickly, roughly 8 inches per day. It typically climbs to the tops of trees and has a tendency to take over native plants. New plants develop from bulbils that form on the plant, and these bulbils serve as a means of dispersal. The aerial stems of air potato die back in winter, but resprouting occurs from bulbils and underground tubers. The primary means of spread and reproduction are via bulbils. The smallest bulbils make control of air potato difficult due to their ability to sprout at a very small stage.


Management

Preventative

Prevention is a key step in the management of air potato. Bulbils are the primary mechanism of spread, and research has shown even minutely small propagules can sprout and form new plants. How these bulbils are spread is speculative, but it appears movement of contaminated brush, debris or soil is the primary mechanism. Mowers and other brush-cutting equipment may also disperse long distances, either through contaminated equipment or throwing of the bulbils during the mowing operation. Spread via birds and other animals may occur, but this has not been confirmed. Water is also a major means of dispersal, so care must be taken to first eliminate populations along water bodies where bulbils may be easily spread. In addition, extra time must be utilized after flood events, as spread may be extensive.

Cultural

Weeds such as air potato generally invade open or disturbed areas – following a burn, clearing mowing, etc., so these areas are particularly vulnerable to invasion. Therefore, a healthy ecosystem with good species diversity will help to deter infestation.

Another very important combined cultural and mechanical method is the air potato roundup. Each year many counties in Florida, including Hernando, Alachua, and Duval counties, recruit volunteers to help protect and conserve Florida’s natural areas through the removal of air potato. During the air potato round up, citizens, organizations, and local businesses get together to collect vines and bulbils. In 2003, the City of Gainesville collected 13 tons of air potato and other invasive plants (Gainesville Parks and Recreation). Removing bulbils and vines from natural areas helps prevent air potato to new areas, as well as reduces the possibility of reinfestation. In addition to collecting and removing aboveground bulbils, digging up and removing below ground tubers will help. This may be particularly useful to eliminate isolated plants/small populations – especially in areas that cannot be easily accessed or chemically treated. One of the most important control measures for air potato is the removal of bulbils and tubers.

Mechanical

Mechanical methods are limited for air potato, as control of the vines generally results in damage to the vegetation being climbed/smothered by the air potato. Burning also results in excessive damage to the native vegetation, as the fire follows the vines into the tree canopy. Mowing will help to suppress air potato, but as mentioned previously, this may increase the overall problem sue to spreading of the bulbils.

Biological

There is limited research and data on biological control of air potato.

Chemical

Chemical control is one of the most effective means of control for air potato, but single applications will generally not provide complete control. This is due to resprouting of bulbils or underground tubers. A dilution of triclopyr (Garlon 3A at 1 to 2% solution or Garlon 4 at 0.5 to 2% solution) in water can be an effective control for air potato when applied as a foliar application. Be sure to include a non-ionic surfactant at 0.25% (10 mls or 2 teaspoons per gallon of spray solution). A 2 to 3% solution of glyphosate (Roundup, etc.) can also be effective. These herbicides are systemic (move throughout plant tissue) so care must be exercised to minimize off-target damage. If air potato vines are growing up into trees or other desirable species, vines should be cut or pulled down to minimize damage to the desirable vegetation. Pulling the vines down without severing them from the underground tuber will allow the herbicide to move into the tuber and provide better control. The best time to apply an herbicide is in the spring and summer when air potato is actively growing. Be sure to allow adequate time for the plant to regrow from the winter to ensure movement of the herbicide back into the underground tuber. (As plants grow and mature, they begin to move sugars back into the roots and below-ground tubers). However, treat before the plants begin to form new bulbils. Persistence and integration of control methods will be the key to complete air potato management.


References and Useful Links

Langeland, K.A. 2003. Natural Area Weeds: Air Potato (Dioscorea bulbifera). IFAS Publication SS AGR 164. Florida Cooperative Extension Service, Agronomy Department, University of Florida.

Langeland, K.A. and K. Craddock Burks. 1998. Identification and Biology of Non-Native Plants in Florida's Natural Areas. IFAS Publication SP 257. University of Florida, Gainesville. 165 pp.




















































































































































15 ความคิดเห็น:

  1. อยากจะขอ ว่านกลิ้งกลางดง ไว้ปลูกสักลูกสองลูก พอจะมีมั้ยครับ
    ที่บ้านมีแต่พระฉิมครับเก็บเงินปลายทางก็ได้ครับ
    โสพล ทำบุญตอบ
    31 ม.5 ต.แม่ฮ้อยเงิน
    อ.ดอยสะเก็ด
    จ.เชียงใหม่
    50220 ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. อยากได้ ทั้ง 2 ชนิดค่ะ กลิ้งกลางดงและว่านพระฉิม
    ขอช่วยค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง ให้ส่งซองไปรับที่ไหน อย่างไรคะ
    ที่อยู่จัดส่ง
    ณิชชา ยังวิลัย
    269 กม. 29 ถนนเชียงใหม่-ฮอด
    อ.สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ 50120
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  3. ต้องขอโทษมากๆเลยนะคะไม่ได้เข้ามาเช็คนานแล้วไม่คิดว่าจะมีคนสนใจ เดี๋ยวจะแบ่งไปให้ปลูกนะคะ พอดีมีหัวออกใหม่ คนละสองหัวแล้วกันนะคะ

    ตอบลบ
  4. ว่านพระฉิมกับกลิ้งกลางดงน่าจะเป็นคนละต้นกันนะคะคงเป็นไม้ในสกุลเดียวกัน แต่อยากจะทราบวิธีเพาะว่านพระฉิมค่ะ ได้มาไม่กี่หัวจากอาจารย์หมอพื้นบ้านที่ลพบุรี เพาะแล้วไม่ยอมงอกซักที กลัวจะเน่าเสียหมดค่ะ อยากอนุรักษ์เอาไว้เหมือนกันค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ว่านพระฉิมและกลิ้งกลางดงไม่ต้องปลูกค่ะ ถึงเวลาได้กลิ่นฝนเค้างอกเอง วางทิ้งๆไว้บนดินได้เลย

      ลบ
  5. ขอโทษค่ะเข้าตรงนี้ไม่ค่อยเป็นนานๆฟลุ๊คที่ กลิ้งกลางดงกับว่านพระฉิมไม่ต้องปลูกค่ะ วางทิ้ง ๆ ไว้โคนต้นไม้ใหญ่ ได้กลิ่นฝนแรกเค้าจะขึ้นเอง พอเริ่มหนาวเค้าก้อต้นแห้งตายรอฝนใหม่ค่ะ วางทิ้งไว้เลยบนดินค่ะ อย่าไปสนใจ

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. ว่านพระฉิม ปลูกอยู่ บนตึกแถวชั้น 5 ไม่รู้จะออกลูกหรือไม่ รออีก 6เดือน
    ใครมีขอ แลกกัน ว่านกลิ้งกลางดง
    ขอทราบวิธี ใช้ หรือ ดองเหล้า

    ตอบลบ
  8. ว่านพระฉิม ปลูกอยู่ บนตึกแถวชั้น 5 ไม่รู้จะออกลูกหรือไม่ รออีก 6เดือน
    ใครมีขอ แลกกัน ว่านกลิ้งกลางดง
    ขอทราบวิธี ใช้ หรือ ดองเหล้า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ว่านพระฉิมให้เลื้อยขึ้นต้นไม้เตี้ยๆจะออกผล แต่กลิ้งกลางดงต้องเลื้อยขึ้นต้นไม้สูงๆ เช่นต้นมะม่วงถึงออกผลค่ะ

      ลบ
  9. ฝานตากแห้ง บดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาอายุวัฒนะ (จริงๆ ตัวนี้ตรงกับสมุนไพรจีนกัน และแก้โรคมะเร็งด้วย) จากข้อมูลที่ผมศึกษาสมุนไพรอายุวัฒนะและว่านคงกระพัน กลับพบว่ากลุ่มนี้มีผลในการป้องกันและบรรเทาโรคมะเร็งเกือบทั้งนั้นครับ ไม่ได้มุ่งเน้น เหนียวอย่างที่คิดกัน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณมากมายค่ะ ชอบไม้กลุ่มนี้ เป็นพิเศษ Air potato เค้าเก๋ดี

      ลบ
  10. ขอบคุณข้อมูลความรู้เพิ่มเติมจากทุกท่านค่ะ จากที่เคยเห็นกลิ้งกลางดงต้องปลูกให้เลื้อยขึ้นไปบนไม้ให่ถึงจะออกลูกค่ะ ว่านพระฉิมออกลูกง่ายกว่าเพราะเลื้อยขึ้นไม้เตี้ยๆก้อออกลูกแล้วค่ะ

    ตอบลบ