วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

หนอนตายหยากฤทธิ์ที่หนอนอยากตาย

หนอนตายหยาก










หนอนตายหยากต้นนี้เลื้อยอย่ในสวนพ่อสำเนา จันทวาส อำเภอวังน้ำเขียว








หนอนตายหยากเขตเขาหินปูนอำเภอปากช่อง









หนอนตายหยากต้นนี้ใบมีขนาดใหญ่มาก พบที่น้ำตกร้อน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เทียบกับฝ่ามือเด็กแปดขวบ









หนอนตายหยากตากบนสังกะสีไว้เข้าเครื่องยาของพ่อหมอที่อำเภอสูงเนิน










หนอนตายหยาก พืชในวงศ์ Stemonaceae เป็นพืชหัวที่นำส่วนของรากมาใช้ประโยชน์ พบได้ในป่าทั่วๆ ไปของประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดจีน มาเลเซีย ลาว ไทย ฯลฯ สำหรับประเทศไทยพบหนอนตายหยากได้ทั่วทุกภาค และมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น พญาร้อยหัว กระเพียดหนู ต้นสามสิบกลีบ โป่งมดง่าม สลอดเชียงคำ ฯลฯ นอกจากนั้นหนอนตายหยากในประเทศไทยยังมีความหลากหลายในชนิด (species) เช่น Stemona tuberosa Lour, Stemona collinsae Craib, Stemona kerri, Stemona berkilii, Stemona stercochin ฯลฯ
สรรพคุณ
ใช้เป็นตัวยาสมุนไพรรักษาโรคในคนได้หลากหลาย เช่น โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน มะเร็งตับ ลดระดับน้ำตาลสำหรับโรคเบาหวาน รวมทั้งริดสีดวง ปวดฟัน ปวดเมื่อย นอกจากนี้ในประเทศจีนมีการนำรากหนอนตายหยาก Stemona tuberosa Lour., Stemona sessilifolia (Miq), Stemona japonica (BJ) Miq มาใช้ในการรักษาอาการไอ โรควัณโรค ฯลฯ โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ แต่ก่อนที่จะทำเป็นยาก็มีขั้นตอนการทำลายพิษ เช่น นำรากมาล้างให้สะอาดแล้วลวกหรือนึ่งจนกระทั่งไม่เห็นแกนสีขาวในราก ต้องตากแห้งก่อนนำไปปรุงเป็นตำรับยา โดยหั่นให้มีขนาดเล็ก หรือในบางตำราจะนำไปเชื่อมกับน้ำผึ้งก่อนนำไปใช้
ใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนกัดกินใบ และเพลี้ยอ่อน กำจัดเชื้อสาเหตุโรคพืช เช่น Rhizoctonia solani และ Erwinia carotovora รวมทั้งการกำจัดลูกน้ำยุง (นันทวัน และอรนุช, 2543) สารออกฤทธิ์ที่ตรวจพบอยู่ในกลุ่ม alkaloids ได้แก่ stemofoline และ 16,17-didehydro-16(E)-stemofoline สารนี้ตรวจพบในหนอนตายหยากชนิด Stemona collinsae Craib (Jiwajinda และคณะ, 2001) ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์และปลูกเลี้ยงหนอนตายหยาก นำมาขายเป็นการค้า โดยนำรากมาสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์เพื่อใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงเกษตรกร
การขยายพันธุ์ หนอนตายหยากเป็นพืชที่นำส่วนของรากมาใช้ประโยชน์ แต่เวลาที่ชาวบ้านขุดขึ้นมาขายมักติดส่วนของเหง้าที่ใช้ขยายพันธุ์มาด้วย รากที่เห็นเป็นกอใหญ่ๆ นั้น ต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะเจริญเติบโตได้ขนาดนั้น ประกอบกับหนอนตายหยากแต่ละสายพันธุ์มีการติดฝักและติดเมล็ดได้มากน้อยแตกต่างกัน ถ้าเรายังขุดหนอนตายหยากจากป่ามาใช้โดยไม่มีการขยายพันธุ์หรือปลูกเพิ่มเติม ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ง่าย วิธีการขยายพันธุ์สามารถทำได้ทั้งการเพาะเมล็ด การแบ่งเหง้า หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ประโยชน์หัวทุบผสมน้ำฆ่าเหาได้ชะงัดยิ่งนัก ใช้ปราบศัตรูพืชไม่เป็นอันตรายกับคนเหมือนกับเคมีทางวิทยาศาสตร์ โบราณใช้หัวฆ่าหนอนในกะปิ ปลาร้า

2 ความคิดเห็น:

  1. ต้องการรับซื้อ รากของต้นหนอนตายยาก จำนวนมาก ของแบบแห้งแล้วนะคะ
    หรือท่านใดมีข้อมูลแหล่งผลิตกรุณาติดต่อกลับมาที่ หุย 089-813-0959 ได้ทุกวัน

    ตอบลบ
  2. ตอนนี้คิดว่าหายากจริงๆค่ะ ยังไม่มีใครเพาะจริงจังนัก หรือเพาะจริงจังแต่ยังไม่มีคนนำไปปลูกลงแปลงจริงจัง รึเราไม่รู้

    ตอบลบ