วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ว่านนางกวัก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านนางกวัก รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า " ว่านนางกวัก ลักษณะลำต้นเหมือนต้นอ้อย ( บางตำราว่าลักษณะลำต้นเหมือนต้นขมิ้นอ้อย ) ยอดแดง ขอบใบแดง ใบนั้นทาบลงเข้าหาลำต้น หรือทาบลงถึงดิน ลำต้นสีแดงคล้ายสีลูกหว้าอ่อน หัวเหมือนหัวกระเทียม มีอานุภาพมาก ถ้าพบเห็นแล้วอย่าพึ่งขุด ท่านว่าให้ทำกระทง ๓ มุม ใส่ข้าว สุรา เนื้อ ปลา หมากพลู ๓ คำ พลีกรรมเสียก่อน แล้วเสกด้วยพุทธคุณ " นะโมพุทธายะ " ๓ - ๗ คาบ แล้วเอาน้ำมนต์ราดให้รอบต้น แล้วจึงขุดเอาว่านนี้ มาแกะเป็นรูปนางกวัก แล้วมาทำการปลุกเสก ก่อนจะปลุกเสกรูปนางกวักนี้ พึงจำศีลภาวนาถือความสัตย์ และทำน้ำมนต์ด้วยพุทธคุณ " อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ " ๓-๗ คาบ ชำระตัวให้ได้ ๓ วันก่อน แล้วจึงปลุกเสกด้วย " นะโมพุทธายะ " อีก ๑๐๘ คาบ แต่ต้องทำในพระอุโบสถ สรรพคุณใช้ในทางเสน่ห์มหานิยมค้าขาย ล่องหนหายตัวได้ จะปรารารถสิ่งใดก็จะสำเร็จสัมฤทธิ์ผล ( ถ้าจะทำให้เป็นเสน่ห์ให้เอาว่านนั้นมาฝนทาที่หน้าที่ตัวแล้วเสกด้วย " นะโมพุทธายะ " ๑๐๘ คาบ ถ้าจะทำเป็นล่องหนหายตัวให้เอาว่านนี้ใส่ผ้าโพกศีรษะก็จะล่องหนหายตัวได้ "
ดูจากลักษณะแล้วน่าจะหายาก ที่ขายกันในตลาดทุกวันนี้ จะเป็นต้นที่เรียกว่าว่านนางกวักใบโพธิ์ ซึ่งเป็นคนละต้นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น