อลังการมากเลยว่านนี้ ว่าแต่เกล็ดปลากระโห้มันต่างจากเกล็ดปลาอื่นยังไงเหรอ
ปลากระโห้ (Giant Barb)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Catlocarpio siamensis
ชื่อสามัญ Saimese giant carp
ชื่อไทย ปลากระโห้
ถิ่นกำเนิด ตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก นอกจากนี้ยังมีในภาคเหนือและภาคอีสาน
ขนาด มีขนาด 1-2 ม. ใหญ่สุดพบ 3 ม. น้ำหนัก 250 กก.
อาหาร แพลงตอน อาหารจำพวกพืช และ แป้ง อาหารสำเร็จรูป
การวางไข่ วางไข่ ไข่จะฟุ้งกระจายไปติดกับวัตถุใต้น้ำ
รูปร่างลักษณะ ปลากะโห้ เป็นปลามีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอยู่อันดับต้นๆ ของโลก มีพละกำลังมาก ในช่วงวัยขนาดตัวสัก 20 - 50 cm. จะเป็นช่วงที่สวยที่สุดเพราะ ผิวจะไม่คล้ำมาก ครีบในบางตัวจะเป็นสีแดงสดใสเห็นได้ชัดเจน
ปลากะโห้มีสัดส่วนของส่วนหัว 1/4 ของความยาวทั้งหมด หัวมีความกว้างพอๆกับความกว้างของลำตัว ปากกว้างอ้าได้กว้าง พังผืดปากยืดหดได้ดี เพราะมีการกินอาหารโดยการใช้ปากสูบน้ำเข้าไปมากๆแล้วกรองด้วยเหงือก มีตาขนาดเล็กใกล้มุมปาก ลำตัวกลม ค่อยข้างสั้นมีเกล็ดนับตามเส้นข้างลำตัวได้ 90-110 เกล็ด ลำตัวสีเทาเงินในขนาดเล็กสีจะคล้ำขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ครีบทุกครีบ มีขนาดใหญ่ ในปลาขนาดเล็กจะมีสีเทาอมแดง ถึงแดงสดใส และจะคล้ำขึ้นเรื่อยๆตามอายุ มีริมฝีปากหนา แก้มใหญ่ ลำตัวด้านหลังมีสีเข้มกว่าด้านท้อง ไม่มีหนวด ไม่มีฟันอยู่ในปากแต่มีฟันอยู่ที่ลำคอ ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียมีสีขาวนวลหรือชมพูอ่อน ตัวผู้มีสีเทา
นิสัย เป็นปลารักสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าปากได้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะขึ้นไปกับน้ำแล้วหากินกับแหล่งน้ำตื้น เมื่อถึงคราวจับคู่วางไข่ ตัวเมียจะว่ายน้ำนำหน้าตัวผู้แล้วจะหงายท้องขึ้น ตัวผู้จะเข้าประกบแล้วฉีดน้ำเชื้อมาผสมกับไข่
การให้อาหาร ในขนาดเล็กจะพบว่าปลากะโห้กินทุกอย่าง ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ รำข้าว อาหารสำเร็จรูป เมื่อโตขึ้นปลากะโห้จึงจะกินอาหารมังสวิรัติ ในปลาขนาดใหญ่สามารถให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลากินพืชได้ เป็นปลาที่กินอาหารได้ตลอดเวลา จากประสบการณ์ที่เลี้ยง จะนำอาหารสำเร็จรูปผสมสาหร่าย 10% มาแช่น้ำให้พองแล้วนำมาบีบปล่อยจมลงก้นตู้ ปลาจะชอบกินมากกว่า เม็ดแข็งๆ ลอยน้ำ
การเลี้ยงดูในตู้ การจัดตู้ ควรจัดให้มีพื้นที่โล่งสักหน่อย ถึงแม่ว่าประกะโห้จะไม่ค่อยว่ายพลุกพล่าน แต่ปลากะโห้เป็นปลาที่มีแรงมากเวลาตกใจอาจว่ายพุ่งชนอย่างรุนแรง ปลากะโห้เป็นปลาที่ไม่ก้าวร้าว จึงเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้ดีมาก โดยอาจเลี้ยงกับปลากินพืชด้วยกันเพื่อความสะดวกในการให้อาหาร ปลากะโห้เป็นปลาที่ชอบน้ำสะอาด มีอ๊อกซิเจนสูง และควรเป็นน้ำที่มีการไหลเวียนตลอดเวลา ในบางครั้งพบว่าปลามีความอดทนต่อสภาพเน่าเสียของน้ำได้พอใช้เลยทีเดียว แต่ปลาจะเป็นโรคเหงือกพลิก ในเวลาต่อมา ซึ่งการรักษาจะลำบากมาก เพราะฝาปิดเหงือกปลากะโห้จะอ่อนและเยื่อหุ้มเหงือกจะใหญ่มาก ถึงรักษาหายปลาก็จะไม่สวยปกติดังเดิม ดั้งนั้นควรถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปลาขนาดเล็กการถ่ายน้ำบ่อยๆทำให้ปลาโตเร็วมากและมีสีสันสดใสสวยงาม
ที่มา http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=239&action=view
ว่ากันว่าปลากระโห้ตัวใหญ่ๆ เกล็ดเกือบเท่าฝ่ามือ โอโฮ้แฮะ โลกนี้ยังมีเรื่องที่เราไม่รู้อีกเยอะแยะเลย
ข้อมูลปลากระโห้จากอีกเวป http://www.foodnetworksolution.com/vocab/word/2575/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B9%89-siamese-giant-carp
ปลากระโห้Siamese Giant Carp | |
กระโห้ (Siamese Giant Carp ) เป็นสัตว์น้ำที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร อยู่ในประเภท ปลาน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamensis
ปลากระโห้ เป็นปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง จำพวก ปลาตะเพียน
ประโยชน์ : ปลากระโห้ เนื้อใช้บริโภคเป็นอาหาร พออ่านเรื่องว่านกระโดดขึ้นมากินเนื้อ ทำให้นึกถึงวัตถุมงคลของสุดยอดเกจิองค์หนึ่งของสยามคือเสือของหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ดังจะได้คัดลอกมาจากเวปพลังจิตให้ได้อ่านกัน " เสือหลวงพ่อปาน วัดมงคลสุทธาวาส (บางเหี้ย) สุดยอดเครื่องรางแห่งสยามประเทศ ยุคสมัยของหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้น อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2411-2453 เป็นช่วงที่ท่านออกธุดงค์ เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา รวมถึงเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ยด้วยครับ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒนนิสิรธกิจ" จวบจนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา และถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2453 (รวมสิริอายุประมาณ 75 - 80 ปี) หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนั้นท่านเป็นคณาจารย์ ยุคเก่าสมัยโบราณ ถ้าผมจำไม่ผิดหลวงปู่สี วัดเข้าถ้ำบุญนาค เคยกล่าวถึงท่านไปเมื่อตอน มีคนถามท่านว่ารู้จักหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคไหม? ท่านตอบว่ารู้จักแต่หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย และกล่าวว่า "หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั่งเรือไม่ต้องแจวเรือ เรือแล่นได้เอง" หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย นั้นท่านมีชื่อเสียง ในเรื่องการสร้างตะกรุด ผ้ายันต์ต่างๆ รวมทั้งเครื่องรางประเภทอื่นๆมากหลายอย่าง ซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากมาก ใครมีต่างหวงแหนกันทุกคน การหาของแท้ๆ และทันยุคนั้น หาได้ยากเต็มทีครับ เพราะเครื่องรางที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ก็ขาดการจดบันทึกไว้ ทำให้มีผู้รู้จริงยาก และเครื่องรางของท่าน บางครั้งผู้ที่ได้ไว้ในครอบครองก็ไม่ทราบว่าเป้นของคณาจารย์ท่านใด บางครั้งจะเป็นของหลวงพ่อนก วัดสังกะสี ลูกศิษย์ ซึ่งขลังเหมือนกัน คนถูกยิงตกเรือไม่เข้ามาแล้วเหมือนกันครับ ดังนั้น เครื่องรางที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสำนักนี้ และถือเป็นสุดยอดเครื่องรางที่มีค่าบูชาสูงในอันดับต้นๆในบรรดาเครื่องรางของขลัง ของพระเกจิอาจารย์ในยุคอดีต และปัจจุบัน นั่นคือ รูปเสือลอยองค์ ที่แกะมาจากเขี้ยวเสือจริงๆ ทั้งเต็มเขี้ยวบ้าง ครึ่งเขี้ยวบ้าง มีขนาดเล็ก ใหญ่ต่างๆกัน ตามแต่ลักษณะของเขี้ยวเสือที่ได้ชาวบ้านได้มา ฝีมือการแกะเป็นลักษณะของช่างฝีมือท้องถิ่นแท้ๆ แกะให้ท่านปลุกเสกเรื่อยๆ แลดูเรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยความขลัง และดูน่าครั่นคร้าม แลดูมีตบะมหาอำนาจสูงมาก ไม่เชื่อถ้าท่านมีลองนำมามองจ้องเสือดูซิครับ แลดูน่าเลื่อมใส ศรัทธามากครับ มีเรื่องเล่ากันว่า การปลุกเสกเสือของหลวงพ่อปานนั้น ท่านจะต้องมีการเรียกธาตุ 4 คือ “นะ มะ พะ ทะ” เรียก รูป เรียกนาม ปลุกเสกจนกระทั่ง เสือนั้นเคลื่อนไหวได้ราวกับมีชีวิตจริงๆทีเดียวเชียว กำหนดอุคหนิมิต ให้เครื่องรางรูปเสือนั้นมีชีวิต โดยปลุกด้วยคาถาเฉพาะ หนึ่งในบทพระคาถาที่เคยได้รับทราบมา คือ คาถาพยัคคัง ฯ เล่ากันว่า เมื่อท่านปลุกเสกเสร็จขณะนั่งเรือไปท่านจะนำเสือนั้นเทลงคลอง จากนั้นท่านจะนำชิ้นหมูมาล่อข้างเรือ และบริกรรมคาถา สักพักเสือจะโดดขึ้นมาติดชิ้นเนื้อหมูโดยทันที เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ แจกลูกศิษย์ลูกหาได้ " ส่วนของแท้หน้าตาเป็นยังไงคงต้องไปถามเซียนพระดู เพราะราคาตอนนี้เป็นหลักหลายล้าน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น