วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

หางไหล ใครจะคิดว่าสำคัญ



โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา



เคยได้ยินชื่อหางไหลหรือโลติ๊นมาเป็นสิบๆปีแล้ว รู้ว่าเค้าใช้รากเบื่อปลา ก็แปลกใจว่าอะไรจะขนาดนั้น นึกสงสัยว่าถ้าคนกินปลานั้นเข้าไปจะเป็นยังไง ก็เป็นความสงสัยอยู่อย่างนั้น จนมาเปิดร้านขายต้นไม้ในอินเตอร์เน็ท ถึงพึ่งรู้ว่า รากหางไหลเป็นอะไรที่หายากสุด ๆ ไม่มีใครรู้จัก คนรู้จักก็มีต้นพันธุ์อยู่นิดหน่อย ในขณะที่คนสั่งที่เป็นสิบกิโลกรัม เอาไปทำวิจัยบ้าง เอาไปใช้ทำน้ำหมักกำจัดศัตรูพืชบ้าง สงสัยว่าทำไมเค้าไม่พากันปลูกต้นหางไหลไว้เยอะ ๆ ในเมื่อเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ก็อย่างว่าแหล่ะ คนส่วนใหญ่จะรำคาญไม้ชนิดนี้เพราะเค้าจะค่อนข้างอันธพาลเลื้อยเกะกะรบกวน ต้นไม้อื่น จนบ่อยครั้งต้องถูกกำจัดและทำลาย เราคงบอกได้แค่ว่าไม้ตัวนี้น่าสนใจเชิงเศรษฐกิจ เพราะปลูกง่าย ขยายพันธุ์เร็ว หายาก ได้ราคาดี เห็นว่าต้นที่มีอายุ 9 เดือนก็เริ่มใช้การได้แล้ว กลุ่มเกษตรกรแถวสระบุรี ปลูกขายเถาลำต้นเป็นล่ำเป็นสัน จำไม่ได้ว่าราคาเท่าไหร่ รู้แต่ว่าของหมดถ้าอยากได้ต้องรออีก3 เดือน ถึงมีตัดขายได้ แถมหางไหลยังมี 2 ชนิด คือ หางไหลแดง กับ หางไหลขาว เราว่าไม่มีข้อยุติตามที่เขียนไว้ในอินเตอร์เน็ทหรอก ไม่ว่าจะเป็นจำนวนใบประกอบ หรือการทุบรากนำมาละลายน้ำ แล้วยังไม่เคยเห็นหางไหลขาวเลย ทุบรากไหนมันก็เป็นสีขาวหมด แต่ใบประกอบมี 9 ใบ ตกลงมันเป็นหางไหลอะไรกันแน่ แต่ที่แน่ ๆ รากเพียงข้อเล็ก ๆ ทุบแกว่งน้ำ เทใส่บ่อปลา ยังตายหมดบ่อเหมือนเดิม

หางไหลแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris elliptica (Roxb.) Benth. วงศ์ : Leguminosae - Papilionoideaeชื่อสามัญ : ชื่ออื่น : กะลำเพาะ (เพชรบุรี); เครือไหลน้ำ, หางไหลแดง, ไหล, ไหลน้ำ (ภาคเหนือ); โพตะโกส้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); อวดน้ำ (สุราษฎร์
โล่ติ๊น" หรือมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า "หางไหล"มีศักยภาพที่จะนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูได้เป็นอย่างดี "โลติ๊น" หรือ "หางไหล" ในบ้านเรามีอยู่ 2ชนิด คือ หางไหลแดง (Derris eliptica) จะมีใบย่อย 7 ใบขึ้นไป และอีกชนิด คือ หางไหลขาว (Derrismalacecum) มีจะใบย่อย 5 ใบ พืชชนิดนี้เป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็ง (Twining shurb)
ลักษณะเป็นเถา ใบออกเป็นช่อ(Compound leaves) ดอกมีขนาดเล็ก สีแดงอ่อนเหมือนดอกถั่วลักษณะเป็นเถา ใบออกเป็นช่อ(Compound leaves) ดอกมีขนาดเล็ก สีแดงอ่อนเหมือนดอกถั่ว
การใช้ประโยชน์โล่ติ๊น การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารพิษในโล่ติ้น นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่าเมื่อพ่นบนตัวแมลง สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ ทำให้แมลงตายได้ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง การใช้สารพิษอาจใช้ในรูปของสารละลายหรือในรูปผง ถ้าใช้ในรูปผงจะมีประสิทธิภาพใน การฆ่าหมัด เห็บ ไรไก่ ปลวก แมลงวัน เรือด เพลี้ยอ่อนบางชนิด หนอนเจาะผัก มวนปีก แก้ว ด้วงเต่าแตง ด้วงหมัดผัก เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหนอนเจาะกะหล่ำปลี และศัตรูพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น สารพิษในโล่ติ้นสามารถใช้พ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชเพราะสารนี้เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากพืช สลายตัวเร็ว ไม่มีผลตกค้างในพืชอาหารและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโล่ติ๊นเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินแล้วยังใช้ ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดิน และป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย วิธีใช้ทางการเกษตร ใช้รากที่ทุบแล้ว 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ปีบ แช่ไว้ 2 วัน สังเกตว่าน้ำที่แช่โล่ติ๊นขุ่นขาว คล้ายน้ำซาวข้าว กรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดแปลงพืชผลในช่วงที่มีแดดอ่อน เพื่อฆ่าหนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังใช้ฆ่าเหา เรือด และเบื่อปลา กุ้ง หอย ปู เพื่อเตรียมสระเลี้ยงสัตว์น้ำ วัยอ่อนเป็นอย่างดีการใช้ประโยชน์โล่ติ๊น การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารพิษในโล่ติ้น นอกจากจะมีคุณสมบัติในการเบื่อปลาแล้ว ยังพบว่าเมื่อพ่นบนตัวแมลง สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ ทำให้แมลงตายได้ หรือใช้ในรูปของสารไล่แมลง การใช้สารพิษอาจใช้ในรูปของสารละลายหรือในรูปผง ถ้าใช้ในรูปผงจะมีประสิทธิภาพใน การฆ่าหมัด เห็บ ไรไก่ ปลวก แมลงวัน เรือด เพลี้ยอ่อนบางชนิด หนอนเจาะผัก มวนปีก แก้ว ด้วงเต่าแตง ด้วงหมัดผัก เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหนอนเจาะกะหล่ำปลี และศัตรูพืชผักต่าง ๆ เป็นต้น สารพิษในโล่ติ้นสามารถใช้พ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชเพราะสารนี้เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากพืช สลายตัวเร็ว ไม่มีผลตกค้างในพืชอาหารและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโล่ติ๊นเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินแล้วยังใช้ ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดิน และป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย วิธีใช้ทางการเกษตร ใช้รากที่ทุบแล้ว 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ปีบ แช่ไว้ 2 วัน สังเกตว่าน้ำที่แช่โล่ติ๊นขุ่นขาว คล้ายน้ำซาวข้าว กรองเอาแต่น้ำ นำไปฉีดแปลงพืชผลในช่วงที่มีแดดอ่อน เพื่อฆ่าหนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังใช้ฆ่าเหา เรือด และเบื่อปลา กุ้ง หอย ปู เพื่อเตรียมสระเลี้ยงสัตว์น้ำ วัยอ่อนเป็นอย่างดี
หางไหลแดง สมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris elliptica (Roxb.) Benth.ชื่อสามัญ : Tuba root, Derrisวงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAEชื่ออื่น : กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ, ไหลน้ำ (ภาคเหนือ) โพตะโกส้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ศาสตร์ : ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 22.5-37.5 ซม. ใบย่อย 9-13 ใบ รูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 7.5-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม หลังใบเกลี้ยงท้องใบมีขน ดอกช่อกระจะ ยาว 22.5-30 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 6 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูประฆังมีขน กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีชมพู หายากที่เป็นสีขาว ยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบล่างรูปโล่ เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว รังไข่มีขนอุย ฝักรุปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 2 ซม. ยาว 3.5-8.5 ซม. ตะเข็บบนแผ่เป็นปีก มีเมล็ด 1-4 เมล็ดส่วนที่ใช้ : เถาสด แห้ง หรือราก ต้นสรรพคุณ : ยารักษาเหา หิด ยาสำหรับใช้เบื่อปลา ฆ่าแมลง ไล่แมลง ขับระดูสตรีและบำรุงโลหิต เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต วิธีและปริมาณที่ใช้รักษาเหา หิดใช้เถาสดยาว 2-3 นิ้วฟุต ตำให้ละเอียดผสมน้ำมันพืช ชะโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จึงสระให้สะอาด ควรสระติดต่อกัน 2-3 วัน ให้สะอาดจริงๆ ยาฆ่าแมลง เบื่อปลาใช้เถาแก่สด แห้ง หรือจะใช้รากก็ได้ (จำนวนที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่และแมลง) ทุบให้แตกมากๆ แช่ลงในน้ำ น้ำจะขาวเช่นน้ำซาวข้าว ใช้น้ำนั้น- ฆ่าแมลง (ซึ่งปลอดภัยต่อผู้ใช้)- เบื่อปลา (ปลาที่เบื่อโดยวิธีนี้ใช้เป็นอาหารได้)หมายเหตุ : เนื่องจากสารพิษที่อยู่ในหางไหลนั้น ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นเช่นคน จึงใช้ได้ดี ทั้งสารนี้สลายตัวได้ง่าย ไม่ติดค้างอยู่บนพืชผัก เหมือนสารสังเคราะห์พวก ดี.ดี.ที. ใช้ผสมกับยาอื่นๆ เป็นยาขับระดูสตรีทางจังหวัดสุโขทัย ใช้เถาหางไหลแดงตากแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ดองสุรารับประทานเป็นยาขับและบำรุงโลหิต เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต

จริงๆ แล้วหางไหลมีทั้งคุณและโทษ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง อยู่บ้าง แต่ยังคงเป็นพืชที่น่าสนใจ ที่ควรมีการนำมาพัฒนาแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หามาปลูกกันไว้เถอะ อีกไม่นานโลกทั้งโลกจะต้องเข้าสู่ยุคแห่งการพึ่งพาตนเองเต็มรูปแบบแล้ว

ปุณณภา  งานสำเร็จ  เรื่อง/ภาพ

1 ความคิดเห็น:

  1. พี่สนใจเรื่องผมขอแนะนำบอร์ดมาแชร์ความรู้กันเรื่องพืช
    www.fooplant.com

    ตอบลบ