วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

นมวัว รสชาติดีในป่า อลังการไม้พุ่มรอเลื้อย

โดย ปุณณภา  งานสำเร็จ
ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย  จังหวัดนครราชสีมา




ความสุขของชาวบ้าน

รูปนี้ต้องเป็นรูปสุดท้ายแต่ขี้เกียจเรียง ทำไม่เป็น รู้แต่ว่าเค้าอร่อยดี
กิ่งเค้kยาวพาดไปมา กินบริเวณไม่ใช่น้อย



ลูกเค้าเหมือนมะปราง ขนาดก็พอ ๆ กัน



สีส้มสดใส ยั่วน้ำลายดีจัง


ใบเขียวสดปลายใบมน
เราชอบเข้าไปนั่งซุกหมกตัวอยู่ตามร้านขายหนังสือเป็นเวลานาน ๆ ด้วยไม่มีเงินจะซื้อได้ทุกเล่ม เวลาทุกข์มากก็จะมุดอยู่ในซอกธรรมะ จนไปเจอกับหนังสือที่พูดถึงหลวงปู่เจี๊ยะ ชื่นชมท่านมาก บางทีอ่าน ๆ ไปทั้งขำทั้งตื้นตันนำตาคลอ พึ่งจะรู้ว่า พระอรหันต์ที่แท้ มิใช่ดูเพียงภายนอก ต้องสัมผัสให้ลึกถึงธรรมะ อันบริสุทธิ์ในใจท่าน สาธุ สาธุ สาธุ

อำนาจผ้าขี้ริ้วห่อทอง
หลวงปู่เจี๊ยะ พระผู้นิยมแต่ผ้าเก่า ๆ จีวร สบง อังสะ ปะ ๆ ชุน ๆ บาตรใบเดียว กลดหลังเดียว ผ้ากลดผืนเดียว กล่องเข็มกล่องเดียว ใช้ตั้งแต่วันบวชจนกระทั่งวันตาย ยินดีเพียงบริขารที่มี ไม่เสาะแสวงหา ผู้เป็นตำนานผ้าขี้ริ้วห่อทอง สาวกของพระศาสดา ศิษย์ก้นกุฏิท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระสหายของสมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) สหธรรมิกหลวงตามหาบัว ญาณสมปนฺโน อันเตวาสิกท่านพ่อลี ธมฺมธโร คุณธรรมเติบใหญ่ความดีปรากฏเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ณ บัดนี้แล้ว
ชีวิตจบบริบูรณ์
ชีวิตของหลวงปู่เจี๊ยะ จนฺโท เบื้องต้นเรียนจบพรหมจรรย์ ท่ามกลางมีวัตรปฏิบัติที่งดงามอาจหาญท้าทาย ที่สุดเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ท่านบริบูรณ์ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด...เป็นชีวิตที่งามยิ่ง
เบื้องหลังชีวิตที่ท่านจากไป คือ ตำนานที่ต้องเล่าขานไม่รู้จบ
วัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามที่เป็นหลักเป็นฐานมั่นคง
ภูริทัตตเจดีย์ สำหรับบรรจุทันตธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ผู้เป็นบูรพาจารย์
เป็นผลงานที่ท่านภูมิใจเป็นที่สุด เพราะนั่นคือ “อาจริยบูชา”
ประวัติ ปฏิปทา คติธรรม ของหลวงปู่เจี๊ยะ อาจจะแตกต่างจากพระกรรมฐานรูปอื่นในแง่ปลีกย่อย แต่หลักใหญ่แล้วเป็นเอกเทศ ท่านไม่กว้างขวางเรื่องปริยัติธรรมภายนอก รอบรู้เฉพาะเรื่องจิตตภาวนา อันเป็นธรรมภายใน ท่านปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว คำสอนของท่านก็เป็นประเภทปัจเจกะเฉพาะตน เพราะท่านมุ่งเน้นทางด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับท่านมีบารมีธรรมที่บ่มบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน เป็นสิ่งที่ช่วยเกื้อหนุนอยู่อย่างลึกลับ การปฏิบัติของท่านจึงนับว่า รู้เร็วในยุคปัจจุบันสมัย ที่มนุษย์มีกิเลสหนาขึ้นโดยลำดับ
ท่านจึงเป็นแบบอย่างทางสงบแก่โลก ที่ระงมปนเปื้อนไปด้วยกองทุกข์นานาประการ ท่านสอนให้พวกเรามองอะไร ไม่ควรมองแต่ด้านเดียว การมองอะไรไม่เพียงใช้สายตาเป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น แต่ต้องใช้แววตา คือ ปัญญาเป็นเครื่องประกอบการตัดสินใจ ในการมองโลกและธรรม
เพราะผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรมองข้ามปมคำสอนเพียงเพราะสายตาเท่านั้น ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงสว่างแก่โลก ย่อมไม่ละเลยทั้งกอไผ่และภูเขา
เพราะไม่มีใครเลย ที่จะมีความดีความชั่วเพียงอย่างเดียว แม้ดอกบัวที่มีกลีบงามละมุนก็ยังมีก้านที่ขรุขระ
ดุจแผ่นดิน ไม่มีใครอาจทำให้เรียบเสมอกันได้หมด ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ ฉันนั้น
ในความดี ในความเป็นพระที่ดี ก็ย่อมมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ข้อบกพร่องมันไม่เป็นที่เสียหายต่อส่วนรวมตลอดจน ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อบกพร่องนั้นก็ควรเป็นข้อยกเว้น ไม่ควรตามตำหนิให้มากความ เช่นเดียวกับในดวงจันทร์แม้จะมีตำหนิเป็นจุดดำ ๆ อยู่ตรงกลางดวง แต่ชาวโลกก็ไม่ควรไปสนใจตามตำหนิอะไรมากนัก
หลวงปู่เจี๊ยะท่านจึงเป็นผู้มีจิตอิสระมานาน ไม่เกี่ยวเกาะยึดติดพัวพันในบุคคล กาล สถานที่การปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นที่ผลการปฏิบัติมากกว่ารูปแบบแห่งการปฏิบัติ เพราะนี่เป็นนิสัยสะท้านโลกาและปฎิปทาที่เป็น ปัจจัตตัง ยากที่ใคร ๆ จะเลียนแบบได้ ท่านจึงเป็นสัตบรุษ พุทธสาวก ที่หาได้โดยยากยิ่ง สมดังพุทธภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ทุทฺทนํ ททมานานํทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ
อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติสตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
สัตบุรุษให้ในสิ่งที่บุคคลอื่นให้ได้ยาก กระทำในสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำตามได้ยาก
คนที่ไม่ดีจริง ไม่แกร่งจริง ย่อมทำตามท่านไม่ได้
เพราะกรรมของสัตบรุษ ยากที่คนไม่ดีจะประพฤติตามได้
สนฺตกาโย สนฺตวาโจสนฺตมโน สุสฺมาหิโต
วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุอุปสนฺโตติ วุจฺจตีติฯ
ภิกษุผู้มีกาย วาจาสงบ ยังไม่นับว่าเป็นผู้สงบแท้ แต่ผู้ที่มีกาย วาจา และใจสงบนั้นแล เราตถาคตจึงเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นผู้สงบอย่างแท้จริง และเป็นผู้คลายจากความลุ่มหลงในโลกทั้งปวงฯ
คาถาหลวงปู่เจี๊ยะ
วันไหนท่านปวดที่ขา ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวหรือเจ็บปวดในที่อื่นใดก็ตาม ท่านก็จะให้ผู้ที่ดูแลท่องคาถาเป่าให้ท่าน ท่านบอกว่าเป็นคาถาดี โดยให้ท่องว่า
“นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา”
“ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่านผู้หลุดพ้นทั้งหลาย
ความนอบน้อมจงมีแก่ธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นทั้งทลาย”

ต้นนมวัวจากป่าชุมชนอำเภอห้วยแถลง
เราไม่แน่ใจนักว่ามันเป็นตัวเดียวกับที่โพสต์ในอินเตอร์เน็ทของคนอื่นๆรึเปล่า เพราะเราไม่ใช่นักพฤกษศาสตร์หรือนักอนุกรมวิธาน สงสัยเพราะว่าต้นที่เราเห็นผลเค้าเดี่ยวๆ ไม่เห็นเป็นพวงเลย แต่ชาวบ้านก็เรียกนมวัว และรสชาติอร่อยกว่า นมควายที่เคยกิน ที่เป็นพวงอันนั้นฝาดมาก อันนี้รสเหมือนมะปรางหวานนะเราว่า น่าจะเป็นคนละต้นกัน เพราะเมล็ดเป็นเมล็ดเดี่ยวใหญ่ ๆ ด้วยนะ

ชื่อที่เรียก ต้นนมวัว

ชื่ออื่นๆ หมากผีผ่วน,ผีผ่วนนมแมว(ภาษากลาง) นมวัว (พิษณุโลก กระบี่) พีพวน (อุดร) บุหงาใหญ่(ภาคเหนือ

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยมีความสูง 5 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือ รูปไข่ผิวใบมีขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 4.5-10 ซม. ดอกจะออกเป็นกระจุก 2-3 ดอก ที่กิ่งก้าน กลีบดอกสีแดงเข้ม กลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือรูปไข่กลับ เมื่อสุกมีสีแดงสด การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ประโยชน์

แก่นและราก ต้มดื่ม แก้ไข้ซ้ำ ไข้กลับ เนื่องจากกินของแสลง ราก แก้ผอมแห้งแรงน้อย สำหรับสตรี ที่อยู่ไฟไม่ได้หลังคลอดบุตรและช่วยบำรุงน้ำนม ผล ตำผสมกับน้ำ ทาแก้เม็ดผดผื่นคัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Uvaria rufa Bl.
ชื่อวงศ์ Annonaceae
ปุณณภา งานสำเร็จ  เรื่อง/ภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น