ศูนย์ศึกษารวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย จังหวัดนครราชสีมา
ชี้ชัด ๆ ไม้เปลือกขี้เหร่ แต่ดอกสวยหอม สรรพคุณทางยามากคุณค่า นี่แหล่ะของจริง คนจริง พะงาดล่ะ
ดูกันชัดๆเปลือกต้นพะงาด เห็นที่ไหนก็จำได้
ดอกสวยน่ารักลีลาไม่เป็นรองใครเลยนะ
ดอกสวยน่ารักลีลาไม่เป็นรองใครเลยนะ
ดอกสวยน่ารักมีเสน่ห์ เห็นแล้วมีความสุข ยิ่งถ่ายรูปยิ่งสวยมาก ละลานตาไปทั้งชายป่า
ก็ดูเค้าซิ ไหม้ดำซะขนาดนี้ เป็นจุดสังเกตง่าย ต้อนรับแขกผู้มาเยือนตั้งแต่ชายป่าเลย
วันนี้รู้สึกท้อแท้สิ้นหวังทั้งวัน ไม่อยากมีวันพรุ่งนี้ ไม่อยากตื่นขึ้นมาอีก คิดถึงแม่มาก เรามาทำอะไรอยู่ตรงนี้แล้วปล่อยให้แม่อยู่คนเดียว ไม่อยากทำอะไรเลย เข้าไปดูประวัติพระอริยะเจ้าและเพลงส่งนางฟ้ากลับสวรรค์ เพลงรูปที่มีทุกบ้าน ต้นไม้ของพ่อ และอีกหลายๆ เพลง จนนึกได้ว่าทำไมเราถึงมาอยู่ตรงนี้
เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ได้เดินป่าที่อำเภอห้วยแถลง เป็นป่าชุมชน จริงๆป่าแบบนี้เรียกหรูๆว่าเดินป่าก้อดูเหมือนจะพูดคำใหญ่ไปหน่อย เค้าเป็นป่าจริง ๆ แต่เดินง่ายเหมือนเดินเล่นตามคูคันนา ไม่ได้โลดโผนพิศดารอะไร แต่ได้สัมผัสกับชีวิตของผู้คน และซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้าน
เจอไม้เจ้าเสน่ห์ต้นนี้อยู่ชายป่าแย่งกันออกดอกแบบไม่หวงเนื้อหวงตัว สนุกไอ้ส้มมันเก็บภาพ เราเจอเค้าบ่อยแต่ไม่เคยเจอตอนออกดอกเลยไม่รู้ว่าไม้ผิวเปลือกแสนขี้เหร่ต้นนี้ ดอกสวยหวานมีเสน่ห์สุด ๆ เค้าคือ พะงาด หรือ เหมือดแอ่ หรือพลองเหมือด ไม้ที่ลำต้นจำง่ายเพราะเหมือนพึ่งโดนไฟไหม้ แถมดอกกะจิริดเป็นสีน้ำเงินอีก เฮ้อ... ชีวิตพอมีบำเหน็จอยู่บ้างเหมือนกันนะ
ชื่อท้องถิ่น:พะงาด เหมือดแอ เหมือดจี้ พลองขี้นก เหมือดฟอง
ชื่อสามัญ:Mueat chi
ชื่อวิทยาศาสตร์:Memecylon scutellatum
ชื่อวงศ์:MELASTOMACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:
ต้น เป็นไม้พุ่มต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงถึง 9 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลดำ แตกขรุขระเป็นร่องยาวตามต้น
ใบใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบเรียบ ปลายใบแหลม ขอบใบขนาน สีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอกดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง
ผลผลเป็นผลเดี่ยว กลมแป้น ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีม่วง หนึ่งผลมี 1 เมล็ด
ปริมาณที่พบ:ปานกลาง
การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:ใบอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับอาหารจำพวกลาบ ยำผลสุก รับประทานเป็นผลไม้
รส ฝาด มัน ผลสุก รสหวาน
ชื่อสามัญ:Mueat chi
ชื่อวิทยาศาสตร์:Memecylon scutellatum
ชื่อวงศ์:MELASTOMACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:
ต้น เป็นไม้พุ่มต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงถึง 9 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลดำ แตกขรุขระเป็นร่องยาวตามต้น
ใบใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบเรียบ ปลายใบแหลม ขอบใบขนาน สีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอกดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง
ผลผลเป็นผลเดี่ยว กลมแป้น ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีม่วง หนึ่งผลมี 1 เมล็ด
ปริมาณที่พบ:ปานกลาง
การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:ใบอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับอาหารจำพวกลาบ ยำผลสุก รับประทานเป็นผลไม้
รส ฝาด มัน ผลสุก รสหวาน
สรรพคุณ
ใบมีรสสุขุม(ขมเฝื่อนหอม) ปรุงยาทาแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวกไม่ทำให้เกิดแผลเป็น ดับพิษปวดแสบปวดร้อน
เนื้อไม้,รากมีรสสุขุม ฝนหรือต้มดื่มแก้ไข้ ถอนพิษผิดสำแดง ดับพิษร้อน แก้ไข้พิษ ไข้หัดและดับพิษภายในต่าง ๆ
ตำรับรักษาอาการเมาเหล้า แก้พิษผิดสำแดง แก้เมาเบื่อ ของพ่อสมนึก อ.ปักธงชัย
รากเปล้าใหญ่ กับรากพะงาด ฝนน้ำซาวข้าวกิน
นอกจากนี้ชาวบ้านนิยมใช้กิ่งพะงาดทำค้างแตง อันนี้ไม่เห็นด้วยอย่างแรง ไม่คุ้มค่าเลย ใช้ไผ่ก็ได้นี่
คงพอนึกภาพออกว่าสมัยก่อนที่อีสานถูกกั้นด้วยดงพญาไฟ ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเมืองกรุงได้ง่าย ๆ เวลามีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ผู้คนรุ่นปู่ย่าตาทวด ท่านรักษาตัวและลูกหลาน จนสืบทอดเผ่าพันธุ์กันมาด้วยภูมิปัญญาที่มีอยู่รอบตัวในธรรมชาติเหล่านี้ ใครที่คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่เพียงเพราะสวมหัวโขนจอมปลอมที่สมมติกันขึ้นมาเฉย ๆ น่าจะมองดูผู้ยิ่งใหญ่ตัวจริง คือธรรมชาติ ที่อ่อนน้อม ถ่อมตัวและมีเมตตากับทุก ๆ ชีวิตเอาไว้ จะได้ไม่ตายไปกับความหลงอนธกาล
ปุณณภา งานสำเร็จ เรื่อง
ธัญลักษณ์ แก้ววงษา ภาพ
ธัญลักษณ์ แก้ววงษา ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น