ว่านพระอาทิตย์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านพระอาทิตย์ ลักษณะใบเขียว มี ๓ ใบดุจใบระกำที่พึ่งแย้มออก ก้านใบนั้นมีสีแดงดังปากนกแขกเต้า หัวกลม เมื่อผ่าออกมีสีเขียวดังคราม กลางนั้นขาว ริมขอบดำ ท่านว่าเมื่อจะขุดเอาว่านนี้ต้องดูฤกษ์ดียามดีเสียก่อนให้ชำระร่างกายนุ่งห่มให้สะอาด เมื่อพระอาทิตย์ทอแสงขึ้นจงลงมือขุดเอาว่านนี้ แล้วเอาไปบูชากราบไหว้ขอความศิริมงคล แต่ว่านนี้จงแกะเป็นรูปพระนารายณ์๔กร แล้วเสกด้วยมนต์คาถานี้ "อมมหาวินากัสสะรัตสะปูชิโตสวาหะ" ให้ได้๑๐๐๐คาบ สรรพคุณเอาว่านนี้ใส่ในผ้าแล้วโพกศีรษะ จะไปทุกสารทิศใดย่อมมีชัยชนะศัตรูเสมอ"
พึ่งรู้ว่านกแขกเต้าหน้าตาเป็นอย่างนี้ เหมือนนกแก้วเลย
วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ว่านพระนารายณ์รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระนารายณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระนารายณ์ ลักษณะลำต้นขึ้นตรง ก้านใบเขียวขอบใบแดง มีดอกในเดือน ๑๐ ข้างขึ้นเพ็ญดอกนั้นแดงดุจดอกหงอนไก่ หัวนั้นเมื่อผ่าออกมีสีขาว ท่านว่าเมื่อขุดว่านนี้ให้จัดทำเครื่องสักการะบูชาเสียก่อน ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วเอาว่านนี้มาบูชา จนถึงวันเดือนดับให้เอาว่านนี้มาแกะเป็นรูปพระนารายณ์๔กร มือขวาถือดอกบัว มือขวาล่างถือสังข์ มือซ้ายบนถือจักร มือซ้ายล่างถือตรี แล้วเสกมนต์นี้ "โอมนะรายยะ เทวสังสิ ฤทธิเดชะ ชัยยังกะโร โหติริทิริทิริริติ นะตะวาจะมะหา มันตะละมุวาสสวาอิเม " เสกมนต์นี้ให้ได้ ๑๐๐๐ คาบ แล้วใส่ตลับนพคุณไว้ ใส่ในผ้าโพกศีรษะไปแห่งหนใด เทวดาจะคุ้มครองรักษา ศัตรูจะทำอันตรายเรามิได้ เป็นเสน่ห์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง"
"ว่านพระนารายณ์ ลักษณะลำต้นขึ้นตรง ก้านใบเขียวขอบใบแดง มีดอกในเดือน ๑๐ ข้างขึ้นเพ็ญดอกนั้นแดงดุจดอกหงอนไก่ หัวนั้นเมื่อผ่าออกมีสีขาว ท่านว่าเมื่อขุดว่านนี้ให้จัดทำเครื่องสักการะบูชาเสียก่อน ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วเอาว่านนี้มาบูชา จนถึงวันเดือนดับให้เอาว่านนี้มาแกะเป็นรูปพระนารายณ์๔กร มือขวาถือดอกบัว มือขวาล่างถือสังข์ มือซ้ายบนถือจักร มือซ้ายล่างถือตรี แล้วเสกมนต์นี้ "โอมนะรายยะ เทวสังสิ ฤทธิเดชะ ชัยยังกะโร โหติริทิริทิริริติ นะตะวาจะมะหา มันตะละมุวาสสวาอิเม " เสกมนต์นี้ให้ได้ ๑๐๐๐ คาบ แล้วใส่ตลับนพคุณไว้ ใส่ในผ้าโพกศีรษะไปแห่งหนใด เทวดาจะคุ้มครองรักษา ศัตรูจะทำอันตรายเรามิได้ เป็นเสน่ห์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง"
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ว่านพระยานกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยานกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยานก ชนิดหนึ่งลักษณะดุจดังต้นตาล ใบคล้ายใบมะตาด สรรพคุณเอายางกับเปลือกมาต้มกินแก้โรคกษัยดีนัก บางตำราว่าอีกชนิดหนึ่งลักษณะลำต้นคล้ายกับต้นไม้ท้าวยายม่อม ใบเหมือนใบคนทีสอ ดอกเหมือนดอกซิลชี้ หัวเหมือนเกล็ดของปลากระเพียน สรรพคุณท่านว่าให้รักษาว่านนี้ให้ดี จะนึกหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะได้สมดังความปรารถนา"
เอาละสิ อะไรมันจะเยอะขนาดนี้ ลำพังต้นท้าวยายม่อมหรือไม้ท้าวยายม่อมก็มีสองชนิดที่เรียกเหมือนกัน เป็นสมุนไพรทั้งคู่แต่ใช้ต่างกัน เอาเป็นว่าลอกมาทั้งดุ้นให้ได้อ่านพิจารณาเอาเอง ว่าต้นของว่าพระยานกจะเหมือนกับไม้ท้าวยายม่อมต้นไหน
เมื่อ "ไม้เท้ายายม่อม" ถูกเรียกชื่อว่า "เท้ายายม่อม" ในตำรับยาแผนไทย!!!
ในตำรายาสมุนไพรตามตำรับแผนโบราณมีระบุชื่อสมุนไพรที่มี คำว่า "เท้ายายม่อม" หรือ "ท้าวยายม่อม" อยู่ 2 ชื่อ ด้วยกัน ได้แก่ "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" ทำให้คนอ่านที่ไม่ได้เป็นแพทย์แผนโบราณต้องงุนงง สงสัยว่า ตัวยาทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันหรือไม่ แต่เมื่อไปค้นหาความจริงในตำราเล่มต่างๆ เข้า ก็กลับยิ่งสับสนหนักขึ้นไปอีก เพราะเหตุที่ว่า ตำราบางเล่มระบุว่า ต้นเท้ายายม่อม กับ ต้นไม้เท้ายายม่อม เป็นต้นไม้ต่างชนิดกัน แต่ตำราอีกบางเล่มกลับระบุว่าเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะเลือกเชื่อใคร? ใน "เทคโนโลยีชาวบ้าน" ฉบับนี้ เราจะลองสำรวจข้อมูลเรื่องของพืชที่มีชื่อลงท้ายว่า "เท้ายายม่อม" กันดู ตอนท้ายๆ หากข้อมูลที่ค้นมาได้มีความชัดเจนเพียงพอ ผู้เขียนก็อาจจะลอง "ฟันธง" เป็นข้อสรุปลงไป แต่หากว่า ข้อมูลที่ได้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ก็คงต้องฝากท่านผู้อ่านลองกลับไป "ทำการบ้าน" ค้นหาข้อมูลต่อ วันหน้าค่อยตัดสินกันใหม่...
อันดับแรก ผู้เขียนจะขอค้นข้อมูลจากตำราเล่มต่างๆ แล้วนำมาเรียงไว้เสียก่อน ดังนี้
1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" เป็นคนละชนิดกัน ดังข้อความที่ว่า "เท้ายายม่อม น.ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tacca Ieontopetaloides (L.) Kuntze ในวงศ์ Taccaceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐานกลมแบน ใช้ทำแป้งเป็นอาหารได้ เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม" อีกคำหนึ่งว่า "ไม้เท้ายายม่อม น.ชื่อไม้พุ่มชนิด Clerodendrum petasites S.Moore ในวงศ์ Labitae ดอกสีขาว ใบใช้สูบแทนกัญชา ราก ใช้ทำยาได้, พญารากเดียว ก็เรียก."
2. พจนานุกรมฉบับมติชน ปี 2547 อธิบายเฉพาะชื่อ "เท้ายายม่อม" ว่า "เท้ายายม่อม น.ไม้ล้มลุกมีหัวในดิน สูงราว 1.5 เมตร รูปฝ่ามือแยกเป็น 3 แฉก ขอบเว้าลึก ดอกเป็นช่อซี่ร่ม ออกที่ปลายยอด รากใช้ทำยาได้, ไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นตั้งตรง ปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อ รูปรีแกมขอบขนาน ดอกเป็นช่อ แยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ผลกลมสีเขียว สุกสีดำ มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่ รากใช้ทำยาได้."
สรุปได้ว่า มติชนเรียกแต่เพียง "เท้ายายม่อม" แต่อธิบายว่า มี 2 ชนิด ชนิดแรก เป็นไม้ล้มลุก มีหัว และรากใช้ทำยาได้, ส่วนชนิดที่สอง เป็นไม้พุ่ม ดอกสีขาว และรากใช้ทำยาได้เช่นกัน
3. พจนานุกรมสมุนไพรไทย ของ ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม อธิบายข้อมูลของสมุนไพร "ท้าวยายม่อม" (เท้ายายม่อม) ว่า มีชื่อสามัญว่า "One Root Plant", ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clerodendrun indicun จัดอยู่ในวงศ์ VERBENACEAE (The Verbena Family) ที่น่าสนใจ ก็คือ ชื่อเรียกอื่นๆ ที่ใช้เรียกต้นไม้ชนิดนี้ ได้แก่ จรดพระธรณี, พญารากเดียว, พญาลิงจ้อน, ไม้เท้าฤๅษี, หญ้าเลงจ้อน, ปู่เจ้าปทุมราชา, ไม้ท้าวยายม่อม, ดอกไม้มอญ (ภาคกลาง), ว่านพญาหอกหล่อ (สระบุรี) เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ 3-5 ฟุต ดอกขนาดเล็กสีขาว มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือวิธีการปักชำกิ่ง
จากคำอธิบายที่เป็นบริบททำให้เข้าใจว่า ท่านมุ่งจะพูดถึงไม้พุ่ม (แต่ท่านก็บอกว่ามีหัวในดิน ใช้ทำแป้งได้ และรากสดใช้ต้มกินน้ำแก้พิษ แก้ไข้ และขับเสมหะ)
4. หนังสือ "เภสัชกรรมไทย รวมสมุนไพร" โดย อาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2-2540 บรรยายสรรพคุณทางยาไว้ 3 ชื่อ คือ 1. เท้ายายหม่อมดอกขาว (หรือปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด) 2. เท้ายายหม่อมดอกแดง (หรือปทุมราชา) และ 3. เท้ายายหม่อมหัว (หรือว่านพญาหอกล่อ) ไม่มีชื่อเรียกว่า "ไม้เท้ายายหม่อม" และกล่าวว่า ชนิดดอกขาวนั้น เป็นพืชจำพวกต้น ใช้รากและต้นแก้ไข้ ขับพิษ และขับเสมหะ, ส่วนชนิดดอกแดง ก็เป็นพืชจำพวกต้น ใช้เฉพาะราก แก้ไข้เหนือ ไข้พิษ ไข้กาฬ ถอนพิษ (แม้กระทั่งตำหรือฝนกับเหล้า กินและเอากากพอกแผล แก้พิษงู) ส่วนชนิดหัวนั้นใช้แป้งเป็นอาหารบำรุงร่างกายสำหรับคนฟื้นไข้ โดยละลายแป้งในน้ำ กวนจนสุก เติมด้วยน้ำตาลกรวด ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ (คนทั่วไปเคยได้ยินและรู้จักเฉพาะเท้ายายม่อมชนิดหัวนี้เท่านั้น)
สรุปแล้ว ชนิดดอกแดง และชนิดดอกขาว ก็น่าจะตรงกับ "ไม้เท้ายายม่อม" นั่นเอง
ในบัญชีรายชื่อสมุนไพร ของ "ธรรมเวช ร้านขายยาไทยโบราณ" มีตัวยา "เท้ายาหม่อม" 2 ชนิด ไว้ขาย คือ 1. เท้ายายหม่อมดอกขาว หรือปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด (ราก) และ 2. เท้ายายหม่อมดอกแดง หรือปทุมราชา หรือข่อยดำ (ราก) โดยขายปลีก 500 กรัมละ 40 บาท เท่ากันทั้ง 2 ชนิด (ราคาเมื่อปี พ.ศ. 2538) ไม่มีรายชื่อ "ไม้เท้ายายม่อม" เสนอขายแต่อย่างใด
ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลที่ตำราเล่มต่างๆ บอกเรา ซึ่งพอจะ "ฟันธง" ไปได้ว่า ต้นไม้ 2 ชื่อ คือ "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" เป็นไม้ต่างชนิดและต่างวงศ์กัน โดยที่ "เท้ายายม่อม" เป็นไม้หัว (แป้งเท้ายายม่อม) ส่วน "ไม้เท้ายายม่อม" เป็นไม้พุ่ม มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดดอกสีขาว (เรียก "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด") และชนิดดอกสีแดง (เรียก "ปู่เจ้าปทุมราชา") ซึ่งไม้ชนิดพุ่มนี้เป็นไม้ที่มีสรรพคุณทางยา
ต่อไปเราจะลองไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับตำรับยาที่เข้าด้วย "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" ในตำราแพทย์แผนโบราณกัน จะได้ทราบว่า มีตำรับยาขนานใดบ้าง ใช้แก้โรคใด โดยเราจะค้นจากตำราที่ใช้อ้างอิงกันมาแต่ดั้งเดิม คือ ตำรา "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" นั่นเอง
ใน "พระคัมภีร์ฉันทศาสตร์" พบรากเท้ายายม่อมในยาแก้ไข้ประดง 4 ประการ, ใน "พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์" พบรากเท้ายายม่อม, ต้นเท้ายายม่อม, ใบเท้ายายม่อม และรากเท้ายายม่อมในตำรับยา 4 ตำรับด้วยกัน, ใน "พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์" มีรากเท้ายายม่อมเข้าในตำรับยา ชื่อ "มหาชุมนุมใหญ่ สันนิบาต", ส่วนใน "พระคัมภีร์โรคนิทาน" พบรากเท้ายายม่อมรวมอยู่ในตำรับยาชื่อ "มหาชุมนุม" ซึ่งนอกจากรากเท้ายายม่อมแล้ว ก็ยังมีดอกปทุมราชา (ไม้เท้ายายม่อมดอกแดง) รวมอยู่ในตัวยาอย่างอื่นด้วย, ใน "พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์" มีเท้ายายม่อมในตำรับยาชื่อ "ปะโตลาธิวาตะ" แก้ไข้ ซึ่งระบุชื่อเพียง "เท้ายายม่อม" (ไม่ระบุว่าเป็นรากหรือใบ) ในยาแก้เสลดกำเดาขนานนี้ และอีกตำรับหนึ่งเป็นยา ชื่อว่า "ยาแก้กษัยเลือด" (มีอาการเจ็บในท้อง เมื่อแก่เข้าจะมีหน้าซีดเผือด ตาเหลือง ซูบผอม) ให้เอารากเท้ายายม่อมร่วมกับตัวยาอื่นอีก 36 อย่าง เสมอภาค ตำเป็นผง ละลายน้ำผึ้งรับประทาน
ใน "พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา" พบตัวยารากไม้เท้ายายม่อม กับรากมะดูก, รากมะตูม, ยาข้าวเย็น และแห้วหมู ดองสุรา แล้วนำไปฝังในข้าวเปลือก 3 วัน เสกด้วยสัพพาสี เอามูลโคสด และขมิ้นอ้อยบด นำมาพอกหัวเหน่า 5 วัน หายแลฯ นอกจากนี้ ในพระคัมภีร์เล่มนี้ยังระบุไว้ด้วยว่า "อันไม้เท้ายายม่อมดอกแดง เรียกชื่อว่า ประทุมราชา ส่วนตัวเมียนั้น ใบรี ต้นสูง เรียกปู่เจ้าหายใจมิรู้ขาด" สำหรับปู่เจ้าหายใจมิรู้ขาดนั้น พบในตำรับยา ชื่อ "สิงคาทิจร" ต้มหรือดองสุรา รับประทานแก้โรค (ครอบโรค) 32 จำพวกแลฯ นอกจากนี้ ใบประทุมราชายังนำเอามาสกัดผสมกับน้ำมันหุง รับประทานแก้โรคลำไส้เปื่อยอีกด้วย
พระคัมภีร์สุดท้ายที่บันทึกสรรพคุณของ "ไม้เท้ายายม่อม" เอาไว้ ก็ได้แก่ "พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)" โดยไม่ได้กล่าวถึง "เท้ายายม่อม" ดังนี้
1. ไม้เท้ายายม่อม นั้น แก้พิษเสมหะ แล แก้สรรพพิษทั้งปวง
2. ไม้เท้ายายม่อม แล รากมะกล่ำตาช้างแดง ตาขาว แก้ร้อน แก้กระหาย แก้อาเจียน แก้หืด แก้ไอ แก้พิษฝี
3. ให้เอารากไม้เท้ายายม่อม, ผลจันทน์, ดอกจันทน์, กานพลู, ผลเบญกานี, ดองดึง, หัสคุณเทศ, รากเจตมูลเพลิง, รากแคแตร โดยเอาเสมอภาค ทำผงละลายน้ำขิง กินแก้โรคริดสีดวง 12 จำพวก
4. ให้เอารากไม้เท้ายายม่อม, เปลือกคนทา, รากมะตูม, รากชุมเห็ด, รากกรรณิการ์ เสมอภาค และผลจันทน์เท่ายาทั้งหลาย (หมายความว่า เท่าน้ำหนักของยาอื่นรวมกัน) บดทำผง ละลายน้ำผึ้ง, น้ำขิง หรือน้ำดอกไม้ กินแก้วาโย (ลม) กำเริบ (มีอาการปวดมวนในท้อง เสมหะเป็นมูกเลือด) หายแลฯ
ที่ยกมาทั้งสิ้นนี้ เป็นการยกเอามาโดยย่อ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองภาพออกว่า มีคัมภีร์ใดพูดถึงส่วนใดของเท้ายายม่อม หรือของไม้เท้ายายม่อมบ้าง หากท่านสนใจในรายละเอียดของตัวยาในแต่ละตำรับ กรุณาไปค้นเพิ่มเติมได้ ในหนังสือ "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะพบในห้องสมุดใหญ่ๆ ทั่วประเทศ หรือซื้อไปศึกษาในราคาเล่มละ 1,200 บาทเศษ (จำราคาที่แน่นอนไม่ได้)
ผู้เขียนได้ลองเปิดหนังสือตำรายาโบราณ ชื่อ "ยาแก้ไข้ 108 ขนาน" รวบรวมโดย อาจารย์เชาวน์ กสิพันธุ์ บภ., บว. ซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายวิชาการ ของสมาคมแพทย์เภสัชกรรมไทยโบราณ พบว่า ในบรรดายาแก้ไข้ 108 ขนานนั้น มีอยู่จำนวน 15 ขนาน ที่มีเท้ายายม่อม หรือรากเท้ายายม่อมหรือใบเท้ายายม่อม ร่วมเป็นสมุนไพรอยู่ในตำรับยา ได้แก่ 1. ยาแก้ไข้เหนือ 1 (เท้ายายม่อม), 2. ยาต้นไข้ (รากเท้ายายม่อม), 3. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 19-รากเท้ายายม่อม), 4. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 20-รากเท้ายายม่อม), 5. ยาต้มแก้ไข้ทั้งปวง (รากเท้ายายม่อม), 6. ยาแก้เชื่อมมัว (รากเท้ายายม่อม), 7. ยาเขียวใหญ่ (ใบเท้ายายม่อม), 8. ยาเขียวมหาคงคา (ใบเท้ายายม่อม), 9. ยาแก้ไข้สันนิบาต ไข้เหนือ (รากเท้ายายม่อม), 10. ยาแก้ไข้เชื่อมซึม (เท้ายายม่อม), 11. ยาเขียวใหญ่ (ใบเท้ายายม่อม), 12. ยาประสะแสงทอง (รากเท้ายายม่อม), 13. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 101-รากเท้ายายม่อม), 14. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 102-รากเท้ายายม่อม) และ 15. ยาพ่นถอนพิษไข้ (รากเท้ายายม่อม)
ขอยกมาพอเป็นตัวอย่างคือ ยาแก้ไข้เชื่อมซึม (10.) ท่านให้เอา รากมะแว้งเครือ รากย่านาง หัวคล้า แฝกหอม ชิงชี่ เท้ายายม่อม ผักโขมหิน หญ้าแพรก ก้านหมาก รากตาน รากตานเสี้ยน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สันพร้านางแอ เอาสิ่งละ 1 บาท ใส่หม้อต้ม รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนอาหาร แก้ไข้เชื่อมซึมดีนักแล
ข้อที่น่าสังเกตคือ ในตำราเล่มนี้ ไม่มีตำรับสมุนไพรที่เข้าด้วย "ไม้เท้ายายม่อม" เลย เหตุใดหนอ ไม้เท้ายายม่อมซึ่งตำราระบุว่า มีสรรพคุณต่างๆ มากมาย จึงไม่ได้เข้าเป็นตัวยาในตำรับยาแก้ไข้ แต่กลับมีแต่เท้ายายม่อม รากเท้ายายม่อม และใบเท้ายายม่อม (ซึ่งในตำราระบุไว้แต่เพียงประโยชน์จากแป้งที่ได้มาจากรากหรือหัว ว่า ใช้เป็นอาหารสำหรับบำรุงผู้ฟื้นไข้เท่านั้น) มาร่วมอยู่ในตำรับยาแก้ไข้ นับว่าเป็นปัญหาที่น่าค้นหาคำตอบเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อผู้เขียนนำเอาตำรับยาแก้ไข้ที่ระบุชื่อไว้ข้างต้นไปสอบถามจากร้านขายยาสมุนไพรแผนโบราณว่า ที่ตำรับยาแก้ไขระบุชื่อเท้ายายม่อม รากเท้ายายม่อม และใบเท้ายายม่อม นั้น หากมีผู้มาซื้อเครื่องยาที่ร้าน ทางร้านจะจัดใบ, ราก, เท้ายายม่อม หรือใบ, รากของไม้เท้ายายม่อมให้ ทางร้านสมุนไพรตอบว่า "จะจัดใบ หรือกิ่งของเท้ายายม่อม" ให้ ด้วยเหตุผลที่ว่า "ทั้งร้านมีเท้ายายม่อมอยู่เพียงชนิดเดียว" พร้อมทั้งได้นำเอาหนังสือ "สารานุกรมสมุนไพร" มาเปิดให้ดู ชี้ไปที่ภาพและชื่อของสมุนไพรที่มีชื่อว่า "เท้ายายม่อมดอกแดง ปทุมราชา" (ซึ่งที่แท้ก็คือ พืชชนิดที่มีชื่อว่า "ไม้เท้ายายม่อม" นั่นเอง แต่เป็นชนิดที่มีดอกแดง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพราะพูดถึงแต่ชนิดที่มีดอกสีขาว คือ "ไม้เท้ายายม่อม" หรือ "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด" นั่นเอง)
เพื่อความแน่นอนยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้ไปสอบถามและขอซื้อสมุนไพรที่ตำรับยาระบุว่า ชื่อ "เท้ายายม่อม" จากร้านขายยาสมุนไพร (ในตลาดจังหวัดสุพรรณบุรี) ร้านที่สอง ผลปรากฏว่า ทางร้านใหม่นี้ก็มีสมุนไพรที่มีชื่อ "เท้ายายม่อม" อยู่เพียงอย่างเดียว เมื่อได้นำเอาตัวยาที่ได้จากทั้ง 2 ร้าน มาพิจารณาเปรียบเทียบกัน ผลก็คือ ของทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นกิ่งและใบของพืชชนิดเดียวกัน (คือ "ไม้เท้ายายม่อม" ชนิดดอกแดง) ต่างกันเพียงว่า ตัวอย่างจากร้านแรกมีใบมากกว่ากิ่ง ส่วนของร้านหลังมีกิ่งมากกว่าใบเท่านั้น
ในชั้นนี้จึงพอจะสรุปได้ว่า สำหรับร้านค้าสมุนไพรในต่างจังหวัดนั้น หากใครนำเอาตำรับยาที่เข้าด้วย "เท้ายายม่อม" หรือ "ไม้เท้ายายม่อม" หรือ "ปทุมราชา" หรือ "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด" ไปขอเจียดตัวยาจากร้านค้า ทางร้านค้าสมุนไพรก็จะจัดตัวยาเพียงชนิดเดียว คือ "ไม้เท้ายายม่อม" (ชนิดดอกสีแดง หรือ "ปทุมราชา") ให้เสมอไป แต่หากเป็นร้านสมุนไพรใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ บางจังหวัด ก็อาจจะมี "ไม้เท้ายายม่อม" ทั้ง 2 ชนิด (คือ ดอกสีแดง และดอกสีขาว) ไว้บริการ ส่วนเท้ายายม่อมชนิดหัวนั้น จะมีขายในรูปของแป้งผงตามร้านขายสินค้าประเภทแป้งทำขนม (ซึ่งพนักงานขายบางร้านบอกว่า แป้งเท้ายายม่อมสมัยนี้มีคุณภาพสู้แป้งสมัยก่อนไม่ได้ และไม่แนะนำให้นำไปใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ฟื้นไข้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบ กรุณาตรวจสอบกันเอง แต่หากได้แป้งจากหัวเท้ายายม่อมแท้ๆ ก็น่าจะยังมีสรรพคุณดีจริงตามที่ตำราว่าไว้)
ดังนั้น หากจะไม่ให้เกิดความสับสนในแวดวงของผู้ใช้สมุนไพรไทย ตำรับยาที่มีการระบุชื่อของ "เท้ายายม่อม" อยู่ ควรจะแก้ไขเป็น "ไม้เท้ายายม่อม" เสียทั้งหมด ในส่วนของร้านค้าสมุนไพรนั้นก็ควรที่จะต้องมีรากหรือใบของ "ไม้เท้ายายม่อม" ทั้งชนิดดอกสีขาวและชนิดดอกสีแดงไว้ให้บริการให้ครบถ้วน เพื่อที่การปรุงยาสมุนไพรจะได้มีคุณภาพตรงตามตำรับอย่างแท้จริง
ส่วนผู้ที่ต้องการปรุงยาสมุนไพรนั้น พึงเข้าใจว่า ทุกครั้งที่ท่านไปขอซื้อสมุนไพรที่ชื่อ "เท้ายายม่อม" จงจำไว้ว่า นั่นคือ "ไม้เท้ายายม่อม" นั่นเอง แต่หากเป็นชื่อเฉพาะว่า "ปทุมราชา" ก็หมายถึง "ไม้เท้ายายม่อม ชนิดดอกสีแดง" แต่ถ้าตำราบอกว่าต้องการ "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด" นั่นหมายความว่า ตำราต้องการ "ไม้เท้ายายม่อม ชนิดดอกสีขาว"
ที่มา http://www.thailand-farm.com/index.php?topic=161.0
บางคนเอาสองต้นมาปนกันมั่ว พูดถึงลักษณะท้าวยายม่อมแบบที่เป็นหัวแต่เอารูปท้าวยายม่อมแบบต้นมาเฉยเลย
ต้นเท้ายายม่อม ที่ใช้ทำแป้งเท้ายายม่อม หัวใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root
ต้นเท้ายายม่อมเป็นพืชล้มลุก มักขึ้นเป็นกอสืบพันธุ์ด้วยหัวใต้ดิน หัวของต้นเท้ายายม่อมขุดเอามาฝนทำแป้งเท้ายายม่อมได้
-ลักษณะ
ลำต้นตั้งตรง ใบขยายแผ่กว้าง หัวกลมหรือรี ใบรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก แต่ละแฉกเป็นใบประกอบหลายแฉกย่อย สีเขียวเข้ม ดอกออกจากหัวใต้ดิน ก้านช่อดอกยาวสูงเลยลำต้น ออกดอกเป็นพุ่มงามมาก ลำต้นเป็นเส้นริ้วเล็กๆลายเป็นทาง
ชาวสวนต้องไม่ขุดหัวจากกอแต่ละกอจนหมด คัดเลือกเอาเฉพาะหัวใหญ่ เพื่อสะดวกในการปอกเปลือกแล้วฝน หัวเล็กๆจะคืนลงกลบฝังโคนกออย่างเดิม ( แต่หาก หัวไหนโดนจอบหรือเสียม จนขาดหรือแหว่ง หัวนั้นก็จะไม่งอก )เมื่อหน้าฝน ก็จะงอกต้นใหม่ขึ้นมา
สำหรับต้นเก่าเมื่อออกดอกและสิ้นฝนไม่นานต้นก็จะเฉา เหี่ยวแห้งและตายไป ในฤดูหนาว ซึ่งรวมทั้งต้นที่ยังไม่ออกดอก ก็ตายด้วย
รอจนประมาณเดือน มกราคม กุมภาพันธ์จึงขุดเอาหัวขึ้นมา
ล้างดินที่เปลือกออกให้สะอาด ปอกเปลือกทิ้งไป แล้วกองในกะละมังมีน้ำแช่เพื่อสะดวกในการฝน
ใช้หัวนี้ฝนบนแผงสังกะสีที่ตีตะปู ถี่ๆ แบบกระต่ายจีน หงายด้านที่มีรูแหลมของหัวตะปูทะลุออก
วางแผงสังกะสีพาดขอบกะละมังแล้วเอาหัวฝนไปมา
เมื่อได้แป้งแล้วแล้วนำไปแช่น้ำไว้จนใสและแป้งนอนกันจึงเทน้ำทิ้ง ทำเช่นนี้ประมาณ 4-5 ครั้ง จึงนำแป้งที่ได้ไปตากแดดจนแห้ง แป้งเท้ายายม่อมเป็นแป้งที่มีราคาแพงเพราะมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก
ลักษณะของแป้งเท้ายายม่อม จะมีสีขาว เป็นลักษณะเม็ดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
ต้องระวัง เพราะมีต้นไม้อีกต้นที่สับสนกัน เพราะมีชื่อว่า "เท้ายายม่อม" เหมือนกัน แต่ความจริง ต้นนั้น มีชื่อเต็มว่า ต้น "ไม้เท้ายายม่อม"
ต้นเท้ายายม่อม
ดอกและผลของต้นเท้ายายม่อม เมื่อออกใหม่ๆจะมีสีเขียว
ดอกและผลของต้นเท้ายายม่อมเริ่มแก่ ดอก ผล และหนวด เริ่มเป็นสีเหลือง
ชาวสวนเชื่อว่าหากไม่ตัดดอกของเท้ายายม่อมออก จะไม่เกิดหัวใต้ดินให้ได้ขุดเอามาทำแป้งเท้ายายม่อม
หัวเท้ายายม่อม
ประโยชน์ :
ใช้เป็นสมุนไพรก็ได้ ใช้เป็นยาบำรุงกำลังก็ได้ หัวที่ใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root แป้งเท้ายายม่อมเป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ให้คนไข้รับประทานดี เกิดกำลังและชุ่มชื่นหัวใจ
คนโบราณใช้หัวทำเป็นอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะคนแก่ที่ฟื้นไข้ ควรกินแป้งเท้ายายม่อมร่วมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาลกรวด จะทำให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยแก้อาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ได้ดีอีกด้วย
สำหรับคนทั่วไปการกินแป้งเท้ายายม่อมจะช่วยให้หายอ่อนเพลีย จิตใจชุ่มชื่น แก้ร้อนใน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร และบำรุงกำลังได้อย่างดี แม้แต่นักโภชนบำบัดสมัยใหม่ก็ยืนยันว่า แป้งเท้ายายม่อมมีคุณสมบัติเหมาะกับระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแป้งชนิดอื่นๆ ทั้งยังเชื่อว่าการบริโภคแป้งเท้ายายม่อมจะทำให้อารมณ์และจิตใจมีความสมดุล ไม่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าจนเกินไป เรียกว่าสามารถทำให้อารมณ์แจ่มใส สมองปลอดโปร่งได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เท้ายายม่อมยังมีสรรพคุณในการแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย พิษผึ้ง กะพรุนไฟ โดยใช้หัวหรือรากฝนกับน้ำมะนาวทา ใช้โรยปากแผลเพื่อห้ามเลือด โรยถุงเท้าเพื่อป้องกันเชื้อรา ถอนพิษ แก้ผดผื่นคัน ลดสิวฝ้าทำให้หน้าขาว
ส่วนแป้งเท้ายายม่อมในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตน้อยลงเรื่อยๆ เพราะคนไม่นิยม แม้ว่าคุณค่าที่แฝงอยู่จะมีมากมายก็ตาม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช่แป้งละลายน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวด ตั้งไฟกวนจนสุก ให้คนไข้รับประทาน
มีผลิตขายเป็นแป้งสำเร็จรูป
http://bangkrod.blogspot.com/2011/01/blog-post_31.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340193264&grpid=03&catid=&subcatid=
ส่วนท้าวยายม่อมอีกชนิดเป็นตัวที่ใช้รากมาเข้ายาเบญจโลกวิเชียร เป็นท้าวยายม่อมดอกขาว
ต้นท้าวยายม่อมดอกขาว
ใบคนทีสอ
ตำราบอกว่าดอกเหมือนดอกซิลชี้ ไม่รู้ว่าหมายถึงดอกชิงชี่รึเปล่า (อันนี้เดา)
"ว่านพระยานก ชนิดหนึ่งลักษณะดุจดังต้นตาล ใบคล้ายใบมะตาด สรรพคุณเอายางกับเปลือกมาต้มกินแก้โรคกษัยดีนัก บางตำราว่าอีกชนิดหนึ่งลักษณะลำต้นคล้ายกับต้นไม้ท้าวยายม่อม ใบเหมือนใบคนทีสอ ดอกเหมือนดอกซิลชี้ หัวเหมือนเกล็ดของปลากระเพียน สรรพคุณท่านว่าให้รักษาว่านนี้ให้ดี จะนึกหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะได้สมดังความปรารถนา"
เอาละสิ อะไรมันจะเยอะขนาดนี้ ลำพังต้นท้าวยายม่อมหรือไม้ท้าวยายม่อมก็มีสองชนิดที่เรียกเหมือนกัน เป็นสมุนไพรทั้งคู่แต่ใช้ต่างกัน เอาเป็นว่าลอกมาทั้งดุ้นให้ได้อ่านพิจารณาเอาเอง ว่าต้นของว่าพระยานกจะเหมือนกับไม้ท้าวยายม่อมต้นไหน
เมื่อ "ไม้เท้ายายม่อม" ถูกเรียกชื่อว่า "เท้ายายม่อม" ในตำรับยาแผนไทย!!!
ในตำรายาสมุนไพรตามตำรับแผนโบราณมีระบุชื่อสมุนไพรที่มี คำว่า "เท้ายายม่อม" หรือ "ท้าวยายม่อม" อยู่ 2 ชื่อ ด้วยกัน ได้แก่ "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" ทำให้คนอ่านที่ไม่ได้เป็นแพทย์แผนโบราณต้องงุนงง สงสัยว่า ตัวยาทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันหรือไม่ แต่เมื่อไปค้นหาความจริงในตำราเล่มต่างๆ เข้า ก็กลับยิ่งสับสนหนักขึ้นไปอีก เพราะเหตุที่ว่า ตำราบางเล่มระบุว่า ต้นเท้ายายม่อม กับ ต้นไม้เท้ายายม่อม เป็นต้นไม้ต่างชนิดกัน แต่ตำราอีกบางเล่มกลับระบุว่าเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะเลือกเชื่อใคร? ใน "เทคโนโลยีชาวบ้าน" ฉบับนี้ เราจะลองสำรวจข้อมูลเรื่องของพืชที่มีชื่อลงท้ายว่า "เท้ายายม่อม" กันดู ตอนท้ายๆ หากข้อมูลที่ค้นมาได้มีความชัดเจนเพียงพอ ผู้เขียนก็อาจจะลอง "ฟันธง" เป็นข้อสรุปลงไป แต่หากว่า ข้อมูลที่ได้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ก็คงต้องฝากท่านผู้อ่านลองกลับไป "ทำการบ้าน" ค้นหาข้อมูลต่อ วันหน้าค่อยตัดสินกันใหม่...
อันดับแรก ผู้เขียนจะขอค้นข้อมูลจากตำราเล่มต่างๆ แล้วนำมาเรียงไว้เสียก่อน ดังนี้
1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" เป็นคนละชนิดกัน ดังข้อความที่ว่า "เท้ายายม่อม น.ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tacca Ieontopetaloides (L.) Kuntze ในวงศ์ Taccaceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐานกลมแบน ใช้ทำแป้งเป็นอาหารได้ เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม" อีกคำหนึ่งว่า "ไม้เท้ายายม่อม น.ชื่อไม้พุ่มชนิด Clerodendrum petasites S.Moore ในวงศ์ Labitae ดอกสีขาว ใบใช้สูบแทนกัญชา ราก ใช้ทำยาได้, พญารากเดียว ก็เรียก."
2. พจนานุกรมฉบับมติชน ปี 2547 อธิบายเฉพาะชื่อ "เท้ายายม่อม" ว่า "เท้ายายม่อม น.ไม้ล้มลุกมีหัวในดิน สูงราว 1.5 เมตร รูปฝ่ามือแยกเป็น 3 แฉก ขอบเว้าลึก ดอกเป็นช่อซี่ร่ม ออกที่ปลายยอด รากใช้ทำยาได้, ไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นตั้งตรง ปลายกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อ รูปรีแกมขอบขนาน ดอกเป็นช่อ แยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ผลกลมสีเขียว สุกสีดำ มีกลีบเลี้ยงสีแดงติดอยู่ รากใช้ทำยาได้."
สรุปได้ว่า มติชนเรียกแต่เพียง "เท้ายายม่อม" แต่อธิบายว่า มี 2 ชนิด ชนิดแรก เป็นไม้ล้มลุก มีหัว และรากใช้ทำยาได้, ส่วนชนิดที่สอง เป็นไม้พุ่ม ดอกสีขาว และรากใช้ทำยาได้เช่นกัน
3. พจนานุกรมสมุนไพรไทย ของ ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม อธิบายข้อมูลของสมุนไพร "ท้าวยายม่อม" (เท้ายายม่อม) ว่า มีชื่อสามัญว่า "One Root Plant", ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clerodendrun indicun จัดอยู่ในวงศ์ VERBENACEAE (The Verbena Family) ที่น่าสนใจ ก็คือ ชื่อเรียกอื่นๆ ที่ใช้เรียกต้นไม้ชนิดนี้ ได้แก่ จรดพระธรณี, พญารากเดียว, พญาลิงจ้อน, ไม้เท้าฤๅษี, หญ้าเลงจ้อน, ปู่เจ้าปทุมราชา, ไม้ท้าวยายม่อม, ดอกไม้มอญ (ภาคกลาง), ว่านพญาหอกหล่อ (สระบุรี) เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ 3-5 ฟุต ดอกขนาดเล็กสีขาว มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือวิธีการปักชำกิ่ง
จากคำอธิบายที่เป็นบริบททำให้เข้าใจว่า ท่านมุ่งจะพูดถึงไม้พุ่ม (แต่ท่านก็บอกว่ามีหัวในดิน ใช้ทำแป้งได้ และรากสดใช้ต้มกินน้ำแก้พิษ แก้ไข้ และขับเสมหะ)
4. หนังสือ "เภสัชกรรมไทย รวมสมุนไพร" โดย อาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2-2540 บรรยายสรรพคุณทางยาไว้ 3 ชื่อ คือ 1. เท้ายายหม่อมดอกขาว (หรือปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด) 2. เท้ายายหม่อมดอกแดง (หรือปทุมราชา) และ 3. เท้ายายหม่อมหัว (หรือว่านพญาหอกล่อ) ไม่มีชื่อเรียกว่า "ไม้เท้ายายหม่อม" และกล่าวว่า ชนิดดอกขาวนั้น เป็นพืชจำพวกต้น ใช้รากและต้นแก้ไข้ ขับพิษ และขับเสมหะ, ส่วนชนิดดอกแดง ก็เป็นพืชจำพวกต้น ใช้เฉพาะราก แก้ไข้เหนือ ไข้พิษ ไข้กาฬ ถอนพิษ (แม้กระทั่งตำหรือฝนกับเหล้า กินและเอากากพอกแผล แก้พิษงู) ส่วนชนิดหัวนั้นใช้แป้งเป็นอาหารบำรุงร่างกายสำหรับคนฟื้นไข้ โดยละลายแป้งในน้ำ กวนจนสุก เติมด้วยน้ำตาลกรวด ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ (คนทั่วไปเคยได้ยินและรู้จักเฉพาะเท้ายายม่อมชนิดหัวนี้เท่านั้น)
สรุปแล้ว ชนิดดอกแดง และชนิดดอกขาว ก็น่าจะตรงกับ "ไม้เท้ายายม่อม" นั่นเอง
ในบัญชีรายชื่อสมุนไพร ของ "ธรรมเวช ร้านขายยาไทยโบราณ" มีตัวยา "เท้ายาหม่อม" 2 ชนิด ไว้ขาย คือ 1. เท้ายายหม่อมดอกขาว หรือปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด (ราก) และ 2. เท้ายายหม่อมดอกแดง หรือปทุมราชา หรือข่อยดำ (ราก) โดยขายปลีก 500 กรัมละ 40 บาท เท่ากันทั้ง 2 ชนิด (ราคาเมื่อปี พ.ศ. 2538) ไม่มีรายชื่อ "ไม้เท้ายายม่อม" เสนอขายแต่อย่างใด
ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลที่ตำราเล่มต่างๆ บอกเรา ซึ่งพอจะ "ฟันธง" ไปได้ว่า ต้นไม้ 2 ชื่อ คือ "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" เป็นไม้ต่างชนิดและต่างวงศ์กัน โดยที่ "เท้ายายม่อม" เป็นไม้หัว (แป้งเท้ายายม่อม) ส่วน "ไม้เท้ายายม่อม" เป็นไม้พุ่ม มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดดอกสีขาว (เรียก "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด") และชนิดดอกสีแดง (เรียก "ปู่เจ้าปทุมราชา") ซึ่งไม้ชนิดพุ่มนี้เป็นไม้ที่มีสรรพคุณทางยา
ต่อไปเราจะลองไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับตำรับยาที่เข้าด้วย "เท้ายายม่อม" กับ "ไม้เท้ายายม่อม" ในตำราแพทย์แผนโบราณกัน จะได้ทราบว่า มีตำรับยาขนานใดบ้าง ใช้แก้โรคใด โดยเราจะค้นจากตำราที่ใช้อ้างอิงกันมาแต่ดั้งเดิม คือ ตำรา "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" นั่นเอง
ใน "พระคัมภีร์ฉันทศาสตร์" พบรากเท้ายายม่อมในยาแก้ไข้ประดง 4 ประการ, ใน "พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์" พบรากเท้ายายม่อม, ต้นเท้ายายม่อม, ใบเท้ายายม่อม และรากเท้ายายม่อมในตำรับยา 4 ตำรับด้วยกัน, ใน "พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์" มีรากเท้ายายม่อมเข้าในตำรับยา ชื่อ "มหาชุมนุมใหญ่ สันนิบาต", ส่วนใน "พระคัมภีร์โรคนิทาน" พบรากเท้ายายม่อมรวมอยู่ในตำรับยาชื่อ "มหาชุมนุม" ซึ่งนอกจากรากเท้ายายม่อมแล้ว ก็ยังมีดอกปทุมราชา (ไม้เท้ายายม่อมดอกแดง) รวมอยู่ในตัวยาอย่างอื่นด้วย, ใน "พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์" มีเท้ายายม่อมในตำรับยาชื่อ "ปะโตลาธิวาตะ" แก้ไข้ ซึ่งระบุชื่อเพียง "เท้ายายม่อม" (ไม่ระบุว่าเป็นรากหรือใบ) ในยาแก้เสลดกำเดาขนานนี้ และอีกตำรับหนึ่งเป็นยา ชื่อว่า "ยาแก้กษัยเลือด" (มีอาการเจ็บในท้อง เมื่อแก่เข้าจะมีหน้าซีดเผือด ตาเหลือง ซูบผอม) ให้เอารากเท้ายายม่อมร่วมกับตัวยาอื่นอีก 36 อย่าง เสมอภาค ตำเป็นผง ละลายน้ำผึ้งรับประทาน
ใน "พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา" พบตัวยารากไม้เท้ายายม่อม กับรากมะดูก, รากมะตูม, ยาข้าวเย็น และแห้วหมู ดองสุรา แล้วนำไปฝังในข้าวเปลือก 3 วัน เสกด้วยสัพพาสี เอามูลโคสด และขมิ้นอ้อยบด นำมาพอกหัวเหน่า 5 วัน หายแลฯ นอกจากนี้ ในพระคัมภีร์เล่มนี้ยังระบุไว้ด้วยว่า "อันไม้เท้ายายม่อมดอกแดง เรียกชื่อว่า ประทุมราชา ส่วนตัวเมียนั้น ใบรี ต้นสูง เรียกปู่เจ้าหายใจมิรู้ขาด" สำหรับปู่เจ้าหายใจมิรู้ขาดนั้น พบในตำรับยา ชื่อ "สิงคาทิจร" ต้มหรือดองสุรา รับประทานแก้โรค (ครอบโรค) 32 จำพวกแลฯ นอกจากนี้ ใบประทุมราชายังนำเอามาสกัดผสมกับน้ำมันหุง รับประทานแก้โรคลำไส้เปื่อยอีกด้วย
พระคัมภีร์สุดท้ายที่บันทึกสรรพคุณของ "ไม้เท้ายายม่อม" เอาไว้ ก็ได้แก่ "พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)" โดยไม่ได้กล่าวถึง "เท้ายายม่อม" ดังนี้
1. ไม้เท้ายายม่อม นั้น แก้พิษเสมหะ แล แก้สรรพพิษทั้งปวง
2. ไม้เท้ายายม่อม แล รากมะกล่ำตาช้างแดง ตาขาว แก้ร้อน แก้กระหาย แก้อาเจียน แก้หืด แก้ไอ แก้พิษฝี
3. ให้เอารากไม้เท้ายายม่อม, ผลจันทน์, ดอกจันทน์, กานพลู, ผลเบญกานี, ดองดึง, หัสคุณเทศ, รากเจตมูลเพลิง, รากแคแตร โดยเอาเสมอภาค ทำผงละลายน้ำขิง กินแก้โรคริดสีดวง 12 จำพวก
4. ให้เอารากไม้เท้ายายม่อม, เปลือกคนทา, รากมะตูม, รากชุมเห็ด, รากกรรณิการ์ เสมอภาค และผลจันทน์เท่ายาทั้งหลาย (หมายความว่า เท่าน้ำหนักของยาอื่นรวมกัน) บดทำผง ละลายน้ำผึ้ง, น้ำขิง หรือน้ำดอกไม้ กินแก้วาโย (ลม) กำเริบ (มีอาการปวดมวนในท้อง เสมหะเป็นมูกเลือด) หายแลฯ
ที่ยกมาทั้งสิ้นนี้ เป็นการยกเอามาโดยย่อ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองภาพออกว่า มีคัมภีร์ใดพูดถึงส่วนใดของเท้ายายม่อม หรือของไม้เท้ายายม่อมบ้าง หากท่านสนใจในรายละเอียดของตัวยาในแต่ละตำรับ กรุณาไปค้นเพิ่มเติมได้ ในหนังสือ "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะพบในห้องสมุดใหญ่ๆ ทั่วประเทศ หรือซื้อไปศึกษาในราคาเล่มละ 1,200 บาทเศษ (จำราคาที่แน่นอนไม่ได้)
ผู้เขียนได้ลองเปิดหนังสือตำรายาโบราณ ชื่อ "ยาแก้ไข้ 108 ขนาน" รวบรวมโดย อาจารย์เชาวน์ กสิพันธุ์ บภ., บว. ซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายวิชาการ ของสมาคมแพทย์เภสัชกรรมไทยโบราณ พบว่า ในบรรดายาแก้ไข้ 108 ขนานนั้น มีอยู่จำนวน 15 ขนาน ที่มีเท้ายายม่อม หรือรากเท้ายายม่อมหรือใบเท้ายายม่อม ร่วมเป็นสมุนไพรอยู่ในตำรับยา ได้แก่ 1. ยาแก้ไข้เหนือ 1 (เท้ายายม่อม), 2. ยาต้นไข้ (รากเท้ายายม่อม), 3. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 19-รากเท้ายายม่อม), 4. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 20-รากเท้ายายม่อม), 5. ยาต้มแก้ไข้ทั้งปวง (รากเท้ายายม่อม), 6. ยาแก้เชื่อมมัว (รากเท้ายายม่อม), 7. ยาเขียวใหญ่ (ใบเท้ายายม่อม), 8. ยาเขียวมหาคงคา (ใบเท้ายายม่อม), 9. ยาแก้ไข้สันนิบาต ไข้เหนือ (รากเท้ายายม่อม), 10. ยาแก้ไข้เชื่อมซึม (เท้ายายม่อม), 11. ยาเขียวใหญ่ (ใบเท้ายายม่อม), 12. ยาประสะแสงทอง (รากเท้ายายม่อม), 13. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 101-รากเท้ายายม่อม), 14. ยาแก้ไข้ (ขนานที่ 102-รากเท้ายายม่อม) และ 15. ยาพ่นถอนพิษไข้ (รากเท้ายายม่อม)
ขอยกมาพอเป็นตัวอย่างคือ ยาแก้ไข้เชื่อมซึม (10.) ท่านให้เอา รากมะแว้งเครือ รากย่านาง หัวคล้า แฝกหอม ชิงชี่ เท้ายายม่อม ผักโขมหิน หญ้าแพรก ก้านหมาก รากตาน รากตานเสี้ยน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สันพร้านางแอ เอาสิ่งละ 1 บาท ใส่หม้อต้ม รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนอาหาร แก้ไข้เชื่อมซึมดีนักแล
ข้อที่น่าสังเกตคือ ในตำราเล่มนี้ ไม่มีตำรับสมุนไพรที่เข้าด้วย "ไม้เท้ายายม่อม" เลย เหตุใดหนอ ไม้เท้ายายม่อมซึ่งตำราระบุว่า มีสรรพคุณต่างๆ มากมาย จึงไม่ได้เข้าเป็นตัวยาในตำรับยาแก้ไข้ แต่กลับมีแต่เท้ายายม่อม รากเท้ายายม่อม และใบเท้ายายม่อม (ซึ่งในตำราระบุไว้แต่เพียงประโยชน์จากแป้งที่ได้มาจากรากหรือหัว ว่า ใช้เป็นอาหารสำหรับบำรุงผู้ฟื้นไข้เท่านั้น) มาร่วมอยู่ในตำรับยาแก้ไข้ นับว่าเป็นปัญหาที่น่าค้นหาคำตอบเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อผู้เขียนนำเอาตำรับยาแก้ไข้ที่ระบุชื่อไว้ข้างต้นไปสอบถามจากร้านขายยาสมุนไพรแผนโบราณว่า ที่ตำรับยาแก้ไขระบุชื่อเท้ายายม่อม รากเท้ายายม่อม และใบเท้ายายม่อม นั้น หากมีผู้มาซื้อเครื่องยาที่ร้าน ทางร้านจะจัดใบ, ราก, เท้ายายม่อม หรือใบ, รากของไม้เท้ายายม่อมให้ ทางร้านสมุนไพรตอบว่า "จะจัดใบ หรือกิ่งของเท้ายายม่อม" ให้ ด้วยเหตุผลที่ว่า "ทั้งร้านมีเท้ายายม่อมอยู่เพียงชนิดเดียว" พร้อมทั้งได้นำเอาหนังสือ "สารานุกรมสมุนไพร" มาเปิดให้ดู ชี้ไปที่ภาพและชื่อของสมุนไพรที่มีชื่อว่า "เท้ายายม่อมดอกแดง ปทุมราชา" (ซึ่งที่แท้ก็คือ พืชชนิดที่มีชื่อว่า "ไม้เท้ายายม่อม" นั่นเอง แต่เป็นชนิดที่มีดอกแดง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพราะพูดถึงแต่ชนิดที่มีดอกสีขาว คือ "ไม้เท้ายายม่อม" หรือ "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด" นั่นเอง)
เพื่อความแน่นอนยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้ไปสอบถามและขอซื้อสมุนไพรที่ตำรับยาระบุว่า ชื่อ "เท้ายายม่อม" จากร้านขายยาสมุนไพร (ในตลาดจังหวัดสุพรรณบุรี) ร้านที่สอง ผลปรากฏว่า ทางร้านใหม่นี้ก็มีสมุนไพรที่มีชื่อ "เท้ายายม่อม" อยู่เพียงอย่างเดียว เมื่อได้นำเอาตัวยาที่ได้จากทั้ง 2 ร้าน มาพิจารณาเปรียบเทียบกัน ผลก็คือ ของทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นกิ่งและใบของพืชชนิดเดียวกัน (คือ "ไม้เท้ายายม่อม" ชนิดดอกแดง) ต่างกันเพียงว่า ตัวอย่างจากร้านแรกมีใบมากกว่ากิ่ง ส่วนของร้านหลังมีกิ่งมากกว่าใบเท่านั้น
ในชั้นนี้จึงพอจะสรุปได้ว่า สำหรับร้านค้าสมุนไพรในต่างจังหวัดนั้น หากใครนำเอาตำรับยาที่เข้าด้วย "เท้ายายม่อม" หรือ "ไม้เท้ายายม่อม" หรือ "ปทุมราชา" หรือ "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด" ไปขอเจียดตัวยาจากร้านค้า ทางร้านค้าสมุนไพรก็จะจัดตัวยาเพียงชนิดเดียว คือ "ไม้เท้ายายม่อม" (ชนิดดอกสีแดง หรือ "ปทุมราชา") ให้เสมอไป แต่หากเป็นร้านสมุนไพรใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ บางจังหวัด ก็อาจจะมี "ไม้เท้ายายม่อม" ทั้ง 2 ชนิด (คือ ดอกสีแดง และดอกสีขาว) ไว้บริการ ส่วนเท้ายายม่อมชนิดหัวนั้น จะมีขายในรูปของแป้งผงตามร้านขายสินค้าประเภทแป้งทำขนม (ซึ่งพนักงานขายบางร้านบอกว่า แป้งเท้ายายม่อมสมัยนี้มีคุณภาพสู้แป้งสมัยก่อนไม่ได้ และไม่แนะนำให้นำไปใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ฟื้นไข้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบ กรุณาตรวจสอบกันเอง แต่หากได้แป้งจากหัวเท้ายายม่อมแท้ๆ ก็น่าจะยังมีสรรพคุณดีจริงตามที่ตำราว่าไว้)
ดังนั้น หากจะไม่ให้เกิดความสับสนในแวดวงของผู้ใช้สมุนไพรไทย ตำรับยาที่มีการระบุชื่อของ "เท้ายายม่อม" อยู่ ควรจะแก้ไขเป็น "ไม้เท้ายายม่อม" เสียทั้งหมด ในส่วนของร้านค้าสมุนไพรนั้นก็ควรที่จะต้องมีรากหรือใบของ "ไม้เท้ายายม่อม" ทั้งชนิดดอกสีขาวและชนิดดอกสีแดงไว้ให้บริการให้ครบถ้วน เพื่อที่การปรุงยาสมุนไพรจะได้มีคุณภาพตรงตามตำรับอย่างแท้จริง
ส่วนผู้ที่ต้องการปรุงยาสมุนไพรนั้น พึงเข้าใจว่า ทุกครั้งที่ท่านไปขอซื้อสมุนไพรที่ชื่อ "เท้ายายม่อม" จงจำไว้ว่า นั่นคือ "ไม้เท้ายายม่อม" นั่นเอง แต่หากเป็นชื่อเฉพาะว่า "ปทุมราชา" ก็หมายถึง "ไม้เท้ายายม่อม ชนิดดอกสีแดง" แต่ถ้าตำราบอกว่าต้องการ "ปู่เจ้าหายใจไม่รู้ขาด" นั่นหมายความว่า ตำราต้องการ "ไม้เท้ายายม่อม ชนิดดอกสีขาว"
ที่มา http://www.thailand-farm.com/index.php?topic=161.0
บางคนเอาสองต้นมาปนกันมั่ว พูดถึงลักษณะท้าวยายม่อมแบบที่เป็นหัวแต่เอารูปท้าวยายม่อมแบบต้นมาเฉยเลย
ต้นเท้ายายม่อม ที่ใช้ทำแป้งเท้ายายม่อม หัวใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root
ต้นเท้ายายม่อมเป็นพืชล้มลุก มักขึ้นเป็นกอสืบพันธุ์ด้วยหัวใต้ดิน หัวของต้นเท้ายายม่อมขุดเอามาฝนทำแป้งเท้ายายม่อมได้
-ลักษณะ
ลำต้นตั้งตรง ใบขยายแผ่กว้าง หัวกลมหรือรี ใบรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก แต่ละแฉกเป็นใบประกอบหลายแฉกย่อย สีเขียวเข้ม ดอกออกจากหัวใต้ดิน ก้านช่อดอกยาวสูงเลยลำต้น ออกดอกเป็นพุ่มงามมาก ลำต้นเป็นเส้นริ้วเล็กๆลายเป็นทาง
ชาวสวนต้องไม่ขุดหัวจากกอแต่ละกอจนหมด คัดเลือกเอาเฉพาะหัวใหญ่ เพื่อสะดวกในการปอกเปลือกแล้วฝน หัวเล็กๆจะคืนลงกลบฝังโคนกออย่างเดิม ( แต่หาก หัวไหนโดนจอบหรือเสียม จนขาดหรือแหว่ง หัวนั้นก็จะไม่งอก )เมื่อหน้าฝน ก็จะงอกต้นใหม่ขึ้นมา
สำหรับต้นเก่าเมื่อออกดอกและสิ้นฝนไม่นานต้นก็จะเฉา เหี่ยวแห้งและตายไป ในฤดูหนาว ซึ่งรวมทั้งต้นที่ยังไม่ออกดอก ก็ตายด้วย
รอจนประมาณเดือน มกราคม กุมภาพันธ์จึงขุดเอาหัวขึ้นมา
ล้างดินที่เปลือกออกให้สะอาด ปอกเปลือกทิ้งไป แล้วกองในกะละมังมีน้ำแช่เพื่อสะดวกในการฝน
ใช้หัวนี้ฝนบนแผงสังกะสีที่ตีตะปู ถี่ๆ แบบกระต่ายจีน หงายด้านที่มีรูแหลมของหัวตะปูทะลุออก
วางแผงสังกะสีพาดขอบกะละมังแล้วเอาหัวฝนไปมา
เมื่อได้แป้งแล้วแล้วนำไปแช่น้ำไว้จนใสและแป้งนอนกันจึงเทน้ำทิ้ง ทำเช่นนี้ประมาณ 4-5 ครั้ง จึงนำแป้งที่ได้ไปตากแดดจนแห้ง แป้งเท้ายายม่อมเป็นแป้งที่มีราคาแพงเพราะมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก
ลักษณะของแป้งเท้ายายม่อม จะมีสีขาว เป็นลักษณะเม็ดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
ต้องระวัง เพราะมีต้นไม้อีกต้นที่สับสนกัน เพราะมีชื่อว่า "เท้ายายม่อม" เหมือนกัน แต่ความจริง ต้นนั้น มีชื่อเต็มว่า ต้น "ไม้เท้ายายม่อม"
ต้นเท้ายายม่อม
ดอกและผลของต้นเท้ายายม่อม เมื่อออกใหม่ๆจะมีสีเขียว
ดอกและผลของต้นเท้ายายม่อมเริ่มแก่ ดอก ผล และหนวด เริ่มเป็นสีเหลือง
ชาวสวนเชื่อว่าหากไม่ตัดดอกของเท้ายายม่อมออก จะไม่เกิดหัวใต้ดินให้ได้ขุดเอามาทำแป้งเท้ายายม่อม
หัวเท้ายายม่อม
ประโยชน์ :
ใช้เป็นสมุนไพรก็ได้ ใช้เป็นยาบำรุงกำลังก็ได้ หัวที่ใช้ทำเป็นแป้งได้ เรียกว่า William's arrow root แป้งเท้ายายม่อมเป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ให้คนไข้รับประทานดี เกิดกำลังและชุ่มชื่นหัวใจ
คนโบราณใช้หัวทำเป็นอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะคนแก่ที่ฟื้นไข้ ควรกินแป้งเท้ายายม่อมร่วมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาลกรวด จะทำให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยแก้อาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ได้ดีอีกด้วย
สำหรับคนทั่วไปการกินแป้งเท้ายายม่อมจะช่วยให้หายอ่อนเพลีย จิตใจชุ่มชื่น แก้ร้อนใน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร และบำรุงกำลังได้อย่างดี แม้แต่นักโภชนบำบัดสมัยใหม่ก็ยืนยันว่า แป้งเท้ายายม่อมมีคุณสมบัติเหมาะกับระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแป้งชนิดอื่นๆ ทั้งยังเชื่อว่าการบริโภคแป้งเท้ายายม่อมจะทำให้อารมณ์และจิตใจมีความสมดุล ไม่วิตกกังวลหรือซึมเศร้าจนเกินไป เรียกว่าสามารถทำให้อารมณ์แจ่มใส สมองปลอดโปร่งได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เท้ายายม่อมยังมีสรรพคุณในการแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย พิษผึ้ง กะพรุนไฟ โดยใช้หัวหรือรากฝนกับน้ำมะนาวทา ใช้โรยปากแผลเพื่อห้ามเลือด โรยถุงเท้าเพื่อป้องกันเชื้อรา ถอนพิษ แก้ผดผื่นคัน ลดสิวฝ้าทำให้หน้าขาว
ส่วนแป้งเท้ายายม่อมในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตน้อยลงเรื่อยๆ เพราะคนไม่นิยม แม้ว่าคุณค่าที่แฝงอยู่จะมีมากมายก็ตาม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช่แป้งละลายน้ำดิบ ใส่น้ำตาลกรวด ตั้งไฟกวนจนสุก ให้คนไข้รับประทาน
มีผลิตขายเป็นแป้งสำเร็จรูป
http://bangkrod.blogspot.com/2011/01/blog-post_31.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340193264&grpid=03&catid=&subcatid=
ส่วนท้าวยายม่อมอีกชนิดเป็นตัวที่ใช้รากมาเข้ายาเบญจโลกวิเชียร เป็นท้าวยายม่อมดอกขาว
ต้นท้าวยายม่อมดอกขาว
ใบคนทีสอ
ตำราบอกว่าดอกเหมือนดอกซิลชี้ ไม่รู้ว่าหมายถึงดอกชิงชี่รึเปล่า (อันนี้เดา)
ว่านพระยาผักบุ้งตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาผักบุ้งตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาผักบุ้ง ลักษณะลำต้นเป็นเถา ใบเหมือนผักบุ้ง แต่ว่าเล็กกว่า เป็นเถาเลื้อยเกาะ ไม่ทอดยอดเหมือนกับผักบุ้งธรรมดาใบและเถามีละอองขนเล็กน้อย เมื่อมีดอกแกจะเป็นฝักเหมือนกับฝักถั่วและ และมีเมล็ดอยู่ในฝัก เมล็ดและสีสันโตคล้ายกับเมล็ดดอกเทียนสีต่างๆที่ปลูกดูดอกสวยงามอยู่ทั่วๆไป สรรพคุณเป็นว่านคงกระพันชาตรี เอาเถาและใบมาตำผสมสุรารับประทานฟันแทงไม่เข้าดีนัก บางแห่งนักเลงพนันตีไก่ เอาไปตำผสมน้ำทาตามหน้าแข้งและหน้าของไก่"
ฝักถั่วแระ
ฝักถั่วแระ
ว่านพระยาหอกหักตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาหอกหักตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวว่า
"ว่านพระยาดาบหัก เมื่องอกครั้งแรก ลักษณะใบคล้ายกับหอกใบข้าว ก้านใบยาวเหมือนด้ามหอก หัวคล้ายหัวแห้วหมู เมื่อรับประทานไปสักครู่จะรู้สึกคันปากคอ ตลอดทั้งตัว สรรพคุณคงกระพันชาตรี และแก้โรคผิวหนัง"
"ว่านพระยาดาบหัก เมื่องอกครั้งแรก ลักษณะใบคล้ายกับหอกใบข้าว ก้านใบยาวเหมือนด้ามหอก หัวคล้ายหัวแห้วหมู เมื่อรับประทานไปสักครู่จะรู้สึกคันปากคอ ตลอดทั้งตัว สรรพคุณคงกระพันชาตรี และแก้โรคผิวหนัง"
ว่านพระยาดาบหักตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาดาบหักตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาดาบหัก ลักษณะคล้ายใบมีดดาบ ก้านใบเล็กสีเหมือนกับใบโศกอ่อน กลางของใบมักจะหักอยู่เสมอ หัวเหมือนหัวแห้วหมู ท่านว่าให้เอารากแก้วมาเสกด้วย "นะโมพุทธายะ อิติปิโสฯลฯ ภควาติ" แล้วเอารากนี้มาอมจะคงทนมิเข้าต่ออาวุธทั้งปวง"
หัวหญ้าแห้วหมู
สีของใบอ่อนต้นอโศก สีใบเขาจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นอมม่วงแปลกตาสวยดี
อันนี้ภูมิใจฝีมือถ่ายยอดอโศกสปันต้นที่บ้าน 555 เอิ้ก ใบเค้าสวยดีนะ สีม่วงแล้วจางลง ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวปกติ
ว่านพระยาหัวศึกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาหัวศึกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาหัวศึก (มี ๒ ชนิด ) ชนิดหนึ่งลำต้นและใบคล้ายกับขมิ้นอ้อย หัวใหญ่กลมขนาดหัวเผือก เนื้อของหัวสีขาว รสร้อนฉุนจัด
อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นลำต้นเหมือนต้นกระดาษแดง หัวใหญ่กลมขนาดหัวเผือก รสคันจัดมาก มีหน่อดังไหลบอน ชนิดคล้ายพันธุ์หัวกระดาษนี้ ท่านว่าเมื่อจะขุดให้พลีด้วยหมาก ๑ คำ เอาข้าวคลุกด้วยน้ำตาลหม้อ ใส่กระทงวางพลีไว้ทั้ง ๔ ทิศ แล้วจึงขุด ถ้าจะให้อยู่คงกระพันยิ่งนัก ก็ให้ขุดว่านนี้ในวันอังคาร"
ต้นกระดาดเป็นไม้ตระกูลบอนที่มีขนาดใหญ่มาก มีทั้งกระดาดขาว กระดาดเขียว กระดาดแดง กระดาดดำ และจ้นทูนหรือตูน ตัวหลังนี้กินกับส้มตำ กรอบอร่อย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชอบน้ำ ชอบร่ม ต้องบันทึกไว้สักเล็กน้อยๆไม่งั้นคนรุ่นหลังจะไปเรียกต้นยูคาลิปตัสว่าเป็นต้นกระดาษตามดับเบิ้ลเอกันหมด
เอามันรูปแสตมป์นี้แหล่ะ สวยดี 555
ต้นกระดาดดำหรือบางที่เรียกกระดาดแดง
"ว่านพระยาหัวศึก (มี ๒ ชนิด ) ชนิดหนึ่งลำต้นและใบคล้ายกับขมิ้นอ้อย หัวใหญ่กลมขนาดหัวเผือก เนื้อของหัวสีขาว รสร้อนฉุนจัด
อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นลำต้นเหมือนต้นกระดาษแดง หัวใหญ่กลมขนาดหัวเผือก รสคันจัดมาก มีหน่อดังไหลบอน ชนิดคล้ายพันธุ์หัวกระดาษนี้ ท่านว่าเมื่อจะขุดให้พลีด้วยหมาก ๑ คำ เอาข้าวคลุกด้วยน้ำตาลหม้อ ใส่กระทงวางพลีไว้ทั้ง ๔ ทิศ แล้วจึงขุด ถ้าจะให้อยู่คงกระพันยิ่งนัก ก็ให้ขุดว่านนี้ในวันอังคาร"
ต้นกระดาดเป็นไม้ตระกูลบอนที่มีขนาดใหญ่มาก มีทั้งกระดาดขาว กระดาดเขียว กระดาดแดง กระดาดดำ และจ้นทูนหรือตูน ตัวหลังนี้กินกับส้มตำ กรอบอร่อย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชอบน้ำ ชอบร่ม ต้องบันทึกไว้สักเล็กน้อยๆไม่งั้นคนรุ่นหลังจะไปเรียกต้นยูคาลิปตัสว่าเป็นต้นกระดาษตามดับเบิ้ลเอกันหมด
เอามันรูปแสตมป์นี้แหล่ะ สวยดี 555
ต้นกระดาดดำหรือบางที่เรียกกระดาดแดง
ว่านพระยากลอยตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยากลอยตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยากลอย ลักษณะลำต้นเป็นเถาเหมือนเถาต้นกลอย ต้นยาวประมาณ ๑-๒ เมตร ใบเหมือนใบกลอยแต่เล็กกว่า ขอบใบและก้านแดง หัวกลมโตเท่ากับไข่ห่านหรือไข่เป็ด หัวสีเขียวดังน้ำสีคราม สรรพคุณเป็นยาฆ่าปรอทตาย"
"ว่านพระยากลอย ลักษณะลำต้นเป็นเถาเหมือนเถาต้นกลอย ต้นยาวประมาณ ๑-๒ เมตร ใบเหมือนใบกลอยแต่เล็กกว่า ขอบใบและก้านแดง หัวกลมโตเท่ากับไข่ห่านหรือไข่เป็ด หัวสีเขียวดังน้ำสีคราม สรรพคุณเป็นยาฆ่าปรอทตาย"
ว่านพระริดตีนปูตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระริดตีนปูตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระริดตีนปู ลักษณะลำต้นเป็นเถา เป็นข้อ ๆ มีใบตามข้อละ ๕ ใบๆเล็กเท่ากับตีนปู ถ้าพบเห็นแล้วต้องการรู้ว่าว่านนี้ใช่พระริดตีนปูหรือไม่ ให้เอาว่านน้มาพาดบนหลังปูนา ถ้าขาปูนาหลุดว่านนี้ก็เป็นว่านที่แท้จริง สรรพคุณ เป็นยาฆ่าปรอทและเป็นทุนสิทธิ์"
ว่านพระริดตีนปูคิดว่าน่าจะเป็นต้นเดียวกับก้ามปูหลุด แต่คงไม่ทดสอบว่าจริงรึเปล่ามันบาป
ต้นก้ามปูหลุดทำเป็นไม้แขวนสวยงาม รูปจากร้านสวนทวีศักดิ์พันธุ์ไม้ เวป nanagarden
"ว่านพระริดตีนปู ลักษณะลำต้นเป็นเถา เป็นข้อ ๆ มีใบตามข้อละ ๕ ใบๆเล็กเท่ากับตีนปู ถ้าพบเห็นแล้วต้องการรู้ว่าว่านนี้ใช่พระริดตีนปูหรือไม่ ให้เอาว่านน้มาพาดบนหลังปูนา ถ้าขาปูนาหลุดว่านนี้ก็เป็นว่านที่แท้จริง สรรพคุณ เป็นยาฆ่าปรอทและเป็นทุนสิทธิ์"
ว่านพระริดตีนปูคิดว่าน่าจะเป็นต้นเดียวกับก้ามปูหลุด แต่คงไม่ทดสอบว่าจริงรึเปล่ามันบาป
ต้นก้ามปูหลุด ที่นำมาใช้แต่งสวนทั่วๆไป
ว่านพระยาแร้งตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาแร้งตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาแร้ง ( บางตำราเรียกว่าว่านแร้งคอดำ ) ลักษณะลำต้น ใบ เหมือนต้นพลับพลึง แต่หัวโตกลมคล้ายหอมฝรั่ง ที่โคนใบมีสีแดงกลืนไปตามท้องกระดูกกลางใบและมีสีแดงรอบที่คอต้น สรรพคุณใช้แก้มดลูกเคลื่อนดีนักและคงกระพันด้วย"
ว่านตัวนี้สังเกตุง่าย อ.วุฒิ วุฒิธรรมเวชบอกว่าว่านนี้ใช้รักษามดลูกดีกว่าว่านชักมดลูกอีกด้วย น่าเสียดายที่ลืมถามวิธีใช้
ต้นนี้ก็สังเกตุง่าย คล้ายพลับพลึงแต่ต้นเล็กกว่าที่คอมีสีคล้ำ คาดอ้อมอยู่ หาไม่ยาก ราคาไม่แพง
รูปจาก สวนเกษตรอินทรีย์ nanagarden
"ว่านพระยาแร้ง ( บางตำราเรียกว่าว่านแร้งคอดำ ) ลักษณะลำต้น ใบ เหมือนต้นพลับพลึง แต่หัวโตกลมคล้ายหอมฝรั่ง ที่โคนใบมีสีแดงกลืนไปตามท้องกระดูกกลางใบและมีสีแดงรอบที่คอต้น สรรพคุณใช้แก้มดลูกเคลื่อนดีนักและคงกระพันด้วย"
ว่านตัวนี้สังเกตุง่าย อ.วุฒิ วุฒิธรรมเวชบอกว่าว่านนี้ใช้รักษามดลูกดีกว่าว่านชักมดลูกอีกด้วย น่าเสียดายที่ลืมถามวิธีใช้
ต้นนี้ก็สังเกตุง่าย คล้ายพลับพลึงแต่ต้นเล็กกว่าที่คอมีสีคล้ำ คาดอ้อมอยู่ หาไม่ยาก ราคาไม่แพง
รูปจาก สวนเกษตรอินทรีย์ nanagarden
วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ว่านพระยาแร้งแค้นตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาแร้งแค้นตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาแร้งแค้น ลักษณะลำต้นเหมือนต้นผักกาดน้ำแต่ว่าเล็กกว่า ใบเป็นจักค่อนข้างละเอียอดกว่าใบผักกาดน้ำ ขอบใบและก้านใบแดง หลังใบขาว ท้องใบเป็นละอองขน สรรพคุณเป็นยาฆ่าปรอท"
ลองอ่านข้อมูลนี้ดูเป็นการแยกประเภทว่านตามการใช้ประโยชน์ของสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย
"นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ แพร่วิทยา 60.- เจอในห้องสมุดกลางน้ำ
ฤาษีที่ให้กำเนิดว่าน กะวัต กะวัตพัน สัพรัตถนาถ จังตังกะปิละ
ประเภทต้องทำพิธีก่อนขุด
1.ว่านกบ
ให้เขียนยันต์นี้เสกใส่ฝ่ามือก่อนขุด
862
159
743
ว่านนี้ไม่ชอบของสกปรก
2.ว่านหญ้า ณ รังษี
วงศ์ Amaryllidaceae
ว่านนี้จะขึ้นในแรม 1 ค่ำเดือน 8 จะมีเทวดามาบำเรอฆ้องกลองสังข์ พอแรม 1 ค่ำเดือน 11 เทวดาจะจากไป จะเอาว่านนี้ต้องนุ่งขาวห่มขาว ถือศีล 5/8 แต่งเครื่องกระยาบวช ข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน เอานพรัตน์หว่านรอบต้น บูชาเทวดา 4 ทิศ สวดคาถาตั้งแต่ ทุขปัตตา ถึง ลภนัตเทวตา ทำในวันอาทิตย์ แรม 1 ค่ำเดือน 8 จึงค่อยขุด
3.ว่านพระจันทร์
หายาก ป้องกันภัย จะไปเอาต้องถือศีล5/8 บูชาเทวดาด้วยเครื่องกระยาบวช แก้วสีเรียงรายรอบต้น เสกด้วย อุมะนะ จันทระ โคระตะ ธาตุ รุคะกะ กะตะ ตัสสะ พะวะไกยะ ประสิทธิเม
4.ว่านพระนารายณ์
ควรปลูกคู่กับว่านมเหศวร
ขุดว่านต้องถือศีล 5/8 บูชาเทวดาเอาพลอยโรยรอบต้น เสกด้วย กุมานะ จันทระ โคระตะธาตุ รุคากะ กะตะ ตัสสะ พะวะไกยะ ประสิทธิเม
5.ว่านพระยาหัวศึก
คงกะพัน ต้องขุดวันอังคาร พลีด้วยหมาก 1 คำ ข้าวคลุกน้ำตาลหม้อใส่กระทงวาง 4 ทิศ แล้วค่อยขุด
6.ว่านเพชรม้า
เอาหัวมาฝนกับเหล้า/น้ำ ทาหัวเข่าลงมาถึงขา เดินวิ่งไม่เหนื่อย
เอาหัวมาตำเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นก้อนเท่าเม็ดถั่วพู กินวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ให้เขียนยันต์ใส่มือก่อนขุด
9 465 178
2
3
-------------------------------------
ประเภทมีกำลังมาก
ว่านเพชรม้า
เอาหัวมาฝนกับเหล้า/น้ำ ทาหัวเข่าลงมาถึงขา เดินวิ่งไม่เหนื่อย
เอาหัวมาตำเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งแท้ปั้นเป็นก้อนเท่าเม็ดถั่วพู กินวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ให้เขียนยันต์ใส่มือก่อนไปขุด
ประเภทมีกำลังมาก
1.ว่านกระทู้ 7 แบก เมื่อกินหัวว่านจะชาไปทั้งตัว มีกำลังเพิ่มขึ้น คงกระพัน แม้จะโดนตีด้วยไม้กระทู้ตั้ง 7 แบกก็ไม่แตกไม่ช้ำใดๆ
2.ว่านเกราะเพชรไพฑูรย์
หายาก ไม่ชอบของอัปมงคล ถ้าโดนของพวกนี้ว่านจะตาย คงกระพัน+มีกำลังมาก
3.ว่านขันหมาก
ใครหามาปลูกได้ ผู้นั้นเหมือนมีของกายสิทธิ์ไว้กับตัว เพราะเมื่อกินผลของว่านนี้จะเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นหนุ่มสาวเหมือนตอนก่อนจะกินว่าน ไม่รู้จักแก่ อายุยืน ฟันไม่หัก ผมไม่หงอก มีกำลังมาก คงกระพัน เดินไม่เมื่อยเลย
4.ว่านนิลพัฒน์/ไฟ/เพลาะแพละ/คว่ำตายหงายเป็น
ทาถูนวดผสมการบูรแก้เคล็ด เนื้อหนังชา โดนฟันแทงไม่เจ็บ ถ้าเอามาฝนทามือชกใครก็ตาม คนนั้นจะเจ็บปวดยกมือยกเท้าไม่ขึ้น
ถ้ากินหัวว่านนี้จะสามารถแบกหามชักรากไม้ได้โดยไม่เหนื่อย นึกทำสิ่งใดจะสำเร็จ
5.ว่านมหาปราบ
ดีเลิศอันดับ 1 ด้านคงกระพัน มีกำลังมากดุจช้างสาร
6.ว่านมหาเมฆ
ล่องหนได้ ถ้ากินจะมีกำลังมากเท่า 7 ช้างสาร สามารถถอนต้นยางต้นตาลได้ง่ายๆ ยกช้างได้ ศัตรู 100 คนรุมจับไม่อยู่
7.ว่านแม่ทัพ
มหากำลัง แก้จุกเสียดแน่น
8.ว่านล้อมทั่วมฤดู
เอาหัวมาหุงน้ำมันกินเกิดพละกำลัง
9.ว่านสากเหล็ก
ทามือก่อนชก คนโดนชกจะเจ็บปวดไปถึงหัวใจ คงกระพัน มีแรงมาก สามารถต่อสู้กับเสือหมีช้างได้ทุกอย่าง สามารถต่อสู้กับพญาครุฑ - พญานาคและนกหัสดินทร์ได้
10.ว่านเสือ
มีกำลังมากแม้จะแก่แล้วก็สามารถยกควายได้ทั้งตัว+คงกระพัน
11.ว่านอานุภาพ
มีกำลังมาก+คงกระพัน
12.ว่านท้าวชมภู
ตำผงผสมน้ำผึ้งกินเป็นมหากำลัง คงกระพัน อายุยืน
ประเภทตีค่าตำลึงทอง
1.ว่านสาวหลง/ฤาษีผสม
ตีค่าทองคำ 400 ล้านบาท เมตตามหานิยมชั้นสูงสุด ปลูกวันเสาร์ได้วันเดียวเท่านั้น
เวลาปลูกให้หันหน้าทางทิศตะวันออก
2. ว่านแสงอาทิตย์/ตะกร้อ/กระทุ่ม
ตีค่าแสนตำลึงทอง
กินว่านนี้จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ทาตาจะเป็นตาทิพย์ ล่องหนได้
3.ว่านหนุมาน
ตีค่าแสนตำลึงทอง
4.ว่านกำแพงเพชร 7 ชั้น
ป้องกันภูตผีปีศาจ ตีค่าพันตำลึงทอง กันคุณไสย
5.ว่านเถารางจืด
รสเย็น ถอนพิษเบื่อเมา เอาหัวว่านไปผสมสิ่งใด สิ่งนั้นจะจืดหมด ผสมกับเกลือทำให้เกลือจืด ผสมเหล้าทำให้เหล้าจืด กินไม่เมา เป็นไม้หายาก ตีค่า 5 พันตำลึงทอง
ประเภทคงกระพัน
1.ว่านกระชายดำ
แก้บิด แก้ป่วง ยาอายุวัฒนะ คงกระพัน
2.ว่านกระท่อมเลือด
คงกระพัน
3.ว่านกระทู้
คงกระพัน กินแก้เมื่อยขบ
4.ว่านกระบี่ทอง/นางวันทองห้ามทัพ
อมแก้หวัดลงคอ คงกระพัน แก้แซง้อ คอตีบ
5.ว่านกระสือ
คงกระพัน กายสิทธิ์ลอยเป็นกระสือไปหากินโดยใช้ใบหน้าของคนที่ปลูก
6.ว่านกาสัก/พระยากาสัก/เสือนั่งร่ม/หอกหล่อ
คงกระพัน
7.ว่านกำแพงขาว
เป็นยาประสานบาดแผล + คงกระพัน
8.ว่านกลิ้งกลางดง
กินหรือติดตัวเป็นคงกระพัน
9.ว่านกีบแรด
รสเย็นชืด สัตว์ป่าชอบกินมาก กินแก้ปวดหัว แก้ไข้พิษ ขับปัสสาวะ แก้ตาเจ็บ คงกระพัน ยาอายุวัฒนะ
10.ว่านชักมดลูกตัวเมีย
คงกระพัน
11.ว่านขมิ้น
แก้ลม แก้บวม แก้ไข้ทั้งปวง คงกระพัน
12. ว่านขมิ้นแดง/ปัดตลอด
ยาบำรุงกำลัง+คงกระพัน
13.ว่านเขาควายใหญ่
คงกระพัน
14.ว่านเขาควายเหล็ก
คงกระพัน
15.ว่านเขาวัว
คงกระพัน
16.ว่านค้อนหน้าทั่ง
คงกระพัน
17.ว่านคางคก
กินแล้วจะคันตัวยิกๆ อยู่คงชั่วขณะหนึ่ง พอปัสสาวะออกมาก็หมดฤทธิ์ ให้กินก่อนโดนโบยตี
18.ว่านพระยาปลิง/คืบ/พืชมงคล
คงกระพัน ถ้าเอาหัวว่านนี้ลงน้ำ ปลิงจะไม่มาเกาะเลย
19.ว่านจักรไกร
คงกระพัน
20.ว่านจักรพรรดิ/มหาจักรพรรดิ
คงกระพัน
21.ว่านใจดำ
คงกระพัน
22.ว่านเฒ่าหนังแห้ง
คงกระพัน แค่พกใบเอาไว้ก็คงกระพัน
23.ว่านเณรแก้ว
คงกระพัน
24.ว่านแดกแด้/ตัวไหม
ติดตัวเป็นคงกระพัน ห้ามใช้ฟันเชือกหนือเถาใดๆ ฤทธิ์จะเสื่อม
25.ว่านตาลปัตรฤาษี
กินอยู่คง ติดตัวแคล้วคลาด
26.ว่านเต่า
คงกระพัน + เมตตามหานิยม
27.ว่านท้าวชมภูหนังแห้ง(สีแดง)
ใช้ได้ทุกส่วน คงกระพันโดยไม่ต้องใช้คาถาเสก
28.ว่านนารายณ์แบ่งภาค
คงกระพัน
29.ว่านนารายณ์แปลง
คงกระพัน + กันเสนียดจัญไร
30.ว่านน้ำเต้าทอง
ศิริมงคล + คงกระพัน
31.ว่านปรอท
ติดตัวคงกระพัน
32.ว่านปัดตลอด
เสน่ห์+คงกระพัน ทำสิ่งใดมักสำเร็จด้วยบารมีของว่าน
33.ว่านประกานเหล็ก/กายประสิทธิ์
คงกระพัน
34.ว่านปราบสมุทร/เพชรคง
เมตตา+คงกระพัน
35.ว่านพระยาช้างเผือก/พระยาเสวก
แก้พิษงู/หมาบ้า ผีกลัว คงกระพัน แก้เจ็บเอว+เจ็บหลัง
36.ว่านพระยาปัจเวก
แก้พิษงู กันผีปีศาจ คงกระพัน ศิริมงคล ถ้าโดนลิ้นจะเป็นใบ้ลิ้นแข็ง
37.ว่านพระยาดาบหัก
คงกระพัน
38.ว่านพระยาแร้งคอดำ/คอแดง
คงกระพัน + แก้ริดสีดวงทวาร
39.ว่านพระยากาสักดำ
คงกระพัน
40.ว่านพระยาหอกหัก
คงกระพัน
41.ว่านพระยาหัวเดียว
คงกระพัน ถ้าได้กินหัวว่านนี้ 3 หัว ศพไม่ไหม้ไฟ เอาหัวมาฝนทามือไปชกใคร คนนั้นจะเจ็บปวดมาก
42.ว่านเพชรกลับ
คงกระพัน+กันคุณไสย
43.ว่านเพชรใหญ่
คงกระพัน
44.ว่านเพชรตาเหลือก
คงกระพัน ถ้าปลูกในบ้านจะทำให้โชคลาภหลุดลอย
45.ว่านเพชรหน้าท้อง
คงกระพัน
46.ว่านเพชรน้อย
กินหัวจะชาตามผิวหนัง ระงับความเจ็บปวด คงกระพัน
47.ว่านเพชรไพรวัลย์
หอมเหมือนดอกกระถิน เมตตามหานิยม+คงกระพัน
48.ว่านไพลขาว
คงกระพัน
49.ว่านมรกต
แก้ปวดท้อง แก้ธาตุพิการ คงกระพัน
50.ว่านม่วง
คงกระพัน
51.ว่านหมื่นปี/อ้ายใบ้
คงกระพัน ถ้ายางโดนลิ้นจะเป็นใบ้
52.ว่านหมูกลิ้ง
คงกระพันมาก
53.ว่านลิงดำ
คงกระพัน
54.ว่านเหล็กไหล
คงกระพัน
55.ว่านรางเงิน
คงกระพัน
56.ว่านโรหิณี
กินแก้โรคกษัย อายุวัฒนะ คงกระพัน
57.ว่านศรนารายณ์
คงกระพัน+เมตตา
58.ว่านสบู่ทบ
คงกระพัน
59.ว่านสบู่หลวง
คงกระพัน ถ้ากินจะผื่นขึ้น
60.ว่านสบู่ส้ม
คงกระพัน + อายุวัฒนะ
61.ว่านสายรุ้ง
แก้บิด ห้ามเลือดหยุดในทันที คงกระพัน
62.ว่านหนุมานตกแท่น
คงกระพัน
63.ว่านหนุมานทรงเครื่อง
คงกระพัน
64.ว่านหนุมานนั่งแท่น
คงกระพัน
65.ว่านหางลิง
คงกระพัน
66.ว่านอาหนัง
คงกระพัน
67.ว่านขมิ้นขาว
เสน่ห์+คงกระพัน
ประเภทแก้พิษ
1.ว่านปลาไหลน้อย
กินแก้คุณไสย + ห้ามกินปลาไหลเด็ดขาด
2.ว่านปลาไหลใหญ่
กินแก้คุณไสย
3.ว่านปลาไหลเหลือง
แก้ลมเพลมพัด แก้ยาเบื่อเมาจากพืช/หอย/ปลา/แมลงได้ทุกชนิด
4.ว่านปลาไหลม่วง
แก้คุณไสย
5.ว่านเปราะบ้าน/เปราะหอม
รสหอมร้อน กระทุ้งพิษ แก้ปวดท้อง เจริญธาตุไฟ หัวใช้เป็นเครื่องเทศใส่แกงได้
6.ว่านพระยาดำ
แก้พิษเบื่อเมา
7.ว่านพระยาจงอาง
แก้พิษงูทุกชนิด
8.ว่านพระยานกยูง/ผักตีนกวาง/กูดซัง
เหง้าแก้พิษงู แก้กามโรค แก้เยื่อจมูกอักเสบ รักษาไอกรน
ต้นอ่อน+ใบอ่อนแกงกินได้ มีรสหวาน
9.ว่านหมอก
แก้พิษทุกชนิด กลิ่นฉุนร้อนจัด
10.ว่านร่อนทอง
แก้พิษทั้งปวง แก้บิด มูกเลือด กลิ่นหอมหวานเหมือนกระชาย
11.ว่านฤาษี
แก้พิษว่าน แก้บวมทั่วตัว
12.ว่านแสนนางล้อม
กันไฟไหม้ กันพิษว่านยา
13.ว่านหนุมานยกทัพ
ต้นใบคล้ายกระชาย แก้พิษทุกอย่าง
14.ว่านขอทอง
* วิเศษกว่าว่านแก้พิษทั้งปวง *
แก้พิษเบื่อเมาจากเห็ด หอย ว่าน พันธุ์ไม้ต่างๆได้ คนโดนผีเข้าถ้าได้กำหัวว่านนี้จะชักดิ้นชักงอทันที
หายาก ใครมีเหมือนได้ลาภอันประเสริฐ
15.ว่านข่าจืด
ทำเป็นลูกประคำ เสกด้วย นะโมพุทธายะ 108 คาบ ใครคิดฆ่าด้ยยาพิษใดๆกลายเป็นจืดสิ้น
16.ว่านงูเห่า
แก้พิษงูทุกชนิด
17.ว่านจั๊กจั่น
แก้พิษงู
18.จ่าว่าน/พระยาว่าน
แก้พิษว่านอื่น ถ้าเอาว่านนี้ปลูกรวมกับว่านอื่น ว่านอื่นจะกลายเป็นจ่าว่านไปด้วย
ให้นำว่านนี้ปลูกแยกใส่กระถางวางรวมกับว่านอื่น จะช่วยรักษาว่านอื่นให้คงฤทธิ์เอาไว้ไม่เสื่อม
19.ว่านรางจืด
แก้ถูกพรายอากาศ ลมเพลมพัด
20.ว่านถอนโมกขศักดิ์
แก้ของเบื่อเมา วางในอาหาร ถ้าหมุนติ้วหรือกระตุกขึ้นลงแสดงว่ามีพิษ
21.ว่านหนังแห้ง/เฉลิมโลก
แก้พิษสัตว์กัดต่อย คงกระพัน
22.ว่านพระยานางดำ
มีรสร้อน แก้ฤทธิ์ว่านทั้งปวง เสน่ห์เมตตา
ประเภทฆ่าปรอท
1.ว่านผักเบี้ยโหรา
ทอดดีบุกเป็นเงิน กินถึงตาย
2.ว่านพระยากลอย
3.ว่านพระยากรวด
4.ว่านพระยากา
รากเหมือนมะกอก ยางเหมือนต้นงิ้ว
5.ว่านพระยางู
6.ว่านพระยาหมี
ในวันดับ คือ 15 ค่ำสิ้นเดือน จะได้ยินเสียงดังเหมือนหมี
7.ว่านพระยาริดตีนปู
เอาไปวางบนหลังปู ขาปูหลุดหมดทันที
8.ว่านพระยาแร้งแค้น
กลิ่นเหมือนกระเทียม
9.ว่านพระยาอังกุลี
10.ว่านสมอ
11.ว่านแสงฟ้า
12.ว่านเขามูกหลวง
13.ว่านช้อยนางรำ/มีดยับ/แผวแดง
เมตตา กวักเงินกวักทองเข้าบ้าน ฆ่าปรอท
14.ว่านนาคราช/พระยานาค
ประเภทอื่นๆ
1.ว่านเนรกันถีย์
เลี้ยงไว้เสี่ยงโชค เวลาปลูกอย่าให้เงาทับต้นว่าน
2.ว่านปลาไหลขาว/ปลาไหลเผือก
แก้ปวดฟัน
3.ว่านเปราะน้อย/ค้ำคูณ
เมตตา
4.ว่านผักปลับ/โสม/ผักบุ้ง
ว่านกายสิทธิ์ กันภัย กินยางว่านนี้จะกลายเป็นคนกายสิทธิ์ ไม่แก่ ไม่มีโรค ควรใช้กระถางบัวปลูก
5.ว่านพงพอน/ดีงูหว้า
ให้ช้างม้ากินจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ แก้ปวด รักษาธาตุพิการ
6.ว่านพัดแม่ชี
ปัดจัญไร
7.ว่านพระเจ้า 5 พระองค์
วงศ์มะม่วงหิมพานต์ คุ้มภัย กันผี
8.ว่านพระตบะ
มีรสร้อนฉุนจัด เนื้อในสีขาวมีฤทธิ์เป็นปรอท แม้แต่ใบ-ราก-ดินที่ใช้ปลูกก็สามารถซัดไล่ผีได้ กันพรายบก พรายน้ำ พรายอากาศ
ถ้านำว่านนี้ไปถามคนทรงเจ้าตัวจริง จะบอกถูกว่ามีสรรพคุณอะไร ถ้าคนทรงหลอกๆจะไม่รู้จัก พวกพระภูมิเจ้าที่รู้จักว่านนี้ดีเพราะว่านนี้ไม่ทำอันตรายพวกท่าน
ควรนำว่านนี้ใส่กรอบห้อยคอไว้ กันผีได้ทุกประเภท
9.ว่านพระมเหศวร
ผีกลัวเหมือนว่านพระตบะ
10.ว่านพระอาทิตย์
กันภัย
11.ว่านพระยากระบือ
วันอังคารและวันเสาร์จะร้องเสียงกระบือ นำพาโชคลาภ
12.ว่านพระยานก
กันไฟ กันภัย กรีดเอายางมาต้มกินอายุยืน
13.ว่านพระยาลิ้นงู
หัวว่านอยู่กับใคร ตะขาบ+งูจะไม่สามารถอ้าปากกัดคนนั้นได้
14.ว่านพืด
นำพาลาภผล
15.ว่านเพชรสังฆาต
เถากินแก้กระดูกแตกหักซ้น
16.ว่านพุทธกวัก
เมตตา กันภัย มหามงคล
17.ว่านไพลดำ
Zingiber Specatbile [ Griff ]
แก้ลำไส้เป็นแผล ยาบำรุงกำลัง
18.ว่านมหาอุดม
แบบเดียวกับว่านดอกทอง
19.ว่านม้าสีหมอก
เมตตา
20.ว่านม้าห้อ
เดินไม่เหนื่อย รักษริดสีดวงทวาร
21.ว่านสันโดษ
บำรุงกำลัง แก้โรคหัวใจ
22.ว่านเอ็นเหลือง
ต้มหัวกินแก้อัมพาต เหน็บชา เบาหวาน ไตพิการ
23.ว่านกระชายแดง
ยาอายุวัฒนะ
24.ว่านการบูรเลือด
มีธาตุปรอท ถ้าเคียวกินฟันจะโยก
25.ว่านกำบัง
กันโทษภัยจากว่านร้ายๆอื่นๆ
26.ว่านไก่ขัน
เสน่ห์เจ้าชู้ ก่อนกินท่อง คิวะหายัง มะธุรังวาจา คิวะหาวาจันติ พุทธะสิตะวา จะสุพะธะรัง ปิยาเยวะ ปิยุนตุถา 3 จบ.
27.ว่านขุนแผนสะกดทัพ
พกติดตัวเป็นเมตตามหานิยม ถ้าจะทำให้หลับเคลิบเคลิ้ม เสกด้วยคาถาฤาษีแปลงสาร
ภะคะวา สุคะโต อะระหัง 7 จบ.
28.ว่านเขียด
นำลาภมาสู่
29.ว่านคงคา
ดับพิษร้อนในและนอกร่างกาย ยาอายุวัฒนะ กินแล้วไม่แก่เฒ่า ตาไม่เสื่อมไม่ต้องใช้แว่น
30.ว่านกวัก
แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ แก้เบาหวาน ไตพิการ
31.ว่านจังงัง
เมตตา
32.ว่านจันทโครพ
เมตตา
33.ว่านฉัตรพระพรหม
ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข
34.ว่านช้างผสมโขลง
เสน่ห์เมตตา ออกดอกจะมีโชคลาภ
35.ว่านไชยมงคล/ศรีคันไชย
ศิริมงคล พกติดตัวทำอะไรก็ได้รับชัยชนะ
36.ว่านดอกไก่
เสน่ห์เจ้าชู้
37.ว่านดอกทอง
แค่น้ำที่รดผ่านว่าน ก็ทำให้เกิดอารมณ์พิศวาสได้ ใช้ได้ทั้งต้น
38.ว่านดอกบัว/บัวเคือ
ยาอายุวัฒนะ ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดพุทรา กินเป็นยาบำรุงธาตุ
39.ว่านดาบนารายณ์
สิริมงคล มีลาภ เมตตา ปัดเสนียด
40.ว่านดินสอฤาษี
แบบเดียวกับว่านดอกทอง
41.ว่านทรหด
แก้ไส้เลื่อน แก้เบาหวาน ห้ามกินของมันจัด-คาวจัด
42.ว่านทางเงิน
เมตตา
43.ว่านนกคุ้ม
กันไฟ
44.ว่านนกยูง
เมตตา
45.ว่านนางกวัก
เล่นกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสามทอง ล่องหาโดนเอาหัวว่านมาห่อผ้าเช็ดหน้าโพกหัว อยากได้สิ่งใดสำเร็จดังใจ
46.ว่านนางคุ้ม/ผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน
กันไฟ คุ้มภัยเกราะเพชร 7 ชั้น
47.ว่านนางพญาหงษ์ทอง
เสน่ห์
48.ว่านนางมาควดี/มหาโชค
หายาก บำรุงโลหิต
49.ว่านนางล้อม
กันภัย "
"ว่านพระยาแร้งแค้น ลักษณะลำต้นเหมือนต้นผักกาดน้ำแต่ว่าเล็กกว่า ใบเป็นจักค่อนข้างละเอียอดกว่าใบผักกาดน้ำ ขอบใบและก้านใบแดง หลังใบขาว ท้องใบเป็นละอองขน สรรพคุณเป็นยาฆ่าปรอท"
ลองอ่านข้อมูลนี้ดูเป็นการแยกประเภทว่านตามการใช้ประโยชน์ของสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย
"นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ แพร่วิทยา 60.- เจอในห้องสมุดกลางน้ำ
ฤาษีที่ให้กำเนิดว่าน กะวัต กะวัตพัน สัพรัตถนาถ จังตังกะปิละ
ประเภทต้องทำพิธีก่อนขุด
1.ว่านกบ
ให้เขียนยันต์นี้เสกใส่ฝ่ามือก่อนขุด
862
159
743
ว่านนี้ไม่ชอบของสกปรก
2.ว่านหญ้า ณ รังษี
วงศ์ Amaryllidaceae
ว่านนี้จะขึ้นในแรม 1 ค่ำเดือน 8 จะมีเทวดามาบำเรอฆ้องกลองสังข์ พอแรม 1 ค่ำเดือน 11 เทวดาจะจากไป จะเอาว่านนี้ต้องนุ่งขาวห่มขาว ถือศีล 5/8 แต่งเครื่องกระยาบวช ข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน เอานพรัตน์หว่านรอบต้น บูชาเทวดา 4 ทิศ สวดคาถาตั้งแต่ ทุขปัตตา ถึง ลภนัตเทวตา ทำในวันอาทิตย์ แรม 1 ค่ำเดือน 8 จึงค่อยขุด
3.ว่านพระจันทร์
หายาก ป้องกันภัย จะไปเอาต้องถือศีล5/8 บูชาเทวดาด้วยเครื่องกระยาบวช แก้วสีเรียงรายรอบต้น เสกด้วย อุมะนะ จันทระ โคระตะ ธาตุ รุคะกะ กะตะ ตัสสะ พะวะไกยะ ประสิทธิเม
4.ว่านพระนารายณ์
ควรปลูกคู่กับว่านมเหศวร
ขุดว่านต้องถือศีล 5/8 บูชาเทวดาเอาพลอยโรยรอบต้น เสกด้วย กุมานะ จันทระ โคระตะธาตุ รุคากะ กะตะ ตัสสะ พะวะไกยะ ประสิทธิเม
5.ว่านพระยาหัวศึก
คงกะพัน ต้องขุดวันอังคาร พลีด้วยหมาก 1 คำ ข้าวคลุกน้ำตาลหม้อใส่กระทงวาง 4 ทิศ แล้วค่อยขุด
6.ว่านเพชรม้า
เอาหัวมาฝนกับเหล้า/น้ำ ทาหัวเข่าลงมาถึงขา เดินวิ่งไม่เหนื่อย
เอาหัวมาตำเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นก้อนเท่าเม็ดถั่วพู กินวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ให้เขียนยันต์ใส่มือก่อนขุด
9 465 178
2
3
-------------------------------------
ประเภทมีกำลังมาก
ว่านเพชรม้า
เอาหัวมาฝนกับเหล้า/น้ำ ทาหัวเข่าลงมาถึงขา เดินวิ่งไม่เหนื่อย
เอาหัวมาตำเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งแท้ปั้นเป็นก้อนเท่าเม็ดถั่วพู กินวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ให้เขียนยันต์ใส่มือก่อนไปขุด
ประเภทมีกำลังมาก
1.ว่านกระทู้ 7 แบก เมื่อกินหัวว่านจะชาไปทั้งตัว มีกำลังเพิ่มขึ้น คงกระพัน แม้จะโดนตีด้วยไม้กระทู้ตั้ง 7 แบกก็ไม่แตกไม่ช้ำใดๆ
2.ว่านเกราะเพชรไพฑูรย์
หายาก ไม่ชอบของอัปมงคล ถ้าโดนของพวกนี้ว่านจะตาย คงกระพัน+มีกำลังมาก
3.ว่านขันหมาก
ใครหามาปลูกได้ ผู้นั้นเหมือนมีของกายสิทธิ์ไว้กับตัว เพราะเมื่อกินผลของว่านนี้จะเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นหนุ่มสาวเหมือนตอนก่อนจะกินว่าน ไม่รู้จักแก่ อายุยืน ฟันไม่หัก ผมไม่หงอก มีกำลังมาก คงกระพัน เดินไม่เมื่อยเลย
4.ว่านนิลพัฒน์/ไฟ/เพลาะแพละ/คว่ำตายหงายเป็น
ทาถูนวดผสมการบูรแก้เคล็ด เนื้อหนังชา โดนฟันแทงไม่เจ็บ ถ้าเอามาฝนทามือชกใครก็ตาม คนนั้นจะเจ็บปวดยกมือยกเท้าไม่ขึ้น
ถ้ากินหัวว่านนี้จะสามารถแบกหามชักรากไม้ได้โดยไม่เหนื่อย นึกทำสิ่งใดจะสำเร็จ
5.ว่านมหาปราบ
ดีเลิศอันดับ 1 ด้านคงกระพัน มีกำลังมากดุจช้างสาร
6.ว่านมหาเมฆ
ล่องหนได้ ถ้ากินจะมีกำลังมากเท่า 7 ช้างสาร สามารถถอนต้นยางต้นตาลได้ง่ายๆ ยกช้างได้ ศัตรู 100 คนรุมจับไม่อยู่
7.ว่านแม่ทัพ
มหากำลัง แก้จุกเสียดแน่น
8.ว่านล้อมทั่วมฤดู
เอาหัวมาหุงน้ำมันกินเกิดพละกำลัง
9.ว่านสากเหล็ก
ทามือก่อนชก คนโดนชกจะเจ็บปวดไปถึงหัวใจ คงกระพัน มีแรงมาก สามารถต่อสู้กับเสือหมีช้างได้ทุกอย่าง สามารถต่อสู้กับพญาครุฑ - พญานาคและนกหัสดินทร์ได้
10.ว่านเสือ
มีกำลังมากแม้จะแก่แล้วก็สามารถยกควายได้ทั้งตัว+คงกระพัน
11.ว่านอานุภาพ
มีกำลังมาก+คงกระพัน
12.ว่านท้าวชมภู
ตำผงผสมน้ำผึ้งกินเป็นมหากำลัง คงกระพัน อายุยืน
ประเภทตีค่าตำลึงทอง
1.ว่านสาวหลง/ฤาษีผสม
ตีค่าทองคำ 400 ล้านบาท เมตตามหานิยมชั้นสูงสุด ปลูกวันเสาร์ได้วันเดียวเท่านั้น
เวลาปลูกให้หันหน้าทางทิศตะวันออก
2. ว่านแสงอาทิตย์/ตะกร้อ/กระทุ่ม
ตีค่าแสนตำลึงทอง
กินว่านนี้จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ทาตาจะเป็นตาทิพย์ ล่องหนได้
3.ว่านหนุมาน
ตีค่าแสนตำลึงทอง
4.ว่านกำแพงเพชร 7 ชั้น
ป้องกันภูตผีปีศาจ ตีค่าพันตำลึงทอง กันคุณไสย
5.ว่านเถารางจืด
รสเย็น ถอนพิษเบื่อเมา เอาหัวว่านไปผสมสิ่งใด สิ่งนั้นจะจืดหมด ผสมกับเกลือทำให้เกลือจืด ผสมเหล้าทำให้เหล้าจืด กินไม่เมา เป็นไม้หายาก ตีค่า 5 พันตำลึงทอง
ประเภทคงกระพัน
1.ว่านกระชายดำ
แก้บิด แก้ป่วง ยาอายุวัฒนะ คงกระพัน
2.ว่านกระท่อมเลือด
คงกระพัน
3.ว่านกระทู้
คงกระพัน กินแก้เมื่อยขบ
4.ว่านกระบี่ทอง/นางวันทองห้ามทัพ
อมแก้หวัดลงคอ คงกระพัน แก้แซง้อ คอตีบ
5.ว่านกระสือ
คงกระพัน กายสิทธิ์ลอยเป็นกระสือไปหากินโดยใช้ใบหน้าของคนที่ปลูก
6.ว่านกาสัก/พระยากาสัก/เสือนั่งร่ม/หอกหล่อ
คงกระพัน
7.ว่านกำแพงขาว
เป็นยาประสานบาดแผล + คงกระพัน
8.ว่านกลิ้งกลางดง
กินหรือติดตัวเป็นคงกระพัน
9.ว่านกีบแรด
รสเย็นชืด สัตว์ป่าชอบกินมาก กินแก้ปวดหัว แก้ไข้พิษ ขับปัสสาวะ แก้ตาเจ็บ คงกระพัน ยาอายุวัฒนะ
10.ว่านชักมดลูกตัวเมีย
คงกระพัน
11.ว่านขมิ้น
แก้ลม แก้บวม แก้ไข้ทั้งปวง คงกระพัน
12. ว่านขมิ้นแดง/ปัดตลอด
ยาบำรุงกำลัง+คงกระพัน
13.ว่านเขาควายใหญ่
คงกระพัน
14.ว่านเขาควายเหล็ก
คงกระพัน
15.ว่านเขาวัว
คงกระพัน
16.ว่านค้อนหน้าทั่ง
คงกระพัน
17.ว่านคางคก
กินแล้วจะคันตัวยิกๆ อยู่คงชั่วขณะหนึ่ง พอปัสสาวะออกมาก็หมดฤทธิ์ ให้กินก่อนโดนโบยตี
18.ว่านพระยาปลิง/คืบ/พืชมงคล
คงกระพัน ถ้าเอาหัวว่านนี้ลงน้ำ ปลิงจะไม่มาเกาะเลย
19.ว่านจักรไกร
คงกระพัน
20.ว่านจักรพรรดิ/มหาจักรพรรดิ
คงกระพัน
21.ว่านใจดำ
คงกระพัน
22.ว่านเฒ่าหนังแห้ง
คงกระพัน แค่พกใบเอาไว้ก็คงกระพัน
23.ว่านเณรแก้ว
คงกระพัน
24.ว่านแดกแด้/ตัวไหม
ติดตัวเป็นคงกระพัน ห้ามใช้ฟันเชือกหนือเถาใดๆ ฤทธิ์จะเสื่อม
25.ว่านตาลปัตรฤาษี
กินอยู่คง ติดตัวแคล้วคลาด
26.ว่านเต่า
คงกระพัน + เมตตามหานิยม
27.ว่านท้าวชมภูหนังแห้ง(สีแดง)
ใช้ได้ทุกส่วน คงกระพันโดยไม่ต้องใช้คาถาเสก
28.ว่านนารายณ์แบ่งภาค
คงกระพัน
29.ว่านนารายณ์แปลง
คงกระพัน + กันเสนียดจัญไร
30.ว่านน้ำเต้าทอง
ศิริมงคล + คงกระพัน
31.ว่านปรอท
ติดตัวคงกระพัน
32.ว่านปัดตลอด
เสน่ห์+คงกระพัน ทำสิ่งใดมักสำเร็จด้วยบารมีของว่าน
33.ว่านประกานเหล็ก/กายประสิทธิ์
คงกระพัน
34.ว่านปราบสมุทร/เพชรคง
เมตตา+คงกระพัน
35.ว่านพระยาช้างเผือก/พระยาเสวก
แก้พิษงู/หมาบ้า ผีกลัว คงกระพัน แก้เจ็บเอว+เจ็บหลัง
36.ว่านพระยาปัจเวก
แก้พิษงู กันผีปีศาจ คงกระพัน ศิริมงคล ถ้าโดนลิ้นจะเป็นใบ้ลิ้นแข็ง
37.ว่านพระยาดาบหัก
คงกระพัน
38.ว่านพระยาแร้งคอดำ/คอแดง
คงกระพัน + แก้ริดสีดวงทวาร
39.ว่านพระยากาสักดำ
คงกระพัน
40.ว่านพระยาหอกหัก
คงกระพัน
41.ว่านพระยาหัวเดียว
คงกระพัน ถ้าได้กินหัวว่านนี้ 3 หัว ศพไม่ไหม้ไฟ เอาหัวมาฝนทามือไปชกใคร คนนั้นจะเจ็บปวดมาก
42.ว่านเพชรกลับ
คงกระพัน+กันคุณไสย
43.ว่านเพชรใหญ่
คงกระพัน
44.ว่านเพชรตาเหลือก
คงกระพัน ถ้าปลูกในบ้านจะทำให้โชคลาภหลุดลอย
45.ว่านเพชรหน้าท้อง
คงกระพัน
46.ว่านเพชรน้อย
กินหัวจะชาตามผิวหนัง ระงับความเจ็บปวด คงกระพัน
47.ว่านเพชรไพรวัลย์
หอมเหมือนดอกกระถิน เมตตามหานิยม+คงกระพัน
48.ว่านไพลขาว
คงกระพัน
49.ว่านมรกต
แก้ปวดท้อง แก้ธาตุพิการ คงกระพัน
50.ว่านม่วง
คงกระพัน
51.ว่านหมื่นปี/อ้ายใบ้
คงกระพัน ถ้ายางโดนลิ้นจะเป็นใบ้
52.ว่านหมูกลิ้ง
คงกระพันมาก
53.ว่านลิงดำ
คงกระพัน
54.ว่านเหล็กไหล
คงกระพัน
55.ว่านรางเงิน
คงกระพัน
56.ว่านโรหิณี
กินแก้โรคกษัย อายุวัฒนะ คงกระพัน
57.ว่านศรนารายณ์
คงกระพัน+เมตตา
58.ว่านสบู่ทบ
คงกระพัน
59.ว่านสบู่หลวง
คงกระพัน ถ้ากินจะผื่นขึ้น
60.ว่านสบู่ส้ม
คงกระพัน + อายุวัฒนะ
61.ว่านสายรุ้ง
แก้บิด ห้ามเลือดหยุดในทันที คงกระพัน
62.ว่านหนุมานตกแท่น
คงกระพัน
63.ว่านหนุมานทรงเครื่อง
คงกระพัน
64.ว่านหนุมานนั่งแท่น
คงกระพัน
65.ว่านหางลิง
คงกระพัน
66.ว่านอาหนัง
คงกระพัน
67.ว่านขมิ้นขาว
เสน่ห์+คงกระพัน
ประเภทแก้พิษ
1.ว่านปลาไหลน้อย
กินแก้คุณไสย + ห้ามกินปลาไหลเด็ดขาด
2.ว่านปลาไหลใหญ่
กินแก้คุณไสย
3.ว่านปลาไหลเหลือง
แก้ลมเพลมพัด แก้ยาเบื่อเมาจากพืช/หอย/ปลา/แมลงได้ทุกชนิด
4.ว่านปลาไหลม่วง
แก้คุณไสย
5.ว่านเปราะบ้าน/เปราะหอม
รสหอมร้อน กระทุ้งพิษ แก้ปวดท้อง เจริญธาตุไฟ หัวใช้เป็นเครื่องเทศใส่แกงได้
6.ว่านพระยาดำ
แก้พิษเบื่อเมา
7.ว่านพระยาจงอาง
แก้พิษงูทุกชนิด
8.ว่านพระยานกยูง/ผักตีนกวาง/กูดซัง
เหง้าแก้พิษงู แก้กามโรค แก้เยื่อจมูกอักเสบ รักษาไอกรน
ต้นอ่อน+ใบอ่อนแกงกินได้ มีรสหวาน
9.ว่านหมอก
แก้พิษทุกชนิด กลิ่นฉุนร้อนจัด
10.ว่านร่อนทอง
แก้พิษทั้งปวง แก้บิด มูกเลือด กลิ่นหอมหวานเหมือนกระชาย
11.ว่านฤาษี
แก้พิษว่าน แก้บวมทั่วตัว
12.ว่านแสนนางล้อม
กันไฟไหม้ กันพิษว่านยา
13.ว่านหนุมานยกทัพ
ต้นใบคล้ายกระชาย แก้พิษทุกอย่าง
14.ว่านขอทอง
* วิเศษกว่าว่านแก้พิษทั้งปวง *
แก้พิษเบื่อเมาจากเห็ด หอย ว่าน พันธุ์ไม้ต่างๆได้ คนโดนผีเข้าถ้าได้กำหัวว่านนี้จะชักดิ้นชักงอทันที
หายาก ใครมีเหมือนได้ลาภอันประเสริฐ
15.ว่านข่าจืด
ทำเป็นลูกประคำ เสกด้วย นะโมพุทธายะ 108 คาบ ใครคิดฆ่าด้ยยาพิษใดๆกลายเป็นจืดสิ้น
16.ว่านงูเห่า
แก้พิษงูทุกชนิด
17.ว่านจั๊กจั่น
แก้พิษงู
18.จ่าว่าน/พระยาว่าน
แก้พิษว่านอื่น ถ้าเอาว่านนี้ปลูกรวมกับว่านอื่น ว่านอื่นจะกลายเป็นจ่าว่านไปด้วย
ให้นำว่านนี้ปลูกแยกใส่กระถางวางรวมกับว่านอื่น จะช่วยรักษาว่านอื่นให้คงฤทธิ์เอาไว้ไม่เสื่อม
19.ว่านรางจืด
แก้ถูกพรายอากาศ ลมเพลมพัด
20.ว่านถอนโมกขศักดิ์
แก้ของเบื่อเมา วางในอาหาร ถ้าหมุนติ้วหรือกระตุกขึ้นลงแสดงว่ามีพิษ
21.ว่านหนังแห้ง/เฉลิมโลก
แก้พิษสัตว์กัดต่อย คงกระพัน
22.ว่านพระยานางดำ
มีรสร้อน แก้ฤทธิ์ว่านทั้งปวง เสน่ห์เมตตา
ประเภทฆ่าปรอท
1.ว่านผักเบี้ยโหรา
ทอดดีบุกเป็นเงิน กินถึงตาย
2.ว่านพระยากลอย
3.ว่านพระยากรวด
4.ว่านพระยากา
รากเหมือนมะกอก ยางเหมือนต้นงิ้ว
5.ว่านพระยางู
6.ว่านพระยาหมี
ในวันดับ คือ 15 ค่ำสิ้นเดือน จะได้ยินเสียงดังเหมือนหมี
7.ว่านพระยาริดตีนปู
เอาไปวางบนหลังปู ขาปูหลุดหมดทันที
8.ว่านพระยาแร้งแค้น
กลิ่นเหมือนกระเทียม
9.ว่านพระยาอังกุลี
10.ว่านสมอ
11.ว่านแสงฟ้า
12.ว่านเขามูกหลวง
13.ว่านช้อยนางรำ/มีดยับ/แผวแดง
เมตตา กวักเงินกวักทองเข้าบ้าน ฆ่าปรอท
14.ว่านนาคราช/พระยานาค
ประเภทอื่นๆ
1.ว่านเนรกันถีย์
เลี้ยงไว้เสี่ยงโชค เวลาปลูกอย่าให้เงาทับต้นว่าน
2.ว่านปลาไหลขาว/ปลาไหลเผือก
แก้ปวดฟัน
3.ว่านเปราะน้อย/ค้ำคูณ
เมตตา
4.ว่านผักปลับ/โสม/ผักบุ้ง
ว่านกายสิทธิ์ กันภัย กินยางว่านนี้จะกลายเป็นคนกายสิทธิ์ ไม่แก่ ไม่มีโรค ควรใช้กระถางบัวปลูก
5.ว่านพงพอน/ดีงูหว้า
ให้ช้างม้ากินจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ แก้ปวด รักษาธาตุพิการ
6.ว่านพัดแม่ชี
ปัดจัญไร
7.ว่านพระเจ้า 5 พระองค์
วงศ์มะม่วงหิมพานต์ คุ้มภัย กันผี
8.ว่านพระตบะ
มีรสร้อนฉุนจัด เนื้อในสีขาวมีฤทธิ์เป็นปรอท แม้แต่ใบ-ราก-ดินที่ใช้ปลูกก็สามารถซัดไล่ผีได้ กันพรายบก พรายน้ำ พรายอากาศ
ถ้านำว่านนี้ไปถามคนทรงเจ้าตัวจริง จะบอกถูกว่ามีสรรพคุณอะไร ถ้าคนทรงหลอกๆจะไม่รู้จัก พวกพระภูมิเจ้าที่รู้จักว่านนี้ดีเพราะว่านนี้ไม่ทำอันตรายพวกท่าน
ควรนำว่านนี้ใส่กรอบห้อยคอไว้ กันผีได้ทุกประเภท
9.ว่านพระมเหศวร
ผีกลัวเหมือนว่านพระตบะ
10.ว่านพระอาทิตย์
กันภัย
11.ว่านพระยากระบือ
วันอังคารและวันเสาร์จะร้องเสียงกระบือ นำพาโชคลาภ
12.ว่านพระยานก
กันไฟ กันภัย กรีดเอายางมาต้มกินอายุยืน
13.ว่านพระยาลิ้นงู
หัวว่านอยู่กับใคร ตะขาบ+งูจะไม่สามารถอ้าปากกัดคนนั้นได้
14.ว่านพืด
นำพาลาภผล
15.ว่านเพชรสังฆาต
เถากินแก้กระดูกแตกหักซ้น
16.ว่านพุทธกวัก
เมตตา กันภัย มหามงคล
17.ว่านไพลดำ
Zingiber Specatbile [ Griff ]
แก้ลำไส้เป็นแผล ยาบำรุงกำลัง
18.ว่านมหาอุดม
แบบเดียวกับว่านดอกทอง
19.ว่านม้าสีหมอก
เมตตา
20.ว่านม้าห้อ
เดินไม่เหนื่อย รักษริดสีดวงทวาร
21.ว่านสันโดษ
บำรุงกำลัง แก้โรคหัวใจ
22.ว่านเอ็นเหลือง
ต้มหัวกินแก้อัมพาต เหน็บชา เบาหวาน ไตพิการ
23.ว่านกระชายแดง
ยาอายุวัฒนะ
24.ว่านการบูรเลือด
มีธาตุปรอท ถ้าเคียวกินฟันจะโยก
25.ว่านกำบัง
กันโทษภัยจากว่านร้ายๆอื่นๆ
26.ว่านไก่ขัน
เสน่ห์เจ้าชู้ ก่อนกินท่อง คิวะหายัง มะธุรังวาจา คิวะหาวาจันติ พุทธะสิตะวา จะสุพะธะรัง ปิยาเยวะ ปิยุนตุถา 3 จบ.
27.ว่านขุนแผนสะกดทัพ
พกติดตัวเป็นเมตตามหานิยม ถ้าจะทำให้หลับเคลิบเคลิ้ม เสกด้วยคาถาฤาษีแปลงสาร
ภะคะวา สุคะโต อะระหัง 7 จบ.
28.ว่านเขียด
นำลาภมาสู่
29.ว่านคงคา
ดับพิษร้อนในและนอกร่างกาย ยาอายุวัฒนะ กินแล้วไม่แก่เฒ่า ตาไม่เสื่อมไม่ต้องใช้แว่น
30.ว่านกวัก
แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ แก้เบาหวาน ไตพิการ
31.ว่านจังงัง
เมตตา
32.ว่านจันทโครพ
เมตตา
33.ว่านฉัตรพระพรหม
ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข
34.ว่านช้างผสมโขลง
เสน่ห์เมตตา ออกดอกจะมีโชคลาภ
35.ว่านไชยมงคล/ศรีคันไชย
ศิริมงคล พกติดตัวทำอะไรก็ได้รับชัยชนะ
36.ว่านดอกไก่
เสน่ห์เจ้าชู้
37.ว่านดอกทอง
แค่น้ำที่รดผ่านว่าน ก็ทำให้เกิดอารมณ์พิศวาสได้ ใช้ได้ทั้งต้น
38.ว่านดอกบัว/บัวเคือ
ยาอายุวัฒนะ ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดพุทรา กินเป็นยาบำรุงธาตุ
39.ว่านดาบนารายณ์
สิริมงคล มีลาภ เมตตา ปัดเสนียด
40.ว่านดินสอฤาษี
แบบเดียวกับว่านดอกทอง
41.ว่านทรหด
แก้ไส้เลื่อน แก้เบาหวาน ห้ามกินของมันจัด-คาวจัด
42.ว่านทางเงิน
เมตตา
43.ว่านนกคุ้ม
กันไฟ
44.ว่านนกยูง
เมตตา
45.ว่านนางกวัก
เล่นกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสามทอง ล่องหาโดนเอาหัวว่านมาห่อผ้าเช็ดหน้าโพกหัว อยากได้สิ่งใดสำเร็จดังใจ
46.ว่านนางคุ้ม/ผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน
กันไฟ คุ้มภัยเกราะเพชร 7 ชั้น
47.ว่านนางพญาหงษ์ทอง
เสน่ห์
48.ว่านนางมาควดี/มหาโชค
หายาก บำรุงโลหิต
49.ว่านนางล้อม
กันภัย "
ว่านพระยาลิ้นงูตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาลิ้นงูตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาลิ้นงู หัวคล้ายหัวหอมใบเหมือนใบกระเทียม แต่กว้างกว่า ที่หัวเป็นกาบซ้อนกัน กาบแข็งกว่ากาบหัวหอม สรรพคุณ เอาหัวตำกับน้ำมะนาว ทาแก้พิษงู และพิษตะขาบแมงป่องกัดต่อย"
ว่านพระยาลิ้นงูไม่ค่อยมีปัญหารู้สึกจะระบุตรงกันหมด
ที่มา http://yimpaen.com/f_view.php?f=leepunmai2555&b=4&p_id=11
"ว่านพระยาลิ้นงู หัวคล้ายหัวหอมใบเหมือนใบกระเทียม แต่กว้างกว่า ที่หัวเป็นกาบซ้อนกัน กาบแข็งกว่ากาบหัวหอม สรรพคุณ เอาหัวตำกับน้ำมะนาว ทาแก้พิษงู และพิษตะขาบแมงป่องกัดต่อย"
ว่านพระยาลิ้นงูไม่ค่อยมีปัญหารู้สึกจะระบุตรงกันหมด
ที่มา http://yimpaen.com/f_view.php?f=leepunmai2555&b=4&p_id=11
ว่านพระยาอังกุลีตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ ก
ว่านพระยาอังกุลีตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาอังกุลี ลักษณะลำต้นสูงประมาณ ๕ นิ้ว ใบคล้ายใบน้ำเต้า ถ้าพบเห็นให้ลองบีบปรอทใส่ลงในฝ่ามือแล้วบีบเอายางนั้นเทลงในฝ่ามือที่มีปรอทอยู่แล้ว ถ้าปรอทนั้นอยู่ก็เป็นทุนสิทธิ์"
มีผู้พูดถึงเรื่องว่านไว้น่าสนใจ ใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/168582 เขาเขียนอยู่ ๓ ตอน น่าเสียดายที่หยุดเขียนไปเฉยๆ ลองอ่านกันดู
"ตอนที่๓ ชื่อว่านที่นักเล่นว่านทุกคนต้องยอมรับ
ปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงกันมาแต่ไหนแต่ไร ของนักเล่นว่านทั้งหลายก็คือ ว่านทั้งหมดมีกี่ชนิดกันแน่ ชื่อไหนที่เชื่อได้ว่าเป็นว่านแน่นอน และชื่อไหนที่ไม่ใช่ว่านเพราะอะไร ตลอดระยะเวลา 79 ปี นับตั้งแต่ตำราว่านเล่มแรกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2473จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่เคยมีใครที่คิดจะแก้ปัญหานี้ให้กระจ่างเพื่อให้ความสงสัยมันหลุดพ้นออกไปจากวงการนักเล่นว่านเสียที
วันนี้ ผู้เขียนจะมาขออาสาเป็นผู้คลี่คลายปัญหาในข้อนี้ เพื่อที่จะลดความเห็นอันขัดแย้งกันภายในแวดวงของนักเล่นว่านทั้งหลาย และเพื่อให้เป็นหลักในการเรียนรู้และอ้างอิงสำหรับนักเล่นหน้าใหม่ หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องว่าน
รายชื่อว่านต่อไปนี้ เป็นชื่อที่ผู้เขียนได้ทำการรวบรวมและตรวจสอบมาอย่างดีแล้วว่ามีบันทึกอยู่ในตำราว่านของยุคเก่าทั้งสิบเอ็ดเล่มนั้นจริง(โปรดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตำราว่านรุ่นเก่าทั้งหมดจากตอนที่1) และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกๆ คนโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ผู้เขียนยังได้เพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เข้มงวดขึ้นไปอีก เช่น ชื่อว่านแต่ละชนิดที่จะบันทึกไว้ต่อไปนี้ จะต้องมีบันทึกอยู่ในตำราเก่าถูกต้องและตรงกันอย่างน้อยตั้งแต่ 2เล่มขึ้นไป ชื่อไหนที่มีบันทึกมาในตำราเพียงเล่มเดียวและมีลักษณะอันเชื่อได้ว่าไม่ใช่พันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย จะทำการคัดแยกออกไปไว้อีกหมวดหนึ่งต่างหาก อีกทั้งว่า่่นที่มีบันทึกมาจากตำราคนละเล่มคนละชื่อกัน แต่ถ้าได้ทำการตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าเป็นว่านชนิดเดียวกันแน่นอน ก็จะนำมารวมไว้เป็นว่านชนิดเดียวกันแต่จะบอกชื่อไว้ให้ครบหมดทุกชื่อตามที่ตำราเก่าได้จดบันทึกไว้ ส่วนชื่อที่อยู่ในวงเล็บนั้นเป็นชื่อรองหรือชื่อพ้องที่เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นก็จะเก็บมาแต่ชื่อที่รู้จักกันเป็นส่วนมากเท่านั้น
และนี่คือ"รายชื่อว่าน" แท้ๆ ของไทยที่ถูกต้องแน่นอน จำนวนทั้งหมด 270ชนิด เรียงลำดับตามตัวอักษร ดังนี้
"ว่านพระยาอังกุลี ลักษณะลำต้นสูงประมาณ ๕ นิ้ว ใบคล้ายใบน้ำเต้า ถ้าพบเห็นให้ลองบีบปรอทใส่ลงในฝ่ามือแล้วบีบเอายางนั้นเทลงในฝ่ามือที่มีปรอทอยู่แล้ว ถ้าปรอทนั้นอยู่ก็เป็นทุนสิทธิ์"
มีผู้พูดถึงเรื่องว่านไว้น่าสนใจ ใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/168582 เขาเขียนอยู่ ๓ ตอน น่าเสียดายที่หยุดเขียนไปเฉยๆ ลองอ่านกันดู
"ตอนที่๓ ชื่อว่านที่นักเล่นว่านทุกคนต้องยอมรับ
ปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงกันมาแต่ไหนแต่ไร ของนักเล่นว่านทั้งหลายก็คือ ว่านทั้งหมดมีกี่ชนิดกันแน่ ชื่อไหนที่เชื่อได้ว่าเป็นว่านแน่นอน และชื่อไหนที่ไม่ใช่ว่านเพราะอะไร ตลอดระยะเวลา 79 ปี นับตั้งแต่ตำราว่านเล่มแรกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2473จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่เคยมีใครที่คิดจะแก้ปัญหานี้ให้กระจ่างเพื่อให้ความสงสัยมันหลุดพ้นออกไปจากวงการนักเล่นว่านเสียที
วันนี้ ผู้เขียนจะมาขออาสาเป็นผู้คลี่คลายปัญหาในข้อนี้ เพื่อที่จะลดความเห็นอันขัดแย้งกันภายในแวดวงของนักเล่นว่านทั้งหลาย และเพื่อให้เป็นหลักในการเรียนรู้และอ้างอิงสำหรับนักเล่นหน้าใหม่ หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องว่าน
รายชื่อว่านต่อไปนี้ เป็นชื่อที่ผู้เขียนได้ทำการรวบรวมและตรวจสอบมาอย่างดีแล้วว่ามีบันทึกอยู่ในตำราว่านของยุคเก่าทั้งสิบเอ็ดเล่มนั้นจริง(โปรดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตำราว่านรุ่นเก่าทั้งหมดจากตอนที่1) และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกๆ คนโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ผู้เขียนยังได้เพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เข้มงวดขึ้นไปอีก เช่น ชื่อว่านแต่ละชนิดที่จะบันทึกไว้ต่อไปนี้ จะต้องมีบันทึกอยู่ในตำราเก่าถูกต้องและตรงกันอย่างน้อยตั้งแต่ 2เล่มขึ้นไป ชื่อไหนที่มีบันทึกมาในตำราเพียงเล่มเดียวและมีลักษณะอันเชื่อได้ว่าไม่ใช่พันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย จะทำการคัดแยกออกไปไว้อีกหมวดหนึ่งต่างหาก อีกทั้งว่า่่นที่มีบันทึกมาจากตำราคนละเล่มคนละชื่อกัน แต่ถ้าได้ทำการตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าเป็นว่านชนิดเดียวกันแน่นอน ก็จะนำมารวมไว้เป็นว่านชนิดเดียวกันแต่จะบอกชื่อไว้ให้ครบหมดทุกชื่อตามที่ตำราเก่าได้จดบันทึกไว้ ส่วนชื่อที่อยู่ในวงเล็บนั้นเป็นชื่อรองหรือชื่อพ้องที่เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นก็จะเก็บมาแต่ชื่อที่รู้จักกันเป็นส่วนมากเท่านั้น
และนี่คือ"รายชื่อว่าน" แท้ๆ ของไทยที่ถูกต้องแน่นอน จำนวนทั้งหมด 270ชนิด เรียงลำดับตามตัวอักษร ดังนี้
1)กงจักรพระอินทร์
2)กบ (พญาอังกุลี, ท้าวอังกุลี)
3)กระจายหางดอก
4)กระแจะจันทน์ (กระแจะจันทน์หงสา)
5)กระชายแดง
6) กระชายดำ
7) กระท่อมเลือด, สบู่เลือดเถา(ผู้-เมีย)
8) กระทู้
9)กระทู้เจ็ดแบก
10) กระบี่ทอง (นางวันทองห้ามทัพ)
11)กระสือ
12)กลอยจืด
13)กลิ้งกลางดง
14)กวัก
15) ก้ามปู (ดองดึง, หัวขวาน ฯลฯ)
16) การบูรเลือด
17) กาสัก
(เสือนั่งร่ม, เสือร้องไห้, ฯลฯ)
18)กีบแรด (กีบม้า) มี 2 ชนิด
19)กุมารทอง
20)เกราะเพชรไพฑูรย์ (เกราะเพชรพระยา)
21) กำบัง(กั้นบัง)
22) กำแพงขาว
23) กำแพงเจ็ดชั้น(กระจายทอง)
24) ไก่ขัน (ไก่ไห้, เกี๊ยะ)
25)ไก่แดง
26) ขมิ้นขม
27)ขมิ้นขาวปัดตลอด
28)ขมิ้นขาวเสน่ห์
29) ขมิ้นแดงปัดตลอด (ดอกอาวแดง, ฯลฯ)
30) ขมิ้นดำ
31) ขมิ้นอ้อย (ว่านขมิ้น,ว่านเหลือง)
32) ขอ(ชักมดลูกตัวเมีย)
33) ขอทอง (ขอคำน้อย,ว่านแก้)
34)ขันหมาก
35) ข่า(ข่าแดง)
36) ข่าจืด
37)ขุนแผนสะกดทัพ
38) ขุนแผนสามกษัตริย์
39)เขียด
40) เข้าค่ำ (เช้าค่ำ)
2)กบ (พญาอังกุลี, ท้าวอังกุลี)
3)กระจายหางดอก
4)กระแจะจันทน์ (กระแจะจันทน์หงสา)
5)กระชายแดง
6) กระชายดำ
7) กระท่อมเลือด, สบู่เลือดเถา(ผู้-เมีย)
8) กระทู้
9)กระทู้เจ็ดแบก
10) กระบี่ทอง (นางวันทองห้ามทัพ)
11)กระสือ
12)กลอยจืด
13)กลิ้งกลางดง
14)กวัก
15) ก้ามปู (ดองดึง, หัวขวาน ฯลฯ)
16) การบูรเลือด
17) กาสัก
(เสือนั่งร่ม, เสือร้องไห้, ฯลฯ)
18)กีบแรด (กีบม้า) มี 2 ชนิด
19)กุมารทอง
20)เกราะเพชรไพฑูรย์ (เกราะเพชรพระยา)
21) กำบัง(กั้นบัง)
22) กำแพงขาว
23) กำแพงเจ็ดชั้น(กระจายทอง)
24) ไก่ขัน (ไก่ไห้, เกี๊ยะ)
25)ไก่แดง
26) ขมิ้นขม
27)ขมิ้นขาวปัดตลอด
28)ขมิ้นขาวเสน่ห์
29) ขมิ้นแดงปัดตลอด (ดอกอาวแดง, ฯลฯ)
30) ขมิ้นดำ
31) ขมิ้นอ้อย (ว่านขมิ้น,ว่านเหลือง)
32) ขอ(ชักมดลูกตัวเมีย)
33) ขอทอง (ขอคำน้อย,ว่านแก้)
34)ขันหมาก
35) ข่า(ข่าแดง)
36) ข่าจืด
37)ขุนแผนสะกดทัพ
38) ขุนแผนสามกษัตริย์
39)เขียด
40) เข้าค่ำ (เช้าค่ำ)
ว่านพระยากระบือตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยากระบือตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยากระบือ ลักษณะลำต้นเหมือนต้นมะตูม หัวเหมือนหัวกล้วย ใบซอยๆ ต้นและดอกหอมเหมือนแก่นจันทร์ ว่านนี้น่าอัศจรรย์ ท่านว่าวันดีคืนดีว่านนี้จะได้ยินเสียงร้องดังเหมือนกระบือ (บางตำราว่าวันอังคาร วันเสาร์จึงจะร้อง สรรพคุณมิได้บอกไว้
ว่านพระยางู ลักษณะลำต้นเหมือนผักโหม ใบเหมือนใบชุมเห็ด ยางมีสีเหลือง สรรพคุณเอายางมากวนกับปรอทตายแล"
ลองมาดูว่านตัวนี้ตามข้อมูลของอ.นพคุณ คุมา
"ว่านพระยากระบือ
ว่านพระยากระบือ จัดเป็นว่านในตำรา พบในตำราของ หลวงประพัฒสรรพากร, ชัยมงคล อุดมทรัพย์, พยอม วิไลรัตน์, อุตะมะ สิริจิตโต, นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ, อาจารย์ญาณโชติ ตามลำดับ
หลวงประพัฒสรรพากร (2475, หน้า 25)
“ว่านพระยากระบือ หัวเหมือนหัวกลอย ต้นเหมือนมะตูม ใบซอยๆ ต้นและดอกหอมเหมือนแก่นจันทน์ วันอังคารและวันเสาร์ร้องดังเหมือนกระบือ (แต่ไม่ปรากฎใช้อะไร)”
พยอม วิไลรัตน์ (2504, หน้า 74) ได้ระบุประโยชน์ของ ว่านพระยากระบือ ไว้ดังนี้
ว่านพระยากระบือ ที่เล่นกันในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ
ชนิดแรกนี้ เป็นว่านพระยากบือ สายของป้าบุญช่วย ใจยุติธรรม เป็นผู้ค้นคว้า
ชนิดที่สอง เป็นว่านพระยากระบือ สายของ อ.หล่อ ขันแก้ว เป็นผู้ค้นคว้า
ชนิดที่สาม เป็นว่านพระยากระบือ สายของ อ.มา เครื่องทองดี เป็นผู้ค้นคว้า (ผู้เขียนพบว่า ชนิดที่สามนี้ มีชื่อท้องถิ่นว่า มันเขาวัว)
ที่มา http://luckyplant-cm4769.blogspot.com/2011/02/blog-post.html
ถึงจะไม่มีข้อยุติอะไร แต่ก็สนุกดีนะ ใครจะไปรู้เวลาเราเดินป่าหรือเดินไปตามข้างถนน เราอาจเจอต้นว่านเด็ดๆเข้าซักต้นก็ได้
"ว่านพระยากระบือ ลักษณะลำต้นเหมือนต้นมะตูม หัวเหมือนหัวกล้วย ใบซอยๆ ต้นและดอกหอมเหมือนแก่นจันทร์ ว่านนี้น่าอัศจรรย์ ท่านว่าวันดีคืนดีว่านนี้จะได้ยินเสียงร้องดังเหมือนกระบือ (บางตำราว่าวันอังคาร วันเสาร์จึงจะร้อง สรรพคุณมิได้บอกไว้
ว่านพระยางู ลักษณะลำต้นเหมือนผักโหม ใบเหมือนใบชุมเห็ด ยางมีสีเหลือง สรรพคุณเอายางมากวนกับปรอทตายแล"
ลองมาดูว่านตัวนี้ตามข้อมูลของอ.นพคุณ คุมา
"ว่านพระยากระบือ
ว่านพระยากระบือ จัดเป็นว่านในตำรา พบในตำราของ หลวงประพัฒสรรพากร, ชัยมงคล อุดมทรัพย์, พยอม วิไลรัตน์, อุตะมะ สิริจิตโต, นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ, อาจารย์ญาณโชติ ตามลำดับ
หลวงประพัฒสรรพากร (2475, หน้า 25)
“ว่านพระยากระบือ หัวเหมือนหัวกลอย ต้นเหมือนมะตูม ใบซอยๆ ต้นและดอกหอมเหมือนแก่นจันทน์ วันอังคารและวันเสาร์ร้องดังเหมือนกระบือ (แต่ไม่ปรากฎใช้อะไร)”
พยอม วิไลรัตน์ (2504, หน้า 74) ได้ระบุประโยชน์ของ ว่านพระยากระบือ ไว้ดังนี้
“มีคุณในการทำให้ผู้ได้ว่านนี้มาปลูกไว้ และรักษาเป็นอย่างดี
เกิดสมบูรณ์พูนสุขสวัสดิมงคลแก่ตัวและครอบครัว ย่อมนำโชคลาภมาสู่ตลอดเวลา”
ชนิดแรกนี้ เป็นว่านพระยากบือ สายของป้าบุญช่วย ใจยุติธรรม เป็นผู้ค้นคว้า
ชนิดที่สอง เป็นว่านพระยากระบือ สายของ อ.หล่อ ขันแก้ว เป็นผู้ค้นคว้า
ชนิดที่สาม เป็นว่านพระยากระบือ สายของ อ.มา เครื่องทองดี เป็นผู้ค้นคว้า (ผู้เขียนพบว่า ชนิดที่สามนี้ มีชื่อท้องถิ่นว่า มันเขาวัว)
เมื่อเทียบกับตำราแล้ว
ผู้เขียนคิดว่า
ว่านพระยากระบือชนิดแรก
สายป้าบุญช่วย ใจยุติธรรม
มีลักษณะค่อนข้างตรงตามตำรามากกว่าชนิดอื่นในขณะนี้ ด้วยเหตุผล
คือ หัวเหมือนกลอย และใบเป็นซอยๆ
แต่ยังไม่ถือเป็นข้อยุติของว่านชนิดนี้
จนกว่าจะมีการค้นพบว่านพระกระบือที่มีลักษณะใกล้เคียงตามตำรามากกว่านี้"ที่มา http://luckyplant-cm4769.blogspot.com/2011/02/blog-post.html
ถึงจะไม่มีข้อยุติอะไร แต่ก็สนุกดีนะ ใครจะไปรู้เวลาเราเดินป่าหรือเดินไปตามข้างถนน เราอาจเจอต้นว่านเด็ดๆเข้าซักต้นก็ได้
ว่านพระยากาตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยากาตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยากา ลักษณะลำต้นเหมือนต้นกล้วยป่า ใบเหมือนใบโพธิกาฝาก มีใยเหมือนใยบัว ยางเหมือนยางงิ้ว รากเหมือนคล้ายรากมะกอก สรรพคุณเอายางมากวนกับปรอทตายแล"
อันนี้ส่วนใหญ่เราจะได้ยินแต่พระยากาเผือกหรือต้นกระดาดด่าง ที่มาสวนเกษตรอินทรีย์ จากnanagarden
ส่วนเรื่องปรอทนี้พูดกันยาวเป็นตำนานนิทานเรื่องสนุกเลย ลองดูกัน
"ว่านพระยากา ลักษณะลำต้นเหมือนต้นกล้วยป่า ใบเหมือนใบโพธิกาฝาก มีใยเหมือนใยบัว ยางเหมือนยางงิ้ว รากเหมือนคล้ายรากมะกอก สรรพคุณเอายางมากวนกับปรอทตายแล"
อันนี้ส่วนใหญ่เราจะได้ยินแต่พระยากาเผือกหรือต้นกระดาดด่าง ที่มาสวนเกษตรอินทรีย์ จากnanagarden
ส่วนเรื่องปรอทนี้พูดกันยาวเป็นตำนานนิทานเรื่องสนุกเลย ลองดูกัน
| ||||||||||
|
ว่านพระยาหมอกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านพระยาหมอกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านพระยาหมอก ลักษณะลำต้น,ก้าน,ใบ มีสีเขียวคล้ำสูงประมาณ ๖-๗ ศอก มีดอกเหมือนข่าแดง เนื้อในหัวสีขาว ท่านว่าเมื่อจะขุดเอาว่านนี้ให้จัดเครื่องสักการะบูชา ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วเอาว่านนี้มาแกะเป็นรูปพระภัควัม นั่งขัดสมาธิ มือบนขวาและซ้ายปิดหู มีอขวาต่ำปิดตา มือซ้ายต่ำปิดปาก แล้วเอาอักษรดังนี้ลงที่หน้าผากพระภัควัม "อิทิ" ลงแก้มซ้าย "อะงะติ" ลงหน้าอก "อิทิอะวะงะระ" ลงที่มือขวาข้างๆ "อันเย" ลงที่เท้าข้างๆ "สาชิ" ลงข้างๆ "อิทิโอ" ลงตรงที่นั่ง "นะลัดกะเช" ใช้ได้สารพัด สรรพคุณเช่นเดียวกับเพชรนารายณ์"
ต้นนี้ที่เห็นในเน็ตเป็นคนละเรื่องกับที่บรรยายไว้เลย เราไม่เคยได้ยินชื่อคงไม่วิจารณ์ ใครเห็นต้นไหนที่มีลักษณะเข้ากับที่ตำราว่าไว้ เอามาแลกเปลี่ยนกันบ้าง
ดอกข่าแดง ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=56799
"ว่านพระยาหมอก ลักษณะลำต้น,ก้าน,ใบ มีสีเขียวคล้ำสูงประมาณ ๖-๗ ศอก มีดอกเหมือนข่าแดง เนื้อในหัวสีขาว ท่านว่าเมื่อจะขุดเอาว่านนี้ให้จัดเครื่องสักการะบูชา ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วเอาว่านนี้มาแกะเป็นรูปพระภัควัม นั่งขัดสมาธิ มือบนขวาและซ้ายปิดหู มีอขวาต่ำปิดตา มือซ้ายต่ำปิดปาก แล้วเอาอักษรดังนี้ลงที่หน้าผากพระภัควัม "อิทิ" ลงแก้มซ้าย "อะงะติ" ลงหน้าอก "อิทิอะวะงะระ" ลงที่มือขวาข้างๆ "อันเย" ลงที่เท้าข้างๆ "สาชิ" ลงข้างๆ "อิทิโอ" ลงตรงที่นั่ง "นะลัดกะเช" ใช้ได้สารพัด สรรพคุณเช่นเดียวกับเพชรนารายณ์"
ดอกข่าแดง ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=56799
ว่านม้าแดงตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านม้าแดงตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านม้าแดง ลักษณะลำต้น ใบคล้ายต้นขมิ้นอ้อย ลำต้นแดง กระดูกกลางใบแดง หลังใบแดง ว่านม้าทั้งสามตัวนี้ สรรพคุณใช้ทาแก้เคล็ดบวม เมื่อยขบต่างๆ"
"ว่านม้าแดง ลักษณะลำต้น ใบคล้ายต้นขมิ้นอ้อย ลำต้นแดง กระดูกกลางใบแดง หลังใบแดง ว่านม้าทั้งสามตัวนี้ สรรพคุณใช้ทาแก้เคล็ดบวม เมื่อยขบต่างๆ"
ว่านม้าขาวตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านม้าขาวตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านม้าขาว ลักษณะลำต้นใบสีเขียวคล้ายต้นขมิ้นอ้อย หัวเนื้อในสีขาว เป็นว่านที่มีหัวลักษณะกลาง หัวเป็นข้อคล้ายหัวม้า"
อันนี้ใช้วิจารณญาณกันเอาเอง ต้นคล้ายขมิ้นอ้อย ( อันนี้อ้างถึงบ่อยมาก )
อันว่าขมิ้นอ้อยนี้ น่าจะนับได้ว่าเป็นต้นไม้อาภัพ เพราะคนรู้จักแต่ขมิ้นชันและขมิ้นขาว ทำเอาขมิ้นอ้อยแทบจะสูญพันธุ์กันไปเลยทีเดียว
วงการยาไทยยกย่องให้ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณเทียบเท่ากับว่านชักมดลูกในเรื่องการรักษามดลูก แก้มดลูกอักเสบ การใช้ว่านชักมดลูกจึงนิยมใช้เป็นตำรับ ที่ต้องมีขมิ้นอ้อย ไพล ว่านมหาเมฆ ฯลฯ เข้าตำรับด้วยเพื่อเสริมฤทธิ์คุมฤทธิ์กัน แต่ขมิ้นอ้อยอาจมีข้อเสียคือทำให้เกิดน้ำหล่อลื่นช่องคลอดมากเกินไป แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ ในกลุ่มสตรีวัยทองที่หมดฮอร์โมนไม่มีน้ำหล่อลื่นช่องคลอดทำให้ช่องคลอดแห้งและคัน ขมิ้นอ้อยจะช่วยแก้ไขอาการเหล่านี้ได้
นอกจากนี้ในตำราว่านเล่นหนึ่ง น่าจะเป็นตำราเก่า อ้างถึงว่าขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์เป็นพญาว่านที่ช่วยคุมให้ว่านอื่นมีฤทธิ์ด้วยซ้ำ
แต่ขมิ้นอ้อยกลับเป็นต้นไม้ที่โลกลืม รู้ไม๊ว่าขนาดเราอยู่ในวงการสมุนไพร เรายังหาพันธุ์ขมิ้นอ้อยตามบ้านแทบจะไม่ได้แล้ว มีน้อยมากแทบไม่มีใครรู้จัก คงเหลือแต่ตามร้านขายว่านเท่านั้น น่าเสียดายที่ต้นไม้ที่เคยมีทุกครัวเรือนกลายมาเป็นของหายากและต้องซื้อขายแพงๆในราคาว่านไป
ลักษณะสีของหัวขมิ้นชัน ถ้าดูจนชำนาญถึงไม่หักบิดูเนื้อข้างในก็พอดูออก ขมิ้นชันหัวแก่ๆ สีส้มจะชัดแม้จะไม่ได้หักดูเนื้อใน
"ว่านม้าขาว ลักษณะลำต้นใบสีเขียวคล้ายต้นขมิ้นอ้อย หัวเนื้อในสีขาว เป็นว่านที่มีหัวลักษณะกลาง หัวเป็นข้อคล้ายหัวม้า"
อันนี้ใช้วิจารณญาณกันเอาเอง ต้นคล้ายขมิ้นอ้อย ( อันนี้อ้างถึงบ่อยมาก )
อันว่าขมิ้นอ้อยนี้ น่าจะนับได้ว่าเป็นต้นไม้อาภัพ เพราะคนรู้จักแต่ขมิ้นชันและขมิ้นขาว ทำเอาขมิ้นอ้อยแทบจะสูญพันธุ์กันไปเลยทีเดียว
วงการยาไทยยกย่องให้ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณเทียบเท่ากับว่านชักมดลูกในเรื่องการรักษามดลูก แก้มดลูกอักเสบ การใช้ว่านชักมดลูกจึงนิยมใช้เป็นตำรับ ที่ต้องมีขมิ้นอ้อย ไพล ว่านมหาเมฆ ฯลฯ เข้าตำรับด้วยเพื่อเสริมฤทธิ์คุมฤทธิ์กัน แต่ขมิ้นอ้อยอาจมีข้อเสียคือทำให้เกิดน้ำหล่อลื่นช่องคลอดมากเกินไป แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ ในกลุ่มสตรีวัยทองที่หมดฮอร์โมนไม่มีน้ำหล่อลื่นช่องคลอดทำให้ช่องคลอดแห้งและคัน ขมิ้นอ้อยจะช่วยแก้ไขอาการเหล่านี้ได้
นอกจากนี้ในตำราว่านเล่นหนึ่ง น่าจะเป็นตำราเก่า อ้างถึงว่าขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์เป็นพญาว่านที่ช่วยคุมให้ว่านอื่นมีฤทธิ์ด้วยซ้ำ
แต่ขมิ้นอ้อยกลับเป็นต้นไม้ที่โลกลืม รู้ไม๊ว่าขนาดเราอยู่ในวงการสมุนไพร เรายังหาพันธุ์ขมิ้นอ้อยตามบ้านแทบจะไม่ได้แล้ว มีน้อยมากแทบไม่มีใครรู้จัก คงเหลือแต่ตามร้านขายว่านเท่านั้น น่าเสียดายที่ต้นไม้ที่เคยมีทุกครัวเรือนกลายมาเป็นของหายากและต้องซื้อขายแพงๆในราคาว่านไป
ลักษณะหัวของขมิ้นอ้อยจะใหญ่ยาวเหมือนสาก บางทียาวเป็นฟุตโผล่พ้นดินขึ้นมา คนอีสานจึงเรียกขมิ้นอ้อยว่าขมิ้นหัวขึ้น
สีเนื้อในขมิ้น ขมิ้นอ้อยจะมีสีเหลืองส่วนขมิ้นชันจะมีสีส้ม
ว่านม้าตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านม้าตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านม้า ลักษณะเป็นต้น เครือใบคล้ายใบยามีสีแดง หัวดำเป็นกีบ รสร้อนฉุน"
อันนี้เห็นทีจะจนปัญญา เพราะอธิบายไว้แค่นี้จริงๆ
"ว่านม้า ลักษณะเป็นต้น เครือใบคล้ายใบยามีสีแดง หัวดำเป็นกีบ รสร้อนฉุน"
อันนี้เห็นทีจะจนปัญญา เพราะอธิบายไว้แค่นี้จริงๆ
ว่านเพชรม้าตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเพชรม้าตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านเพชรม้าลักษณะลำต้นสูงประมาณ ๑ วา ใบคล้ายใบยาง หัวดังรากสามสิบ ถ้าหยิกที่หัวจะมีสีแดงดุจเลือด สรรพคุณเป็นว่านอยู่คงกระพันชาตรี"
ใบเหมือนใบยาง เอาล่ะซิ ยางไรอ่ะ ยางนา ยางเหียง ยางพลวง ยางพารา บร้าๆๆๆๆๆ
รูปนี้ใบยางนา
รูปนี้ใบยางพารา
ใจเราคิด(มั่วๆ)ว่าน่าจะหมายถึงใบยางนา เพราะสมัยนั้น ต้นยางนาน่าจะเป็นที่รู้จักและใช้ประโยชน์ในชีวิตชนบท
หัวดังรากสามสิบ รากสามสิบหัวดังหนอนตายหยาก ลำต้นและใบดังหน่อไม้ฝรั่ง (เอามั่งๆ) 555 ขืนไล่ความเหมือนคงไปต่อได้อีกยาววววววววววววววว
"ว่านเพชรม้าลักษณะลำต้นสูงประมาณ ๑ วา ใบคล้ายใบยาง หัวดังรากสามสิบ ถ้าหยิกที่หัวจะมีสีแดงดุจเลือด สรรพคุณเป็นว่านอยู่คงกระพันชาตรี"
ใบเหมือนใบยาง เอาล่ะซิ ยางไรอ่ะ ยางนา ยางเหียง ยางพลวง ยางพารา บร้าๆๆๆๆๆ
รูปนี้ใบยางนา
ใจเราคิด(มั่วๆ)ว่าน่าจะหมายถึงใบยางนา เพราะสมัยนั้น ต้นยางนาน่าจะเป็นที่รู้จักและใช้ประโยชน์ในชีวิตชนบท
หัวดังรากสามสิบ รากสามสิบหัวดังหนอนตายหยาก ลำต้นและใบดังหน่อไม้ฝรั่ง (เอามั่งๆ) 555 ขืนไล่ความเหมือนคงไปต่อได้อีกยาววววววววววววววว
ว่านเทพประสิทธิ์ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเทพประสิทธิ์ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านเทพประสิทธิ์ ลักษณะลำต้น,ใบ,หัว คล้ายขมิ้นอ้อย ลำต้นและใบเขียว หลังใบเป็นละอองขนคาย เนื้อของหัวมีสีขาวรสร้อนฉุน สรรพคุณแก้ลม จุก,เสียด,แน่น รับประทานกับสุราและน้ำสุก"
"ว่านเทพประสิทธิ์ ลักษณะลำต้น,ใบ,หัว คล้ายขมิ้นอ้อย ลำต้นและใบเขียว หลังใบเป็นละอองขนคาย เนื้อของหัวมีสีขาวรสร้อนฉุน สรรพคุณแก้ลม จุก,เสียด,แน่น รับประทานกับสุราและน้ำสุก"
ว่านเพชรหึงตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเพชรหึงตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านเพชรหึง (มี ๒ ชนิด) ชนิดหนึ่งเป็นกล้วยไม้ ลักษณะดังต้นอ้อยขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่สูงๆในป่าดง สรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อนทำให้เย็น ใช้ได้ทั้งทาดับพิษฝีต่างๆ โดยใช้น้ำซาวข้าวเป็นน้ำกระสาย
ชนิดหนึ่งเป็นเถา มีขายตามร้านสมุนไพรทั่วไป สรรพคุณใช้ผสมต้มเป็นยารับประทานแก้โลหิตสตรีเป็นพิษ"
ว่านตัวนี้ชี้ลงที่ต้นเดียวกันทั้งหมดคือกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนแบบเถาไม่มีใครพูดถึง ว่านเพชรหึงชนิดที่เป็นกล้วยไม้นี้ น่าจะมีเยอะที่ภาคใต้แต่ทางนั้นเรียกว่าว่านหางช้าง ซึ่งจะไปสับสนกับว่านอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อกลางว่าว่านหางช้างเป็นกลุ่มเดียวกับพัดแม่ชี ดาบนารายณ์ วอกกิ้งไอริส ซึ่งจะพูดถึงในคราวต่อๆไป
ต้นไม้ต้นนี้เป็นอีกต้นที่ฉันหวาดๆ เพราะบางตำราพูดถึงว่าเมื่ออกดอกจะเกิดลมเพชรหึง ดอกส่ายไปมาเหมือนงู ใครเข้าใกล้อาจโดนฉกถึงตาย มักเอาปรอทมาล่อให้ฉกเพื่อฆ่าปรอท แต่ฉันเคยถามคนที่ปลูกจนออกดอกว่ามีเหตุการณ์อย่างที่ว่าบ้างหรือไม่ เขาว่าไม่ปรากฏ อาจเป็นเพราะอาถรรพ์ป่าเสื่อมฤทธิ์หรือไรก็ไม่ทราบ แต่อย่างน้อยก็ขอบันทึกไว้ให้ระวัง
"ว่านเพชรหึง (มี ๒ ชนิด) ชนิดหนึ่งเป็นกล้วยไม้ ลักษณะดังต้นอ้อยขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่สูงๆในป่าดง สรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อนทำให้เย็น ใช้ได้ทั้งทาดับพิษฝีต่างๆ โดยใช้น้ำซาวข้าวเป็นน้ำกระสาย
ชนิดหนึ่งเป็นเถา มีขายตามร้านสมุนไพรทั่วไป สรรพคุณใช้ผสมต้มเป็นยารับประทานแก้โลหิตสตรีเป็นพิษ"
ว่านตัวนี้ชี้ลงที่ต้นเดียวกันทั้งหมดคือกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนแบบเถาไม่มีใครพูดถึง ว่านเพชรหึงชนิดที่เป็นกล้วยไม้นี้ น่าจะมีเยอะที่ภาคใต้แต่ทางนั้นเรียกว่าว่านหางช้าง ซึ่งจะไปสับสนกับว่านอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อกลางว่าว่านหางช้างเป็นกลุ่มเดียวกับพัดแม่ชี ดาบนารายณ์ วอกกิ้งไอริส ซึ่งจะพูดถึงในคราวต่อๆไป
เลือกรูปนี้เพราะการอาศัยของเขาตรงตามตำราคือพบขึ้นอยู่กับต้นไม้ใหญ่ในป่าดง บ่งบอกธรรมชาติวิสัยของเขาที่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย แต่ปัจจุบันนิยมใส่กระถางสวยๆตั้งโชว์เด่นบนพื้นหรือยกพื้น ที่มาhttp://www.qsbg.org/orchid/article/10_2006/ammatophyllum%20speciosum.htm
ว่านเพชรหึงปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งเป็นวิธีการยอดฮิตในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ ทำให้ไม่เป็นของหายากนัก แต่ราคายังแพงอยู่เพราะกว่าจะเลี้ยงให้โตได้ขนาดท่วมหัวก็ใช้เวลานาน มีราคาตั้งแต่หลักสิบ(ลูกไม้จากขวดเพาะเนื้อเยื่อ) ไปจนถึงหลักหมื่นต้นไม้ต้นนี้เป็นอีกต้นที่ฉันหวาดๆ เพราะบางตำราพูดถึงว่าเมื่ออกดอกจะเกิดลมเพชรหึง ดอกส่ายไปมาเหมือนงู ใครเข้าใกล้อาจโดนฉกถึงตาย มักเอาปรอทมาล่อให้ฉกเพื่อฆ่าปรอท แต่ฉันเคยถามคนที่ปลูกจนออกดอกว่ามีเหตุการณ์อย่างที่ว่าบ้างหรือไม่ เขาว่าไม่ปรากฏ อาจเป็นเพราะอาถรรพ์ป่าเสื่อมฤทธิ์หรือไรก็ไม่ทราบ แต่อย่างน้อยก็ขอบันทึกไว้ให้ระวัง
ว่านเพชรนารายณ์ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเพชรนารายณ์ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านเพชรนารายณ์ ลักษณะก้านใบเขียวใบคล้ายใบหอก ดอกสีแดงเหมือนดอกหงอนไก่ มีดอกในเดือน ๑๒ ดอกนั้นจะเป็นฝัก ฝักดอกมีสีขาว ท่านว่าจะขุดเอาว่านนี้ ต้องให้ได้ฤกษ์ดียามดีเป็นศิริมหามงคลมีผลสมบูรณ์พูนสุขจึงค่อยขุดเอาว่านนั้นมา แล้วนำไปผึ่งแดดตั้งไว้ในที่สูง ครั้นถึงเดือนดับ จึงจัดเครื่องบูชา แล้วเอาว่านนี้แกะเป็นรูปพระนารายณ์ มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือสังข์ มือขาวข้างบนถือจักร มือซ้ายข้างล่างถือพระขรรค์ แล้วจงเสกด้วยมนต์นี้ “อมเชยย ๆ ปราเชยย ๆ อหัง มหาเพชร สพพลาพัง สวาหะ" ๑๐๐ คาบ เมื่อเวลาเสกจงหันหน้าไปทางบูรพาทิศ แล้วเอาพระธาตุพระอรหันต์กับรูปที่แกนั้นใส่ไว้ในตลับทอง ถ้าจะไปในที่ใดๆ หรือจะเข้าการรณรงค์สงครามผจญแก่ศัตรูข้าศึก ย่อมมีชัยชนะทุกประการ ทั้งยังเป็นเสน่ห์และนะจังงังด้วย"
ว่านตัวนี้ทุกสำนักชี้ไปที่ต้นเดียวกันหมดไม่มีปัญหาอะไร เสียแต่ดอกที่ระบุในตำราว่าสีดอกเป็นสีแดงเหมือนดอกหงอนไก่ซึ่งน่าจะแดงจัด โดยทั่วไปเท่าที่เห็นดอกว่านนี้จะเป็นสีเรื่อๆขาวๆปนชมพู ก็ทิ้งไว้ให้พิจารณากันดู กับเรื่องของคาถา คำที่มีย.ยักษ์ซ้อนกันสองตัว คือคำว่า "อมเชยย" และ "ปราเชยย" มีจุด(พินทู) ใต้ ย.ยักษ์ตัวที่สอง และคำว่า "สพพลาพัง" มีจุดใต้พ.พานตัวแรก ซึ่งในการอ่านภาษาบาลีสันสกฤตจะถือว่าจุดอยู่ใต้ตัวไหนถือเป็นตัวสะกด ปัญหาก็คือแล้วจะออกเสียงมนต์นี้ว่าอย่างไร ทิ้งไว้ให้ขบคิดกันเอง
"ว่านเพชรนารายณ์ ลักษณะก้านใบเขียวใบคล้ายใบหอก ดอกสีแดงเหมือนดอกหงอนไก่ มีดอกในเดือน ๑๒ ดอกนั้นจะเป็นฝัก ฝักดอกมีสีขาว ท่านว่าจะขุดเอาว่านนี้ ต้องให้ได้ฤกษ์ดียามดีเป็นศิริมหามงคลมีผลสมบูรณ์พูนสุขจึงค่อยขุดเอาว่านนั้นมา แล้วนำไปผึ่งแดดตั้งไว้ในที่สูง ครั้นถึงเดือนดับ จึงจัดเครื่องบูชา แล้วเอาว่านนี้แกะเป็นรูปพระนารายณ์ มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือสังข์ มือขาวข้างบนถือจักร มือซ้ายข้างล่างถือพระขรรค์ แล้วจงเสกด้วยมนต์นี้ “อมเชยย ๆ ปราเชยย ๆ อหัง มหาเพชร สพพลาพัง สวาหะ" ๑๐๐ คาบ เมื่อเวลาเสกจงหันหน้าไปทางบูรพาทิศ แล้วเอาพระธาตุพระอรหันต์กับรูปที่แกนั้นใส่ไว้ในตลับทอง ถ้าจะไปในที่ใดๆ หรือจะเข้าการรณรงค์สงครามผจญแก่ศัตรูข้าศึก ย่อมมีชัยชนะทุกประการ ทั้งยังเป็นเสน่ห์และนะจังงังด้วย"
ว่านตัวนี้ทุกสำนักชี้ไปที่ต้นเดียวกันหมดไม่มีปัญหาอะไร เสียแต่ดอกที่ระบุในตำราว่าสีดอกเป็นสีแดงเหมือนดอกหงอนไก่ซึ่งน่าจะแดงจัด โดยทั่วไปเท่าที่เห็นดอกว่านนี้จะเป็นสีเรื่อๆขาวๆปนชมพู ก็ทิ้งไว้ให้พิจารณากันดู กับเรื่องของคาถา คำที่มีย.ยักษ์ซ้อนกันสองตัว คือคำว่า "อมเชยย" และ "ปราเชยย" มีจุด(พินทู) ใต้ ย.ยักษ์ตัวที่สอง และคำว่า "สพพลาพัง" มีจุดใต้พ.พานตัวแรก ซึ่งในการอ่านภาษาบาลีสันสกฤตจะถือว่าจุดอยู่ใต้ตัวไหนถือเป็นตัวสะกด ปัญหาก็คือแล้วจะออกเสียงมนต์นี้ว่าอย่างไร ทิ้งไว้ให้ขบคิดกันเอง
ว่านเพชรกลับตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเพชรกลับตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวว่า
"ว่านเพชรกลับ ลักษณะลำต้นคล้ายกระทือผีที่ขึ้นอยู่ตามสวนทั่วๆไป ลำต้นแดงใบแดงมีดอกที่ปลายยอดและมีลูกเป็นพวงๆ รากของต้นนั้นกลับย้อนแทงขึ้นบนดิน สรรพคุณใช้เป็นว่านอยู่คงกระพันชาตรีและกันอาถรรพ์ลัทธิไสยศาสตร์ต่างๆ"
"ว่านเพชรกลับ ลักษณะลำต้นคล้ายกระทือผีที่ขึ้นอยู่ตามสวนทั่วๆไป ลำต้นแดงใบแดงมีดอกที่ปลายยอดและมีลูกเป็นพวงๆ รากของต้นนั้นกลับย้อนแทงขึ้นบนดิน สรรพคุณใช้เป็นว่านอยู่คงกระพันชาตรีและกันอาถรรพ์ลัทธิไสยศาสตร์ต่างๆ"
ว่านเพชรหลีกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเพชรหลีกตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวว่า
"ว่านเพชรหลีก (บางตำราเรียกว่าว่านเพชรตาเหลือก) ลักษณะ หัว,ใบเหมือนกระเทียม สรรพคุณ ถ้ารับประทานหรือทาแล้วจะฟันหรือแทงมิเข้า แต่พวกชาวเขาข่า,แม้ว เขาว่าว่านเพชรหลีกนี้ ถ้าปลูกไว้ไม่ดีทำให้ทรัพย์สินที่ควรจะได้ทำให้แคล้วคลาดเลื่อนลอยไปหมด แต่ถ้าพกหรือติดตัวไปจะทำให้แคล้วคลาดอันตรายทั้งปวง"
นัยว่าว่านนี้เหมาะสำหรับการต่อสู้ตีรันฟันแทงโดยเฉพาะ เพราะอยู่คง(คงกระพัน) แต่ไม่ดีสำหรับคนค้าขายและผู้ที่รักทรัพย์สินและหารายได้เข้าบ้าน การอยู่คงจากว่านนี้ไม่ได้ระบุถึงปืน ระบุแค่คมมีดหอกดาบทำอันตรายไม่ได้ แต่อย่าลืมว่าคนโบราณเค้าก็มีวิธีจัดการกับคนอยู่คงด้วยวิธีอื่น (ไม่ขอกล่าวไว้จะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก แต่คงพอทราบกันอยู่ โดยส่วนตัวไม่คิดจะพกหรือปลูกว่านนี้ เพราะปกติเงินก็ไม่ค่อยหาง่ายอยู่แล้วมันจะยิ่งไปกันใหญ่ อีกอย่างเชื่อเรื่องเจ้ากรรมนายเวรถ้าเราเคยทำเขาหนีอย่างไรก็ไม่พ้น เว้นแต่จะเร่งสร้างบุญอุทิศและขออโหสิกรรมจนกว่าเขาจะยกโทษให้ ซึ่งเขาจะยกโทษให้หรือไม่ก็ได้ แต่ถึงยกโทษให้ก็ยังมีเศษกรรมที่ต้องรับอยู่ดี แต่ผ่อนหนักเป็นเบา เชื่อมั่นว่าความดีจะคุ้มครองเรา พูดดี คิดดี ทำดีไว้ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ และมีว่านตัวอื่น หรือเครื่องราง หรือคาถา ที่คุ้มครองหลายอย่างมาก ไม่จำเป็นอะไรที่ต้องเลือกว่านตัวนี้ (ความเห็นส่วนตัว) คนเล่นว่านหรือสมุนไพรจึงควรศึกษาทั้งคุณและโทษทั้งมวลเพื่อประกอบการตัดสินใจให้ดี เพราะในวงการค้าขายจะกล่าวถึงแต่คุณไม่กล่าวถึงโทษหรือข้อห้าม ทำให้เราเกิดปัญหาได้กว่าจะหาสาเหตุที่มาเจอต้องแก้กันนาน
"ว่านเพชรหลีก (บางตำราเรียกว่าว่านเพชรตาเหลือก) ลักษณะ หัว,ใบเหมือนกระเทียม สรรพคุณ ถ้ารับประทานหรือทาแล้วจะฟันหรือแทงมิเข้า แต่พวกชาวเขาข่า,แม้ว เขาว่าว่านเพชรหลีกนี้ ถ้าปลูกไว้ไม่ดีทำให้ทรัพย์สินที่ควรจะได้ทำให้แคล้วคลาดเลื่อนลอยไปหมด แต่ถ้าพกหรือติดตัวไปจะทำให้แคล้วคลาดอันตรายทั้งปวง"
นัยว่าว่านนี้เหมาะสำหรับการต่อสู้ตีรันฟันแทงโดยเฉพาะ เพราะอยู่คง(คงกระพัน) แต่ไม่ดีสำหรับคนค้าขายและผู้ที่รักทรัพย์สินและหารายได้เข้าบ้าน การอยู่คงจากว่านนี้ไม่ได้ระบุถึงปืน ระบุแค่คมมีดหอกดาบทำอันตรายไม่ได้ แต่อย่าลืมว่าคนโบราณเค้าก็มีวิธีจัดการกับคนอยู่คงด้วยวิธีอื่น (ไม่ขอกล่าวไว้จะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก แต่คงพอทราบกันอยู่ โดยส่วนตัวไม่คิดจะพกหรือปลูกว่านนี้ เพราะปกติเงินก็ไม่ค่อยหาง่ายอยู่แล้วมันจะยิ่งไปกันใหญ่ อีกอย่างเชื่อเรื่องเจ้ากรรมนายเวรถ้าเราเคยทำเขาหนีอย่างไรก็ไม่พ้น เว้นแต่จะเร่งสร้างบุญอุทิศและขออโหสิกรรมจนกว่าเขาจะยกโทษให้ ซึ่งเขาจะยกโทษให้หรือไม่ก็ได้ แต่ถึงยกโทษให้ก็ยังมีเศษกรรมที่ต้องรับอยู่ดี แต่ผ่อนหนักเป็นเบา เชื่อมั่นว่าความดีจะคุ้มครองเรา พูดดี คิดดี ทำดีไว้ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ และมีว่านตัวอื่น หรือเครื่องราง หรือคาถา ที่คุ้มครองหลายอย่างมาก ไม่จำเป็นอะไรที่ต้องเลือกว่านตัวนี้ (ความเห็นส่วนตัว) คนเล่นว่านหรือสมุนไพรจึงควรศึกษาทั้งคุณและโทษทั้งมวลเพื่อประกอบการตัดสินใจให้ดี เพราะในวงการค้าขายจะกล่าวถึงแต่คุณไม่กล่าวถึงโทษหรือข้อห้าม ทำให้เราเกิดปัญหาได้กว่าจะหาสาเหตุที่มาเจอต้องแก้กันนาน
ว่านเพชรน้อยตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเพชรน้อยตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านเพชรน้อย ลักษณะลำต้น ใบเหมือนต้นขมิ้น หลังใบสีเขียว ขอบใบดำ เนื้อในหัวแดงคล้ายหัวข่า สรรพคุณรับประทานอยู่คงกระพันชาตรีและกันเขี้ยวงาทุกชนิด (ว่านเพชรน้อยนี้มีอยู่สองชนิด ชนิดหนึ่งเขียว ชนิดหนึ่งแดง ลักษณะใบคล้ายดังใบพาย"
ในปัจจุบันจะมีการระบุว่านที่มีลักษณะต้นใหญ่ใบคล้ายดั่งใบพายและใบมีสีเขียวว่าว่านเพชรใหญ่ และต้นเล็กใบคล้ายดั่งใบพายสีเขียวว่าว่านเพชรน้อย ถ้าต้นเล็กใบมีสีแดงเรียกว่านเพชรน้อยแดง แต่ตำราฉบับนี้ระบุลักษณะว่าว่านเพชรใหญ่มีลำต้นและใบเหมือนข่า หลังใบสีแดงคล้ายลูกหว้าอ่อน คงทิ้งไว้ให้พิจารณาเพียงแค่นี้ เพราะความรู้เรื่องว่านเราน้อยมาก คงไม่กล้าออกความเห็น
"ว่านเพชรน้อย ลักษณะลำต้น ใบเหมือนต้นขมิ้น หลังใบสีเขียว ขอบใบดำ เนื้อในหัวแดงคล้ายหัวข่า สรรพคุณรับประทานอยู่คงกระพันชาตรีและกันเขี้ยวงาทุกชนิด (ว่านเพชรน้อยนี้มีอยู่สองชนิด ชนิดหนึ่งเขียว ชนิดหนึ่งแดง ลักษณะใบคล้ายดังใบพาย"
ในปัจจุบันจะมีการระบุว่านที่มีลักษณะต้นใหญ่ใบคล้ายดั่งใบพายและใบมีสีเขียวว่าว่านเพชรใหญ่ และต้นเล็กใบคล้ายดั่งใบพายสีเขียวว่าว่านเพชรน้อย ถ้าต้นเล็กใบมีสีแดงเรียกว่านเพชรน้อยแดง แต่ตำราฉบับนี้ระบุลักษณะว่าว่านเพชรใหญ่มีลำต้นและใบเหมือนข่า หลังใบสีแดงคล้ายลูกหว้าอ่อน คงทิ้งไว้ให้พิจารณาเพียงแค่นี้ เพราะความรู้เรื่องว่านเราน้อยมาก คงไม่กล้าออกความเห็น
ว่านเพชรใหญ่ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเพชรใหญ่ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านเพชรใหญ่ลักษณะลำต้นและใบเหมือนข่า หลังใบสีแดงคล้ายลูกหว้าอ่อน ขอบใบเขียว เนื้อในหัวเหลือง คล้ายหัวว่านชันกาศ สรรพคุณกันเขี้ยวงาทุกชนิด และรับประทานอยู่คงกระพันชาตรี"
"ว่านเพชรใหญ่ลักษณะลำต้นและใบเหมือนข่า หลังใบสีแดงคล้ายลูกหว้าอ่อน ขอบใบเขียว เนื้อในหัวเหลือง คล้ายหัวว่านชันกาศ สรรพคุณกันเขี้ยวงาทุกชนิด และรับประทานอยู่คงกระพันชาตรี"
ว่านเกราะเพชรพระยาตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘
ว่านเกราะเพชรพระยา ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวว่า
" ว่านเกราะเพชรพญา (บางตำราเรียกว่าเกราะเพชรไพฑูรย์) ลักษณะลำต้น ใบ เหมือนข่า หัวเหมือนหญ้าชันกาศ สรรพคุณรับประทานให้เกิดกำลังและอยู่ยงคงกระพันชาตรียิ่งนัก"
555ชัดป่ะ มีเท่านี้แหล่ะที่บรรยายไว้ ต้นกับใบเหมือนข่า อันนี้ไปหาข่ามาปลูกกันเอง ส่วนหญ้าชันกาด หัวมันหน้าตาเป็นอย่างนี้
ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.boonrarat.net/smunprai/TN_yachankad.JPG&imgrefurl=http://www.boonrarat.net/smunprai/kebruksa.htm&h=142&w=170&sz=7&tbnid=SnLMfxAts_Yk1M:&tbnh=90&tbnw=108&zoom=1&usg=__5R5rQTPcwqAxp9L3Zbw-pAFdR_g=&docid=_cILCiX3B5zVoM&hl=th&sa=X&ei=XwSNUJiKFsePrgezxYCQAg&ved=0CC8Q9QEwBA&dur=46 จบป่ะ
" ว่านเกราะเพชรพญา (บางตำราเรียกว่าเกราะเพชรไพฑูรย์) ลักษณะลำต้น ใบ เหมือนข่า หัวเหมือนหญ้าชันกาศ สรรพคุณรับประทานให้เกิดกำลังและอยู่ยงคงกระพันชาตรียิ่งนัก"
555ชัดป่ะ มีเท่านี้แหล่ะที่บรรยายไว้ ต้นกับใบเหมือนข่า อันนี้ไปหาข่ามาปลูกกันเอง ส่วนหญ้าชันกาด หัวมันหน้าตาเป็นอย่างนี้
ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.boonrarat.net/smunprai/TN_yachankad.JPG&imgrefurl=http://www.boonrarat.net/smunprai/kebruksa.htm&h=142&w=170&sz=7&tbnid=SnLMfxAts_Yk1M:&tbnh=90&tbnw=108&zoom=1&usg=__5R5rQTPcwqAxp9L3Zbw-pAFdR_g=&docid=_cILCiX3B5zVoM&hl=th&sa=X&ei=XwSNUJiKFsePrgezxYCQAg&ved=0CC8Q9QEwBA&dur=46 จบป่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)