วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ว่านกวักเงินกวักทองตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านกวักเงินกวักทองตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
" ว่านกวักเงินกวักทอง ลักษณะลำต้น ใบเหมือนกวักทางลาย ลำต้นเป็นละอองบรอนซ์เงิน หัวของว่านเป็นละอองบรอนซ์ทอง แต่ไม่เหลืองเหมือนบรอนซ์ทอง เพราะมีสีแกมแดง ใบเหมือนกวักทางลายแต่ว่าไม่มีลาย ดอกคล้ายกับว่านเสน่ห์จันทน์ขาว ดอกนั้นเมื่อแก่เป็นเมล็ดเหมือนเมล็ดของดอกนมแมว คุณสมบัติเช่นเดียวกัน
     ว่านกวักทั้ง ๙ อย่างนี้ ( ว่านกวักพุทธเจ้าหลวง ว่านกวักนางพญาใหญ่ ว่านกวักนางพญาเล็ก ว่านกวักนางมาควดี ว่านกวักหงสาวดี ว่านกวักทองใบ ว่านกวักแม่จันทร์ ว่านกวักโพธิ์เงิน ว่านกวักเงินกวักทอง )ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกันเพื่อความเป็นศิริมงคล "
ในอินเตอร์เน็ทมีการเรียกต้นไม้หน้าตาต่างๆกันเป็นกวักเงินกวักทอง ดูแล้วใช้สีของใบเป็นหลักถ้ามีสีขาวๆเหลืองๆจะตั้งชื่อนี้กันเลย  แต่ที่ดูลักษณะคล้ายตำราน่าเชื่อถือมี ๒ ท่านเท่าที่เห็น  (อาจมากกว่านี้เพราะดูไม่หมด ) คือ อ.นพคุณ คุมา เจ้าของสวนนพคุณ ว่านไทย  ท่านเรียกไม้เก่าจากป่าต้นหนึ่งชื่อ โคชินเขียวป่าหรือนางกวักทอง ว่า
ลักษณะ ต้น, หัว, ใบ เหมือนกับว่านกวักเงินกวักทองไม่มีผิด มีรากคล้ายกับว่านขันหมาก แต่ใหญ่และเลื้อยไกลกว่าเท่านั้น ลำต้นและ ก้านไม่มีจุดกระสีเงินและสีเขียวเหมือนกวักเงินกวักทอง ใบเป็นสีทอง ถ้าอยู่ในร่มก็ออกสีเขียว ดอกออกเหมือนกับว่านขันหมาก แต่ใหญ่กว่า มีผลเมื่อดอกสุกเต็มที่ เป็นสีเหลืองเมล็ดเท่าผลหมากเหลือง เป็นว่านเลี้ยงง่ายต้นหนึ่ง พบมากในเทือกเขาตะนาวศรี เขตติดต่อกับพม่าไทย ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และที่เทือกเขาอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ในเขตติดต่อกับประเทศพม่าเหมือนกัน และมีผู้ไปนำมาจำหน่ายกันมากมายในเวลานี้
สรรพคุณ เป็นว่านนำโชคลาภ เมตตามหานิยม และเป็นศิริมงคลต้นหนึ่ง ผู้ใดมีปลูกไว้ย่อมเป็นศรีเป็นสง่าแก่บ้านเรือนอย่างยิ่ง ถ้าว่านต้นนี้ยังไม่เจริฌงอกงามท่านก็ยังไม่มีโชค
สรรพคุณทางยา ชาวบ้านเชื้อสายกระเหรี่ยงในเขตอำเภอสวนผึ้ง ราชบุรี ใช้หัวตำกับเกลือปิดที่แผลที่ถูกหนามตำและหักคาลงลึกบ่งไม่ออก หัวว่านจะดูดเอาหนามออกมาได้และหายเจ็บปวดเป็นยาสมานแผลอย่างดีและหายรวดเร็ว
วิธีปลูก ให้นำดินร่วนปนทรายหรือดินชายภูเขานำมาเป็นดิน ปลูก เมื่อเตรียมเครื่องปลูกแล้วที่เคยกล่าวมาในว่านทั้งหลาย นำต้นและหัวว่าน นำดินกลบให้มิดหัวและโคนว่าน รดน้ำพอเปียกทั่ว ว่านต้นนี้เมื่องอกงามแล้ว จะทนแดด ทนน้ำได้ดีมาก ถ้าพบแดดมากและไม่ขาดนํ้าใบออกสีทองสวยงามมาก ว่านต้นนี้เดิมซื่อเศรษฐีใบพาย เขียนไว้ในตำราอาจารย์เลื่อน กัณหะกาญจนะ
ที่มา http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/

โคชินเขียวที่ีป่า(นางกวักทอง)


โคชินเขียวป่า สมัยก่อน ปี 2522 เรียกกันว่า ว่านกวักทอง มีความเชื่อเช่นเดียวกับว่านในตระกูลกวัก คือ กวักคนเข้าร้าน กวักเงินกวักทองเข้าบ้าน เป็นต้น


ส่วนข้อมูลจากอ.ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม ก็น่าสนใจมาก  ท่านกล่าวไว้ว่า
ว่านต้นนี้ใช้เวลาศึกษาหาต้นที่แท้จริงมานานจนพบต้นจริง ได้ที่วัดบางลี่เจริญธรรม ตำบลโคกหม้อ ราชบุรี และที่วัดเทพสิรินทราวาส กทม. เพราะต้นที่เขาเรียกเขาเล่นกันนั้นไม่จริงสักตัน
ลักษณะ ต้นที่โคนจนถึงก้านใบ เป็นจุดกระสีเงิน ลำต้นเป็นสีทอง(ต้องแหวกดู) หัวออกรากใส เหมือนว่านขันหมากแต่รากยาวและใสสีเหลืองไม่ผิดกับว่านกวักทองที่เขานำมาขายกันเกร่อในปัจจุบัน ใบอยู่ใน ลักษณะเหมือนว่านกวักทองเช่นกัน แต่ใบใหญ่กว่า เป็นสีทองเหลืองจัดที่ขอบใบจะเห็นว่า ระหว่างขอบใบและกลางใบสีผิดกัน เป็นว่านสวยงามมาก เป็นว่านซึ่งเชื้อพระวงศ์ของวงศ์จักรกรี นำมาถวายไว้ที่วัดบางลี่เจริญธรรม และที่วัดเทพศิรินทร์ก็เหมือนกัน
ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดบางลี่เจริญธรรม “พระครูรัตนกิจโกคล (พริก)” ท่านได้เมตตากล่าวเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ได้ว่านต้นนี้ และต้นอื่น ๆ (หลายต้น) ท่านจะคิดสร้างอะไรก็สำเร็จหมดทุกอย่างเช่น สร้างโบสถ์ สร้างศาลา, สร้างกุฏิ, สร้างโรงเรียน รู้สึกว่ามีผู้นำเงินไปทำบุญมิได้ขาด แม้กระทั่งเครื่องใช้ไม้สอยทุกอย่าง เช่นยานพาหนะ รถยนต์ มีผู้ถวายหลายคันแล้ว เปลี่ยนตัวผู้มีกุศลมากรายท่านจึงเชื่อในสิ่งที่เป็นไปได้นี้ (ใครสนใจก็ไปทำบุญและขอชมว่านต้นนี้ ก็จะเป็นบุญตาอย่างยิ่ง ว่านต้นนี้ในตำราสมุดข่อยเขียนไว้ว่า ชื่อเศรษฐีด่าง หรือเศรษฐีโคนด่าง)
สรรพคุณ ว่านกวักเงินกวักทองต้นนี้ ในตำรากล่าวว่าเป็นว่านรวมสรรพคุณของบรรดาว่านกวัก ไว้ทั้งหมด ที่ตำราสมุดข่อยกล่าวเอาไว้มี 9 ต้น คือ.-
1. ว่านกวักพุทธเจ้าหลวง
2. ว่านกวักนางพญาใหญ่
3. ว่านกวักนางพระยาเล็ก
4. ว่านกวักนางมาควดี(ว่านมหาโชคต้นเดียวกัน)
5. ว่านกวักหงษาวดี (ว่านมหาลาภต้นเดียวกัน)
6. ว่านกวักทองใบ (ปัจจุบันเรียกแม่ทองใบ และว่าน ต้นนี้กรายต้นไปอีก 7 ชนิด)
7. ว่านกวักแม่จันทร์ (ว่านกวักทระจันทร์ต้นเดียวกัน)
8. ว่านกวักโพธิ์เงิน (ว่านกวักเงิน และกวักโพธิ์ทอง ไม่ได้กล่าวไว้)
9. ว่านกวักเงินกวักทองต้นนี้ (ว่านเศรษฐีด่าง หรือเศรษฐีโคนด่างต้นเดียวกัน)
ส่วนว่านกวักทั้งหลายที่นอกเหนือไปจากว่านกวักทองซึ่งเดิมเรียกว่าเศรษฐีใบพายตอนนั้นไม่มีหลักฐานว่าความเป็นไปมาอย่างไร จะได้ค้นคว้าหามาศึกษากันต่อไป
ว่านต้นนี้จึงเป็นว่านคอยชี้นำโชค เช่นเวลาว่านนี้ออกดอกเหมือนว่านขันหมาก ดอกนั้นเมื่อแก่เป็นเมล็ด เหมือนเมล็ดของหมากแดงเล็กๆ นั่นหมายถึงช่องและโอกาสที่ท่านชะตากำลังดี ให้ท่านหาโอกาสตักตวงลาภผลที่กำลังจะมี ถ้าท่านนั่งเฉยๆ ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะบางท่านคิดกลับไปว่า ว่านออกดอกจะรวยนั่นย่อมเป็นไปไม่ได้
สรรพคุณพิเศษของว่านต้นนี้ คือ ให้จุดธูป 9 ดอก อธิษฐานขอความปรารถนารุ่งขึ้นเช้าให้ใส่บาตรพระ 9 รูป สิ่งที่ท่านปรารถนานั้นจะสัมฤทธิ์ผล
วิธีปลูก ให้นำดินที่สะอาดผสมใบไม้ผุ และทรายบ้าง หรือดินตามเชิงเขา ดินขุยไผ่ใส่กระถางทรงสูงๆ โตๆ ก่อนปลูกท่านให้ทำพิธี “ชุมนุมเทวดา” ใช้บทสักเค หรือสวดบท อิติปิโส ให้จบเจ็ดบท แล้วจึงนำต้นว่านปลูก แล้วกลบดิน ก่อนรดนํ้าให้ท่านว่า “นะโมพุทธายะ” 3 จบ แล้วรดนํ้าให้เปียก เป็นไม้ว่านยืนต้น
 ที่มา http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/

ว่านกวักทางลาย
ที่มาhttp://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
ลักษณะ ลำต้น, ใบ และหัวคล้ายกับว่านขันหมาก แต่ใบยาวใหญ่กว่าขันหมากมาก ใบมีทางเป็นทางลายขาวเป็นทางคาดขวางเป็นเปลาะๆ พื้นใบเขียว ต้นเป็นพุ่มสวยงามมาก ดอกออกคล้ายกับดอกบอน ว่านต้นนี้ชาวจีนนิยมปลูกกันมาก เพราะเลี้ยงง่ายและใส่กระถางสวย ๆ ตั้งไว้ที่โต๊ะรับแขกก็สวยดี เพราะอยู่ในร่มก็ได้
สรรพคุณ เป็นว่านเมตตามหานิยม ปลูกไว้ในบ้านและร้านค้า จะทำมาค้าขายได้ผลดี เหมือนกับว่านกวักทั้งหลาย สามารถนำหัวมาปลุกเสก โดยแกะเป็นรูปนางกวัก เวลาระหว่างแกะจงบริกรรมคาถา “นะโมพุทธายะ” เรื่อยไปด้วยจนกว่าจะแกะเสร็จ จึงนำรูปที่แกะได้นั้น ใส่ในขันลงหินล้างให้สะอาดแล้วเทนํ้าทิ้ง เอานํ้ามันจันทน์ใส่ลงไปพอ ควร ขณะเทนํ้ามันลงให้บริกรรม “นะโมพุทธายะ” เช่นเดียวกันเรื่อยๆ ไป จนกว่าน้ำมันจะหมด เอาขันน้ำมันตั้งไฟ บริกรรมคาถา “อิติปิโส ภควา ถึง ภควาติ” ให้ได้ 100 คาบ จบแล้วบริกรรม “นะโมพุทธายะ” อีก 100 คาบ สลับกันไปจนกว่าน้ำมันจะเดือด จึงเอารูปนางกวักขึ้นเวียนประทักษิณรอบปากขัน 3 รอบ แล้วเอารูปนางกวักใส่โถบูชาไว้ในที่สูง อันควรสักการะ ภายในร้านค้านั้น จะทำให้กิจการค้าเจริญ มีผู้คนมาอุดหนุนสินค้าในร้านนั้นมิได้ขาด เป็นคงกระพันชาตรี และป้องกันอันตรายได้ทุกอย่างด้วย
วิธีปลูก ให้นำหน่อ หรือต้นแก่ นำดินสะอาดบริสุทธิ์ปราศจาก
ของเหม็น นำใส่กระถางจุดธูป 3 ดอก ชุมนุมเทวดา แล้วเศกนำด้วย อิติปิโสภควา จนถึง ภควาติ เมื่อกลบดินแล้วให้อธิษฐานเสี่ยงทาน ตั้ง ความปรารถนาเอาสิ่งที่ดี แล้วรดนํ้าที่เศกให้หมด ว่านต้นนี้งอกงามดี และอย่าได้ให้สัตว์ เช่น สุนัขหรือแมวข้ามได้วิเศษดีนัก
อ.นพคุณ คุมา พูดถึงกวักทางลายไว้ว่า ว่านกวักทางลาย เป็นว่านที่อยู่ในชุดกวัก เชื่อกันว่า ปลูกไว้หน้าร้าน สามารถเรียกคนเข้าร้านเช่นเดียวกับ นางกวัก
รูปจากnanagardenนพคุณ ว่านไทย

ดูแล้วต้นนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดนัก  เป็นไปได้ว่ามีการเรียกชื่อซ้ำอยู่มากมาย แต่ต้นมีลักษณะต่างกันไป  ถ้าดูจากตำราใบของกวักเงินกวักทองน่าจะมีสีเดียว น่าจะเป็นไม้ Aglaonema ใบคล้ายใบว่านขันหมาก  สีของที่มาของชื่อกวักเงินกวักทองเป็นสีขนของลำต้น(บรอนซ์เงิน) และสีของหัว(บรอนซ์ทอง) หาใช่สีที่ใบไม่  แต่เราไม่ชี้ว่าใครผิดถูก เราจะสั่งโคชินเขียวของอ.นพคุณ และไปไหว้พระที่วัดบางลี่เจริญธรรม ราชบุรีเพื่อขอแบ่งบูชา เรียกว่ากันเหนียวทั้ง ๒ พันธุ์   สะสมพันธุ์ไม้เก่าไว้ถึงผิดต้นผิดชื่อ  ยังไงก็เป็นมงคลเหมือนเดิม เพราะคนแต่เก่าก่อนนับถือจากศรัทธาจริงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น