วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ว่านม้าขาวตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านม้าขาวตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ กล่าวไว้ว่า
"ว่านม้าขาว ลักษณะลำต้นใบสีเขียวคล้ายต้นขมิ้นอ้อย หัวเนื้อในสีขาว เป็นว่านที่มีหัวลักษณะกลาง หัวเป็นข้อคล้ายหัวม้า"
อันนี้ใช้วิจารณญาณกันเอาเอง  ต้นคล้ายขมิ้นอ้อย ( อันนี้อ้างถึงบ่อยมาก )
อันว่าขมิ้นอ้อยนี้ น่าจะนับได้ว่าเป็นต้นไม้อาภัพ เพราะคนรู้จักแต่ขมิ้นชันและขมิ้นขาว ทำเอาขมิ้นอ้อยแทบจะสูญพันธุ์กันไปเลยทีเดียว
วงการยาไทยยกย่องให้ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณเทียบเท่ากับว่านชักมดลูกในเรื่องการรักษามดลูก แก้มดลูกอักเสบ การใช้ว่านชักมดลูกจึงนิยมใช้เป็นตำรับ ที่ต้องมีขมิ้นอ้อย ไพล ว่านมหาเมฆ ฯลฯ เข้าตำรับด้วยเพื่อเสริมฤทธิ์คุมฤทธิ์กัน แต่ขมิ้นอ้อยอาจมีข้อเสียคือทำให้เกิดน้ำหล่อลื่นช่องคลอดมากเกินไป  แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ ในกลุ่มสตรีวัยทองที่หมดฮอร์โมนไม่มีน้ำหล่อลื่นช่องคลอดทำให้ช่องคลอดแห้งและคัน  ขมิ้นอ้อยจะช่วยแก้ไขอาการเหล่านี้ได้
นอกจากนี้ในตำราว่านเล่นหนึ่ง  น่าจะเป็นตำราเก่า อ้างถึงว่าขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์เป็นพญาว่านที่ช่วยคุมให้ว่านอื่นมีฤทธิ์ด้วยซ้ำ
แต่ขมิ้นอ้อยกลับเป็นต้นไม้ที่โลกลืม  รู้ไม๊ว่าขนาดเราอยู่ในวงการสมุนไพร  เรายังหาพันธุ์ขมิ้นอ้อยตามบ้านแทบจะไม่ได้แล้ว  มีน้อยมากแทบไม่มีใครรู้จัก  คงเหลือแต่ตามร้านขายว่านเท่านั้น น่าเสียดายที่ต้นไม้ที่เคยมีทุกครัวเรือนกลายมาเป็นของหายากและต้องซื้อขายแพงๆในราคาว่านไป
ลักษณะหัวของขมิ้นอ้อยจะใหญ่ยาวเหมือนสาก บางทียาวเป็นฟุตโผล่พ้นดินขึ้นมา คนอีสานจึงเรียกขมิ้นอ้อยว่าขมิ้นหัวขึ้น
 
สีเนื้อในขมิ้น ขมิ้นอ้อยจะมีสีเหลืองส่วนขมิ้นชันจะมีสีส้ม
 
ลักษณะสีของหัวขมิ้นชัน  ถ้าดูจนชำนาญถึงไม่หักบิดูเนื้อข้างในก็พอดูออก ขมิ้นชันหัวแก่ๆ สีส้มจะชัดแม้จะไม่ได้หักดูเนื้อใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น