"ว่านพระยาอังกุลี ลักษณะลำต้นสูงประมาณ ๕ นิ้ว ใบคล้ายใบน้ำเต้า ถ้าพบเห็นให้ลองบีบปรอทใส่ลงในฝ่ามือแล้วบีบเอายางนั้นเทลงในฝ่ามือที่มีปรอทอยู่แล้ว ถ้าปรอทนั้นอยู่ก็เป็นทุนสิทธิ์"
มีผู้พูดถึงเรื่องว่านไว้น่าสนใจ ใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/168582 เขาเขียนอยู่ ๓ ตอน น่าเสียดายที่หยุดเขียนไปเฉยๆ ลองอ่านกันดู
"ตอนที่๓ ชื่อว่านที่นักเล่นว่านทุกคนต้องยอมรับ
ปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงกันมาแต่ไหนแต่ไร ของนักเล่นว่านทั้งหลายก็คือ ว่านทั้งหมดมีกี่ชนิดกันแน่ ชื่อไหนที่เชื่อได้ว่าเป็นว่านแน่นอน และชื่อไหนที่ไม่ใช่ว่านเพราะอะไร ตลอดระยะเวลา 79 ปี นับตั้งแต่ตำราว่านเล่มแรกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2473จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่เคยมีใครที่คิดจะแก้ปัญหานี้ให้กระจ่างเพื่อให้ความสงสัยมันหลุดพ้นออกไปจากวงการนักเล่นว่านเสียที
วันนี้ ผู้เขียนจะมาขออาสาเป็นผู้คลี่คลายปัญหาในข้อนี้ เพื่อที่จะลดความเห็นอันขัดแย้งกันภายในแวดวงของนักเล่นว่านทั้งหลาย และเพื่อให้เป็นหลักในการเรียนรู้และอ้างอิงสำหรับนักเล่นหน้าใหม่ หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องว่าน
รายชื่อว่านต่อไปนี้ เป็นชื่อที่ผู้เขียนได้ทำการรวบรวมและตรวจสอบมาอย่างดีแล้วว่ามีบันทึกอยู่ในตำราว่านของยุคเก่าทั้งสิบเอ็ดเล่มนั้นจริง(โปรดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตำราว่านรุ่นเก่าทั้งหมดจากตอนที่1) และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกๆ คนโดยไม่มีข้อโต้แย้ง ผู้เขียนยังได้เพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เข้มงวดขึ้นไปอีก เช่น ชื่อว่านแต่ละชนิดที่จะบันทึกไว้ต่อไปนี้ จะต้องมีบันทึกอยู่ในตำราเก่าถูกต้องและตรงกันอย่างน้อยตั้งแต่ 2เล่มขึ้นไป ชื่อไหนที่มีบันทึกมาในตำราเพียงเล่มเดียวและมีลักษณะอันเชื่อได้ว่าไม่ใช่พันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย จะทำการคัดแยกออกไปไว้อีกหมวดหนึ่งต่างหาก อีกทั้งว่า่่นที่มีบันทึกมาจากตำราคนละเล่มคนละชื่อกัน แต่ถ้าได้ทำการตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าเป็นว่านชนิดเดียวกันแน่นอน ก็จะนำมารวมไว้เป็นว่านชนิดเดียวกันแต่จะบอกชื่อไว้ให้ครบหมดทุกชื่อตามที่ตำราเก่าได้จดบันทึกไว้ ส่วนชื่อที่อยู่ในวงเล็บนั้นเป็นชื่อรองหรือชื่อพ้องที่เรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นก็จะเก็บมาแต่ชื่อที่รู้จักกันเป็นส่วนมากเท่านั้น
และนี่คือ"รายชื่อว่าน" แท้ๆ ของไทยที่ถูกต้องแน่นอน จำนวนทั้งหมด 270ชนิด เรียงลำดับตามตัวอักษร ดังนี้
1)กงจักรพระอินทร์
2)กบ (พญาอังกุลี, ท้าวอังกุลี)
3)กระจายหางดอก
4)กระแจะจันทน์ (กระแจะจันทน์หงสา)
5)กระชายแดง
6) กระชายดำ
7) กระท่อมเลือด, สบู่เลือดเถา(ผู้-เมีย)
8) กระทู้
9)กระทู้เจ็ดแบก
10) กระบี่ทอง (นางวันทองห้ามทัพ)
11)กระสือ
12)กลอยจืด
13)กลิ้งกลางดง
14)กวัก
15) ก้ามปู (ดองดึง, หัวขวาน ฯลฯ)
16) การบูรเลือด
17) กาสัก
(เสือนั่งร่ม, เสือร้องไห้, ฯลฯ)
18)กีบแรด (กีบม้า) มี 2 ชนิด
19)กุมารทอง
20)เกราะเพชรไพฑูรย์ (เกราะเพชรพระยา)
21) กำบัง(กั้นบัง)
22) กำแพงขาว
23) กำแพงเจ็ดชั้น(กระจายทอง)
24) ไก่ขัน (ไก่ไห้, เกี๊ยะ)
25)ไก่แดง
26) ขมิ้นขม
27)ขมิ้นขาวปัดตลอด
28)ขมิ้นขาวเสน่ห์
29) ขมิ้นแดงปัดตลอด (ดอกอาวแดง, ฯลฯ)
30) ขมิ้นดำ
31) ขมิ้นอ้อย (ว่านขมิ้น,ว่านเหลือง)
32) ขอ(ชักมดลูกตัวเมีย)
33) ขอทอง (ขอคำน้อย,ว่านแก้)
34)ขันหมาก
35) ข่า(ข่าแดง)
36) ข่าจืด
37)ขุนแผนสะกดทัพ
38) ขุนแผนสามกษัตริย์
39)เขียด
40) เข้าค่ำ (เช้าค่ำ)
2)กบ (พญาอังกุลี, ท้าวอังกุลี)
3)กระจายหางดอก
4)กระแจะจันทน์ (กระแจะจันทน์หงสา)
5)กระชายแดง
6) กระชายดำ
7) กระท่อมเลือด, สบู่เลือดเถา(ผู้-เมีย)
8) กระทู้
9)กระทู้เจ็ดแบก
10) กระบี่ทอง (นางวันทองห้ามทัพ)
11)กระสือ
12)กลอยจืด
13)กลิ้งกลางดง
14)กวัก
15) ก้ามปู (ดองดึง, หัวขวาน ฯลฯ)
16) การบูรเลือด
17) กาสัก
(เสือนั่งร่ม, เสือร้องไห้, ฯลฯ)
18)กีบแรด (กีบม้า) มี 2 ชนิด
19)กุมารทอง
20)เกราะเพชรไพฑูรย์ (เกราะเพชรพระยา)
21) กำบัง(กั้นบัง)
22) กำแพงขาว
23) กำแพงเจ็ดชั้น(กระจายทอง)
24) ไก่ขัน (ไก่ไห้, เกี๊ยะ)
25)ไก่แดง
26) ขมิ้นขม
27)ขมิ้นขาวปัดตลอด
28)ขมิ้นขาวเสน่ห์
29) ขมิ้นแดงปัดตลอด (ดอกอาวแดง, ฯลฯ)
30) ขมิ้นดำ
31) ขมิ้นอ้อย (ว่านขมิ้น,ว่านเหลือง)
32) ขอ(ชักมดลูกตัวเมีย)
33) ขอทอง (ขอคำน้อย,ว่านแก้)
34)ขันหมาก
35) ข่า(ข่าแดง)
36) ข่าจืด
37)ขุนแผนสะกดทัพ
38) ขุนแผนสามกษัตริย์
39)เขียด
40) เข้าค่ำ (เช้าค่ำ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น