วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ว่านเพชรนารายณ์ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘

ว่านเพชรนารายณ์ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์ รวบรวมโดย ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. พิมพ์เมื่อพ.ศ.๒๕๐๘  กล่าวไว้ว่า
"ว่านเพชรนารายณ์ ลักษณะก้านใบเขียวใบคล้ายใบหอก ดอกสีแดงเหมือนดอกหงอนไก่ มีดอกในเดือน ๑๒ ดอกนั้นจะเป็นฝัก ฝักดอกมีสีขาว ท่านว่าจะขุดเอาว่านนี้ ต้องให้ได้ฤกษ์ดียามดีเป็นศิริมหามงคลมีผลสมบูรณ์พูนสุขจึงค่อยขุดเอาว่านนั้นมา แล้วนำไปผึ่งแดดตั้งไว้ในที่สูง ครั้นถึงเดือนดับ  จึงจัดเครื่องบูชา แล้วเอาว่านนี้แกะเป็นรูปพระนารายณ์ มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือสังข์ มือขาวข้างบนถือจักร มือซ้ายข้างล่างถือพระขรรค์ แล้วจงเสกด้วยมนต์นี้ “อมเชยย ๆ ปราเชยย ๆ  อหัง มหาเพชร สพพลาพัง สวาหะ" ๑๐๐ คาบ เมื่อเวลาเสกจงหันหน้าไปทางบูรพาทิศ แล้วเอาพระธาตุพระอรหันต์กับรูปที่แกนั้นใส่ไว้ในตลับทอง ถ้าจะไปในที่ใดๆ หรือจะเข้าการรณรงค์สงครามผจญแก่ศัตรูข้าศึก ย่อมมีชัยชนะทุกประการ ทั้งยังเป็นเสน่ห์และนะจังงังด้วย"
ว่านตัวนี้ทุกสำนักชี้ไปที่ต้นเดียวกันหมดไม่มีปัญหาอะไร เสียแต่ดอกที่ระบุในตำราว่าสีดอกเป็นสีแดงเหมือนดอกหงอนไก่ซึ่งน่าจะแดงจัด โดยทั่วไปเท่าที่เห็นดอกว่านนี้จะเป็นสีเรื่อๆขาวๆปนชมพู ก็ทิ้งไว้ให้พิจารณากันดู กับเรื่องของคาถา  คำที่มีย.ยักษ์ซ้อนกันสองตัว คือคำว่า "อมเชยย" และ "ปราเชยย" มีจุด(พินทู) ใต้ ย.ยักษ์ตัวที่สอง และคำว่า "สพพลาพัง" มีจุดใต้พ.พานตัวแรก  ซึ่งในการอ่านภาษาบาลีสันสกฤตจะถือว่าจุดอยู่ใต้ตัวไหนถือเป็นตัวสะกด ปัญหาก็คือแล้วจะออกเสียงมนต์นี้ว่าอย่างไร  ทิ้งไว้ให้ขบคิดกันเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น